พบผลลัพธ์ทั้งหมด 311 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1991/2516
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับคดีร่วมกันของลูกหนี้ร่วม และสิทธิในการร้องคัดค้านการแบ่งส่วนเฉลี่ยหนี้
โจทก์และธนาคาร ก. ต่างเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษา มีสิทธิบังคับชำระหนี้เอาจากที่ดินซึ่งจำเลยที่ 2 และ ผู้ร้องมีกรรมสิทธิ์ร่วมกันเจ้าพนักงานบังคับคดีได้ดำเนินการขายทอดตลาดที่ดินเพื่อเอาเงินแบ่งส่วนเฉลี่ยให้โจทก์และธนาคารเจ้าหนี้ เมื่อโจทก์เห็นว่าเจ้าพนักงานบังคับคดีคิดส่วนเฉลี่ยแบ่งให้โจทก์ไม่ถูกต้อง โจทก์ย่อมมีสิทธิร้องคัดค้านการแบ่งส่วนเฉลี่ยนั้นได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 320 เพราะโจทก์เป็นผู้มีส่วนได้เสียโดยตรงจากการแบ่งส่วนเฉลี่ยของเจ้าพนักงานบังคับคดี
ผู้ร้องมีกรรมสิทธิในที่ดินที่ขายทอดตลาดร่วมกับจำเลยที่ 2 อยู่ 1 ใน 3 ส่วนและจำเลยที่ 2 มี 2 ใน 3 ส่วน แต่ผู้ร้องกับจำเลยที่ 2 ร่วมกันทำสัญญาค้ำประกันการเบิกเงินเกินบัญชีของบุคคลอื่นต่อธนาคาร โดยมิได้แบ่งส่วนความรับผิดไว้ ต่อมาได้จำนองที่ดินที่ขายทอดตลาดนั้นให้เป็นประกันแก่ธนาคารด้วย เมื่อธนาคารฟ้องผู้ร้องกับจำเลยที่ 2 ให้รับผิดตามสัญญาค้ำประกัน ผู้ร้องกับจำเลยที่ 2 ยังได้ทำสัญญาประนีประนอมยอมความยอมร่วมกันชำระหนี้ตามสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีให้แก่ธนาคาร จึงถือได้ว่าผู้ร้องกับจำเลยที่ 2 เป็นลูกหนี้ร่วมกันซึ่งจะต้องรับผิดต่อเจ้าหนี้เท่า ๆ กันตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 296 เจ้าพนักงานบังคับคดีจะคิดส่วนเฉลี่ยให้ผู้ร้องรับผิดเพียง 1 ใน 3 ตามส่วนแห่งกรรมสิทธิ์ในที่ดินหาได้ไม่
ผู้ร้องมีกรรมสิทธิในที่ดินที่ขายทอดตลาดร่วมกับจำเลยที่ 2 อยู่ 1 ใน 3 ส่วนและจำเลยที่ 2 มี 2 ใน 3 ส่วน แต่ผู้ร้องกับจำเลยที่ 2 ร่วมกันทำสัญญาค้ำประกันการเบิกเงินเกินบัญชีของบุคคลอื่นต่อธนาคาร โดยมิได้แบ่งส่วนความรับผิดไว้ ต่อมาได้จำนองที่ดินที่ขายทอดตลาดนั้นให้เป็นประกันแก่ธนาคารด้วย เมื่อธนาคารฟ้องผู้ร้องกับจำเลยที่ 2 ให้รับผิดตามสัญญาค้ำประกัน ผู้ร้องกับจำเลยที่ 2 ยังได้ทำสัญญาประนีประนอมยอมความยอมร่วมกันชำระหนี้ตามสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีให้แก่ธนาคาร จึงถือได้ว่าผู้ร้องกับจำเลยที่ 2 เป็นลูกหนี้ร่วมกันซึ่งจะต้องรับผิดต่อเจ้าหนี้เท่า ๆ กันตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 296 เจ้าพนักงานบังคับคดีจะคิดส่วนเฉลี่ยให้ผู้ร้องรับผิดเพียง 1 ใน 3 ตามส่วนแห่งกรรมสิทธิ์ในที่ดินหาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1946/2516
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเช่าซื้อและผลของการไม่ชำระเงินตามสัญญา หากโจทก์รับเงินไม่ได้ สัญญาระงับ
จำเลยสลักหลังเช็คลงวันที่ล่วงหน้าของผู้อื่นเพื่อชำระหนี้ให้โจทก์ตามสัญญาโอนสิทธิการเช่าตึกซึ่งมีข้อตกลงกันด้วยว่าจำเลยจะต้องชำระเงินให้โจทก์เป็นงวด ๆ ถ้าไม่ชำระงวดใดให้ถือว่าจำเลยหมดสิทธิอาศัยในอาคาร เมื่อเช็คนั้นถึงกำหนดโจทก์รับเงินไม่ได้ ก็ต้องถือว่าจำเลยผิดสัญญาและสัญญานั้นย่อมเลิกกันไปตามที่ระบุไว้ โจทก์จึงไม่มีสิทธิฟ้องบังคับจำเลยให้ชำระเงินตามเช็คดังกล่าว คงมีสิทธิแต่เพียงไม่ให้จำเลยอาศัยในอาคารและไม่ต้องคืนเงินงวดก่อน ๆ เท่านั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1946/2516 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเช่าซื้อสิทธิการเช่าและการสลักหลังเช็คล่วงหน้า: ผลของการผิดสัญญาและสิทธิของคู่สัญญา
จำเลยสลักหลังเช็คลงวันที่ล่วงหน้าของผู้อื่นเพื่อชำระหนี้ให้โจทก์ตามสัญญาโอนสิทธิการเช่าตึกซึ่งมีข้อตกลงกันด้วยว่าจำเลยจะต้องชำระเงินให้โจทก์เป็นงวด ๆ ถ้าไม่ชำระงวดใดให้ถือว่าจำเลยหมดสิทธิอาศัยในอาคาร เมื่อเช็คนั้นถึงกำหนดโจทก์รับเงินไม่ได้ ก็ต้องถือว่า จำเลยผิดสัญญาและสัญญานั้นย่อมเลิกกันไปตามที่ระบุไว้ โจทก์จึงไม่มีสิทธิฟ้องบังคับจำเลยให้ชำระเงินตามเช็คดังกล่าว คงมีสิทธิแต่เพียงไม่ให้จำเลยอาศัยในอาคารและไม่ต้องคืนเงินงวดก่อน ๆ เท่านั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1893/2516
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจตนาฆ่าและการบันดาลโทสะ กรณีทำร้ายร่างกายถึงแก่ความตายจากความขัดแย้งส่วนตัว
ผู้ตายเข้าไปกอดภริยาของจำเลยซึ่งนั่งอยู่ที่โต๊ะในร้านขายอาหารจำเลยได้ต่อว่าผู้ตายกับ ว. ซึ่งมากับผู้ตาย ว. ไกล่เกลี่ยปรับความเข้าใจและจะให้ผู้ตายไปขอขมาภริยาจำเลย จำเลยคอยดูอยู่ว่าผู้ตายจะขอขมาภริยาจำเลยหรือไม่ รออยู่ประมาณ 15 นาที ผู้ตายก็มิได้มาขอขมา จำเลยเสียใจได้ใช้ไม้ ยาว 32 นิ้ว กว้าง 6 นิ้ว หนา 1.4 นิ้ว ตีผู้ตายที่ศีรษะอย่างแรง 2 ที เป็นบาดแผลฉกรรจ์ ผู้ตายถึงแก่ความตายเพราะพิษบาดแผลนั้น ดังนี้ ถือว่าจำเลยทำร้ายผู้ตายโดยมีเจตนาฆ่า และการที่จำเลยบันดาลโทสะเพราะผู้ตายลวนลามภริยาของจำเลยได้ขาดตอนไปแล้วและการที่ผู้ตายไม่ขอขมาภริยาจำเลยนั้น ก็ไม่ใช่เป็นการข่มเหงจำเลยอย่างร้ายแรงด้วยเหตุอันไม่เป็นธรรม จำเลยจะอ้างว่ากระทำโดยบันดาลโทสะไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1852/2516 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตความรับผิดของหน่วยงานรัฐต่อหนี้สินของกิจการสงเคราะห์ที่จัดตั้งขึ้น แม้จะมิได้มีวัตถุประสงค์ในการค้า
กรมไปรษณีย์โทรเลขเป็นกรมในรัฐบาลและเป็นนิติบุคคลตามกฎหมายมีหน้าที่เกี่ยวกับการจัดการสื่อสาร การไปรษณีย์โทรเลข วิทยุ เพื่ออำนวยความสะดวกแก่ประชาชน มิได้มีวัตถุประสงค์ในการประกอบการค้า โดยมีอธิบดีเป็นผู้บังคับบัญชาข้าราชการในสังกัดและรับผิดชอบในราชการของกรมตามอำนาจหน้าที่ซึ่งกฎหมายบัญญัติไว้ ส่วนองค์การสงเคราะห์ข้าราชการกรมไปรษณีย์โทรเลข หรือ อ.ส.ค. นั้น อธิบดีกรมไปรษณีย์โทรเลขแต่งตั้งประธานกรรมการขึ้นเป็นผู้ดำเนินงานพร้อมด้วยคณะกรรมการและจัดตั้งร้านค้า อ.ส.ค. ขึ้น เพื่อจำหน่ายเครื่องอุปโภคบริโภคช่วยเหลือข้าราชการในกรมไปรษณีย์โทรเลข โดยมิได้ใช้เงินงบประมาณแผ่นดิน และประธานกรรมการแต่งตั้งผู้จัดการร้านค้า อ.ส.ค. ร้านค้า อ.ส.ค.นี้จึงเป็นกิจการต่างหาก มิได้อยู่ในวัตถุประสงค์และหน้าที่ของกรมไปรษณีย์โทรเลขแม้ผู้จัดการร้านค้า อ.ส.ค. จะซื้อสินค้าจากบุคคลอื่นมาในนามของร้านค้าและค้างชำระราคา กรมไปรษณีย์โทรเลขก็หาจำต้องร่วมรับผิดในหนี้สินนั้นด้วยไม่ (อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 1076/2515)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1852/2516
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของหน่วยงานราชการต่อหนี้สินของกิจการสวัสดิการที่จัดตั้งขึ้นโดยไม่ใช้เงินงบประมาณ
กรมไปรษณีย์โทรเลขเป็นกรมในรัฐบาลและเป็นนิติบุคคลตามกฎหมายมีหน้าที่เกี่ยวกับการจัดการสื่อสาร การไปรษณีย์โทรเลข วิทยุ เพื่ออำนวยความสะดวกแก่ประชาชนมิได้มีวัตถุประสงค์ในการประกอบการค้า โดยมีอธิบดีเป็นผู้บังคับบัญชาข้าราชการในสังกัดและรับผิดชอบในราชการของกรมตามอำนาจหน้าที่ซึ่งกฎหมายบัญญัติไว้ ส่วนองค์การสงเคราะห์ข้าราชการกรมไปรษณีย์โทรเลข หรือ อ.ส.ค. นั้นอธิบดีกรมไปรษณีย์โทรเลขแต่งตั้งประธานกรรมการขึ้นเป็นผู้ดำเนินงานพร้อมด้วยคณะกรรมการและจัดตั้งร้านค้า อ.ส.ค. ขึ้นเพื่อจำหน่ายเครื่องอุปโภคบริโภคช่วยเหลือข้าราชการในกรมไปรษณีย์โทรเลข โดยมิได้ใช้เงินงบประมาณแผ่นดิน และประธานกรรมการแต่งตั้งผู้จัดการร้านค้า อ.ส.ค.ร้านค้า อ.ส.ค.นี้จึงเป็นกิจการต่างหากมิได้อยู่ในวัตถุประสงค์และหน้าที่ของกรมไปรษณีย์โทรเลขแม้ผู้จัดการร้านค้า อ.ส.ค. จะซื้อสินค้าจากบุคคลอื่นมาในนามของ ร้านค้าและค้างชำระราคา กรมไปรษณีย์โทรเลขก็หาจำต้องร่วมรับผิดในหนี้สินนั้นด้วยไม่ (อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 1076/2515)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1823/2516 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิจารณาคดีล้มละลายต้องแสวงหาความจริงตามกฎหมาย หากมีพยานหลักฐานว่าลูกหนี้อาจชำระหนี้ได้ ศาลต้องดำเนินการสืบพยาน
การพิจารณาคดีล้มละลาย ย่อมผิดแผกแตกต่างกับการพิจารณาคดีแพ่งสามัญเพราะพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 ซึ่งเป็นกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน มีผลในทางตัดสิทธิและเสรีภาพของผู้ที่ถูกศาลพิพากษาให้เป็นบุคคลล้มละลายได้บัญญัติไว้ในมาตรา 14 ว่า ในการพิจารณาคดีล้มละลายตามคำฟ้องของเจ้าหนี้นั้น ศาลต้องพิจารณาเอาความจริงตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 9 หรือมาตรา 10 ถ้าศาลพิจารณาได้ความจริงให้ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้เด็ดขาด แต่ถ้าไม่ได้ความจริงหรือลูกหนี้นำสืบได้ว่าอาจชำระหนี้ได้ทั้งหมด หรือมีเหตุอื่นที่ไม่ควรให้ลูกหนี้ล้มละลาย ให้ศาลยกฟ้อง
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยเป็นหนี้โจทก์อยู่สองแสนบาทเศษแต่พยานโจทก์เบิกความรับว่าจำเลยถือหุ้นในบริษัทจำกัดแห่งหนึ่งซึ่งชำระเงินค่าหุ้นแล้วถึงสามแสนบาทเกินจำนวนที่จำเลยเป็นหนี้โจทก์ และจำเลยยังเป็นผู้จัดการบริษัทอีกแห่งหนึ่ง นอกจากนี้ตามบัญชีทรัพย์ซึ่งจำเลยแนบมาในคำร้องขอสืบพยานจำเลยยังปรากฏว่า จำเลยมีทรัพย์สินอันมีมูลค่ากว่าเก้าแสนบาท การที่ศาลชั้นต้นรวบรัดฟังคำพยานโจทก์ฝ่ายเดียวว่าจำเลยมีหนี้สินล้นพ้นตัวแล้วมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์จำเลยเด็ดขาด โดยไม่ฟังพยานจำเลยเสียเลยนั้นย่อมไม่เพียงพอต่อการพิจารณาหาความจริงดังที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 14
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยเป็นหนี้โจทก์อยู่สองแสนบาทเศษแต่พยานโจทก์เบิกความรับว่าจำเลยถือหุ้นในบริษัทจำกัดแห่งหนึ่งซึ่งชำระเงินค่าหุ้นแล้วถึงสามแสนบาทเกินจำนวนที่จำเลยเป็นหนี้โจทก์ และจำเลยยังเป็นผู้จัดการบริษัทอีกแห่งหนึ่ง นอกจากนี้ตามบัญชีทรัพย์ซึ่งจำเลยแนบมาในคำร้องขอสืบพยานจำเลยยังปรากฏว่า จำเลยมีทรัพย์สินอันมีมูลค่ากว่าเก้าแสนบาท การที่ศาลชั้นต้นรวบรัดฟังคำพยานโจทก์ฝ่ายเดียวว่าจำเลยมีหนี้สินล้นพ้นตัวแล้วมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์จำเลยเด็ดขาด โดยไม่ฟังพยานจำเลยเสียเลยนั้นย่อมไม่เพียงพอต่อการพิจารณาหาความจริงดังที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 14
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1823/2516
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิจารณาคดีล้มละลายต้องแสวงหาความจริงจากพยานหลักฐานรอบด้านก่อนมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์
การพิจารณาคดีล้มละลาย ย่อมผิดแผกแตกต่างกับการพิจารณาคดีแพ่งสามัญเพราะพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 ซึ่งเป็นกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน มีผลในทางตัดสิทธิและเสรีภาพของผู้ที่ถูกศาลพิพากษาให้เป็นบุคคลล้มละลายได้บัญญัติไว้ในมาตรา 14 ว่าในการพิจารณาคดีล้มละลายตามคำฟ้องของเจ้าหนี้นั้นศาลต้องพิจารณาเอาความจริงตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 9 หรือมาตรา 10 ถ้าศาลพิจารณาได้ความจริงให้ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้เด็ดขาด แต่ถ้าไม่ได้ความจริงหรือลูกหนี้นำสืบได้ว่าอาจชำระหนี้ได้ทั้งหมด หรือมีเหตุอื่นที่ไม่ควรให้ลูกหนี้ล้มละลาย ให้ศาลยกฟ้อง
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยเป็นหนี้โจทก์อยู่สองแสนบาทเศษแต่พยานโจทก์เบิกความรับว่าจำเลยถือหุ้นในบริษัทจำกัดแห่งหนึ่งซึ่งชำระเงินค่าหุ้นแล้วถึงสามแสนบาทเกินจำนวนที่จำเลยเป็นหนี้โจทก์ และจำเลยยังเป็นผู้จัดการบริษัทอีกแห่งหนึ่ง นอกจากนี้ตามบัญชีทรัพย์ซึ่งจำเลยแนบมาในคำร้องขอสืบพยานจำเลยยังปรากฏว่า จำเลยมีทรัพย์สินอันมีมูลค่ากว่าเก้าแสนบาท การที่ศาลชั้นต้นรวบรัดฟังคำพยานโจทก์ฝ่ายเดียวว่าจำเลยมีหนี้สินล้นพ้นตัวแล้วมีคำสั่งพิทักษ์จำเลยเด็ดขาดโดยไม่ฟังพยานจำเลยเสียเลยนั้น ย่อมไม่เพียงพอต่อการพิจารณาหาความจริงดังที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 14
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยเป็นหนี้โจทก์อยู่สองแสนบาทเศษแต่พยานโจทก์เบิกความรับว่าจำเลยถือหุ้นในบริษัทจำกัดแห่งหนึ่งซึ่งชำระเงินค่าหุ้นแล้วถึงสามแสนบาทเกินจำนวนที่จำเลยเป็นหนี้โจทก์ และจำเลยยังเป็นผู้จัดการบริษัทอีกแห่งหนึ่ง นอกจากนี้ตามบัญชีทรัพย์ซึ่งจำเลยแนบมาในคำร้องขอสืบพยานจำเลยยังปรากฏว่า จำเลยมีทรัพย์สินอันมีมูลค่ากว่าเก้าแสนบาท การที่ศาลชั้นต้นรวบรัดฟังคำพยานโจทก์ฝ่ายเดียวว่าจำเลยมีหนี้สินล้นพ้นตัวแล้วมีคำสั่งพิทักษ์จำเลยเด็ดขาดโดยไม่ฟังพยานจำเลยเสียเลยนั้น ย่อมไม่เพียงพอต่อการพิจารณาหาความจริงดังที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 14
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1737/2516
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิจารณาความผิดพยายามฆ่า: ประเด็นประสิทธิภาพอาวุธและคำฟ้อง
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่าจำเลยมีความผิดฐานพยายามฆ่าผู้อื่นตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 81, 288, 83 ประกอบด้วยมาตรา 53 (2)ลดมาตราส่วนโทษลงกึ่งหนึ่งตามมาตรา 75 และลดโทษตามมาตรา 78 ให้อีกกึ่งหนึ่งแล้ว จำคุก 3 ปี ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เป็นลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 80, 288, 83 ประกอบด้วยมาตรา 53(1)ลดมาตราส่วนโทษลงกึ่งหนึ่งตามมาตรา 75 และลดโทษตามมาตรา 78ให้อีกกึ่งหนึ่งแล้ว จำคุก 4 ปี ดังนี้ เป็นการพิพากษาแก้ทั้งบททั้งโทษ จึงเป็นการแก้ไขมาก ไม่ต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218 และ 220
ใช้ปืนแก๊ปยาวยิง 2 นัด ขณะผู้เสียหายเดินมาห่างจำเลย 4-5 วา กระสุนปืนถูกใบหน้า คือ ที่หน้าผาก 2 รู โดนจมูกและเข้าตาขวาตาขวาบอด ถูกยิงแล้วโลหิตไหลเต็มใบหน้าตามพฤติการณ์แสดงชัดว่ากระสุนปืนเฉียดเฉียงไปไม่ถูกด้านตรง กระสุนปืนจึงไม่เจาะลึกเข้าไปภายในศีรษะและใบหน้า ผู้เสียหายจึงไม่ได้รับอันตรายถึงชีวิต ตามธรรมดาอาวุธปืนเป็นอาวุธที่ร้ายแรง ใช้ประหัตประหารกันให้ถึงแก่ความตายได้ง่าย และแน่นอนกว่าอาวุธอื่น จะสันนิษฐานว่าปืนที่จำเลยใช้ยิงไม่มีประสิทธิภาพเพราะผู้เสียหายถูกยิงในระยะใกล้ แต่ได้รับอันตรายเพียงบาดเจ็บไม่ถึงแก่ความตายหาได้ไม่
ใช้ปืนแก๊ปยาวยิง 2 นัด ขณะผู้เสียหายเดินมาห่างจำเลย 4-5 วา กระสุนปืนถูกใบหน้า คือ ที่หน้าผาก 2 รู โดนจมูกและเข้าตาขวาตาขวาบอด ถูกยิงแล้วโลหิตไหลเต็มใบหน้าตามพฤติการณ์แสดงชัดว่ากระสุนปืนเฉียดเฉียงไปไม่ถูกด้านตรง กระสุนปืนจึงไม่เจาะลึกเข้าไปภายในศีรษะและใบหน้า ผู้เสียหายจึงไม่ได้รับอันตรายถึงชีวิต ตามธรรมดาอาวุธปืนเป็นอาวุธที่ร้ายแรง ใช้ประหัตประหารกันให้ถึงแก่ความตายได้ง่าย และแน่นอนกว่าอาวุธอื่น จะสันนิษฐานว่าปืนที่จำเลยใช้ยิงไม่มีประสิทธิภาพเพราะผู้เสียหายถูกยิงในระยะใกล้ แต่ได้รับอันตรายเพียงบาดเจ็บไม่ถึงแก่ความตายหาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1737/2516 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิจารณาโทษพยายามฆ่า: ประเด็นประสิทธิภาพอาวุธปืน, เจตนา, และการแก้ไขคำพิพากษา
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่าจำเลยมีความผิดฐานพยายามฆ่าผู้อื่นตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 81, 288, 83 ประกอบด้วยมาตรา 53 (2)ลดมาตราส่วนโทษลงกึ่งหนึ่งตามมาตรา 75 และลดโทษตามมาตรา 78ให้อีกกึ่งหนึ่งแล้ว จำคุก 3 ปี ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เป็นลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 80, 288, 83 ประกอบด้วยมาตรา 53 (1)ลดมาตราส่วนโทษลงกึ่งหนึ่งตามมาตรา 75 และลดโทษตามมาตรา 78ให้อีกกึ่งหนึ่งแล้ว จำคุก 4 ปี ดังนี้ เป็นการพิพากษาแก้ทั้งบททั้งโทษจึงเป็นการแก้ไขมาก ไม่ต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218 และ 220
ใช้ปืนแก๊ปยาวยิง 2 นัด ขณะผู้เสียหายเดินมาห่างจำเลย4 - 5 วา กระสุนปืนถูกใบหน้า คือ ที่หน้าผาก 2 รู โดนจมูกและเข้าตาขวาตาขวาบอด ถูกยิงแล้วโลหิตไหลเต็มใบหน้าตามพฤติการณ์แสดงชัดว่ากระสุนปืนเฉียดเฉียงไป ไม่ถูกด้านตรง กระสุนปืนจึงไม่เจาะลึกเข้าไปภายในศีรษะและใบหน้า ผู้เสียหายจึงไม่ได้รับอันตรายถึงชีวิต ตามธรรมดาอาวุธปืนเป็นอาวุธที่ร้ายแรง ใช้ประหัตประหารกันให้ถึงแก่ความตายได้ง่ายและแน่นอนกว่าอาวุธอื่น จะสันนิษฐานว่าปืนที่จำเลยใช้ยิงไม่มีประสิทธิภาพเพราะผู้เสียหายถูกยิงในระยะใกล้ แต่ได้รับอันตรายเพียงบาดเจ็บไม่ถึงแก่ความตายหาได้ไม่
ใช้ปืนแก๊ปยาวยิง 2 นัด ขณะผู้เสียหายเดินมาห่างจำเลย4 - 5 วา กระสุนปืนถูกใบหน้า คือ ที่หน้าผาก 2 รู โดนจมูกและเข้าตาขวาตาขวาบอด ถูกยิงแล้วโลหิตไหลเต็มใบหน้าตามพฤติการณ์แสดงชัดว่ากระสุนปืนเฉียดเฉียงไป ไม่ถูกด้านตรง กระสุนปืนจึงไม่เจาะลึกเข้าไปภายในศีรษะและใบหน้า ผู้เสียหายจึงไม่ได้รับอันตรายถึงชีวิต ตามธรรมดาอาวุธปืนเป็นอาวุธที่ร้ายแรง ใช้ประหัตประหารกันให้ถึงแก่ความตายได้ง่ายและแน่นอนกว่าอาวุธอื่น จะสันนิษฐานว่าปืนที่จำเลยใช้ยิงไม่มีประสิทธิภาพเพราะผู้เสียหายถูกยิงในระยะใกล้ แต่ได้รับอันตรายเพียงบาดเจ็บไม่ถึงแก่ความตายหาได้ไม่