พบผลลัพธ์ทั้งหมด 261 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2510/2515 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับตามสัญญาประนีประนอมยอมความ: สิทธิในบ้านต้องฟ้องใหม่หากไม่ได้ระบุในสัญญา
ตามสัญญาประนีประนอมยอมความระหว่างโจทก์กับจำเลยทั้งสามซึ่งศาลได้พิพากษาตามยอมไปแล้ว ไม่ปรากฏว่ามีบ้านของจำเลยที่ 2ปลูกอยู่ในที่ดินที่ตกลงแบ่งให้จำเลยที่ 3 และมีข้อตกลงให้จำเลยที่ 2รื้อไปได้ การที่จำเลยที่ 2 ยื่นคำร้องอ้างว่ามีบ้านของตนอยู่ในที่ดินนั้นและจะรื้อไป แต่จำเลยที่ 3 ขัดขวาง จึงขอให้ศาลห้ามนั้น เป็นการร้องขอนอกเหนือจากสัญญาประนีประนอมยอมความ หากจำเลยที่ 2จะมีสิทธิในบ้านดังกล่าวประการใด และจำเลยที่ 3 กระทำการขัดขวางอันเป็นการโต้แย้งสิทธิ จำเลยที่ 2 ก็ชอบที่จะต้องฟ้องร้องเป็นคดีใหม่จะร้องขอให้ศาลบังคับในคดีเดิมหาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2505/2515
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเรียกร้องค่าซ่อมแซมของภรรยาที่มิได้จดทะเบียนสมรส แม้ทราบว่าไม่มีสิทธิรับมรดกตามพินัยกรรม
จำเลยฟ้องแย้งโจทก์ในฐานะจำเลยเป็นผู้จัดการมรดกผู้ตายมิได้ฟ้องแย้งในนามทายาทซึ่งเป็นบุตรโจทก์ ไม่เป็นอุทลุม
โจทก์รู้อยู่ก่อนแล้วว่าโจทก์ไม่มีสิทธิที่จะได้รับมรดกตามพินัยกรรม และพินัยกรรมได้ห้ามไม่ให้โจทก์เกี่ยวข้องในทรัพย์มรดก แต่ในฐานะที่โจทก์เป็นภรรยาของผู้ตาย โจทก์เห็นว่าโจทก์ควรจะมีส่วนเป็นเจ้าของมรดกครึ่งหนึ่ง จึงได้ซ่อมแซมห้องพิพาทไปโดยสุจริตใจ เข้าใจว่ามีสิทธิทำได้ โจทก์ย่อมมีสิทธิเรียกค่าซ่อมแซมห้องพิพาทคืนได้
โจทก์รู้อยู่ก่อนแล้วว่าโจทก์ไม่มีสิทธิที่จะได้รับมรดกตามพินัยกรรม และพินัยกรรมได้ห้ามไม่ให้โจทก์เกี่ยวข้องในทรัพย์มรดก แต่ในฐานะที่โจทก์เป็นภรรยาของผู้ตาย โจทก์เห็นว่าโจทก์ควรจะมีส่วนเป็นเจ้าของมรดกครึ่งหนึ่ง จึงได้ซ่อมแซมห้องพิพาทไปโดยสุจริตใจ เข้าใจว่ามีสิทธิทำได้ โจทก์ย่อมมีสิทธิเรียกค่าซ่อมแซมห้องพิพาทคืนได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2505/2515 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเรียกร้องค่าซ่อมแซมของภรรยาที่ไม่มีสิทธิในมรดก: การกระทำโดยสุจริตและเจตนา
จำเลยฟ้องแย้งโจทก์ในฐานะจำเลยเป็นผู้จัดการมรดกผู้ตาย มิได้ฟ้องแย้งในนามทายาทซึ่งเป็นบุตรโจทก์ไม่เป็นอุทลุม
โจทก์รู้อยู่ก่อนแล้วว่าโจทก์ไม่มีสิทธิที่จะได้รับมรดกตามพินัยกรรม และพินัยกรรมได้ห้ามไม่ให้โจทก์เกี่ยวข้องในทรัพย์มรดก แต่ในฐานะที่โจทก์เป็นภรรยาของผู้ตายโจทก์เห็นว่าโจทก์ควรจะมีส่วนเป็นเจ้าของมรดกครึ่งหนึ่งจึงได้ซ่อมแซมห้องพิพาทไปโดยสุจริตใจ เข้าใจว่ามีสิทธิทำได้ โจทก์ย่อมมีสิทธิเรียกค่าซ่อมแซมห้องพิพาทคืนได้
โจทก์รู้อยู่ก่อนแล้วว่าโจทก์ไม่มีสิทธิที่จะได้รับมรดกตามพินัยกรรม และพินัยกรรมได้ห้ามไม่ให้โจทก์เกี่ยวข้องในทรัพย์มรดก แต่ในฐานะที่โจทก์เป็นภรรยาของผู้ตายโจทก์เห็นว่าโจทก์ควรจะมีส่วนเป็นเจ้าของมรดกครึ่งหนึ่งจึงได้ซ่อมแซมห้องพิพาทไปโดยสุจริตใจ เข้าใจว่ามีสิทธิทำได้ โจทก์ย่อมมีสิทธิเรียกค่าซ่อมแซมห้องพิพาทคืนได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2465/2515 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเช่าที่จดทะเบียนแล้วย่อมผูกพันผู้รับโอนกรรมสิทธิ์ แม้มีการขายฝากและหลุดเป็นสิทธิ
เจ้าของที่ดินและตึกพิพาท เอาที่ดินและตึกพิพาทไปขายฝากในระหว่างขายฝากได้เอาตึกพิพาทไปให้จำเลยเช่า โดยผู้ซื้อฝากมิได้รู้เห็นยินยอมอนุญาต สัญญาเช่าจึงไม่ผูกพันผู้ซื้อฝากแต่เจ้าของที่ดินและตึกพิพาทกับผู้เช่ายังคงถูกผูกพันอยู่ตามสัญญาเช่า เพราะสิทธิและหน้าที่ตามสัญญาเช่าเป็นบุคคลสิทธิ เมื่อเจ้าของที่ดินขายฝากแล้วไม่ไถ่คืนทรัพย์สินที่ขายฝากหลุดเป็นสิทธิแก่ผู้ซื้อฝาก ผู้ซื้อฝากได้ขายให้แก่ผู้ซื้อ ในที่สุดเจ้าของที่ดินและตึกพิพาทได้ซื้อที่ดินและตึกพิพาทคืนมาเป็นกรรมสิทธิ์อีกครั้งหนึ่งจึงต้องถือว่า ตึกพิพาทมีสัญญาเช่าที่จดทะเบียนโดยชอบระหว่างเจ้าของที่ดินและตึกพิพาทกับจำเลยผู้เช่า เมื่อเจ้าของนำที่ดินและตึกพิพาทไปขายฝากใหม่ ผู้ซื้อฝากคนใหม่จึงต้องรับไปทั้งสิทธิและหน้าที่ตามสัญญาเช่า ซึ่งเจ้าของที่ดินมีอยู่ต่อจำเลยแม้ภายหลังผู้ซื้อฝากจะได้ทรัพย์สินหลุดเป็นสิทธิแล้วขายต่อให้แก่โจทก์ สัญญาเช่าดังกล่าวก็ยังคงตกติดมายังโจทก์อีกมิได้ระงับไปแต่อย่างใด โจทก์ผู้รับโอนถูกผูกพันตามสัญญาเช่านั้นจึงยังไม่มีสิทธิฟ้องขับไล่จำเลยออกไปจากตึกพิพาทหรือเรียกค่าเสียหาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2465/2515
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเช่าที่จดทะเบียนแล้วย่อมผูกพันผู้รับโอนกรรมสิทธิ์ แม้มีการขายฝากและหลุดเป็นสิทธิ
เจ้าของที่ดินและตึกพิพาทเอาที่ดินและตึกพิพาทไปขายฝากในระหว่างขายฝากได้เอาตึกพิพาทไปให้จำเลยเช่า โดยผู้ซื้อฝากมิได้รู้เห็นยินยอมอนุญาต สัญญาเช่าจึงไม่ผูกพันผู้ซื้อฝาก แต่เจ้าของที่ดินและตึกพิพาทกับผู้เช่ายังคงถูกผูกพันอยู่ตามสัญญาเช่า เพราะสิทธิและหน้าที่ตามสัญญาเช่าเป็นบุคคลสิทธิ เมื่อเจ้าของที่ดินขายฝาก แล้วไม่ไถ่คืน ทรัพย์สินที่ขายฝากหลุดเป็นสิทธิแก่ผู้ซื้อฝากผู้ซื้อฝากได้ขายให้แก่ผู้ซื้อ ในที่สุดเจ้าของที่ดินและตึกพิพาทได้ซื้อที่ดินและตึกพิพาทคืนมาเป็นกรรมสิทธิ์อีกครั้งหนึ่ง จึงต้องถือว่า ตึกพิพาทมีสัญญาเช่าที่จดทะเบียนโดยชอบ ระหว่างเจ้าของที่ดินและตึกพิพาทกับจำเลยผู้เช่า เมื่อเจ้าของนำที่ดินและตึกพิพาทไปขายฝากใหม่ผู้ซื้อฝากคนใหม่จึงต้องรับไปทั้งสิทธิและหน้าที่ตามสัญญาเช่า ซึ่งเจ้าของที่ดินมีอยู่ต่อจำเลยแม้ภายหลังผู้ซื้อฝากจะได้ทรัพย์สินหลุดเป็นสิทธิแล้วขายต่อให้แก่โจทก์ สัญญาเช่าดังกล่าวก็ยังคงตกติดมายังโจทก์อีกมิได้ระงับไปแต่อย่างใด โจทก์ผู้รับโอนถูกผูกพันตามสัญญาเช่านั้น จึงยังไม่มีสิทธิฟ้องขับไล่จำเลยออกไปจากตึกพิพาท หรือเรียกค่าเสียหาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2453/2515
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อนาจารและทำร้ายร่างกาย: กรรมเดียว ความผิดฐานอนาจารครอบคลุม ความสัมพันธ์บังคับบัญชาไม่เข้าข่ายควบคุมตามหน้าที่ราชการ คดีขาดอายุความ
การใช้กำลังกายกอดรัดและบีบเคล้นนมของผู้เสียหายจนฟกช้ำเป็นการประทุษร้ายร่างกายที่เกลื่อนกลืนเป็นกรรมเดียวกับการกระทำอนาจารโดยใช้กำลังประทุษร้ายตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 278 ไม่เป็นมูลความผิดฐานทำร้ายร่างกายตาม มาตรา 296อีกบทหนึ่งต่างหาก
การที่โจทก์เป็นข้าราชการผู้น้อย (ตำแหน่งหัวหน้าแผนก) อยู่ใต้บังคับบัญชาของจำเลย (ตำแหน่งอธิบดี) ในการปฏิบัติหน้าที่ราชการตามระเบียบแบบแผนนั้น หาใช่ผู้อยู่ในความควบคุมตามหน้าที่ราชการตามความหมายแห่งประมวลกฎหมายอาญามาตรา 285 ไม่
การที่โจทก์เป็นข้าราชการผู้น้อย (ตำแหน่งหัวหน้าแผนก) อยู่ใต้บังคับบัญชาของจำเลย (ตำแหน่งอธิบดี) ในการปฏิบัติหน้าที่ราชการตามระเบียบแบบแผนนั้น หาใช่ผู้อยู่ในความควบคุมตามหน้าที่ราชการตามความหมายแห่งประมวลกฎหมายอาญามาตรา 285 ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2453/2515 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดฐานอนาจารและทำร้ายร่างกาย: การประทุษร้ายร่างกายเป็นการกระทำกรรมเดียวกับอนาจาร และไม่อยู่ในอำนาจควบคุมตามหน้าที่ราชการ
การใช้กำลังกายกอดรัดและบีบเคล้นนมของผู้เสียหายจนฟกช้ำ เป็นการประทุษร้ายร่างกายที่เกลื่อนกลืนเป็นกรรมเดียวกับการกระทำอนาจารโดยใช้กำลังประทุษร้ายตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 278 ไม่เป็นมูลความผิดฐานทำร้ายร่างกายตาม มาตรา 296 อีกบทหนึ่งต่างหาก
การที่โจทก์เป็นข้าราชการผู้น้อย (ตำแหน่งหัวหน้าแผนก) อยู่ใต้บังคับบัญชาของจำเลย (ตำแหน่งอธิบดี) ในการปฏิบัติหน้าที่ราชการตามระเบียบแบบแผนนั้น หาใช่ผู้อยู่ในความควบคุมตามหน้าที่ราชการตามความหมายแห่งประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 285 ไม่
การที่โจทก์เป็นข้าราชการผู้น้อย (ตำแหน่งหัวหน้าแผนก) อยู่ใต้บังคับบัญชาของจำเลย (ตำแหน่งอธิบดี) ในการปฏิบัติหน้าที่ราชการตามระเบียบแบบแผนนั้น หาใช่ผู้อยู่ในความควบคุมตามหน้าที่ราชการตามความหมายแห่งประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 285 ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2348/2515
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจตนาพิเศษในความผิดมาตรา 157: การละเว้นหน้าที่ต้องมุ่งให้เกิดความเสียหายโดยตรง
คำว่า "เพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใด" ในมาตรา 157 แห่งประมวลกฎหมายอาญา นั้น ต้องถือว่าเป็นเจตนาพิเศษ เมื่อโจทก์นำสืบ ไม่ได้ว่าจำเลยละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ คือ ไม่จับกุมไม้รายนี้ เพื่อจะให้เกิดความเสียหายแก่กรมป่าไม้โดยตรง แต่เป็นที่เห็นได้ชัดว่าจำเลยมุ่งหมายจะช่วยราษฎรผู้กระทำความผิดเท่านั้น จำเลยจึงยังไม่มีความผิดตามมาตรา 157 แห่งประมวลกฎหมายอาญา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2275/2515
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การป้องกันโดยชอบด้วยกฎหมาย: การยิงเพื่อป้องกันตัวจากภยันตรายที่ใกล้จะถึงจากการถูกรุมทำร้าย
การที่จำเลยถูกผู้ตายกับพวกรุมเตะ ต่อยและตีด้วยขวดเบียร์ เพราะพวกผู้ตายเข้าใจผิดคิดว่าจำเลยอยู่ในกลุ่มพวกที่ทำร้ายพวกของผู้ตายก่อนเกิดเหตุเล็กน้อย ดังนี้ เป็นภยันตรายที่ใกล้จะถึง จำเลยใช้ปืนยิงไปถูกผู้ตายถึงแก่ความตาย เพื่อป้องกันตนให้พ้นภยันตรายซึ่งเกิดจากการประทุษร้ายอันละเมิดต่อกฎหมาย เป็นการกระทำพอสมควรแก่เหตุ จึงเป็นการป้องกันโดยชอบด้วยกฎหมาย จำเลยย่อมไม่มีความผิด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2212/2515
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องอาญา: การนับวันหยุดราชการและสิทธิฟ้องเองของผู้เสียหาย
กำหนดเวลาที่ให้ผู้เสียหายร้องทุกข์ภายใน 3 เดือน นับแต่วันที่รู้เรื่องความผิดและรู้ตัวผู้กระทำผิด มิฉะนั้นจะเป็นอันขาดอายุความนั้น เป็นบทบัญญัติสำหรับกรณีที่ผู้เสียหายจะร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวน ฯลฯ แต่ถ้าผู้เสียหายไม่ร้องทุกข์เสียก่อน จะใช้สิทธินำคดีมาฟ้องต่อศาลด้วยตนเองก็ย่อมกระทำได้ภายในกำหนดระยะเวลาเดียวกัน แต่เมื่อวันสุดท้ายแห่งระยะเวลาเป็นวันหยุด ซึ่งตามประเพณีงดเว้นการงาน ท่านให้นับวันที่เริ่มทำงานใหม่เข้าด้วย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 161 ดังนั้น การที่ระยะเวลาที่ผู้เสียหายจะร้องทุกข์ในคดีนี้ได้สิ้นสุดลงในวันที่ 24 อันเป็นวันหยุดราชการ ผู้เสียหายยื่นฟ้องคดีต่อศาลในวันที่ 25 ซึ่งเป็นวันเริ่มทำงานใหม่ ฟ้องของโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ