คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
สุธรรม วรรณแสง

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 442 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2362/2515 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงเมื่อทุนทรัพย์ฟ้องร้องเกิน 5,000 บาท คดีมรดกและการแบ่งทรัพย์
โจทก์ 4 คน ร่วมกันฟ้องขอให้จำเลยแบ่งทรัพย์โดยตั้งทุนทรัพย์รวมกันเป็นเงิน 6,514 บาท ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์พิพากษาให้แบ่งทรัพย์พิพาทออกเป็น 9 ส่วนให้โจทก์ได้คนละ 1 ส่วน ดังนี้ เมื่อโจทก์ทั้ง 4 ฟ้องรวมกันเป็นเงินเกินกว่า 5,000 บาทแล้ว จำเลยย่อมฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงได้
(ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 5/2515)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2326/2515

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การว่าจ้างทวงหนี้และการหักเงินค่าจ้าง มิใช่ความผิดฐานยักยอกทรัพย์ หากมีเจตนาเปิดเผยและได้รับความยินยอม
โจทก์ฟ้องจำเลยต่อศาลแขวงหาว่ายักยอกทรัพย์ ศาลแขวงพิพากษายกฟ้องโจทก์ในปัญหาข้อกฎหมาย โจทก์อุทธรณ์ในปัญหาข้อกฎหมายที่ศาลชั้นต้นชี้ขาด แต่ศาลอุทธรณ์เห็นว่าข้อเท็จจริงควรฟังเป็นอีกอย่างหนึ่ง แต่มิได้ย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นวินิจฉัย ศาลอุทธรณ์ได้วินิจฉัยข้อเท็จจริงเสียเอง แล้วพิพากษายกฟ้องโจทก์ในปัญหาข้อเท็จจริง ที่ศาลอุทธรณ์ฟังใหม่นั้นโจทก์ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงดังกล่าวนั้นได้ ศาลฎีกาวินิจฉัยปัญหาข้อเท็จจริงให้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2326/2515 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การมอบหมายทวงหนี้และเจตนายักยอก: การวินิจฉัยข้อเท็จจริงและการยอมรับค่าจ้าง
โจทก์ฟ้องจำเลยต่อศาลแขวงหาว่ายักยอกทรัพย์ศาลแขวงพิพากษายกฟ้องโจทก์ในปัญหาข้อกฎหมาย โจทก์อุทธรณ์ในปัญหาข้อกฎหมายที่ศาลชั้นต้นชี้ขาด แต่ศาลอุทธรณ์เห็นว่าข้อเท็จจริงควรฟังเป็นอีกอย่างหนึ่ง แต่มิได้ย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นวินิจฉัย ศาลอุทธรณ์ได้วินิจฉัยข้อเท็จจริงเสียเองแล้วพิพากษายกฟ้องโจทก์ในปัญหาข้อเท็จจริง ที่ศาลอุทธรณ์ฟังใหม่นั้นโจทก์ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงดังกล่าวนั้นได้ศาลฎีกาวินิจฉัยปัญหาข้อเท็จจริงให้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2247/2515

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ โทษตาม พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ.2469: ปรับรวมสำหรับความผิดครั้งเดียว
โทษตามพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2469 มาตรา 27 ทวิแม้จะมิได้บัญญัติว่าสำหรับความผิดครั้งหนึ่ง ๆ เหมือนดังที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2469 มาตรา 27 ก็ตามก็มีความหมายว่าเป็นโทษสำหรับความผิดครั้งหนึ่ง ๆ เช่นเดียวกัน จึงต้องปรับจำเลยทุกคนรวมกัน จะนำเอาประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 31 ที่ให้ปรับเรียงตามตัวบุคคลมาในกรณีนี้ไม่ได้เพราะ พระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2469 ได้บัญญัติไว้เป็นพิเศษแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2198/2515

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยื่นคำให้การโดยทนาย แม้ไม่มีลายมือชื่อจำเลย ศาลถือว่าชอบแล้ว และขอบเขตการฟ้องขับไล่ต้องชัดเจน
จำเลยหรือทนายจำเลยไม่ได้ลงชื่อในฐานะจำเลยในคำให้การเป็นแต่ทนายจำเลยเซ็นชื่อเป็นผู้เรียงพิมพ์ และเซ็นไว้ ว่า รอฟังคำสั่งอยู่ ศาลชั้นต้นตรวจสั่งรับคำให้การไว้แล้ว เมื่อโจทก์ยื่นคำร้องคัดค้าน ศาลชั้นต้นสั่งไว้ในคำร้องอีกว่า พอถือได้ว่าทนายจำเลยได้ลงชื่อในคำให้การจำเลยโดยชอบแล้ว ดังนี้ ถือไม่ได้ว่าจำเลยขาดนัดยื่นคำให้การ
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยอาศัยบ้านของโจทก์ แต่ขอให้ขับไล่จำเลยและบริวารออกจากที่ดินที่โจทก์เช่ามาด้วย โดยมิได้อ้างว่าจำเลยอาศัยที่ดินที่โจทก์เช่าแต่อย่างใด ดังนี้ ศาลจะบังคับให้จำเลยออกไปจากที่ดินที่โจทก์เช่าไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2198/2515 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยื่นคำให้การโดยทนาย และการบังคับคดีขับไล่เฉพาะส่วนที่ฟ้องร้อง
จำเลยหรือทนายจำเลยไม่ได้ลงชื่อในฐานะจำเลยในคำให้การเป็นแต่ทนายจำเลยเซ็นชื่อเป็นผู้เรียงพิมพ์ และเซ็นไว้ ว่า รอฟังคำสั่งอยู่ศาลชั้นต้นตรวจสั่งรับคำให้การไว้แล้ว เมื่อโจทก์ยื่นคำร้องคัดค้านศาลชั้นต้นสั่งไว้ในคำร้องอีกว่า พอถือได้ว่าทนายจำเลยได้ลงชื่อในคำให้การจำเลยโดยชอบแล้ว ดังนี้ ถือไม่ได้ว่าจำเลยขาดนัดยื่นคำให้การ
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยอาศัยบ้านของโจทก์ แต่ขอให้ขับไล่จำเลยและบริวารออกจากที่ดินที่โจทก์เช่ามาด้วย โดยมิได้อ้างว่าจำเลยอาศัยที่ดินที่โจทก์เช่าแต่อย่างใด ดังนี้ ศาลจะบังคับให้จำเลยออกไปจากที่ดินที่โจทก์เช่าไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2195/2515 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความแตกต่างวันเกิดเหตุในฟ้อง ไม่เป็นเหตุให้ยกฟ้อง หากจำเลยไม่หลงต่อสู้
ในคดีความผิดฐานปล้นทรัพย์ แม้ข้อเท็จจริงที่ปรากฏในการพิจารณาว่าเกิดเหตุวันที่ 8 ธันวาคม 2513 แตกต่างกับข้อเท็จจริงที่โจทก์กล่าวในฟ้องว่าเกิดเหตุวันที่ 7 ธันวาคม 2513ก็จริง แต่ก็มิใช่เป็นข้อแตกต่างในสารสำคัญ เพราะวันเวลาที่เกิดเหตุเป็นเพียงรายละเอียดที่โจทก์จะต้องกล่าวในฟ้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 158 เท่านั้นและเมื่อจำเลยมิได้หลงต่อสู้ ก็จะยกฟ้องด้วยเหตุนี้ไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2195/2515

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ วันเวลาเกิดเหตุในฟ้องเป็นรายละเอียดไม่สำคัญ หากจำเลยไม่หลงต่อสู้ ศาลไม่ยกฟ้อง
ในคดีความผิดฐานปล้นทรัพย์ แม้ข้อเท็จจริงที่ปรากฏในการพิจารณาว่าเกิดเหตุวันที่ 8 ธันวาคม 2513 แตกต่างกับข้อเท็จจริงที่โจทก์กล่าวในฟ้องว่าเกิดเหตุวันที่ 7 ธันวาคม 2513 ก็จริง แต่ก็มิใช่เป็นข้อแตกต่างในสารสำคัญ เพราะวันเวลาที่เกิดเหตุเป็นเพียงรายละเอียดที่โจทก์จะต้องกล่าวในฟ้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 158 เท่านั้น และเมื่อจำเลยมิได้หลงต่อสู้ ก็จะยกฟ้องด้วยเหตุนี้ไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2067/2515

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขายแสตมป์ปลอมมีความผิดอาญา แม้ไม่ได้เป็นผู้ปลอมแปลง
ผู้ใช้ ขาย เสนอขาย แลกเปลี่ยนหรือเสนอแลกเปลี่ยนซึ่งแสตมป์ ซึ่งรู้ว่าปลอมแม้จะมิได้ทำปลอมขึ้นเองก็มีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 257

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2010/2515

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องเรียกทรัพย์คืนและการเรียกร้องค่าเสียหายจากการละเมิด: การนับอายุความเริ่มต้นเมื่อใด
การฟ้องเรียกทรัพย์คืนจากจำเลยซึ่งเอาของโจทก์ไปโดยละเมิดนั้นไม่อยู่ในบังคับอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 448
การเรียกร้องเอาค่าเสียหายจากจำเลยเพราะเหตุที่ได้ยึดเอกสารสิทธิและเช็คไปจากโจทก์ (แล้วไม่ยอมคืนจนคดีขาดอายุความ และหมดสิทธิที่จะขอรับเงินจากธนาคาร) นั้นโจทก์จะมีสิทธิเรียกค่าสินไหมทดแทนเพื่อละเมิดก็ต่อเมื่อความเสียหายเกิดขึ้นจริง จึงต้องนับอายุความแต่วันที่เกิดความเสียหายแก่โจทก์ มิใช่นับแต่วันรู้ถึงการกระทำผิดกฎหมาย และรู้ตัวผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทน
of 45