คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
ประพนธ์ ศาตะมาน

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 303 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2195/2515

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ วันเวลาเกิดเหตุในฟ้องเป็นรายละเอียดไม่สำคัญ หากจำเลยไม่หลงต่อสู้ ศาลไม่ยกฟ้อง
ในคดีความผิดฐานปล้นทรัพย์ แม้ข้อเท็จจริงที่ปรากฏในการพิจารณาว่าเกิดเหตุวันที่ 8 ธันวาคม 2513 แตกต่างกับข้อเท็จจริงที่โจทก์กล่าวในฟ้องว่าเกิดเหตุวันที่ 7 ธันวาคม 2513 ก็จริง แต่ก็มิใช่เป็นข้อแตกต่างในสารสำคัญ เพราะวันเวลาที่เกิดเหตุเป็นเพียงรายละเอียดที่โจทก์จะต้องกล่าวในฟ้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 158 เท่านั้น และเมื่อจำเลยมิได้หลงต่อสู้ ก็จะยกฟ้องด้วยเหตุนี้ไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2017/2515 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนสิทธิการเช่าต้องได้รับความยินยอมจากผู้ให้เช่า มิฉะนั้นสิทธิการเช่าไม่สมบูรณ์ และไม่มีผลผูกพันต่อผู้ให้เช่า
โจทก์ทำสัญญารับโอนสิทธิการเช่าตึกพิพาทของสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์จากผู้เช่าเดิมโดยผู้ให้เช่ามิได้ตกลงยินยอมด้วยเป็นการต้องห้ามตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 544จึงถือไม่ได้ว่าโจทก์ได้เป็นผู้เช่าตึกพิพาทแม้ศาลจะพิพากษาให้ผู้เช่าเดิมโอนสิทธิการเช่าให้โจทก์ คำพิพากษานั้นย่อมผูกพันเฉพาะคู่ความในคดี หาผูกพันสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ผู้ให้เช่าไม่
กรณีผู้เช่าหลายคนเรียกร้องเอาอสังหาริมทรัพย์อันเดียวกันโดยอาศัยมูลสัญญาเช่าต่างรายกัน ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 543 ได้บัญญัติวางหลักเกณฑ์ให้ศาลวินิจฉัยไว้ ซึ่งแสดงว่าถ้าต่างคนต่างแย่งการเช่าอสังหาริมทรัพย์โดยอาศัยมูลสัญญาเช่าต่างรายกันแล้ว คู่กรณีย่อมจะมาฟ้องขอให้ศาลแสดงว่าตนมีสิทธิการเช่าดีกว่าคนอื่นได้ แต่โจทก์รับโอนสิทธิการเช่าโดยไม่ถูกต้องและยังมิได้เป็นผู้เช่าตึกพิพาทจากผู้ให้เช่า ย่อมไม่มีทางที่จะฟ้องขอให้แสดงว่า โจทก์มีสิทธิการเช่าได้ ดังที่ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 543 บัญญัติไว้
โจทก์ฟ้องขอให้ศาลพิพากษาว่า โจทก์มีสิทธิได้รับโอนสิทธิการเช่าตึกพิพาทจากผู้เช่าเดิมดีกว่าจำเลย โจทก์มีสิทธิจะทำสัญญาเช่าตึกพิพาทกับผู้ให้เช่าได้ก่อนจำเลยและขอให้บังคับจำเลยถอนคำร้องโต้แย้งคัดค้าน เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่าผู้ให้เช่าได้อนุมัติให้โอนสิทธิการเช่าแก่จำเลยและสิทธิการเช่าตึกพิพาทได้โอนไปยังจำเลยโดยถูกต้องและชอบด้วยกฎหมายแล้วโจทก์ย่อมไม่มีสิทธิฟ้อง
ศาลชั้นต้นสั่งงดสืบพยานในวันพุธที่ 12 และนัดฟังคำพิพากษาวันศุกร์ที่ 14 เดือนเดียวกัน ถือว่ามีเวลาพอที่คู่ความจะโต้แย้งคำสั่งนั้นได้ เมื่อมิได้โต้แย้งไว้จะอุทธรณ์ฎีกาขอให้มีการพิจารณาสืบพยานต่อไปหาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2017/2515

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนสิทธิเช่าที่ไม่ได้รับความยินยอมจากผู้ให้เช่า และสิทธิของผู้เช่าเดิม
โจทก์ทำสัญญารับโอนสิทธิการเช่าตึกพิพาทของสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์จากผู้เช่าเดิมโดยผู้ให้เช่ามิได้ตกลงยินยอมด้วย เป็นการต้องห้ามตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 544จึงถือไม่ได้ว่าโจทก์ได้เป็นผู้เช่าตึกพิพาทแม้ศาลจะพิพากษาให้ผู้เช่าเดิมโอนสิทธิการเช่าให้โจทก์ คำพิพากษานั้นย่อมผูกพันเฉพาะคู่ความในคดี หาผูกพันสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ผู้ให้เช่าไม่
กรณีผู้เช่าหลายคนเรียกร้องเอาอสังหาริมทรัพย์อันเดียวกันโดยอาศัยมูลสัญญาเช่าต่างรายกัน ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 543 ได้บัญญัติวางหลักเกณฑ์ให้ศาลวินิจฉัยไว้ซึ่งแสดงว่าถ้าต่างคนต่างแย่งการเช่าอสังหาริมทรัพย์โดยอาศัยมูลสัญญาเช่าต่างรายกันแล้ว คู่กรณีย่อมจะมาฟ้องขอให้ศาลแสดงว่าตนมีสิทธิการเช่าดีกว่าคนอื่นได้แต่โจทก์รับโอนสิทธิการเช่าโดยไม่ถูกต้อง และยังมิได้เป็นผู้เช่าตึกพิพาทจากผู้ให้เช่า ย่อมไม่มีทางที่จะฟ้องขอให้แสดงว่า โจทก์มีสิทธิการเช่าได้ ดังที่ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 543 บัญญัติไว้
โจทก์ฟ้องขอให้ศาลพิพากษาว่า โจทก์มีสิทธิได้รับโอนสิทธิการเช่าตึกพิพาทจากผู้เช่าเดิมดีกว่าจำเลย โจทก์มีสิทธิจะทำสัญญาเช่าตึกพิพาทกับผู้ให้เช่าได้ก่อนจำเลยและขอให้บังคับจำเลยถอนคำร้องโต้แย้งคัดค้าน เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่าผู้ให้เช่าได้อนุมัติให้โอนสิทธิการเช่าแก่จำเลยและสิทธิการเช่าตึกพิพาทได้โอนไปยังจำเลยโดยถูกต้องและชอบด้วยกฎหมายแล้ว โจทก์ย่อมไม่มีสิทธิฟ้อง
ศาลชั้นต้นสั่งงดสืบพยานในวันพุธที่ 12 และนัดฟังคำพิพากษาวันศุกร์ที่ 14 เดือนเดียวกัน ถือว่ามีเวลาพอที่คู่ความจะโต้แย้งคำสั่งนั้นได้ เมื่อมิได้โต้แย้งไว้จะอุทธรณ์ฎีกาขอให้มีการพิจารณาสืบพยานต่อไปหาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1884/2515 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีแจ้งความเท็จ กรณีจำเลยแจ้งราคาซื้อขายต่ำกว่าความเป็นจริง โจทก์ผู้มอบอำนาจย่อมไม่มีอำนาจฟ้อง
โจทก์ฟ้องว่า โจทก์ทำสัญญาขายที่ดินพร้อมด้วยตึกแถวให้จำเลยที่ 1 ห้องละ 80,000 บาท จำเลยที่ 1 มาขอให้โจทก์ทำหนังสือมอบอำนาจให้จำเลยที่ 1 เป็นตัวแทนโอนขายให้จำเลยที่ 2 แล้ว จำเลยที่ 1 นำหนังสือมอบอำนาจนั้นไปแสดงแก่เจ้าพนักงานที่ดิน โดยจำเลยทั้งสองแจ้งความเท็จว่าโจทก์โอนขายให้ในราคา 40,000 บาทความจริงจำเลยที่ 1ขายให้จำเลยที่ 2 ในราคากว่า 80,000 บาท ทั้งนี้ เพื่อหลีกเลี่ยงค่าธรรมเนียมและค่าอากร อาจทำให้โจทก์เสียหายคืออาจถูกฟ้องฐานแจ้งความเท็จ อาจถูกเรียกค่าธรรมเนียมและค่าอากรแสตมป์ที่ขาดและถูกปรับหลายเท่า และอาจถูกฟ้องฐานหลีกเลี่ยงภาษีอากรด้วย ดังนี้ เห็นได้ว่าโจทก์มอบอำนาจให้จำเลยที่ 1 เป็นผู้โอนขายแทนเท่านั้น โจทก์ไม่ได้เป็นผู้แจ้งหรือร่วมรู้เห็นในการแจ้งว่าซื้อขายกันเป็นเงินเท่าใด ไม่ต้องรับผิดฐานแจ้งความเท็จนั้นการแจ้งราคาซื้อขายน้อยกว่าความจริง เป็นเหตุให้รัฐบาลขาดรายได้รัฐบาลก็เป็นผู้เสียหาย ไม่ใช่โจทก์ข้อที่ว่าโจทก์อาจถูกเรียกค่าธรรมเนียมและค่าอากรแสตมป์ที่ขาดและจะถูกปรับ ก็ปรากฏตามสัญญาซื้อขายระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 ว่าจำเลยที่ 1 เป็นผู้มีหน้าที่ชำระเมื่อตามข้อเท็จจริงเป็นการแจ้งของจำเลยที่ 1 และที่ 2โดยเฉพาะตัวแล้ว
โจทก์ก็ไม่ใช่ผู้เสียหาย ไม่มีอำนาจฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยฐานร่วมกันแจ้งความเท็จ ศาลย่อมมีอำนาจยกฟ้องได้โดยไม่ต้องไต่สวนมูลฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1884/2515

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแจ้งราคาซื้อขายต่ำกว่าความเป็นจริงเพื่อหลีกเลี่ยงภาษี โจทก์ไม่ใช่ผู้เสียหาย ไม่มีอำนาจฟ้อง
โจทก์ฟ้องว่า โจทก์ทำสัญญาขายที่ดินพร้อมด้วยตึกแถวให้จำเลยที่ 1 ห้องละ 80,000 บาท จำเลยที่ 1 มาขอให้โจทก์ทำหนังสือมอบอำนาจให้จำเลยที่ 1 เป็นตัวแทนโอนขายให้จำเลยที่ 2 แล้ว จำเลยที่ 1 นำหนังสือมอบอำนาจนั้นไปแสดงแก่เจ้าพนักงานที่ดิน โดยจำเลยทั้งสองแจ้งความเท็จว่าโจทก์โอนขายให้ในราคา 40,000 บาทความจริงจำเลยที่ 1 ขายให้จำเลยที่ 2 ในราคากว่า 80,000 บาท ทั้งนี้ เพื่อหลีกเลี่ยงค่าธรรมเนียมและค่าอากร อาจทำให้โจทก์เสียหายคืออาจถูกฟ้องฐานแจ้งความเท็จ อาจถูกเรียกค่าธรรมเนียมและค่าอากรแสตมป์ที่ขาดและถูกปรับหลายเท่า และอาจถูกฟ้องฐานหลีกเลี่ยงภาษีอากรด้วย ดังนี้ เห็นได้ว่าโจทก์มอบอำนาจให้จำเลยที่ 1 เป็นผู้โอนขายแทนเท่านั้น โจทก์ไม่ได้เป็นผู้แจ้งหรือร่วมรู้เห็นในการแจ้งว่าซื้อขายกันเป็นเงินเท่าใด ไม่ต้องรับผิดฐานแจ้งความเท็จนั้น การแจ้งราคาซื้อขายน้อยกว่าความจริง เป็นเหตุให้รัฐบาลขาดรายได้รัฐบาลก็เป็นผู้เสียหาย ไม่ใช่โจทก์ข้อที่ว่าโจทก์อาจถูกเรียกค่าธรรมเนียมและค่าอากรแสตมป์ที่ขาดและจะถูกปรับ ก็ปรากฏตามสัญญาซื้อขายระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 ว่าจำเลยที่ 1 เป็นผู้มีหน้าที่ชำระ เมื่อตามข้อเท็จจริงเป็นการแจ้งของจำเลยที่ 1 และที่ 2 โดยเฉพาะตัวแล้ว
โจทก์ก็ไม่ใช่ผู้เสียหาย ไม่มีอำนาจฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยฐานร่วมกันแจ้งความเท็จ ศาลย่อมมีอำนาจยกฟ้องได้โดยไม่ต้องไต่สวนมูลฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1881/2515

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การนำสุกรออกนอกราชอาณาจักรโดยไม่ผ่านศุลกากร และการริบยานพาหนะที่ใช้ในการกระทำผิด
เรือยนต์ชนิดเพลาใบจักรที่ใช้บรรทุกสุกรที่มีชีวิตอันเป็นของที่ไม่ต้องเสียภาษีออกนอกราชอาณาจักร โดยมิได้ผ่านศุลกากรโดยถูกต้อง ซึ่งเป็นความผิดอย่างหนึ่งตามมาตรา 27แห่งพระราชบัญญัติศุลกากรฯ นั้น ไม่ใช่ยานพาหนะที่ใช้ในการย้าย ถอน ซ่อนเร้น หรือขนของที่ยังมิได้เสียภาษี หรือที่ต้องจำกัดหรือต้องห้าม ดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 32 แห่งพระราชบัญญัติศุลกากรฯ ว่าให้ริบเสียสิ้น จึงริบเรือยนต์พร้อมเครื่องจักรของกลางไม่ได้
สิ่งของที่นำเข้าหรือออกนอกราชอาณาจักร จะต้องเสียภาษีศุลกากรหรือไม่นั้น จะต้องกำหนดไว้ในกฎหมายจึงเป็นเรื่องที่ศาลต้องรู้เอง
หน้าที่พิสูจน์ที่ตกอยู่แก่จำเลยตามมาตรา 100 แห่งพระราชบัญญัติศุลกากรฯนั้น เป็นเรื่องการฟ้องร้องเกี่ยวด้วยของที่ยึด เพราะหลีกเลี่ยงการเสียภาษีศุลกากรหรือเป็นของที่พึงริบ หรือเพื่อเอาค่าปรับตามพระราชบัญญัตินี้ หากจำเลยมีข้อโต้เถียงว่าเสียภาษีศุลกากรถูกต้องแล้ว หรือนำเข้าหรือนำออกเป็นการชอบด้วยกฎหมาย ต่างกับกรณีของจำเลยคดีนี้ที่ปฏิเสธว่ามิได้นำสุกรออกนอกราชอาณาจักร แต่เป็นการขนหรือบรรทุกในประเทศลาว ซึ่งเป็นคนละเรื่องกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1806/2515

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การลงโทษเด็กที่กระทำความผิดอาญา: ลดโทษตามอายุและประโยชน์จากการรับสารภาพ
จำเลยอายุ 17 ปี ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำคุก 3 ปี 9 เดือนศาลอุทธรณ์เห็นว่ายังไม่สมควรลงโทษถึงจำคุก พิพากษาแก้ เป็นให้มอบตัวจำเลยแก่บิดามารดารับตัวไประวังมิให้จำเลยก่อเหตุร้ายขึ้นอีกตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 75 ประกอบด้วยมาตรา 74(2) ดังนี้ โจทก์ฎีกาขอให้ลงโทษจำเลยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1806/2515 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิจารณาโทษเด็กในคดีอาญา: ลดโทษตามอายุและพฤติการณ์, คำรับสารภาพมีผลต่อการพิจารณา
จำเลยอายุ 17 ปี ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำคุก 3 ปี 9 เดือนศาลอุทธรณ์เห็นว่ายังไม่สมควรลงโทษถึงจำคุก พิพากษา แก้ เป็นให้มอบตัวจำเลยแก่บิดามารดารับตัวไประวังมิให้จำเลยก่อเหตุร้ายขึ้นอีกตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 75 ประกอบด้วยมาตรา 74(2) ดังนี้ โจทก์ฎีกาขอให้ลงโทษจำเลยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1706/2515

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนที่ดินโดยไม่สุจริตของผู้รับโอนที่ทราบการซื้อขายก่อนหน้า ทำให้การโอนเป็นโมฆะ
จำเลยที่ 1 ขายที่พิพาทซึ่งเป็นที่ดินมือเปล่าให้โจทก์แล้วส่งมอบการครอบครองให้ โจทก์ครอบครองตลอดมา เพียงแต่จะไปทำการโอนทางทะเบียนให้ในภายหลังเท่านั้น ต่อมาจำเลยที่ 1 กลับโอนที่พิพาทให้จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นบุตร จำเลยที่ 2 ได้ขายให้จำเลยที่ 3 ที่ 4 โดยจำเลยที่ 3 ที่ 4 ทราบว่าโจทก์ซื้อที่พิพาทจากจำเลยที่ 1 แล้ว โจทก์ย่อมฟ้องขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนโอนขายที่พิพาทระหว่างจำเลยที่ 2 กับจำเลยที่ 3 ที่ 4 ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1702/2515 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ละเลยหน้าที่กรรมการควบคุมเงินรายได้ ก่อให้เกิดการทุจริตยักยอกทรัพย์ ต้องรับผิดทางละเมิด
เดิมกองทัพอากาศเป็นผู้ดูแลเก็บค่าธรรมเนียมต่างๆ ในสนามบินดอนเมือง ต่อมารัฐบาลตกลงจะแยกกิจการบินพลเรือนออกจากกองทัพอากาศ ให้กรมการขนส่งจัดเก็บรายได้ต่างๆ เป็นของกรมการขนส่ง แต่ในที่สุดยังแยกไม่ได้ เพราะไม่มีงบประมาณและคนดำเนินการ ในระหว่างที่ยังแยกไม่ได้นี้คณะกรรมการลงมติให้กองทัพอากาศมีอำนาจหน้าที่เก็บค่าธรรมเนียมเครื่องบินขึ้นลงตลอดจนพักแรม ส่วนรายได้ รายจ่ายให้เป็นของกรมการขนส่ง กองทัพอากาศ โดยกรมการบินพลเรือนเพียงเป็นเจ้าหน้าที่ดูแลจัดเก็บและนำส่งกระทรวงการคลังให้ เมื่อมีการทุจริตเกี่ยวกับเงินค่าธรรมเนียมดังกล่าวแล้ว ซึ่งมีบุคคล จะต้องรับผิดชอบทางแพ่งในฐานละเมิด กรมการขนส่งซึ่งเป็น เจ้าของรายได้ย่อมมีอำนาจฟ้องได้
กรรมการตรวจเงินแผ่นดินรายงานไปยังกระทรวงกลาโหมว่ามีการทุจริตยักยอกเงินค่าธรรมเนียมสนามบินในกรมการบินพลเรือนกองทัพอากาศจึงตั้งคณะกรรมการสอบสวนหาตัวผู้รับผิดทางอาญาโดยจำเลยที่ 1 ถูกสอบสวนร่วมกับพันจ่าอากาศและนายทหารอีกสองนาย คณะกรรมการสอบสวนแล้วเสนอรายงานว่า พันจ่าอากาศและนายทหารสองนายนั้นเป็นผู้รับผิดทางอาญา เจ้ากรมสารบรรณทหารอากาศจึงมีบันทึกเสนอผู้บัญชาการทหารอากาศว่า การสอบสวนไม่มีหลักฐานยืนยันว่าจำเลยที่ 1 ได้กระทำการทุจริตเป็นแต่เพียงบกพร่องต่อหน้าที่ อันเป็นเหตุให้เกิดการทุจริตซึ่งจะได้พิจารณาและดำเนินการในเรื่องความรับผิดทางแพ่งต่อไป เห็นสมควรสั่งถอนประกันเพื่อคืนหลักประกันให้จำเลยที่ 1 รองผู้บัญชาการทหารอากาศรับคำสั่งผู้บัญชาการทหารอากาศเซ็นสั่งอนุญาตให้จำเลยที่ 1ถอนประกันได้ ต่อมากองทัพอากาศสั่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนพิจารณาหาผู้ต้องรับผิดทางแพ่ง คณะกรรมการทำรายงานเสนอว่าจำเลยคนใดรวมทั้งจำเลยที่ 1 ด้วยจะต้องรับผิดทางแพ่งเป็นเงินเท่าใด และผู้บัญชาการทหารอากาศลงชื่อรับทราบ ดังนี้ ถือว่ากองทัพอากาศรู้ตัวผู้ทำละเมิดซึ่งจะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนในวันที่ผู้บัญชาการทหารอากาศรู้ตัวผู้ทำละเมิดซึ่งจะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนในวันที่ผู้บัญชาการทหารอากาศลงชื่อรับทราบ จะถือว่ากองทัพอากาศรู้ว่าจำเลยที่ 1เป็นผู้ทำละเมิดตั้งแต่วันที่รองผู้บัญชาการทหารอากาศเซ็นสั่งอนุญาตให้จำเลยที่ 1 ถอนประกันหาได้ไม่
จำเลยเป็นนายทหารสัญญาบัตรประจำการประจำกรมการบินพลเรือนซึ่งได้รับแต่งตั้งจากกรมการบินพลเรือนให้เป็นกรรมการควบคุมดูแลเงินรายได้ผลประโยชน์ มีหน้าที่ควบคุมดูแลเงินค่าธรรมเนียม ขึ้นลงของเครื่องบินกับค่าเช่าอันเป็นเงินรายได้ของโจทก์ แต่จำเลยปล่อยปละละเลยไม่ปฏิบัติตามระเบียบข้อบังคับของกองทัพอากาศทำให้เกิดการทุจริตโดยนายทหารชั้นประทวนยักยอกเอาเงินดังกล่าวไปซึ่งถ้าหากได้ปฏิบัติตามระเบียบข้อบังคับแล้วการทุจริตรายนี้คงไม่เกิดขึ้นได้ ดังนี้ ถือได้ว่าจำเลยประมาทเลินเล่อทำให้โจทก์เสียหาย จำเลยต้องรับผิดเพื่อละเมิด
of 31