คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ.2477 ม. 4

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 2 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1288/2508 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การตีความคำว่า "แซง" ในความหมายทั่วไปตามพจนานุกรม เมื่อไม่มีนิยามเฉพาะในกฎหมายจราจร
ฟ้องกล่าวว่า จำเลยบังอาจขับรถแซงรถเมล์โดยฝ่าฝืนป้ายห้ามแซงของเจ้าพนักงานที่ติดตั้งไ้ เป็นเหตุให้ชนรถเมล์เสียหาและหมุดคอสะพานเสียหาย ทางพิจารณาได้ความว่าจำเลยขับรถสวนกับรถเมล์เหลืองแล้วเกิดชนกันเสียหาย ดังนี้ เมื่อตามพระราชบัญญัติจราจรทางบก ฯ ไม่มีบทวิเคราะห์ศัพท์คำว่า "แซง" ไว้ ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2493 คำว่า "แซง" หมายความถึงกิริยาที่แทรกหรือเสียด ซึ่งหมายความว่า เบียดเข้าไป หรือเฉียดไป เมื่อไม่มีบทกฎหมายบัญญัติความหมายไว้เป็นพิเศษโดยเฉพาะ ก็ต้องตีความตามความหมายธรรมดา คือ หมายถึงกิริยาแทรกหรือเสียด คือ เบียดเข้าไปหรือ เฉียดไป ตามฟ้องของโจทก์จึงมีความหมายไปในทางที่ว่า ขับรถเสียดหรือแทรกรถเมล์ได้ ซึ่งอาจจะเป็นไปในทางที่แล่นขึ้นหน้าหรือสวนกัน จะตีความหมายว่า แซง หมายถึงขับรถขึ้นหน้าแต่อย่างเดียวดังที่จำเลยโต้เถียงขึ้นมาหาได้ไม่ และตามฟ้องที่บรรยายมาก็แสดงให้เห็นอยู่ว่า รถทั้งสองคันมุ่งหน้าไปคนละทางจะสวนกันข้อเท็จจริงในการพิจารณายังเรียกไม่ได้ว่าแตกต่างกับฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 622/2502 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความประมาทในการขับรถราง ชนรถยนต์เก๋ง ผู้ขับมีหน้าที่ต้องเบารถหรือหยุดเมื่อเห็นรถเก๋งอยู่ในสถานการณ์คับขัน
รถยนต์เก๋งออกพ้นปากตรอกมาคารางรถรางอยู่ก่อนแล้ว และไม่สามารถจะแล่นต่อไปในถนนได้ เพราะกำลังมีรถยนต์แล่นผ่านไปมา ทั้งจะถอยหลังก็ไม่ได้ เพราะจะชนรถยนต์บรรทุกที่แล่นสวนเข้าตรอกไป เวลานั้นจำเลยกำลังขับรถรางมาและจำเลยเห็นรถยนต์เก๋งในระยะประมาณ 30 เมตร จำเลยก็ไม่หยุดหรือเบารถราง แต่จำเลยกลับโบกมือให้รถยนต์เก๋งถอยออกไป ต่อเมื่อเข้ามาในระยะใกล้แล้วจำเลยจึงได้พยายามหยุดรถ แต่หยุดไม่ทันท่วงที รถรางถึงชนรถยนต์เก๋งเสียหาย เช่นนี้ ถือว่าจำเลยกระทำโดยประมาทตามกฎหมายแล้ว
ฎีกาว่า ศาลฟังข้อเท็จจริงโดยไม่มีพยานหลักฐานในสำนวนสนับสนุน เป็นฎีกาในข้อกฎหมาย
แต่ถ้าฎีกาว่า ศาลฟังโดยมีพยานหลักฐานแต่ไม่ควรฟังดังนั้น เป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง