คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
ประสาท สุคนธมาน

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 261 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 769/2516 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจควบคุมตัวผู้ประพฤติตนเป็นบุคคลอันธพาลตามประกาศคณะปฏิวัติฉบับที่ 21 ชอบด้วยกฎหมาย แม้ผู้ต้องหารับสารภาพ
ตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 21 ลักษณะของผู้ประพฤติตนเป็นบุคคลอันธพาล หาได้จำกัดแต่เพียงกรณีที่เป็นบุคคลดำรงชีพอยู่ด้วยการกระทำผิดกฎหมายอันเป็นภัยต่อเศรษฐกิจของชาติเท่านั้นไม่แต่บุคคลที่ประพฤติตนเช่นที่อธิบายไว้ตอนต้นของประกาศดังกล่าวซึ่งนับว่าเป็นภยันตรายแก่ความสงบสุขของประชาชนพลเมืองโดยทั่วไปก็ถือว่าเป็นบุคคลอันธพาล อยู่ในข่ายที่จะถูกดำเนินการตามประกาศนี้ได้
ประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 21 เป็นกฎหมายที่มุ่งหมายให้อำนาจแก่พนักงานสอบสวนที่จะควบคุมตัวผู้ต้องหาที่มีการประพฤติตนเป็นคนอันธพาลได้เป็นพิเศษนอกเหนือไปจากประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 87 แต่การที่จะควบคุมบุคคลใดตามประกาศนี้ได้นั้น บุคคลผู้ประพฤติตนเป็นอันธพาลนั้นต้องกระทำการซึ่งเป็นการละเมิดต่อกฎหมายขึ้น และมีความจำเป็นต้องควบคุมไว้เพื่อสอบสวน กรณีที่ผู้ต้องหาถูกจับมาในข้อหาว่ากระทำผิดฐานลักทรัพย์และเป็นซ่องโจร และตามทางสืบสวนสอบสวนปรากฏว่าผู้ต้องหานี้เป็นบุคคลอันธพาลด้วย พนักงานสอบสวนย่อมมีอำนาจที่จะควบคุมไว้ทำการสอบสวนได้ไม่เกิน 30 วัน ตามที่ประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 21 ข้อ 1 ให้อำนาจไว้ เมื่อการกระทำและคำสั่งของพนักงานสอบสวนที่ให้ควบคุมผู้ต้องหานี้เป็นการชอบด้วยกฎหมายแล้ว ก็ไม่มีเหตุที่ศาลจะมีคำสั่งให้ปล่อยตัวผู้ต้องหาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 90
ผู้ต้องหาถูกจับมาในข้อหาว่ากระทำความผิดฐานลักทรัพย์และเป็นซ่องโจรแม้ผู้ต้องหาได้รับสารภาพว่าได้กระทำความผิดฐานลักทรัพย์รวม 10 รายแล้ว เมื่อยังอยู่ในระยะเวลา 30 วันนับตั้งแต่วันจับกุมพนักงานสอบสวนก็ยังมีอำนาจควบคุมต่อมาเพื่อสอบสวนในความผิดรายที่รับสารภาพแล้ว และรายอื่นๆ ซึ่งรวมแล้วได้ความว่ามีไม่น้อยกว่า12 ราย ได้ เพราะแม้จะให้การรับสารภาพ พนักงานสอบสวนก็ยังจะต้องสอบสวนพยานหลักฐานเพื่อให้ได้ความชัดแจ้งว่าผู้ต้องหาได้กระทำความผิดตามที่รับสารภาพหรือไม่ เพราะผู้ต้องหาอาจมาปฏิเสธในชั้นศาลได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 769/2516

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจควบคุมตัวผู้ต้องหาตามประกาศคณะปฏิวัติฉบับที่ 21 กรณีบุคคลอันธพาลและข้อหาลักทรัพย์
ตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 21 ลักษณะของผู้ประพฤติตนเป็นบุคคลอันธพาล หาได้จำกัดแต่เพียงกรณีที่เป็นบุคคลดำรงชีพอยู่ด้วยการกระทำผิดกฎหมายอันเป็นภัยต่อเศรษฐกิจของชาติเท่านั้นไม่ แต่บุคคลที่ประพฤติตนเช่นที่อธิบายไว้ตอนต้นของประกาศดังกล่าว ซึ่งนับว่าเป็นภยันตรายแก่ความสงบสุขของประชาชนพลเมืองโดยทั่วไป ก็ถือว่าเป็นบุคคลอันธพาล อยู่ในข่ายที่จะถูกดำเนินการตามประกาศนี้ได้
ประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 21 เป็นกฎหมายที่มุ่งหมายให้อำนาจแก่พนักงานสอบสวนที่จะควบคุมตัวผู้ต้องหาที่มีการประพฤติตนเป็นคนอันธพาลได้เป็นพิเศษนอกเหนือไปจากประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 87 แต่การที่จะควบคุมบุคคลใดตามประกาศนี้ได้นั้น บุคคลผู้ประพฤติตนเป็นอันธพาลนั้นต้องกระทำการซึ่งเป็นการละเมิดต่อกฎหมายขึ้น และมีความจำเป็นต้องควบคุมไว้เพื่อสอบสวน กรณีที่ผู้ต้องหาถูกจับมาในข้อหาว่ากระทำผิดฐานลักทรัพย์และเป็นซ่องโจร และตามทางสืบสวนสอบสวนปรากฏว่าผู้ต้องหานี้เป็นบุคคลอันธพาลด้วย พนักงานสอบสวนย่อมมีอำนาจที่จะควบคุมไว้ทำการสอบสวนได้ไม่เกิน 30 วัน ตามที่ประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 21 ข้อ 1 ให้อำนาจไว้ เมื่อการกระทำและคำสั่งของพนักงานสอบสวนที่ให้ควบคุมผู้ต้องหานี้เป็นการชอบด้วยกฎหมายแล้ว ก็ไม่มีเหตุที่ศาลจะมีคำสั่งให้ปล่อยตัวผู้ต้องหาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 90
ผู้ต้องหาถูกจับมาในข้อหาว่ากระทำความผิดฐานลักทรัพย์และเป็นซ่องโจรแม้ผู้ต้องหาได้รับสารภาพว่าได้กระทำความผิดฐานลักทรัพย์รวม 10 รายแล้ว เมื่อยังอยู่ในระยะเวลา 30 วันนับตั้งแต่วันจับกุม พนักงานสอบสวนก็ยังมีอำนาจควบคุมต่อมาเพื่อสอบสวนในความผิดรายที่รับสารภาพแล้วและรายอื่นๆ ซึ่งรวมแล้วได้ความว่ามีไม่น้อยกว่า 12รายได้ เพราะแม้จะให้การรับสารภาพ พนักงานสอบสวนก็ยังจะต้องสอบสวนพยานหลักฐานเพื่อให้ได้ความชัดแจ้งว่าผู้ต้องหาได้กระทำความผิดตามที่รับสารภาพหรือไม่ เพราะผู้ต้องหาอาจมาปฏิเสธในชั้นศาลได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 751/2516 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิเจ้าหนี้ภาษีอากรในการเฉลี่ยหนี้จากเงินค่าจ้างรายพิพาท ต้องเป็นสิทธิอื่นที่เทียบเคียงบุริมสิทธิ
สิทธิอื่นๆ ซึ่งบุคคลภายนอกอาจร้องขอให้บังคับเหนือทรัพย์สินของลูกหนี้ได้ตามกฎหมายในมาตรา 287 แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งนั้น จะต้องเป็นสิทธิที่บุคคลภายนอกมีอยู่เหนือทรัพย์สินของลูกหนี้นั้นเอง และจะต้องเป็นสิทธิเทียบเคียงได้กับบุริมสิทธิอันเป็นสิทธิประเภทแรกด้วย
ข้อเท็จจริงได้ความว่า ผู้ร้องเป็นเจ้าหนี้ภาษีอากรค้างชำระของจำเลยผู้ร้องไม่ใช่เป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาและไม่ใช่เจ้าหนี้บุริมสิทธิ และผู้ร้องไม่เคยใช้อำนาจตามประมวลรัษฎากร มาตรา 12 สั่งอายัดหรือยึดเงินค่าจ้างรายพิพาทมาก่อน ดังนั้น ที่ผู้ร้องยื่นคำร้องขอเฉลี่ยเงินค่าจ้างรายพิพาทตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 287 โดยอ้างแต่เพียงว่าในฐานะที่ตนเป็นเจ้าพนักงานมีสิทธิที่จะบังคับเหนือเงินรายนี้ได้ตามนัยแห่งมาตรา 12 ประมวลรัษฎากรนั้น เห็นได้ว่าอำนาจของผู้ร้องหากจะมีตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายดังกล่าว ผู้ร้องก็ยังหาได้ใช้อำนาจบังคับเอาแก่เงินจำนวนนี้โดยอาศัยอำนาจตามกฎหมายดังกล่าวไม่ผู้ร้องจึงมีฐานะไม่ต่างกับเจ้าหนี้ธรรมดา จึงไม่อาจถือได้ว่าสิทธิของผู้ร้องเป็น"สิทธิอื่น" ซึ่งเจ้าหนี้ในฐานะบุคคลภายนอกอาจร้องขอให้บังคับเหนือทรัพย์สินของลูกหนี้ตามกฎหมาย ตามนัยแห่งบทบัญญัติมาตรา 287ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 751/2516

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิเจ้าหนี้ภาษีอากรในการเฉลี่ยหนี้จากเงินที่ถูกอายัด ต้องมีสิทธิเหนือทรัพย์สินนั้นโดยตรง ไม่เทียบเคียงบุริมสิทธิ
สิทธิอื่นๆ ซึ่งบุคคลภายนอกอาจร้องขอให้บังคับเหนือทรัพย์สินของลูกหนี้ได้ตามกฎหมายในมาตรา 287 แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งนั้น จะต้องเป็นสิทธิที่บุคคลภายนอกมีอยู่เหนือทรัพย์สินของลูกหนี้นั้นเอง และจะต้องเป็นสิทธิเทียบเคียงได้กับบุริมสิทธิอันเป็นสิทธิประเภทแรกด้วย
ข้อเท็จจริงได้ความว่า ผู้ร้องเป็นเจ้าหนี้ภาษีอากรค้างชำระของจำเลย ผู้ร้องไม่ใช่เป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาและไม่ใช่เจ้าหนี้บุริมสิทธิ และผู้ร้องไม่เคยใช้อำนาจตามประมวลรัษฎากร มาตรา 12 สั่งอายัดหรือยึดเงินค่าจ้างรายพิพาทมาก่อน ดังนั้น ที่ผู้ร้องยื่นคำร้องขอเฉลี่ยเงินค่าจ้างรายพิพาทตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา287 โดยอ้างแต่เพียงว่า ในฐานะที่ตนเป็นเจ้าพนักงานมีสิทธิที่จะบังคับเหนือเงินรายนี้ได้ ตามนัยแห่งมาตรา 12 ประมวลรัษฎากรนั้น เห็นได้ว่าอำนาจของผู้ร้องหากจะมีตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายดังกล่าว ผู้ร้องก็ยังหาได้ใช้อำนาจบังคับเอาแก่เงินจำนวนนี้โดยอาศัยอำนาจตามกฎหมายดังกล่าวไม่ ผู้ร้องจึงมีฐานะไม่ต่างกับเจ้าหนี้ธรรมดา จึงไม่อาจถือได้ว่าสิทธิของผู้ร้องเป็น"สิทธิอื่น" ซึ่งเจ้าหนี้ในฐานะบุคคลภายนอกอาจร้องขอให้บังคับเหนือทรัพย์สินของลูกหนี้ตามกฎหมาย ตามนัยแห่งบทบัญญัติมาตรา 287 ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 589/2516

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เช็คลงวันที่ไม่สมบูรณ์ ผู้ทรงแก้ไขได้หากสุจริต ผู้สั่งจ่ายและสลักหลังต้องรับผิดร่วมกันตามเช็ค
จำเลยที่ 1 สั่งจ่ายเช็คชำระหนี้ให้โจทก์ โดยไม่ได้ลงวันที่โดยมีจำเลยที่ 2 เป็นผู้สลักหลังเช็ค ต่อมาจำเลยที่ 1 บอกให้โจทก์ลงวันที่ในเช็คเพื่อเบิกเงินในวันที่ 8 มกราคม 2512 ดังนี้ การที่โจทก์ลงวันที่ในเช็คแล้วนำเช็คไปเข้าบัญชีธนาคารเพื่อเรียกเก็บเงินตามเช็คในวันที่ 8 มกราคม 2512 จึงเป็นการจดวันที่ถูกต้องลงในเช็คโดยสุจริตตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 910เมื่อธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินอ้างว่าบัญชีของจำเลยปิดแล้วจำเลยที่ 1 ก็ต้องรับผิดตามเช็คนั้น แม้จะฟังข้อเท็จจริงว่า เมื่อโจทก์รับเช็คโจทก์ทราบว่าธนาคารได้ปิดบัญชีกับจำเลยที่ 1 แล้วก็ตาม จำเลยที่ 1 ก็จะปฏิเสธความรับผิดตามเช็คนั้นหาได้ไม่ และแม้จำเลยที่ 2 จะมิได้เกี่ยวข้องรู้เห็นในการที่จำเลยที่ 1 ยินยอมให้โจทก์ลงวันที่ในเช็คจำเลยที่ 2. ก็ต้องรับผิดใช้เงินตามเช็คร่วมกับจำเลยที่ 1 ด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 584/2516 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องกรณีละเมิดจากการขายสินค้าให้ลูกหนี้ที่ไม่ชำระหนี้ แม้มีการบังคับคดีกับลูกหนี้แล้ว
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยขายผลิตภัณฑ์ของโจทก์ให้แก่ลูกค้าโดยรู้ว่าลูกค้าไม่สามารถชำระหนี้ได้ ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหายไม่ได้รับชำระหนี้ และโจทก์ได้ยื่นฟ้องลูกค้าจนศาลได้พิพากษาให้ลูกค้าชำระหนี้แก่โจทก์แล้ว แต่โจทก์ยังไม่ได้รับชำระหนี้ตามคำพิพากษานั้น เห็นว่าตราบใดที่โจทก์ยังไม่ได้รับชำระหนี้เต็มจำนวนพิพาทจากลูกค้า โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องจำเลยให้รับผิดต่อโจทก์ได้เสมอ การฟ้องจำเลยไม่จำเป็นต้องรอให้การบังคับคดีกับลูกค้านั้นเสร็จสิ้นเสียก่อน การที่โจทก์ฟ้องลูกค้าก่อนและบังคับคดีได้เท่าใด มีผลเพียงว่าโจทก์จะเรียกร้องเอาค่าเสียหายในส่วนนั้นจากจำเลยซ้ำอีกไม่ได้เท่านั้น
ศาลชั้นต้นงดสืบพยานโจทก์จำเลย แล้วพิพากษาคดีโจทก์ไม่ได้โต้แย้งคำสั่งงดสืบพยาน จึงอุทธรณ์ในประเด็นนี้ไม่ได้แต่ทั้งนี้มิได้หมายความว่าห้ามศาลอุทธรณ์มิให้ ย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นทำการสืบพยานใหม่ให้ได้ข้อเท็จจริงอันเป็นสารสำคัญแห่งคดีจนสิ้นกระแสความและพิพากษาใหม่ด้วยอำนาจของศาลอุทธรณ์ในอันที่จะยกคำพิพากษาศาลชั้นต้นแล้วย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นพิจารณาและพิพากษาใหม่นั้น เป็นอำนาจของศาลอุทธรณ์ซึ่งมีอยู่ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 243 ศาลอุทธรณ์จึงมีอำนาจย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นพิจารณาพิพากษาใหม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 584/2516

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีละเมิดจากการขายสินค้าให้ลูกหนี้ที่ไม่สามารถชำระหนี้ได้ แม้มีการบังคับคดีกับลูกหนี้ไปแล้ว
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยขายผลิตภัณฑ์ของโจทก์ให้แก่ลูกค้าโดยรู้ว่าลูกค้าไม่สามารถชำระหนี้ได้ ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหายไม่ได้รับชำระหนี้ และโจทก์ได้ยื่นฟ้องลูกค้าจนศาลได้พิพากษาให้ลูกค้าชำระหนี้แก่โจทก์แล้ว แต่โจทก์ยังไม่ได้รับชำระหนี้ตามคำพิพากษานั้น เห็นว่าตราบใดที่โจทก์ยังไม่ได้รับชำระหนี้เต็มจำนวนพิพาทจากลูกค้า โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องจำเลยให้รับผิดต่อโจทก์ได้เสมอ การฟ้องจำเลยไม่จำเป็นต้องรอให้การบังคับคดีกับลูกค้านั้นเสร็จสิ้นเสียก่อน การที่โจทก์ฟ้องลูกค้าก่อนและบังคับคดีได้เท่าใด มีผลเพียงว่าโจทก์จะเรียกร้องเอาค่าเสียหายในส่วนนั้นจากจำเลยซ้ำอีกไม่ได้เท่านั้น
ศาลชั้นต้นงดสืบพยานโจทก์จำเลย แล้วพิพากษาคดี โจทก์ไม่ได้โต้แย้งคำสั่งงดสืบพยาน จึงอุทธรณ์ในประเด็นนี้ไม่ได้แต่ทั้งนี้มิได้หมายความว่าห้ามศาลอุทธรณ์มิให้ ย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นทำการสืบพยานใหม่ให้ได้ข้อเท็จจริงอันเป็นสารสำคัญแห่งคดีจนสิ้นกระแสความและพิพากษาใหม่ด้วยอำนาจของศาลอุทธรณ์ในอันที่จะยกคำพิพากษาศาลชั้นต้นแล้วย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นพิจารณาและพิพากษาใหม่นั้น เป็นอำนาจของศาลอุทธรณ์ซึ่งมีอยู่ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 243 ศาลอุทธรณ์จึงมีอำนาจย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นพิจารณาพิพากษาใหม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 544/2516

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขุดดินใกล้แนวเขตที่ดินต้องเว้นระยะตามกฎหมาย เพื่อป้องกันที่ดินพังทลาย รักษาแนวเขตที่ดินให้มั่นคง
กฎหมายมีเจตนารมณ์ที่จะป้องกันมิให้ที่ดินซึ่งอยู่ชิดแนวเขตที่ดินนั้นพังลงตามธรรมชาติ เนื่องจากมีการขุดดินใกล้แนวเขตที่ดินจนเกินไป จึงได้วางเกณฑ์กำหนดไว้ว่าการขุดคูหรือร่องน้ำจะทำใกล้แนวเขตที่ดินกว่าครึ่งหนึ่งแห่งส่วนลึกของคูหรือร่องนั้นไม่ได้ ในการวัดระยะซึ่งกฎหมายกำหนดไว้เพื่อป้องกันที่ดินพังทลาย จึงต้องวัดจากริมคันนาร่วมออกไปถึงแนวลำรางที่จำเลยขุด การที่จำเลยขุดลำรางชิดกับคันนาร่วม ย่อมเป็นการละเมิดสิทธิของโจทก์ที่มีอยู่ในคันนาร่วม ในฐานะที่คันนาร่วมเป็นแนวเขตที่ดินตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1342 แล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 357/2516

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับมรดกความแทนคู่ความที่มรณะหลังศาลอุทธรณ์พิพากษา และอำนาจศาลชั้นต้นในการวินิจฉัยสั่ง
การร้องขอเข้าเป็นคู่ความแทนที่ผู้มรณะหลังจากศาลอุทธรณ์พิพากษาคดีแล้วนั้น เมื่อศาลชั้นต้นยังไม่สั่งรับฎีกาของคู่ความฝ่ายที่มรณะ คดีย่อมยังอยู่ในอำนาจของศาลชั้นต้นที่จะวินิจฉัยสั่งได้
การที่ศาลจะมีคำสั่งจำหน่ายคดีจากสารบบความตามมาตรา 42แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งนั้น จะต้องเป็นกรณีที่คู่ความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งมรณะในระหว่างที่คดีค้างพิจารณาอยู่ในศาลนั้นเอง เมื่อคู่ความมรณะระหว่างที่คดีค้างพิจารณาอยู่ในศาลอุทธรณ์ เป็นเวลาเกินกว่าหนึ่งปีแล้ว แต่ศาลอุทธรณ์มิได้สั่งจำหน่ายคดี จนกระบวนพิจารณาได้ผ่านจากชั้นศาลอุทธรณ์มาเป็นกระบวนพิจารณาชั้นศาลฎีกา โดยศาลชั้นต้นได้สั่งให้ทายาทของผู้มรณะเข้ามาเป็นคู่ความแทนที่ และได้สั่งรับฎีกาแล้ว ย่อมมิใช่เป็นกรณีที่คู่ความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งมรณะในระหว่างที่คดีค้างพิจารณาอยู่ในศาลฎีกา ศาลฎีกาจะสั่งจำหน่ายคดีมิได้
(วรรคท้าย วินิจฉัยโดยที่ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 40/2515)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 357/2516 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับมรดกและการจำหน่ายคดีหลังคู่ความมรณะ: อำนาจศาลและเงื่อนไขการจำหน่ายคดีตามมาตรา 42
การร้องขอเข้าเป็นคู่ความแทนที่ผู้มรณะหลังจากศาลอุทธรณ์พิพากษาคดีแล้วนั้น เมื่อศาลชั้นต้นยังไม่สั่งรับฎีกาของคู่ความฝ่ายที่มรณะ คดีย่อมยังอยู่ในอำนาจของศาลชั้นต้นที่จะวินิจฉัยสั่งได้
การที่ศาลจะมีคำสั่งจำหน่ายคดีจากสารบบความตามมาตรา 42แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งนั้น จะต้องเป็นกรณีที่คู่ความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งมรณะในระหว่างที่คดีค้างพิจารณาอยู่ในศาลนั้นเองเมื่อคู่ความมรณะระหว่างที่คดีค้างพิจารณาอยู่ในศาลอุทธรณ์ เป็นเวลาเกินกว่าหนึ่งปีแล้ว แต่ศาลอุทธรณ์มิได้สั่งจำหน่ายคดี จนกระบวนพิจารณาได้ผ่านจากชั้นศาลอุทธรณ์มาเป็นกระบวนพิจารณาชั้นศาลฎีกาโดยศาลชั้นต้นได้สั่งให้ทายาทของผู้มรณะเข้ามาเป็นคู่ความแทนที่และได้สั่งรับฎีกาแล้ว ย่อมมิใช่เป็นกรณีที่คู่ความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งมรณะในระหว่างที่คดีค้างพิจารณาอยู่ในศาลฎีกา ศาลฎีกาจะสั่งจำหน่ายคดีมิได้
(วรรคท้าย วินิจฉัยโดยที่ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 40/2515)
of 27