คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
เฉลิม กรพุกกะณะ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 474 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1174/2518

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การวินิจฉัยเรื่องมรดกอิสลาม ศาลต้องพิจารณาว่าทรัพย์ใดเป็นมรดกก่อน และใช้กฎหมายทั่วไปในการพิจารณา ไม่ใช่กฎหมายอิสลาม
คดีมรดกของผู้นับถือศาสนาอิสลาม ซึ่งต้องใช้กฎหมายอิสลามว่าด้วยครอบครัวมรดกบังคับแทนประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์นั้นเมื่อเป็นเรื่องที่ศาลจะต้องวินิจฉัยเสียก่อนว่าทรัพย์ใดเป็นมรดกหรือไม่ ในการวินิจฉัยเช่นนี้จะนำกฎหมายตามลัทธิศาสนาอิสลามมาใช้บังคับหาได้ไม่ (อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 1203/2494)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1050/2518

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การหลีกเลี่ยงค่าธรรมเนียมศาลไม่ทำให้บุคคลอื่นเสียหายโดยตรง ศาลเป็นผู้เสียหาย
การที่กฎหมายบัญญัติให้ชำระค่าธรรมเนียมศาลนั้น เป็นวิธีการอย่างหนึ่งในการเก็บเป็นรายได้ของรัฐบาลเมื่อมีการหลีกเลี่ยงไม่ชำระค่าธรรมเนียมศาลศาลย่อมเป็นผู้เสียหายบุคคลอื่นหาใช่ผู้เสียหายโดยตรงไม่
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยซึ่งแพ้คดีแพ่งได้ยื่นคำร้องและเบิกความในการขออุทธรณ์และฎีกาอย่างคนอนาถาอันเป็นเท็จว่า จำเลยยากจนไม่มีทรัพย์สินพอจะจำหน่ายจ่ายโอนเพื่อหาเงินมาเสียค่าธรรมเนียมได้ทำให้โจทก์เสียหายโดยต้องอ้างพยานมาสืบต่อสู้ต้องเสียค่าธรรมเนียมค่าทนายและค่าใช้จ่ายขอให้ลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 137,177 ดังนี้ ศาลย่อมพิพากษายกฟ้องเพราะโจทก์ไม่ใช่ผู้เสียหายโดยตรงไม่มีอำนาจฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1050/2518 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าธรรมเนียมศาลและการเป็นผู้เสียหายโดยตรง: ศาลเป็นผู้เสียหายจากการไม่ชำระค่าธรรมเนียม ไม่ใช่คู่ความ
การที่กฎหมายบัญญัติให้ชำระค่าธรรมเนียมศาลนั้น เป็นวิธีการอย่างหนึ่งในการเก็บเป็นรายได้ของรัฐบาล เมื่อมีการหลีกเลี่ยงไม่ชำระค่าธรรมเนียมศาล ศาลย่อมเป็นผู้เสียหาย บุคคลอื่นหาใช่ผู้เสียหายโดยตรงไม่
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยซึ่งแพ้คดีแพ่งได้ยื่นคำร้องและเบิกความในการขออุทธรณ์และฎีกาอย่างคนอนาถาอันเป็นเท็จว่า จำเลยยากจนไม่มีทรัพย์สินพอจะจำหน่ายจ่ายโอนเพื่อหาเงินมาเสียค่าธรรมเนียมได้ ทำให้โจทก์เสียหายโดยต้องอ้างพยานมาสืบต่อสู้ ต้องเสียค่าธรรมเนียมค่าทนายและค่าใช้จ่าย ขอให้ลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 137,177 ดังนี้ ศาลย่อมพิพากษายกฟ้อง เพราะโจทก์ไม่ใช่ผู้เสียหายโดยตรง ไม่มีอำนาจฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1025/2518

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจจับกุมในที่รโหฐานต้องเป็นไปตามเงื่อนไขมาตรา 81 และ 92 แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
การจับโดยไม่ต้องมีหมายจับตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 78(4) นั้น ถ้าเป็นกรณีจับบุคคลในที่รโหฐาน จะต้องอยู่ในบังคับของมาตรา 81(1) ประกอบกับมาตรา 92 ด้วย
จำเลยทำร้ายร่างกาย ด.ด. ไปแจ้งความต่อผู้ใหญ่บ้านของให้จับแต่วันนั้นจับไม่ได้เพราะมืด รุ่งเช้าผู้ใหญ่บ้านพา ด. ไปแจ้งความต่อผู้บังคับกอง ผู้บังคับกองให้ตำรวจไปกับผู้ใหญ่บ้านเพื่อจับ แต่ไม่พบตึงพากันกลับ ผู้บังคับกองได้สั่งด้วยวาจาว่า ถ้าพบให้จับจำเลยมาดำเนินคดี ตอนเย็นวันนั้นเองผู้ใหญ่บ้านกับผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านพากันไปจับจำเลยโดยคนทั้งสองไม่มีหมายจับ พบจำเลยอยู่ใต้ถุนบ้าน ท.ผู้ใหญ่บ้านแจ้งแก่จำเลยว่า ตำรวจต้องการตัวเรื่องทำร้ายร่างกาย ด.จำเลยไม่ยอมให้จับและต่อสู้ขัดขวาง การเข้าไปจับจำเลยถึงใต้ถุนบ้าน ท. อันเป็นที่รโหฐานเช่นนี้ เป็นกรณีซึ่งอยู่ในบังคับของมาตรา 81(1)ประกอบกับมาตรา 92 ด้วย เมื่อกรณีไม่เข้าด้วยข้อยกเว้นดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 92 การเข้าไปจับนั้นจึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย ที่จำเลยขัดขวางการจับกุมจึงไม่เป็นความผิดฐานต่อสู้หรือขัดขวางเจ้าพนักงานในการปฏิบัติการตามหน้าที่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1025/2518 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจับกุมในที่รโหฐานต้องเป็นไปตามขั้นตอน หากไม่ชอบด้วยกฎหมาย ผู้ถูกจับมีสิทธิขัดขวางได้
การจับโดยไม่ต้องมีหมายจับตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 78(4) นั้น ถ้าเป็นกรณีจับบุคคลในที่รโหฐาน จะต้องอยู่ในบังคับของมาตรา 81(1) ประกอบกับมาตรา 92 ด้วย
จำเลยทำร้ายร่างกาย ด. ด.ไปแจ้งความต่อผู้ใหญ่บ้านขอให้จับ แต่วันนั้นจับไม่ได้เพราะมืด รุ่งเช้าผู้ใหญ่บ้านพา ด.ไปแจ้งความต่อผู้บังคับกอง ผู้บังคับกองให้ตำรวจไปกับผู้ใหญ่บ้านเพื่อจับ แต่ไม่พบจึงพากันกลับ ผู้บังคับกองได้สั่งด้วยวาจาว่า ถ้าพบให้จับจำเลยมาดำเนินคดี ตอนเย็นวันนั้นเองผู้ใหญ่บ้านกับผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านพากันไปจับจำเลยโดยคนทั้งสองไม่มีหมายจับ พบจำเลยอยู่ใต้ถุนบ้าน ท. ผู้ใหญ่บ้านแจ้งแก่จำเลยว่า ตำรวจต้องการตัวเรื่องทำร้ายร่างกาย ด. จำเลยไม่ยอมให้จับและต่อสู้ขัดขวาง การเข้าไปจับจำเลยถึงใต้ถุนบ้าน ท. อันเป็นที่รโหฐานเช่นนี้ เป็นกรณีซึ่งอยู่ในบังคับของมาตรา 81(1) ประกอบกับมาตรา 92 ด้วย เมื่อกรณีไม่เข้าข้อยกเว้นดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 92 การเข้าไปจับนั้นจึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย ที่จำเลยขัดขวางการจับกุมจึงไม่เป็นความผิดฐานต่อสู้หรือขัดขวางเจ้าพนักงานในการปฏิบัติการตามหน้าที่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1009/2518 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เช็คไม่ลงวันที่สมบูรณ์ตามกฎหมาย หากผู้ทรงลงวันที่โดยสุจริต และอายุความเช็คเริ่มต้นวันที่ลงในเช็ค
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 989 ให้นำมาตรา 910 ในเรื่องตั๋วเงินมาใช้บังคับในเรื่องเช็คด้วย ซึ่งมาตรา 910 วรรค 5 บัญญัติว่า ถ้ามิได้ลงวันออกตั๋ว ผู้ทรงโดยชอบด้วยกฎหมายคนหนึ่งคนใดทำการโดยสุจริตจะจดวันที่ถูกต้องแท้จริงลงก็ได้ และตามวรรคหนึ่งบัญญัติว่า ตราสารที่มีรายการขาดตกบกพร่องในเรื่องเช่นนี้ เป็นข้อยกเว้นไม่ถือว่าเป็นตั๋วเงินที่ไม่สมบูรณ์ ดังนั้นเพียงเพราะเหตุที่เช็คไม่ได้ลงวันที่ไว้จึงยังถือไม่ได้ว่าเป็นโมฆะ และการที่จำเลยเอาเงินโจทก์ไปแล้วเขียนเช็คพิพาทที่ยังไม่ได้ลงวันที่มอบให้โจทก์ไว้ ย่อมเป็นการแสดงอยู่ในตัวว่าจำเลยยินยอมให้โจทก์ลงวันที่เอาตามที่โจทก์จะเห็นสมควรเพื่อเรียกเงินตามเช็คเอามาชำระหนี้โจทก์นั่นเอง เมื่อไม่ปรากฏว่าโจทก์ไม่สุจริตอย่างใด เช็คพิพาทจึงเป็นเช็คที่สมบูรณ์ตามกฎหมาย
อายุความตามมาตรา 1002 ซึ่งให้นับแต่วันตั๋วเงินถึงกำหนดนั้น สำหรับในกรณีเรื่องเช็คก็คือวันที่ลงในเช็คนั่นเอง
การที่จำเลยจะเอารถยนต์ตีราคาใช้หนี้โจทก์ได้นั้นก็ต่อเมื่อโจทก์ยอมรับเอารถยนต์นั้นเป็นการชำระหนี้แทนเงิน และการที่หนี้จะระงับไปด้วยการชำระหนี้ด้วยทรัพย์สินอย่างอื่นแทนเงินเช่นนี้ ย่อมจะต้องคิดเป็นจำนวนเท่ากับราคาท้องตลาดในเวลาและ ณ สถานที่ที่ส่งมอบ จะถือเอาราคาที่ตกลงกันไว้ก่อนล่วงหน้าหาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1009/2518

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เช็คไม่ลงวันที่สมบูรณ์ตามกฎหมาย ผู้ทรงสุจริตลงวันได้ การตีราคารถยนต์ชำระหนี้ต้องเป็นราคาท้องตลาด
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 989 ให้นำมาตรา 910 ในเรื่องตั๋วเงินมาใช้บังคับในเรื่องเช็คด้วยซึ่งมาตรา 910 วรรคห้าบัญญัติว่า ถ้ามิได้ลงวันออกตั๋วผู้ทรงโดยชอบด้วยกฎหมายคนหนึ่งคนใดทำการโดยสุจริตจะจดวันที่ถูกต้องแท้จริงลงก็ได้ และตามวรรคหนึ่งบัญญัติว่า ตราสารที่มีรายการขาดตกบกพร่องในเรื่องเช่นนี้ เป็นข้อยกเว้นไม่ถือว่าเป็นตั๋วเงินที่ไม่สมบูรณ์ ดังนั้นเพียงเพราะเหตุที่เช็คไม่ได้ลงวันที่ไว้จึงยังถือไม่ได้ว่าเป็นโมฆะและการที่จำเลยเอาเงินโจทก์ไปแล้วเขียนเช็คพิพาทที่ยังไม่ได้ลงวันที่มอบให้โจทก์ไว้ ย่อมเป็นการแสดงอยู่ในตัวว่าจำเลยยินยอมให้โจทก์ลงวันที่เอาตามที่โจทก์จะเห็นสมควรเพื่อเรียกเงินตามเช็คเอามาชำระหนี้โจทก์นั่นเอง เมื่อไม่ปรากฏว่าโจทก์ไม่สุจริตอย่างใด เช็คพิพาทจึงเป็นเช็คที่สมบูรณ์ตามกฎหมาย
อายุความตามมาตรา 1002 ซึ่งให้นับแต่วันตั๋วเงินถึงกำหนดนั้น สำหรับในกรณีเรื่องเช็คก็คือวันที่ลงในเช็คนั่นเองการที่จำเลยจะเอารถยนต์ตีราคาใช้หนี้โจทก์ได้นั้นก็ต่อเมื่อโจทก์ยอมรับเอารถยนต์นั้นเป็นการชำระหนี้แทนเงินและการที่หนี้จะระงับไปด้วยการชำระหนี้ด้วยทรัพย์สินอย่างอื่นแทนเงินเช่นนี้ ย่อมจะต้องคิดเป็นจำนวนเท่ากับราคาท้องตลาดในเวลาและ ณ สถานที่ที่ส่งมอบ จะถือเอาราคาที่ตกลงกันไว้ก่อนล่วงหน้าหาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 900/2518

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การครอบครองไม้หวงห้าม จำเลยต้องพิสูจน์ที่มา หากพิสูจน์ไม่ได้ถือว่าผิดตามกฎหมาย
โจทก์นำสืบได้ว่าเจ้าพนักงานจับไม้หวงห้ามประเภท ก.กับประเภทข. ได้จากจำเลย จำเลยพิสูจน์ไม่ได้ว่าได้มาโดยชอบด้วยกฎหมายจำเลยมีความผิดตาม พระราชบัญญัติป่าไม้ พ.ศ.2484 มาตรา 84(ฉบับที่ 4) พ.ศ.2503 มาตรา 12 โดยโจทก์ไม่ต้องนำสืบว่าจำเลยรู้อยู่ว่าไม้ของกลางเป็นไม้หวงห้าม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 888/2518

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หนังสือค้ำประกันหลังสัญญากู้ปลอม: ไม่เป็นความผิดสนับสนุนปลอมเอกสาร
ทำหนังสือค้ำประกันหนี้ที่ปลอมสัญญากู้ขึ้น แต่ทำภายหลังที่ได้ทำสัญญากู้ปลอมเสร็จขาดตอนแล้ว ไม่เป็นความผิดฐานสนับสนุนปลอมเอกสาร

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 878/2518 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สินสอดตามกฎหมายและการแปลงหนี้เป็นสัญญากู้ แม้ไม่ได้จดทะเบียนสมรสก็มีผลผูกพัน
อันสินสอดนั้นตามกฎหมายเป็นทรัพย์สินซึ่งฝ่ายชายให้แก่บิดามารดาหรือผู้ปกครองฝ่ายหญิง เพื่อตอบแทนการที่หญิงยอมสมรส และเมื่อมีข้อตกลงจะให้สินสอดแก่กันแล้ว การให้สินสอดภายหลังการสมรสย่อมทำได้เพราะไม่มีอะไรห้ามซึ่งต่างกับของหมั้นอันจะต้องให้กันในเวลาทำสัญญาหมั้นคือก่อนสมรส
บิดามารดาโจทก์จัดให้โจทก์และ ว.ทำพิธีแต่งงานกัน และโจทก์เต็มใจยอมสมรสมารดาโจทก์ได้เตือนให้โจทก์ได้เตือนให้โจทก์และ ว.ไปจดทะเบียนสมรส แต่ทั้งสองคนละเลยไม่ดำเนินการจดทะเบียน โดยว่าจะไปจดวันหลังก็ได้ครั้นอยู่ด้วยกัน 3 เดือนก็มีเหตุต้องเลิกร้างกันไปโดยไม่ได้จดทะเบียน ดังนี้ จะถือว่าฝ่ายหญิงผิดสัญญาฝ่ายเดียวย่อมไม่ได้ ชายเรียกสินสอดคืนไม่ได้
จำเลยและ ว.บุตรชายตกลงหมั้นโจทก์และตกลงจะให้เงินจำนวนหนึ่งเป็นสินสอดแก่บิดามารดาโจทก์ในวันสมรสถึงกำหนด จำเลยขอผัดให้เงินสินสอดภายหลัง มารดาโจทก์ยินยอมให้โจทก์แต่งงานกับ ว.เพื่อมิให้เสียพิธีแต่มิได้มีการจดทะเบียนสมรสกัน หลังจากสมรสแล้วจำเลยขอทำสัญญากู้ให้มารดาโจทก์แทนเงินสินสอดที่ตกลงจะให้ มารดาโจทก์ต้องการเอาเงินนั้นให้โจทก์ จึงให้โจทก์ลงชื่อเป็นผู้ให้กู้ในสัญญากู้ ดังนี้ แม้โจทก์กับ ว.จะมิได้จดทะเบียนสมรสกันแต่เมื่อการที่มิได้จดทะเบียนสมรสนั้น จะถือว่าฝ่ายหญิงผิดสัญญาฝ่ายเดียวไม่ได้แล้ว ชายย่อมเรียกสินสอดคืนไม่ได้ สัญญากู้จึงมีมูลหนี้เนื่องมาจากเงินสินสอดอันเป็นมูลหนี้ชอบด้วยกฎหมาย เมื่อบิดามารดาโจทก์ตกลงยกให้โจทก์ และจำเลยยินยอมทำสัญญากับโจทก์เพราะมูลหนี้นี้แล้ว จำเลยย่อมต้องถูกผูกพันให้รับผิดตามสัญญากู้ที่แปลงหนี้มานี้
of 48