พบผลลัพธ์ทั้งหมด 474 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 151/2518
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประมาทในการขับรถและการพิพากษาลงโทษ แม้ข้อเท็จจริงไม่ตรงตามฟ้อง
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยขับรถชนรถโจทก์ร่วมในขณะรถโจทก์ร่วมหยุดอยู่ แต่ทางพิจารณาได้ความว่า รถโจทก์ร่วมกำลังขับเคลื่อนไปมิได้หยุด เมื่อการชนเกิดขึ้นเนื่องจากการขับรถโดยประมาทของจำเลย ศาลย่อมพิพากษาลงโทษจำเลยได้หาใช่เป็นการนอกฟ้องนอกประเด็น และเป็นเรื่องที่โจทก์มิได้ประสงค์ให้ลงโทษไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 77/2518
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ทายาทรับผิดชอบค่าใช้จ่ายจัดการศพ แม้ไม่มีข้อต้านการเรียกคืน
ทายาทโดยธรรมต้องรับผิดในฐานะทายาทชดใช้เงินแก่ผู้ที่ออกค่าใช้จ่ายจัดการศพผู้ตาย ทายาทไม่ได้ยกข้อต่อสู้ว่าผู้จัดการศพไม่มีเจตนาเรียกคืน ศาลยกข้อนี้ขึ้นวินิจฉัยไม่ได้ เป็นนอกประเด็น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 47/2518
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบุกรุกการครอบครอง แม้เจ้าของกรรมสิทธิ์อนุญาตให้ผู้อื่นอยู่อาศัย
แม้เรือนจะเป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลยแต่จำเลยอนุญาตให้โจทก์ครอบครองอยู่อาศัย โจทก์บุกรุกรบกวนการครอบครองของจำเลยโดยปกติสุขเป็นความผิดตามมาตรา 362 ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2885/2517 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมสิทธิ์เรือ การซื้อขาย การจดทะเบียน และความผิดฐานฉ้อโกง
จำเลยซื้อเรือยนต์ซึ่งมีน้ำหนักเกินกว่า 6 ตัน แต่การซื้อขายยังไม่ได้จดทะเบียนการโอนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่กรรมสิทธิ์ในเรือดังกล่าวจึงยังไม่ตกมาเป็นของจำเลย ดังนั้นจำเลยซึ่งเป็นผู้ที่ไม่มีกรรมสิทธิ์ จึงไม่อาจจะโอนกรรมสิทธิ์มาให้แก่โจทก์ร่วมได้ แม้โจทก์ร่วมจะได้จดทะเบียนการโอนเรือลำนั้นจากจำเลยโดยถูกต้องตามพระราชบัญญัติเรือไทย พ.ศ. 2481 แล้วก็ตาม โจทก์ร่วมก็หาได้กรรมสิทธิ์ไม่ เพราะพระราชบัญญัติเรือไทยดังกล่าวไม่ได้บัญญัติไว้เลยว่า ไม่ว่ากรณีใด ๆ ผู้ที่ได้จดทะเบียนการโอนเรือตามพระราชบัญญัติฉบับนี้แล้ว จะต้องได้กรรมสิทธิ์เสมอไป
จำเลยตกลงซื้อเรือชื่อ พ. มาจาก ล. แต่ยังไม่ได้จดทะเบียนการโอนกรรมสิทธิ์กันโดยชอบด้วยกฎหมาย หลังจากนั้นจำเลยได้ไปจัดการขอทำทะเบียนเรือลำนั้นขึ้นใหม่ทั้ง ๆ ที่มีทะเบียนโดยชอบอยู่แล้วและเปลี่ยนชื่อเรือเสียใหม่เป็น ช. ด้วยแล้วนำใบทะเบียนเรือฉบับใหม่นั้นไปประกันการกู้ยืมเงิน ป.ต่อมาจำเลยได้จัดการขายเรือดังกล่าวให้แก่โจทก์ร่วมโดยอาศัยใบทะเบียนเรือที่จัดทำขึ้นไว้นั้นเอง พฤติการณ์เช่นนี้แสดงอยู่ว่าความจริงจำเลยได้มีเจตนาและวางแผนการมาแต่แรกเพื่อที่จะฉ้อโกงผู้อื่น ด้วยการหลอกลวงว่าเรือดังกล่าวชื่อ ช. ซึ่งไม่เป็นความจริงโดยใช้ใบทะเบียนที่ได้ใช้อุบายจัดหามาไว้ประกอบข้ออ้างอันเป็นความเท็จโดยไม่บอกให้โจทก์ร่วมรู้ว่าเรือลำนั้นเป็นของผู้อื่น มิใช่ชื่อเรือ ช. การที่โจทก์ร่วมถูกหลอกลวงหลงเชื่อจ่ายเงินให้แก่จำเลยเป็นค่าเรือไปโดยที่จำเลยไม่สามารถและไม่มีเจตนาที่จะโอนกรรมสิทธิ์เรือดังกล่าวให้แก่โจทก์ร่วมจริง ๆ เช่นนี้ การกระทำของจำเลยย่อมเป็นความผิดฐานฉ้อโกง มิใช่ฐานยักยอกเรือ เมื่อโจทก์ไม่ได้บรรยายฟ้องขอให้ลงโทษฐานฉ้อโกงมา จึงลงโทษจำเลยฐานนี้ไม่ได้
เมื่อปรากฏว่าโจทก์ร่วมไม่มีกรรมสิทธิ์ในเรือของกลางซึ่งโจทก์ฟ้องว่าจำเลยยักยอกเอาไป ศาลก็พิจารณาสั่งคืนเรือของกลางให้แก่โจทก์ร่วมไม่ได้
จำเลยตกลงซื้อเรือชื่อ พ. มาจาก ล. แต่ยังไม่ได้จดทะเบียนการโอนกรรมสิทธิ์กันโดยชอบด้วยกฎหมาย หลังจากนั้นจำเลยได้ไปจัดการขอทำทะเบียนเรือลำนั้นขึ้นใหม่ทั้ง ๆ ที่มีทะเบียนโดยชอบอยู่แล้วและเปลี่ยนชื่อเรือเสียใหม่เป็น ช. ด้วยแล้วนำใบทะเบียนเรือฉบับใหม่นั้นไปประกันการกู้ยืมเงิน ป.ต่อมาจำเลยได้จัดการขายเรือดังกล่าวให้แก่โจทก์ร่วมโดยอาศัยใบทะเบียนเรือที่จัดทำขึ้นไว้นั้นเอง พฤติการณ์เช่นนี้แสดงอยู่ว่าความจริงจำเลยได้มีเจตนาและวางแผนการมาแต่แรกเพื่อที่จะฉ้อโกงผู้อื่น ด้วยการหลอกลวงว่าเรือดังกล่าวชื่อ ช. ซึ่งไม่เป็นความจริงโดยใช้ใบทะเบียนที่ได้ใช้อุบายจัดหามาไว้ประกอบข้ออ้างอันเป็นความเท็จโดยไม่บอกให้โจทก์ร่วมรู้ว่าเรือลำนั้นเป็นของผู้อื่น มิใช่ชื่อเรือ ช. การที่โจทก์ร่วมถูกหลอกลวงหลงเชื่อจ่ายเงินให้แก่จำเลยเป็นค่าเรือไปโดยที่จำเลยไม่สามารถและไม่มีเจตนาที่จะโอนกรรมสิทธิ์เรือดังกล่าวให้แก่โจทก์ร่วมจริง ๆ เช่นนี้ การกระทำของจำเลยย่อมเป็นความผิดฐานฉ้อโกง มิใช่ฐานยักยอกเรือ เมื่อโจทก์ไม่ได้บรรยายฟ้องขอให้ลงโทษฐานฉ้อโกงมา จึงลงโทษจำเลยฐานนี้ไม่ได้
เมื่อปรากฏว่าโจทก์ร่วมไม่มีกรรมสิทธิ์ในเรือของกลางซึ่งโจทก์ฟ้องว่าจำเลยยักยอกเอาไป ศาลก็พิจารณาสั่งคืนเรือของกลางให้แก่โจทก์ร่วมไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2885/2517
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมสิทธิ์เรือ การซื้อขาย การจดทะเบียน และความผิดฐานฉ้อโกง
จำเลยซื้อเรือยนต์ซึ่งมีน้ำหนักเกินกว่า 6 ตัน แต่การซื้อขายยังไม่ได้จดทะเบียนการโอนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่กรรมสิทธิ์ในเรือดังกล่าวจึงยังไม่ตกมาเป็นของจำเลย ดังนั้นจำเลยซึ่งเป็นผู้ที่ไม่มีกรรมสิทธิ์ จึงไม่อาจจะโอนกรรมสิทธิ์มาให้แก่โจทก์ร่วมได้ แม้โจทก์ร่วมจะได้จดทะเบียนการโอนเรือลำนั้นจากจำเลยโดยถูกต้องตามพระราชบัญญัติเรือไทย พ.ศ.2481 แล้วก็ตาม โจทก์ร่วมก็หาได้กรรมสิทธิ์ไม่ เพราะพระราชบัญญัติเรือไทยดังกล่าวไม่ได้บัญญัติไว้เลยว่า ไม่ว่ากรณีใดๆ ผู้ที่ได้จดทะเบียนการโอนเรือตามพระราชบัญญัติฉบับนี้แล้ว จะต้องได้กรรมสิทธิ์เสมอไป
จำเลยตกลงซื้อเรือชื่อ พ. มาจาก ล. แต่ยังไม่ได้จดทะเบียนการโอนกรรมสิทธิ์กันโดยชอบด้วยกฎหมาย หลังจากนั้นจำเลยได้ไปจัดการขอทำทะเบียนเรือลำนั้นขึ้นใหม่ทั้งๆ ที่มีทะเบียนโดยชอบอยู่แล้วและเปลี่ยนชื่อเรือเสียใหม่เป็น ช. ด้วย แล้วนำใบทะเบียนเรือฉบับใหม่นั้นไปประกันการกู้ยืมเงิน ป.ต่อมาจำเลยได้จัดการขายเรือดังกล่าวให้แก่โจทก์ร่วมโดยอาศัยใบทะเบียนเรือที่จัดทำขึ้นไว้นั้นเอง พฤติการณ์เช่นนี้แสดงอยู่ว่า ความจริงจำเลยได้มีเจตนาและวางแผนการมาแต่แรกเพื่อที่จะฉ้อโกงผู้อื่น ด้วยการหลอกลวงว่าเรือดังกล่าวชื่อ ช. ซึ่งไม่เป็นความจริงโดยใช้ใบทะเบียนที่ได้ใช้อุบายจัดหามาไว้ประกอบข้ออ้างอันเป็นความเท็จโดยไม่บอกให้โจทก์ร่วมรู้ว่าเรือลำนั้นเป็นของผู้อื่น มิใช่ชื่อเรือ ช. การที่โจทก์ร่วมถูกหลอกลวงหลงเชื่อจ่ายเงินให้แก่จำเลยเป็นค่าเรือไปโดยที่จำเลยไม่สามารถและไม่มีเจตนาที่จะโอนกรรมสิทธิ์เรือดังกล่าวให้แก่โจทก์ร่วมจริงๆ เช่นนี้ การกระทำของจำเลยย่อมเป็นความผิดฐานฉ้อโกง มิใช่ฐานยักยอกเรือ เมื่อโจทก์ไม่ได้บรรยายฟ้องขอให้ลงโทษฐานฉ้อโกงมา จึงลงโทษจำเลยฐานนี้ไม่ได้
เมื่อปรากฏว่าโจทก์ร่วมไม่มีกรรมสิทธิ์ในเรือของกลางซึ่งโจทก์ฟ้องว่าจำเลยยักยอกเอาไป ศาลก็พิจารณาสั่งคืนเรือของกลางให้แก่โจทก์ร่วมไม่ได้
จำเลยตกลงซื้อเรือชื่อ พ. มาจาก ล. แต่ยังไม่ได้จดทะเบียนการโอนกรรมสิทธิ์กันโดยชอบด้วยกฎหมาย หลังจากนั้นจำเลยได้ไปจัดการขอทำทะเบียนเรือลำนั้นขึ้นใหม่ทั้งๆ ที่มีทะเบียนโดยชอบอยู่แล้วและเปลี่ยนชื่อเรือเสียใหม่เป็น ช. ด้วย แล้วนำใบทะเบียนเรือฉบับใหม่นั้นไปประกันการกู้ยืมเงิน ป.ต่อมาจำเลยได้จัดการขายเรือดังกล่าวให้แก่โจทก์ร่วมโดยอาศัยใบทะเบียนเรือที่จัดทำขึ้นไว้นั้นเอง พฤติการณ์เช่นนี้แสดงอยู่ว่า ความจริงจำเลยได้มีเจตนาและวางแผนการมาแต่แรกเพื่อที่จะฉ้อโกงผู้อื่น ด้วยการหลอกลวงว่าเรือดังกล่าวชื่อ ช. ซึ่งไม่เป็นความจริงโดยใช้ใบทะเบียนที่ได้ใช้อุบายจัดหามาไว้ประกอบข้ออ้างอันเป็นความเท็จโดยไม่บอกให้โจทก์ร่วมรู้ว่าเรือลำนั้นเป็นของผู้อื่น มิใช่ชื่อเรือ ช. การที่โจทก์ร่วมถูกหลอกลวงหลงเชื่อจ่ายเงินให้แก่จำเลยเป็นค่าเรือไปโดยที่จำเลยไม่สามารถและไม่มีเจตนาที่จะโอนกรรมสิทธิ์เรือดังกล่าวให้แก่โจทก์ร่วมจริงๆ เช่นนี้ การกระทำของจำเลยย่อมเป็นความผิดฐานฉ้อโกง มิใช่ฐานยักยอกเรือ เมื่อโจทก์ไม่ได้บรรยายฟ้องขอให้ลงโทษฐานฉ้อโกงมา จึงลงโทษจำเลยฐานนี้ไม่ได้
เมื่อปรากฏว่าโจทก์ร่วมไม่มีกรรมสิทธิ์ในเรือของกลางซึ่งโจทก์ฟ้องว่าจำเลยยักยอกเอาไป ศาลก็พิจารณาสั่งคืนเรือของกลางให้แก่โจทก์ร่วมไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2847/2517
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตที่ดินฟ้องร้อง: ศาลถือตามแผนที่กลาง แม้เนื้อที่ต่างจากที่ระบุในคำฟ้อง ไม่ถือเป็นการพิพากษาเกินคำขอ
โจทก์กล่าวในฟ้องว่าที่ดินของโจทก์เนื้อที่ประมาณ 3 ไร่ โดยระบุความกว้างยาว และอาณาเขตติดต่อมาในคำฟ้องด้วย ชั้นพิจารณาคู่ความตกลงขอให้ศาลสั่งเจ้าหน้าที่ทำแผนที่กลาง คู่ความทั้งสองฝ่ายตรวจดูแผนที่ดังกล่าวแล้วรับว่าถูกต้อง ดังนี้ เมื่อมีการทำแผนที่กลางเนื้อที่มากขึ้นหรือน้อยลงจากคำฟ้องอย่างไร ก็ต้องถือตามแผนที่กลาง และถ้าศาลพิพากษาให้ฝ่ายชนะคดีได้ที่ดินไม่เกินจำนวนตามแผนที่กลางระบุไว้ ย่อมถือไม่ได้ว่าเป็นการพิจารณาคดีเกินคำขอ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2847/2517 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตที่ดินพิพาท: ศาลใช้แผนที่กลางเป็นหลัก หากพิพากษาไม่เกินเนื้อที่ในแผนที่ ไม่ถือว่าเกินคำขอ
โจทก์กล่าวในฟ้องว่าที่ดินของโจทก์เนื้อที่ประมาณ 3 ไร่โดยระบุความกว้างยาว และอาณาเขตติดต่อมาในคำฟ้องด้วยชั้นพิจารณาคู่ความตกลงขอให้ศาลสั่งเจ้าหน้าที่ทำแผนที่กลางคู่ความทั้งสองฝ่ายตรวจดูแผนที่ดังกล่าวแล้วรับว่าถูกต้อง ดังนี้เมื่อมีการทำแผนที่กลางเนื้อที่มากขึ้นหรือน้อยลงจากคำฟ้องอย่างไรก็ต้องถือตามแผนที่กลาง และถ้าศาลพิพากษาให้ฝ่ายชนะคดีได้ที่ดินไม่เกินจำนวนตามแผนที่กลางระบุไว้ ย่อมถือไม่ได้ว่าเป็นการพิจารณาคดีเกินคำขอ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2687/2517
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้ำหรือไม่: คดีแนวเขตที่ดินกับการละเมิดสิทธิครอบครองเป็นคนละประเด็น ศาลล่างวินิจฉัยคลาด
คดีก่อน จำเลยยื่นคำร้องขอแสดงกรรมสิทธิ์ อ้างว่าจำเลยได้ครอบครองที่ดินโฉนดเลขที่ 1861 ของจำเลยคลาดเคลื่อนรุกล้ำเข้าไปในที่ดินโฉนดเลขที่ 1862 ของโจทก์ เนื้อที่ 100ไร่เศษ เป็นเวลาเกินกว่า 10 ปีแล้ว จึงตกเป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลยโดยทางครอบครองโจทก์ยื่นคำคัดค้าน ศาลชั้นต้นฟังว่า เขตที่ดินโฉนดเลขที่ 1861 ของจำเลยทางทิศใต้อยู่ติดกับเขตที่ดินโฉนดที่ 1862 ของโจทก์ทางทิศเหนือ มีคันนาและกอไผ่เป็นคันเขต จำเลยไม่ได้ปกครองรุกล้ำเข้าไปในเขตโฉนดเลขที่ 1862 ของโจทก์ พิพากษายกฟ้อง คดีถึงที่สุด ส่วนคดีหลัง โจทก์ฟ้องจำเลยว่าจำเลยเข้าไปอาศัยปลูกกระท่อมและอยู่ในที่ดินโฉนดเลขที่1862 ของโจทก์บางส่วนเนื้อที่ 100 ไร่เศษ โดยอาศัยสิทธิการเช่าของบุคคลอื่นที่ขอเช่าที่ดินไปจากโจทก์ โจทก์บอกกล่าวให้จำเลยรื้อกระท่อมออกไปให้พ้นที่ดินโจทก์และอย่าเข้ามาทำนาต่อไป จำเลยไม่ปฏิบัติตาม ขอให้ศาลบังคับจำเลยรื้อกระท่อม ห้ามเข้าเกี่ยวข้องทำนาต่อไป และเรียกค่าเสียหาย ดังนี้ ประเด็นแห่งคดีก่อน ศาลวินิจฉัยชี้ขาดเฉพาะแนวเขตโฉนดที่ดินของโจทก์และจำเลยด้านที่ติดกัน ว่าอยู่ตรงไหนกับชี้ขาดว่าไม่มีการครอบครองที่ดินเป็นปรปักษ์ต่อกัน ส่วนประเด็นแห่งคดีหลังเป็นเรื่องละเมิดกับเรียกค่าเสียหาย จึงเป็นคนละเรื่องและคนละประเด็นกัน มิใช่เรื่องในประเด็นที่ศาลได้วินิจฉัยโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกัน ฟ้องคดีหลังจึงไม่เป็นฟ้องซ้ำกับคดีก่อน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2687/2517 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้ำหรือไม่: คดีแนวเขตที่ดินกับการละเมิดสิทธิครอบครอง
คดีก่อน จำเลยยื่นคำร้องขอแสดงกรรมสิทธิ์ อ้างว่าจำเลยได้ครอบครองที่ดินโฉนดเลขที่ 1861 ของจำเลยคลาดเคลื่อนรุกล้ำเข้าไปในที่ดินโฉนดเลขที่ 1862 ของโจทก์ เนื้อที่ 100ไร่เศษเป็นเวลาเกินกว่า 10 ปีแล้ว จึงตกเป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลยโดยทางครอบครองโจทก์ยื่นคำคัดค้าน ศาลชั้นต้นฟังว่า เขตที่ดินโฉนดเลขที่ 1861 ของจำเลยทางทิศใต้อยู่ติดกับเขตที่ดินโฉนดที่ 1862 ของโจทก์ทางทิศเหนือ มีคันนาและกอไผ่เป็นคันเขตจำเลยไม่ได้ปกครองรุกล้ำเข้าไปในเขตโฉนดเลขที่ 1862 ของโจทก์พิพากษายกฟ้อง คดีถึงที่สุด ส่วนคดีหลัง โจทก์ฟ้องจำเลยว่าจำเลยเข้าไปอาศัยปลูกกระท่อมและอยู่ในที่ดินโฉนดเลขที่1862ของโจทก์บางส่วนเนื้อที่ 100 ไร่เศษ โดยอาศัยสิทธิการเช่าของบุคคลอื่นที่ขอเช่าที่ดินไปจากโจทก์ โจทก์บอกกล่าวให้จำเลยรื้อกระท่อมออกไปให้พ้นที่ดินโจทก์และอย่าเข้ามาทำนาต่อไปจำเลยไม่ปฏิบัติตาม ขอให้ศาลบังคับจำเลยรื้อกระท่อมห้ามเข้าเกี่ยวข้องทำนาต่อไป และเรียกค่าเสียหาย ดังนี้ประเด็นแห่งคดีก่อน ศาลวินิจฉัยชี้ขาดเฉพาะแนวเขตโฉนดที่ดินของโจทก์และจำเลยด้านที่ติดกัน ว่าอยู่ตรงไหนกับชี้ขาดว่าไม่มีการครอบครองที่ดินเป็นปรปักษ์ต่อกัน ส่วนประเด็นแห่งคดีหลังเป็นเรื่องละเมิดกับเรียกค่าเสียหาย จึงเป็นคนละเรื่องและคนละประเด็นกัน มิใช่เรื่องในประเด็นที่ศาลได้วินิจฉัยโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกัน ฟ้องคดีหลังจึงไม่เป็นฟ้องซ้ำกับคดีก่อน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2659/2517
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
พินัยกรรมสมบูรณ์: การพิมพ์ลายนิ้วมือต่อหน้าพยาน และเจตนายกทรัพย์เมื่อเสียชีวิต
ผู้ทำพินัยกรรมได้พิมพ์ลายนิ้วมือลงในช่องที่เขียนว่า"ผู้มอบพินัยกรรม" และมีลายมือชื่อลงไว้ในช่อง "พยาน" 2 คน ส่วนอีกคนหนึ่งลงลายมือชื่อในช่อง "พยาน" และ"ผู้เขียน" ตอนท้ายของพินัยกรรมมีข้อความระบุไว้ด้วยว่า "ข้าพเจ้าจึงลงลายมือชื่อไว้ต่อหน้าพยานหลักฐานไว้เป็นสำคัญ" เป็นข้อความที่ชัดเจนแล้วว่า ผู้ทำพินัยกรรมได้พิมพ์ลายนิ้วมือไว้ต่อหน้าพยานทั้งหมดในพินัยกรรมซึ่งอยู่ต่อหน้าพร้อมกันในขณะทำพินัยกรรมอยู่แล้ว ไม่จำต้องระบุไว้อีกว่า ผู้ทำพินัยกรรมได้ลงลายพิมพ์นิ้วมือไว้ต่อหน้าพยานสองคนพร้อมกัน
ถ้อยคำของผู้ทำพินัยกรรมปรากฏอยู่ในเอกสารว่า "ขอทำหนังสือสัญญาพินัยกรรม" ให้ไว้แก่จำเลยและลงท้ายว่า "เมื่อข้าตายไปขอให้ น.(จำเลย) นำหนังสือฉบับนี้ไปจดทะเบียนรับมรดกได้สมบูรณ์ตามกฎหมาย" แสดงให้เห็นเจตนาของผู้ทำพินัยกรรมอย่างเด่นชัดว่าประสงค์จะยกทรัพย์ของตนให้ผู้รับพินัยกรรม เมื่อผู้ทำพินัยกรรมตายแล้ว ถือได้ว่าเป็นพินัยกรรม (อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 265/2488)
ถ้อยคำของผู้ทำพินัยกรรมปรากฏอยู่ในเอกสารว่า "ขอทำหนังสือสัญญาพินัยกรรม" ให้ไว้แก่จำเลยและลงท้ายว่า "เมื่อข้าตายไปขอให้ น.(จำเลย) นำหนังสือฉบับนี้ไปจดทะเบียนรับมรดกได้สมบูรณ์ตามกฎหมาย" แสดงให้เห็นเจตนาของผู้ทำพินัยกรรมอย่างเด่นชัดว่าประสงค์จะยกทรัพย์ของตนให้ผู้รับพินัยกรรม เมื่อผู้ทำพินัยกรรมตายแล้ว ถือได้ว่าเป็นพินัยกรรม (อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 265/2488)