คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
ประพนธ์ ศาตะมาน

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 303 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1232/2514 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การทิ้งฟ้องเนื่องจากไม่ปฏิบัติตามคำสั่งศาลในการส่งสำเนาอุทธรณ์ แม้จะมอบเงินให้คนอื่นดำเนินการ
เมื่อโจทก์ยื่นฟ้องอุทธรณ์ ศาลชั้นต้นได้สั่งให้โจทก์นำส่งสำเนาอุทธรณ์ให้จำเลยภายใน 15 วัน ซึ่งทนายโจทก์ได้ทราบคำสั่งแล้วมิได้จัดการตามคำสั่งแต่อย่างใด จนเกินเวลาที่ศาลได้กำหนดไว้ ที่ทนายโจทก์อ้างว่าได้มอบเงินค่าส่งหมายให้คนรับใช้นำไปวางศาลแล้ว แต่คนรับใช้ยักยอกเอาเงินนั้นไป จะถือว่าโจทก์ได้จัดการตามหน้าที่ที่กฎหมายบัญญัติไว้แล้วหาได้ไม่ และถือได้ว่าโจทก์ได้ทิ้งฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1232/2514

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การทิ้งฟ้องเนื่องจากไม่ปฏิบัติตามคำสั่งศาลในการส่งสำเนาอุทธรณ์ แม้จะมอบเงินให้คนรับใช้แล้วก็ไม่ถือว่าเป็นการปฏิบัติตามหน้าที่
เมื่อโจทก์ยื่นฟ้องอุทธรณ์ ศาลชั้นต้นได้สั่งให้โจทก์นำส่งสำเนาอุทธรณ์ให้จำเลยภายใน 15 วัน ซึ่งทนายโจทก์ได้ทราบคำสั่งแล้วมิได้จัดการตามคำสั่งแต่อย่างใด จนเกินเวลาที่ศาลได้กำหนดไว้ ที่ทนายโจทก์อ้างว่าได้มอบเงินค่าส่งหมายให้คนรับใช้นำไปวางศาลแล้ว แต่คนรับใช้ยักยอกเอาเงินนั้นไป จะถือว่าโจทก์ได้จัดการตามหน้าที่ที่กฎหมายบัญญัติไว้แล้วหาได้ไม่ และถือได้ว่าโจทก์ได้ทิ้งฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1165/2514 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิเรียกร้องตามสัญญาประนีประนอมยอมความของผู้รับมรดก แม้กรรมสิทธิ์ในที่ดินเป็นกรรมสิทธิ์รวม
ฟ้องโจทก์ตั้งประเด็นว่า น. ผู้ตายเคยทำสัญญาประนีประนอมยอมความยกที่ดินให้โจทก์ แต่จำเลยที่ 1 กลับไปขอรับมรดกที่ดินรายนี้แล้วโอนให้จำเลยที่ 2 จำเลยให้การต่อสู้โดยมิได้ยกข้อต่อสู้ว่า สัญญาประนีประนอมที่ น. ทำไว้ใช้ไม่ได้ เพราะเจ้าของที่ดินโฉนดพิพาทมีคนอื่น นอกจาก น. เป็นเจ้าของด้วย การที่ศาลอุทธรณ์ยกข้อนี้ขึ้นวินิจฉัยจึงเป็นเรื่องนอกประเด็นเพราะจำเลยเพิ่งยกขึ้นในตอนที่จำเลยอุทธรณ์
จำเลยเป็นผู้รับมรดกสืบสิทธิจาก น. ต้องผูกพันตามสัญญาประนีประนอมยอมความที่ น. ทำไว้กับโจทก์ด้วย โจทก์มีสิทธิฟ้องจำเลยขอแบ่งแยกที่ดินให้ตามสัญญานั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1165/2514

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิเรียกร้องตามสัญญาประนีประนอมยอมความเมื่อมีการโอนมรดก: ศาลฎีกาวินิจฉัยว่าผู้รับมรดกผูกพันตามสัญญาเดิม
ฟ้องโจทก์ตั้งประเด็นว่า น. ผู้ตายเคยทำสัญญาประนีประนอมยอมความยกที่ดินให้โจทก์ แต่จำเลยที่ 1 กลับไปขอรับมรดกที่ดินรายนี้แล้วโอนให้จำเลยที่ 2 จำเลยให้การต่อสู้โดยมิได้ยกข้อต่อสู้ว่า สัญญาประนีประนอมที่ น. ทำไว้ใช้ไม่ได้ เพราะเจ้าของที่ดินโฉนดพิพาทมีคนอื่น นอกจาก น. เป็นเจ้าของด้วย การที่ศาลอุทธรณ์ยกข้อนี้ขึ้นวินิจฉัยจึงเป็นเรื่องนอกประเด็นเพราะจำเลยเพิ่งยกขึ้นในตอนที่จำเลยอุทธรณ์
จำเลยเป็นผู้รับมรดกสืบสิทธิจาก น. ต้องผูกพันตามสัญญาประนีประนอมยอมความที่ น. ทำไว้กับโจทก์ด้วย โจทก์มีสิทธิฟ้องจำเลยขอแบ่งแยกที่ดินให้ตามสัญญานั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1140/2514 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจถอนคำร้องทุกข์ของผู้แทนโดยชอบธรรมของผู้เยาว์: ความถูกต้องของคำสั่งศาล
ก่อนสืบพยานโจทก์ บิดาผู้แทนโดยชอบธรรมของผู้เสียหายซึ่งเป็นผู้เยาว์ ยื่นคำร้องขอถอนคำร้องทุกข์แทนผู้เสียหาย ศาลชั้นต้นสอบโจทก์โจทก์แถลงรับว่าผู้ร้องเป็นบิดาของผู้เสียหาย ทั้งเป็นผู้ร้องทุกข์คดีนี้ในชั้นสอบสวนจริง ศาลชั้นต้นจึงสั่งจำหน่ายคดี เช่นนี้โจทก์จะอุทธรณ์ฎีกาโต้แย้งว่า คำสั่งจำหน่ายคดีของศาลชั้นต้นไม่ชอบ เพราะผู้เสียหายได้แจ้งความร้องทุกข์ไว้ด้วยตัวเองโดยตรงด้วย บิดาผู้เสียหายจึงไม่มีอำนาจถอนคำร้องทุกข์โดยลำพังนั้นหาได้ไม่ เพราะเป็นการยกข้อเท็จจริงขึ้นใหม่
ผู้ร้องทุกข์ย่อมมีอำนาจถอนคำร้องทุกข์ได้ ไม่ว่าจะเป็นผู้เสียหายเองหรือร้องทุกข์ในฐานะเป็นผู้แทนโดยชอบธรรมโดยอาศัยอำนาจตามมาตรา 126 แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1140/2514

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจถอนคำร้องทุกข์ของผู้แทนโดยชอบธรรมของผู้เสียหายในคดีอาญา
ก่อนสืบพยานโจทก์ บิดาผู้แทนโดยชอบธรรมของผู้เสียหายซึ่งเป็นผู้เยาว์ยื่นคำร้องขอถอนคำร้องทุกข์แทนผู้เสียหาย ศาลชั้นต้นสอบโจทก์ โจทก์แถลงรับว่าผู้ร้องเป็นบิดาของผู้เสียหาย ทั้งเป็นผู้ร้องทุกข์คดีนี้ในชั้นสอบสวนจริงศาลชั้นต้นจึงสั่งจำหน่ายคดี เช่นนี้โจทก์จะอุทธรณ์ฎีกาโต้แย้งว่า คำสั่งจำหน่ายคดีของศาลชั้นต้นไม่ชอบ เพราะผู้เสียหายได้แจ้งความร้องทุกข์ไว้ด้วยตัวเองโดยตรงด้วย บิดาผู้เสียหายจึงไม่มีอำนาจถอนคำร้องทุกข์โดยลำพังนั้น หาได้ไม่ เพราะเป็นการยกข้อเท็จจริงขึ้นใหม่
ผู้ร้องทุกข์ย่อมมีอำนาจถอนคำร้องทุกข์ได้ ไม่ว่าจะเป็นผู้เสียหายเองหรือร้องทุกข์ในฐานะเป็นผู้แทนโดยชอบธรรมโดยอาศัยอำนาจตามมาตรา 126 แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1113/2514

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิเรียกค่าทดแทนกรณีภริยามีชู้/ถูกล่วงละเมิดทางเพศ แม้ภริยาสมัครใจ และอายุความฟ้องร้อง
กรณีที่ภริยามีชู้หรือมีผู้ล่วงเกินภริยาในทำนองชู้สาว อันเป็นการกระทบกระเทือนไปถึงสิทธิของสามีนั้น มีมาตรา 1505 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ เป็นบทที่บัญญัติไว้เป็นพิเศษโดยเฉพาะให้สามีมีสิทธิฟ้องเรียกค่าทดแทนจากภริยาและชู้หรือผู้ที่ล่วงเกินนั้นได้สามีจะฟ้องเรียกค่าทดแทนจากผู้ที่ล่วงเกินภริยาของตนในทางชู้สาวโดยอ้างว่าเป็นการละเมิดสิทธิของสามีตามมาตรา 420 ไม่ได้
ฟ้องหาว่าจำเลยล่วงเกินภริยาของโจทก์ในทางชู้สาวโดยกอดจูบและร่วมประเวณีแต่ได้ความว่าต่อมาโจทก์กับภริยาได้สมัครใจจดทะเบียนหย่ากันเองเสียแล้ว กรณีจึงไม่ต้องด้วยมาตรา 1505 วรรคแรกแม้กระนั้นก็ยังเป็นเรื่องการล่วงเกินไปในทำนองชู้สาวตามวรรคสองและถึงแม้ว่าภริยาจะได้สมัครใจหรือยินยอมให้ล่วงเกิน สามีก็ยังมีสิทธิฟ้องเรียกค่าทดแทนจากผู้ที่ล่วงเกินได้
แม้จะได้จดทะเบียนหย่ากันแล้ว สามีก็ยังมีสิทธิฟ้องเรียกค่าทดแทนจากผู้ที่ล่วงเกินภริยาไปในทำนองชู้สาวตามมาตรา 1505 วรรคสองได้
โจทก์รู้หรือควรรู้ว่าจำเลยล่วงเกินภริยาของโจทก์ในทำนองชู้สาวจนพ้นกำหนด 3 เดือนแล้ว จึงฟ้องเรียกค่าทดแทนจากจำเลย คดีโจทก์ย่อมขาดอายุความตามมาตรา 1509 (ข้อกฎหมาย 3 ข้อแรก วินิจฉัยโดยมติที่ประชุมใหญ่ครั้งที่ 15/2514)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1113/2514 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิของสามีเมื่อภริยามีชู้หรือถูกล่วงละเมิดทางเพศ แม้จดทะเบียนหย่าแล้ว และประเด็นอายุความฟ้องร้อง
กรณีที่ภริยามีชู้หรือมีผู้ล่วงเกินภริยาในทำนองชู้สาว อันเป็นการกระทบกระเทือนไปถึงสิทธิของสามีนั้น มีมาตรา 1505 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ เป็นบทที่บัญญัติไว้เป็นพิเศษโดยเฉพาะให้สามีมีสิทธิฟ้องเรียกค่าทดแทนจากภริยาและชู้หรือผู้ที่ล่วงเกินนั้นได้สามีจะฟ้องเรียกค่าทดแทนจากผู้ที่ล่วงเกินภริยาของตนในทางชู้สาว โดยอ้างว่าเป็นการละเมิดสิทธิของสามีตามมาตรา 420 ไม่ได้
ฟ้องหาว่าจำเลยล่วงเกินภริยาของโจทก์ในทางชู้สาวโดยกอดจูบและร่วมประเวณีแต่ได้ความว่าต่อมาโจทก์กับภริยาได้สมัครใจจดทะเบียนหย่ากันเองเสียแล้ว กรณีจึงไม่ต้องด้วยมาตรา 1505 วรรคแรก แม้กระนั้นก็ยังเป็นเรื่องการล่วงเกินไปในทำนองชู้สาวตามวรรคสองและถึงแม้ว่าภริยาจะได้สมัครใจหรือยินยอมให้ล่วงเกิน สามีก็ยังมีสิทธิฟ้องเรียกค่าทดแทนจากผู้ที่ล่วงเกินได้
แม้จะได้จดทะเบียนหย่ากันแล้ว สามีก็ยังมีสิทธิฟ้องเรียกค่าทดแทนจากผู้ที่ล่วงเกินภริยาไปในทำนองชู้สาวตามมาตรา 1505 วรรคสองได้
โจทก์รู้หรือควรรู้ว่าจำเลยล่วงเกินภริยาของโจทก์ในทำนองชู้สาวจนพ้นกำหนด 3 เดือนแล้ว จึงฟ้องเรียกค่าทดแทนจากจำเลย คดีโจทก์ย่อมขาดอายุความตามมาตรา 1509
(ข้อกฎหมาย 3 ข้อแรก วินิจฉัยโดยมติที่ประชุมใหญ่ครั้งที่ 15/2514)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1077/2514 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องของบุตรผู้เยาว์ที่มารดาทำสัญญาประนีประนอมยอมความแทน คดีบุตรไม่ผูกพันสัญญา
มารดาโจทก์ผู้เยาว์ได้เสียเป็นสามีภรรยากับจำเลยผู้เป็นบิดาโจทก์โดยมิได้จดทะเบียนสมรส และมารดาโจทก์ได้ทำสัญญาประนีประนอมยอมความกับจำเลยว่าได้รับเงินจากจำเลยแล้ว จะไม่เกี่ยวข้องกับจำเลยและจะไม่ใช้สิทธิเรียกร้องแทนโจทก์ต่อจำเลยอีก ดังนี้ เมื่อมารดาโจทก์ทำสัญญานั้นไปโดยไม่ได้รับอนุญาตจากศาล สัญญานั้นย่อมไม่มีผลผูกพันถึงโจทก์ด้วยโจทก์โดยมารดาซึ่งเป็นผู้แทนโดยชอบธรรมจึงมีอำนาจฟ้องขอให้ศาลพิพากษาว่าโจทก์เป็นบุตรของจำเลย และให้จำเลยชำระค่าอุปการะเลี้ยงดูกับค่าใช้จ่ายในการศึกษาได้ และการฟ้องเช่นนี้เป็นเรื่องมารดาของโจทก์ฟ้องแทนโจทก์ซึ่งเป็นผู้เยาว์ตามนัยมาตรา 1529 ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์จึงมีอำนาจฟ้องได้ ไม่ต้องห้ามตามมาตรา 1534

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1077/2514

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องของบุตรโดยผู้แทนตามกฎหมาย และผลผูกพันของสัญญาระงับข้อพิพาทที่ทำโดยผู้แทนโดยไม่ได้รับอนุญาตจากศาล
มารดาโจทก์ผู้เยาว์ได้เสียเป็นสามีภรรยากับจำเลยผู้เป็นบิดาโจทก์โดยมิได้จดทะเบียนสมรส และมารดาโจทก์ได้ทำสัญญาประนีประนอมยอมความกับจำเลยว่าได้รับเงินจากจำเลยแล้ว จะไม่เกี่ยวข้องกับจำเลยและจะไม่ใช้สิทธิเรียกร้องแทนโจทก์ต่อจำเลยอีก ดังนี้ เมื่อมารดาโจทก์ทำสัญญานั้นไปโดยไม่ได้รับอนุญาตจากศาล สัญญานั้นย่อมไม่มีผลผูกพันถึงโจทก์ด้วยโจทก์โดยมารดาซึ่งเป็นผู้แทนโดยชอบธรรมจึงมีอำนาจฟ้องขอให้ศาลพิพากษาว่าโจทก์เป็นบุตรของจำเลย และให้จำเลยชำระค่าอุปการะเลี้ยงดูกับค่าใช้จ่ายในการศึกษาได้ และการฟ้องเช่นนี้เป็นเรื่องมารดาของโจทก์ฟ้องแทนโจทก์ซึ่งเป็นผู้เยาว์ตามนัยมาตรา 1529 ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ จึงมีอำนาจฟ้องได้ ไม่ต้องห้ามตามมาตรา 1534
of 31