คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
ประพนธ์ ศาตะมาน

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 303 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 434/2514

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การป้องกันตัวเกินสมควรแก่เหตุ: การใช้กำลังตอบโต้การถูกทำร้ายด้วยอาวุธอันตราย
จำเลยเพียงไปต่อว่าผู้ตายด้วยเรื่องที่ผู้ตายกระทำลวนลามภริยาของจำเลย ผู้ตายกลับใช้มือค้ำคอและบีบคอจำเลยล้มลงจำเลยจึงหยิบมีดโต้ฟันส่ง ๆ ไปหลายทีถูกผู้ตายเกิดบาดแผล 9 แผลถึงแก่ความตายในเวลาต่อมา ดังนี้ การกระทำของจำเลยเป็นการกระทำป้องกันเกินสมควรแก่เหตุ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 434/2514 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การป้องกันตนเกินสมควรแก่เหตุ กรณีถูกทำร้ายก่อน และใช้กำลังเกินความจำเป็น
จำเลยเพียงไปต่อว่าผู้ตายด้วยเรื่องที่ผู้ตายกระทำลวนลามภริยาของจำเลย ผู้ตายกลับใช้มือค้ำคอและบีบคอจำเลยล้มลงจำเลยจึงหยิบมีดโต้ฟันส่ง ๆ ไปหลายทีถูกผู้ตายเกิดบาดแผล 9 แผลถึงแก่ความตายในเวลาต่อมา ดังนี้ การกระทำของจำเลยเป็นการกระทำป้องกันเกินสมควรแก่เหตุ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 259/2514

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ดูหมิ่นซึ่งหน้าต้องรู้ว่าผู้ถูกดูหมิ่นอยู่ในบริเวณนั้น การด่าโดยไม่รู้ว่าผู้เสียหายอยู่ใกล้เคียงไม่เป็นความผิด
ดูหมิ่นซึ่งหน้าตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 393 ผู้ถูกดูหมิ่นไม่จำต้องอยู่ต่อหน้าผู้กล่าวดูหมิ่น ถ้าผู้กล่าวคำดูหมิ่นรู้อยู่ว่าผู้ที่ตนจะด่าดูหมิ่นอยู่ในบริเวณนั้นพอที่จะได้ยินคำด่าดูหมิ่นได้ ก็ย่อมเป็นความผิดฐานดูหมิ่นซึ่งหน้าตาม มาตรา 393 ได้
จำเลยด่าดูหมิ่นผู้เสียหายซึ่งอยู่ในสวนห่างออกไป 10 วาโดยจำเลยไม่รู้ว่าผู้เสียหายแอบอยู่ในสวน เช่นนี้ ย่อมยังไม่เป็นความผิดฐานดูหมิ่นซึ่งหน้า ตามมาตรา 393

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 259/2514 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ดูหมิ่นซึ่งหน้าต้องรู้ว่าผู้ถูกดูหมิ่นอยู่ในบริเวณนั้น การด่าโดยไม่รู้ว่ามีคนอยู่ฟัง ไม่เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 393
ดูหมิ่นซึ่งหน้าตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 393 ผู้ถูกดูหมิ่นไม่จำต้องอยู่ต่อหน้าผู้กล่าวดูหมิ่น ถ้าผู้กล่าวคำดูหมิ่นรู้อยู่ว่าผู้ที่ตนจะด่าดูหมิ่นอยู่ในบริเวณนั้นพอที่จะได้ยินคำด่าดูหมิ่นได้ ก็ย่อมเป็นความผิดฐานดูหมิ่นซึ่งหน้าตาม มาตรา 393 ได้
จำเลยด่าดูหมิ่นผู้เสียหายซึ่งอยู่ในสวนห่างออกไป 10 วา โดยจำเลยไม่รู้ว่าผู้เสียหายแอบอยู่ในสวน เช่นนี้ ย่อมยังไม่เป็นความผิดฐานดูหมิ่นซึ่งหน้า ตามมาตรา 393

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 257/2514 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การริบของกลาง (กระบือและเกวียน) ที่ใช้ในการกระทำความผิดฐานแปรรูปไม้และมีไม้แปรรูป
จำเลยมีความผิดฐานแปรรูปไม้และมีไม้แปรรูปไว้ในความครอบครองและข้อเท็จจริงได้ความว่า จำเลยได้ใช้กระบือและเกวียนชักลากไม้จากป่านำไปเก็บไว้ที่บ้าน ดังนี้ถือว่าจำเลยได้ใช้กระบือและเกวียน เป็นอุปกรณ์ให้ได้รับผลในการกระทำความผิดจึงเป็นของต้องริบ
(เทียบฎีกาที่ 784/2506)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 257/2514

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การริบของกลาง (กระบือและเกวียน) ที่ใช้ในการกระทำความผิดฐานแปรรูปไม้และมีไม้แปรรูป
จำเลยมีความผิดฐานแปรรูปไม้และมีไม้แปรรูปไว้ในความครอบครองและข้อเท็จจริงได้ความว่าจำเลยได้ใช้กระบือและเกวียนชักลากไม้จากป่านำไปเก็บไว้ที่บ้าน ดังนี้ ถือว่าจำเลยได้ใช้กระบือและเกวียนเป็นอุปกรณ์ให้ได้รับผลในการกระทำความผิด จึงเป็นของต้องริบ (เทียบฎีกาที่ 784/2506)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 245/2514

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแก้ไขคำให้การที่พิมพ์ผิดพลาด ศาลมีอำนาจแก้ได้ แม้หลังชี้สองสถาน การงดสืบพยานโดยไม่แก้ไขคำให้การไม่ถูกต้อง
ตามคำให้การของจำเลยที่อ้างถึงจำเลยที่ 1 และที่ 2 สับกันเห็นได้ชัดว่าเป็นเพราะพิมพ์คลาดเคลื่อนไปโดยไม่มีเจตนาจะให้การเช่นนั้นเพราะถ้าได้มีการแก้ข้อผิดพลาดจากจำเลยที่ 1 เป็นจำเลยที่ 2 และจากจำเลยที่ 2 เป็นจำเลยที่ 1 แล้ว ข้อต่อสู้ในคำให้การของจำเลยทั้งสองก็จะเป็นข้อเถียงตรงตามประเด็นในคำฟ้องทุกประการ ซึ่งการแก้คำที่พิมพ์ผิดพลาดเช่นนี้ ศาลมีอำนาจให้แก้ได้เสมอ แม้จะขอแก้ภายหลังชี้สองสถานก็แก้ได้ การที่ศาลชั้นต้นถือเอาคำให้การที่พิมพ์ผิดพลาดมาเป็นข้อวินิจฉัยว่าจำเลยที่ 1 รับตามฟ้อง จำเลยที่ 2 ไม่ได้ให้การต่อสู้ไม่มีประเด็นอื่น แล้วงดสืบพยานโจทก์จำเลยจึงไม่ถูกต้อง ฉะนั้น เหตุที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้ยกคำพิพากษาศาลชั้นต้น ให้ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาแล้วพิพากษาใหม่จึงชอบแล้วหาได้เป็นการพิพากษาเกินคำขอไม่ (อ้างฎีกาที่ 316-318/2500)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 245/2514 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแก้ไขคำให้การที่ผิดพลาด และอำนาจศาลในการพิจารณาคดีตามข้อต่อสู้ที่ถูกต้อง
ตามคำให้การของจำเลยที่อ้างถึงจำเลยที่ 1 และที่ 2 สับกัน เห็นได้ชัดว่าเป็นเพราะพิมพ์คลาดเคลื่อนไปโดยไม่มีเจตนาจะให้การเช่นนั้นเพราะถ้าได้มีการแก้ข้อผิดพลาดจากจำเลยที่ 1 เป็นจำเลยที่ 2 และจากจำเลยที่ 2 เป็นจำเลยที่ 1 แล้ว ข้อต่อสู้ในคำให้การของจำเลยทั้งสองก็จะเป็นข้อเถียงตรงตามประเด็นในคำฟ้องทุกประการ ซึ่งการแก้คำที่พิมพ์ผิดพลาดเช่นนี้ ศาลมีอำนาจให้แก้ได้เสมอ แม้จะขอแก้ภายหลังชี้สองสถานก็แก้ได้ การที่ศาลชั้นต้นถือเอาคำให้การที่พิมพ์ผิดพลาดมาเป็นข้อวินิจฉัยว่าจำเลยที่ 1 รับตามฟ้อง จำเลยที่ 2 ไม่ได้ให้การต่อสู้ ไม่มีประเด็นอื่น แล้วงดสืบพยานโจทก์จำเลยจึงไม่ถูกต้อง ฉะนั้น เหตุที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้ยกคำพิพากษาศาลชั้นต้น ให้ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาแล้วพิพากษาใหม่ จึงชอบแล้วหาได้เป็นการพิพากษาเกินคำขอไม่
(อ้างฎีกาที่ 316-318/2500)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 241/2514

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หนี้ร่วมสามีภริยา และการบังคับคดีกับทายาทผู้ไม่ได้รับมรดก
หนี้ที่ ส. กู้เงินโจทก์ เป็นหนี้ที่เกิดขึ้นเนื่องจากการงานที่สามีภริยาทำด้วยกันจึงเป็นหนี้ร่วม แม้ ส. จะตายไปแล้ว จำเลยซึ่งเป็นภริยาในระหว่างที่มูลหนี้เกิดขึ้นต้องรับผิดร่วมด้วย
โจทก์ฟ้องจำเลยในฐานะทายาทผู้รับมรดก ส. ผู้ตาย แม้จำเลยจะไม่ได้รับมรดก ก็เป็นเรื่องที่โจทก์จะบังคับเอาจากมรดกของผู้ตายในชั้นบังคับคดี โดยจำเลยไม่ต้องรับผิดเป็นส่วนตัว (อ้างฎีกาที่ 866/2508)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 239/2514 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมสิทธิ์ที่ดินมัสยิด: การครอบครองปรปักษ์ต้องนับจากวันที่จดทะเบียนเป็นนิติบุคคล
มัสยิดอาจได้กรรมสิทธิที่ดินตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1382 ได้
ตามพระราชบัญญัติมัสยิดอิสลาม พ.ศ. 2490 มาตรา 5 ให้มัสยิดซึ่งได้จดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่แล้ว เป็นนิติบุคคล ซึ่งหมายความว่า ให้เป็นนิติบุคคลตั้งแต่วันที่ได้จดทะเบียนเป็นต้นไป แต่ปรากฏว่ามัสยิดจำเลยร่วมจดทะเบียนเมื่อ 26 กรกฎาคม 2499 การที่จะถือว่า อ. ยกที่ดินพิพาทให้จำเลยตั้งแต่ พ.ศ. 2498 ย่อมเป็นไปไม่ได้ เพราะการให้ต้องมีผู้รับ แม้จะฟังว่าจำเลยร่วมครอบครองปรปักษ์ต่อมาหลังจากการยกให้ที่ไม่ถูกต้องตามกฎหมาย ก็ต้องนับการครอบครองแต่วันเป็นนิติบุคคลเป็นต้นไป แต่ถ้านับตั้งแต่วันที่ 26 กรกฎาคม 2499 จนถึงวันที่โจทก์ฟ้อง คือ วันที่ 15 กรกฎาคม 2509 แล้ว ก็เห็นได้ว่ายังไม่ครบ 10 ปี จึงไม่อาจได้กรรมสิทธิ์ตามมาตรา 1382
of 31