คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
ประพนธ์ ศาตะมาน

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 303 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1726/2513 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแบ่งทรัพย์สินหลังหย่า: เจตนาแบ่งทรัพย์สินตามเอกสารแสดงความประสงค์สมัครใจหย่ามีผลผูกพัน แม้ไม่มีการระบุในทะเบียนหย่า
ผู้ร้องขัดทรัพย์กับจำเลยผู้เป็นสามีจดทะเบียนหย่ากัน แม้ข้อตกลงในการแบ่งทรัพย์สินระหว่างกันจะไม่ปรากฏอยู่ในทะเบียนการหย่าแต่ในหนังสือแสดงความประสงค์สมัครใจหย่ากันอันเป็นแบบพิมพ์ของทางราชการสำหรับให้คู่กรณีกรอกข้อความนั้นระบุไว้ว่า 'ในเรื่องทรัพย์สินบริคณห์ต่าง ๆ ได้จัดการแบ่งปันกันเสร็จเรียบร้อยแล้ว'และได้ความว่าผู้ร้องเป็นฝ่ายได้ที่ดินพิพาท ดังนี้ ย่อมถือว่าได้มีการแบ่งปันทรัพย์สินกันเรียบร้อยแล้วนับแต่วันจดทะเบียนหย่าเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาของจำเลยไม่มีอำนาจนำยึดที่พิพาทได้อีก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1649/2513

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หน้าที่นำสืบ – ฟ้องแย้ง – ที่ดินมือเปล่า – ศาลต้องแยกวินิจฉัยฟ้องแย้งเสมือนคนละสำนวน
เมื่อโจทก์ฟ้องและจำเลยทั้งสามให้การแล้ว เฉพาะจำเลยที่ 1 ยังฟ้องแย้งโจทก์ และมีคำขอให้บังคับโจทก์ตามฟ้องแย้งด้วยแต่คำท้าของคู่ความที่ว่า ถ้าฝ่ายใดมีหน้าที่นำสืบก่อน ให้ฝ่ายนั้นแพ้คดีนั้น มิได้มีข้อจำกัดไว้ว่าให้วินิจฉัยจากฟ้องโจทก์กับคำให้การจำเลยอย่างเดียว จึงต้องแยกวินิจฉัยตามฟ้องแย้งของจำเลยที่ 1กับคำให้การแก้ฟ้องแย้งด้วย เสมือนเป็นคนละสำนวนกับฟ้องเดิมของโจทก์
ฟ้องของโจทก์อ้างว่า ที่นาพิพาทเป็นของโจทก์ ให้จำเลยที่ 1เช่าทำแล้วไม่ชำระค่าเช่า โจทก์จะเข้าทำจำเลยทั้งสามกลับบุกรุกเข้าทำทั้งแปลง เป็นเหตุให้โจทก์เสียหาย จึงฟ้องเรียกค่าเช่ากับค่าเสียหายจำเลยทั้งสามให้การว่า จำเลยที่ 1 ไม่เคยเช่านาพิพาทจากโจทก์เมื่อ 12 ปีมานี้ โจทก์ขายนาพิพาทให้จำเลยที่ 1 แล้วมอบที่พิพาทให้จำเลยที่ 1 ครอบครองตลอดมาเกินกว่า 10 ปีจนบัดนี้ ไม่ใช่ที่ของโจทก์และจำเลยทั้งสามไม่เคยบุกรุกที่ดินโจทก์ ดังนี้ เป็นคำให้การปฏิเสธฟ้องโจทก์โดยตลอด และที่นาพิพาทเป็นที่ดินมือเปล่า ส.ค.1 ของโจทก์ไม่ใช่หนังสือสำคัญสำหรับที่พิพาทนี้ โจทก์จึงมีหน้าที่ต้องนำสืบก่อนว่าโจทก์ให้จำเลยที่ 1 เช่าทำนาพิพาทและจำเลยทั้งสามบุกรุกที่ของโจทก์จริงหรือไม่ เมื่อโจทก์ไม่นำสืบ โจทก์ก็ต้องแพ้คดีตามคำท้า คือยกฟ้องโจทก์สำหรับจำเลยทั้งสาม
ฟ้องแย้งของจำเลยที่ 1 ที่ว่าโจทก์ขายนาพิพาทให้จำเลยครอบครองตลอดมากว่า 10 ปี ไม่เคยเช่าจากโจทก์นั้น โจทก์ให้การปฏิเสธฟ้องแย้งอยู่ว่า ไม่เคยขายให้จำเลยที่ 1 จำเลยที่ 1 ทำนาอยู่โดยเช่าจากโจทก์ ดังนี้ แม้จะเป็นที่ดินมือเปล่า จำเลยที่ 1 ก็ยังมีหน้าที่ต้องนำสืบก่อนให้สมฟ้องแย้งจึงจะบังคับห้ามโจทก์เกี่ยวข้องกับที่พิพาทได้ตามคำขอท้ายฟ้องแย้ง ส่วนคำขอบังคับให้โจทก์โอนที่พิพาทต่อเจ้าพนักงานอำเภอนั้นบังคับไม่ได้เพราะเป็นที่ดินมือเปล่า ศาลได้แต่พิพากษาว่าจำเลยที่ 1 มีสิทธิครอบครองที่พิพาทเท่านั้น เมื่อจำเลยที่ 1ไม่นำสืบ ก็ต้องยกฟ้องแย้งของจำเลยที่ 1 เช่นเดียวกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1649/2513 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หน้าที่นำสืบ - ฟ้องแย้ง - ที่ดินมือเปล่า: ศาลต้องแยกพิจารณาฟ้องแย้งเสมือนคดีใหม่ และพิจารณาหน้าที่นำสืบของแต่ละฝ่าย
เมื่อโจทก์ฟ้องและจำเลยทั้งสามให้การแล้ว เฉพาะจำเลยที่ 1ยังฟ้องแย้งโจทก์ และมีคำขอให้บังคับโจทก์ตามฟ้องแย้งด้วยแต่คำท้าของคู่ความที่ว่า ถ้าฝ่ายใดมีหน้าที่นำสืบก่อน ให้ฝ่ายนั้นแพ้คดีนั้น มิได้มีข้อจำกัดไว้ว่าให้วินิจฉัยจากฟ้องโจทก์กับคำให้การจำเลยอย่างเดียว จึงต้องแยกวินิจฉัยตามฟ้องแย้งของจำเลยที่ 1กับคำให้การแก้ฟ้องแย้งด้วย เสมือนเป็นคนละสำนวนกับฟ้องเดิมของโจทก์
ฟ้องของโจทก์อ้างว่า ที่นาพิพาทเป็นของโจทก์ ให้จำเลยที่ 1เช่าทำแล้วไม่ชำระค่าเช่า โจทก์จะเข้าทำ จำเลยทั้งสามกลับบุกรุกเข้าทำทั้งแปลง เป็นเหตุให้โจทก์เสียหาย จึงฟ้องเรียกค่าเช่ากับค่าเสียหายจำเลยทั้งสามให้การว่า จำเลยที่ 1 ไม่เคยเช่านาพิพาทจากโจทก์เมื่อ 12 ปีมานี้ โจทก์ขายนาพิพาทให้จำเลยที่ 1 แล้วมอบที่พิพาทให้จำเลยที่ 1 ครอบครองตลอดมาเกินกว่า 10 ปีจนบัดนี้ ไม่ใช่ที่ของโจทก์และจำเลยทั้งสามไม่เคยบุกรุกที่ดินโจทก์ ดังนี้ เป็นคำให้การปฏิเสธฟ้องโจทก์โดยตลอด และที่นาพิพาทเป็นที่ดินมือเปล่า ส.ค.1 ของโจทก์ไม่ใช่หนังสือสำคัญสำหรับที่พิพาทนี้ โจทก์จึงมีหน้าที่ต้องนำสืบก่อนว่าโจทก์ให้จำเลยที่ 1 เช่าทำนาพิพาทและจำเลยทั้งสามบุกรุกที่ของโจทก์จริงหรือไม่ เมื่อโจทก์ไม่นำสืบ โจทก์ก็ต้องแพ้คดีตามคำท้า คือยกฟ้องโจทก์สำหรับจำเลยทั้งสาม
ฟ้องแย้งของจำเลยที่ 1 ที่ว่าโจทก์ขายนาพิพาทให้จำเลยครอบครองตลอดมากว่า 10 ปี ไม่เคยเช่าจากโจทก์นั้น โจทก์ให้การปฏิเสธฟ้องแย้งอยู่ว่า ไม่เคยขายให้จำเลยที่ 1 จำเลยที่ 1 ทำนาอยู่โดยเช่าจากโจทก์ ดังนี้ แม้จะเป็นที่ดินมือเปล่า จำเลยที่ 1 ก็ยังมีหน้าที่ต้องนำสืบก่อนให้สมฟ้องแย้งจึงจะบังคับห้ามโจทก์เกี่ยวข้องกับที่พิพาทได้ตามคำขอท้ายฟ้องแย้ง ส่วนคำขอบังคับให้โจทก์โอนที่พิพาทต่อเจ้าพนักงานอำเภอนั้น บังคับไม่ได้ เพราะเป็นที่ดินมือเปล่า ศาลได้แต่พิพากษาว่าจำเลยที่ 1 มีสิทธิครอบครองที่พิพาทเท่านั้น เมื่อจำเลยที่ 1ไม่นำสืบ ก็ต้องยกฟ้องแย้งของจำเลยที่ 1 เช่นเดียวกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1620/2513 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การข่มขืนใจและบุกรุก: ฟ้องไม่ชัดแจ้งข้อเท็จจริงแสดงความกลัวหรือการร่วมกระทำความผิด ศาลยกฟ้องได้
ความผิดต่อเสรีภาพตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 309ผู้ใดข่มขืนใจผู้อื่นให้กระทำการใด ไม่กระทำการใด หรือจำยอมต่อสิ่งใด โดยทำให้กลัวว่าจะเกิดอันตรายต่อชีวิต ร่างกาย เสรีภาพชื่อเสียงหรือทรัพย์สินของผู้ถูกข่มขืนใจนั้นเอง หรือของผู้อื่นเมื่อคำฟ้องของโจทก์ไม่มีข้อเท็จจริงบรรยายมาว่า จำเลยคนใดทำให้โจทก์กลัวว่าจะเกิดอันตรายต่อเสรีภาพของโจทก์อย่างไรบ้างศาลย่อมสั่งยกฟ้องในข้อหาความผิดฐานนี้ได้
ฟ้องหาว่าจำเลยที่ 2 ที่ 3 ร่วมกับจำเลยที่ 1 กระทำบุกรุกอันเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 362, 83 เมื่อคำฟ้องของโจทก์ไม่บรรยายว่า จำเลยที่ 2 ที่ 3 ได้ร่วมกระทำบุกรุกกับจำเลยที่ 1 หรือเป็น ผู้สนับสนุนการกระทำของจำเลยที่ 1 อย่างไรศาลย่อมสั่งยกฟ้องจำเลยที่ 2 ที่ 3 ในข้อหานี้ไปเสียได้เช่นกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1620/2513

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การข่มขืนใจและบุกรุก: การบรรยายฟ้องต้องชัดเจนถึงการกระทำและเจตนาของผู้กระทำ
ความผิดต่อเสรีภาพตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 309 ผู้ใดข่มขืนใจผู้อื่นให้กระทำการใด ไม่กระทำการใด หรือจำยอมต่อสิ่งใด โดยทำให้กลัวว่าจะเกิดอันตรายต่อชีวิตร่างกาย เสรีภาพชื่อเสียงหรือทรัพย์สินของผู้ถูกข่มขืนใจนั้นเอง หรือของผู้อื่นเมื่อคำฟ้องของโจทก์ไม่มีข้อเท็จจริงบรรยายมาว่า จำเลยคนใดทำให้โจทก์กลัวว่าจะเกิดอันตรายต่อเสรีภาพของโจทก์อย่างไรบ้าง ศาลย่อมสั่งยกฟ้องในข้อหาความผิดฐานนี้ได้
ฟ้องหาว่าจำเลยที่ 2 ที่ 3 ร่วมกับจำเลยที่ 1 กระทำบุกรุกอันเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 362, 83 เมื่อคำฟ้องของโจทก์ไม่บรรยายว่า จำเลยที่ 2 ที่ 3 ได้ร่วมกระทำบุกรุกกับจำเลยที่ 1 หรือเป็นผู้สนับสนุนการกระทำของจำเลยที่ 1 อย่างไรศาลย่อมสั่งยกฟ้องจำเลยที่ 2 ที่ 3 ในข้อหานี้ไปเสียได้เช่นกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1536/2513

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การป้องกันสิทธิโดยชอบด้วยกฎหมาย: การตอบโต้การทำร้ายร่างกายเพื่อความปลอดภัย
จำเลยและผู้ตายต่างไปเที่ยวในงานวัด แล้วเกิดเรื่องท้าทายจนเกือบจะชกต่อยกันแต่มีคนห้ามจึงเลิกรากันไปตอนหนึ่ง ต่อมาผู้ตายกับพวกเดินเที่ยวเตร่พบจำเลยที่หน้าโรงครัวในงานนั้นผู้ตายเข้าชกจำเลยก่อนถูกที่หน้าอก 1 ที จำเลยเดินหนีเข้าโรงครัวหยิบมีดที่ใช้หั่นผักผู้ตายตามเข้าไปจำเลยร้องห้าม อย่าเข้าไป แล้วเดินไปทางตะวันออก ผู้ตายตามไปเงื้อมีดจะแทง จำเลยจึงแทงผู้ตายไป 1 ที โดยถือมีดเหวี่ยงไปข้างหลังถูกผู้ตายเซและล้มลง ดังนี้ การกระทำของจำเลยเป็นการป้องกันโดยชอบด้วยกฎหมาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1536/2513 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การป้องกันตัวโดยชอบด้วยกฎหมายจากการถูกทำร้าย ผู้กระทำต้องได้รับการป้องกันภัยใกล้จะถึง
จำเลยและผู้ตายต่างไปเที่ยวในงานวัด แล้วเกิดเรื่องท้าทายจนเกือบจะชกต่อยกันแต่มีคนห้ามจึงเลิกรากันไปตอนหนึ่ง ต่อมาผู้ตายกับพวกเดินเที่ยวเตร่พบจำเลยที่หน้าโรงครัวในงานนั้นผู้ตายเข้าชกจำเลยก่อนถูกที่หน้าอก 1 ที จำเลยเดินหนีเข้าโรงครัวหยิบมีดที่ใช้หั่นผักผู้ตายตามเข้าไปจำเลยร้องห้าม อย่าเข้าไป แล้วเดินไปทางตะวันออกผู้ตายตามไปเงื้อมีดจะแทง จำเลยจึงแทงผู้ตายไป 1 ที โดยถือมีดเหวี่ยงไปข้างหลังถูกผู้ตายเซและล้มลง ดังนี้ การกระทำของจำเลยเป็นการป้องกันโดยชอบด้วยกฎหมาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1525/2513

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การตีความสัญญาภารจำยอม วัตถุประสงค์หลักคือการเข้าถึงที่ดินโดยสะดวกและสร้างสะพานข้ามคลอง
จำเลยทำสัญญาภารจำยอมไว้กับโจทก์มีความว่า (ข้อ 1) ผู้ให้สัญญา(หมายถึงจำเลย) เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์โฉนดเลขที่ 1244 เนื่องจากที่ดินโฉนดที่ 6023 ของผู้รับสัญญา (หมายถึงโจทก์) ไม่มีทางออกไปสู่ถนนราชวิถีโดยรถยนต์ได้ เพราะมีที่ดินแปลงโฉนดที่ 1244 และโรงรำของผู้ให้สัญญาขวางอยู่ก่อน ผู้ให้สัญญาจึงตกลงยินยอมให้ทางถนนเดิมของที่ดินโฉนดที่ 1244 มีขนาดกว้างประมาณ 3.00 เมตร ยาวจากคลองสามเสนถึงถนนราชวิถียาวประมาณ 68 เมตร ตกเป็นภารจำยอมแก่ที่ดินโฉนดที่ 6023 เพื่อใช้เป็นทางสัญจรไปมาและให้รถยนต์ที่ผ่านเข้าออกจากที่แปลงโฉนด 6023 สู่ถนนราชวิถีได้ ผู้ให้สัญญาจะไม่ปลูกสร้างสิ่งใด ๆ คร่อมทางภารจำยอมนี้ในโอกาสต่อไปและยินยอมให้ผู้รับสัญญาสร้างสะพานบนที่ดินของผู้ให้สัญญาตรงริมคลองสามเสนทอดข้ามไปสู่ที่ดินแปลงโฉนดที่ 6023 ได้(ข้อ 2) เนื่องจากที่ดินของผู้ให้สัญญาแปลงโฉนดที่ 1244 ขณะนี้มีโรงรำและถ่านปลูกสร้างปิดช่องถนนของที่ดินส่วนที่ให้สัญญายินยอมเป็นภารจำยอม โดยที่ผู้ให้สัญญาได้ให้ จ. เช่ามีกำหนด 10 ปีเป็นเหตุให้ผู้รับสัญญายังใช้สิทธิภารจำยอมที่ตกลงกันตามสัญญานี้ทันทีไม่ได้ (ข้อ 3) เพื่อเป็นการตอบแทนแก่ผู้ให้สัญญาที่ยินยอมให้ที่ดินแปลงโฉนดที่ 6023 ของผู้รับสัญญาได้สิทธิภารจำยอมบนที่ดินแปลงโฉนดที่ 1244 ของผู้ให้สัญญาตามข้อ 1 ผู้รับสัญญาขอให้ค่าตอบแทนเป็นเงิน 120,000 บาท ผู้ให้สัญญาได้รับเงินค่าตอบแทนเป็นเงิน 20,000 บาทแล้ว ที่ค้างผู้รับสัญญาจะชำระให้เสร็จเมื่อผู้ให้สัญญาได้รื้อถอนโรงรำออกจากที่ดินโฉนดที่ 1244 ไปแล้วและเมื่อผู้ให้สัญญาได้รับเงินจากผู้รับสัญญาครบถ้วนแล้ว ผู้ให้สัญญาจะต้องนำที่ดินโฉนดที่ 1244 ไปจดทะเบียนภารจำยอมทันที ดังนี้ย่อมเห็นวัตถุประสงค์ของสัญญารายนี้ว่าที่โจทก์ยอมเสียเงินถึง120,000 บาท ก็เพื่อให้มีถนนผ่านที่ดินจำเลยไปออกถนนราชวิถีได้โดยกว้างประมาณ 3 เมตร และยาวประมาณ 68 เมตร ทั้งนี้ก็เพื่อให้รถยนต์วิ่งเข้าออกไปยังที่ดินของโจทก์ได้โดยการสร้างสะพานบนที่ดินของจำเลยข้ามคลองสามเสนไปสู่ที่ดินของโจทก์โฉนดที่ 6023 ได้ การที่จะแปลสัญญานี้ไปเป็นอย่างอื่น กล่าวคือ แปลว่าให้ทำสะพานข้ามคลองสามเสนไปสู่ที่ดินของ ป. ซึ่งอยู่ติดกับที่ดินของโจทก์นั้น ย่อมเป็นการแปลความที่ขัดต่อเจตนาของคู่สัญญาทั้งขัดกับข้อความในสัญญาด้วยการที่โจทก์ยอมเสียเงินถึง 120,000 บาท ก็ย่อมประสงค์จะให้ทำสะพานข้ามทอดเข้าที่ดินของโจทก์ไม่ต้องการให้ทำสะพานลงไปในที่ดินของ ป. ซึ่งแม้จะอยู่ติดกันก็มีคูน้ำคั่น ซึ่งมีความกว้างถึง 1 วา คำว่า'ทางถนนเดิม' ในสัญญาข้อ 1 หมายถึงถนนปูน 3 เมตร ตั้งแต่ปากทางติดถนนราชวิถีเข้ามาหน้าโรงรำและตรงเข้ามายังคลองสามเสนซึ่งเมื่อแปลเช่นนี้ ถนนเดิมจากปากทางจะตรงเข้ามาจดคลองสามเสนและย่อมจะสร้างสะพานข้ามคลองสามเสนไปสู่ที่ดินโจทก์ได้ ถนนที่เป็นภารจำยอมตามสัญญามีความกว้างประมาณ 3 เมตร ยาวประมาณ68 เมตร โดยถือถนนปูนซึ่งเป็นถนนเดิมแล้วตรงเข้ามาถึงหน้าโรงรำและถ่าน แล้วตรงเข้ามา (โดยไม่เบนไปทางซ้าย) ทั้งนี้โดยถือแนวถนนปูนเดิม ส่วนใดของโรงรำและถ่านที่ขวางช่องทางดังกล่าวนี้ถือว่าเป็นการผิดสัญญาจำเลยต้องรื้อออกไปให้พ้นความกว้าง (ประมาณ 3 เมตร)
วัตถุประสงค์ของสัญญาภารจำยอมเป็นเพียงเพื่อให้โจทก์มีทางกว้างประมาณ 3 เมตร ยาวประมาณ 68 เมตร และเพื่อทำสะพานข้ามคลองเข้าที่โจทก์เท่านั้น ฉะนั้น ส่วนใดของโรงรำและถ่านที่กีดขวางทางภารจำยอมก็จะต้องรื้อถอนไป แต่หาใช่รื้อไปทั้งหมดทั้ง ๆ ที่ ส่วนอื่นก็ไม่ได้กีดขวางทางภารจำยอมไม่ มิฉะนั้นก็จะเป็นการตีความสัญญาไปในทางที่ไม่สุจริต เป็นการขัดต่อมาตรา 368แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1525/2513 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ภาระจำยอม: การตีความสัญญาตามเจตนาคู่สัญญาเพื่อการใช้ทางและสร้างสะพานเข้าที่ดิน
จำเลยทำสัญญาภารจำยอมไว้กับโจทก์มีความว่า (ข้อ 1) ผู้ให้สัญญา(หมายถึงจำเลย) เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์โฉนดเลขที่ 1244 เนื่องจากที่ดินโฉนดที่ 6023 ของผู้รับสัญญา (หมายถึงโจทก์) ไม่มีทางออกไปสู่ถนนราชวิถีโดยรถยนต์ได้ เพราะมีที่ดินแปลงโฉนดที่ 1244 และโรงรำของผู้ให้สัญญาขวางอยู่ก่อน ผู้ให้สัญญาจึงตกลงยินยอมให้ทางถนนเดิมของที่ดินโฉนดที่ 1244 มีขนาดกว้างประมาณ 3.00 เมตร ยาวจากคลองสามเสนถึงถนนราชวิถียาวประมาณ 68 เมตร ตกเป็นภารจำยอมแก่ที่ดินโฉนดที่ 6023 เพื่อใช้เป็นทางสัญจรไปมาและให้รถยนต์ที่ผ่านเข้าออกจากที่แปลงโฉนด 6023 สู่ถนนราชวิถีได้ ผู้ให้สัญญาจะไม่ปลูกสร้างสิ่งใด ๆ คร่อมทางภารจำยอมนี้ในโอกาสต่อไปและยินยอมให้ผู้รับสัญญาสร้างสะพานบนที่ดินของผู้ให้สัญญาตรงริมคลองสามเสนทอดข้ามไปสู่ที่ดินแปลงโฉนดที่ 6023 ได้(ข้อ 2) เนื่องจากที่ดินของผู้ให้สัญญาแปลงโฉนดที่ 1244 ขณะนี้มีโรงรำและถ่านปลูกสร้างปิดช่องถนนของที่ดินส่วนที่ให้สัญญายินยอมเป็นภารจำยอม โดยที่ผู้ให้สัญญาได้ให้ จ. เช่ามีกำหนด 10 ปีเป็นเหตุให้ผู้รับสัญญายังใช้สิทธิภารจำยอมที่ตกลงกันตามสัญญานี้ทันทีไม่ได้ (ข้อ 3) เพื่อเป็นการตอบแทนแก่ผู้ให้สัญญาที่ยินยอมให้ที่ดินแปลงโฉนดที่ 6023 ของผู้รับสัญญาได้สิทธิภารจำยอมบนที่ดินแปลงโฉนดที่ 1244 ของผู้ให้สัญญาตามข้อ 1 ผู้รับสัญญาขอให้ค่าตอบแทนเป็นเงิน 120,000 บาท ผู้ให้สัญญาได้รับเงินค่าตอบแทนเป็นเงิน 20,000 บาทแล้ว ที่ค้างผู้รับสัญญาจะชำระให้เสร็จเมื่อผู้ให้สัญญาได้รื้อถอนโรงรำออกจากที่ดินโฉนดที่ 1244 ไปแล้วและเมื่อผู้ให้สัญญาได้รับเงินจากผู้รับสัญญาครบถ้วนแล้ว ผู้ให้สัญญาจะต้องนำที่ดินโฉนดที่ 1244 ไปจดทะเบียนภารจำยอมทันที ดังนี้ย่อมเห็นวัตถุประสงค์ของสัญญารายนี้ว่าที่โจทก์ยอมเสียเงินถึง120,000 บาท ก็เพื่อให้มีถนนผ่านที่ดินจำเลยไปออกถนนราชวิถีได้โดยกว้างประมาณ 3 เมตร และยาวประมาณ 68 เมตร ทั้งนี้ ก็เพื่อให้รถยนต์วิ่งเข้าออกไปยังที่ดินของโจทก์ได้โดยการสร้างสะพานบนที่ดินของจำเลยข้ามคลองสามเสนไปสู่ที่ดินของโจทก์โฉนดที่ 6023 ได้ การที่จะแปลสัญญานี้ไปเป็นอย่างอื่น กล่าวคือ แปลว่าให้ทำสะพานข้ามคลองสามเสนไปสู่ที่ดินของ ป. ซึ่งอยู่ติดกับที่ดินของโจทก์นั้น ย่อมเป็นการแปลความที่ขัดต่อเจตนาของคู่สัญญา ทั้งขัดกับข้อความในสัญญาด้วยการที่โจทก์ยอมเสียเงินถึง120,000 บาท ก็ย่อมประสงค์จะให้ทำสะพานข้ามทอดเข้าที่ดินของโจทก์ไม่ต้องการให้ทำสะพานลงไปในที่ดินของ ป. ซึ่งแม้จะอยู่ติดกันก็มีคูน้ำคั่น ซึ่งมีความกว้างถึง 1 วา คำว่า'ทางถนนเดิม' ในสัญญาข้อ 1 หมายถึงถนนปูน 3 เมตร ตั้งแต่ปากทางติดถนนราชวิถีเข้ามาหน้าโรงรำและตรงเข้ามายังคลองสามเสนซึ่งเมื่อแปลเช่นนี้ ถนนเดิมจากปากทางจะตรงเข้ามาจดคลองสามเสนและย่อมจะสร้างสะพานข้ามคลองสามเสนไปสู่ที่ดินโจทก์ได้ ถนนที่เป็นภารจำยอมตามสัญญามีความกว้างประมาณ 3 เมตร ยาวประมาณ68 เมตร โดยถือถนนปูนซึ่งเป็นถนนเดิมแล้วตรงเข้ามาถึงหน้าโรงรำและถ่าน แล้วตรงเข้ามา (โดยไม่เบนไปทางซ้าย) ทั้งนี้โดยถือแนวถนนปูนเดิม ส่วนใดของโรงรำและถ่านที่ขวางช่องทางดังกล่าวนี้ถือว่าเป็นการผิดสัญญาจำเลยต้องรื้อออกไปให้พ้นความกว้าง (ประมาณ 3 เมตร)
วัตถุประสงค์ของสัญญาภารจำยอมเป็นเพียงเพื่อให้โจทก์มีทาง กว้างประมาณ 3 เมตร ยาวประมาณ 68 เมตร และเพื่อทำสะพานข้ามคลองเข้าที่โจทก์เท่านั้น ฉะนั้น ส่วนใดของโรงรำและถ่านที่กีดขวางทางภารจำยอม ก็จะต้องรื้อถอนไป แต่หาใช่รื้อไปทั้งหมดทั้ง ๆ ที่ ส่วนอื่นก็ไม่ได้กีดขวางทางภารจำยอมไม่ มิฉะนั้นก็จะเป็นการตีความสัญญาไปในทางที่ไม่สุจริต เป็นการขัดต่อ มาตรา 368แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1479/2513 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การป้องกันตัวโดยชอบด้วยกฎหมาย: กรณีผู้ถูกทำร้ายก่อนมีสิทธิใช้กำลังป้องกันตนเองได้
ผู้ตายมีปืนและมีดปลายแหลมเป็นอาวุธไปแอบคอยดักทำร้ายจำเลย พอจำเลยมาถึงผู้ตายใช้ปืนยิงจำเลยถูกเฉียดศีรษะมีบาดแผล จำเลยจึงใช้พร้าฟันผู้ตาย ผู้ตายชักมีดแทงจำเลยแล้วเข้ากอดปล้ำแย่งมีดกัน แล้วจำเลยได้ใช้มีดพร้าฟันผู้ตายไปหลายที เช่นนี้ เป็นกรณีที่ผู้ตายเป็นฝ่ายก่อเหตุขึ้นก่อน โดยใช้ปืนยิงจำเลย จำเลยจึงใช้พร้าฟัน แม้ผู้ตายจะล้มลงไปก็จริง กรณีที่กำลังพัวพันกันอยู่เช่นนั้น จำเลยอาจเกรงว่าผู้ตายจะใช้ปืนหรือใช้มีดแทงอีกก็เป็นได้ จึงจำเป็นต้องใช้พร้าฟันไปอีกหลายที ดังนี้ การกระทำของจำเลยจึงเป็นการกระทำเพื่อป้องกันสิทธิของตนให้พ้นอันตรายซึ่งเกิดจากการประทุษร้ายอันละเมิดต่อกฎหมายที่ใกล้จะถึง การกระทำของจำเลยพอสมควรแก่เหตุ เป็นการป้องกันโดยชอบด้วยกฎหมาย จำเลยไม่มีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 68
of 31