คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
เฉลิม กรพุกกะณะ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 474 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1376/2520 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอุทธรณ์คำสั่งศาลที่ไม่ชอบด้วยวิธีพิจารณา และการยกปัญหาข้อกฎหมายที่ไม่ทันเวลา
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ยกคดีของโจทก์ขึ้นพิจารณาใหม่ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 181 และ 166 จำเลยอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าว เมื่อศาลชั้นต้นสั่งไม่รับอุทธรณ์และศาลอุทธรณ์ให้ยกคำร้องอุทธรณ์คำสั่งของจำเลยโดยวินิจฉัยว่าคำสั่งศาลชั้นต้นที่สั่งให้ยกคดีขึ้นพิจารณาใหม่เป็นคำสั่งระหว่างพิจารณาเช่นนี้ ฎีกาของจำเลยที่ว่าคำสั่งของศาลชั้นต้นเป็นคำสั่งวินิจฉัยชี้ขาดปัญหาข้อกฎหมายเบื้องต้น มิใช่คำสั่งระหว่างพิจารณานั้น จำเลยมิได้ยกขึ้นว่ากล่าวมาแต่ชั้นศาลอุทธรณ์ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
กรณีที่ศาลชั้นต้นไม่ได้ให้โอกาสจำเลยนำพยานเข้าสืบคัดค้านคำร้องขอให้พิจารณาใหม่ของโจทก์ จำเลยจะต้องยกปัญหาข้อนี้ขึ้นว่ากล่าวเสียภายในเวลาไม่ช้ากว่า 8 วัน นับแต่วันที่จำเลยได้ทราบคำสั่งตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 27 วรรคสอง
ศาลชั้นต้นทำการไต่สวนสืบพยานโจทก์ 1 ปากเสร็จแล้ว สั่งว่าคดีเสร็จการไต่สวน ให้นัดฟังคำสั่ง และศาลชั้นต้นได้อ่านคำสั่งเมื่อวันที่ 11 กันยายน 2516 จึงต้องถือว่าจำเลยได้ทราบการดำเนินกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบนั้นแล้ว แต่จำเลยมายื่นอุทธรณ์คำสั่งเมื่อวันที่ 25 กันยายน 2516 จึงล่วงเลยเวลาที่จำเลยอาจจะยกขึ้นว่ากล่าวได้เสียแล้วศาลต้องยกคำร้องขอให้รับอุทธรณ์ของจำเลยนั้นเสีย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1376/2520

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อุทธรณ์คำสั่งศาลต้องทำภายในเวลาที่กฎหมายกำหนด แม้ศาลไม่ได้ให้โอกาสคัดค้านพยาน
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ยกคดีของโจทก์ขึ้นพิจารณาใหม่ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 181 และ 166 จำเลยอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าว เมื่อศาลชั้นต้นสั่งไม่รับอุทธรณ์และศาลอุทธรณ์ให้ยกคำร้องอุทธรณ์คำสั่งของจำเลยโดยวินิจฉัยว่าคำสั่งศาลชั้นต้น ที่สั่งให้ยกคดีขึ้นพิจารณาใหม่เป็นคำสั่งระหว่างพิจารณาเช่นนี้ ฎีกาของจำเลยที่ว่าคำสั่งของศาลชั้นเป็นคำสั่งวินิจฉัยชี้ขาดปัญหาข้อกฎหมายเบื้องต้น มิใช่คำสั่งระหว่างพิจารณานั้น จำเลยมิได้ยกขึ้นว่ากล่าวมาแต่ชั้นศาลอุทธรณ์ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉํย
กรณีที่ศาลชั้นต้นไม่ได้ให้โอกาสจำเลยนำพยานเข้าสืบคัดค้านคำร้องขอให้พิจารณาใหม่ของโจทก์ จำเลยจะต้องยกปัญหาข้อนี้ขึ้นว่ากล่าวเสียภายในเวลาไม่ช้ากว่า 8 วัน นับแต่วันที่จำเลยได้ทราบคำสั่งตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 27 วรรคสอง
ศาลชั้นต้นทำการไต่สวนสืบพยานโจทก์ 1 ปากเสร็จแล้ว สืบว่าคดีเสร็จการไต่สวน ให้นัดฟังคำสั่ง และศาลชั้นต้นได้อ่านคำสั่งเมื่อวันที่ 11 กันยายน2516 จึงต้องถือว่าจำเลยได้ทราบรายการดำเนินกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียนนั้นแล้ว แต่จำเลยมายื่นอุทธรณ์คำสั่งเมื่อวันที่ 25 กันยายน 2516 จึงล่วงเวลาที่จำเลยอาจจะยกขึ้นว่ากล่าวได้เสียแล้ว ศาลต้องยกคำร้องขอให้รับอุทธรณ์ของจำเลยนั้นเสีย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1486/2519

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อผิดพลาดเล็กน้อยในสัญญาใหม่ สิทธิในการหักเงินที่ชำระแล้ว
จำเลยค้างชำระเงินกู้แก่โจทก์ 2 ล้านบาท โจทก์จำเลยทำสัญญากู้ขึ้นใหม่แทนสัญญาเดิม แต่จำนวนเงินกู้เกินจำนวนที่ค้างชำระ เพราะไม่ได้หักดอกเบี้ยที่ชำระแล้ว3 หมื่นบาทออก ดังนี้ เป็นการผิดพลาดเล็กน้อย ซึ่งจำเลยนำสืบต่อสู้ได้ นิติกรรมไม่เป็นโมฆะ จำเลยต้องชำระหนี้ตามจำนวนที่ถูกต้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1256/2519 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิอาศัย-เก็บกินจากสัญญาต่างตอบแทน แม้ไม่จดทะเบียนก็ใช้บังคับระหว่างคู่สัญญาได้
การได้มาซึ่งทรัพยสิทธิเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์โดยมิได้จดทะเบียนนั้นประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1299 บัญญัติไว้เพียงว่า "การที่ได้มาซึ่ง ฯลฯ ทรัพยสิทธิอันเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์นั้นไม่สมบูรณ์ เว้นแต่จะ ฯลฯ ได้จดทะเบียนการได้มา ฯลฯ" เท่านั้น ฉะนั้น ถ้าหากเมื่อใดได้มีการจดทะเบียนการได้มาเกิดขึ้นแล้ว ก็ย่อมจะกลายเป็นทรัพยสิทธิที่สมบูรณ์ขึ้นมาทันที หาใช่ว่าสิทธิเช่นว่านั้นจะไม่สมบูรณ์เสียเปล่าไปเสียเลยไม่
สัญญาต่างตอบแทนที่จำเลยยอมให้โจทก์มีสิทธิอาศัยและสิทธิเก็บกินในบ้านและห้องแถวที่พิพาทจนกว่าโจทก์จะถึงแก่กรรม เพื่อตอบแทนที่โจทก์ไม่ร้องคัดค้านในการที่จำเลยร้องขอต่อศาลขอเป็นผู้จัดการมรดกนั้น แม้ไม่ได้จดทะเบียนการได้มาตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1299 ไม่เป็นทรัพยสิทธิที่จะใช้ยันบุคคลภายนอกได้ทั่วไป แต่ก็เป็นบุคคลสิทธิซึ่งใช้ยันได้ระหว่างคู่สัญญา สัญญาต่างตอบแทนนี้จึงมีผลบังคับกันได้ เมื่อจำเลยจะโอนขายบ้านห้องแถวพิพาทพร้อมทั้งที่ดินซึ่งบ้านและห้องแถวนั้นตั้งอยู่ไปเสีย โจทก์ย่อมฟ้องขอให้ศาลพิพากษาห้ามมิให้จำเลยโอนขายได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1256/2519

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิอาศัย/เก็บกินจากสัญญาต่างตอบแทน แม้ไม่ได้จดทะเบียน ก็มีผลผูกพันระหว่างคู่สัญญา
การได้มาซึ่งทรัพยสิทธิเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์โดยมิได้จดทะเบียนนั้นประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1299 บัญญัติไว้เพียงว่า 'การได้มาซึ่ง ฯลฯ ทรัพยสิทธิอันเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์นั้นไม่บริบูรณ์ เว้นแต่จะ ฯลฯได้จดทะเบียนการได้มาฯลฯ' เท่านั้น ฉะนั้นถ้าหากเมื่อใดได้มีการจดทะเบียนการได้มาเกิดขึ้นแล้วก็ย่อมจะกลายเป็นทรัพยสิทธิที่บริบูรณ์ขึ้นมาทันทีหาใช่ว่าสิทธิเช่นว่านั้นจะไม่สมบูรณ์เสียเปล่าไปเสียเลยไม่
สัญญาต่างตอบแทนที่จำเลยยอมให้โจทก์มีสิทธิอาศัยและสิทธิเก็บกินในบ้านและห้องแถวที่พิพาทจนกว่าโจทก์จะถึงแก่กรรม เพื่อตอบแทนที่โจทก์ไม่ร้องคัดค้านในการที่จำเลยร้องขอต่อศาลขอเป็นผู้จัดการมรดกนั้น แม้ไม่ได้จดทะเบียนการได้มาตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1299 ไม่เป็นทรัพยสิทธิที่จะใช้ยันบุคคลภายนอกได้ทั่วไป แต่ก็เป็นบุคคลสิทธิซึ่งใช้ยันได้ระหว่างคู่สัญญาสัญญาต่างตอบแทนนี้จึงมีผลบังคับกันได้เมื่อจำเลยจะโอนขายบ้านห้องแถวพิพาทพร้อมทั้งที่ดินซึ่งบ้านและห้องแถวนั้นตั้งอยู่ไปเสีย โจทก์ย่อมฟ้องขอให้ศาลพิพากษาห้ามมิให้จำเลยโอนขายได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 674/2519

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประนีประนอมยอมความ สิทธิอาศัย และขอบเขตการบังคับคดี การฟ้องร้องซ้ำซ้อน
เมื่อโจทก์จำเลยได้ประนีประนอมยอมความกันและศาลพิพากษาตามยอมไปแล้ว ถ้าจำเลยขัดขวางไม่ยอมปฏิบัติตามข้อตกลงในสัญญาประนีประนอมยอมความโจทก์ก็ชอบที่จะขอให้ศาลบังคับจำเลยให้ปฏิบัติตามคำพิพากษาตามยอมในคดีเดิม จะนำคดีเรื่องเดียวกันที่ศาลชี้ขาดแล้วมาฟ้องขอให้ศาลบังคับเป็นอีกคดีหนึ่งโดยอ้างเหตุว่าจำเลยขัดขวางไม่ยอมปฏิบัติตามคำพิพากษาในคดีเดิมซึ่งยังมีผลบังคับได้อยู่ ย่อมไม่เป็นการถูกต้อง ส่วนการที่โจทก์จำเลยได้ทำสัญญากันเองนอกเหนือจากสัญญาประนีประนอมยอมความอีกนั้น เมื่อโจทก์มาฟ้องเป็นคดีใหม่อ้างว่าจำเลยผิดสัญญาประนีประนอมยอมความและผิดข้อตกลงตามสัญญาที่ทำกันเอง เรื่องผิดสัญญาประนีประนอมยอมความหรือไม่อย่างไร เป็นเรื่องที่จะต้องว่ากล่าวกันในคดีเดิม ศาลย่อมวินิจฉัยให้ในคดีหลังเฉพาะในข้อที่ว่าจำเลยผิดสัญญาที่ทำกันเองหรือไม่ และจะบังคับตามคำขอของโจทก์ได้หรือไม่เท่านั้น
โจทก์จดทะเบียนสิทธิอาศัยและภารติดพันในอสังหาริมทรัพย์ให้แก่จำเลยตามสัญญาประนีประนอมยอมความแล้ว จำเลยจึงเป็นผู้ทรงทรัพยสิทธิ์นั้นโดยชอบด้วยกฎหมาย ซึ่งตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1406 ได้บัญญัติให้สิทธิแก่ผู้อาศัยไว้ว่า ถ้าผู้ให้อาศัยมิได้ห้ามไว้โดยชัดแจ้ง ผู้อาศัยจะเก็บดอกผลธรรมดาหรือผลแห่งที่ดินมาใช้เพียงที่จำเป็นแก่ความต้องการของครัวเรือนก็ได้ และมาตรา 1429 บัญญัติว่าอสังหาริมทรัพย์อาจตกอยู่ในภาระติดพันอันเป็นเหตุให้ผู้รับประโยชน์มีสิทธิ ฯลฯ ได้ใช้และถือเอาซึ่งประโยชน์แห่งทรัพย์สินตามที่ระบุไว้ ในเรื่องนี้โจทก์ได้จดทะเบียนภารติดพันในอสังหาริมทรัพย์ไว้ว่า โจทก์ตกลงยินยอมให้จำเลยอาศัยและทำกินในที่ดินพิพาทได้ตลอดชีวิต เมื่อโจทก์มิได้ตั้งรูปคดีที่จะฟ้องขอเพิกถอนสิทธิอาศัยและสิทธิภารติดพันในอสังหาริมทรัพย์หรือฟ้องโดยอาศัยบทบัญญัติต่างๆ ในมาตรา 1409 ศาลก็จะบังคับตามคำขอท้ายฟ้องของโจทก์ที่ขอให้ศาลพิพากษาให้จำเลยส่งมอบอาคารในบริเวณที่ดินที่จำเลยอาศัยให้แก่โจทก์และห้ามมิให้จำเลยเกี่ยวข้องกับอาคารดังกล่าวหาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 674/2519 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประนีประนอมยอมความและสิทธิอาศัย: ศาลไม่อาจบังคับสิทธิเกินขอบเขตที่ตกลงกันไว้
เมื่อโจทก์จำเลยได้ประนีประนอมยอมความกันและศาลพิพากษาตามยอมไปแล้ว ถ้าจำเลยขัดขวางไม่ยอมปฏิบัติตามข้อตกลงในสัญญาประนีประนอมยอมความ โจทก์ก็ชอบที่จะขอให้ศาลบังคับจำเลยให้ปฏิบัติตามคำพิพากษาตามยอมในคดีเดิม จะนำคดีเรื่องเดียวกันที่ศาลชี้ขาดแล้วมาฟ้องขอให้ศาลบังคับเป็นอีกคดีหนึ่งโดยอ้างเหตุว่าจำเลยขัดขวาง ไม่ยอมปฏิบัติตามคำพิพากษาในคดีเดิม ซึ่งยังมีผลบังคับได้อยู่ ย่อมไม่เป็นการถูกต้อง ส่วนการที่โจทก์จำเลยได้ทำสัญญากันเองนอกเหนือจากสัญญาประนีประนอมยอมความอีกนั้น เมื่อโจทก์มาฟ้องเป็นคดีใหม่ อ้างว่าจำเลยผิดสัญญาประนีประนอมยอมความและผิดข้อตกลงตามสัญญาที่ทำกันเอง เรื่องผิดสัญญาประนีประนอมยอมความหรือไม่อย่างไร เป็นเรื่องที่จะต้องว่ากล่าวกันในคดีเดิม ศาลย่อมวินิจฉัยให้ในคดีหลังเฉพาะในข้อที่ว่าจำเลยผิดสัญญาที่ทำกันเองหรือไม่ และจะบังคับตามคำขอของโจทก์ได้หรือไม่เท่านั้น
โจทก์จดทะเบียนสิทธิอาศัยและภารติดพันในอสังหาริมทรัพย์ให้แก่จำเลยตามสัญญาประนีประนอมยอมความแล้ว จำเลยจึงเป็นผู้ทรงทรัพย์สิทธินั้นโดยชอบด้วยกฎหมาย ซึ่งตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1406 ได้บัญญัติให้สิทธิแก่ผู้อาศัยไว้ว่า ถ้าผู้ให้อาศัยมิได้ห้ามไว้โดยชัดแจ้ง ผู้อาศัยจะเก็บดอกผลธรรมดาหรือผลแห่งที่ดินมาใช้เพียงที่จำเป็นแก่ความต้องการของครัวเรือนก็ได้ และมาตรา 1429 บัญญัติว่าอสังหาริมทรัพย์อาจตกอยู่ในภาระติดพันอันเป็นเหตุให้ผู้รับประโยชน์มีสิทธิ ฯลฯ ได้ใช้และถือเอาซึ่งประโยชน์แห่งทรัพย์สินตามที่ระบุไว้ ในเรื่องนี้โจทก์ได้จดทะเบียนภารติดพันในอสังหาริมทรัพย์ไว้ว่า โจทก์ตกลงยินยอมให้จำเลยอาศัยและทำกินในที่ดินพิพาทได้ตลอดชีวิต เมื่อโจทก์มิได้ตั้งรูปคดีที่จะฟ้องขอเพิกถอนสิทธิอาศัยและสิทธิภารติดพันในอสังหาริมทรัพย์ หรือฟ้องโดยอาศัยบทบัญญัติต่าง ๆ ในมาตรา 1409 ศาลก็จะบังคับตามคำขอท้ายฟ้องของโจทก์ที่ขอให้ศาลพิพากษาให้จำเลยส่งมอบอาคารในบริเวณที่ดินที่จำลยอาศัยให้แกโจทก์และห้ามมิให้จำเลยเกี่ยวข้องกับอาคารดังกล่าวหาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2409/2518

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแจ้งความเพื่อกันเช็คขาดอายุความ ไม่ถือเป็นคำร้องทุกข์ตามกฎหมายอาญา
การแจ้งความต่อพนักงานสอบสวนเรื่องจำเลยออกเช็คโดยเจตนาไม่ให้มีการใช้เงินตามเช็คว่า ผู้แจ้งเกรงว่าเช็คฉบับดังกล่าวจะขาดอายุความจึงมาแจ้งให้เจ้าพนักงานตำรวจทราบเพื่อกันเช็คขาดอายุความ ผู้แจ้งยังไม่ประสงค์จะร้องทุกข์มอบคดีต่อพนักงานสอบสวนแต่อย่างใดโดยผู้แจ้งจะไปติดต่อด้วยตนเองอีกครั้งหนึ่งก่อน หากไม่ได้ผลจะมาร้องทุกข์อีกครั้งในภายหลัง ดังนี้ ถือไม่ได้ว่าเป็นการร้องทุกข์ตามกฎหมาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2290/2518

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เช็คพิพาทเสียผลประโยชน์จากการแก้ไขสลักหลัง และธนาคารประมาทเลินเล่อเรียกเก็บเงิน
เช็คพิพาทเป็นเช็คขีดคร่อมระบุจ่ายให้บริษัท พ.บริษัทพ. สลักหลังลอยให้โจทก์ โจทก์ใช้ตรายางประทับด้านหลังเช็คมีข้อความว่าเพื่อฝากเข้าบัญชีของโจทก์เท่านั้น แล้วลงชื่อมอบให้พนักงานของโจทก์ไปฝากเข้าบัญชี พนักงานของโจทก์ได้ลบข้อความที่โจทก์ใช้ตรายางประทับ ทำให้การสลักหลังของโจทก์กลายสภาพเป็นสลักหลังลอย แล้วยักยอกเช็คนั้นไปมอบให้ อ.แล้วอ. นำเช็คไปเข้าบัญชีธนาคารจำเลยเพื่อให้เรียกเก็บเงิน จำเลยเรียกเก็บเงินตามเช็คนั้นแล้วปรากฏว่าการลบถ้อยคำสลักหลังของโจทก์มีร่องรอยที่เห็นได้ชัดเจน เป็นการแก้ไขในส่วนสำคัญ เช็คพิพาทย่อมเสียไปตามมาตรา 1007 อ. จะถือประโยชน์จากเช็คพิพาทไม่ได้ธนาคารจำเลยรับเงินตามเช็คไว้เพื่อ อ. โดยความประมาทเลินเล่อ ไม่ได้รับความคุ้มครองตาม มาตรา 1000 จำเลยต้องรับผิดต่อโจทก์ผู้เป็นเจ้าของเช็คพิพาทอันแท้จริง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2255/2518

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเปลี่ยนแปลงแก้ไขสัญญากู้ - การนำสืบพยานเปลี่ยนแปลงแก้ไขเอกสาร
โจทก์ฟ้องเรียกเงินกู้ จำเลยต่อสู้ว่าสัญญากู้อำพรางการที่โจทก์เช่าที่ดินจำเลยหักกับหนี้ที่จำเลยกู้เงินโจทก์จำนวนหนึ่ง จำเลยมีหน้าที่นำสืบพยานก่อน แต่เอกสารกู้มีความว่า จำเลยได้รับเงินไปครบถ้วนแล้วจำเลยให้การทำนองว่าแปลงหนี้โดยเอาหนี้เก่าหักกับหนี้ค่าเช่ามาทำเป็นสัญญากู้ ไม่เป็นการแสดงว่าหนี้ตามสัญญากู้ไม่สมบูรณ์จึงสืบพยานเปลี่ยนแปลงแก้ไขเอกสารไม่ได้
of 48