คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
บุณยเกียรติ อรชุนะกะ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 311 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2580/2516

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ นายจ้างไม่มีสิทธิเรียกร้องค่าทดแทนจากบุคคลภายนอกที่ทำให้ลูกจ้างบาดเจ็บ แม้ต้องจ่ายค่าทดแทนให้ลูกจ้างตามประกาศ คปฎ.ฉบับที่ 19
เจตนารมณ์ของประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 19 เพื่อมิให้ใช้พระราชบัญญัติแรงงาน พ.ศ. 2499 เป็นเครื่องมือยุยงส่งเสริมให้เกิดการร้าวฉานระหว่างนายจ้างและลูกจ้างทำลายความเห็นใจและการประนีประนอมระหว่างกัน จึงกำหนดหน้าที่ให้นายจ้างจ่ายเงินค่าทดแทนที่ลูกจ้างได้ประสบอันตรายเนื่องจากการทำงานให้นายจ้างหรือเจ็บป่วยด้วยโรคซึ่งเกิดขึ้นตามลักษณะหรือสภาพของงานประกาศของคณะปฏิวัติฉบับนี้จึงเป็นกฎหมายพิเศษที่ใช้บังคับระหว่างนายจ้างและลูกจ้างโดยเฉพาะ มิได้เกี่ยวกับบุคคลภายนอก แม้มีผู้ทำละเมิดต่อลูกจ้างของโจทก์และโจทก์ต้องจ่ายเงินค่าทดแทนให้แก่ลูกจ้างไปตามประกาศของคณะปฏิวัติฉบับดังกล่าว ผู้ทำละเมิดนั้นก็มิได้กระทำละเมิดต่อโจทก์โดยตรง และไม่มีกฎหมายให้สิทธิโจทก์ผู้เป็นนายจ้างฟ้องผู้ละเมิดให้ชดใช้เงินค่าทดแทนที่โจทก์จ่ายไปโจทก์จึงไม่มีสิทธิฟ้องเรียกร้องเงินประเภทนี้เอาจากผู้ทำละเมิดนั้นได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2488/2516

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อตกลงให้ศาลชี้ขาดที่พิพาท: ไม่เป็นประนีประนอม & ผูกพันตามคำชี้ขาด
การที่คู่ความตกลงกันให้ศาลไปตรวจดูที่พิพาท แล้วให้ศาลชี้ขาดตามที่เห็นสมควรโดยคู่ความยินยอมตามที่ศาลชี้ขาดนั้นหาใช่เป็นการตกลงกันหรือประนีประนอมยอมความกันในประเด็นแห่งคดีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 138 ไม่ เพราะศาลยังต้องชี้ขาดในประเด็นแห่งคดีอีกว่าที่พิพาทควรจะเป็นของใครเพียงใด คดีจึงไม่ต้องห้ามอุทธรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 138 แต่เมื่อศาลตรวจดูที่พิพาทแล้ว เห็นว่า ไม่อาจชี้ชัดลงไปได้ว่าเป็นของฝ่ายใด จึงพิพากษาให้แบ่งที่พิพาทออกเป็นสองส่วน ให้โจทก์จำเลยได้ฝ่ายละส่วน โจทก์จะอุทธรณ์ว่าที่พิพาทมีลักษณะเหมือนของโจทก์ ควรให้โจทก์ชนะคดีตามฟ้อง ดังนี้หาได้ไม่ เพราะเท่ากับไม่ยอมปฏิบัติตามคำชี้ขาดของศาลตามที่ตกลงไว้นั่นเอง เมื่อไม่ปรากฏว่าคำชี้ขาดของศาลชั้นต้นเป็นไปโดยมิชอบ ศาลสูงก็ไม่อาจเปลี่ยนแปลงให้เป็นอย่างอื่น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2488/2516 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อตกลงให้ศาลชี้ขาดข้อพิพาทที่ดินและการไม่ปฏิบัติตามคำชี้ขาด
การที่คู่ความตกลงกันให้ศาลไปตรวจดูที่พิพาท แล้วให้ศาลชี้ขาดตามที่เห็นสมควรโดยคู่ความยินยอมตามที่ศาลชี้ขาดนั้นหาใช่เป็นการตกลงกันหรือประนีประนอมยอมความกันในประเด็นแห่งคดีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 138 ไม่ เพราะศาลยังต้องชี้ขาดในประเด็นแห่งคดีอีกว่าที่พิพาทควรจะเป็นของใครเพียงใด คดีจึงไม่ต้องห้ามอุทธรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 138 แต่เมื่อศาลตรวจดูที่พิพาทแล้ว เห็นว่า ไม่อาจชี้ชัดลงไปได้ว่าเป็นของฝ่ายใด จึงพิพากษาให้แบ่งที่พิพาทออกเป็นสองส่วนให้โจทก์จำเลยได้ฝ่ายละส่วน โจทก์จะอุทธรณ์ว่าที่พิพาทมีลักษณะเหมือนของโจทก์ ควรให้โจทก์ชนะคดีตามฟ้อง ดังนี้หาได้ไม่ เพราะเท่ากับไม่ยอมปฏิบัติตามคำชี้ขาดของศาลตามที่ตกลงไว้นั่นเอง เมื่อไม่ปรากฏว่าคำชี้ขาดของศาลชั้นต้นเป็นไปโดยมิชอบ ศาลสูงก็ไม่อาจเปลี่ยนแปลงให้เป็นอย่างอื่น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2435-2437/2516

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าขาดไร้อุปการะจากละเมิด, ความรับผิดทางละเมิดของนายจ้าง, การแก้ไขค่าเสียหาย, และหนี้ร่วม
บทบัญญัติมาตรา 1535 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ที่ว่าบุตรจำต้องอุปการะเลี้ยงดูบิดามารดานั้น เป็นบทบัญญัติที่กำหนดหน้าที่ของบุตรไว้ มิใช่เป็นเพียงหน้าที่ในทางศีลธรรมที่บุตรจะปฏิบัติหรือไม่ก็ได้ ฉะนั้น เมื่อบุตรถูกทำละเมิดถึงแก่ความตายบิดามารดาย่อมขาดไร้อุปการะตามกฎหมาย จึงมีอำนาจฟ้องผู้ทำละเมิดเรียกค่าขาดไร้อุปการะได้ตามมาตรา 443
กรณีที่ลูกจ้างถูกผู้อื่นทำละเมิดและนายจ้างได้จ่ายเงินค่าทดแทนให้แก่ลูกจ้างอันเป็นการปฏิบัติตามกฎหมายเกี่ยวด้วยการจ้างแรงงานอีกส่วนหนึ่งต่างหากนั้น กฎหมายมิได้บัญญัติให้มีผลเกี่ยวข้องถึงความรับผิดของบุคคลในการละเมิดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ผู้ทำละเมิดและนายจ้างของผู้ทำละเมิดจึงยังคงต้องร่วมรับผิดในผลแห่งละเมิดนั้น
จำนวนเงินค่าเสียหายในอนาคตที่ศาลกำหนดให้ โจทก์มิได้ขอคิดดอกเบี้ยไว้ การที่ศาลชั้นต้นกำหนดดอกเบี้ยให้ในเงินจำนวนนี้ ย่อมขัดต่อประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 142 แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดโต้แย้งขึ้นมา ศาลอุทธรณ์ก็มีอำนาจที่จะแก้ไขให้ถูกต้องได้
กรณีที่เกี่ยวด้วยการชำระหนี้อันไม่อาจแบ่งแยกได้ ซึ่งจำเลยบางคนฎีกาเมื่อศาลฎีกาเห็นสมควรกำหนดค่าสินไหมทดแทนให้จำเลยรับผิดน้อยลง ศาลฎีกาก็มีอำนาจพิพากษาให้มีผลถึงจำเลยที่มิได้ฎีกาได้ด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2435-2437/2516 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดทางละเมิด, ค่าขาดไร้อุปการะ, การจ่ายค่าทดแทนจากนายจ้าง, และการแก้ไขคำพิพากษาเรื่องดอกเบี้ย
บทบัญญัติมาตรา 1535 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ที่ว่าบุตรจำต้องอุปการะเลี้ยงดูบิดามารดานั้น เป็นบทบัญญัติที่กำหนดหน้าที่ของบุตรไว้ มิใช่เป็นเพียงหน้าที่ในทางศีลธรรมที่บุตรจะปฏิบัติหรือไม่ก็ได้ ฉะนั้น เมื่อบุตรถูกทำละเมิดถึงแก่ความตายบิดามารดาย่อมขาดไร้อุปการะตามกฎหมาย จึงมีอำนาจฟ้องผู้ทำละเมิดเรียกค่าขาดไร้อุปการะได้ตามมาตรา 443
กรณีที่ลูกจ้างถูกผู้อื่นทำละเมิดและนายจ้างได้จ่ายเงินค่าทดแทนให้แก่ลูกจ้างอันเป็นการปฏิบัติตามกฎหมายเกี่ยวด้วยการจ้างแรงงานอีกส่วนหนึ่งต่างหากนั้น กฎหมายมิได้บัญญัติให้มีผลเกี่ยวข้องถึงความรับผิดของบุคคลในการละเมิดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ผู้ทำละเมิดและนายจ้างของผู้ทำละเมิดจึงยังคงต้องร่วมรับผิดในผลแห่งละเมิดนั้น
จำนวนเงินค่าเสียหายในอนาคตที่ศาลกำหนดให้ โจทก์มิได้ขอคิดดอกเบี้ยไว้ การที่ศาลชั้นต้นกำหนดดอกเบี้ยให้ในเงินจำนวนนี้ ย่อมขัดต่อประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 142 แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดโต้แย้งขึ้นมา ศาลอุทธรณ์ก็มีอำนาจที่จะแก้ไขให้ถูกต้องได้
กรณีที่เกี่ยวด้วยการชำระหนี้อันไม่อาจแบ่งแยกได้ ซึ่งจำเลยบางคนฎีกาเมื่อศาลฎีกาเห็นสมควรกำหนดค่าสินไหมทดแทนให้จำเลยรับผิดน้อยลง ศาลฎีกาก็มีอำนาจพิพากษาให้มีผลถึงจำเลยที่มิได้ฎีกาได้ด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2424/2516

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประนีประนอมยอมความ: การเปลี่ยนแปลงข้อตกลงหลังทำสัญญาไม่ถือเป็นการผิดสัญญา หากข้อเท็จจริงเป็นไปตามที่จำเลยอ้าง
สัญญาประนีประนอมยอมความระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ทำกันในศาลมีใจความสำคัญว่า โจทก์ยอมให้ที่พิพาทเป็นของจำเลยโดยจำเลยรับจะส่งข้าวเปลือกให้โจทก์ปีละ 3 เกวียน หากผิดสัญญาไม่ปฏิบัติก็ให้ที่พิพาทกลับเป็นของโจทก์ ข้อสัญญาที่กำหนดให้จำเลยส่งข้าวเปลือกให้โจทก์ดังกล่าวนี้ มิใช่เป็นเรื่องที่ศาลจะบังคับให้จำเลยปฏิบัติได้ เป็นเรื่องระหว่างโจทก์กับจำเลยจะปฏิบัติต่อกันเองตามความสมัครใจ จึงอาจตกลงกันเป็นอย่างอื่นได้โดยไม่ถือว่าเป็นการผิดสัญญาประนีประนอมยอมความได้ เมื่อโจทก์อ้างว่าจำเลยเป็นฝ่ายผิดสัญญาส่งข้าวเปลือกให้ไม่ครบ จำเลยต่อสู้ว่าได้ตกลงกับโจทก์ใหม่และปฏิบัติตามข้อตกลงใหม่แล้ว ซึ่งถ้าเป็นไปตามที่จำเลยต่อสู้จริง จำเลยก็มิใช่ฝ่ายผิดสัญญา กรณีจึงต้องฟังข้อเท็จจริงต่อไป จะพิพากษาให้จำเลยคืนที่พิพาทให้โจทก์โดยไม่ฟังข้อเท็จจริงต่อไปหาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2424/2516 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประนีประนอมยอมความ: การตกลงเปลี่ยนแปลงสัญญาและการพิจารณาข้อเท็จจริงเพิ่มเติม
สัญญาประนีประนอมยอมความระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ทำกันในศาลมีใจความสำคัญว่า โจทก์ยอมให้ที่พิพาทเป็นของจำเลยโดยจำเลยรับจะส่งข้าวเปลือกให้โจทก์ปีละ 3 เกวียน หากผิดสัญญาไม่ปฏิบัติ ก็ให้ที่พิพาทกลับเป็นของโจทก์ ข้อสัญญาที่กำหนดให้จำเลยส่งข้าวเปลือกให้โจทก์ดังกล่าวนี้ มิใช่เป็นเรื่องที่ศาลจะบังคับให้จำเลยปฏิบัติได้ เป็นเรื่องระหว่างโจทก์กับจำเลยจะปฏิบัติต่อกันเองตามความสมัครใจ จึงอาจตกลงกันเป็นอย่างอื่นได้โดยไม่ถือว่าเป็นการผิดสัญญาประนีประนอมยอมความได้ เมื่อโจทก์อ้างว่าจำเลยเป็นฝ่ายผิดสัญญาส่งข้าวเปลือกให้ไม่ครบ จำเลยต่อสู้ว่าได้ตกลงกับโจทก์ใหม่และปฏิบัติตามข้อตกลงใหม่แล้ว ซึ่งถ้าเป็นไปตามที่จำเลยต่อสู้จริง จำเลยก็มิใช่ฝ่ายผิดสัญญากรณีจึงต้องฟังข้อเท็จจริงต่อไป จะพิพากษาให้จำเลยคืนที่พิพาทให้โจทก์โดยไม่ฟังข้อเท็จจริงต่อไปหาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2211/2516

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องเรียกเงินกินเปล่าจากสัญญาเช่า และผลของการต่อสัญญาเช่าโดยปริยาย
การที่ผู้ให้เช่ารับเงินกินเปล่าไว้จากผู้เช่านั้น หาใช่เป็นการรับไว้โดยปราศจากมูลอันจะอ้างกฎหมายได้ ดังที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 406 ไม่ หากแต่เป็นการรับไว้เนื่องจากผู้ให้เช่ายอมให้ผู้เช่าทำสัญญาเช่า ผู้ให้เช่าไม่ให้ผู้เช่าอยู่ครบกำหนดตามที่ตกลงกัน ผู้เช่าเรียกเงินกินเปล่าคืนเพราะผู้ให้เช่าผิดสัญญาจะต้องใช้อายุความทั่วไป ซึ่งมีกำหนด 10 ปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 164
สัญญาเช่ามิได้จดทะเบียนมีผลบังคับเพียง 3 ปี แต่เมื่อผู้เช่ายังคงครองทรัพย์สินอยู่ และผู้ให้เช่าไม่ทักท้วงย่อมถือได้ว่าคู่สัญญาเป็นอันได้ทำสัญญากันต่อไปโดยไม่มีกำหนดเวลา ดังที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 570 ดังนั้น ตราบใดที่ผู้เช่ายังเช่าห้องพิพาทอยู่ สิทธิเรียกร้องเงินกินเปล่าของผู้เช่าจึงยังไม่เกิดขึ้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2211/2516 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องเรียกเงินกินเปล่าจากสัญญาเช่า, สิทธิเรียกร้องเมื่อเช่าต่อเนื่อง, ความรับผิดของคู่สัญญา
การที่ผู้ให้เช่ารับเงินกินเปล่าไว้จากผู้เช่านั้น หาใช่เป็นการรับไว้โดยปราศจากมูลอันจะอ้างกฎหมายได้ ดังที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 406 ไม่ หากแต่เป็นการรับไว้เนื่องจากผู้ให้เช่ายอมให้ผู้เช่าทำสัญญาเช่า ผู้ให้เช่าไม่ให้ผู้เช่าอยู่ครบกำหนดตามที่ตกลงกัน ผู้เช่าเรียกเงินกินเปล่าคืน เพราะผู้ให้เช่าผิดสัญญาจะต้องใช้อายุความทั่วไป ซึ่งมีกำหนด 10 ปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 164
สัญญาเช่ามิได้จดทะเบียนมีผลบังคับเพียง 3 ปี แต่เมื่อผู้เช่ายังคงครองทรัพย์สินอยู่ และผู้ให้เช่าไม่ทักท้วง ย่อมถือได้ว่าคู่สัญญาเป็นอันได้ทำสัญญากันต่อไปโดยไม่มีกำหนดเวลา ดังที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 570 ดังนั้น ตราบใดที่ผู้เช่ายังเช่าห้องพิพาทอยู่ สิทธิเรียกร้องเงินกินเปล่าของผู้เช่าจึงยังไม่เกิดขึ้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1991/2516

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบังคับคดีร่วมกันของลูกหนี้ร่วม และสิทธิในการร้องคัดค้านการแบ่งส่วนเฉลี่ยหนี้
โจทก์และธนาคาร ก. ต่างเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษา มีสิทธิบังคับชำระหนี้เอาจากที่ดินซึ่งจำเลยที่ 2 และ ผู้ร้องมีกรรมสิทธิ์ร่วมกันเจ้าพนักงานบังคับคดีได้ดำเนินการขายทอดตลาดที่ดินเพื่อเอาเงินแบ่งส่วนเฉลี่ยให้โจทก์และธนาคารเจ้าหนี้ เมื่อโจทก์เห็นว่าเจ้าพนักงานบังคับคดีคิดส่วนเฉลี่ยแบ่งให้โจทก์ไม่ถูกต้อง โจทก์ย่อมมีสิทธิร้องคัดค้านการแบ่งส่วนเฉลี่ยนั้นได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 320 เพราะโจทก์เป็นผู้มีส่วนได้เสียโดยตรงจากการแบ่งส่วนเฉลี่ยของเจ้าพนักงานบังคับคดี
ผู้ร้องมีกรรมสิทธิในที่ดินที่ขายทอดตลาดร่วมกับจำเลยที่ 2 อยู่ 1 ใน 3 ส่วนและจำเลยที่ 2 มี 2 ใน 3 ส่วน แต่ผู้ร้องกับจำเลยที่ 2 ร่วมกันทำสัญญาค้ำประกันการเบิกเงินเกินบัญชีของบุคคลอื่นต่อธนาคาร โดยมิได้แบ่งส่วนความรับผิดไว้ ต่อมาได้จำนองที่ดินที่ขายทอดตลาดนั้นให้เป็นประกันแก่ธนาคารด้วย เมื่อธนาคารฟ้องผู้ร้องกับจำเลยที่ 2 ให้รับผิดตามสัญญาค้ำประกัน ผู้ร้องกับจำเลยที่ 2 ยังได้ทำสัญญาประนีประนอมยอมความยอมร่วมกันชำระหนี้ตามสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีให้แก่ธนาคาร จึงถือได้ว่าผู้ร้องกับจำเลยที่ 2 เป็นลูกหนี้ร่วมกันซึ่งจะต้องรับผิดต่อเจ้าหนี้เท่า ๆ กันตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 296 เจ้าพนักงานบังคับคดีจะคิดส่วนเฉลี่ยให้ผู้ร้องรับผิดเพียง 1 ใน 3 ตามส่วนแห่งกรรมสิทธิ์ในที่ดินหาได้ไม่
of 32