คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
ประพนธ์ ศาตะมาน

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 303 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 819/2514 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบุกรุกที่ดินพิพาท: เจตนาและความชัดเจนของกรรมสิทธิ์
คดียังไม่ได้ความชัดว่าที่พิพาทเป็นของโจทก์หรือของนางพอนจำเลยเข้าไปทำนาในที่พิพาทโดยนางพอนให้เข้าไปทำ จำเลยจึงไม่มีความผิดฐานบุกรุก ตามนัยฎีกาที่ 253/2510

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 819/2514

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบุกรุกที่ดิน: ความผิดฐานบุกรุกต้องมีเจตนาและที่ดินต้องชัดเจนว่าเป็นของผู้อื่น
คดียังไม่ได้ความชัดว่าที่พิพาทเป็นของโจทก์หรือของนางพอนจำเลยเข้าไปทำนาในที่พิพาทโดยนางพอนให้เข้าไปทำ จำเลยจึงไม่มีความผิดฐานบุกรุก ตามนัยฎีกาที่ 253/2510

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 810/2514

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การปล้นทรัพย์โดยใช้ปืน: การพิจารณาความต่อเนื่องของการกระทำผิด
จำเลยปล้นกระท่อมนาผู้เสียหาย แล้วต้อนกระบือผู้เสียหายพร้อมทั้งบังคับให้ผู้เสียหายกับพวกติดตามมาด้วย ครั้นจำเลยคุมตัวผู้เสียหายกับพวกห่างจากกระท่อมที่เกิดเหตุได้ประมาณ 40 เส้น จึงปล่อยให้ผู้เสียหายกับพวกกลับ ก่อนจะปล่อยตัวจำเลยได้ใช้ปืนยิงขู่ขึ้นฟ้า 2 นัด ดังนี้ การที่จำเลยใช้ปืนยิงในภายหลังไม่ใช่เพื่อความสะดวกในการปล้น หรือเพื่อให้พ้นจากการจับกุมอย่างใดการปล้นได้ขาดตอนไปแล้ว จึงมิใช่เป็นการยิงปืนอันต่อเนื่องกับการปล้นแต่ประการใด จะปรับเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 340 วรรคสี่ ไม่ได้ จำเลยคงมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 340 วรรคสอง เท่านั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 810/2514 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การปล้นทรัพย์ด้วยอาวุธปืน: การพิจารณาช่วงเวลาการกระทำความผิดและการปรับบทลงโทษ
จำเลยปล้นกระท่อมนาผู้เสียหาย แล้วต้อนกระบือผู้เสียหายพร้อมทั้งบังคับให้ผู้เสียหายกับพวกติดตามมาด้วย ครั้นจำเลยคุมตัวผู้เสียหายกับพวกห่างจากกระท่อมที่เกิดเหตุได้ประมาณ 40 เส้น จึงปล่อยให้ผู้เสียหายกับพวกกลับ ก่อนจะปล่อยตัวจำเลยได้ใช้ปืนยิงขู่ขึ้นฟ้า 2 นัด ดังนี้ การที่จำเลยใช้ปืนยิงในภายหลังไม่ใช่เพื่อความสะดวกในการปล้น หรือเพื่อให้พ้นจากการจับกุมอย่างใดการปล้นได้ขาดตอนไปแล้ว จึงมิใช่เป็นการยิงปืนอันต่อเนื่องกับการปล้นแต่ประการใด จะปรับเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 340 วรรคสี่ ไม่ได้ จำเลยคงมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 340 วรรคสอง เท่านั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 678/2514

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องกรณีอุทธรณ์ภาษี: การวินิจฉัยของคณะกรรมการฯ ถือเป็นการรับอุทธรณ์แล้ว โจทก์มีสิทธิฟ้องต่อศาลได้
โจทก์เห็นว่าโจทก์ไม่ต้องเสียภาษีการค้าเพิ่ม.ตามที่เจ้าพนักงานแจ้งการประเมินได้ยื่นอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์แล้วอุทธรณ์ฉบับแรกคณะกรรมการฯ สั่งไม่รับเพราะยื่นไม่ถูกแบบ ฉบับหลังสั่งให้ยกอุทธรณ์เพราะยื่นเมื่อพ้นกำหนดเวลาแล้ว และในคำวินิจฉัยนี้ ได้สั่งให้โจทก์นำเงินภาษีไปชำระตามจำนวนที่เจ้าพนักงานประเมินเรียกเก็บด้วย ดังนี้ย่อมถือว่าคณะกรรมการฯ ได้รับอุทธรณ์ไว้พิจารณาแล้วโจทก์ย่อมฟ้องโต้เถียงว่าได้ยื่นอุทธรณ์ภายในกำหนดและการประเมินตลอดจนคำวินิจฉัยของคณะกรรมการฯ ไม่ถูกต้อง ขอให้ศาลพิพากษาว่าคำวินิจฉัยของคณะกรรมการฯ ไม่ชอบ ให้เพิกถอนเสียได้ ไม่ใช่ว่าจะฟ้องได้แต่เพียงให้ศาลสั่งคณะกรรมการฯ ให้รับอุทธรณ์ไว้พิจารณาเท่านั้น
จำเลยให้การต่อสู้ว่า โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องและฟ้องเคลือบคลุมศาลชั้นต้นเพียงแต่ตรวจคำฟ้องและคำให้การแล้วสั่งงดการดำเนินกระบวนพิจารณาต่อไป แล้ววินิจฉัยว่าโจทก์ยังไม่มีสิทธิฟ้องพิพากษายกฟ้อง โจทก์จึงอุทธรณ์และจำเลยแก้อุทธรณ์โต้เถียงกันเรื่องอำนาจฟ้องเพียงประเด็นเดียวก่อน ครั้นศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าโจทก์มีอำนาจฟ้อง และพิพากษาให้ศาลชั้นต้นดำเนินการพิจารณาสืบพยานไปตามประเด็นแล้วพิพากษาใหม่ ดังนี้ จำเลยจะยกเรื่องฟ้องเคลือบคลุมเป็นข้อฎีกาขึ้นมาด้วยในชั้นนี้ไม่ได้เพราะยังไม่ใช่ข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 678/2514 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องกรณีอุทธรณ์ภาษี: การวินิจฉัยอุทธรณ์แล้วถือว่ามีสิทธิฟ้องต่อศาลได้
โจทก์เห็นว่าโจทก์ไม่ต้องเสียภาษีการค้าเพิ่มตามที่เจ้าพนักงานแจ้งการประเมินได้ยื่นอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์แล้วอุทธรณ์ฉบับแรกคณะกรรมการฯ สั่งไม่รับเพราะยื่นไม่ถูกแบบ ฉบับหลังสั่งให้ยกอุทธรณ์เพราะยื่นเมื่อพ้นกำหนดเวลาแล้ว และในคำวินิจฉัยนี้ได้สั่งให้โจทก์นำเงินภาษีไปชำระตามจำนวนที่เจ้าพนักงานประเมินเรียกเก็บด้วย ดังนี้ย่อมถือว่าคณะกรรมการฯ ได้รับอุทธรณ์ไว้พิจารณาแล้วโจทก์ย่อมฟ้องโต้เถียงว่าได้ยื่นอุทธรณ์ภายในกำหนดและการประเมินตลอดจนคำวินิจฉัยของคณะกรรมการฯ ไม่ถูกต้อง ขอให้ศาลพิพากษาว่าคำวินิจฉัยของคณะกรรมการฯ ไม่ชอบ ให้เพิกถอนเสียได้ ไม่ใช่ว่าจะฟ้องได้แต่เพียงให้ศาลสั่งคณะกรรมการฯ ให้รับอุทธรณ์ไว้พิจารณาเท่านั้น
จำเลยให้การต่อสู้ว่า โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องและฟ้องเคลือบคลุมศาลชั้นต้นเพียงแต่ตรวจคำฟ้องและคำให้การแล้วสั่งงดการดำเนินกระบวนพิจารณาต่อไป แล้ววินิจฉัยว่าโจทก์ยังไม่มีสิทธิฟ้องพิพากษายกฟ้อง โจทก์จึงอุทธรณ์และจำเลยแก้อุทธรณ์โต้เถียงกันเรื่องอำนาจฟ้องเพียงประเด็นเดียวก่อน ครั้นศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าโจทก์มีอำนาจฟ้อง และพิพากษาให้ศาลชั้นต้นดำเนินการพิจารณาสืบพยานไปตามประเด็นแล้วพิพากษาใหม่ ดังนี้ จำเลยจะยกเรื่องฟ้องเคลือบคลุมเป็นข้อฎีกาขึ้นมาด้วยในชั้นนี้ไม่ได้เพราะยังไม่ใช่ข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 662/2514

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความสมบูรณ์ของฟ้องอาญา: การระบุช่วงเวลาที่จำเลยกระทำผิด ทำให้เข้าใจข้อหาได้ชัดเจน
โจทก์บรรยายฟ้องในตอนแรกว่า เมื่อระหว่างวันที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2510 ถึงวันที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2511 เวลากลางวัน และกลางคืน จำเลยได้กระทำผิดต่อกฎหมายแล้วต่อมาบรรยายรายละเอียดว่าจำเลยคนไหนมีหน้าที่อย่างไร แล้วบรรยายว่าจำเลยได้รับมอบหมายจากสมาคมพุทธศาสนิกชนวัดไผ่ตันให้เป็นผู้ดำเนินการรับสมัครสมาชิกประเภทสามัญโดยรับเงินจากผู้สมัครส่งเป็นผลประโยชน์รายได้ของสมาคม แล้วบรรยายต่อไปว่า ตามวันเวลาดังกล่าวนี้ จำเลยทั้งสองได้รับเงินของสมาคมพุทธศาสนิกชนวัดไผ่ตันไว้จากประชาชนที่สมัครเป็นสมาชิกดังกล่าวแล้ว และเงินซึ่งสมาคมพุทธศาสนิกชนวัดไผ่ตันยืมจากบริษัทนฤมิตรธนาคมจำกัด แล้วจำเลยทั้งสองโดยเจตนาทุจริตได้บังอาจร่วมกันเบียดบังเงินค่าสมัคร... กับเงินยืมอันเป็นทรัพย์สินของสมาคมพุทธศาสนิกชนวัดไผ่ตัน.... ดังนี้ คำฟ้องโจทก์ได้บรรยายถึงวันเวลาที่บ่งว่าจำเลยกระทำผิดพอสมควรที่จำเลยจะเข้าใจข้อหาได้ดีแล้ว เป็นคำฟ้องสมบูรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 158(5)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 662/2514 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความสมบูรณ์ของฟ้องอาญา: การระบุช่วงเวลากระทำผิดที่ชัดเจนเพียงพอต่อการเข้าใจข้อหา
โจทก์บรรยายฟ้องในตอนแรกว่า เมื่อระหว่างวันที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2510 ถึงวันที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2511 เวลากลางวัน และกลางคืน จำเลยได้กระทำผิดต่อกฎหมายแล้วต่อมาบรรยายรายละเอียดว่าจำเลยคนไหนมีหน้าที่อย่างไร แล้วบรรยายว่าจำเลยได้รับมอบหมายจากสมาคมพุทธศาสนิกชนวัดไผ่ตันให้เป็นผู้ดำเนินการรับสมัครสมาชิกประเภทสามัญโดยรับเงินจากผู้สมัครส่งเป็นผลประโยชน์รายได้ของสมาคม แล้วบรรยายต่อไปว่า ตามวันเวลาดังกล่าวนี้ จำเลยทั้งสองได้รับเงินของสมาคมพุทธศาสนิกชนวัดไผ่ตันไว้จากประชาชนที่สมัครเป็นสมาชิกดังกล่าวแล้ว และเงินซึ่งสมาคมพุทธศาสนิกชนวัดไผ่ตันยืมจากบริษัทนฤมิตรธนาคมจำกัด แล้วจำเลยทั้งสองโดยเจตนาทุจริตได้บังอาจร่วมกันเบียดบังเงินค่าสมัคร... กับเงินยืมอันเป็นทรัพย์สินของสมาคมพุทธศาสนิกชนวัดไผ่ตัน.... ดังนี้ คำฟ้องโจทก์ได้บรรยายถึงวันเวลาที่บ่งว่าจำเลยกระทำผิดพอสมควรที่จำเลยจะเข้าใจข้อหาได้ดีแล้ว เป็นคำฟ้องสมบูรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158(5)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 622/2514

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำร้องขอพิจารณาใหม่ต้องแสดงเหตุผลชัดเจนว่าหากพิจารณาใหม่แล้วผลอาจเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม
คำขอให้พิจารณาคดีใหม่ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 208 นั้น ข้อคัดค้านคำตัดสินชี้ขาดของศาลจะต้องชัดแจ้งเพื่อแสดงว่าตนอาจชนะคดีได้อย่างไรบ้าง มิใช่กล่าวแต่เพียงว่าสามารถพิสูจน์ได้ว่าจำเลยเป็นหนี้โจทก์ไม่เกินสามแสนบาทเท่านั้นโดยไม่มีเหตุผลหรือหลักฐานอ้างอิงที่จะแสดงให้เห็นได้ชัดแจ้งว่าหากพิจารณาใหม่แล้ว ศาลอาจพิพากษาให้ผิดแผกแตกต่างไปจากที่ได้พิพาทไปแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 622/2514 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขอพิจารณาคดีใหม่ต้องแสดงเหตุผลชัดเจนว่าหากพิจารณาใหม่ ศาลอาจพิพากษาต่างไปจากเดิม
คำขอให้พิจารณาคดีใหม่ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 208 นั้น ข้อคัดค้านคำตัดสินชี้ขาดของศาลจะต้องชัดแจ้งเพื่อแสดงว่าตนอาจชนะคดีได้อย่างไรบ้าง มิใช่กล่าวแต่เพียงว่าสามารถพิสูจน์ได้ว่าจำเลยเป็นหนี้โจทก์ไม่เกินสามแสนบาทเท่านั้น โดยไม่มีเหตุผลหรือหลักฐานอ้างอิงที่จะแสดงให้เห็นได้ชัดแจ้งว่าหากพิจารณาใหม่แล้ว ศาลอาจพิพากษาให้ผิดแผกแตกต่างไปจากที่ได้พิพากษาไปแล้ว
of 31