พบผลลัพธ์ทั้งหมด 261 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2176/2516
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
นิยาม 'ทางแยก' ตาม พ.ร.บ.จราจรทางบก ครอบคลุมถึงถนนซอยแยกจากถนนใหญ่
ทางแยกนั้นมิได้หมายความ.เฉพาะบริเวณตรงที่ถนนอันเป็นทางตามความหมายของพระราชบัญญัติจราจรทางบกมาตัดผ่านกันเท่านั้น แต่หมายความรวมตลอดถึงตรงบริเวณที่มีถนนซอยเป็นทางแยกจากถนนอีกสายหนึ่งด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2176/2516 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
นิยาม 'ทางแยก' ตาม พ.ร.บ.จราจรทางบก: รวมถนนซอยที่แยกจากถนนสายหลักด้วย
ทางแยกนั้นมิได้หมายความ.เฉพาะบริเวณตรงที่ถนนอันเป็นทางตามความหมายของพระราชบัญญัติจราจรทางบกมาตัดผ่านกันเท่านั้น แต่หมายความรวมตลอดถึงตรงบริเวณที่มีถนนซอยเป็นทางแยกจากถนนอีกสายหนึ่งด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2153/2516
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลยุติธรรมพิจารณาคดีขับไล่พระภิกษุที่ไม่ปฏิบัติตามระเบียบของวัด ไม่ใช่เรื่องที่ต้องอาศัยคำวินิจฉัยของมหาเถรสมาคม
วัดโจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยซึ่งเป็นพระภิกษุอาศัยอยู่ในวัดโจทก์ให้ออกไปจากวัดโจทก์ โดยอ้างว่าจำเลยไม่อยู่ในโอวาทของเจ้าอาวาสวัดโจทก์ เจ้าอาวาสวัดโจทก์ได้เข้าเป็นโจทก์ร่วมด้วย แม้ตามฟ้องจะอ้างเรื่องอื่นพาดพิงถึงพระธรรมวินัยด้วยก็ตามแต่เป็นเพียงข้ออ้างประกอบข้อกล่าวหา ที่ว่าจำเลยไม่อยู่ในโอวาทของเจ้าอาวาสโจทก์ร่วมเท่านั้น มูลกรณีเช่นนี้ถือได้ว่ามีการโต้แย้งสิทธิทางแพ่งของวัดโจทก์ในฐานะที่เป็นนิติบุคคลและของโจทก์ร่วมซึ่งเป็นเจ้าอาวาสวัดโจทก์ ไม่ใช่กรณีที่จะต้องอาศัยคำวินิจฉัยชี้ขาดของมหาเถรสมาคมเช่นกรณีพระภิกษุล่วงละเมิดพระธรรมวินัย ศาลยุติธรรมจึงมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีนี้ได้ ตามพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. 2505 มาตรา 38(2) ประกอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 55
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2153/2516 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลยุติธรรมในคดีพระภิกษุไม่ปฏิบัติตามระเบียบของวัด: การโต้แย้งสิทธิทางแพ่งไม่ใช่เรื่องที่ต้องอาศัยคำวินิจฉัยของมหาเถรสมาคม
วัดโจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยซึ่งเป็นพระภิกษุอาศัยอยู่ในวัดโจทก์ให้ออกไปจากวัดโจทก์ โดยอ้างว่าจำเลยไม่อยู่ในโอวาทของเจ้าอาวาสวัดโจทก์ เจ้าอาวาสวัดโจทก์ได้เข้าเป็นโจทก์ร่วมด้วยแม้ตามฟ้องจะอ้างเรื่องอื่นพาดพิงถึงพระธรรมวินัยด้วยก็ตามแต่เป็นเพียงข้ออ้างประกอบข้อกล่าวหาที่ว่าจำเลยไม่อยู่ในโอวาทของเจ้าอาวาสโจทก์ร่วมเท่านั้น มูลกรณีเช่นนี้ถือได้ว่ามีการโต้แย้งสิทธิทางแพ่งของวัดโจทก์ในฐานะที่เป็นนิติบุคคลและของโจทก์ร่วมซึ่งเป็นเจ้าอาวาสวัดโจทก์ ไม่ใช่กรณีที่จะต้องอาศัยคำวินิจฉัยชี้ขาดของมหาเถรสมาคมเช่นกรณีพระภิกษุล่วงละเมิดพระธรรมวินัย ศาลยุติธรรมจึงมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีนี้ได้ ตามพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. 2505 มาตรา 38(2)ประกอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 55
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1990/2516
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ซื้อขายโคตกเป็นโมฆะเนื่องจากไม่มีเจตนาโอนกรรมสิทธิ์ในตั๋วรูปพรรณ ผู้ขายไม่มีอำนาจฟ้องเรียกค่าโค
การซื้อขายโคเสร็จเด็ดขาด ซึ่งผู้ขายได้ส่งมอบโคที่ขายให้ผู้ซื้อพร้อมทั้งตั๋วพิมพ์รูปพรรณโดยไม่มีเจตนาที่จะทำการโอนตั๋วพิมพ์รูปพรรณโคที่ซื้อขายตามกฎหมาย การซื้อขายนี้ตกเป็นโมฆะ ผู้ขายไม่มีอำนาจฟ้องผู้ซื้อให้ชำระราคาโคที่ยังค้างชำระตามสัญญาซื้อขายนั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1990/2516 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การซื้อขายโคโดยไม่มีเจตนาโอนกรรมสิทธิ์ในตั๋วรูปพรรณ ทำให้สัญญาซื้อขายเป็นโมฆะ
การซื้อขายโคเสร็จเด็ดขาด ซึ่งผู้ขายได้ส่งมอบโคที่ขายให้ผู้ซื้อพร้อมทั้งตั๋วพิมพ์รูปพรรณ โดยไม่มีเจตนาที่จะทำการโอนตั๋วพิมพ์รูปพรรณโคที่ซื้อขายตามกฎหมาย การซื้อขายนี้ตกเป็นโมฆะ ผู้ขายไม่มีอำนาจฟ้องผู้ซื้อให้ชำระราคาโคที่ยังค้างชำระตามสัญญาซื้อขายนั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1988/2516 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างลูกจ้างต้องพิจารณาเจตนาฝ่าฝืนข้อบังคับอย่างชัดเจน การทำงานไม่ขยันไม่ถือเป็นเหตุเลิกจ้างโดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย
ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง กำหนดเวลาทำงานวันหยุดงานของลูกจ้าง การใช้แรงงานหญิงและเด็ก การจ่ายค่าจ้างฯลฯ ฉบับลงวันที่ 20 ธันวาคม 2501 ข้อ 28 (2) แก้ไขเพิ่มเติมฉบับที่ 3พ.ศ. 2507 ข้อ 12 ออกตามความในประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 19ที่ระบุไว้ว่า นายจ้างไม่ต้องจ่ายเงินชดเชยตามข้อ 27 ถ้าเลิกจ้างลูกจ้างประจำด้วยเหตุลูกจ้างฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน หรือคำสั่งอันชอบด้วยกฎหมายอันอาจเป็นเหตุให้นายจ้างได้รับความเสียหายนั้นจะต้องได้ความว่าลูกจ้างจงใจฝ่าฝืนและโดยไม่มีเหตุอันสมควร
ข้อเท็จจริงได้ความเพียงว่า ถ้าต่อหน้าหัวหน้างาน ลูกจ้างก็ทำงานพอลับหลังหัวหน้างานก็หยุดงาน นั่งเล่นบ้าง คุยกันบ้าง ข้อเท็จจริงเพียงเท่านี้ย่อมฟังได้เพียงว่าลูกจ้างไม่ขยันขันแข็งในการทำงานเท่านั้นยังไม่พอถือได้ว่าลูกจ้างฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานหรือคำสั่งของนายจ้างอันชอบด้วยกฎหมาย ตามที่ระบุไว้ในประกาศกระทรวงมหาดไทยข้อ 28(2) นายจ้างจึงต้องจ่ายเงินค่าชดเชยตามที่กำหนดไว้ในประกาศดังกล่าวให้แก่ลูกจ้างประจำที่ตนได้เลิกจ้าง
ข้อเท็จจริงได้ความเพียงว่า ถ้าต่อหน้าหัวหน้างาน ลูกจ้างก็ทำงานพอลับหลังหัวหน้างานก็หยุดงาน นั่งเล่นบ้าง คุยกันบ้าง ข้อเท็จจริงเพียงเท่านี้ย่อมฟังได้เพียงว่าลูกจ้างไม่ขยันขันแข็งในการทำงานเท่านั้นยังไม่พอถือได้ว่าลูกจ้างฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานหรือคำสั่งของนายจ้างอันชอบด้วยกฎหมาย ตามที่ระบุไว้ในประกาศกระทรวงมหาดไทยข้อ 28(2) นายจ้างจึงต้องจ่ายเงินค่าชดเชยตามที่กำหนดไว้ในประกาศดังกล่าวให้แก่ลูกจ้างประจำที่ตนได้เลิกจ้าง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1988/2516
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างลูกจ้างต้องจ่ายค่าชดเชย หากลูกจ้างเพียงไม่ขยันขันแข็ง ไม่ถือว่าจงใจฝ่าฝืนข้อบังคับ
ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง กำหนดเวลาทำงานวันหยุดงานของลูกจ้าง การใช้แรงงานหญิงและเด็ก การจ่ายค่าจ้างฯลฯ ฉบับลงวันที่ 20 ธันวาคม 2501 ข้อ 28(2) แก้ไขเพิ่มเติมฉบับที่ 3 พ.ศ. 2507 ข้อ 12 ออกตามความในประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 19 ที่ระบุไว้ว่า นายจ้างไม่ต้องจ่ายเงินชดเชยตามข้อ 27 ถ้าเลิกจ้างลูกจ้างประจำด้วยเหตุลูกจ้างฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน หรือคำสั่งอันชอบด้วยกฎหมายอันอาจเป็นเหตุให้นายจ้างได้รับความเสียหายนั้น จะต้องได้ความว่าลูกจ้างจงใจฝ่าฝืนและโดยไม่มีเหตุอันสมควร
ข้อเท็จจริงได้ความเพียงว่า ถ้าต่อหน้าหัวหน้างานลูกจ้างก็ทำงานพอลับหลังหัวหน้างานก็หยุดงาน นั่งเล่นบ้าง คุยกันบ้าง ข้อเท็จจริงเพียงเท่านี้ย่อมฟังได้เพียงว่า ลูกจ้างไม่ขยันขันแข็งในการทำงานเท่านั้นยังไม่พอถือได้ว่าลูกจ้างฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานหรือคำสั่งของนายจ้างอันชอบด้วยกฎหมาย ตามที่ระบุไว้ในประกาศกระทรวงมหาดไทยข้อ 28(2) นายจ้างจึงต้องจ่ายเงินค่าชดเชยตามที่กำหนดไว้ในประกาศดังกล่าวให้แก่ลูกจ้างประจำที่ตนได้เลิกจ้าง
ข้อเท็จจริงได้ความเพียงว่า ถ้าต่อหน้าหัวหน้างานลูกจ้างก็ทำงานพอลับหลังหัวหน้างานก็หยุดงาน นั่งเล่นบ้าง คุยกันบ้าง ข้อเท็จจริงเพียงเท่านี้ย่อมฟังได้เพียงว่า ลูกจ้างไม่ขยันขันแข็งในการทำงานเท่านั้นยังไม่พอถือได้ว่าลูกจ้างฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานหรือคำสั่งของนายจ้างอันชอบด้วยกฎหมาย ตามที่ระบุไว้ในประกาศกระทรวงมหาดไทยข้อ 28(2) นายจ้างจึงต้องจ่ายเงินค่าชดเชยตามที่กำหนดไว้ในประกาศดังกล่าวให้แก่ลูกจ้างประจำที่ตนได้เลิกจ้าง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1974/2516
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อุทธรณ์ปัญหาข้อเท็จจริงในคดีอาญาที่ศาลแขวงพิจารณา ต้องได้รับอนุญาตตามกฎหมายเฉพาะ หากไม่ได้รับอนุญาต ศาลอุทธรณ์ไม่มีอำนาจพิจารณา
เมื่อคดีอยู่ในอำนาจของศาลแขวงแล้ว การอุทธรณ์ต้องอยู่ในบังคับของพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ. 2499 มาตรา 22 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2503มาตรา 10 คือ ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง เว้นแต่จะเข้าข้อยกเว้นตามมาตรานี้ แต่ถ้ามีการรับรองให้อุทธรณ์ตามมาตรา 22 ทวิก็อุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงได้
ศาลชั้นต้นสั่งฟ้องอุทธรณ์ของโจทก์ว่า 'รับเป็นคำฟ้องอุทธรณ์ สำเนาให้ฝ่ายหนึ่งแก้' เพียงเท่านี้ยังไม่ถือว่าผู้พิพากษาผู้พิจารณาหรือลงชื่อในคำพิพากษาได้มีคำสั่งอนุญาตให้อุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงเพราะในคำสั่งมิได้ชี้แจงเหตุผลว่าข้อความที่ตัดสินเป็นปัญหาสำคัญอันควรสู่ศาลอุทธรณ์ และมีคำสั่งอนุญาตให้อุทธรณ์ได้ อุทธรณ์ของโจทก์จึงไม่เป็นอุทธรณ์ที่จะรับไว้พิจารณาได้ตาม มาตรา 22 ทวิ
ศาลอุทธรณ์พิพากษาว่า คดีโจทก์มีมูล จะเด็ดขาดตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 170 ต้องเป็นการอุทธรณ์เรื่องการไต่สวนมูลฟ้องในคดีที่มิต้องบังคับตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ. 2499เมื่ออุทธรณ์ครั้งแรกของโจทก์ถูกห้ามมิให้อุทธรณ์ตามกฎหมายอื่นตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 193 วรรคแรก แล้วศาลอุทธรณ์ก็ไม่มีอำนาจวินิจฉัยอุทธรณ์ของโจทก์
ศาลชั้นต้นสั่งฟ้องอุทธรณ์ของโจทก์ว่า 'รับเป็นคำฟ้องอุทธรณ์ สำเนาให้ฝ่ายหนึ่งแก้' เพียงเท่านี้ยังไม่ถือว่าผู้พิพากษาผู้พิจารณาหรือลงชื่อในคำพิพากษาได้มีคำสั่งอนุญาตให้อุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงเพราะในคำสั่งมิได้ชี้แจงเหตุผลว่าข้อความที่ตัดสินเป็นปัญหาสำคัญอันควรสู่ศาลอุทธรณ์ และมีคำสั่งอนุญาตให้อุทธรณ์ได้ อุทธรณ์ของโจทก์จึงไม่เป็นอุทธรณ์ที่จะรับไว้พิจารณาได้ตาม มาตรา 22 ทวิ
ศาลอุทธรณ์พิพากษาว่า คดีโจทก์มีมูล จะเด็ดขาดตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 170 ต้องเป็นการอุทธรณ์เรื่องการไต่สวนมูลฟ้องในคดีที่มิต้องบังคับตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ. 2499เมื่ออุทธรณ์ครั้งแรกของโจทก์ถูกห้ามมิให้อุทธรณ์ตามกฎหมายอื่นตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 193 วรรคแรก แล้วศาลอุทธรณ์ก็ไม่มีอำนาจวินิจฉัยอุทธรณ์ของโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1974/2516 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอุทธรณ์คดีในศาลแขวงต้องเป็นไปตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวง หากไม่เข้าข้อยกเว้นห้ามอุทธรณ์ปัญหาข้อเท็จจริง
เมื่อคดีอยู่ในอำนาจของศาลแขวงแล้ว การอุทธรณ์ต้องอยู่ในบังคับของพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงพ.ศ. 2499 มาตรา 22 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2503มาตรา 10 คือ ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง เว้นแต่จะเข้าข้อยกเว้นตามมาตรานี้ แต่ถ้ามีการรับรองให้อุทธรณ์ตามมาตรา 22 ทวิก็อุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงได้
ศาลชั้นต้นสั่งฟ้องอุทธรณ์ของโจทก์ว่า "รับเป็นคำฟ้องอุทธรณ์สำเนาให้ฝ่ายหนึ่งแก้" เพียงเท่านี้ยังไม่ถือว่าผู้พิพากษาผู้พิจารณาหรือลงชื่อในคำพิพากษาได้มีคำสั่งอนุญาตให้อุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงเพราะในคำสั่งมิได้ชี้แจงเหตุผลว่าข้อความที่ตัดสินเป็นปัญหาสำคัญอันควรสู่ศาลอุทธรณ์ และมีคำสั่งอนุญาตให้อุทธรณ์ได้ อุทธรณ์ของโจทก์จึงไม่เป็นอุทธรณ์ที่จะรับไว้พิจารณาได้ตาม มาตรา 22 ทวิ
ศาลอุทธรณ์พิพากษาว่า คดีโจทก์มีมูล จะเด็ดขาดตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 170 ต้องเป็นการ อุทธรณ์เรื่องการไต่สวนมูลฟ้องในคดีที่มิต้องบังคับตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ. 2499เมื่ออุทธรณ์ครั้งแรกของโจทก์ถูกห้ามมิให้อุทธรณ์ตามกฎหมายอื่นตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 193 วรรคแรก แล้วศาลอุทธรณ์ก็ไม่มีอำนาจวินิจฉัยอุทธรณ์ของโจทก์
ศาลชั้นต้นสั่งฟ้องอุทธรณ์ของโจทก์ว่า "รับเป็นคำฟ้องอุทธรณ์สำเนาให้ฝ่ายหนึ่งแก้" เพียงเท่านี้ยังไม่ถือว่าผู้พิพากษาผู้พิจารณาหรือลงชื่อในคำพิพากษาได้มีคำสั่งอนุญาตให้อุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงเพราะในคำสั่งมิได้ชี้แจงเหตุผลว่าข้อความที่ตัดสินเป็นปัญหาสำคัญอันควรสู่ศาลอุทธรณ์ และมีคำสั่งอนุญาตให้อุทธรณ์ได้ อุทธรณ์ของโจทก์จึงไม่เป็นอุทธรณ์ที่จะรับไว้พิจารณาได้ตาม มาตรา 22 ทวิ
ศาลอุทธรณ์พิพากษาว่า คดีโจทก์มีมูล จะเด็ดขาดตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 170 ต้องเป็นการ อุทธรณ์เรื่องการไต่สวนมูลฟ้องในคดีที่มิต้องบังคับตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ. 2499เมื่ออุทธรณ์ครั้งแรกของโจทก์ถูกห้ามมิให้อุทธรณ์ตามกฎหมายอื่นตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 193 วรรคแรก แล้วศาลอุทธรณ์ก็ไม่มีอำนาจวินิจฉัยอุทธรณ์ของโจทก์