คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
สุธรรม วรรณแสง

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 442 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 88/2516

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ศาลฎีกาตัดสินคดีบังคับคดี: การวินิจฉัยนอกฟ้องต้องมีประเด็นข้อพิพาท & การงดสืบพยานต้องโต้แย้งทันที
ข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ซึ่งเป็นข้อยกเว้นให้ศาลยกขึ้นวินิจฉัยชี้ขาดตัดสินคดีไปได้โดยไม่ต้องมีคู่ความฝ่ายใดกล่าวอ้างนั้น จะต้องเป็นข้อกฎหมายที่ได้มาจากข้อเท็จจริงในการดำเนินกระบวนพิจารณาโดยชอบเมื่อคดีไม่มีประเด็นโต้เถียงกันว่าหนี้ที่โจทก์ฟ้องเป็นหนี้รายเดียวกับในคดีเดิม ย่อมไม่มีข้อเท็จจริงที่จะให้วินิจฉัยว่าเป็นหนี้รายเดียวกันและระยะเวลาบังคับคดีได้สิ้นสุดลงแล้วแม้จะเป็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนก็ตาม หากศาลหยิบยกข้อเท็จจริงในคดีอื่นมาวินิจฉัยแล้วมีคำพิพากษาไป ย่อมเป็นการชี้ขาดตัดสินนอกฟ้องนอกประเด็น ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142
คำสั่งศาลชั้นต้นที่ให้งดสืบพยานเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณาศาลชั้นต้นสั่งวันที่ 14 และนัดฟังคำสั่งชี้ขาดตัดสินคดีวันที่ 18 เดือนเดียวกัน คู่ความที่ไม่เห็นด้วยมี โอกาสพอที่จะโต้แย้งคำสั่งนั้นได้ แต่ไม่โต้แย้งไว้ ย่อมไม่มีสิทธิอุทธรณ์คำสั่งนั้น
ผู้ร้องร้องขัดทรัพย์ว่าผู้ร้องมีกรรมสิทธิ์ในที่ดินที่ถูกยึดหนึ่งในสาม ผู้ร้องจึงมีหน้าที่นำสืบก่อน เมื่อไม่มีการสืบพยาน ข้อเท็จจริงย่อมฟังไม่ได้ว่าผู้ร้องมีกรรมสิทธิ์ในที่ดินนั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2849/2515 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ บาดแผลสาหัสและการลดโทษจากคำให้การชั้นสอบสวนที่ไม่เป็นผลต่อการวินิจฉัยความผิด
แม้บาดแผลที่ผู้เสียหายได้รับปรากฏตามรายงานชันสูตรบาดแผลของแพทย์ว่ามีรอยฟกช้ำที่คอ ที่หลัง และที่สะเอว มีโลหิตคั่งภายในช่องท้อง ลำไส้ส่วนนอกฉีกขาด แพทย์ต้องผ่าตัดช่องท้องจะรักษาแผลหายเกินยี่สิบเอ็ดวันก็ตามแต่เมื่อต่อมาราว 7 วันผู้เสียหายได้ผูกคอตายไปเสียก่อน และได้ความตามคำแพทย์ผู้ชันสูตรบาดแผลและเป็นผู้รักษาผู้เสียหายว่าเมื่อผู้เสียหายผูกคอตาย แผลจวนจะหายแล้ว สามารถเดินไปมาได้บ้างหลังจากผ่าตัดแล้วเพียง 3 วัน อาจจะทำงานจักสานได้หลังผ่าตัด10 วันเช่นนี้ แม้ผู้เสียหายจะไม่ถึงแก่ความตายเพราะเหตุอื่นไปก่อนครบ 20 วันหลังจากถูกทำร้าย ก็ยังไม่รับฟังไม่ถนัดว่าผู้เสียหายได้รับบาดเจ็บถึงทุพพลภาพด้วยอาการทุกขเวทนาเกินกว่า 20 วัน จึงไม่ใช่อันตรายสาหัส
เมื่อศาลเชื่อข้อเท็จจริงเป็นดังคำให้การชั้นสอบสวนของจำเลยซึ่งแตกต่างกับคำให้การชั้นศาล แม้คำให้การชั้นสอบสวนนั้นโจทก์เป็นฝ่ายส่งอ้างเพื่อหักล้างคำเบิกความของจำเลยในชั้นศาลก็นับได้ว่าคำให้การชั้นสอบสวนของจำเลยมีประโยชน์แก่การพิจารณาเป็นเหตุปรานีลดโทษให้จำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 78 ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2849/2515

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ บาดแผลสาหัสและการลดโทษจากคำให้การชั้นสอบสวน ศาลฎีกาตัดสินยืนตามศาลอุทธรณ์
แม้บาดแผลที่ผู้เสียหายได้รับปรากฏตามรายงานชันสูตรบาดแผลของแพทย์ว่ามีรอยฟกช้ำที่คอ ที่หลัง และที่สะเอว มีโลหิตคั่งภายในช่องท้อง ลำไส้ส่วนนอกฉีกขาด แพทย์ต้องผ่าตัดช่องท้อง จะรักษาแผลหายเกินยี่สิบเอ็ดวันก็ตามแต่เมื่อต่อมาราว 7 วัน ผู้เสียหายได้ผูกคอตายไปเสียก่อน และได้ความตามคำแพทย์ผู้ชันสูตรบาดแผลและเป็นผู้รักษาผู้เสียหายว่าเมื่อผู้เสียหายผูกคอตาย แผลจวนจะหายแล้ว สามารถเดินไปมาได้บ้างหลังจากผ่าตัดแล้วเพียง3 วัน อาจจะทำงานจักสานได้หลังผ่าตัด 10 วันเช่นนี้ แม้ผู้เสียหายจะไม่ถึงแก่ความตายเพราะเหตุอื่นไปก่อนครบ 20 วันหลังจากถูกทำร้าย ก็ยังไม่รับฟังไม่ถนัดว่าผู้เสียหายได้รับบาดเจ็บถึงทุพพลภาพด้วยอาการทุกขเวทนาเกินกว่า 20 วัน จึงไม่ใช่อันตรายสาหัส
เมื่อศาลเชื่อข้อเท็จจริงเป็นดังคำให้การชั้นสอบสวนของจำเลยซึ่งแตกต่างกับคำให้การชั้นศาล แม้คำให้การชั้นสอบสวนนั้นโจทก์เป็นฝ่ายส่งอ้างเพื่อหักล้างคำเบิกความของจำเลยในชั้นศาล ก็นับได้ว่าคำให้การชั้นสอบสวนของจำเลยมีประโยชน์แก่การพิจารณา เป็นเหตุปรานีลดโทษให้จำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 78 ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2724/2515 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การตั้งผู้จัดการมรดกเมื่อมีข้อขัดข้องในการจัดการทรัพย์สินและข้อโต้แย้งเรื่องพินัยกรรม
ผู้ร้องยื่นคำร้องว่า ผู้ตายได้ทำพินัยกรรมตั้งผู้ร้องกับ น.เป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตาย แต่ผู้ตายมีหรือเคยมีบัญชีเงินฝากในธนาคารต่างๆ การที่จะสอบสวนบัญชีเงินฝากธนาคารของผู้ตาย เพื่อจัดการมรดก จะต้องมีคำสั่งของศาลก่อน ดังนี้ถือได้ว่ามีเหตุขัดข้องในการจัดการตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1713 (2) แล้ว นอกจากนี้ การที่ผู้ร้องกล่าวในคำร้องอีกว่าหากผลการไต่สวนของศาลปรากฏว่าพินัยกรรมไม่สมบูรณ์หรืออาจจะด้วยประการใดก็ตาม ไม่สามารถจะใช้ประโยชน์แห่งพินัยกรรมได้ก็ขอให้ตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกโดยไม่มีพินัยกรรม ซึ่งผู้คัดค้านไว้ด้วยว่า พินัยกรรมของผู้ตายเป็นพินัยกรรมปลอมกรณีต้องด้วยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1713 (3) ดังนี้ ผู้ร้องชอบที่จะใช้สิทธิทางศาล ขอให้ตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกรายนี้ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2724/2515

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจัดการมรดก: เหตุขัดข้องในการจัดการทรัพย์สิน และสิทธิของผู้ร้องในการขอให้ศาลตั้งผู้จัดการมรดก
ผู้ร้องยื่นคำร้องว่า ผู้ตายได้ทำพินัยกรรมตั้งผู้ร้องกับ น. เป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตาย แต่ผู้ตายมีหรือเคยมีบัญชีเงินฝากในธนาคารต่างๆ การที่จะสอบสวนบัญชีเงินฝากธนาคารของผู้ตายเพื่อจัดการมรดก จะต้องมีคำสั่งของศาลก่อน ดังนี้ถือได้ว่า มีเหตุขัดข้องในการจัดการตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1713(2) แล้ว นอกจากนี้ การที่ผู้ร้องกล่าวในคำร้องอีกว่า หากผลการไต่สวนของศาลปรากฏว่าพินัยกรรมไม่สมบูรณ์หรืออาจจะด้วยประการใดก็ตาม ไม่สามารถจะใช้ประโยชน์แห่งพินัยกรรมได้ ก็ขอให้ตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกโดยไม่มีพินัยกรรม ซึ่งผู้คัดค้านไว้ด้วยว่า พินัยกรรมของผู้ตายเป็นพินัยกรรมปลอมกรณีต้องด้วยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1713(3) ดังนี้ ผู้ร้องชอบที่จะใช้สิทธิทางศาล ขอให้ตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกรายนี้ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2502/2515

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแจ้งความเท็จเกี่ยวกับความผิดอาญา: ความสมบูรณ์ของฟ้อง และการปรับบทความผิด
บรรยายฟ้องว่า จำเลยแจ้งต่อพนักงานสอบสวนว่าเห็น ร. ร่วมกับ ส.ลักทรัพย์ซึ่งความจริงแล้วจำเลยได้เห็นส.คนเดียวลักทรัพย์ มิได้เห็น ร. ร่วมลักทรัพย์ด้วย ดังนี้ เป็นการบรรยายข้อความที่เป็นเท็จและที่เป็นจริงไว้ชัดแล้วว่า ความจริงจำเลยมิได้เห็น ร. ร่วมกับ ส. ลักทรัพย์ แต่ได้แจ้งข้อความอันเป็นเท็จว่าได้เห็น ร.ร่วมกับส. ลักทรัพย์ เป็นฟ้องที่สมบูรณ์แล้ว ไม่ใช่ว่าความจริงหรือเท็จจะอยู่ตรงที่ว่า ร. ได้ร่วมกับ ส. ลักทรัพย์หรือไม่เท่านั้น
บรรยายฟ้องว่า "จำเลยบังอาจแจ้งข้อความอันเป็นเท็จ ฯลฯ"ย่อมมีความหมายอยู่ในตัวแล้วว่าจำเลยมีเจตนากระทำความผิดกล่าวคือ เมื่อจำเลยแจ้งข้อความตามฟ้องนั้น จำเลยรู้อยู่แล้วว่า ข้อความที่จำเลยแจ้งเป็นความเท็จ แม้โจทก์มิได้บรรยายฟ้องอีกว่า จำเลยรู้อยู่แล้วว่าข้อความนั้นข้อความนั้นเป็นเท็จ ก็เป็นฟ้องที่สมบูรณ์แล้ว
การที่จำเลยแจ้งข้อความอันเป็นเท็จเกี่ยวกับความผิดอาญาแก่พนักงานสอบสวนนั้นเป็นความผิดตามมาตรา 172 และ 174ซึ่งบัญญัติเป็นความผิดไว้โดยเฉพาะแล้ว ย่อมไม่เป็นความผิดตามมาตรา 137 ซึ่งเป็นบทบัญญัติว่าด้วยการแจ้งข้อความอันเป็นเท็จแก่เจ้าพนักงานทั่วๆ ไปอีก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2502/2515 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแจ้งความเท็จต่อพนักงานสอบสวน: ความสมบูรณ์ของฟ้องและการปรับบทความผิด
บรรยายฟ้องว่า จำเลยแจ้งต่อพนักงานสอบสวนว่าเห็น ร. ร่วมกับ ส. ลักทรัพย์ ซึ่งความจริงแล้วจำเลยได้เห็น ส.คนเดียวลักทรัพย์ มิได้เห็น ร. ร่วมลักทรัพย์ด้วย ดังนี้เป็นการบรรยายข้อความที่เป็นเท็จและที่เป็นจริงไว้ชัดแล้วว่าความจริงจำเลยมิได้เห็น ร. ร่วมกับ ส. ลักทรัพย์แต่ได้แจ้งข้อความอันเป็นเท็จว่าได้เห็น ร. ร่วมกับ ส.ลักทรัพย์ เป็นฟ้องที่สมบูรณ์แล้ว ไม่ใช่ว่าความจริงหรือเท็จจะอยู่ตรงที่ว่า ร. ได้ร่วมกับ ส. ลักทรัพย์หรือไม่เท่านั้น
บรรยายฟ้องว่า "จำเลยบังอาจแจ้งข้อความอันเป็นเท็จ ฯลฯ"ย่อมมีความหมายอยู่ในตัวแล้วว่าจำเลยมีเจตนากระทำความผิดกล่าวคือ เมื่อจำเลยแจ้งข้อความตามฟ้องนั้น จำเลยรู้อยู่แล้วว่าข้อความที่จำเลยแจ้งเป็นความเท็จ แม้โจทก์มิได้บรรยายฟ้องอีกว่าจำเลยรู้อยู่แล้วว่าข้อความนั้นเป็นเท็จ ก็เป็นฟ้องที่สมบูรณ์แล้ว
การที่จำเลยแจ้งข้อความอันเป็นเท็จเกี่ยวกับความผิดอาญาแก่พนักงานสอบสวนนั้นเป็นความผิดตามมาตรา 172 และ 174ซึ่งบัญญัติเป็นความผิดไว้โดยเฉพาะแล้ว ย่อมไม่เป็นความผิดตามมาตรา 137 ซึ่งเป็นบทบัญญัติว่าด้วยการแจ้งข้อความอันเป็นเท็จแก่เจ้าพนักงานทั่วๆ ไปอีก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2401/2515

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เงินสังขารานุเคราะห์เมื่อผู้รับประโยชน์เสียชีวิตก่อนสมาชิก: สิทธิทายาทและหน้าที่ของหน่วยงาน
ผู้ตายเป็นสมาชิกขององค์การสงเคราะห์ข้าราชการกรมไปรษณีย์โทรเลขระบุชื่อ ส. บิดาเป็นผู้รับประโยชน์เงินสังขารานุเคราะห์ไว้ ตามข้อบังคับ ย่อมมีผลว่า กรมไปรษณีย์โทรเลข โดยองค์การดังกล่าวได้ทำสัญญาว่า จะชำระหนี้แก่ ส. บุคคลภายนอกสิทธิของ ส. จะเกิดมีขึ้นตั้งแต่เวลาที่แสดงเจตนาแก่ลูกหนี้ว่าจะถือเอาประโยชน์จากสัญญานั้น เมื่อ ส. ตายเสียก่อนโดยมิได้แสดงเจตนาว่าจะถือเอาประโยชน์จากสัญญาสิทธิของ ส.ในเงินสังขารานุเคราะห์จึงยังไม่เกิดขึ้นและไม่อาจตกทอดเป็นทรัพย์มรดกไปยังทายาทของ ส.
เงินสังขารานุเคราะห์เป็นเงินที่ผู้รับประโยชน์จะได้รับหลังจากที่สมาชิกขององค์การสงเคราะห์ข้าราชการกรมไปรษณีย์โทรเลขถึงแก่ความตายแล้ว มิใช่ทรัพย์สินที่สมาชิกผู้ตายมีอยู่ในขณะที่ถึงแก่ความตาย จึงไม่เป็นมรดกของผู้ตาย
(อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 132/2507)
ตามข้อบังคับกรมไปรษณีย์โทรเลข เมื่อสมาชิกตาย ให้จ่ายเงินสังขารานุเคราะห์แก่ผู้รับประโยชน์ซึ่งสมาชิกผู้ตายได้ระบุชื่อไว้ แต่เมื่อผู้รับประโยชน์นั้นตายก่อนสมาชิก ย่อมไม่มีตัวผู้รับประโยชน์ที่จะรับเงินสังขารานุเคราะห์ได้ตามข้อบังคับ แม้เงินสังขารานุเคราะห์จะมิใช่ทรัพย์มรดกของสมาชิกผู้ถึงแก่ความตาย แต่ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 6 ลักษณะมรดกเป็นบทกฎหมายที่ใกล้เคียงอย่างยิ่งในอันที่จะใช้บังคับ เงินสังขารานุเคราะห์ดังกล่าวจึงควรจ่ายให้แก่ทายาทโดยธรรมของสมาชิกผู้ตาย เสมือนหนึ่งทรัพย์มรดก
กรมไปรษณีย์โทรเลขจำเลยให้การว่า ได้จ่ายเงินสังขารานุเคราะห์ให้แก่ทายาทของผู้รับประโยชน์เป็นการถูกต้องตามข้อบังคับแล้ว เท่ากับรับว่าองค์การสงเคราะห์ข้าราชการกรมไปรษณีย์โทรเลขอยู่ในความรับผิดชอบของกรมไปรษณีย์โทรเลข จะมายกข้อโต้แย้งขึ้นในชั้นฎีกาว่ากรมไปรษณีย์โทรเลข ไม่ ต้องรับผิดจ่ายเงินสังขารานุเคราะห์ หาได้ไม่
(วรรคหนึ่งถึงสามวินิจฉัยโดยที่ประชุมใหญ่ครั้งที่23/2515)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2401/2515 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เงินสังขารานุเคราะห์: การจ่ายเงินให้ทายาทเมื่อผู้รับประโยชน์และสมาชิกถึงแก่กรรมก่อนเวลาอันควร
ผู้ตายเป็นสมาชิกขององค์การสงเคราะห์ข้าราชการกรมไปรษณีย์โทรเลขระบุชื่อ ส. บิดาเป็นผู้รับประโยชน์เงินสังขารานุเคราะห์ไว้ ตามข้อบังคับ ย่อมมีผลว่ากรมไปรษณีย์โทรเลข โดยองค์การดังกล่าวได้ทำสัญญาว่าจะชำระหนี้แก่ ส. บุคคลภายนอกสิทธิของ ส. จะเกิดมีขึ้นตั้งแต่เวลาที่แสดงเจตนาแก่ลูกหนี้ว่าจะถือเอาประโยชน์จากสัญญานั้น เมื่อ ส. ตายเสียก่อนโดยมิได้แสดงเจตนาว่าจะถือเอาประโยชน์จากสัญญาสิทธิของ ส. ในเงินสังขารานุเคราะห์จึงยังไม่เกิดขึ้นและไม่อาจตกทอดเป็นทรัพย์มรดกไปยังทายาทของ ส.
เงินสังขารานุเคราะห์เป็นเงินที่ผู้รับประโยชน์จะได้รับหลังจากที่สมาชิกขององค์การสงเคราะห์ข้าราชการกรมไปรษณีย์โทรเลขถึงแก่ความตายแล้ว มิใช่ทรัพย์สินที่สมาชิกผู้ตายมีอยู่ในขณะที่ถึงแก่ความตาย จึงไม่เป็นมรดกของผู้ตาย
(อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 132/2507)
ตามข้อบังคับกรมไปรษณีย์โทรเลข เมื่อสมาชิกตาย ให้จ่าย เงินสังขารานุเคราะห์แก่ผู้รับประโยชน์ซึ่งสมาชิกผู้ตายได้ระบุชื่อไว้แต่เมื่อผู้รับประโยชน์นั้นตายก่อนสมาชิก ย่อมไม่มีตัวผู้รับประโยชน์ที่จะรับเงินสังขารานุเคราะห์ได้ตามข้อบังคับ แม้เงินสังขารานุเคราะห์จะมิใช่ทรัพย์มรดกของสมาชิกผู้ถึงแก่ความตายแต่ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 6 ลักษณะมรดกเป็นบทกฎหมายที่ใกล้เคียงอย่างยิ่งในอันที่จะใช้บังคับเงินสังขารานุเคราะห์ดังกล่าวจึงควรจ่ายให้แก่ทายาทโดยธรรมของสมาชิกผู้ตาย เสมือนหนึ่งทรัพย์มรดก
กรมไปรษณีย์โทรเลขจำเลยให้การว่า ได้จ่ายเงินสังขารานุเคราะห์ให้แก่ทายาทของผู้รับประโยชน์เป็นการถูกต้องตามข้อบังคับแล้วเท่ากับรับว่าองค์การสงเคราะห์ข้าราชการกรมไปรษณีย์โทรเลขอยู่ในความรับผิดชอบของกรมไปรษณีย์โทรเลข จะมายกข้อโต้แย้งขึ้นในชั้นฎีกาว่ากรมไปรษณีย์โทรเลข ไม่ ต้องรับผิดจ่ายเงินสังขารานุเคราะห์ หาได้ไม่
(วรรคหนึ่งถึงสามวินิจฉัยโดยที่ประชุมใหญ่ครั้งที่23/2515)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2362/2515

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง เมื่อโจทก์ฟ้องรวมทุนทรัพย์เกิน 5,000 บาท คดีมรดก
โจทก์ 4 คน ร่วมกันฟ้องขอให้จำเลยแบ่งทรัพย์โดยตั้งทุนทรัพย์รวมกันเป็นเงิน 6,514 บาท ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์พิพากษาให้แบ่งทรัพย์พิพาทออกเป็น 9 ส่วนให้โจทก์ได้คนละ 1 ส่วน ดังนี้ เมื่อโจทก์ทั้ง 4 ฟ้องรวมกันเป็นเงินเกินกว่า 5,000 บาทแล้ว จำเลยย่อมฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงได้
(ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 5/2515)
of 45