คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
บุณยเกียรติ อรชุนะกะ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 311 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2182/2517

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ละเมิดจากความประมาทเลินเล่อในการบรรทุกสิ่งของยื่นเกินกฎหมาย และความรับผิดของผู้ว่าจ้าง
จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นลูกจ้างของจำเลยที่ 2 ได้รับคำสั่งจากผู้จัดการของห้างหุ้นส่วนจำกัด จำเลยที่ 2 ให้นำท่อน้ำไปทำเกลียว จำเลยที่ 1 จึงขับรถไปตามคำสั่งของจำเลยที่ 2 โดยผูกท่อน้ำไว้กับรถของจำเลยที่ 1 ขณะที่จำเลยที่ 1 จอดรถอยู่ในช่องทางที่ 3 ซึ่งอยู่ติดกับเกาะกลางถนน โจทก์ขับรถยนต์มาชนท่อน้ำที่ผูกติดกับรถจำเลยที่ 1 เป็นเหตุให้บังโคลนรถโจทก์ได้รับความเสียหาย และตาทั้งสองข้างของโจทก์พิการ เมื่อพิจารณาได้ความว่าจำเลยที่ 1 ได้ละเว้น ไม่ทำเครื่องหมายให้ปลอดภัยไว้ท้ายท่อน้ำซึ่งยื่นพ้นออกมาจากท้ายรถยนต์ของจำเลยที่ 1 ถึง 2 เมตร อันเป็นการฝ่าฝืนกฎหมายว่าด้วยการจราจร และเป็นการประมาทเลินเล่อ ส่วนโจทก์ซึ่งขับรถมาชนท่อน้ำนั้น ได้ใช้ความระมัดระวังในการขับรถในขณะเกิดเหตุพอสมควรแก่พฤติการณ์แวดล้อมแล้ว ดังนี้จำเลยที่ 1 ย่อมต้องรับผิดในผลแห่งละเมิดต่อโจทก์ จำเลยที่ 2ก็ต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ในผลแห่งละเมิดซึ่งจำเลยที่ 1 ได้กระทำไปในทางการที่จ้างนั้นด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2182/2517 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ละเมิดจากการบรรทุกสิ่งของยื่นเกินขนาดและประมาทเลินเล่อ ทำให้ผู้อื่นได้รับบาดเจ็บ ผู้บรรทุกและเจ้าของรถต้องร่วมรับผิด
จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นลูกจ้างของจำเลยที่ 2 ได้รับคำสั่งจากผู้จัดการของห้างหุ้นส่วนจำกัด จำเลยที่ 2 ให้นำท่อน้ำไปทำเกลียว จำเลยที่ 1 จึงขับรถไปตามคำสั่งของจำเลยที่ 2โดยผูกท่อน้ำไว้กับรถของจำเลยที่ 1 ขณะที่จำเลยที่ 1 จอดรถอยู่ในช่องทางที่ 3 ซึ่งอยู่ติดกับเกาะกลางถนน โจทก์ขับรถยนต์มาชนท่อน้ำที่ผูกติดกับรถจำเลยที่ 1 เป็นเหตุให้บังโคลนรถโจทก์ได้รับความเสียหาย และตาทั้งสองข้างของโจทก์พิการ เมื่อพิจารณาได้ความว่าจำเลยที่ 1 ได้ละเว้น ไม่ทำเครื่องหมายให้ปลอดภัยไว้ท้ายท่อน้ำซึ่งยื่นพ้นออกมาจากท้ายรถยนต์ของจำเลยที่ 1ถึง 2 เมตร อันเป็นการฝ่าฝืนกฎหมายว่าด้วยการจราจร และเป็นการประมาทเลินเล่อ ส่วนโจทก์ซึ่งขับรถมาชนท่อน้ำนั้นได้ใช้ความระมัดระวังในการขับรถในขณะเกิดเหตุพอสมควรแก่พฤติการณ์แวดล้อมแล้ว ดังนี้จำเลยที่ 1 ย่อมต้องรับผิดในผลแห่งละเมิดต่อโจทก์ จำเลยที่ 2ก็ต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ในผลแห่งละเมิดซึ่งจำเลยที่ 1 ได้กระทำไปในทางการที่จ้างนั้นด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1519/2517

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาซื้อขายยางแอสฟัลท์, สัญญาค้ำประกัน, การตีความสัญญา, การชำระหนี้, ข้อพิพาททางแพ่ง
โจทก์ฟ้องให้จำเลยที่ 1 ชำระราคายางแอสฟัลท์ที่จำเลยซื้อไปจากโจทก์ จำเลยที่ 1 ให้การและฟ้องแย้งว่าก่อนที่จะทำสัญญาซื้อขายจำเลยที่ 1 ได้แจ้งให้โจทก์ทราบว่า จำเลยที่ 1 จะนำยางแอสฟัลท์ไปก่อสร้างทางซึ่งจำเลยที่ 1 รับเหมามาจากกรมทางหลวงตามเอกสารท้ายคำให้การและฟ้องแย้งแต่โจทก์ส่งยางแอสฟัลท์ให้จำเลยที่ 1 ล่าช้าจำเลยที่ 1 ไม่สามารถส่งมอบงานให้ทันกำหนดถูกกรมทางหลวงปรับ จึงให้โจทก์ชดใช้เงินค่าปรับ ดังนี้ ฟ้องแย้งได้แสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาแล้วแม้จะไม่ได้กล่าวถึงข้อเท็จจริงที่เป็นรายละเอียด ซึ่งจำเลยที่ 1 มีสิทธินำสืบในชั้นพิจารณา. ก็หาทำให้เป็นฟ้องที่เคลือบคลุมไม่
โจทก์ให้การแก้ฟ้องแย้งว่า ฟ้องแย้งของจำเลยที่ 1 ล่วงเลยอายุความ 2 ปี จึงขาดอายุความ เห็นได้ว่าอายุความที่โจทก์ตั้งเป็นข้อต่อสู้มาแต่แรกเป็นเรื่องอายุความในมูลสัญญาซื้อขายในชั้นฎีกาโจทก์จึงต้องห้ามมิให้ยกอายุความเรื่องละเมิดขึ้นต่อสู้เพราะมิใช่ข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาก่อนแล้วแต่ศาลชั้นต้น
โจทก์ส่งมอบยางแอสฟัลท์ให้จำเลยที่ 1 ล่าช้า เป็นเหตุให้จำเลยถูกปรับ เพราะส่งมอบงานให้กรมทางหลวงไม่ทันกำหนดแต่จำเลยที่ 1 ก็มีส่วนบกพร่องในการก่อสร้างทางล่าช้าด้วย โจทก์จึงต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายในข้อนี้ให้จำเลยที่ 1 เพียงบางส่วน
จำเลยที่ 2 ค้ำประกันการชำระหนี้ตามสัญญาซื้อขายของจำเลยที่ 1 การตีความสัญญาค้ำประกันต้องตีความไปตามความประสงค์ในทางสุจริตโดยพิเคราะห์ถึงปกติประเพณี และถ้าตีความได้เป็นสองนัย ก็ต้องถือตามนัยที่ทำให้เป็นผลบังคับได้ทั้งนี้ตามบทบัญญัติของมาตรา 368 และมาตรา10 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ และการที่จะทราบความประสงค์ของคู่สัญญาจะต้องพิจารณาถึงสัญญาซื้อขายซึ่งเป็นสัญญาประธานและสัญญาค้ำประกันซึ่งเป็นสัญญาอุปกรณ์ด้วย เมื่อสัญญาซื้อขายระบุว่า จำเลยที่ 1 ต้องชำระราคายางแอสฟัลท์ให้โจทก์ภายใน 60 วันนับแต่วันส่งมอบ โดยจำเลยที่ 1 ต้องนำจำเลยที่ 2 มาเป็นผู้ค้ำประกันการชำระราคา แต่สัญญาค้ำประกันมีข้อความว่า สัญญาค้ำประกันมีกำหนดระยะเวลา 120 วัน หากเกิดการเสียหายขึ้นภายในระยะเวลาดังกล่าว ต้องแจ้งให้จำเลยที่ 2 ทราบภายใน7 วันนับแต่วันได้รับความเสียหาย ดังนี้ ระยะเวลา120 วันตามสัญญาค้ำประกันย่อมต้องหมายความถึงระยะเวลาที่โจทก์อาจส่งมอบยางแอสฟัลท์ให้จำเลยที่ 1 เท่านั้น มิได้หมายความตลอดถึงระยะเวลาที่จำเลยที่ 2 จะต้องได้รับคำบอกกล่าวจากโจทก์ให้ชำระหนี้แทนจำเลยที่ 1 ด้วย ดังนั้นเมื่อโจทก์ส่งมอบยางแอสฟัลท์งวดสุดท้ายให้จำเลยที่ 1 ภายใน 120 วันแล้วจำเลยที่ 1 ยังมีโอกาสชำระหนี้ค่ายางแอสฟัสท์ได้ภายใน 60 วัน นับจากวันที่โจทก์ส่งมอบยางแอสฟัลท์ครั้งสุดท้าย และหากจำเลยที่ 1 ไม่ชำระ โจทก์ย่อมเรียกร้องให้จำเลยที่ 2 ชำระได้ภายใน7 วัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1250/2517

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผู้รับขนส่งต้องรับผิดต่อความเสียหายจากการพลิกคว่ำของรถ แม้ไม่ใช่จากความเร็ว แต่เกิดจากความบกพร่องในการตรวจสภาพรถ
โจทก์จำเลยแถลงรับกันว่า เหตุที่รถพลิกคว่ำเพราะลูกหมากคันส่งหลุดโดยคนขับไม่ได้ขับรถเร็วเกินกว่าอัตราที่กฎหมายกำหนดไว้ แล้วท้ากันขอให้ศาลวินิจฉัยข้อกฎหมายเพียงข้อเดียวว่า จำเลยจะต้องรับผิดตามฟ้องหรือไม่ปรากฏฟ้องของโจทก์บรรยายว่านายอิ้วจือได้ขับรถยนต์ของจำเลยจากตลาดหญ้าคาไปตลาดดงเค็งเพื่อรับส่งสินค้าและคนโดยสารตามทางการที่จำเลยจ้าง โดยความประมาทปราศจากความระมัดระวังขับรถเร็วสูงกว่าที่กฎหมายกำหนดไว้ ทำให้รถยนต์ที่ขับพลิกคว่ำ โจทก์ซึ่งเป็นผู้โดยสารตกลงจากรถได้รับบาดเจ็บ จึงขอให้จำเลยชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ ดังนี้ เห็นได้ว่าฟ้องของโจทก์ประสงค์ให้จำเลยรับผิดฐานเป็นผู้รับขนส่งคนโดยสารตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 608 จำเลยมิได้ปฏิเสธว่าจำเลยมิใช่ผู้รับขนส่งคนโดยสารดังโจทก์ฟ้อง ฉะนั้น จำเลยจึงต้องรับผิดต่อความเสียหายอันเกิดแก่โจทก์ซึ่งเป็นคนโดยสาร เว้นแต่การเสียหายเกิดแต่เหตุสุดวิสัยหรือเกิดแต่ความผิดของโจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 634 แม้คู่ความจะแถลงรับกันว่ารถพลิกคว่ำเพราะลูกหมากคันส่งหลุดอันไม่ใช่เพราะขับรถเร็วเกินอัตราที่กฎหมายกำหนด ก็ไม่ทำให้จำเลยพ้นจากความรับผิดในฐานเป็นผู้รับขนส่งคนโดยสารไปได้ จำเลยจะอ้างว่าทางพิจารณาต่างกับฟ้องโดยขอให้ศาลยกฟ้องหาได้ไม่
การที่รถพลิกคว่ำเพราะลูกหมากคันส่งหลุด ไม่ใช่เหตุสุดวิสัยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 8 เพราะยังอยู่ในวิสัยที่ผู้ขับจะสามารถป้องกันได้ หากใช้ความระมัดระวังตามสมควรตรวจดูสภาพรถให้เรียบร้อยดีก่อนนำออกขับ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1250/2517 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของผู้รับขนส่งคนโดยสารกรณีรถพลิกคว่ำจากความบกพร่องของรถยนต์ ไม่ถือเป็นเหตุสุดวิสัย
โจทก์จำเลยแถลงรับกันว่า เหตุที่รถพลิกคว่ำเพราะลูกหมากคันส่งหลุด โดยคนขับไม่ได้ขับรถเร็วเกินกว่าอัตราที่กฎหมายกำหนดไว้ แล้วท้ากันขอให้ศาลวินิจฉัยข้อกฎหมายเพียงข้อเดียวว่า จำเลยจะต้องรับผิดตามฟ้องหรือไม่ปรากฏฟ้องของโจทก์บรรยายว่านายอิ้วจือได้ขับรถยนต์ของจำเลยจากตลาดหญ้าคาไปตลาดดงเค็งเพื่อรับส่งสินค้าและคนโดยสารตามทางการที่จำเลยจ้าง โดยความประมาทปราศจากความระมัดระวัง ขับรถเร็วสูงกว่าที่กฎหมายกำหนดไว้ ทำให้รถยนต์ที่ขับพลิกคว่ำ โจทก์ซึ่งเป็นผู้โดยสารตกลงจากรถได้รับบาดเจ็บ จึงขอให้จำเลยชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ ดังนี้ เห็นได้ว่าฟ้องของโจทก์ประสงค์ให้จำเลยรับผิดฐานเป็นผู้รับขนส่งคนโดยสารตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 608 จำเลยมิได้ปฏิเสธว่าจำเลยมิใช่ผู้รับขนส่งคนโดยสารดังโจทก์ฟ้อง ฉะนั้น จำเลยจึงต้องรับผิดต่อความเสียหายอันเกิดแก่โจทก์ซึ่งเป็นคนโดยสาร เว้นแต่การเสียหายเกิดแต่เหตุสุดวิสัยหรือเกิดแต่ความผิดของโจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 634 แม้คู่ความจะแถลงรับกันว่ารถพลิกคว่ำเพราะลูกหมากคันส่งหลุดอันไม่ใช่เพราะขับรถเร็วเกินอัตราที่กฎหมายกำหนด ก็ไม่ทำให้จำเลยพ้นจากความรับผิดในฐานเป็นผู้รับขนส่งคนโดยสารไปได้ จำเลยจะอ้างว่าทางพิจารณาต่างกับฟ้องโดยขอให้ศาลยกฟ้องหาได้ไม่
การที่รถพลิกคว่ำเพราะลูกหมากคันส่งหลุด ไม่ใช่เหตุสุดวิสัยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 8 เพราะยังอยู่ในวิสัยที่ผู้ขับจะสามารถป้องกันได้ หากใช้ความระมัดระวังตามสมควรตรวจดูสภาพรถให้เรียบร้อยดีก่อนนำออกขับ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2960/2516

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจประเมินภาษีหลังมีกฎกระทรวงใหม่: เจ้าพนักงานเดิมยังมีอำนาจหน้าที่เดิมตราบเท่าที่ยังพิจารณารายการที่ยื่นไว้ก่อนกฎกระทรวงใหม่มีผลบังคับใช้
ปัญหาที่ว่าเจ้าพนักงานของรัฐมีอำนาจกระทำการประเมินภาษีโดยชอบด้วยกฎหมายหรือไม่นั้น เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน
โจทก์ยื่นรายการเกี่ยวกับเงินได้พึงประเมินที่ได้รับระหว่างที่กฎกระทรวง ฉบับที่ 99 (พ.ศ. 2497) และ 112 (พ.ศ. 2500) ใช้บังคับซึ่งเจ้าพนักงานประเมินภาษีเงินได้เพียงคนเดียวมีอำนาจพิจารณารายการที่ยื่นเพื่อประเมินภาษีเงินได้ ในระหว่างการพิจารณาของเจ้าพนักงานประเมินดังกล่าว มีกฎกระทรวง ฉบับที่ 119 (พ.ศ. 2502) ออกใช้บังคับกำหนดให้บุคคลสามฝ่ายเป็นเจ้าพนักงานประเมินภาษีเงินได้ แต่กฎกระทรวงฉบับนี้มิได้กล่าวถึงการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าพนักงานประเมินตามกฎกระทรวงฉบับก่อนไว้อย่างใด ดังนั้น ย่อมไม่เป็นเหตุให้อำนาจและหน้าที่ของเจ้าพนักงานประเมินที่มีอยู่แล้วเกี่ยวกับการพิจารณารายการเงินได้พึงประเมินที่ได้ยื่นไว้ก่อนมีกฎกระทรวงฉบับใหม่ใช้บังคับ ต้องยกเลิกเปลี่ยนแปลงไปเจ้าพนักงานประเมินนั้นยังมีอำนาจที่จะประเมินภาษีเงินได้แจ้งจำนวนค่าภาษีที่ต้องชำระไปยังผู้รับประเมินได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2960/2516 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจประเมินภาษี เจ้าพนักงานเดิมยังทำได้ แม้มีกฎกระทรวงใหม่ กำหนดคณะบุคคลสามฝ่าย
ปัญหาที่ว่าเจ้าพนักงานของรัฐมีอำนาจกระทำการประเมินภาษีโดยชอบด้วยกฎหมายหรือไม่นั้น เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน
โจทก์ยื่นรายการเกี่ยวกับเงินได้พึงประเมินที่ได้รับระหว่างที่กฎกระทรวง ฉบับที่ 99 (พ.ศ. 2497) และ 112 (พ.ศ. 2500) ใช้บังคับซึ่งเจ้าพนักงานประเมินภาษีเงินได้เพียงคนเดียวมีอำนาจพิจารณารายการที่ยื่นเพื่อประเมินภาษีเงินได้ ในระหว่างการพิจารณาของเจ้าพนักงานประเมินดังกล่าว มีกฎกระทรวง ฉบับที่ 119 (พ.ศ. 2502) ออกใช้บังคับ กำหนดให้บุคคลสามฝ่ายเป็นเจ้าพนักงานประเมินภาษีเงินได้ แต่กฎกระทรวงฉบับนี้มิได้กล่าวถึงการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าพนักงานประเมินตามกฎกระทรวงฉบับก่อนไว้อย่างใด ดังนั้น ย่อมไม่เป็นเหตุให้อำนาจและหน้าที่ของเจ้าพนักงานประเมินที่มีอยู่แล้วเกี่ยวกับการพิจารณารายการเงินได้พึงประเมินที่ได้ยื่นไว้ก่อนมีกฎกระทรวงฉบับใหม่ใช้บังคับ ต้องยกเลิกเปลี่ยนแปลงไปเจ้าพนักงานประเมินนั้นยังมีอำนาจที่จะประเมินภาษีเงินได้แจ้งจำนวนค่าภาษีที่ต้องชำระไปยังผู้รับประเมินได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2913/2516

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สินค้าสำเร็จรูป: หลอดแก้วบรรจุยาและตัวยาผง การประเมินภาษีถูกต้องตามกฎหมาย
หลอดแก้วบรรจุตัวยานั้นอยู่ในสภาพที่อาจอุปโภคได้ทันที โดยไม่จำต้องเปลี่ยนหรือดัดแปลงอย่างใดอีก การตัดและเชื่อมปากหลอดแก้วในการบรรจุยา หาใช่เป็นเรื่องการเปลี่ยนสภาพหลอดแก้วให้เป็นอื่นไปไม่ จึงเป็นสินค้าสำเร็จรูป
ตัวยาผงซึ่งอาจใช้หรือรับประทานได้ทันทีตามขนาดที่กำหนดไว้ แม้ประชาชนจะต้องซื้อภายหลังที่ทำเป็นเม็ดหรือละลายเป็นยาฉีดแล้ว และในการทำยาผงให้เป็นเม็ดจะต้องผสมสิ่งอื่นเพื่อให้มีความเหนียวทำให้ตัวยาเกาะแน่น หรือในการทำยาฉีดต้องเอายาผงไปละลายน้ำก่อนก็ตาม ก็หาได้ทำให้ยาผงนั้นเปลี่ยนแปลงไปไม่ ประชาชนทั่วไปและแพทย์ผู้ใช้ยาผงนั้นกับคนไข้อาจผสมหรือละลายยาผงนั้นเพื่อความสะดวกในการอุปโภคและบริโภคเองได้ถ้าประสงค์ และแม้ไม่ผสมกับสิ่งอื่นหรือละลายน้ำก็ยังอยู่ในสภาพที่อาจอุปโภคและบริโภคได้ทันที จึงต้องถือว่าเป็นสินค้าสำเร็จรูป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2823-2824/2516

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิจำเลยในการนำสืบพยานพิสูจน์ความบริสุทธิ์ และสถานที่เกิดเหตุความผิดฐานยักยอก
ในคดีอาญาจำเลยย่อมมีสิทธิที่จะให้การอย่างใดหรือแม้จะไม่ให้การเลยก็ได้ เป็นหน้าที่ของโจทก์ต้องนำสืบพยานก่อนให้เห็นว่าจำเลยเป็นกระทำความผิด จำเลยไม่จำต้องยกประเด็นข้อต่อสู้ไว้ในคำให้การก็มีสิทธิที่จะนำสืบในประเด็นนั้น ๆ ได้และจำเลยมีอำนาจนำพยานเข้าสืบเพื่อพิสูจน์ความบริสุทธิ์ของจำเลยได้โดยไม่จำต้องซักค้านพยานโจทก์ ในเรื่องที่จำเลยจะนำพยานเข้าสืบต่อไปไว้เลย
ในความผิดฐานยักยอกนั้น สถานที่ที่จำเลยยืมทรัพย์ที่ยักยอกย่อมถือเป็นสถานที่เกิดเหตุในการกระทำผิดด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2580/2516

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ นายจ้างไม่มีสิทธิเรียกร้องค่าทดแทนจากบุคคลภายนอกที่ทำให้ลูกจ้างบาดเจ็บ แม้ต้องจ่ายค่าทดแทนให้ลูกจ้างตามประกาศ คปฎ.ฉบับที่ 19
เจตนารมณ์ของประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 19 เพื่อมิให้ใช้พระราชบัญญัติแรงงาน พ.ศ. 2499 เป็นเครื่องมือยุยงส่งเสริมให้เกิดการร้าวฉานระหว่างนายจ้างและลูกจ้างทำลายความเห็นใจและการประนีประนอมระหว่างกัน จึงกำหนดหน้าที่ให้นายจ้างจ่ายเงินค่าทดแทนที่ลูกจ้างได้ประสบอันตรายเนื่องจากการทำงานให้นายจ้างหรือเจ็บป่วยด้วยโรคซึ่งเกิดขึ้นตามลักษณะหรือสภาพของงานประกาศของคณะปฏิวัติฉบับนี้จึงเป็นกฎหมายพิเศษที่ใช้บังคับระหว่างนายจ้างและลูกจ้างโดยเฉพาะ มิได้เกี่ยวกับบุคคลภายนอก แม้มีผู้ทำละเมิดต่อลูกจ้างของโจทก์และโจทก์ต้องจ่ายเงินค่าทดแทนให้แก่ลูกจ้างไปตามประกาศของคณะปฏิวัติฉบับดังกล่าว ผู้ทำละเมิดนั้นก็มิได้กระทำละเมิดต่อโจทก์โดยตรง และไม่มีกฎหมายให้สิทธิโจทก์ผู้เป็นนายจ้างฟ้องผู้ละเมิดให้ชดใช้เงินค่าทดแทนที่โจทก์จ่ายไปโจทก์จึงไม่มีสิทธิฟ้องเรียกร้องเงินประเภทนี้เอาจากผู้ทำละเมิดนั้นได้
of 32