คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
เฉลิม กรพุกกะณะ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 474 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2106/2514

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ป้องกันเกินสมควร: การใช้กำลังป้องกันตัวต้องสมเหตุสมผล แม้ถูกทำร้ายก่อน การตอบโต้ต้องไม่เกินความจำเป็น
ผู้ตายก่อเหตุก่อนด่าว่าจำเลย ถือเหล็กไขควงบุกรุกขึ้นไปบนเรือนจำเลยแล้วใช้เหล็กไขควงแทงจำเลย แต่แทงไม่ถูกเพราะจำเลยหลบทัน จำเลยจึงใช้มีดดาบฟันผู้ตายเป็นบาดแผลฉกรรจ์ถึง 4 แห่ง เป็นเหตุให้ผู้ตายถึงแก่ความตาย การกระทำของจำเลยเป็นการป้องกันเกินสมควรแก่เหตุ เพราะจำเลยฟันผู้ตายเพียงครั้งเดียวก็จะหยุดยั้ง การกระทำของผู้ตายไม่ให้เข้าทำร้ายจำเลยได้ต่อไปอีกแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2077/2514 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่าเดิมผูกพันเฉพาะคู่สัญญาเดิม ผู้รับโอนกรรมสิทธิ์ไม่ผูกพันหากเกิน 3 ปี
จำเลยเช่าตึกแถวของ อ. มีกำหนด 10 ปี โดยทำสัญญากันเองไว้ล่วงหน้า 3 ฉบับ ๆ ละ 3 ปี 3 ฉบับ อีกฉบับหนึ่ง 1 ปี แม้จำเลยจะอ้างว่าสัญญาเช่ารายนี้เป็นสัญญาต่างตอบแทนนอกเหนือการเช่าธรรมดาเพราะจำเลยได้เสียเงินช่วยค่าก่อสร้างให้ อ. ก็ตาม แต่เมื่อมิได้จดทะเบียนกับพนักงานเจ้าหน้าที่ สัญญาเช่าดังกล่าวก็มีผลผูกพันระหว่างจำเลยกับ อ. เท่านั้น
ในส่วนที่เกี่ยวกับโจทก์นั้น เมื่อโจทก์ได้รับโอนตึกพิพาทมาโดยสุจริตแม้โจทก์จะทราบว่า อ. กับจำเลยมีข้อตกลงอยู่จริง แต่ในกรณีเช่นนี้ก็หาเป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริตอย่างใดไม่
แม้สัญญาดังกล่าวจะได้ทำเป็นหนังสือก็มีผลผูกพันโจทก์ในฐานะผู้รับโอนกรรมสิทธิ์ตึกพิพาทนี้ภายในระยะ 3 ปีเท่านั้น เมื่อโจทก์รับโอนกรรมสิทธิ์ตึกพิพาทมาภายหลังกำหนด 3 ปีแล้ว โจทก์จึงไม่ถูกผูกพันที่จะต้องให้จำเลยเช่าต่อไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2077/2514

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผลผูกพันสัญญาเช่าเมื่อมีการโอนกรรมสิทธิ์: สัญญาเช่าที่มีอายุเกิน 3 ปี ไม่ผูกพันผู้รับโอนกรรมสิทธิ์
จำเลยเช่าตึกแถวของ อ. มีกำหนด 10 ปี โดยทำสัญญากันเองไว้ล่วงหน้า 3 ฉบับ ๆ ละ 3 ปี 3 ฉบับ อีกฉบับหนึ่ง 1 ปี แม้จำเลยจะอ้างว่าสัญญาเช่ารายนี้เป็นสัญญาต่างตอบแทนนอกเหนือการเช่าธรรมดาเพราะจำเลยได้เสียเงินช่วยค่าก่อสร้างให้ อ. ก็ตาม แต่เมื่อมิได้จดทะเบียนกับพนักงานเจ้าหน้าที่ สัญญาเช่าดังกล่าวก็มีผลผูกพันระหว่างจำเลยกับอ. เท่านั้น
ในส่วนที่เกี่ยวกับโจทก์นั้น เมื่อโจทก์ได้รับโอนตึกพิพาทมาโดยสุจริตแม้โจทก์จะทราบว่า อ. กับจำเลยมีข้อตกลงอยู่จริง แต่ในกรณีเช่นนี้ก็หาเป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริตอย่างใดไม่
แม้สัญญาดังกล่าวจะได้ทำเป็นหนังสือก็มีผลผูกพันโจทก์ในฐานะผู้รับโอนกรรมสิทธิ์ตึกพิพาทนี้ภายในระยะ 3 ปีเท่านั้น เมื่อโจทก์รับโอนกรรมสิทธิ์ตึกพิพาทมาภายหลังกำหนด 3 ปีแล้ว โจทก์จึงไม่ถูกผูกพันที่จะต้องให้จำเลยเช่าต่อไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2033/2514 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การชำระเงินล่วงหน้า vs. เงินมัดจำ: การตีความสัญญาซื้อขายจากพยานหลักฐานและข้อเท็จจริง
สัญญาซื้อขายมีข้อความเกี่ยวกับการชำระเงินว่า ผู้ซื้อได้ชำระเงินในวันทำสัญญา 40,000 บาท ไม่ชัดแจ้งว่าเป็นเงินมัดจำหรือเงินที่ชำระราคาของล่วงหน้า ศาลย่อมฟังคำพยานบุคคลประกอบการแปลสัญญาได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2033/2514

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การตีความสัญญาซื้อขาย: เงินชำระล่วงหน้า vs. เงินมัดจำ ศาลพิจารณาจากพฤติการณ์และข้อสัญญา
สัญญาซื้อขาย มีข้อความเกี่ยวกับการชำระเงินว่า ผู้ซื้อได้ชำระเงินในวันทำสัญญา 40,000 บาท ไม่ชัดแจ้งว่าเป็นเงินมัดจำหรือเงินที่ชำระราคาของล่วงหน้า ศาลย่อมฟังคำพยานบุคคลประกอบการแปลสัญญาได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1988/2514

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องแทนผู้เยาว์: บิดาไม่ได้จดทะเบียนสมรส/บุตร ไม่มีอำนาจฟ้อง
บิดาผู้เยาว์ซึ่งอยู่กินเป็นสามีภริยากับมารดาผู้เยาว์ภายหลังวันให้ใช้บทบัญญัติบรรพ 5 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์โดยมิได้จดทะเบียนสมรสกันตามกฎหมาย และมิได้จดทะเบียนว่าผู้เยาว์เป็นบุตร หรือศาลได้พิพากษาว่าเป็นบุตร ย่อมไม่มีอำนาจฟ้องแทนผู้เสียหายซึ่งเป็นผู้เยาว์ในฐานะผู้แทนโดยชอบธรรมได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 5(1) และปัญหาอำนาจฟ้องในกรณีนี้เป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อย ซึ่งศาลหยิบยกขึ้นวินิจฉัยเองได้ แม้จำเลยจะมิได้ต่อสู้ในข้อนี้ไว้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1988/2514 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีอาญาแทนผู้เยาว์: บิดาไม่ได้จดทะเบียนสมรส/บุตร ไม่มีอำนาจฟ้อง
บิดาผู้เยาว์ซึ่งอยู่กินเป็นสามีภริยากับมารดาผู้เยาว์ภายหลังวันให้ใช้บทบัญญัติบรรพ 5 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์โดยมิได้จดทะเบียนสมรสกันตามกฎหมาย และมิได้จดทะเบียนว่าผู้เยาว์เป็นบุตร หรือศาลได้พิพากษาว่าเป็นบุตร ย่อมไม่มีอำนาจฟ้องแทนผู้เสียหายซึ่งเป็นผู้เยาว์ในฐานะผู้แทนโดยชอบธรรมได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 5(1) และปัญหาอำนาจฟ้องในกรณีนี้เป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อย ซึ่งศาลหยิบยกขึ้นวินิจฉัยเองได้ แม้จำเลยจะมิได้ต่อสู้ในข้อนี้ไว้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1957/2514

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การป้องกันเกินสมควรแก่เหตุ: การแย่งมีดจากผู้โจมตีและใช้ทำร้ายจนถึงแก่ความตาย
ผู้ตายถือมีดไล่ฟันจำเลย จำเลยจึงใช้จอบตีผู้ตายจนมีดหลุดมือแล้วต่างคนต่างเข้าแย่งมีดกันล้มลงไปทั้งคู่ จำเลยแย่งมีดได้แล้วกลับใช้ฟันผู้ตายไปในขณะที่ล้มอยู่หลายทีจนผู้ตายถึงแก่ความตาย เมื่อปรากฏว่าบาดแผลที่ผู้ตายได้รับบริเวณหน้า ศีรษะ และคอซึ่งเป็นอวัยวะส่วนสำคัญเป็นบาดแผลทำให้ถึงตายได้เกือบทุกแผล แขนขวาส่วนล่างของผู้ตายถูกตีหักจนไม่อาจใช้มือขวาถือมีดฟันทำร้ายจำเลยได้ต่อไปอีก เช่นนี้ การกระทำของจำเลยจึงเป็นการกระทำเพื่อป้องกันเกินสมควรแก่เหตุ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1957/2514 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การป้องกันตนเกินสมควรแก่เหตุ กรณีถูกทำร้ายด้วยมีดและจอบ
ผู้ตายถือมีดไล่ฟันจำเลย จำเลยจึงใช้จอบตีผู้ตายจนมีดหลุดมือแล้วต่างคนต่างเข้าแย่งมีดกันล้มลงไปทั้งคู่ จำเลยแย่งมีดได้แล้วกลับใช้ฟันผู้ตายไปในขณะที่ล้มอยู่หลายทีจนผู้ตายถึงแก่ความตาย เมื่อปรากฏว่าบาดแผลที่ผู้ตายได้รับบริเวณหน้า ศีรษะ และคอซึ่งเป็นอวัยวะส่วนสำคัญเป็นบาดแผลทำให้ถึงตายได้เกือบทุกแผล แขนขวาส่วนล่างของผู้ตายถูกตีหักจนไม่อาจใช้มือขวาถือมีดฟันทำร้ายจำเลยได้ต่อไปอีก เช่นนี้ การกระทำของจำเลยจึงเป็นการกระทำเพื่อป้องกันเกินสมควรแก่เหตุ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1942/2514 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเรียกร้องค่าเสียหายจากผู้ซื้อเนื้อโคที่ถูกขโมย ไม่เข้าข่ายกรรโชกทรัพย์ หากมีสิทธิเรียกร้องตามกฎหมาย
โคของจำเลยที่ 3 ถูกคนร้ายลักไปฆ่าเอาเนื้อขายให้ผู้เสียหายและพวกการที่จำเลยทั้งสี่ร่วมกันเรียกร้องเอาเงินค่าโคจากผู้เสียหาย ถ้าไม่ให้จะเอาตำรวจจับตัวมาดำเนินคดีฐานรับของโจร ผู้เสียหายกลัวจะถูกดำเนินคดีจึงยอมรับใช้และให้เงินแก่จำเลยที่ 3 เจ้าของโค ดังนี้ จะถือว่าเป็นการข่มขืนใจโดยขู่เข็ญผู้เสียหายหาได้ไม่ จำเลยยังไม่มีความผิดฐานกรรโชก
of 48