พบผลลัพธ์ทั้งหมด 442 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2092/2517 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิการบังคับคดีของบุคคลภายนอกคดี ผู้ซื้อที่ดินจากการขายทอดตลาดไม่มีอำนาจบังคับจำเลย
ผู้ร้องยื่นคำแถลงต่อศาลว่า ศาลมีคำสั่งให้จำเลยขนย้ายเครื่องจักรออกจากที่ดินที่ผู้ร้องซื้อจากการขายทอดตลาดของศาลครบกำหนดแล้วจำเลยไม่ขนย้าย ผู้ร้องจึงทำการขนย้ายเครื่องจักรออกไปฝากคลังสินค้า โดยผู้ร้องเสียค่าใช้จ่ายและค่าเช่าโกดังขอให้จำเลยชำระ ศาลชั้นต้นสั่งให้จำเลยปฏิบัติ แต่ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้คำสั่งศาลชั้นต้นให้ผู้ร้องรับผิดค่าใช้จ่ายในการขนย้ายเครื่องจักรและค่ารักษาที่ฝากคลังสินค้าถึงวันอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ ส่วนค่ารักษาเครื่องจักรนับแต่วันอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ถึงวันรับเครื่องจักรคืนจากคลังสินค้าให้จำเลยรับผิดคำสั่งศาลชั้นต้นและคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ดังกล่าวเป็นการบังคับผู้ร้องและจำเลยให้ต้องรับผิดปฏิบัติตามคำสั่งและคำพิพากษาแต่ปรากฏว่าผู้ร้องเป็นผู้ซื้อที่ดินได้จากการขายทอดตลาดของศาลหาใช่เป็นผู้มีอำนาจขอให้บังคับจำเลยได้ไม่ เพราะผู้ร้องมิใช่คู่ความหรือบุคคลผู้เป็นฝ่ายชนะ (เจ้าหนี้ตามคำพิพากษา) แต่เป็นบุคคลภายนอกคดีไม่มีสิทธิบังคับคดีในคดีนี้ได้ เมื่อมีข้อโต้แย้งสิทธิเกิดขึ้นระหว่างผู้ร้องกับจำเลย ผู้ร้องก็ชอบที่จะฟ้องจำเลยเป็นคดีต่างหากจากคดีเดิมจะใช้สิทธิขอบังคับจำเลยในคดีนี้ไม่ได้ ศาลชอบที่จะยกคำแถลงของผู้ร้องเสียแต่ต้นเมื่อตามกฎหมายผู้ร้องไม่มีอำนาจขอให้ศาลบังคับจำเลยในคดีนี้ได้แล้ว แม้จำเลยจะมิได้ฎีกาในข้อที่ศาลอุทธรณ์ให้ต้องรับผิดก็ตาม กรณีเป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนศาลฎีกาเห็นสมควรยกขึ้นวินิจฉัยให้จำเลยไม่ต้องรับผิดได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2061/2517
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
นายจ้างไม่ต้องรับผิดร่วมในละเมิดของลูกจ้าง หากข้อเท็จจริงยังไม่ยุติว่าลูกจ้างเป็นฝ่ายประมาท
ในคดีอาญา ศาลพิพากษาให้จำคุกจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นลูกจ้างจำเลยที่ 2 ที่ 3 ในข้อหาขับรถยนต์โดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นได้รับอันตรายสาหัส คดีถึงที่สุดคำพิพากษาในคดีอาญาดังกล่าวไม่มีผลผูกพันจำเลยที่ 2, ที่ 3 ซึ่งมิได้ถูกฟ้องคดีอาญานั้นด้วย (อ้างฎีกาที่338/2516) จำเลยที่ 2 ที่ 3 ยังอาจยกข้อต่อสู้และนำสืบในคดีแพ่งได้ว่า จำเลยที่ 1 มิได้เป็นฝ่ายทำละเมิดต่อโจทก์ หากแต่โจทก์ที่ 2 เป็นฝ่ายขับรถโดยประมาทเอง หาได้ถูกกฎหมายปิดปากมิให้นำสืบโต้เถียงข้อเท็จจริงเป็นอย่างอื่นดังคดีเฉพาะตัวจำเลยที่ 1 ไม่การที่จำเลยที่ 2 ที่ 3 ไม่อุทธรณ์คำพิพากษาศาลชั้นต้นก็เพราะศาลชั้นต้นมิได้บังคับให้จำเลยที่ 2 ที่ 3ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้โจทก์ แต่จำเลยที่ 2 ที่ 3ก็ได้ยื่นคำแก้อุทธรณ์ว่าโจทก์ที่ 2 เป็นฝ่ายประมาทแต่ฝ่ายเดียว คำแก้อุทธรณ์ของจำเลยที่ 2 ที่ 3 จึงเป็นการตั้งประเด็นในชั้นอุทธรณ์ว่าจำเลยที่ 1 มิใช่เป็นฝ่ายทำละเมิด ศาลอุทธรณ์จะวินิจฉัยให้จำเลยที่ 2 ที่ 3 รับผิดร่วมกับจำเลยที่ 1 โดยอาศัยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 425 ในเมื่อคดีเฉพาะตัวจำเลยที่ 2 ที่ 3 ข้อเท็จจริงยังไม่ยุติว่าจำเลยที่1 เป็นผู้กระทำละเมิดต่อโจทก์หาได้ไม่ ชอบที่ศาลอุทธรณ์จะฟังข้อเท็จจริงในประเด็นที่ว่าโจทก์ที่ 2หรือจำเลยที่ 1 เป็นฝ่ายประมาทขับรถยนต์โดยประมาทเสียก่อน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2061/2517 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
นายจ้างต้องรับผิดร่วมกับลูกจ้างในความผิดละเมิด หากศาลยังไม่ได้ยุติว่าลูกจ้างเป็นฝ่ายประมาท
ในคดีอาญาศาลพิพากษาให้จำคุกจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นลูกจ้างจำเลยที่ 2 ที่ 3 ในข้อหาขับรถยนต์โดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นได้รับอันตรายสาหัส คดีถึงที่สุดคำพิพากษาในคดีอาญาดังกล่าวไม่มีผลผูกพันจำเลยที่ 2, ที่ 3 ซึ่งมิได้ถูกฟ้องคดีอาญานั้นด้วย (อ้างฎีกาที่338/2516) จำเลยที่ 2 ที่ 3 ยังอาจยกข้อต่อสู้และนำสืบในคดีแพ่งได้ว่า จำเลยที่ 1 มิได้เป็นฝ่ายทำละเมิดต่อโจทก์หากแต่โจทก์ที่ 2 เป็นฝ่ายขับรถโดยประมาทเอง หาได้ถูกกฎหมายปิดปากมิให้นำสืบโต้เถียงข้อเท็จจริงเป็นอย่างอื่นดังคดีเฉพาะตัวจำเลยที่ 1 ไม่การที่จำเลยที่ 2 ที่ 3 ไม่อุทธรณ์คำพิพากษาศาลชั้นต้นก็เพราะศาลชั้นต้นมิได้บังคับให้จำเลยที่ 2 ที่ 3 ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้โจทก์ แต่จำเลยที่ 2 ที่ 3 ก็ได้ยื่นคำแก้อุทธรณ์ว่าโจทก์ที่ 2 เป็นฝ่ายประมาทแต่ฝ่ายเดียว คำแก้อุทธรณ์ของจำเลยที่ 2 ที่ 3 จึงเป็นการตั้งประเด็นในชั้นอุทธรณ์ว่าจำเลยที่ 1 มิใช่เป็นฝ่ายทำละเมิด ศาลอุทธรณ์จะวินิจฉัยให้จำเลยที่ 2 ที่ 3 รับผิดร่วมกับจำเลยที่ 1 โดยอาศัยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 425 ในเมื่อคดีเฉพาะตัวจำเลยที่ 2 ที่ 3 ข้อเท็จจริงยังไม่ยุติว่าจำเลยที่ 1 เป็นผู้กระทำละเมิดต่อโจทก์หาได้ไม่ชอบที่ศาลอุทธรณ์จะฟังข้อเท็จจริงในประเด็นที่ว่าโจทก์ที่ 2 หรือจำเลยที่ 1 เป็นฝ่ายประมาทขับรถยนต์โดยประมาทเสียก่อน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1972/2517
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเผยแพร่ข้อความต่อสาธารณชนโดยสุจริตเพื่อปกป้องผลประโยชน์ตนเองและสหกรณ์ ไม่ถือเป็นความผิดฐานหมิ่นประมาท
โจทก์เป็นสมาชิกสหกรณ์และเป็นประธานกรรมการจัดซื้อที่ดินเพื่อสหกรณ์ โดยมีสมาชิกเป็นกรรมการอีก 11 คน จำเลยที่ 1 เป็นสมาชิกสหกรณ์ และเป็นนักข่าวหนังสือพิมพ์ จำเลยที่ 2 เป็นบรรณาธิการหนังสือพิมพ์ จำเลยทั้งสองได้แจ้งข่าวและพิมพ์โฆษณาในหนังสือพิมพ์ว่า "ได้มีเจ้าของที่ดินแปลงใกล้เคียงเสนอขายสหกรณ์ในราคาถูกกว่านี้ แต่กรรมการไม่ยอมรับซื้อกลับไปซื้อที่ดินราคา 7 หมื่นบาท ซึ่งแพงกว่าแปลงอื่นๆ มาก การซื้อขายที่ดินแปลงนี้ เจ้าของที่ดินได้รับเงินจริงๆ ไปเพียง 4 หมื่นบาทเท่านั้น ส่วนอีก 3 หมื่นไม่รู้ว่าตกอยู่ในมือใคร ขณะนี้สมาชิกกำลังแยกย้ายกันหาหลักฐานการทุจริตครั้งนี้ เพื่อเตรียมดำเนินการตามกฎหมายต่อไป" ดังนี้เป็นข้อความที่ทำให้เข้าใจได้ว่า กรรมการผู้จัดซื้อที่ดินให้สหกรณ์ทุกคนหรือคนใดคนหนึ่งรวมทั้งโจทก์ด้วย ซึ่งยังไม่ทราบแน่ชัดว่าเป็นผู้ใด ทุจริตในการซื้อขายที่ดินนั้น แต่จำเลยทั้งสองให้ข่าวและพิมพ์โฆษณาข้อความดังกล่าวเพราะมีพฤติการณ์น่าเชื่อว่าโจทก์ซื้อที่ดินแพงกว่าปกติ ส่อไปในทางทุจริต.ถือได้ว่าเป็นการกระทำโดยสุจริตเพื่อความชอบธรรม จำเลยทั้งสองจึงไม่มีความผิดฐานหมิ่นประมาทตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 329(1) และไม่เป็นการละเมิด ที่โจทก์จะขอให้ศาลบังคับจำเลยชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้ได้ โดยเฉพาะจำเลยที่ 1 ในฐานะที่เป็นสมาชิกสหกรณ์ซึ่งจะต้องเสียเงินเพิ่มขึ้นเนื่องจากการซื้อที่ดินแพงกว่าปกติ ย่อมถือได้ว่าเป็นการป้องกันส่วนได้เสียเกี่ยวกับตนตามคลองธรรมอีกด้วย
ในคดีอาญา จำเลยมีอำนาจนำพยานเข้าสืบพิสูจน์ความบริสุทธิ์ของจำเลย โดยไม่จำต้องซักค้านพยานโจทก์ในข้อเท็จจริง ที่จำเลยจะนำสืบพยานต่อไปได้ (อ้างฎีกาที่ 2823,2824/2516)
ในคดีอาญา จำเลยมีอำนาจนำพยานเข้าสืบพิสูจน์ความบริสุทธิ์ของจำเลย โดยไม่จำต้องซักค้านพยานโจทก์ในข้อเท็จจริง ที่จำเลยจะนำสืบพยานต่อไปได้ (อ้างฎีกาที่ 2823,2824/2516)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1972/2517 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแจ้งข่าวข้อเท็จจริงที่สืบได้โดยสุจริตเพื่อป้องกันผลประโยชน์ของสมาชิกสหกรณ์ ไม่เป็นความผิดฐานหมิ่นประมาท
โจทก์เป็นสมาชิกสหกรณ์และเป็นประธานกรรมการจัดซื้อที่ดินเพื่อสหกรณ์โดยมีสมาชิกเป็นกรรมการอีก 11 คน จำเลยที่ 1เป็นสมาชิกสหกรณ์ และเป็นนักข่าวหนังสือพิมพ์จำเลยที่ 2 เป็นบรรณาธิการหนังสือพิมพ์ จำเลยทั้งสองได้แจ้งข่าวและพิมพ์โฆษณาในหนังสือพิมพ์ว่า "ได้มีเจ้าของที่ดินแปลงใกล้เคียงเสนอขายสหกรณ์ในราคาถูกกว่านี้ แต่กรรมการไม่ยอมรับซื้อกลับไปซื้อที่ดินราคา 7 หมื่นบาท ซึ่งแพงกว่าแปลงอื่น ๆ มากการซื้อขายที่ดินแปลงนี้ เจ้าของที่ดินได้รับเงินจริง ๆ ไปเพียง 4 หมื่นบาทเท่านั้น ส่วนอีก 3 หมื่นไม่รู้ว่าตกอยู่ในมือใครขณะนี้สมาชิกกำลังแยกย้ายกันหาหลักฐานการทุจริตครั้งนี้เพื่อเตรียมดำเนินการตามกฎหมายต่อไป" ดังนี้เป็นข้อความที่ทำให้เข้าใจได้ว่า กรรมการผู้จัดซื้อที่ดินให้สหกรณ์ทุกคนหรือคนใดคนหนึ่งรวมทั้งโจทก์ด้วย ซึ่งยังไม่ทราบแน่ชัดว่าเป็นผู้ใด ทุจริตในการซื้อขายที่ดินนั้น แต่จำเลยทั้งสองให้ข่าวและพิมพ์โฆษณาข้อความดังกล่าวเพราะมีพฤติการณ์น่าเชื่อว่าโจทก์ซื้อที่ดินแพงกว่าปกติส่อไปในทางทุจริตถือได้ว่าเป็นการกระทำโดยสุจริตเพื่อความชอบธรรม จำเลยทั้งสองจึงไม่มีความผิดฐานหมิ่นประมาทตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 329 (1) และไม่เป็นการละเมิด ที่โจทก์จะขอให้ศาลบังคับจำเลยชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้ได้ โดยเฉพาะจำเลยที่ 1 ในฐานะที่เป็นสมาชิกสหกรณ์ซึ่งจะต้องเสียเงินเพิ่มขึ้นเนื่องจากการซื้อที่ดินแพงกว่าปกติ ย่อมถือได้ว่าเป็นการป้องกันส่วนได้เสียเกี่ยวกับตนตามคลองธรรมอีกด้วย
ในคดีอาญา จำเลยมีอำนาจนำพยานเข้าสืบพิสูจน์ความบริสุทธิ์ของจำเลย โดยไม่จำต้องซักค้านพยานโจทก์ในข้อเท็จจริง ที่จำเลยจะนำสืบพยานต่อไปได้ (อ้างฎีกาที่ 2823,2824/2516)
ในคดีอาญา จำเลยมีอำนาจนำพยานเข้าสืบพิสูจน์ความบริสุทธิ์ของจำเลย โดยไม่จำต้องซักค้านพยานโจทก์ในข้อเท็จจริง ที่จำเลยจะนำสืบพยานต่อไปได้ (อ้างฎีกาที่ 2823,2824/2516)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1949/2517 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องหนี้จากการเปลี่ยนแปลงวิธีการชำระหนี้ การเรียกร้องหนี้แต่ละงวด
จำเลยทำสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีกับโจทก์ ครั้นวันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2506 จำเลยทำหนังสือรับรองหนี้สินว่ายังเป็นหนี้โจทก์ทั้งต้นเงินและดอกเบี้ยเป็นเงินจำนวนหนึ่ง และยอมผ่อนชำระให้โจทก์เป็นรายเดือนภายในสิ้นเดือนของทุกๆเดือนเริ่มตั้งแต่เดือนมีนาคม 2506 เป็นต้นไป ถือได้ว่าหนังสือรับรองหนี้สินดังกล่าวนี้ โจทก์จำเลยตกลงเปลี่ยนวิธีการชำระหนี้ใหม่ โดยเรียกเอาดอกเบี้ยค้างส่งและเรียกเอาจำนวนเงินอันจะพึงส่งเพื่อผ่อนทุนคืนเป็นงวด ๆ โจทก์จึงมีสิทธิเรียกร้องต้นเงินคืนได้แต่ละงวด งวดละเดือนเริ่มแต่วันที่ 31 มีนาคม 2506 เป็นต้นไป จน ถึงวันที่ 30 เมษายน 2508 เป็นงวดสุดท้าย แต่โจทก์เพิ่งฟ้องคดีเมื่อวันที่ 14 สิงหาคม 2513เป็นเวลาเกิน 5 ปี นับแต่กำหนดวันชำระงวดสุดท้ายเป็นต้นมาฟ้องโจทก์จึงขาดอายุความ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 166
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1949/2517
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องหนี้จากการเปลี่ยนแปลงวิธีการชำระหนี้
จำเลยทำสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีกับโจทก์ ครั้นวันที่ 25กุมภาพันธ์ 2506 จำเลยทำหนังสือรับรองหนี้สินว่ายังเป็นหนี้โจทก์ทั้งต้นเงินและดอกเบี้ยเป็นเงินจำนวนหนึ่ง และยอมผ่อนชำระให้โจทก์เป็นรายเดือนภายในสิ้นเดือนของทุกๆเดือนเริ่มตั้งแต่เดือนมีนาคม 2506 เป็นต้นไป ถือได้ว่าหนังสือรับรองหนี้สินดังกล่าวนี้ โจทก์จำเลยตกลงเปลี่ยนวิธีการชำระหนี้ใหม่ โดยเรียกเอาดอกเบี้ยค้างส่ง และเรียกเอาจำนวนเงินอันจะพึงส่ง เพื่อผ่อนทุนคืนเป็นงวดๆ โจทก์จึงมีสิทธิเรียกร้องต้นเงินคืนได้แต่ละงวด งวดละเดือน เริ่มแต่วันที่ 31 มีนาคม 2506 เป็นต้นไป จน ถึงวันที่ 30 เมษายน 2508 เป็นงวดสุดท้าย แต่โจทก์เพิ่งฟ้องคดีเมื่อวันที่ 14 สิงหาคม 2513 เป็นเวลาเกิน 5 ปี นับแต่กำหนดวันชำระงวดสุดท้ายเป็นต้นมา ฟ้องโจทก์จึงขาดอายุความ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 166
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1925/2517
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเช่าต่อ: คำมั่นของผู้ให้เช่าและการสนองรับของผู้เช่าทำให้เกิดสัญญาใหม่
สัญญาเช่ามีข้อความว่า ผู้ให้เช่าให้คำมั่นแก่ผู้เช่าว่า เมื่อครบกำหนดระยะเวลาเช่าตามสัญญาแล้ว ผู้ให้เช่ายินยอมให้ผู้เช่าเช่าต่อไปอีก 3 ปี ตามเงื่อนไขประเพณีที่ได้กระทำกันในวันทำสัญญานี้ ทั้งนี้ ผู้เช่าต้องแสดงเจตนาเป็นลายลักษณ์อักษรแจ้งให้ผู้ให้เช่าทราบภายในกำหนดหนึ่งเดือนนับแต่วันสัญญาเช่านี้ครบกำหนด ดังนี้ เป็นเรื่องที่ผู้ให้เช่าให้คำมั่นไว้ เมื่อผู้เช่ามีหนังสือแสดงความจำนงขอทำสัญญาเช่าต่อภายในกำหนดเวลา เท่ากับผู้เช่าสนองรับคำมั่นของผู้ให้เช่าแล้ว และถือว่ามีสัญญาเช่าเกิดขึ้นใหม่ทันทีตามเงื่อนไขและประเพณีที่ระบุไว้ในสัญญาเช่าฉบับเดิม โดยไม่ต้องทำสัญญาเช่ากันใหม่อีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1925/2517 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเช่าต่อ: คำมั่นของผู้ให้เช่าและการสนองรับของผู้เช่า ก่อให้เกิดสัญญาเช่าใหม่
สัญญาเช่ามีข้อความว่า ผู้ให้เช่าให้คำมั่นแก่ผู้เช่าว่าเมื่อครบกำหนดระยะเวลาเช่าตามสัญญาแล้ว ผู้ให้เช่ายินยอมให้ผู้เช่าเช่าต่อไปอีก 3 ปี ตามเงื่อนไขประเพณีที่ได้กระทำกันในวันทำสัญญานี้ ทั้งนี้ ผู้เช่าต้องแสดงเจตนาเป็นลายลักษณ์อักษรแจ้งให้ผู้ให้เช่าทราบภายในกำหนดหนึ่งเดือนนับแต่วันสัญญาเช่านี้ครบกำหนด ดังนี้ เป็นเรื่องที่ผู้ให้เช่าให้คำมั่นไว้ เมื่อผู้เช่ามีหนังสือแสดงความจำนงขอทำสัญญาเช่าต่อภายในกำหนดเวลาเท่ากับผู้เช่าสนองรับคำมั่นของผู้ให้เช่าแล้วและถือว่ามีสัญญาเช่าเกิดขึ้นใหม่ทันทีตามเงื่อนไขและประเพณีที่ระบุไว้ในสัญญาเช่าฉบับเดิม โดยไม่ต้องทำสัญญาเช่ากันใหม่อีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1907/2517
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองอสังหาริมทรัพย์ผู้อื่น และอำนาจศาลในการงดตรวจพยานวัตถุ รวมถึงการลงโทษตามบทมาตราที่ถูกต้อง
คำขอท้ายฟ้องโจทก์ที่ว่า ขอให้ลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา พ.ศ. 2499 มาตรา 362,364 นั้น แม้จะมีคำว่า "พ.ศ. 2499" เกินมา ก็ย่อมเห็นได้ว่าโจทก์ประสงค์ขอให้ลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญานั่นเอง ศาลจึงมีอำนาจพิพากษาลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญาได้
ในคดีอาญา แม้กฎหมายจะกำหนดให้ศาลไปทำการตรวจพยานวัตถุ ที่ไม่สามารถนำมาศาลได้ไว้ก็ตาม แต่ถ้าศาลเห็นว่าไม่จำเป็น ก็อาจใช้ดุลพินิจสั่งงดเสียได้
เมื่อข้อเท็จจริงได้ความว่า จำเลยเข้าไปในบ้านอันเป็นอสังหาริมทรัพย์ของโจทก์เพื่อถือการครอบครองบ้านนั้น การกระทำของจำเลยย่อมเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา362 กรณีไม่จำต้องปรับบทด้วยมาตรา 364 อีก
ในคดีอาญา แม้กฎหมายจะกำหนดให้ศาลไปทำการตรวจพยานวัตถุ ที่ไม่สามารถนำมาศาลได้ไว้ก็ตาม แต่ถ้าศาลเห็นว่าไม่จำเป็น ก็อาจใช้ดุลพินิจสั่งงดเสียได้
เมื่อข้อเท็จจริงได้ความว่า จำเลยเข้าไปในบ้านอันเป็นอสังหาริมทรัพย์ของโจทก์เพื่อถือการครอบครองบ้านนั้น การกระทำของจำเลยย่อมเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา362 กรณีไม่จำต้องปรับบทด้วยมาตรา 364 อีก