พบผลลัพธ์ทั้งหมด 442 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1851/2516 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องเรียกค่าทดแทน: ผู้จ่ายค่าทดแทนให้ลูกจ้างไม่มีสิทธิฟ้องเรียกจากผู้ละเมิดโดยตรง
เงินค่าทดแทนที่โจทก์ได้จ่ายให้แก่พนักงานของโจทก์ไปตามประกาศ ของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 19 และประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการจ่ายเงินค่าทดแทน ฉบับลงวันที่ 20ธันวาคม 2501 เนื่องจากพนักงานของโจทก์ได้รับบาดเจ็บในขณะปฏิบัติงานให้แก่โจทก์โดยถูกรถของจำเลยชนเอานั้น โจทก์จะมาฟ้องเรียกเอาจากจำเลยไม่ได้ เพราะโจทก์ไม่ได้เป็นผู้ถูกละเมิดทั้งตามประกาศคณะปฏิวัติและประกาศกระทรวงมหาดไทย ดังกล่าวก็ไม่ได้ให้สิทธิโจทก์ที่จะฟ้องเรียกเงินดังกล่าวเอาจากจำเลยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1829/2516 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การใช้กฎหมายอาญาปรับแก่คดีอาญา: การเปลี่ยนแปลงโทษหลังกระทำผิด และหลักการใช้กฎหมายที่เป็นคุณแก่จำเลย
ขณะที่จำเลยกระทำผิดฐานปล้นทรัพย์โดยใช้ปืนยิง ยังไม่มีประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 11 ออกใช้บังคับ การกระทำอันมีองค์ประกอบความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 340 ตรี ฯลฯ นั้น ยังไม่มีกฎหมายกำหนดโทษให้หนักขึ้นในขณะจำเลยกระทำผิดโจทก์ย่อมขอให้ศาลใช้มาตรา 340 ตรี เป็นบทลงโทษหรือนำไปประกอบมาตรา 340 วรรค 4 เพื่อให้โทษหนักขึ้นมิได้ คงได้แต่ขอให้ลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 340 วรรค 4 เดิมซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้อยู่ในขณะกระทำผิด แต่เมื่อปรากฏว่าในระหว่างพิจารณาได้มีประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 11 ออกใช้บังคับข้อ 14 ประกาศนี้แก้ไขโทษของมาตรา 340 วรรค 4 เดิมให้เบาลงก็ต้องใช้มาตรา 340 วรรค 4 ตามที่แก้ไขโดยประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 11 ข้อ 14 บังคับแก่คดีนี้ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 3โจทก์จะอ้างว่าโทษตามมาตรา 340 วรรค 4 ที่แก้ไขใหม่โดยประกาศข้อ 14 ให้เพิ่มขึ้นกึ่งหนึ่งตามมาตรา 340 ตรี. ที่บัญญัติเพิ่มเติมขึ้นโดยข้อ 15 คำนวณโทษแล้วมีอัตราหนักกว่ามาตรา 340 วรรค 4 เดิมมาตรา 340 วรรค 4 ประกอบด้วยมาตรา 340 ตรี ที่แก้ไขใหม่นั้นไม่เป็นคุณแก่จำเลย จะต้องวางโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 340 วรรค 4 เดิม ดังนี้ หาถูกต้องไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1829/2516
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การใช้กฎหมายอาญาในอดีตและปัจจุบัน กรณีโทษเบากว่าเดิม คดีปล้นทรัพย์
ขณะที่จำเลยกระทำผิดฐานปล้นทรัพย์โดยใช้ปืนยิง ยังไม่มีประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 11 ออกใช้บังคับ การกระทำอันมีองค์ประกอบความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 340 ตรีฯลฯ นั้น ยังไม่มีกฎหมายกำหนดโทษให้หนักขึ้นในขณะจำเลยกระทำผิดโจทก์ย่อมขอให้ศาลใช้มาตรา 340 ตรี เป็นบทลงโทษหรือนำไปประกอบมาตรา 340 วรรค 4 เพื่อให้โทษหนักขึ้นมิได้ คงได้แต่ขอให้ลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 340 วรรค 4 เดิม ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้อยู่ในขณะกระทำผิด แต่เมื่อปรากฏว่าในระหว่างพิจารณาได้มีประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 11 ออกใช้บังคับ ข้อ 14 ประกาศนี้แก้ไขโทษของมาตรา 340 วรรค 4 เดิมให้เบาลงก็ต้องใช้มาตรา 340 วรรค 4 ตามที่แก้ไขโดยประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 11 ข้อ 14 บังคับแก่คดีนี้ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 3 โจทก์จะอ้างว่าโทษตามมาตรา 340 วรรค 4 ที่แก้ไขใหม่โดยประกาศข้อ 14 ให้เพิ่มขึ้นกึ่งหนึ่งตามมาตรา 340 ตรี. ที่บัญญัติเพิ่มเติมขึ้นโดยข้อ 15 คำนวณโทษแล้วมีอัตราหนักกว่ามาตรา 340 วรรค 4 เดิม มาตรา 340 วรรค 4 ประกอบด้วยมาตรา 340 ตรี ที่แก้ไขใหม่นั้นไม่เป็นคุณแก่จำเลย จะต้องวางโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 340 วรรค 4 เดิม ดังนี้ หาถูกต้องไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1733/2516 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฉ้อโกงต้องมีการได้ไปซึ่งทรัพย์สิน การหลอกให้รับจ้างขนส่งไม่ถือเป็นความผิดฐานฉ้อโกง
การที่จำเลยหลอกลวงให้ผู้เสียหายรับจ้างทำการขนส่งให้จำเลยแล้วไม่ชำระค่าขนส่งที่ตกลงไว้ว่าจะชำระให้นั้น จำเลยได้รับผลเพียงการขนส่งจากผู้เสียหาย ไม่ได้ไปซึ่งทรัพย์สินจากผู้เสียหาย การกระทำของจำเลยไม่เป็นความผิดฐานฉ้อโกง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1733/2516
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฉ้อโกงต้องมีการทำให้ทรัพย์สินของผู้เสียหายเปลี่ยนมือ การรับจ้างขนส่งแล้วไม่จ่ายค่าจ้างเป็นผิดสัญญา ไม่ใช่ฉ้อโกง
การที่จำเลยหลอกลวงให้ผู้เสียหายรับจ้างทำการขนส่งให้จำเลยแล้วไม่ชำระค่าขนส่งที่ตกลงไว้ว่าจะชำระให้นั้น จำเลยได้รับผลเพียงการขนส่งจากผู้เสียหายไม่ได้ไปซึ่งทรัพย์สินจากผู้เสียหาย การกระทำของจำเลยไม่เป็นความผิดฐานฉ้อโกง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1730/2516
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การต่อสู้คดีเรื่องนิติสัมพันธ์จริงของหนี้ และการนำสืบพยานตามข้อต่อสู้
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยกู้เงินโจทก์ซึ่งจำเลยได้รับเงินไปแล้ว และจำเลยได้จำนองที่ดินเป็นประกันเงินที่กู้ไป จำเลยให้การต่อสู้ว่าจำเลยไม่ได้กู้เงินโจทก์และไม่ได้รับเงินจากโจทก์ ความจริงเป็นเรื่องการเช่าซื้อรถยนต์กันระหว่างสามีโจทก์กับสามีจำเลย สามีโจทก์เกรงจะไม่ได้เงินค่าเช่าซื้อจึงให้จำเลยนำที่ดินมาจำนองค้ำประกันสัญญาเช่าซื้อนั้น โดยให้โจทก์เป็นเจ้าหนี้ผู้รับจำนองแทนเพราะสามีโจทก์เป็นคนต่างด้าว สัญญาจำนองไม่สมบูรณ์ และหนี้ตามสัญญาจำนองได้ระงับสิ้นไปเพราะสามีโจทก์ได้เรียกเอารถยนต์คืนไปแล้ว และในระหว่างที่รถยนต์ที่เช่าซื้อยังอยู่ที่สามีจำเลย สามีจำเลยก็ได้ส่งเงินให้สามีโจทก์ และไม่เคยติดค้างดอกเบี้ยคำให้การจำเลยเช่นนี้เป็นคำให้การที่ต่อสู้คดีว่าจำเลยมีนิติสัมพันธ์ตามสัญญาที่พิพาทอยู่กับสามีโจทก์ แต่การที่ปรากฏมีชื่อโจทก์เป็นเจ้าหนี้จำเลย ก็โดยมีเจตนาจะอำพรางตัวเจ้าหนี้ที่แท้จริงไว้ ทั้งจำเลยยังต่อสู้ว่าหนี้ตามสัญญาที่พิพาทเป็นหนี้สืบเนื่องมาจากหนี้ตามสัญญาค้ำประกันการเช่าซื้อรถยนต์ ซึ่งจำเลยอ้างด้วยว่าหนี้ตามสัญญาเช่าซื้อรถยนต์ไม่มีติดค้างอยู่ระหว่างสามีโจทก์และสามีจำเลย หากฟังได้สมจริงดังจำเลยต่อสู้หนี้ตามสัญญากู้ยืมและสัญญาจำนองตามที่โจทก์ฟ้องก็อาจจะไม่สมบูรณ์ จำเลยจึงมีสิทธินำสืบตามข้อต่อสู้ของจำเลยได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 94 วรรคท้าย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1730/2516 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การต่อสู้คดีว่าสัญญาไม่สมบูรณ์และหนี้ระงับแล้ว ศาลอนุญาตให้สืบพยานได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 94 วรรคท้าย
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยกู้เงินโจทก์ซึ่งจำเลยได้รับเงินไปแล้ว และจำเลยได้จำนองที่ดินเป็นประกันเงินที่กู้ไป จำเลยให้การต่อสู้ว่าจำเลยไม่ได้กู้เงินโจทก์และไม่ได้รับเงินจากโจทก์ ความจริงเป็นเรื่องการเช่าซื้อรถยนต์กันระหว่างสามีโจทก์กับสามีจำเลย สามีโจทก์เกรงจะไม่ได้เงินค่าเช่าซื้อจึงให้จำเลยนำที่ดินมาจำนองค้ำประกันสัญญาเช่าซื้อนั้น โดยให้โจทก์เป็นเจ้าหนี้ผู้รับจำนองแทนเพราะสามีโจทก์เป็นคนต่างด้าว สัญญาจำนองไม่สมบูรณ์ และหนี้ตามสัญญาจำนองได้ระงับสิ้นไปเพราะสามีโจทก์ได้เรียกเอารถยนต์คืนไปแล้ว และในระหว่างที่รถยนต์ที่เช่าซื้อยังอยู่ที่สามีจำเลย สามีจำเลยก็ได้ส่งเงินให้สามีโจทก์ และไม่เคยติดค้างดอกเบี้ยคำให้การจำเลยเช่นนี้เป็นคำให้การที่ต่อสู้คดีว่าจำเลยมีนิติสัมพันธ์ตามสัญญาที่พิพาทอยู่กับสามีโจทก์ แต่การที่ปรากฏมีชื่อโจทก์เป็นเจ้าหนี้จำเลยก็โดยมีเจตนาจะอำพรางตัวเจ้าหนี้ที่แท้จริงไว้ ทั้งจำเลยยังต่อสู้ว่าหนี้ตามสัญญาที่พิพาทเป็นหนี้สืบเนื่องมาจากหนี้ตามสัญญาค้ำประกันการเช่าซื้อรถยนต์ ซึ่งจำเลยอ้างด้วยว่าหนี้ตามสัญญาเช่าซื้อรถยนต์ไม่มีติดค้างอยู่ระหว่างสามีโจทก์และสามีจำเลย หากฟังได้สมจริงดังจำเลยต่อสู้หนี้ตามสัญญากู้ยืมและสัญญาจำนองตามที่โจทก์ฟ้องก็อาจจะไม่สมบูรณ์ จำเลยจึงมีสิทธินำสืบตามข้อต่อสู้ของจำเลยได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 94 วรรคท้าย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1561/2516
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ไม้แปรรูปเพื่อทำเกวียนยังไม่ถือเป็นเครื่องใช้ การมีไม้หวงห้ามโดยไม่ได้รับอนุญาตจึงมีความผิดตามกฎหมาย
จำเลยมีไม้หวงห้ามทำเป็นซี่ล้อ ดุมล้อคันชักและฝักขามสำหรับประกอบเป็นล้อเกวียนและเกวียนเพื่อจำหน่าย เมื่อยังมิได้ประกอบเป็นล้อเกวียนหรือเกวียน จึงไม่อยู่ในสภาพเป็นเครื่องใช้ คงถือว่าเป็นไม้แปรรูปตามพระราชบัญญัติป่าไม้ (ฉบับที่ 4) พ.ศ.2503 มาตรา 4
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1561/2516 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ไม้แปรรูปประกอบล้อเกวียนยังไม่เป็นเครื่องใช้ ไม่อยู่ในข้อยกเว้นตามกฎหมายป่าไม้
จำเลยมีไม้หวงห้ามทำเป็นซี่ล้อ ดุมล้อ คันชัก และฝักขามสำหรับประกอบเป็นล้อเกวียนและเกวียนเพื่อจำหน่าย เมื่อยังมิได้ประกอบเป็นล้อเกวียนหรือเกวียน จึงไม่อยู่ในสภาพเป็นเครื่องใช้คงถือว่าเป็นไม้แปรรูปตามพระราชบัญญัติป่าไม้ (ฉบับที่ 4) พ.ศ.2503มาตรา 4
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1505/2516 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจตนาการฝากเงิน: ศาลพิจารณาตัวเลขและตัวหนังสือในเอกสารเพื่อพิสูจน์จำนวนเงินที่แท้จริง
ในกรณีที่ตัวเลขกับตัวหนังสือในเอกสารแตกต่างกันถ้าเป็นเรื่องที่ศาลมิอาจหยั่งทราบเจตนาอันแท้จริงได้จึงให้รับฟังความจริงตามตัวอักษรเป็นประมาณตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 12แต่ถ้าเป็นเรื่องที่อาจนำสืบความจริงให้ปรากฏแก่ศาลได้จะยกเอาประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 12มาบังคับไม่ได้