คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
เฉลิม กรพุกกะณะ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 474 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2659/2517

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ พินัยกรรมสมบูรณ์: การพิมพ์ลายนิ้วมือต่อหน้าพยาน และเจตนายกทรัพย์เมื่อเสียชีวิต
ผู้ทำพินัยกรรมได้พิมพ์ลายนิ้วมือลงในช่องที่เขียนว่า"ผู้มอบพินัยกรรม" และมีลายมือชื่อลงไว้ในช่อง "พยาน" 2 คน ส่วนอีกคนหนึ่งลงลายมือชื่อในช่อง "พยาน" และ"ผู้เขียน" ตอนท้ายของพินัยกรรมมีข้อความระบุไว้ด้วยว่า "ข้าพเจ้าจึงลงลายมือชื่อไว้ต่อหน้าพยานหลักฐานไว้เป็นสำคัญ" เป็นข้อความที่ชัดเจนแล้วว่า ผู้ทำพินัยกรรมได้พิมพ์ลายนิ้วมือไว้ต่อหน้าพยานทั้งหมดในพินัยกรรมซึ่งอยู่ต่อหน้าพร้อมกันในขณะทำพินัยกรรมอยู่แล้ว ไม่จำต้องระบุไว้อีกว่า ผู้ทำพินัยกรรมได้ลงลายพิมพ์นิ้วมือไว้ต่อหน้าพยานสองคนพร้อมกัน
ถ้อยคำของผู้ทำพินัยกรรมปรากฏอยู่ในเอกสารว่า "ขอทำหนังสือสัญญาพินัยกรรม" ให้ไว้แก่จำเลยและลงท้ายว่า "เมื่อข้าตายไปขอให้ น.(จำเลย) นำหนังสือฉบับนี้ไปจดทะเบียนรับมรดกได้สมบูรณ์ตามกฎหมาย" แสดงให้เห็นเจตนาของผู้ทำพินัยกรรมอย่างเด่นชัดว่าประสงค์จะยกทรัพย์ของตนให้ผู้รับพินัยกรรม เมื่อผู้ทำพินัยกรรมตายแล้ว ถือได้ว่าเป็นพินัยกรรม (อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 265/2488)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2645/2517

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การซื้อขายรถยนต์โดยสุจริตของผู้ซื้อจากพ่อค้า รถยนต์คันพิพาทไม่ต้องคืนเจ้าของเดิม
การที่จำเลยที่ 2 เอารถมาแลกเปลี่ยนกับรถคันที่พิพาท โดยตีราคารถและเพิ่มเงินให้เท่ากับราคาของรถคันที่พิพาท และได้ส่งมอบรถพร้อมกับเงินให้แก่จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นเจ้าของร้านบริการขายรถเก่าไปแล้ว ก็ย่อมถือได้ว่าจำเลยที่ 2 ได้ซื้อรถยนต์คันที่พิพาทซึ่งเป็นรถยนต์เก่ามาจากในร้านของจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นพ่อค้าขายรถยนต์เก่า เมื่อไม่ปรากฏพฤติการณ์อันจะถือได้ว่าจำเลยที่ 2 ไม่สุจริตแต่ประการใด จำเลยที่ 2 ก็หาจำต้องคืนรถยนต์คันที่พิพาทให้แก่โจทก์ผู้เป็นเจ้าของแท้จริงไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2645/2517 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การซื้อขายรถยนต์โดยสุจริต ผู้ซื้อไม่ต้องคืนรถให้เจ้าของเดิม
การที่จำเลยที่ 2 เอารถมาแลกเปลี่ยนกับรถคันที่พิพาทโดยตีราคารถและเพิ่มเงินให้เท่ากับราคาของรถคันที่พิพาทและได้ส่งมอบรถพร้อมกับเงินให้แก่จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นเจ้าของร้านบริการขายรถเก่าไปแล้ว ก็ย่อมถือได้ว่าจำเลยที่ 2ได้ซื้อรถยนต์คันที่พิพาทซึ่งเป็นรถยนต์เก่ามาจากในร้านของจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นพ่อค้าขายรถยนต์เก่า เมื่อไม่ปรากฏพฤติการณ์อันจะถือได้ว่าจำเลยที่ 2 ไม่สุจริตแต่ประการใด จำเลยที่ 2ก็หาจำต้องคืนรถยนต์คันที่พิพาทให้แก่โจทก์ผู้เป็นเจ้าของแท้จริงไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2370/2517 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในที่ดินพิพาท: การถอนอุทธรณ์ทำให้ข้อต่อสู้ยุติ การฎีกาต้องประเด็นที่เคยต่อสู้ในชั้นอุทธรณ์
ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่า สิทธิในที่ดินพิพาทครึ่งหนึ่งเป็นของโจทก์อีกครึ่งหนึ่งเป็นทรัพย์มรดกของสามีโจทก์ซึ่งตกทอดไปยังทายาทซึ่งมีอยู่ทั้งหมด 7 คน คือ ตัวโจทก์เองและบุตรโจทก์อีก 6 คน(รวมทั้งสามีจำเลยด้วย) การที่สามีจำเลยเอาที่พิพาทไปขายฝากก. ได้นั้น ก็เพราะสามีจำเลยขอยืมที่พิพาทไปจากโจทก์โจทก์มิได้ยกที่พิพาทให้แก่สามีจำเลยจริงๆ กรณีเป็นดังนี้ จึงเท่ากับว่าศาลชั้นต้นได้วินิจฉัยชี้ขาดแล้วว่า ที่พิพาทไม่ใช่ทรัพย์สินที่สามีจำเลยหาได้ร่วมกันมาดังที่จำเลยให้การต่อสู้คดีไว้ ฉะนั้น เมื่อจำเลยถอนอุทธรณ์เสียแล้ว ข้อต่อสู้ของจำเลยจึงเป็นอันยุติไปตามคำพิพากษาของศาลชั้นต้น จำเลยไม่ได้ฎีกาโต้แย้งในประเด็นที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้ศาลชั้นต้น คงฎีกาแต่เพียงข้อเดียวว่า ที่พิพาทเป็นของจำเลย ศาลฎีกาจึงรับวินิจฉัยให้ไม่ได้ เพราะไม่ใช่เป็นฎีกาในประเด็นที่คู่ความได้ว่ากล่าวกันมาแล้วในชั้นอุทธรณ์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2370/2517

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การถอนอุทธรณ์ทำให้ข้อต่อสู้ยุติ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยประเด็นใหม่ที่ไม่เคยต่อสู้ในชั้นอุทธรณ์
ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่า สิทธิในที่ดินพิพาทครึ่งหนึ่งเป็นของโจทก์ อีกครึ่งหนึ่งเป็นทรัพย์มรดกของสามีโจทก์ซึ่งตกทอดไปยังทายาทซึ่งมีอยู่ทั้งหมด 7 คน คือ ตัวโจทก์เองและบุตรโจทก์อีก 6 คน (รวมทั้งสามีจำเลยด้วย) การที่สามีจำเลยเอาที่พิพาทไปขายฝาก ก. ได้นั้น ก็เพราะสามีจำเลยขอยืมที่พิพาทไปจากโจทก์ โจทก์มิได้ยกที่พิพาทให้แก่สามีจำเลยจริงๆ กรณีเป็นดังนี้ จึงเท่ากับว่าศาลชั้นต้นได้วินิจฉัยชี้ขาดแล้วว่า ที่พิพาทไม่ใช่ทรัพย์สินที่สามีจำเลยหาได้ร่วมกันมาดังที่จำเลยให้การต่อสู้คดีไว้ ฉะนั้น เมื่อจำเลยถอนอุทธรณ์เสียแล้ว ข้อต่อสู้ของจำเลยจึงเป็นอันยุติไปตามคำพิพากษาของศาลชั้นต้น จำเลยไม่ได้ฎีกาโต้แย้งในประเด็นที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้ศาลชั้นต้น คงฎีกาแต่เพียงข้อเดียวว่า ที่พิพาทเป็นของจำเลย ศาลฎีกาจึงรับวินิจฉัยให้ไม่ได้ เพราะไม่ใช่เป็นฎีกาในประเด็นที่คู่ความได้ว่ากล่าวกันมาแล้วในชั้นอุทธรณ์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2181/2517 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฐานะผู้สลักหลังเช็คคือผู้ค้ำประกัน (อาวัล) มีความรับผิดเช่นเดียวกับผู้สั่งจ่าย ไม่ใช่ผู้สลักหลังตามมาตรา 990
การสลักหลังเช็คซึ่งสั่งให้ใช้เงินแก่ผู้ถือนั้น ฐานะของผู้สลักหลังย่อมเป็นเพียงผู้ค้ำประกันการใช้เงินตามเช็คนั้น (อาวัล) สำหรับผู้สั่งจ่ายตามนัยแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 921 และตามมาตรา 940 ผู้สลักหลังย่อมอยู่ในฐานะที่จะต้องผูกพันในเช็คที่พิพาทเป็นอย่างเดียวกันกับผู้สั่งจ่ายเช็คนั้น และย่อมต้องรับผิดต่อผู้ทรงเช็ค ตามมาตรา 967
ผู้ที่เซ็นชื่อสลักหลังเช็ค มีฐานะเป็นผู้รับประกันการใช้เงิน (อาวัล) ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 921 มีความรับผิดเช่นเดียวกับผู้สั่งจ่ายตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 940 หาใช่มีฐานะเป็นผู้สลักหลังไม่ กรณีจึงไม่ต้องด้วยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 990

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2181/2517

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฐานะผู้สลักหลังเช็คคือผู้ค้ำประกัน (อาวัล) มีความรับผิดเท่าผู้สั่งจ่าย ไม่ใช่ผู้สลักหลังตามมาตรา 990
การสลักหลังเช็คซึ่งสั่งให้ใช้เงินแก่ผู้ถือนั้น ฐานะของผู้สลักหลังย่อมเป็นเพียงผู้ค้ำประกันการใช้เงินตามเช็คนั้น (อาวัล) สำหรับผู้สั่งจ่ายตามนัยแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 921 และตามมาตรา 940 ผู้สลักหลังย่อมอยู่ในฐานะที่จะต้องผูกพันในเช็คที่พิพาทเป็นอย่างเดียวกันกับผู้สั่งจ่ายเช็คนั้น และย่อมต้องรับผิดต่อผู้ทรงเช็ค ตามมาตรา 967
ผู้ที่เซ็นชื่อสลักหลังเช็ค มีฐานะเป็นผู้รับประกันการใช้เงิน (อาวัล) ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 921 มีความรับผิดเช่นเดียวกับผู้สั่งจ่ายตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 940 หาใช่มีฐานะเป็นผู้สลักหลังไม่ กรณีจึงไม่ต้องด้วยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 990

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1933/2517

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ที่ดินป่าช้าสาธารณะ แม้เลิกใช้แล้ว ก็ยังคงเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน จนกว่าจะมีกฎหมายถอนสภาพ
ที่พิพาทเป็นส่วนหนึ่งของป่าช้าซึ่งสาธารณชนใช้เผาและฝังศพมานานหลายสิบปีแล้ว จึงเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินที่ราษฎรใช้ประโยชน์ร่วมกัน แม้ต่อมาทางการจะไม่ให้เผาและฝังศพอีก ได้มีการล้างป่าช้าและสร้างสำนักงานราชการขึ้น แต่ก็ไม่ปรากฏว่าได้มีการออกพระราชกฤษฎีกาให้ถอนสภาพที่ดินจากป่าช้าสาธารณะสำหรับสาธารณชนใช้ร่วมกันตามมาตรา 8 วรรคสอง แห่งประมวลกฎหมายที่ดิน ดังนั้น แม้สาธารณชนจะเลิกใช้บริเวณที่พิพาทเป็นป่าช้า ที่พิพาทก็ยังคงเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1304 ทางราชการจะออกโฉนดหรือหนังสือรับรองการทำประโยชน์สำหรับที่พิพาทให้แก่โจทก์ซึ่งเป็นเอกชนหาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1933/2517 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ที่ดินป่าช้าสาธารณะ แม้เลิกใช้แล้วก็ยังเป็นสมบัติของแผ่นดิน ไม่ออกโฉนดให้เอกชนได้
ที่พิพาทเป็นส่วนหนึ่งของป่าช้าซึ่งสาธารณชนใช้เผาและฝังศพมานานหลายสิบปีแล้ว จึงเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินที่ราษฎรใช้ประโยชน์ร่วมกัน แม้ต่อมาทางการจะไม่ให้เผาและฝังศพอีก ได้มีการล้างป่าช้าและสร้างสำนักงานราชการขึ้นแต่ก็ไม่ปรากฏว่าได้มีการออกพระราชกฤษฎีกาให้ถอนสภาพที่ดินจากป่าช้าสาธารณะสำหรับสาธารณชนใช้ร่วมกันตามมาตรา 8 วรรคสอง แห่งประมวลกฎหมายที่ดิน ดังนั้น แม้สาธารณชนจะเลิกใช้บริเวณที่พิพาทเป็นป่าช้าที่พิพาทก็ยังคงเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1304 ทางราชการจะออกโฉนดหรือหนังสือรับรองการทำประโยชน์สำหรับที่พิพาทให้แก่โจทก์ซึ่งเป็นเอกชนหาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1903/2517 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การสละสิทธิคัดค้านองค์คณะผู้พิพากษา การไม่โต้แย้งในชั้นศาลทำให้สละสิทธิในชั้นฎีกา
การที่ผู้พิพากษาศาลชั้นต้นนั่งพิจารณาคดีไม่ครบองค์คณะและจำเลยมีโอกาสบริบูรณ์ที่จะคัดค้านได้ตั้งแต่ในขณะที่ศาลชั้นต้นกำลังดำเนินกระบวนพิจารณาอยู่นั้น แต่จำเลยละเลยเสีย มิได้โต้แย้งคัดค้านในเวลาอันสมควร ถือได้ว่าจำเลยสละสิทธินั้นแล้วจะยกขึ้นโต้แย้งในชั้นฎีกาไม่ได้ (อ้างฎีกาที่ 938/2472, 535/2480)
of 48