คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
สุธรรม วรรณแสง

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 442 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 390/2518 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรอนสิทธิจากการซื้อขายรถจักรยานยนต์ที่ถูกขโมย และอายุความของคดีรอนสิทธิ
โจทก์ซื้อรถจักรยานยนต์จากร้านจำเลยร่วม ต่อมาความปรากฏว่ารถคันนั้นเป็นของ ค.ที่หายไป ตำรวจจับจำเลยซึ่งเป็นผู้จัดการร้านจำเลยร่วมเป็นผู้ต้องหาฐานรับของโจทก์และยึดรถคันดังกล่าวไว้ ดังนี้แม้โจทก์จะได้รถจักรยานยนต์จากการซื้อขายในท้องตลาดและมีสิทธิที่จะติดตามเอารถคืนได้ตามประมวล กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1336 ก็ตาม แต่เมื่อปรากฏชัดแจ้งแล้วว่ารถเป็นของ ค.ที่หายไป ซึ่งโจทก์จะต้องคืนให้แก่เจ้าของที่แท้จริงและพนักงานสอบสวนคดีที่จำเลยต้องหาว่ารับของโจรนั้นก็ว่า ถึงโจทก์จะไปขอรับรถจักรยานยนต์นั้นคืนก็ไม่คืนให้ จำเลยในฐานะผู้ขายจึงยังคงต้องรับผิดต่อโจทก์ เพราะทรัพย์สินที่ซื้อขายหลุดไปจากโจทก์ เพราะเหตุแห่งการรอนสิทธิตามมาตรา 479 และแม้โจทก์จะมีสิทธิเรียกร้องเอารถคืนหรือขอให้ชดใช้ราคาจากบุคคลที่อ้างว่าเป็นเจ้าของรถโดยตรงตามมาตรา 1332 ก็มิได้หมายความว่าโจทก์จะใช้สิทธิเรียกร้องจากจำเลยในเหตุรอนสิทธิไม่ได้ เพราะไม่มีกฎหมายห้ามไว้
ความรับผิดในการรอนสิทธิของจำเลยมีมูลมาจากสัญญาซื้อขาย การที่โจทก์ไม่อาจได้กรรมสิทธิ์ในรถจักรยานยนต์และต้องว่าจ้างรถคันอื่นไปใช้งาน จำเลยจึงตกเป็นผู้ผิดสัญญาโจทก์ย่อมมีสิทธิให้จำเลยใช้ราคารถและค่าเสียหายนั้นได้
การยอมตามที่บุคคลภายนอกเรียกร้อง ซึ่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 481 บัญญัติห้ามมิให้ฟ้องคดีในข้อความรับผิดเพื่อการรอนสิทธิเมื่อพ้นกำหนด 3 เดือนนั้น ต้องเป็นการยอมโดยสมัครใจ การที่ตำรวจยึดรถจักรยานยนต์ไปจากโจทก์ด้วยอำนาจของกฎหมายซึ่งโจทก์จำต้องยอมให้ยึด มิฉะนั้นโจทก์อาจจะต้องมีความผิดในทางอาญานั้น ความรับผิดของจำเลยผู้ขายไม่อยู่ในบังคับอายุความตามมาตรา 481 แต่ต้องอยู่ในบังคับอายุความตามมาตรา 165 ซึ่งมีอายุความ 10 ปี
(วรรค 3 วินิจฉัยโดยที่ประชุมใหญ่)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 390/2518

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรอนสิทธิจากการซื้อขายรถจักรยานยนต์คันที่ถูกขโมยมา ผู้ขายต้องรับผิดชอบต่อผู้ซื้อ
โจทก์ซื้อรถจักรยานยนต์จากร้านจำเลยร่วม ต่อมาความปรากฏว่ารถคันนั้นเป็นของ ค. ที่หายไป ตำรวจจับจำเลยซึ่งเป็นผู้จัดการร้านจำเลยร่วมเป็นผู้ต้องหาฐานรับของโจรและยึดรถคันดังกล่าวไว้ ดังนี้แม้โจทก์จะได้รถจักรยานยนต์จากการซื้อขายในท้องตลาดและมีสิทธิที่จะติดตามเอารถคืนได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1336 ก็ตาม แต่เมื่อปรากฏชัดแจ้งแล้วว่ารถเป็นของ ค. ที่หายไป ซึ่งโจทก์จะต้องคืนให้แก่เจ้าของที่แท้จริงและพนักงานสอบสวนคดีที่จำเลยต้องหาว่ารับของโจรนั้นก็ว่าถึงโจทก์จะไปขอรับรถจักรยานยนต์นั้นคืนก็ไม่คืนให้จำเลยในฐานะผู้ขายจึงยังคงต้องรับผิดต่อโจทก์ เพราะทรัพย์สินที่ซื้อขายหลุดไปจากโจทก์ เพราะเหตุแห่งการรอนสิทธิตามมาตรา 479และแม้โจทก์จะมีสิทธิเรียกร้องเอารถคืนหรือขอให้ชดใช้ราคาจากบุคคลที่อ้างว่าเป็นเจ้าของรถโดยตรงตามมาตรา 1372 ก็มิได้หมายความว่าโจทก์จะใช้สิทธิเรียกร้องจากจำเลยในเหตุรอนสิทธิไม่ได้ เพราะไม่มีกฎหมายห้ามไว้
ความรับผิดในการรอนสิทธิของจำเลยมีมูลมาจากสัญญาซื้อขาย การที่โจทก์ไม่อาจได้กรรมสิทธิ์ในรถจักรยานยนต์และต้องว่าจ้างรถคนอื่นไปใช้งาน จำเลยจึงตกเป็นผู้ผิดสัญญาโจทก์ย่อมมีสิทธิให้จำเลยใช้ราคารถและค่าเสียหายนั้นได้
การยอมตามที่บุคคลภายนอกเรียกร้อง ซึ่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 481 บัญญัติห้ามมิให้ฟ้องคดีในข้อความรับผิดเพื่อการรอนสิทธิเมื่อพ้นกำหนด 3 เดือนนั้น ต้องเป็นการยอมโดยสมัครใจ การที่ตำรวจยึดรถจักรยานยนต์ไปจากโจทก์ด้วยอำนาจของกฎหมายซึ่งโจทก์จำต้องยอมให้ยึด มิฉะนั้นโจทก์อาจจะต้องมีความผิดในทางอาญานั้น ความรับผิดของจำเลยผู้ขายไม่อยู่ในบังคับอายุความตามมาตรา 481 แต่ต้องอยู่ในบังคับอายุความตามมาตรา 165ซึ่งมีอายุความ 10 ปี (วรรคสามวินิจฉัยโดยที่ประชุมใหญ่)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 285/2518 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาค้ำประกันเพื่อประโยชน์บุคคลภายนอก ผู้ค้ำประกันต้องรับผิดชอบหนี้ต่อบุคคลภายนอกได้
จำเลยที่ 1 ว่าจ้างโจทก์ให้เป็นผู้จัดการโครงการติดตั้งไฟฟ้าที่จำเลยที่ 1 รับเป็นผู้จัดการให้กับ โอ.ไอ.ซี.ซี.ซึ่งเป็นหน่วยราชการของกองทัพเรือสหรัฐ จำเลยที่ 2 ได้ทำสัญญาค้ำประกันการรับจ้างทำงานของจำเลยที่ 1 ไว้ต่อ โอ.ไอ.ซี.ซี.มีข้อความด้วยว่า "และถ้าหากว่าตัวการ (จำเลยที่1) จะต้องจ่ายเงินให้กับบุคลลใด ๆ อันเป็นบุคคลที่สามโดยทันทีเพื่อค่าอุปกรณ์ ค่าแรงงาน หรือค่าวัสดุเพื่อการดำเนินการในสัญญาตามสัญญานั้น และโดยไม่ต้องมีหนังสือบอกกล่าวการเปลี่ยนแปลงให้ผู้ค้ำประกันทราบ หนังสือฉบับนี้ยังคงให้มีผลบังคับและให้มีอำนาจบังคับได้และจะสิ้นผลบังคับเมื่อตัวการ (จำเลยที่ 1) ได้ปฏิบัติตามสัญญาโดยถูกต้องทุกประการแล้ว" ข้อกำหนดนี้เป็นสัญญาเพื่อประโยชน์ของบุคคลภายนอกตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 374 เมื่อจำเลยที่ 1 ชำระค่าจ้างจ้างให้โจทก์ไม่ครบตามสัญญาโจทก์ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกย่อมมีสิทธิเรียกให้จำเลยที่ 2 ชำระหนี้ให้โจทก์ตามข้อกำหนดในสัญญานี้ได้
แม้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ลักษณะค้ำประกันไม่มีระบุให้ความรับผิดของผู้ค้ำประกันคลุมเลยไปถึง บุคคลที่สามก็ตาม แต่เมื่อจำเลยที่ 2 ทำสัญญามีข้อความผูกพันตนต่อ โอ.ไอ.ซี.ซี. เพื่อชำระหนี้ให้แก่บุคคลที่สามในเมื่อจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นลูกหนี้ไม่ชำระหนี้ให้กับบุคคลนั้นสัญญาดังกล่าวนี้ก็เป็นสัญญาที่มีวัตถุประสงค์ไม่ต้องห้ามตามกฎหมายแต่ อย่างใดจึงมีผลบังคับได้ หาตกเป็นโมฆะไม่
เมื่อจำเลยมิได้ให้การปฏิเสธว่าจำเลยที่ 2 มิได้ทำสัญญาค้ำประกันตามสำเนาท้ายฟ้องโจทก์ศาลก็ย่อมรับฟังสัญญาค้ำประกันนั้นได้ โจทก์ไม่จำเป็นต้องส่งต้นฉบับต่อศาลอีก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 285/2518

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาค้ำประกันเพื่อประโยชน์บุคคลที่สาม: สิทธิเรียกร้องของบุคคลภายนอก & ผลบังคับของสัญญา
จำเลยที่ 1 ว่าจ้างโจทก์ให้เป็นผู้จัดการโครงการติดตั้งไฟฟ้าที่จำเลยที่ 1 รับเป็นผู้จัดทำให้กับ โอ.ไอ.ซี.ซี ซึ่งเป็นหน่วยราชการของกองทัพเรือสหรัฐ จำเลยที่ 2 ได้ทำสัญญาค้ำประกันการรับจ้างทำงานของจำเลยที่ 1 ไว้ต่อ โอ.ไอ.ซี.ซี มีข้อความด้วยว่า 'และถ้าหากว่าตัวการ (จำเลยที่ 1) จะต้องจ่ายเงินให้กับบุคคลใดๆ อันเป็นบุคคลที่สามโดยทันทีเพื่อค่าอุปกรณ์ค่าแรงงาน หรือค่าวัสดุเพื่อการดำเนินการในสัญญาตามสัญญานั้น และโดยไม่ต้องมีหนังสือบอกกล่าวการเปลี่ยนแปลงให้ผู้ค้ำประกันทราบ หนังสือฉบับนี้ยังคงให้มีผลบังคับและให้มีอำนาจบังคับได้ และจะสิ้นผลบังคับเมื่อตัวการ (จำเลยที่ 1) ได้ปฏิบัติตามสัญญาโดยถูกต้องทุกประการแล้ว' ข้อกำหนดนี้เป็นสัญญาเพื่อประโยชน์ของบุคคลภายนอกตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 374 เมื่อจำเลยที่ 1 ชำระค่าจ้างให้โจทก์ไม่ครบตามสัญญาโจทก์ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกย่อมมีสิทธิเรียกให้จำเลยที่ 2 ชำระหนี้ให้โจทก์ตามข้อกำหนดในสัญญานี้ได้
แม้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ลักษณะค้ำประกันไม่มีระบุให้ความรับผิดของผู้ค้ำประกันคลุมเลยไปถึงบุคคลที่สามก็ตามแต่เมื่อจำเลยที่ 2 ทำสัญญามีข้อความผูกพันตนต่อโอ.ไอ.ซี.ซี เพื่อชำระหนี้ให้แก่บุคคลที่สาม ในเมื่อจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นลูกหนี้ไม่ชำระหนี้ให้กับบุคคลนั้นสัญญาดังกล่าวนี้ก็เป็นสัญญาที่มีวัตถุประสงค์ไม่ต้องห้ามตามกฎหมายแต่อย่างใดจึงมีผลบังคับได้ หาตกเป็นโมฆะไม่
เมื่อจำเลยมิได้ให้การปฏิเสธว่าจำเลยที่ 2 มิได้ทำสัญญาค้ำประกันตามสำเนาท้ายฟ้องโจทก์ ศาลก็ย่อมรับฟังสัญญาค้ำประกันนั้นได้ โจทก์ไม่จำเป็นต้องส่งต้นฉบับต่อศาลอีก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 192/2518 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องคดีเช็คและการคิดดอกเบี้ยผิดนัดตามประเพณีธนาคาร
การสลักหลังเช็คซึ่งสั่งจ่ายให้แก่ผู้ถือย่อมเป็นการประกัน (อาวัล) สำหรับผู้สั่งจ่ายตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 921, 989 และตามมาตรา 940 วรรคแรกผู้รับอาวัลย่อมต้องผูกพันเป็นอย่างเดียวกับบุคคลซึ่งตนประกันซึ่งมีความหมายว่าผู้สั่งจ่ายมีความรับผิดต่อผู้ทรงอย่างใดผู้รับอาวัลย่อมต้องมีความรับผิดต่อผู้ทรงเช่นเดียวกันดังนั้นอายุความที่ผู้สลักหลังดังกล่าวจะยกขึ้นต่อสู้ผู้ทรงจึงมีกำหนด 1 ปี นับแต่เช็คถึงกำหนดตามมาตรา 1002 หาใช่ต้องใช้อายุความทั่วไปไม่
จำเลยนำเช็คที่จำเลยลงชื่อสลักหลังมาขายให้ธนาคารโจทก์ โดยจำเลยต้องเสียค่าธรรมเนียมให้แก่ธนาคารโจทก์คิดอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 14 ต่อปีนับแต่วันที่จำเลยรับเงินค่าขายเช็คไปจากธนาคารโจทก์จนถึงวันที่เช็คถึงกำหนด และธนาคารโจทก์ได้หักดอกเบี้ยนี้ไว้แล้วดังนี้เป็นค่าตอบแทนที่ธนาคารโจทก์รับซื้อเช็คไว้เท่านั้น ส่วนดอกเบี้ยระหว่างผิดนัดในกรณีธนาคารโจทก์ขึ้นเงินตามเช็คไม่ได้เมื่อไม่ปรากฏว่าได้มีข้อตกลงไว้โดยชัดแจ้งธนาคารผู้ทรงย่อมเรียกร้องจากจำเลยได้เพียงร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 7 จะนำประเพณีธนาคารในการคิดดอกเบี้ยมาเรียกดอกเบี้ยจากจำเลยร้อยละ 14 ต่อปีหาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 192/2518

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องคดีเช็คและการคิดดอกเบี้ยระหว่างผิดนัดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
การสลักหลังเช็คซึ่งสั่งจ่ายให้แก่ผู้ถือย่อมเป็นการประกัน (อาวัล) สำหรับผู้สั่งจ่ายตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 921,989 และตามมาตรา940 วรรคแรก ผู้รับอาวัลย่อมต้องผูกพันเป็นอย่างเดียวกับบุคคลซึ่งตนประกัน ซึ่งมีความหมายว่าผู้สั่งจ่ายมีความรับผิดต่อผู้ทรงอย่างใด ผู้รับอาวัลย่อมต้องมีความรับผิดต่อผู้ทรงเช่นเดียวกัน ดังนั้นอายุความที่ผู้สลักหลังดังกล่าวจะยกขึ้นต่อสู้ผู้ทรงจึงมีกำหนด 1 ปีนับแต่เช็คถึงกำหนดตามมาตรา 1002 หาใช่ต้องใช้อายุความทั่วไปไม่
จำเลยนำเช็คที่จำเลยลงชื่อสลักหลังมาขายให้ธนาคารโจทก์โดยจำเลยต้องเสียค่าธรรมเนียมให้แก่ธนาคารโจทก์คิดอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 14 ต่อปี นับแต่วันที่จำเลยรับเงินค่าขายเช็คไปจากธนาคารโจทก์จนถึงวันที่เช็คถึงกำหนด และธนาคารโจทก์ได้หักดอกเบี้ยนี้ไว้แล้ว ดังนี้เป็นค่าตอบแทนที่ธนาคารโจทก์รับซื้อเช็คไว้เท่านั้น ส่วนดอกเบี้ยระหว่างผิดนัดในกรณีธนาคารโจทก์ขึ้นเงินตามเช็คไม่ได้ เมื่อไม่ปรากฏว่าได้มีข้อตกลงไว้โดยชัดแจ้งธนาคารผู้ทรงย่อมเรียกร้องจากจำเลยได้เพียงร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 7 จะนำประเพณีธนาคารในการคิดดอกเบี้ยมาเรียกดอกเบี้ยจากจำเลยร้อยละ 14 ต่อปีหาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3019/2517

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องซ้อนหรือไม่? ศาลฎีกาชี้ว่าคดีเดิมและคดีใหม่มีมูลเหตุต่างกัน การฟ้องเรียกค่าเสียหายจากสัญญาเช่าถือเป็นคนละเรื่องกับคดีขอแบ่งทรัพย์
ในคดีก่อนโจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 ขอแบ่งห้องพิพาทกึ่งหนึ่งอ้างว่า เป็นหุ้นส่วนกัน คดีอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกาโจทก์มาฟ้องคดีนี้โดยกล่าวว่าห้องพิพาทเป็นทรัพย์ของห้างหุ้นส่วนระหว่างโจทก์และจำเลยที่ 1 มีผู้จะเช่าตึกพิพาทโดยให้เงินล่วงหน้า 100,000 บาท ค่าเช่าเดือนละ 150 บาท จำเลยจะให้เช่าโดยไม่ยอมแบ่งเงินล่วงหน้าและค่าเช่าให้โจทก์ โจทก์เสนอขอรับส่วนแบ่งผู้เช่าจึงระงับการเช่าไปภายหลังจำเลยที่ 1 ยินยอมให้จำเลยที่ 2 เข้าอยู่ในห้องพิพาทเป็นเหตุให้เสื่อมประโยชน์ของโจทก์ ขอให้ศาลบังคับจำเลยทั้งสองร่วมกันใช้เงินล่วงหน้าในการเข้าอยู่ในห้องพิพาท 50,000 บาท กับผลประโยชน์ที่โจทก์ควรจะได้เดือนละ75 บาท ดังนี้ สภาพแห่งข้อหาและคำขอบังคับตามคำฟ้องในคดีหลังนี้ต่างกับคดีก่อน คดีก่อนโจทก์ขอแบ่งตึกพิพาทอ้างว่าเป็นหุ้นส่วนคดีนี้โจทก์ฟ้องเรียกเงินที่โจทก์ควรจะได้ถ้าจำเลยที่ 1 ไม่เอาตึกพิพาทไปให้จำเลยที่ 2 อยู่ ซึ่งเป็นมูลกรณีที่เกิดขึ้นภายหลังที่โจทก์ฟ้องคดีก่อนและโจทก์ไม่อาจขอแก้ไขเพิ่มเติมฟ้องได้ ทั้งคดีหลังนี้ยังมีข้อหาและคำขอบังคับเอากับจำเลยที่ 2 อีกส่วนหนึ่งด้วย จึงไม่ใช่คำฟ้องเรื่องเดียวกันกับคดีก่อนไม่ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 173(1)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3010/2517

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ประเด็นฟ้องเคลือบคลุมต้องยกขึ้นต่อสู้ตั้งแต่ชั้นต้น หากศาลมิได้กำหนดประเด็นไว้แล้ว จะยกขึ้นในชั้นฎีกาไม่ได้
แม้จำเลยจะให้การต่อสู้ไว้ว่าฟ้องของโจทก์เคลือบคลุมแต่ในชั้นพิจารณาศาลชั้นต้นมิได้กำหนดเป็นประเด็นไว้ คงกำหนดประเด็นที่จะต้องวินิจฉัยในข้ออื่นไว้เพียง 3 ข้อ และจำเลยก็มิได้คัดค้านว่าประเด็นที่ศาลชั้นต้นกำหนดนั้นไม่ถูกต้องแต่ประการใด ดังนี้ จำเลยจะยกขึ้นว่ากล่าวในชั้นฎีกาว่าฟ้องของโจทก์เคลือบคลุมอีกไม่ได้ เพราะไม่เป็นประเด็นที่ได้ว่ากล่าวกันมาในศาลชั้นต้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3010/2517 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ประเด็นฟ้องเคลือบคลุมต้องยกขึ้นว่ากล่าวในชั้นศาลต้น หากไม่ถูกกำหนดเป็นประเด็นวินิจฉัย ย่อมไม่อาจยกขึ้นในชั้นฎีกาได้
แม้จำเลยจะให้การต่อสู้ไว้ว่าฟ้องของโจทก์เคลือบคลุมแต่ในชั้นพิจารณาศาลชั้นต้นมิได้กำหนดเป็นประเด็นไว้ คงกำหนดประเด็นที่จะต้องวินิจฉัยในข้ออื่นไว้เพียง 3 ข้อ และจำเลยก็มิได้คัดค้านว่าประเด็นที่ศาลชั้นต้นกำหนดนั้นไม่ถูกต้องแต่ประการใด ดังนี้ จำเลยจะยกขึ้นว่ากล่าวในชั้นฎีกาว่าฟ้องของโจทก์เคลือบคลุมอีกไม่ได้ เพราะไม่เป็นประเด็นที่ได้ว่ากล่าวกันมาในศาลชั้นต้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2960/2517 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การซื้อขายที่ดินให้คนต่างด้าวผิดกฎหมาย แม้มีสิทธิครอบครองก็ไม่อาจอ้างสิทธิได้
การได้มาซึ่งที่ดิน แม้จะเป็นเพียงสิทธิครอบครองในฐานะเจ้าของก็ต้องตกอยู่ในบังคับของประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 86 ด้วย เมื่อโจทก์ (ซึ่งเป็นคนต่างด้าว) มิได้ยื่นคำขออนุญาตให้ได้มาซึ่งที่พิพาทต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ตามกฎกระทรวง ฉบับที่ 8 (พ.ศ.2497) ออกตามความในพระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายที่ดิน ข้อ 2 และไม่ได้รับอนุญาตจากรัฐมนตรี ตามความในมาตรา 86 แห่งประมวลกฎหมายที่ดินแม้โจทก์จำเลยได้ทำสัญญาซื้อขายและส่งมอบการครอบครองที่ดินต่อกันสัญญาดังกล่าวก็เป็นสัญญาที่มีวัตถุประสงค์เป็นการโอนสิทธิครอบครองให้คนต่างด้าว อันเป็นการต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมาย ขัดต่อประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 86 และ 111 ตกเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 113 โจทก์จึงอ้างว่ามีสิทธิครอบครองอย่างเจ้าของไม่ได้
โจทก์อ้างความเป็นเจ้าของสิทธิครอบครอง จึงมีอำนาจให้เช่าที่พิพาท ไม่ได้อ้างสิทธิอย่างอื่น จำเลยต่อสู้ว่าที่พิพาทไม่ใช่ของโจทก์ เมื่อวินิจฉัยว่าโจทก์ไม่มีสิทธิครอบครองที่พิพาทแล้วโจทก์ก็ไม่มีอำนาจฟ้องขับไล่และให้จำเลยเช่าที่พิพาทกับเรียกค่าเช่าที่ค้างจากจำเลยได้
of 45