พบผลลัพธ์ทั้งหมด 474 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 878/2518 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สินสอดตามกฎหมายและการแปลงหนี้เป็นสัญญากู้ แม้ไม่ได้จดทะเบียนสมรสก็มีผลผูกพัน
อันสินสอดนั้นตามกฎหมายเป็นทรัพย์สินซึ่งฝ่ายชายให้แก่บิดามารดาหรือผู้ปกครองฝ่ายหญิง เพื่อตอบแทนการที่หญิงยอมสมรส และเมื่อมีข้อตกลงจะให้สินสอดแก่กันแล้ว การให้สินสอดภายหลังการสมรสย่อมทำได้เพราะไม่มีอะไรห้ามซึ่งต่างกับของหมั้นอันจะต้องให้กันในเวลาทำสัญญาหมั้นคือก่อนสมรส
บิดามารดาโจทก์จัดให้โจทก์และ ว.ทำพิธีแต่งงานกัน และโจทก์เต็มใจยอมสมรสมารดาโจทก์ได้เตือนให้โจทก์ได้เตือนให้โจทก์และ ว.ไปจดทะเบียนสมรส แต่ทั้งสองคนละเลยไม่ดำเนินการจดทะเบียน โดยว่าจะไปจดวันหลังก็ได้ครั้นอยู่ด้วยกัน 3 เดือนก็มีเหตุต้องเลิกร้างกันไปโดยไม่ได้จดทะเบียน ดังนี้ จะถือว่าฝ่ายหญิงผิดสัญญาฝ่ายเดียวย่อมไม่ได้ ชายเรียกสินสอดคืนไม่ได้
จำเลยและ ว.บุตรชายตกลงหมั้นโจทก์และตกลงจะให้เงินจำนวนหนึ่งเป็นสินสอดแก่บิดามารดาโจทก์ในวันสมรสถึงกำหนด จำเลยขอผัดให้เงินสินสอดภายหลัง มารดาโจทก์ยินยอมให้โจทก์แต่งงานกับ ว.เพื่อมิให้เสียพิธีแต่มิได้มีการจดทะเบียนสมรสกัน หลังจากสมรสแล้วจำเลยขอทำสัญญากู้ให้มารดาโจทก์แทนเงินสินสอดที่ตกลงจะให้ มารดาโจทก์ต้องการเอาเงินนั้นให้โจทก์ จึงให้โจทก์ลงชื่อเป็นผู้ให้กู้ในสัญญากู้ ดังนี้ แม้โจทก์กับ ว.จะมิได้จดทะเบียนสมรสกันแต่เมื่อการที่มิได้จดทะเบียนสมรสนั้น จะถือว่าฝ่ายหญิงผิดสัญญาฝ่ายเดียวไม่ได้แล้ว ชายย่อมเรียกสินสอดคืนไม่ได้ สัญญากู้จึงมีมูลหนี้เนื่องมาจากเงินสินสอดอันเป็นมูลหนี้ชอบด้วยกฎหมาย เมื่อบิดามารดาโจทก์ตกลงยกให้โจทก์ และจำเลยยินยอมทำสัญญากับโจทก์เพราะมูลหนี้นี้แล้ว จำเลยย่อมต้องถูกผูกพันให้รับผิดตามสัญญากู้ที่แปลงหนี้มานี้
บิดามารดาโจทก์จัดให้โจทก์และ ว.ทำพิธีแต่งงานกัน และโจทก์เต็มใจยอมสมรสมารดาโจทก์ได้เตือนให้โจทก์ได้เตือนให้โจทก์และ ว.ไปจดทะเบียนสมรส แต่ทั้งสองคนละเลยไม่ดำเนินการจดทะเบียน โดยว่าจะไปจดวันหลังก็ได้ครั้นอยู่ด้วยกัน 3 เดือนก็มีเหตุต้องเลิกร้างกันไปโดยไม่ได้จดทะเบียน ดังนี้ จะถือว่าฝ่ายหญิงผิดสัญญาฝ่ายเดียวย่อมไม่ได้ ชายเรียกสินสอดคืนไม่ได้
จำเลยและ ว.บุตรชายตกลงหมั้นโจทก์และตกลงจะให้เงินจำนวนหนึ่งเป็นสินสอดแก่บิดามารดาโจทก์ในวันสมรสถึงกำหนด จำเลยขอผัดให้เงินสินสอดภายหลัง มารดาโจทก์ยินยอมให้โจทก์แต่งงานกับ ว.เพื่อมิให้เสียพิธีแต่มิได้มีการจดทะเบียนสมรสกัน หลังจากสมรสแล้วจำเลยขอทำสัญญากู้ให้มารดาโจทก์แทนเงินสินสอดที่ตกลงจะให้ มารดาโจทก์ต้องการเอาเงินนั้นให้โจทก์ จึงให้โจทก์ลงชื่อเป็นผู้ให้กู้ในสัญญากู้ ดังนี้ แม้โจทก์กับ ว.จะมิได้จดทะเบียนสมรสกันแต่เมื่อการที่มิได้จดทะเบียนสมรสนั้น จะถือว่าฝ่ายหญิงผิดสัญญาฝ่ายเดียวไม่ได้แล้ว ชายย่อมเรียกสินสอดคืนไม่ได้ สัญญากู้จึงมีมูลหนี้เนื่องมาจากเงินสินสอดอันเป็นมูลหนี้ชอบด้วยกฎหมาย เมื่อบิดามารดาโจทก์ตกลงยกให้โจทก์ และจำเลยยินยอมทำสัญญากับโจทก์เพราะมูลหนี้นี้แล้ว จำเลยย่อมต้องถูกผูกพันให้รับผิดตามสัญญากู้ที่แปลงหนี้มานี้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 820/2518
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของธนาคารต่อการคืนเช็คให้บุคคลอื่น การประเมินความเสียหายที่ห่างไกลต่อเหตุ
โจทก์นำเช็คของธนาคาร ท. จำนวนเงิน84,000บาทซึ่ง ซ. เป็นผู้สั่งจ่ายฝากเข้าบัญชีของโจทก์ที่ธนาคารจำเลยจำเลยส่งเช็คฉบับนั้นไปเรียกเก็บเงินจากธนาคาร ท. แต่ธนาคาร ท. ปฏิเสธการจ่ายเงินและส่งเช็คฉบับนั้นคืน ต่อมาพนักงานของจำเลยได้คืนเช็คฉบับนั้นให้แก่ผู้ที่พนักงานของจำเลยไม่เคยรู้จักมาก่อนซึ่งมาอ้างว่าเป็นลูกจ้างของโจทก์ไปโดยไม่ตรวจสอบดูหลักฐาน ย่อมเป็นการกระทำที่ประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง ถ้ามีความเสียหายเกิดขึ้น จำเลยก็ต้องรับผิดในการกระทำของพนักงานของตนแต่การที่โจทก์ฟ้องเรียกค่าเสียหายจากจำเลยเท่ากับจำนวนเงินที่ปรากฏในเช็คฉบับนั้น นอกจากการที่เช็คพิพาทถูกธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินซึ่งแสดงอยู่ในตัวว่ายังห่างไกลต่อการที่คาดหมายได้ว่า โจทก์จะสามารถฟ้องเรียกเงินจาก ซ. ได้เต็มตามจำนวนเงินในเช็คนั้นแล้ว ตามฟ้องโจทก์ได้อ้างแต่เพียงว่าโจทก์ต้องเสียหายเพราะโจทก์ต้องสูญเสียเช็คฉบับนั้นสำหรับที่จะใช้เป็นหลักฐานในการฟ้อง ซ. ไปเท่านั้น กรณีจึงยังเป็นความเสียหายที่ห่างไกลต่อเหตุทั้งธนาคารจำเลยนำสืบฟังได้ว่า เมื่อโจทก์นำเช็คไปเข้าบัญชีแล้วเพียง 6 วัน โจทก์ก็ทราบว่าเช็คฉบับนั้นถูกปฏิเสธการจ่ายเงินจึงยังมีทางที่โจทก์จะขอนำสืบพยานบุคคลแทนเช็คที่สูญหายไปได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 93 ฉะนั้น ที่โจทก์อ้างว่าโจทก์เสียหายไปแล้วเป็นเงิน 84,000 บาท เท่าจำนวนเงินในเช็คเนื่องจากการที่โจทก์ต้องสูญเสียเช็คพิพาทไปนั้น จึงยังห่วงไกลต่อความเป็นจริงมาก ศาลไม่อาจบังคับให้จำเลยรับผิดชดใช้ค่าเสียหายให้โจทก์ได้ดังที่โจทก์กล่าวอ้าง ค่าเสียหายประการอื่นๆ ถ้าหากจะมีโจทก์ก็มิได้ฟ้องเรียกร้องมาศาลจึงต้องยกฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 820/2518 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความเสียหายจากการคืนเช็คให้บุคคลอื่น ความรับผิดของธนาคาร และขอบเขตค่าเสียหายที่บังคับใช้ได้
โจทก์นำเช็คของธนาคาร ท.จำนวนเงิน 84,000 บาท ซึ่ง ซ.เป็นผู้สั่งจ่ายฝากเข้าบัญชีของโจทก์ที่ธนาคารจำเลย จำเลยส่งเช็คฉบับนั้นไปเรียกเก็บเงินจากธนาคาร ท. แต่ธนาคาร ท.ปฏิเสธการจ่ายเงินและส่งเช็คฉบับนั้นคืน ต่อมาพนักงานของจำเลยได้คืนเช็คฉบับนั้นให้แก่ผู้ที่พนักงานของจำเลยไม่เคยรู้จักมาก่อนซึ่งมาอ้างว่าเป็นลูกจ้าง ของโจทก์ไป โดยไม่ตรวจสอบดูหลักฐาน ย่อมเป็นการกระทำที่ประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง ถ้ามีความเสียหายเกิดขึ้น จำเลยก็ต้องรับผิดในการกระทำของพนักงานของตน แต่การที่โจทก์ฟ้องเรียกค่าเสียหายจากจำเลยเท่ากับจำนวนเงินที่ปรากฏในเช็คฉบับนั้น นอกจากการที่เช็คพิพาทถูกธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินซึ่งแสดงอยู่ในตัวว่ายังห่างไกลต่อการที่คาดหมายได้ว่า โจทก์จะสามารถฟ้องเรียกเงินจาก ซ.ได้เต็มตามจำนวนเงินในเช็คนั้นแล้ว ตามฟ้องโจทก์ได้อ้างแต่เพียงว่าโจทก์ต้องเสียหายเพราะโจทก์ต้องสูญเสียเช็คฉบับนั้นสำหรับที่จะใช้เป็นหลักฐาน ในการฟ้อง ซ.ไปเท่านั้น กรณีจึงยังเป็นความเสียหายที่ห่างไกลต่อเหตุ ทั้งธนาคารจำเลยนำสืบฟังได้ว่า เมื่อโจทก์นำเช็คไปเข้าบัญชีแล้วเพียง 6 วัน โจทก์ก็ทราบว่าเช็คฉบับนั้นถูกปฏิเสธการจ่ายเงิน จึงยังมีทางที่โจทก์จะขอนำสืบพยานบุคคลแทนเช็คที่สูญหายไปได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 93 ฉะนั้น ที่โจทก์อ้างว่าโจทก์เสียหายไปแล้วเป็นเงิน 84,000 บาท เท่าจำนวนเงินในเช็คเนื่องจากการที่โจทก์ต้องสูญเสียเช็คพิพาทไปนั้น จึงยังห่างไกลต่อความเป็นจริงมาก ศาลไม่อาจบังคับให้จำเลยรับผิดชดใช้ค่าเสียหายให้โจทก์ได้ ดังที่โจทก์กล่าวอ้างค่าเสียหายประการอื่น ๆ ถ้าหากจะมีโจทก์ก็มิได้ฟ้องเรียกร้องมาศาลจึงต้องยกฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 665/2518
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาบัญชีเดินสะพัดต่ออายุโดยปริยาย & ดอกเบี้ยทบต้นหลังบอกกล่าวบังคับจำนอง
สัญญาบัญชีเดินสะพัดมีกำหนดเวลา 1 ปี 6 เดือน แต่หลังจากนั้นคู่สัญญายังติดต่อให้บัญชีเดินสะพัดเดินอยู่ถือว่าเลิกกันเมื่อเจ้าหนี้บอกกล่าวบังคับจำนอง เจ้าหนี้เรียกดอกเบี้ยทบต้นหลังจากนั้นอีกไม่ได้
คำสั่งให้จำเลยใช้ค่าฤชาธรรมเนียมแทนโจทก์ ศาลสั่งในคำพิพากษาได้ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 167 แม้โจทก์มิได้มีคำขอมาในฟ้อง
คำสั่งให้จำเลยใช้ค่าฤชาธรรมเนียมแทนโจทก์ ศาลสั่งในคำพิพากษาได้ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 167 แม้โจทก์มิได้มีคำขอมาในฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 625/2518
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การป้องกันตัวและการใช้สิทธิป้องกันตัวเมื่อถูกทำร้ายก่อน แม้จะมีอาวุธ
จำเลยมีอายุ 60 ปีเศษ กำลังขึ้นอยู่บนต้นตาลผู้ตายอายุประมาณ 30 ปี ได้มาร้องท้าทายให้จำเลยมาฟันกัน จำเลยลงมาจากต้นตาล ในมือถือมีดปาดตาล แต่ยังไม่ทันได้ต่อสู้กันเพราะมีผู้อื่นห้ามไว้ จำเลยวิ่งหนีกลับไปที่ขนำที่พักของจำเลยพร้อมกับร้องขอความช่วยเหลือจากผู้อื่น แสดงว่าจำเลยมีความเกรงกลัวผู้ตายผู้ตายมีขวานวิ่งตามไปติดๆ ห่างกันเพียง 2 วา จำเลยหนีไปถึงขนำที่พักของจำเลยแล้ว ผู้ตายยังตามไปใช้ขวานฟันจำเลยก่อนที่หน้าขนำที่พักของจำเลย จำเลยจึงคว้าพร้างอฟันไปถูกที่ศีรษะของผู้ตายเพียงทีเดียวเท่านั้น การกระทำของจำเลยย่อมเป็นการป้องกันตัวพอสมควรแก่เหตุ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 625/2518 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การป้องกันตัว: การกระทำเพื่อปกป้องชีวิตจากภัยอันตรายที่ใกล้เข้ามา การวิ่งหนีและการร้องขอความช่วยเหลือแสดงถึงความเกรงกลัว
จำเลยมีอายุ 60 ปีเศษ กำลังขึ้นอยู่บนต้นตาลผู้ตายอายุประมาณ 30 ปี ได้มาร้องท้าทายให้จำเลยมาฟันกัน จำเลยลงมาจากต้นตาล ในมือถือมีดปาดตาล แต่ยังไม่ทันได้ต่อสู้กันเพราะมีผู้อื่นห้ามไว้ จำเลยวิ่งหนีกลับไปที่ขนำที่พักของจำเลยพร้อมกับร้องขอความช่วยเหลือจากผู้อื่น แสดงว่าจำเลยมีความเกรงกลัวผู้ตาย ผู้ตายมีขวานวิ่งตามไปติด ๆ ห่างกันเพียง 2 วา จำเลยหนีไปถึงขนำที่พักของจำเลยแล้วผู้ตายยังตามไปใช้ขวานฟันจำเลยก่อนที่หน้าขนำที่พักของจำเลย จำเลยจึงคว้าพร้างอฟันไปถูกที่ศีรษะของผู้ตายเพียงทีเดียวเท่านั้น การกระทำของจำเลยย่อมเป็นการป้องกันตัวพอสมควรแก่เหตุ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 608/2518
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาประนีประนอมยอมความ: ดอกเบี้ยซ้อนดอกเบี้ย
คู่กรณีทำสัญญาประนีประนอมยอมความเอาหนี้เงินกับดอกเบี้ยที่ค้างชำระเป็นต้นเงินและให้คิดดอกเบี้ยในจำนวนเงินนั้นอีกดังนี้แม้จำนวนต้นเงินนี้มีดอกเบี้ยเดิมรวมอยู่ด้วย ก็ไม่เป็นการคิดดอกเบี้ยซ้อนดอกเบี้ยตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 224 วรรค 2
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 548/2518 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องค่าเสียหายจากอุบัติเหตุทางรถยนต์ของผู้เช่าซื้อ และความรับผิดของผู้รับประกันภัย
กรณีโจทก์เช่าซื้อรถยนต์มาด้วยปากเปล่าโดยไม่ได้ทำเป็นหนังสือ แม้สัญญาเช่าซื้อตกเป็นโมฆะก็ตาม แต่โจทก์ได้รับมอบรถยนต์จากเจ้าของมาไว้ในความครอบครองโดยมีสิทธิที่จะ ใช้สอยหาประโยชน์และได้เคยชำระเงินค่าเช่าซื้อไปโดยมีหลักฐานเป็นหนังสือ ฉะนั้น เมื่อสิทธิของโจทก์ที่จะได้ครอบครองใช้สอยหาประโยชน์จากรถยนต์ดังกล่าวได้รับความกระทบกระเทือนเสียหาย จากจำเลยผู้ทำละเมิด โจทก์ก็ชอบที่จะใช้สิทธิทางศาลเรียกร้องให้จำเลยชดใช้ค่าเสียหายที่ถูกละเมิดได้ คือมีอำนาจฟ้องเรียกค่าเสียหายที่ต้องขาดประโยชน์จากการนำรถยนต์ออกรับจ้างหาผลประโยชน์และมีสิทธิเรียก ร้องให้จำเลยชดใช้ค่าเสียหายของสินค้าที่โจทก์รับจ้างบรรทุกมาด้วย แต่โจทก์หามีสิทธิที่จะเรียกร้องค่าเสียหายที่เกี่ยวกับตัวรถยนต์โดยตรงไม่ กล่าวคือไม่มีอำนาจที่จะฟ้องให้จำเลยใช้ค่าเสียหายที่โจทก์ต้องออกค่าซ่อมรถเองและค่าเสื่อมราคาของรถ ผู้มีกรรมสิทธิ์เป็นเจ้าของรถเท่านั้นที่จะมีสิทธิฟ้องเรียกค่าเสียหาย 2 รายการนี้ได้
ตามคำขอท้ายฟ้องของโจทก์ โจทก์ขอให้จำเลยแต่ละคนรับผิดร่วมกันและแทนกันโดยสิ้นเชิงเต็มจำนวนซึ่งโจทก์ย่อมจะเลือกบังคับเอาจาก จำเลยคนใดคนหนึ่งก็ได้ และโดยเหตุที่จำเลยที่ 3 มีหน้าที่ความรับผิดตามสัญญากรมธรรม์ต่อบุคคลภายนอก ซึ่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 887 ได้กำหนดไว้ว่า ให้ผู้ต้องเสียหายได้รับค่าสินไหมทดแทนจากผู้รับประกันภัยโดยตรง ฉะนั้น การที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้จำเลยที่ 3 ใช้เงินแก่โจทก์ทั้งสองก่อนในวงเงินไม่เกินกรมธรรม์ประกันภัยนั้นจึงหาเป็นการเกินคำขอตามฟ้องของโจทก์ไม่
ตามคำขอท้ายฟ้องของโจทก์ โจทก์ขอให้จำเลยแต่ละคนรับผิดร่วมกันและแทนกันโดยสิ้นเชิงเต็มจำนวนซึ่งโจทก์ย่อมจะเลือกบังคับเอาจาก จำเลยคนใดคนหนึ่งก็ได้ และโดยเหตุที่จำเลยที่ 3 มีหน้าที่ความรับผิดตามสัญญากรมธรรม์ต่อบุคคลภายนอก ซึ่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 887 ได้กำหนดไว้ว่า ให้ผู้ต้องเสียหายได้รับค่าสินไหมทดแทนจากผู้รับประกันภัยโดยตรง ฉะนั้น การที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้จำเลยที่ 3 ใช้เงินแก่โจทก์ทั้งสองก่อนในวงเงินไม่เกินกรมธรรม์ประกันภัยนั้นจึงหาเป็นการเกินคำขอตามฟ้องของโจทก์ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 548/2518
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเช่าซื้อโมฆะ แต่ผู้เช่าซื้อมีสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายจากละเมิดได้จำกัดเฉพาะความเสียหายจากการขาดประโยชน์และการบรรทุก
กรณีโจทก์เช่าซื้อรถยนต์มาด้วยปากเปล่าโดยไม่ได้ทำเป็นหนังสือ แม้สัญญาเช่าซื้อตกเป็นโมฆะก็ตามแต่โจทก์ได้รับมอบรถยนต์จากเจ้าของมาไว้ในความครอบครองโดยมีสิทธิที่จะใช้สอยหาประโยชน์และได้เคยชำระเงินค่าเช่าซื้อไปโดยมีหลักฐานเป็นหนังสือฉะนั้น เมื่อสิทธิของโจทก์ที่จะได้ครอบครองใช้สอยหาประโยชน์จากรถยนต์ดังกล่าวได้รับความกระทบกระเทือนเสียหายจากจำเลยผู้ทำละเมิด โจทก์ก็ชอบที่จะใช้สิทธิทางศาลเรียกร้องให้จำเลยชดใช้ค่าเสียหายที่ถูกละเมิดได้ คือมีอำนาจฟ้องเรียกค่าเสียหายที่ต้องขาดประโยชน์จากการนำรถยนต์ออกรับจ้างหาผลประโยชน์และมีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยชดใช้ค่าเสียหายของสินค้าที่โจทก์รับจ้างบรรทุกมาด้วยแต่โจทก์หามีสิทธิที่จะเรียกร้องค่าเสียหายที่เกี่ยวกับตัวรถยนต์โดยตรงไม่กล่าวคือ ไม่มีอำนาจที่จะฟ้องให้จำเลยใช้ค่าเสียหายที่โจทก์ต้องออกค่าซ่อมรถเองและค่าเสื่อมราคาของรถผู้มีกรรมสิทธิ์เป็นเจ้าของรถเท่านั้นที่จะมีสิทธิฟ้องเรียกค่าเสียหาย 2 รายการนี้ได้
ตามคำขอท้ายฟ้องของโจทก์ โจทก์ขอให้จำเลยแต่ละคนรับผิดร่วมกันและแทนกันโดยสิ้นเชิงเต็มจำนวนซึ่งโจทก์ย่อมจะเลือกบังคับเอาจากจำเลยคนใดคนหนึ่งก็ได้ และโดยเหตุที่จำเลยที่ 3 มีหน้าที่ความรับผิดตามสัญญากรมธรรม์ต่อบุคคลภายนอกซึ่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 887 ได้กำหนดไว้ว่า ให้ผู้ต้องเสียหายได้รับค่าสินไหมทดแทนจากผู้รับประกันภัยโดยตรง ฉะนั้น การที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้จำเลยที่ 3 ใช้เงินแก่โจทก์ทั้งสองก่อนในวงเงินไม่เกินกรมธรรม์ประกันภัยนั้นจึงหาเป็นการเกินคำขอตามฟ้องของโจทก์ไม่
ตามคำขอท้ายฟ้องของโจทก์ โจทก์ขอให้จำเลยแต่ละคนรับผิดร่วมกันและแทนกันโดยสิ้นเชิงเต็มจำนวนซึ่งโจทก์ย่อมจะเลือกบังคับเอาจากจำเลยคนใดคนหนึ่งก็ได้ และโดยเหตุที่จำเลยที่ 3 มีหน้าที่ความรับผิดตามสัญญากรมธรรม์ต่อบุคคลภายนอกซึ่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 887 ได้กำหนดไว้ว่า ให้ผู้ต้องเสียหายได้รับค่าสินไหมทดแทนจากผู้รับประกันภัยโดยตรง ฉะนั้น การที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้จำเลยที่ 3 ใช้เงินแก่โจทก์ทั้งสองก่อนในวงเงินไม่เกินกรมธรรม์ประกันภัยนั้นจึงหาเป็นการเกินคำขอตามฟ้องของโจทก์ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 476/2518 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การนิยาม 'ยาเส้นปรุง' ตาม พ.ร.บ.ยาสูบ: การผสมยาเส้นพื้นเมืองกับยาเส้นเวอร์ยิเนียเข้าข่ายหรือไม่
พระราชบัญญัติยาสูบ พ.ศ.2509 มาตรา 4 แก้ไขโดยพระราชบัญญัติยาสูบ (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2511 มาตรา 3 บัญญัติว่า "ยาเส้นปรุง" หมายความว่า ใบยาซึ่งมิใช่ยาพันธุ์ยาสูบพื้นเมืองหรือยาอัดซึ่งได้หั่นเป็นเส้นและปรุงหรือปนด้วยวัตถุอื่นนอกจากน้ำ คำว่าวัตถุในพระราชบัญญัติยาสูบไม่ได้บัญญัติไว้โดยเฉพาะว่าหมายความถึงอะไร จึงต้องถือตามความหมายทั่ว ๆ ไปว่า หมายถึงสิ่งต่าง ๆ จะเป็นอะไรก็ได้ ยาเส้นพันธุ์พื้นเมืองจึงต้องอยู่ในความหมายของคำว่าเป็นวัตถุอย่างหนึ่งและมิใช่เป็นวัตถุที่เรียกว่าน้ำ ดังนั้น การนำเอายาเส้นพันธุ์พื้นเมืองมาปนกับยาเส้นพันธุ์เวอร์ยิเนียซึ่งมิใช่ยาสูบพื้นเมืองหรือยาอัด จึงเป็นยาเส้นปรุงตามความหมายแห่งพระราชบัญญัติยาสูบ