คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
ประสาท สุคนธมาน

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 261 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1265/2513

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตคำว่า 'พนักงาน' ใน พ.ร.บ.ความผิดของพนักงานฯ ต้องมีหน้าที่รับผิดชอบงานด้วยตนเอง
คำว่าพนักงานตามความหมายแห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดของพนักงานในองค์การหรือหน่วยงานของรัฐ พ.ศ. 2502จะต้องเป็นบุคคลที่ได้รับแต่งตั้งให้มีหน้าที่ปฏิบัติงานโดยมีความรับผิดชอบต่องานในหน้าที่ด้วยตนเอง ดังนั้น จำเลยซึ่งเป็นคนงานทดลองปฏิบัติงานชั่วคราวในองค์การสวนสัตว์ยังไม่ได้รับการบรรจุและไม่มีหน้าที่ต้องรับผิดชอบต่องานอย่างใดโดยเฉพาะ แต่ทำงานอยู่ในความควบคุมดูแลของเจ้าหน้าที่อีกชั้นหนึ่ง ย่อมไม่เป็นพนักงานตามพระราชบัญญัตินี้เมื่อจำเลยยักยอกทรัพย์ขององค์การสวนสัตว์ไป ก็ย่อมมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 352 แต่ไม่มีความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดของพนักงานในองค์การหรือหน่วยงานของรัฐ พ.ศ. 2502มาตรา 4

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1261/2513 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ร่วมลักทรัพย์หลังเกิดเหตุฆ่า ไม่เข้าข่ายปล้นทรัพย์เป็นเหตุให้ถึงแก่ความตาย
จำเลยทั้งสองกับพวกอีก 3 คนมาพบผู้ตายกับพวกกำลังขนบุหรี่ ได้พากันไปพูดจาซื้อขายบุหรี่ แล้วพวกของจำเลยคนหนึ่งได้ใช้ปืนยิงผู้ตายถึงแก่ความตาย และได้ร่วมกันลักเอาบุหรี่ของผู้ตายไป แต่ทางพิจารณาฟังไม่ได้ว่าจำเลยทั้งสองได้รู้เห็นเป็นใจหรือร่วมด้วยในการที่พวกของจำเลยใช้ปืนยิงผู้ตาย จำเลยทั้งสองไม่มีความผิดฐานปล้นทรัพย์เป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย คงมีความผิดเพียงฐานลักทรัพย์ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 335

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1261/2513

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การร่วมกันลักทรัพย์หลังเกิดเหตุปล้นทรัพย์แต่ไม่มีส่วนรู้เห็นในการกระทำความรุนแรง
จำเลยทั้งสองกับพวกอีก 3 คนมาพบผู้ตายกับพวกกำลังขนบุหรี่ ได้พากันไปพูดจาซื้อขายบุหรี่ แล้วพวกของจำเลยคนหนึ่งได้ใช้ปืนยิงผู้ตายถึงแก่ความตาย และได้ร่วมกันลักเอาบุหรี่ของผู้ตายไป แต่ทางพิจารณาฟังไม่ได้ว่าจำเลยทั้งสองได้รู้เห็นเป็นใจหรือร่วมด้วยในการที่พวกของจำเลยใช้ปืนยิงผู้ตาย จำเลยทั้งสองไม่มีความผิดฐานปล้นทรัพย์เป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย คงมีความผิดเพียงฐานลักทรัพย์ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 335

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1122/2513 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของผู้จัดการโรงพิมพ์ต่อเงินขาดบัญชีจากลูกจ้างที่ยักยอกเงิน
ตามฟ้องของโจทก์ตั้งประเด็นให้จำเลยรับผิดใช้เงินในฐานะเป็นลูกจ้างและตัวแทนของโจทก์ ซึ่งมีผลเท่ากับกล่าวว่าจำเลยกระทำผิดสัญญาจ้างแรงงาน โดยไม่ปฏิบัติหน้าที่ตามที่ได้ตกลงจ้าง ทำให้เงินของโจทก์ผู้เป็นนายจ้างขาดหายไปหรือจำเลยผิดสัญญาตัวแทน โดยทำให้โจทก์ซึ่งเป็นตัวการเสียหาย แม้โจทก์จะกล่าวมาในฟ้องไม่ชัดเจนว่าจำเลยกระทำผิดสัญญาจ้างแรงงานหรือผิดสัญญาตัวแทน แต่เมื่อโจทก์บรรยายข้อเท็จจริงมาให้เป็นที่เข้าใจตามเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นอย่างไรแล้ว ก็ตกเป็นหน้าที่ของศาลที่จะนำตัวบทกฎหมายมาปรับแก่คดีได้ โจทก์หาได้ตั้งประเด็นฟ้องจำเลยว่ากระทำละเมิดต่อโจทก์ ฟ้องของโจทก์จึงไม่ใช่เรื่องฟ้องเรียกค่าเสียหายอันเกิดจากมูลละเมิด
ระเบียบการปฏิบัติงานของโจทก์กำหนดหน้าที่ของผู้จัดการโรงพิมพ์ข้อ 3 มีว่า "ผู้จัดการเป็นผู้อำนวยการและรับผิดชอบในกิจการทั่วไป" นอกจากนี้ก็ได้วางระเบียบแบ่งงานไว้เป็นหมวดต่าง ๆ มีหมวดกลาง หมวดคลัง และหมวดโรงงาน ซึ่งทุกหมวดจะต้องอยู่ในอำนาจหน้าที่บังคับบัญชาและควบคุมดูแลของผู้จัดการทั้งสิ้น โดยได้บัญญัติไว้ในระเบียบข้อ 45 ว่า "ให้ผู้จัดการรักษาการให้เป็นไปตามระเบียบนี้ และให้มีอำนาจออกคำสั่งกำหนดวิธีปฏิบัติงานในโรงพิมพ์การศาสนาเป็นการภายในได้โดยไม่ขัดแย้งต่อระเบียบนี้" ในเรื่องระเบียบเกี่ยวแก่การเงินได้บัญญัติไว้ในระเบียบข้อ 18 ว่า "เงินรายได้ของโรงพิมพ์เมื่อได้รับเกินกว่า 2,000 บาทขึ้นไป ให้นำส่งกองศาสนสมบัติ กรมการศาสนา" และได้บัญญัติวิธีรักษาเงินไว้ในข้อ 21 ว่า "เงินของโรงพิมพ์การศาสนาให้เก็บรักษาไว้ในตู้นิรภัยโดยมีผู้จัดการหรือผู้ทำการแทนผู้จัดการ หัวหน้าหมวดคลัง และหัวหน้าหมวดโรงงานเป็นคณะกรรมการรักษากุญแจตู้นิรภัยร่วมกัน เมื่องบบัญชีเงินสดประจำวันให้มีการตรวจนับตัวเงิน เมื่อตรวจนับถูกต้องตามบัญชีเงินสดแล้ว ให้นำเก็บไว้ในตู้นิรภัย แล้วตีตราประตูห้องเก็บตู้นิรภัยไว้ด้วย ฯลฯ" ดังนี้ จะเห็นได้ว่าโจทก์ได้กำหนดหน้าที่ของผู้จัดการไว้ให้มีหน้าที่รับผิดชอบควบคุมดูแลเกี่ยวกับการเงินของโจทก์โดยใกล้ชิดด้วย เช่น ต้องมีการตรวจบัญชีเงินสด และนับตัวเงินสดทุกวัน เป็นต้น ดังนั้น การที่ พ. สมุหบัญชีรับเงินเป็นตัวเงินสดไว้ถึง 124,552 บาทแล้วไม่นำส่งโจทก์ได้นั้น ย่อมแสดงว่าจำเลยซึ่งเป็นผู้จัดการละเลยไม่ปฏิบัติหน้าที่ตามที่โจทก์จ้าง กล่าวคือไม่ควบคุมตรวจบัญชีเงินสด เป็นการกระทำผิดสัญญาจ้างแรงงาน โจทก์จึงมีสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายตามจำนวนเงินของโจทก์ที่ขาดหายไปได้
กรณีที่โจทก์ฟ้องเป็นเรื่องเรียกร้องค่าเสียหายอันเกิดแต่ลูกหนี้ผิดสัญญาไม่ชำระหนี้ ซึ่งโจทก์มีสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายได้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 215 ซึ่งเป็นบทบัญญัติของลักษณะหนี้ หาใช่เป็นการใช้สิทธิติดตามเอาคืนซึ่งทรัพย์สินของโจทก์จากผู้ไม่มีสิทธิยึดถือไว้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1122/2513

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของผู้จัดการโรงพิมพ์ฐานละเลยหน้าที่ควบคุมการเงิน ทำให้เงินขาดหายไป ถือเป็นการผิดสัญญาจ้างแรงงาน
ตามฟ้องของโจทก์ตั้งประเด็นให้จำเลยรับผิดใช้เงินในฐานะเป็นลูกจ้างและตัวแทนของโจทก์ ซึ่งมีผลเท่ากับกล่าวว่าจำเลยกระทำผิดสัญญาจ้างแรงงาน โดยไม่ปฏิบัติหน้าที่ตามที่ได้ตกลงจ้างทำให้เงินของโจทก์ผู้เป็นนายจ้างขาดหายไปหรือจำเลยผิดสัญญาตัวแทน โดยทำให้โจทก์ซึ่งเป็นตัวการเสียหาย แม้โจทก์จะกล่าวมาในฟ้องไม่ชัดเจนว่า จำเลยกระทำผิดสัญญาจ้างแรงงานหรือผิดสัญญาตัวแทน แต่เมื่อโจทก์บรรยายข้อเท็จจริงมาให้เป็นที่เข้าใจตามเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นอย่างไรแล้ว ก็ตกเป็นหน้าที่ของศาลที่จะนำตัวบทกฎหมายมาปรับแก่คดีได้ โจทก์หาได้ตั้งประเด็นฟ้องจำเลยว่ากระทำละเมิดต่อโจทก์ฟ้องของโจทก์จึงไม่ใช่เรื่องฟ้องเรียกค่าเสียหายอันเกิดจากมูลละเมิด
ระเบียบการปฏิบัติงานของโจทก์กำหนดหน้าที่ของผู้จัดการโรงพิมพ์ข้อ 3 มีว่า 'ผู้จัดการเป็นผู้อำนวยการและรับผิดชอบในกิจการทั่วไป'นอกจากนี้ก็ได้วางระเบียบแบ่งงานไว้เป็นหมวดต่าง ๆ มีหมวดกลางหมวดคลัง และหมวดโรงงาน ซึ่งทุกหมวดจะต้องอยู่ในอำนาจหน้าที่บังคับบัญชาและควบคุมดูแลของผู้จัดการทั้งสิ้น โดยได้บัญญัติไว้ในระเบียบข้อ 45 ว่า 'ให้ผู้จัดการรักษาการให้เป็นไปตามระเบียบนี้ และให้มีอำนาจออกคำสั่งกำหนดวิธีปฏิบัติงานในโรงพิมพ์การศาสนาเป็นการภายในได้โดยไม่ขัดแย้งต่อระเบียบนี้' ในเรื่องระเบียบเกี่ยวแก่การเงินก็ได้บัญญัติไว้ในระเบียบข้อ 18 ว่า 'เงินรายได้ของโรงพิมพ์เมื่อได้รับไว้เกินกว่า 2,000 บาทขึ้นไป ให้นำส่งกองศาสนสมบัติกรมการศาสนา' และได้บัญญัติวิธีรักษาเงินไว้ในข้อ 21 ว่า 'เงินของโรงพิมพ์การศาสนาให้เก็บรักษาไว้ในตู้นิรภัยโดยมีผู้จัดการหรือผู้ทำการแทนผู้จัดการ หัวหน้าหมวดคลัง และหัวหน้าหมวดโรงงานเป็นคณะกรรมการรักษากุญแจตู้นิรภัยร่วมกัน เมื่องบบัญชีเงินสดประจำวันให้มีการตรวจนับตัวเงินเมื่อตรวจนับถูกต้องตามบัญชีเงินสดแล้ว ให้นำเก็บไว้ในตู้นิรภัย แล้วตีตราประตูห้องเก็บตู้นิรภัยไว้ด้วย ฯลฯ'ดังนี้ จะเห็นได้ว่าโจทก์ได้กำหนดหน้าที่ของผู้จัดการไว้ให้มีหน้าที่รับผิดชอบควบคุมดูแลเกี่ยวกับการเงินของโจทก์โดยใกล้ชิดด้วย เช่นต้องมีการตรวจบัญชีเงินสดและนับตัวเงินสดทุกวัน เป็นต้น ดังนั้นการที่ พ. สมุหบัญชีรับเงินเป็นตัวเงินสดไว้ถึง124,552 บาทแล้วไม่นำส่งโจทก์ได้นั้น ย่อมแสดงว่าจำเลยซึ่งเป็นผู้จัดการละเลยไม่ปฏิบัติหน้าที่ตามที่โจทก์จ้าง กล่าวคือไม่ควบคุมตรวจบัญชีเงินสดเป็นการกระทำผิดสัญญาจ้างแรงงาน โจทก์จึงมีสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายตามจำนวนเงินของโจทก์ที่ขาดหายไปได้
กรณีที่โจทก์ฟ้องเป็นเรื่องเรียกร้องค่าเสียหายอันเกิดแต่ลูกหนี้ผิดสัญญาไม่ชำระหนี้ ซึ่งโจทก์มีสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายได้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 215 ซึ่งเป็นบทบัญญัติของลักษณะหนี้ หาใช่เป็นการใช้สิทธิติดตามเอาคืนซึ่งทรัพย์สินของโจทก์จากผู้ไม่มีสิทธิยึดถือไว้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1121/2513

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกถอนมติที่ประชุมใหญ่แต่งตั้งกรรมการใหม่ ทำให้กรรมการชุดเดิมยังมีอำนาจบริหารบริษัทต่อไป
บริษัท ส. ได้จดทะเบียนเป็นนิติบุคคลประเภทบริษัทจำกัดไว้โดยชอบด้วยกฎหมายในการนี้ได้จดทะเบียนรายชื่อกรรมการของบริษัทครั้งหลังที่สุด คือเมื่อวันที่ 6 เมษายน 2509 ไว้ว่ามีกรรมการ 7 คน คือจำเลยทั้งเจ็ดคนนี้ซึ่งเป็นกรรมการชุดที่ได้รับเลือกจากมติที่ประชุมใหญ่ของบริษัทเมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน 2508 จึงถือได้ว่ากรรมการชุดจำเลยนี้เป็นกรรมการของบริษัทที่ถูกต้องชอบด้วยกฎหมาย ต่อมาเมื่อวันที่ 8 พฤษภาคม 2509 ได้มีการประชุมใหญ่ตั้งกรรมการชุดใหม่ขึ้นอีก 7 คนคือกรรมการชุดโจทก์ แต่ได้มีการคัดค้านและ ท. กับพวก ได้ยื่นคำร้องต่อศาลจังหวัดขอให้เพิกถอนมติที่ประชุมใหญ่เมื่อวันที่ 8 พฤษภาคม 2509อ้างว่าเป็นการประชุมใหญ่ที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายและข้อบังคับของบริษัทปรากฏตามคดีแพ่งดำที่ 132/2509 ซึ่งคดีดังกล่าวได้เด็ดขาดถึงที่สุดแล้วโดยศาลฎีกาพิพากษาให้เพิกถอนมติที่ประชุมใหญ่หรือที่ประชุมวิสามัญเมื่อวันที่ 8 พฤษภาคม 2509 ที่ตั้งกรรมการใหม่คือกรรมการชุดโจทก์เป็นกรรมการของบริษัทเสีย ฉะนั้น เมื่อมติที่ประชุมใหญ่เมื่อวันที่ 8 พฤษภาคม 2509 ซึ่งตั้งกรรมการชุดโจทก์เป็นกรรมการของบริษัทในภายหลังการแต่งตั้งกรรมการชุดจำเลยเพื่อบริหารกิจการของบริษัทแทนกรรมการชุดจำเลยได้ถูกศาลพิพากษาเพิกถอนเสียเช่นนี้แล้วก็เท่ากับไม่มีการแต่งตั้งกรรมการชุดใหม่ขึ้นแทนกรรมการชุดจำเลย กรรมการชุดจำเลยซึ่งได้รับแต่งตั้งโดยมติที่ประชุมใหญ่และนายทะเบียนได้จดทะเบียนเป็นกรรมการของบริษัทโดยชอบด้วยกฎหมายแล้วก็มีสิทธิและอำนาจที่จะบริหารกิจการของบริษัทได้โดยชอบต่อไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1121/2513 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกถอนมติที่ประชุมใหญ่แต่งตั้งกรรมการใหม่ ทำให้กรรมการชุดเดิมยังมีอำนาจบริหารกิจการต่อไป
บริษัท ส. ได้จดทะเบียนเป็นนิติบุคคลประเภทบริษัทจำกัดไว้โดยชอบด้วยกฎหมาย ในการนี้ได้จดทะเบียนรายชื่อกรรมการของบริษัทครั้งหลังที่สุด คือเมื่อวันที่ 6 เมษายน 2509 ไว้ว่ามีกรรมการ 7 คน คือจำเลยทั้งเจ็ดคนนี้ซึ่งเป็นกรรมการชุดที่ได้รับเลือกจากมติที่ประชุมใหญ่ของบริษัทเมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน 2508 จึงถือได้ว่ากรรมการชุดจำเลยนี้เป็นกรรมการของบริษัทที่ถูกต้องชอบด้วยกฎหมาย ต่อมาเมื่อวันที่ 8 พฤษภาคม 2509 ได้มีการประชุมใหญ่ตั้งกรรมการชุดใหม่ขึ้นอีก 7 คน คือกรรมการชุดโจทก์ แต่ได้มีการคัดค้าน และ ท. กับพวก ได้ยื่นคำร้องต่อศาลจังหวัดขอให้เพิกถอนมติที่ประชุมใหญ่เมื่อวันที่ 8 พฤษภาคม 2509 อ้างว่าเป็นการประชุมใหญ่ที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายและข้อบังคับของบริษัท ปรากฏตามคดีแพ่งดำที่ 132/2509 ซึ่งคดีดังกล่าวได้เด็ดขาดถึงที่สุดแล้ว โดยศาลฎีกาพิพากษาให้เพิกถอนมติที่ประชุมใหญ่หรือที่ประชุมวิสามัญเมื่อวันที่ 8 พฤษภาคม 2509 ที่ตั้งกรรมการใหม่คือกรรมการชุดโจทก์เป็นกรรมการของบริษัทเสีย ฉะนั้น เมื่อมติที่ประชุมใหญ่เมื่อวันที่ 8 พฤษภาคม 2509 ซึ่งตั้งกรรมการชุดโจทก์เป็นกรรมการของบริษัทในภายหลังการแต่งตั้งกรรมการชุดจำเลยเพื่อบริหารกิจการของบริษัทแทนกรรมการชุดจำเลยได้ถูกศาลพิพากษาเพิกถอนเสียเช่นนี้แล้ว ก็เท่ากับไม่มีการแต่งตั้งกรรมการชุดใหม่ขึ้นแทนกรรมการชุดจำเลย กรรมการชุดจำเลยซึ่งได้รับแต่งตั้งโดยมติที่ประชุมใหญ่และนายทะเบียนได้จดทะเบียนเป็นกรรมการของบริษัทโดยชอบด้วยกฎหมายแล้ว ก็มีสิทธิและอำนาจที่จะบริหารกิจการของบริษัทได้โดยชอบต่อไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1105/2513

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาล: คดีอาญาที่จำเลยเป็นทหารร่วมกับพลเรือน ศาลพลเรือนยังมีอำนาจพิจารณาได้
จำเลยซึ่งเป็นทหารกับพวกอีกหลายคนที่แต่งกายพลเรือนและยังจับตัวไม่ได้ร่วมกันกระทำผิดฐานรับของโจร คดีย่อมอยู่ในอำนาจศาลพลเรือนที่จะพิจารณาพิพากษา เพราะไม่ปรากฏชัดว่าพวกของจำเลยอยู่ในอำนาจศาลทหาร และในกรณีเช่นนี้ หากจะปรากฏตามทางพิจารณาภายหลังว่าคดีอยู่ในอำนาจศาลทหารก็ตามศาลพลเรือนก็มีอำนาจพิจารณาพิพากษาต่อไปได้
(อ้างฎีกาที่ 463/2504 และที่ 979/2504)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1105/2513 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาล: คดีรับของโจรที่มีจำเลยเป็นทหารและพลเรือน ศาลพลเรือนมีอำนาจพิจารณา แม้ภายหลังพบว่าเป็นคดีที่อยู่ในอำนาจศาลทหาร
จำเลยซึ่งเป็นทหารกับพวกอีกหลายคนที่แต่งกายพลเรือนและยังจับตัวไม่ได้ ร่วมกันกระทำผิดฐานรับของโจร คดีย่อมอยู่ในอำนาจศาลพลเรือนที่จะพิจารณาพิพากษา เพราะไม่ปรากฏชัดว่าพวกของจำเลยอยู่ในอำนาจศาลทหาร และในกรณีเช่นนี้ หากจะปรากฏตามทางพิจารณาภายหลังว่าคดีอยู่ในอำนาจศาลทหาร ก็ตาม ศาลพลเรือนก็มีอำนาจพิจารณาพิพากษาต่อไปได้
(อ้างฎีกาที่ 463/2504 และที่ 979/2504)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1020/2513 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเปลี่ยนแปลงตัวผู้เช่าทำให้สัญญาเช่าเดิมสิ้นสุด และฐานะของผู้เช่าเดิมกลายเป็นเพียงบริวาร
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยที่ 1 ผิดสัญญาเช่า ขอให้ขับไล่จำเลยทั้งสามออกจากอาคารที่เช่า จำเลยที่ 2 ให้การว่า เดิม ช. สามีจำเลยที่ 2 เป็นผู้เช่าจากโจทก์ ต่อมาจำเลยหย่าขาดจาก ช. จำเลยที่ 2 ขอเป็นผู้เช่าจากโจทก์ โจทก์ยินยอม ต่อมาจำเลยที่ 2 ได้จำเลยที่ 1 เป็นสามีใหม่ จำเลยที่ 2 จึงขอเปลี่ยนชื่อจำเลยที่ 2 เป็นจำเลยที่ 1 เช่า โจทก์ก็ยินยอมอีก ดังนี้ สัญญาเช่าระหว่างโจทก์จำเลยระงับไปด้วยการเปลี่ยนตัวผู้เช่า จำเลยที่ 2 ไม่มีฐานะเป็นผู้เช่าอีกต่อไป คงเป็นบริวารของจำเลยที่ 1 ศาลย่อมงดสืบพยานจำเลยที่ 2 เสียได้
ข้อที่ว่า จำเลยที่ 1 ที่ 2 มิได้มีเจตนาที่จะให้จำเลยที่ 1 เป็นผู้เช่าอย่างแท้จริง ทั้งโจทก์ก็ได้ทราบจึงเจตนาที่แท้จริงระหว่างจำเลยที่ 1 ที่ 2 ด้วยนั้น ไม่มีในคำให้การ จำเลยเพิ่งอ้างมาในฎีกา ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้
จำเลยที่ 2 ให้การต่อสู้ว่า จำเลยที่ 1 จะได้ทำหนังสือให้คำมั่นแก่โจทก์ไว้อย่างไร จำเลยที่ 2 ไม่รับรอง ประเด็นข้อนี้โจทก์ไม่ต้องนำสืบ เพราะการที่โจทก์อ้างหนังสือให้คำมั่นของจำเลยที่ 1 มาในฟ้องก็เพื่อฟ้องจำเลยที่ 1 เท่านั้น เมื่อได้ความว่าจำเลยที่ 1 ออกไปแล้ว โจทก์จึงถอนฟ้องจำเลยที่ 1 เสีย คำให้การของจำเลยที่ 2 ในข้อนี้ไม่เป็นประโยชน์แก่คดีของจำเลยที่ 2 ในเมื่อจำเลยที่ 2 อยู่ในฐานะบริวารของจำเลยที่ 1
of 27