คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
สุธรรม วรรณแสง

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 442 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1261/2520 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ภาษีเงินได้: อายุความ, การประเมิน, การยึดทรัพย์, และเงินเพิ่ม กรณีมิได้ยื่นรายการ
โจทก์กล่าวอ้างมาในฟ้องแล้วว่ามีเงินได้ที่ได้รับการยกเว้นรวมอยู่ในเงินได้สุทธิที่เจ้าพนักงานประเมิน ของจำเลยประเมินเรียกเก็บจากโจทก์ แม้โจทก์จะมิได้กล่าวถึงรายละเอียดว่าเงินได้ที่ได้รับยกเว้นตามมาตรา 47 แต่ละข้อมีจำนวนเท่าใด ก็ไม่เป็นฟ้องที่เคลือบคลุม เพราะหนังสือแจ้งการประเมินของจำเลยก็มิได้แยกประเภทเงินได้ให้โจทก์ทราบ โจทก์จึงไม่สามารถจะบรรยายฟ้องได้ถูกต้อง
โจทก์ไม่เคยยื่นรายการเพื่อเสียภาษีเงินได้เป็นเวลา 10 ปี ซึ่งตลอดเวลาดังกล่าวโจทก์มีเงินได้เพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมาก ย่อมเป็นการยากที่เจ้าพนักงานประเมินจะแยกประเภทเงินได้พึงประเมินของโจทก์ว่าอยู่ประเภทใด และโจทก์เองก็ไม่อาจชี้แจงได้ทั้งหมด ดังนั้น เจ้าพนักงานประเมินย่อมใช้อำนาจตามประมวลรัษฎากร มาตรา 49 กำหนดเงินได้สุทธิของโจทก์ขึ้น โดยถือเอาเงินหรือทรัพย์สินซึ่งเป็นกรรมสิทธิ์หรือเข้ามาอยู่ในครอบครองของโจทก์มาเป็นหลักในการประเมินได้ แต่การประเมินตามมาตรา 49 นี้ จะใช้จำนวนเงินได้สุทธิที่กำหนดขึ้นดังกล่าวมาคิดคำนวณภาษีเอากับโจทก์เสียทีเดียวหาได้ไม่ จะต้องคำนึงถึงว่าเงินได้สุทธินั้นอยู่ในประเภทเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 หรือไม่มีเงินได้พึงประเมินที่ได้รับยกเว้นไม่ต้องรวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้ตามมาตรา 42 หรือไม่ ทั้งยังต้องหักค่าใช้จ่ายตามมาตรา 42 ทวิ, 43, 44, 45, 46 และ 47 เสียก่อน
เงินค่าขายที่ดินซึ่งเป็นทรัพย์สินที่โจทก์ได้มาโดยมิได้มุ่งในทางการค้าหรือหากำไรเป็นเงินได้พึงประเมินที่ได้รับการยกเว้น ตามมาตรา 42 (4) ส่วนเงินที่บริษัท ด. ให้โจทก์เพื่อที่จะได้รับทำการวางท่อน้ำประปา เนื่องจากโจทก์เป็นแม่ยายของผู้มีอิทธิพลในวงการเมืองและวงราชการ ถือว่าเป็นเงินได้จากการอื่น พึงประเมินตามมาตรา 40 (8) ไม่ได้รับยกเว้นตามมาตรา 42 สำหรับเงินที่โจทก์ได้รับเนื่องจากการใช้หนี้เงินยืม ไม่เป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (8)
เจ้าพนักงานประเมินของจำเลยใช้วิธีประเมินตามมาตรา 49 และถือหลักการพิจารณาจากเงินหรือทรัพย์สินซึ่งเป็นกรรมสิทธิ์หรือเข้ามาอยู่ในความครอบครองของโจทก์ ดังนั้น ยอดเงินบริจาคค่าการกุศลอันเป็นเงินที่โจทก์จ่ายออกไปแล้ว จึงเอามากำหนดเป็นเงินได้สุทธิไม่ได้
โจทก์มีหน้าที่ต้องยื่นรายการเกี่ยวกับเงินได้พึงประเมินสำหรับปีภาษี พ.ศ.2497 ภายในเดือนกุมภาพันธ์ 2498 เมื่อโจทก์ไม่ยื่นภายในกำหนดสิทธิเรียกร้องของจำเลยที่จะเรียกเก็บภาษีเงินได้จากโจทก์ ย่อมบังคับได้ตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม 2498 จำเลยจะต้องเรียกร้องภาษีเอากับโจทก์ภายในวันที่ 1 มีนาคม 2508 แต่เจ้าพนักงานประเมินมีหนังสือแจ้งและเรียกร้องให้โจทก์ชำระภาษีเงินได้สำหรับปีภาษี 2497 เมื่อวันที่ 4 มิถุนายน 2508 เกิน 10 ปีแล้ว สิทธิเรียกร้องจึงขาดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่ง มาตรา 167
เมื่อโจทก์ไม่เคยยื่นรายการเกี่ยวกับเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 23 ดังนั้น การที่เจ้าพนักงานประเมินเรียกเงินเพิ่มจากโจทก์ 1 เท่าของจำนวนภาษี จึงชอบด้วยมาตรา 26 แล้ว มิใช่ว่าจะต้องรอให้หาเงินได้สุทธิที่แท้จริงเสียก่อนจึงจะพิจารณาปรับเพิ่มภาษีเอาแก่โจทก์ได้ เพราะการเสียเงินเพิ่ม 1 เท่าดังกล่าว คิดจากจำนวนเงินภาษีอากรที่เจ้าพนักงานประเมินจะต้องประเมินใหม่เท่านั้น สำหรับเงินเพิ่มอีกร้อยละ 20 ตามมาตรา 27 นั้น ก็ปรากฏว่าโจทก์ไม่นำเงินภาษีไปชำระภายใน 30 วัน ตามหนังสือแจ้งการประเมิน จำเลยจึงมีคำสั่งให้โจทก์เสียเงินเพิ่มอีกร้อยละ 20 ได้ และเงินภาษีที่โจทก์จะต้องชำระหนี้ถือว่าเป็นภาษีอากรค้าง ตามมาตรา 12 ซึ่งจำเลยที่ 6 ในฐานะผู้ว่าราชการจังหวัดมีอำนาจสั่งยึดทรัพย์สินของโจทก์ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1261/2520

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกานี้เกี่ยวข้องกับการประเมินภาษีเงินได้ การยึดทรัพย์เพื่อชำระภาษี และอายุความของสิทธิเรียกร้องภาษี
โจทก์กล่าวอ้างมาในฟ้องแล้วว่ามีเงินได้ที่ได้รับการยกเว้นรวมอยู่ในเงินได้สุทธิที่เจ้าพนักงานประเมินของจำเลยประเมินเรียกเก็บจากโจทก์ แม้โจทก์จะมิได้กล่าวถึงรายละเอียดว่าเงินได้ที่ได้รับยกเว้นตามมาตรา 47 แต่ละข้อมีจำนวนเท่าใด ก็ไม่เป็นฟ้องที่เคลือบคลุม เพราะหนังสือแจ้งการประเมินของจำเลยก็มิได้แยกประเภทเงินได้ให้โจทก์ทราบ โจทก์จึงไม่สามารถจะบรรยายฟ้องได้ถูกต้อง
โจทก์ไม่เคยยื่นรายการเพื่อเสียภาษีเงินได้เป็นเวลา 10 ปี ซึ่งตลอดเวลาดังกล่าวโจทก์มีเงินได้เพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมาก ย่อมเป็นการยากที่เจ้าพนักงานประเมินจะแยกประเภทเงินได้พึงประเมินของโจทก์ว่าอยู่ประเภทใด และโจทก์เองก็ไม่อาจชี้แจงได้ทั้งหมด ดังนั้น เจ้าพนักงานประเมินย่อมใช้อำนาจตามประมวลรัษฎากร มาตรา 49 กำหนดเงินได้สุทธิของโจทก์นั้น โดยถือเอาเงินหรือทรัพย์สินซึ่งเป็นกรรมสิทธิ์หรือเข้ามาอยู่ในครอบครองของโจทก์มาเป็นหลักในการประเมินได้ แต่การประเมินตามมาตรา 49 นี้ จะใช้จำนวนเงินได้สุทธิที่กำหนดขึ้นดังกล่าวมาคิดคำนวณเอากับโจทก์เสียทีเดียวหาได้ไม่ จะต้องนึกถึงว่าเงินสุทธินั้นอยู่ในประเภทเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 หรือไม่ มีเงินได้พึงประเมินที่ได้รับยกเว้นไม่ต้องรวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้ตามมาตรา 42หรือไม่ ทั้งยังต้องหักค่าใช้จ่ายตามมาตรา 42 ทวิ,43,44,45, และ 47 เสียก่อน
เงินค่าขายที่ดินซึ่งเป็นทรัพย์สินที่โจทก์ได้มาโดยมิได้มุ่งในทางการค้าหรือหากำไรเป็นเงินได้พึงประเมินที่ได้รับการยกเว้น ตามมาตรา 42(4) ส่วนเงินที่บริษัท ด. ให้โจทก์เพื่อที่จะได้รับทำการวางท่อน้ำประปา เนื่องจากโจทก์เป็นแม่ยายของผู้มีอิทธิพลในวงการเมืองและวงราชการ ถือว่าเป็นเงินได้จากการอื่นพึงประเมินตามมาตรา 40(8) ไม่ได้รับยกเว้นตามมาตรา 42 สำหรับเงินที่โจทก์ได้รับเนื่องจากการใช้หนี้เงินยืม ไม่เป็นเงินพึงประเมินตามมาตรา 40(8)
เจ้าพนักงานประเมินของจำเลยใช้วิธีประเมินตามมาตรา 49 และถือหลักการพิจารณาจากเงินหรือทรัพย์สินซึ่งเป็นกรรมสิทธิหรือเข้ามาอยู่ในความครอบครองของโจทก์ ดังนั้น ยอดเงินบริจารค่าการกุศลอันเป็นเงินที่โจทก์จ่ายออกไปแล้ว จึงเอามากำหนดเป็นเงินได้สุทธิไม่ได้
โจทก์มีหน้าที่ต้องยื่นรายการเกี่ยวกับเงินได้พึงประเมินสำหรับปีภาษีพ.ศ. 2497 ภายในเดือนกุมภาพันธ์ 2498 เมื่อโจทก์ไม่ยื่นภายในกำหนดสิทธิเรียกร้องของจำเลยที่จะเรียกเก็บภาษีเงินได้จากโจทก์ ย่อมบังคับได้ตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม 2498 จำเลยจะต้องเรียกร้องภาษีเอากับโจทก์ภายในวันที่ 1มีนาคม 2508 แต่เจ้าพนักงานประเมินมีหนังสือแจ้งและเรียกร้องให้โจทก์ชำระภาษีเงินได้สำหรับปีภาษี 2497 เมื่อวันที่ 4 มิถุนายน 2508 เกิน 10 ปีแล้วสิทธิเรียกร้องจึงขาดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่ง มาตรา 167
เมื่อโจทก์ไม่เคยยื่นรายการเกี่ยวกับเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 23 ดังนั้นการที่เจ้าพนักงานประเมินเรียกเงินเพิ่มจากโจทก์ 1 เท่าของจำนวนภาษี จึงชอบด้วยมาตรา 26 แล้ว มิใช่ว่าจะต้องรอให้หาเงินได้สุทธิที่แท้จริงเสียก่อนจึงจะพิจารณาปรับเพิ่มภาษีเอาแก่โจทก์ได้ เพราะการเสียเงินเพิ่ม 1 เท่าดังกล่าว คิดจากจำนวนเงินภาษีอากรที่เจ้าพนักงานประเมินจำต้องประเมินใหม่เท่านั้น สำหรับเงินเพิ่มอีกร้อยละ 20 ตามมาตรา 27 นั้น ก็ปรากฏว่าโจทก์ไม่นำเงินภาษีไปชำระภายใน 30 วัน ตามหนังสือแจ้งการประเมิน จำเลยจึงมีคำสั่งให้โจทก์เสียเงินเพิ่มอีกร้อยละ 20 ได้ และเงินภาษีที่โจทก์จะต้องชำระหนี้ถือว่าเป็นภาษีอากรค้าง ตามมาตรา 12 ซึ่งจำเลยที่ 6 ในฐานะผู้ว่าราชการจังหวัดมีอำนาจสั่งยึดทรัพย์สินของโจทก์ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 580/2519

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องซ้ำ: คดีเรียกค่าชดใช้ตามกรมธรรม์ประกันภัยจากอุบัติเหตุเดียวกัน แม้ผู้เสียหายต่างรายกัน ก็เป็นฟ้องซ้ำตามมาตรา 148
โจทก์เอาประกันภัยรถยนต์ไว้กับจำเลย สำหรับความเสียหายอันเกิดแก่ทรัพย์สินของบุคคลอื่นโดยรถยนต์นั้น ในวงเงินไม่เกิน 50,000 บาทต่อมาลูกจ้างของโจทก์ขับรถยนต์ดังกล่าวชนผู้อื่นบาดเจ็บและเสียชีวิตหลายคน โจทก์ถูกผู้เสียหายฟ้องและได้ใช้ค่าเสียหายไปแล้วบางรายโจทก์จึงฟ้องให้จำเลยชำระเงินค่าเสียหายที่โจทก์จ่ายไปแล้ว ได้ทำสัญญาประนีประนอมยอมความกัน จำเลยยอมใช้เงินให้โจทก์ 29,000 บาท คดีถึงที่สุด โจทก์มาฟ้องให้จำเลยรับผิดสำหรับค่าเสียหายที่โจทก์จ่ายให้แก่ผู้เสียหายที่ถูกรถของโจทก์ชนเป็นคดีนี้อีก ดังนี้ แม้จำนวนเงินค่าเสียหายที่โจทก์เรียกร้องในคดีนี้บางส่วนจะเป็นเงินที่โจทก์ชำระให้แก่ผู้เสียหายต่างรายกันกับผู้เสียหายในคดีก่อนก็ตามแต่ก็เป็นคดีที่โจทก์ฟ้องเรียกเงินชดใช้ตามกรมธรรม์ ซึ่งมีประเด็นวินิจฉัยเป็นอย่างเดียวกันว่าโจทก์มีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยชดใช้เงินได้เพียงไรหรือไม่ และศาลต้องวินิจฉัยถึงความรับผิดของจำเลยโดยอาศัยข้อเท็จจริงเกี่ยวกับอุบัติเหตุรายเดียวกัน อาศัยกรมธรรม์ฉบับเดียวกัน ฟ้องของโจทก์ในคดีนี้จึงต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 148

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 580/2519 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องซ้ำตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 148 กรณีเรียกค่าเสียหายจากประกันภัยอุบัติเหตุรายเดียวกัน
โจทก์เอาประกันภัยรถยนต์ไว้กับจำเลย สำหรับความเสียหายอันเกิดแก่ทรัพย์สินของบุคคลอื่นโดยรถยนต์นั้น ในวงเงินไม่เกิน 50,000 บาท ต่อมาลูกจ้างโจทก์ขับรถยนต์ดังกล่าวชนผู้อื่นบาดเจ็บและเสียชีวิตหลายคน โจทก์ถูกผู้เสียหายฟ้องและได้ใช้ค่าเสียหายไปแล้วบางราย โจทก์จึงฟ้องให้จำเลยชำระเงินค่าเสียหายที่โจทก์จ่ายไปแล้ว ได้ทำสัญญาประนีประนอมยอมความกัน จำเลยยอมใช้เงินให้โจทก์ 29,000 บาท คดีถึงที่สุด โจทก์มาฟ้องให้จำเลยรับผิดสำหรับค่าเสียหายที่โจทก์จ่ายให้แก่ผู้เสียหายที่ถูกรถของโจทก์ชนเป็นคดีนี้อีก ดังนี้ แม้จำนวนเงินค่าเสียหายที่โจทก์เรียกร้องในคดีนี้บางส่วนจะเป็นเงินที่โจทก์ชำระให้แก่ผู้เสียหายต่างรายกันกับผู้เสียหายในคดีก่อนก็ตาม แต่ก็เป็นคดีที่โจทก์ฟ้องเรียกเงินชดใช้ตามกรมธรรม์ ซึ่งมีประเด็นวินิจฉัยอย่างเดียวกันว่าโจทก์มีสิทธิเรียกให้จำเลยชดใช้เงินได้เพียงไรหรือไม่ และศาลต้องวินิจฉัยถึงความรับผิดของจำเลยโดยอาศัยข้อเท็จจริงเกี่ยวกับอุบัติเหตุรายเดียวกัน อาศัยกรมธรรม์ฉบับเดียวกัน ฟ้องของโจทก์ในคดีนี้จึงต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 148

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10/2519

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญากู้ที่ขัดต่อกฎกระทรวงออกตาม พ.ร.บ.ประกันชีวิตเป็นโมฆะ ผู้กู้ต้องคืนเงิน
กฎกระทรวงฉบับที่ 5 ออกตามความในพระราชบัญญัติประกันชีวิต พ.ศ.2510 ข้อ 7 ว่า 'การให้กู้ยืมแก่พนักงานของบริษัทโดยมีผู้ค้ำประกันนั้น บริษัทจะให้กู้ยืมได้ไม่เกินร้อยละ สองของราคาสินทรัพย์ของบริษัทตามบัญชีงบดุลที่มีอยู่ในวันสิ้นปีบัญชีครั้งสุดท้าย จำนวนเงินที่ให้กู้ยืมแต่ละรายต้องไม่เกินหกเท่าของจำนวนเงินเดือนที่พนักงานผู้นั้นได้รับจากบริษัทในเดือนสุดท้ายก่อนเดือนที่จะให้กู้ยืม และไม่เกินสองหมื่นบาท ' ฉะนั้น การที่บริษัทโจทก์ให้จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นพนักงานของบริษัทโจทก์กู้ยืมเงินเป็นจำนวนเงิน 30,000 บาท นั้น จึงขัดต่อกฎกระทรวงดังกล่าว สัญญากู้ระหว่างบริษัทโจทก์และจำเลยจึงมีวัตถุประสงค์เป็นการต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมาย เป็นโมฆะ ไม่มีผลบังคับ จำเลยที่ 2 ผู้ค้ำประกันจึงไม่ต้องรับผิดด้วยแต่จำเลยที่ 1 รับเงินไว้โดยปราศจากมูลอันจะอ้างกฎหมายได้ และเป็นการทำให้โจทก์เสียเปรียบ จำเลยที่ 1 จึงต้องคืนให้โจทก์พร้อมด้วยดอกเบี้ย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10/2519 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญากู้ที่ขัดต่อกฎกระทรวงบริษัทประกันชีวิตเป็นโมฆะ ผู้กู้ต้องคืนเงิน แม้ฟ้องเรียกทรัพย์คืนได้
กฎกระทรวงฉบับที่ 5 ออกตามความในพระราชบัญญัติประกันชีวิต พ.ศ. 2510 ข้อ 7 ว่า "การให้กู้ยืมแก่พนักงานของบริษัทโดยมีผู้ค้ำประกันนั้น บริษัทจะให้กู้ยืมได้ไม่เกินร้อยละสองของราคาสินทรัพย์ของบริษัทตามบัญชีงบดุลที่มีอยู่ในวันสิ้นปีบัญชีครั้งสุดท้าย จำนวนที่ให้กู้ยืมแต่ละรายต้องไม่เกินหกเท่าของจำนวนเงินเดือนที่พนักงานผู้นั้นได้รับจากบริษัทในเดือนสุดท้ายก่อนที่จะให้กู้ยืม และไม่เกินสองหมื่นบาท..............." ฉะนั้น การที่บริษัทโจทก์ให้จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นพนักงานของบริษัทโจทก์กู้ยืมเงินเป็นจำนวนเงิน 30,000 บาท จึงขัดต่อกฎกระทรวงดังกล่าว สัญญากู้ระหว่างบริษัทโจทก์และจำเลยจึงมีวัตถุประสงค์เป็นการต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมาย เป็นโมฆะ ไม่มีผลบังคับ จำเลยที่ 2 ผู้ค้ำประกันจึงไม่ต้องรับผิดด้วย แต่จำเลยที่ 1 รับเงินไว้โดยปราศจากมูลอันจะอ้างกฎหมายได้ และเป็นการทำให้โจทก์เสียเปรียบ จำเลยที่ 1 จึงต้องคืนให้โจทก์พร้อมด้วยดอกเบี้ย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1101/2518 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่าที่ทำขึ้นโดยรู้ว่าทรัพย์สินกำลังถูกบังคับคดียึดขายทอดตลาด ถือเป็นการฉ้อฉล สัญญาเป็นโมฆะ
ท.เป็นเจ้าของที่ดินและตึกพิพาทซึ่งจำนองไว้แก่ ช. จำเลยรู้ดีว่า ช. กับ ท. กำลังเป็นความกันอยู่และศาลได้พิพากษาให้ ท.ไถ่ถอนจำนองที่ดินและตึกพิพาท ควรจะรู้แล้วว่าหาก ท.ไม่จัดการไถ่ถอนที่ดินและตึกพิพาทอาจจะต้องถูกยึดขายทอดตลาดเพื่อชำระหนี้จำนองแก่ ช. จำเลยก็ยังทำสัญญาเช่าตึกพิพาทกับ ท. มีกำหนด 8 ปี โดยจดทะเบียนซึ่งควรรู้ไดว่าจะก่อให้เกิดภาระผูกพันแก่ตึกพิพาทในเมื่อ ท.ไม่สามารถชำระหนี้จำนองและอาจมีการขายทอดตลาดซึ่งย่อมทำให้ผู้ซื้อเสียเปรียบ ครั้นเมื่อ ท.ไม่ชำระหนี้จำนอง ศาลจึงบังคับคดียึดที่ดินและตึกพิพาทขายทอดตลาด โจทก์เป็นผู้ซื้อได้โดยไม่รู้ว่าตึกพิพาทมีสัญญาเช่าผูกพันอยู่ พฤติการณ์ของ ท.กับจำเลยถือได้ว่า ท.กับจำเลยสมยอมกันทำสัญญาเช่าตึกพิพาทโดยรู้อยู่แล้วว่าเป็นทางให้บุคคลที่อาจประมูลซื้อตึกพิพาทในภายหลังเสียเปรียบ เป็นการฉ้อฉล แม้โจทก์จะประมูลซื้อตึกพิพาทในภายหลัง ก็ถือได้ว่าเป็นเจ้าหนี้ตาม ป.พ.พ.มาตรา 237 สัญญาเช่านั้นจึงไม่มีผลผูกพันโจทก์ โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยและเรียกค่าเสียหายได้
จำเลยให้การแต่เพียงว่า ฟ้องโจทก์เคลือบคลุม ไม่ได้บรรยายว่าเคลือบคลุมอย่างไร เป็นคำให้การที่ไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ.มาตรา 177 จำเลยโต้แย้งขึ้นมาในชั้นแก้ฎีกา จึงไม่เป็นประเด็นต้องวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1101/2518

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่าที่สมยอมกันเพื่อทำให้ผู้ประมูลซื้อเสียเปรียบ ถือเป็นการฉ้อฉล สัญญาเช่าจึงไม่มีผลผูกพัน
ท. เป็นเจ้าของที่ดินและตึกพิพาทซึ่งจำนองไว้แก่ ช. จำเลยรู้ดีว่า ช. กับ ท. กำลังเป็นความกันอยู่และศาลได้พิพากษาให้ท. ไถ่ถอนจำนองที่ดินและตึกพิพาทควรจะรู้แล้วว่าหากท. ไม่จัดการไถ่ถอน. ที่ดินและตึกพิพาทอาจจะต้องถูกยึดขายทอดตลาดเพื่อชำระหนี้จำนองแก่ ช.จำเลยก็ยังทำสัญญาเช่าตึกพิพาทกับ ท. มีกำหนด 8 ปี โดยจดทะเบียน ซึ่งควรรู้ได้ว่าจะก่อให้เกิดภาระผูกพันแก่ตึกพิพาทในเมื่อ ท.ไม่สามารถชำระหนี้จำนอง และอาจมีการขายทอดตลาดซึ่งย่อมทำให้ผู้ซื้อเสียเปรียบ ครั้นเมื่อ ท. ไม่ชำระหนี้จำนองศาลจึงบังคับคดียึดที่ดินและตึกพิพาทขายทอดตลาดโจทก์เป็นผู้ซื้อได้โดยไม่รู้ว่าตึกพิพาทมีสัญญาเช่าผูกพันอยู่ พฤติการณ์ของ ท.กับจำเลยถือได้ว่าท. กับจำเลยสมยอมกันทำสัญญาเช่าตึกพิพาทโดยรู้อยู่แล้วว่าเป็นทางให้บุคคลที่อาจประมูลซื้อตึกพิพาทในภายหลังเสียเปรียบเป็นการฉ้อฉลแม้โจทก์จะประมูลซื้อตึกพิพาทในภายหลัง ก็ถือได้ว่าเป็นเจ้าหนี้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา237 สัญญาเช่านั้นจึงไม่มีผลผูกพันโจทก์ โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยและเรียกค่าเสียหายได้
จำเลยให้การแต่เพียงว่า ฟ้องโจทก์เคลือบคลุมไม่ได้บรรยายว่าเคลือบคลุมอย่างไร เป็นคำให้การที่ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 177 จำเลยโต้แย้งขึ้นมาในชั้นแก้ฎีกาจึงไม่เป็นประเด็นต้องวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1047/2518 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิการเป็นผู้จัดการมรดก: ทายาท, ผู้รับพินัยกรรม, และผู้มีส่วนได้เสียในกองมรดก
จ.เป็นสามี ล. มีบุตรด้วยกัน 6 คน รวมทั้งผู้ร้องทั้งสามด้วย เมื่อ ล.ตายแล้ว จ.จดทะเบียนสมรสกับ ฉ.ไม่มีบุตรด้วยกัน แต่ ฉ.ได้จดทะเบียนรับผู้คัดค้านที่ 1 เป็นบุตรบุญธรรม ส่วนผู้คัดค้านที่ 2 และที่ 3 เป็นน้องร่วมบิดาของ ฉ. ต่อมา ฉ. ตายไปโดยมิได้ทำพินัยกรรม และบิดามารดาของ ฉ.ก็ตายไปก่อนแล้ว ศาลตั้งให้ จ.เป็นผู้จัดการมรดกของ ฉ. แต่จัดการมรดกยังไม่ทันเสร็จ จ.ก็ตายไป ก่อนตาย จ.ได้ทำพินัยกรรมยกทรัพย์มรดกให้ผู้ร้องทั้งสามกับพี่น้อง แม้ผู้ร้องทั้งสามไม่ใช่ทายาทของ ฉ. ผู้ร้องทั้งสามก็มีส่วนได้รับทรัพย์ที่ จ.จะได้รับแบ่งจากกองมรดกของ ฉ.ในฐานะคู่สมรส ทรัพย์สินต่าง ๆ ในกองมรดกของ ฉ.ยังมิได้แบ่งแยก คงบริคณห์ปนกันอยู่กับทรัพย์สินส่วนของ จ. เมื่อผู้ร้องทั้งสามเป็นทายาทและผู้รับพินัยกรรมของ จ. ย่อมถือได้ว่าเป็นผู้มีส่วนได้เสียในกองมรดกของ ฉ. จึงมีสิทธิร้องขอเป็นผู้จัดการมรดกของ ฉ. ได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1713 ผู้คัดค้านที่ 1 เป็นทายาทอันดับ 1 มีสิทธิได้รับมรดกของ ฉ. ส่วนผู้คัดค้านที่ 2 และที่ 3 เป็นทายาทลำดับ 4 ของ ฉ. จึงไม่มีสิทธิรับมรดก แม้จะมีชื่อถือกรรมสิทธิ์ในที่ดินหลายโฉนดร่วมกัน ฉ. ก็ไม่ใช่ส่วนได้เสียโดยตรงในกองมรดก เมื่อมีผู้อื่นที่สมควรกว่าเป็นผู้จัดการมรดกได้ ผู้คัดค้านที่ 2 ที่ 3 ก็ไม่สมควรเป็นผู้จัดการมรดก ผู้ร้องกับผู้คัดค้านต่างขอให้ตั้งเป็นผู้จัดการมรดกของ ฉ. และมีคดีพิพาทกันอยู่เกี่ยวกับทรัพย์มรดกของ ฉ. ฝ่ายใดเป็นผู้จัดการมรดกฝ่ายเดียวอาจทำความเสียหายแก่กองมรดกและอีกฝ่ายหนึ่งได้ ศาลย่อมตั้งให้ผู้ร้องทั้งสามกับผู้คัดค้านที่ 1 เป็นผู้จัดการมรดกของ ฉ. ร่วมกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1047/2518

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในการเป็นผู้จัดการมรดก: ทายาท, ผู้รับพินัยกรรม, และบุตรบุญธรรม
จ. เป็นสามี ล. มีบุตรด้วยกัน 6 คน รวมทั้งผู้ร้องทั้งสามด้วยเมื่อ ล. ตายแล้ว จ. จดทะเบียนสมรสกับ ฉ. ไม่มีบุตรด้วยกันแต่ ฉ. ได้จดทะเบียนรับผู้คัดค้านที่ 1 เป็นบุตรบุญธรรมส่วนผู้คัดค้านที่ 2 และที่ 3 เป็นน้องร่วมบิดาของ ฉ. ต่อมา ฉ. ตายไปโดยมิได้ทำพินัยกรรม และบิดามารดาของ ฉ. ก็ตายไปก่อนแล้วศาลตั้งให้ จ. เป็นผู้จัดการมรดกของ ฉ. แต่จัดการมรดกยังไม่ทันเสร็จ จ. ก็ตายไป ก่อนตาย จ. ได้ทำพินัยกรรมยกทรัพย์มรดกให้ผู้ร้องทั้งสามกับพี่น้องแม้ผู้ร้องทั้งสามไม่ใช่ทายาทของ ฉ.ผู้ร้องทั้งสามก็มีส่วนได้รับทรัพย์ที่ จ. จะได้รับแบ่งจากกองมรดกของ ฉ.ในฐานะคู่สมรสทรัพย์สินต่างๆในกองมรดกของฉ.ยังมิได้แบ่งแยก คงบริคณห์ปนกันอยู่กับทรัพย์สินส่วนของ จ. เมื่อผู้ร้องทั้งสามเป็นทายาทและผู้รับพินัยกรรมของ จ. ย่อมถือได้ว่าเป็นผู้มีส่วนได้เสียในกองมรดกของ ฉ. จึงมีสิทธิร้องขอเป็นผู้จัดการมรดกของ ฉ. ได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1713ผู้คัดค้านที่ 1 เป็นทายาทอันดับ 1 มีสิทธิได้รับมรดกของ ฉ. ส่วนผู้คัดค้านที่ 2 และที่ 3 เป็นทายาทลำดับ 4 ของ ฉ. จึงไม่มีสิทธิรับมรดกแม้จะมีชื่อถือกรรมสิทธิ์ในที่ดินหลายโฉนดร่วมกัน ฉ. ก็ไม่ใช่ส่วนได้เสียโดยตรงในกองมรดก เมื่อมีผู้อื่นที่สมควรกว่าเป็นผู้จัดการมรดกได้ผู้คัดค้านที่ 2 ที่ 3 ก็ไม่สมควรเป็นผู้จัดการมรดกผู้ร้องกับผู้คัดค้านต่างขอให้ตั้งเป็นผู้จัดการมรดกของ ฉ. และมีคดีพิพาทกันอยู่เกี่ยวกับทรัพย์มรดกของ ฉ. ฝ่ายใดเป็นผู้จัดการมรดกฝ่ายเดียวอาจทำความเสียหายแก่กองมรดกและอีกฝ่ายหนึ่งได้ศาลย่อมตั้งให้ผู้ร้องทั้งสามกับผู้คัดค้านที่ 1 เป็นผู้จัดการมรดกของ ฉ.ร่วมกัน
of 45