พบผลลัพธ์ทั้งหมด 261 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1020/2513
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเปลี่ยนแปลงตัวผู้เช่าทำให้สัญญาเช่าระงับสิ้นสุด ผู้เช่าเดิมไม่มีสิทธิในฐานะผู้เช่าอีกต่อไป
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยที่ 1 ผิดสัญญาเช่า ขอให้ขับไล่จำเลยทั้งสามออกจากอาคารที่เช่าจำเลยที่ 2 ให้การว่า เดิม ช. สามีจำเลยที่ 2 เป็นผู้เช่าจากโจทก์ ต่อมาจำเลยหย่าขาดจาก ช. จำเลยที่ 2 ขอเป็นผู้เช่าจากโจทก์ โจทก์ยินยอม ต่อมาจำเลยที่ 2 ได้จำเลยที่ 1 เป็นสามีใหม่ จำเลยที่ 2 จึงขอเปลี่ยนชื่อจำเลยที่ 2 เป็นจำเลยที่ 1 เช่า โจทก์ก็ยินยอมอีกดังนี้ สัญญาเช่าระหว่างโจทก์จำเลยระงับไปด้วยการเปลี่ยนตัวผู้เช่า จำเลยที่ 2 ไม่มีฐานะเป็นผู้เช่าอีกต่อไป คงเป็นบริวารของจำเลยที่ 1 ศาลย่อมงดสืบพยานจำเลยที่ 2 เสียได้
ข้อที่ว่า จำเลยที่ 1 ที่ 2 มิได้มีเจตนาที่จะให้จำเลยที่ 1เป็นผู้เช่าอย่างแท้จริง ทั้งโจทก์ก็ได้ทราบถึงเจตนาที่แท้จริงระหว่างจำเลยที่ 1 ที่ 2 ด้วยนั้น ไม่มีในคำให้การ จำเลยเพิ่งอ้างมาในฎีกาศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้
จำเลยที่ 2 ให้การต่อสู้ว่า จำเลยที่ 1 จะได้ทำหนังสือให้คำมั่นแก่โจทก์ไว้อย่างไร จำเลยที่ 2 ไม่รับรอง ประเด็นข้อนี้โจทก์ไม่ต้องนำสืบเพราะการที่โจทก์อ้างหนังสือให้คำมั่นของจำเลยที่ 1 มาในฟ้องก็เพื่อฟ้องจำเลยที่ 1 เท่านั้น เมื่อได้ความว่าจำเลยที่ 1 ออกไปแล้ว โจทก์จึงถอนฟ้องจำเลยที่ 1 เสีย คำให้การของจำเลยที่ 2 ในข้อนี้ไม่เป็นประโยชน์แก่คดีของจำเลยที่ 2 ในเมื่อจำเลยที่ 2 อยู่ในฐานะบริวารของจำเลยที่ 1
ข้อที่ว่า จำเลยที่ 1 ที่ 2 มิได้มีเจตนาที่จะให้จำเลยที่ 1เป็นผู้เช่าอย่างแท้จริง ทั้งโจทก์ก็ได้ทราบถึงเจตนาที่แท้จริงระหว่างจำเลยที่ 1 ที่ 2 ด้วยนั้น ไม่มีในคำให้การ จำเลยเพิ่งอ้างมาในฎีกาศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้
จำเลยที่ 2 ให้การต่อสู้ว่า จำเลยที่ 1 จะได้ทำหนังสือให้คำมั่นแก่โจทก์ไว้อย่างไร จำเลยที่ 2 ไม่รับรอง ประเด็นข้อนี้โจทก์ไม่ต้องนำสืบเพราะการที่โจทก์อ้างหนังสือให้คำมั่นของจำเลยที่ 1 มาในฟ้องก็เพื่อฟ้องจำเลยที่ 1 เท่านั้น เมื่อได้ความว่าจำเลยที่ 1 ออกไปแล้ว โจทก์จึงถอนฟ้องจำเลยที่ 1 เสีย คำให้การของจำเลยที่ 2 ในข้อนี้ไม่เป็นประโยชน์แก่คดีของจำเลยที่ 2 ในเมื่อจำเลยที่ 2 อยู่ในฐานะบริวารของจำเลยที่ 1
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 988/2513
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เช็คเพื่อประกันหนี้ ไม่ใช่ชำระหนี้ ถือว่าไม่มีความผิดตาม พ.ร.บ. เช็ค
จำเลยออกเช็คให้ผู้เสียหายเพื่อประกันหนี้เงินยืม ผู้เสียหายกับจำเลยมิได้ประสงค์จะให้ออกเช็คเป็นการชำระหนี้ โดยจำเลยจะชำระเงินให้ผู้เสียหายเองไม่ต้องเอาเช็คไปขอรับเงินจากธนาคาร ดังนี้ เมื่อผู้เสียหายนำเช็คไปขึ้นเงินไม่ได้ จำเลยย่อมไม่มีความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 988/2513 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เช็คเพื่อประกันหนี้ - ไม่ถือเป็นเจตนาชำระหนี้ - ไม่มีความผิดตาม พ.ร.บ. เช็ค
จำเลยกู้เงินผู้เสียหาย แล้วออกเช็คให้ผู้เสียหายเพื่อประกันหนี้เงินกู้ โดยเป็นที่เข้าใจกันว่ามิได้ออกให้เป็นการชำระหนี้ เพราะจำเลยจะชำระเงินให้ผู้เสียหายเอง เช่นนี้ เมื่อผู้เสียหายนำเช็คไปขึ้นเงินไม่ได้ จำเลยย่อมไม่มีความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2497 มาตรา 3
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 979/2513 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความประมาทจากการขับรถโดยห้ามล้อชำรุด เป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย
จำเลยขับรถยนต์โดยห้ามล้อมือและเท้าชำรุดใช้การไม่ได้อยู่แล้วขณะขับมาตามถนนเกิดเหตุซึ่งเป็นถนนจราจรทางเดียว รถยนต์ข้างหน้ารถจำเลยชลอหยุดรถเพราะรถคันข้างหน้าอีกคันหนึ่งเลี้ยวเข้าซอยด้านซ้ายมือ จำเลยจึงไม่สามารถหยุดรถทันท่วงทีเพราะความชำรุดใช้การไม่ได้ของห้ามล้อรถ และต้องหลบเฉี่ยวชนด้านท้ายรถข้างหน้าไปชนรถสามล้อบรรทุกซึ่งผู้ตายกำลังจูงอยู่ทางด้านขวามือ เป็นเหตุให้รถสามล้อพลิกตะแคงและครูดทับผู้ตาย ซึ่งถ้าห้ามล้อรถใช้การได้จำเลยก็ควรหยุดรถได้ทันเช่นเดียวกับรถคันข้างหน้า เช่นนี้ ต้องถือว่าจำเลยขับรถยนต์โดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 979/2513
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความประมาทจากการขับรถโดยห้ามล้อชำรุด เป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย
จำเลยขับรถยนต์โดยห้ามล้อมือและเท้าชำรุดใช้การไม่ได้อยู่แล้วขณะขับมาตามถนนเกิดเหตุซึ่งเป็นถนนจราจรทางเดียว รถยนต์ข้างหน้ารถจำเลยชลอหยุดรถเพราะรถคันข้างหน้าอีกคันหนึ่งเลี้ยวเข้าซอยด้านซ้ายมือ จำเลยจึงไม่สามารถหยุดรถทันท่วงทีเพราะความชำรุดใช้การไม่ได้ของห้ามล้อรถ และต้องหลบเฉี่ยวชนด้านท้ายรถข้างหน้าไปชนรถสามล้อบรรทุกซึ่งผู้ตายกำลังจูงอยู่ทางด้านขวามือ เป็นเหตุให้รถสามล้อพลิกตะแคงและครูดทับผู้ตาย ซึ่งถ้าห้ามล้อรถใช้การได้จำเลยก็ควรหยุดรถได้ทันเช่นเดียวกับรถคันข้างหน้า เช่นนี้ ต้องถือว่าจำเลยขับรถยนต์โดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 903/2513 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจตนาทำร้ายร่างกาย: ศาลฎีกาพิจารณาจากพฤติการณ์การยิงและการไม่มีสาเหตุโกรธเคืองเพื่อวินิจฉัยว่าจำเลยมีความผิดฐานทำร้ายร่างกาย ไม่ใช่พยายามฆ่า
จำเลยไม่มีสาเหตุโกรธเคืองกับผู้เสียหายได้ชักปืนลูกซองสั้นขึ้นยิงผู้เสียหายในระดับเอวของจำเลย ในระยะห่างเพียง 1 วาเศษ กระสุนถูกใต้ขาพับของผู้เสียหายเป็นเหตุให้ได้รับบาดเจ็บเช่นนี้ แสดงว่าจำเลยไม่มีเจตนาฆ่า แต่มีเจตนาเพียงทำร้ายผู้เสียหายเท่านั้น เพราะหากมีเจตนาฆ่าแล้ว ย่อมมีโอกาสยิงถูกร่างกายผู้เสียหายในที่สำคัญได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 903/2513
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจตนายิงทำร้ายร่างกาย ไม่ใช่เจตนาฆ่า ลดโทษจากพยายามฆ่าเป็นทำร้ายร่างกาย
จำเลยไม่มีสาเหตุโกรธเคืองกับผู้เสียหายได้ชักปืนลูกซองสั้นขึ้นยิงผู้เสียหายในระดับเอวของจำเลย ในระยะห่างเพียง 1 วาเศษ กระสุนถูกใต้ขาพับของผู้เสียหายเป็นเหตุให้ได้รับบาดเจ็บเช่นนี้ แสดงว่าจำเลยไม่มีเจตนาฆ่า แต่มีเจตนาเพียงทำร้ายผู้เสียหายเท่านั้น เพราะหากมีเจตนาฆ่าแล้ว ย่อมมีโอกาสยิงถูกร่างกายผู้เสียหายในที่สำคัญได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 781/2513 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาต้องห้าม: การโต้แย้งข้อเท็จจริงในคดีสมคบร่วมกันทำร้ายร่างกาย
ปัญหาว่าการกระทำของจำเลยทั้งสองเป็นการร่วมกระทำความผิดด้วยกันหรือไม่เป็นปัญหาข้อเท็จจริง ฉะนั้นเมื่อศาลล่างทั้งสองตัดสินต้องกันมาว่าจำเลยทั้งสองร่วมกันกระทำผิด และกรณีเข้าเกณฑ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218 แล้วจำเลยจะฎีกาในปัญหาข้อนี้ไม่ได้
(เทียบฎีกาที่ 312/2475)
(เทียบฎีกาที่ 312/2475)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 781/2513
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสมคบร่วมกันกระทำผิด: ปัญหาข้อเท็จจริงที่ฎีกาไม่ได้
ปัญหาว่าการกระทำของจำเลยทั้งสองเป็นการร่วมกระทำความผิดด้วยกันหรือไม่เป็นปัญหาข้อเท็จจริง ฉะนั้นเมื่อศาลล่างทั้งสองตัดสินต้องกันมาว่าจำเลยทั้งสองร่วมกันกระทำผิดและกรณีเข้าเกณฑ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218 แล้วจำเลยจะฎีกาในปัญหาข้อนี้ไม่ได้ (เทียบฎีกาที่ 312/2475)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 767/2513 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาก่อสร้าง, การบอกเลิกสัญญา, สิทธิผู้ก่อสร้าง, การเข้าครอบครอง, การฟ้องแย้ง
เจ้าของที่ดินทำสัญญากับผู้ก่อสร้างให้สร้างอาคารในที่ดินของตนโดยไม่ได้ระบุว่าจะต้องสร้างให้เสร็จภายในระยะเวลาเท่าใด เมื่อก่อสร้างไปได้ประมาณ 1 ปี ผู้ก่อสร้างก็งดการก่อสร้าง เจ้าของที่ดินให้ทนายความมีหนังสือถึงผู้ก่อสร้าง ว่าให้เริ่มดำเนินการก่อสร้างตามสัญญาภายใน 15 วันมิฉะนั้นจะถือว่าผู้ก่อสร้างไม่ประสงค์จะดำเนินงานตามข้อสัญญา จะทำความเสียหายให้แก่เจ้าของที่ดิน เจ้าของที่ดินจะได้ฟ้องขอเลิกสัญญาและเรียกค่าเสียหายจากผู้ก่อสร้าง ข้อความดังนี้เป็นแต่เพียงหนังสือเตือนให้ก่อสร้างต่อไปให้เสร็จตามสัญญา ถ้าไม่เริ่มดำเนินงานก่อสร้างต่อไปเจ้าของที่ดินจะฟ้องขอเลิกสัญญาและเรียกค่าเสียหายเท่านั้นหนังสือดังกล่าวนี้จึงไม่ใช่หนังสือบอกเลิกสัญญา
ล. เจ้าของที่ดินทำสัญญากับ ม. ให้ ม. ก่อสร้างอาคารในที่ดินของ ล. ด้วยเงินของ ม. มีข้อสัญญาว่าอาคารที่สร้างเสร็จแล้ว ม.มีสิทธิกำหนดตัวผู้เช่า เมื่อ ล. ได้ทำสัญญากับผู้เช่าแล้วจึงให้กรรมสิทธิ์ในอาคารนั้น ๆ ตกเป็นของ ล. ในระหว่างที่ยังไม่มีการบอกเลิกสัญญาก่อสร้าง และ ล. ตายไปแล้ว ม. มีหนังสือถึงทายาทของ ล.แจ้งว่าได้กำหนดให้จำเลยเป็นผู้เช่าตึกแถวที่ได้สร้างขึ้น ให้ทายาทของ ล.ไปทำสัญญาเช่าให้จำเลยตามสัญญาก่อสร้าง แต่ทายาทของ ล.ก็ไม่ไปทำ จำเลยได้เข้าไปอยู่ในตึกแถวนั้น ถือไม่ได้ว่าจำเลยเข้าไปอยู่โดยละเมิด
ล. เจ้าของที่ดินทำสัญญากับ ม. ให้ ม. ก่อสร้างอาคารในที่ดินของ ล. ด้วยเงินของ ม. มีข้อสัญญาว่าอาคารที่สร้างเสร็จแล้ว ม.มีสิทธิกำหนดตัวผู้เช่า เมื่อ ล. ได้ทำสัญญากับผู้เช่าแล้วจึงให้กรรมสิทธิ์ในอาคารนั้น ๆ ตกเป็นของ ล. ในระหว่างที่ยังไม่มีการบอกเลิกสัญญาก่อสร้าง และ ล. ตายไปแล้ว ม. มีหนังสือถึงทายาทของ ล.แจ้งว่าได้กำหนดให้จำเลยเป็นผู้เช่าตึกแถวที่ได้สร้างขึ้น ให้ทายาทของ ล.ไปทำสัญญาเช่าให้จำเลยตามสัญญาก่อสร้าง แต่ทายาทของ ล.ก็ไม่ไปทำ จำเลยได้เข้าไปอยู่ในตึกแถวนั้น ถือไม่ได้ว่าจำเลยเข้าไปอยู่โดยละเมิด