คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
สุธรรม วรรณแสง

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 442 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1436/2517 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแก้ไขฟ้องเล็กน้อยในคดีแชร์: ศาลอนุญาตได้หากเป็นข้อผิดพลาดทางตัวเลขและไม่ขัดต่อข้อห้ามตามกฎหมาย
ฟ้องเดิมบรรยายว่า "ลงหุ้นแชร์กันไว้คนละ 200 บาท ต่อเดือน" โจทก์ขอแก้ในวันชี้สองสถาน เป็นว่า "ลงหุ้นแชร์กันไว้ คนละ300 บาทต่อเดือน" ปรากฏว่าฟ้องเดิมของโจทก์บรรยายมาชัดแจ้งว่าจำเลยประมูลแชร์ได้โดยให้ดอกเบี้ย 220 บาท จำเลยจึงต้องส่งเงินแชร์งวดต่อ ๆ ไปเดือนละ 520 บาท เพิ่งค้างส่ง 3 เดือนเป็นเงิน 1,560 บาท ดังนี้ เห็นได้ชัดว่าโจทก์พิมพ์ตัวเลขผิดพลาดคือพิมพ์เลข 3 เป็นเลข 2 ไป จึงเป็นการขอแก้คำผิดเล็ก ๆ น้อย ๆ ศาลย่อมมีอำนาจให้แก้ได้เสมอ กรณีไม่ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 180

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1406/2517

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแบ่งทรัพย์สินหลังหย่า: บ้านที่ตกเป็นของภริยาตามทะเบียนหย่า ย่อมเป็นกรรมสิทธิ์ของภริยาและสามารถทำพินัยกรรมยกให้ผู้อื่นได้
สามีภริยาได้จดทะเบียนหย่าและแบ่งทรัพย์สินระหว่างสามีภริยาตามที่มีอยู่ในเวลาจดทะเบียนหย่าตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1512 แล้ว ซึ่งปรากฏในทะเบียนหย่าว่าบ้านพิพาทตกเป็นของภริยาการแบ่งทรัพย์สินดังกล่าวนี้ย่อมมีผลผูกพันสามี สามีจะโต้แย้งในภายหลังว่าการแบ่งบ้านพิพาทให้นี้ยังมิได้โอนทะเบียนกรรมสิทธิ์ยังเป็นของสามีอยู่หาได้ไม่ และกรณีไม่ใช่เป็นการให้โดยเสน่หาด้วย เมื่อบ้านพิพาทตกเป็นของภริยา ภริยาย่อมทำพินัยกรรมยกให้แก่ผู้อื่นได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1406/2517 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแบ่งทรัพย์สินหลังหย่า: บ้านที่ตกเป็นของภริยาตามทะเบียนหย่า ถือเป็นกรรมสิทธิ์ภริยาทำพินัยกรรมยกได้
สามีภริยาได้จดทะเบียนหย่าและแบ่งทรัพย์สินระหว่างสามีภริยาตามที่มีอยู่ในเวลาจดทะเบียนหย่า ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1512 แล้ว ซึ่งปรากฏในทะเบียนหย่าว่าบ้านพิพาทตกเป็นของภริยาการแบ่งทรัพย์สินดังกล่าวนี้ย่อมมีผลผูกพันสามี สามีจะโต้แย้งในภายหลังว่าการแบ่งบ้านพิพาทให้นี้ยังมิได้โอนทะเบียนกรรมสิทธิ์ยังเป็นของสามีอยู่หาได้ไม่ และกรณีไม่ใช่เป็นการให้โดยเสน่หาด้วย เมื่อบ้านพิพาทตกเป็นของภริยา ภริยาย่อมทำพินัยกรรมยกให้แก่ผู้อื่นได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1354/2517 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องแย้งไม่เกี่ยวเนื่องกับคำฟ้องเดิม ศาลไม่รับฟ้องแย้งได้
โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยและบริวารออกจากอาคารตึกแถวพิพาทที่เช่าและเรียกค่าเสียหาย การที่จำเลยฟ้องแย้งเข้ามาขอให้บังคับโจทก์ต้องเสนอราคาตึกพิพาทที่จะขายให้แก่จำเลยก่อนตามสัญญาเพราะจำเลยสืบทราบมาว่าโจทก์เสนอขายตึกพิพาทแก่บุคคลผู้มีชื่อแล้วนั้น เป็นเรื่องซึ่งไม่เกี่ยวกับคำฟ้องเดิมแต่ประการใด ศาลจึงไม่ควรรับฟ้องแย้งของจำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1354/2517

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องแย้งไม่เกี่ยวเนื่องกับคำฟ้องเดิม ศาลไม่รับพิจารณา
โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยและบริวารออกจากอาคารตึกแถวพิพาทที่เช่าและเรียกค่าเสียหาย การที่จำเลยฟ้องแย้งเข้ามาขอให้บังคับโจทก์ต้องเสนอราคาตึกพิพาทที่จะขายให้แก่จำเลยก่อนตามสัญญาเพราะจำเลยสืบทราบมาว่าโจทก์เสนอขายตึกพิพาทแก่บุคคลผู้มีชื่อแล้วนั้น เป็นเรื่องซึ่งไม่เกี่ยวกับคำฟ้องเดิมแต่ประการใด ศาลจึงไม่ควรรับฟ้องแย้งของจำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1342/2517 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแจ้งความด้วยเจตนาสุจริตตามคลองธรรมของสมาชิกสภาเทศบาล ไม่เป็นความผิดฐานหมิ่นประมาท
จำเลยซึ่งเป็นสมาชิกสภาเทศบาลได้ทราบจากผู้ตรวจสอบบัญชีของเทศบาลนั้นว่าเงินของเทศบาลซึ่งอยู่ในความควบคุมดูแลของโจทก์ซึ่งเป็นนายกเทศมนตรีนั้นขาดบัญชีไปเป็นจำนวนมากและพฤติการณ์ของโจทก์มีทางให้จำเลยเข้าใจได้เป็นอย่างมากว่าโจทก์น่าจะมีส่วนรู้เห็นด้วย จำเลยจึงแจ้งความต่อพนักงานสอบสวนเพื่อให้พนักงานสอบสวนดำเนินคดีต่อไปว่า จำเลยเชื่อมั่นว่าโจทก์กับสมุห์บัญชีเทศบาลนั้นร่วมกันยักยอกหรือเบียดบังเงินของเทศบาลนั้นเอาไปใช้เป็นผลประโยชน์ส่วนตัว การที่จำเลยแจ้งความต่อพนักงานสอบสวนเช่นนั้นเป็นไปเพื่อความชอบธรรม และป้องกันส่วนได้เสียเกี่ยวกับตนตามคลองธรรม โดยสุจริต จึงไม่มีความผิดฐานหมิ่นประมาทตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 329 (1)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1342/2517

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแจ้งความด้วยเจตนาสุจริตและมีเหตุผลอันสมควร ไม่เป็นความผิดฐานหมิ่นประมาท
จำเลยซึ่งเป็นสมาชิกสภาเทศบาลได้ทราบจากผู้ตรวจสอบบัญชีของเทศบาลนั้นว่าเงินของเทศบาลซึ่งอยู่ในความควบคุมดูแลของโจทก์ซึ่งเป็นนายกเทศมนตรีนั้นขาดบัญชีไปเป็นจำนวนมากและพฤติการณ์ของโจทก์มีทางให้จำเลยเข้าใจได้เป็นอย่างมากว่าโจทก์น่าจะมีส่วนรู้เห็นด้วย จำเลยจึงแจ้งความต่อพนักงานสอบสวนเพื่อให้พนักงานสอบสวนดำเนินคดีต่อไปว่า จำเลยเชื่อมั่นว่าโจทก์กับสมุห์บัญชีเทศบาลนั้นร่วมกันยักยอกหรือเบียดบังเงินของเทศบาลนั้นเอาไปใช้เป็นผลประโยชน์ส่วนตัว การที่จำเลยแจ้งความต่อพนักงานสอบสวนเช่นนั้นเป็นไปเพื่อความชอบธรรมและป้องกันส่วนได้เสียเกี่ยวกับตนตามคลองธรรมโดยสุจริต จึงไม่มีความผิดฐานหมิ่นประมาทตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 329(1)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1337/2517

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การใช้อำนาจเกินสมควรในการจับกุม และเหตุบรรเทาโทษทางอาญา
จำเลยเป็นเจ้าพนักงานตำรวจทำหน้าที่รักษาความสงบอยู่ในงานวัด ได้เข้าไปจับกุม น. เพราะมีคนมาแจ้งว่ามีอาวุธปืนและกำลังจะก่อเหตุร้ายในวงรำวง น. สลัดหลุดจนจำเลยล้มลงพอจำเลยลุกขึ้นได้ก็ใช้ปืนยิงไปทาง น. ซึ่งกำลังวิ่งหนี โดย น. มิได้ใช้อาวุธปืนยิงจำเลยก่อน กระสุนปืนที่จำเลยยิงพลาดไปถูก ส.ซึ่งอยู่ใกล้วงรำวงถึงแก่ความตาย ดังนี้ ถือไม่ได้ว่าเป็นการใช้วิธีที่เหมาะสมแก่พฤติการณ์แห่งเรื่องในการจับหรือเป็นการกระทำเพื่อป้องกันตัวจำเลย จำเลยจึงมีความผิดฐานฆ่า ส. โดยเจตนา ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 288 ประกอบด้วยมาตรา 60แต่การกระทำของจำเลยนับได้ว่าเป็นการกระทำผิดอันเกี่ยวเนื่องกับการปฏิบัติหน้าที่ในการจับกุมคนร้าย โดยจำเลยมิได้มีสาเหตุส่วนตัวกับ น. หรือผู้ตาย ความผิดของจำเลยเห็นได้ว่าเกิดจากการใช้วิธีการที่เกินสมควรแก่พฤติการณ์แห่งเรื่องในการจับกุม น. ด้วยการตัดสินใจผิดในขณะที่มีเหตุการณ์ฉุกเฉิน เข้าลักษณะในเหตุอื่นอันเป็นเหตุบรรเทาโทษประการหนึ่งตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 78 จึงสมควรลดโทษให้จำเลยกึ่งหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1337/2517 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การใช้อาวุธปืนของเจ้าพนักงานตำรวจในการจับกุมผู้ต้องสงสัยเกินสมควรแก่เหตุ และเหตุบรรเทาโทษตามมาตรา 78
จำเลยเป็นเจ้าพนักงานตำรวจทำหน้าที่รักษาความสงบอยู่ในงานวัด ได้เข้าไปจับกุม น. เพราะมีคนมาแจ้งว่ามีอาวุธปืนและกำลังจะก่อเหตุร้ายในวงรำวง น. สลัดหลุดจนจำเลยล้มลงพอจำเลยลุกขึ้นได้ก็ใช้ปืนยิงไปทาง น. ซึ่งกำลังวิ่งหนี โดย น.มิได้ใช้อาวุธปืนยิงจำเลยก่อน กระสุนปืนที่จำเลยยิงพลาดไปถูก ส.ซึ่งอยู่ใกล้วงรำวงถึงแก่ความตาย ดังนี้ ถือไม่ได้ว่าเป็นการใช้วิธีที่เหมาะสมแก่พฤติการณ์แห่งเรื่องในการจับหรือเป็นการกระทำเพื่อป้องกันตัวจำเลย จำเลยจึงมีความผิดฐานฆ่า ส. โดยเจตนาตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 288 ประกอบด้วยมาตรา 60 แต่การกระทำของจำเลยนับได้ว่าเป็นการกระทำผิดอันเกี่ยวเนื่องกับการปฏิบัติหน้าที่ในการจับกุมคนร้าย โดยจำเลยมิได้มีสาเหตุส่วนตัวกับ น. หรือผู้ตาย ความผิดของจำเลยเห็นได้ว่าเกิดจากการใช้วิธีการที่เกินสมควรแก่พฤติการณ์แห่งเรื่องในการจับกุม น. ด้วยการตัดสินใจผิดในขณะที่มีเหตุการณ์ฉุกเฉิน เข้าลักษณะในเหตุอื่นอันเป็นเหตุบรรเทาโทษประการหนึ่งตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 78 จึงสมควรลดโทษให้จำเลยกึ่งหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1311-1312/2517 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดร่วมกันของนายจ้างและลูกจ้าง กรณีรถร่วมเดินรถ และการมีส่วนร่วมในกิจการเดินรถ
จำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นผู้ได้รับสัมปทานเดินรถประจำทางในเส้นทางสายอำเภอเมืองภูเก็ตกับท่าฉัตรไชย ยินยอมให้จำเลยที่ 4 นำรถยนต์ที่เช่าซื้อซึ่งมีจำเลยที่ 5 เป็นคนขับเข้ามาเดินรถร่วมกับจำเลยที่ 3 โดยจำเลยที่ 3 ได้รับผลประโยชน์ตอบแทน ถือได้ว่าจำเลยที่ 3 มีและใช้รถคันดังกล่าวนั้นในกิจการของจำเลยที่ 3 แล้ว แม้ตรงที่จำเลยที่ 5 ขับรถไปเกิดเหตุจะเป็นเส้นทางนอกสัมปทานของจำเลยที่ 3 แต่ก็ปรากฏว่าเป็นเส้นทางที่จำเลยที่ 3 ยินยอมให้รถคันดังกล่าววิ่งรับส่งคนโดยสารร่วมกับจำเลยที่ 3 ตลอดมาจำเลยที่ 3 จะอ้างว่ารถนั้นมิได้ร่วมกิจการเดินรถกับจำเลยที่ 3 หาได้ไม่
จำเลยที่ 5 เป็นบุตรของจำเลยที่ 4 ได้ขับรถของจำเลยที่ 4 เข้าร่วมกิจการเดินรถกับจำเลยที่ 3 รับขนส่งคนโดยสารเก็บเงินค่าโดยสารตลอดมา อันเป็นการกระทำกิจการในทางหาประโยชน์ให้แก่จำเลยที่ 3 และที่ 4 โดยจำเลยที่ 4 ใช้ให้กระทำ ลักษณะการกระทำของจำเลยที่ 5 ดังกล่าว ไม่มีเหตุจะคาดหมายได้ว่าจำเลยที่ 5 ขับรถของจำเลยที่ 4 ออกรับจ้างด้วยกระทำให้เปล่า ย่อมถือเอาโดยปริยายว่ามีคำมั่นจะให้สินจ้าง พฤติการณ์ฟังได้ว่าจำเลยที่ 5 เป็นลูกจ้างของจำเลยที่ 4 การที่จำเลยที่ 4 นำรถเข้าร่วมกิจการเดินรถกับจำเลยที่ 3 โดยจำเลยที่ 3 ได้รับประโยชน์ในการนี้จากจำเลยที่ 4 ย่อมถือได้ว่าจำเลยที่ 5 เป็นลูกจ้างของจำเลยที่ 3 ด้วย (อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 1653/2500)
of 45