คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
พ.ร.บ.อาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน วัตถุระเบิดดอกไม้เพลิงและสิ่งเทียมอาวุธปืน พ.ศ.2477 ม. 9

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 5 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 484/2505 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิจารณาโทษอาวุธปืน: ศาลต้องตรวจสอบหลักฐานข้อยกเว้น แม้จำเลยรับสารภาพ
ถึงแม้จำเลยจะรับสารภาพตามฟ้องและโจทก์จำเลยแถลงไม่สืบพยานก็ดี หากมีหลักฐานบางอย่างปรากฏอยู่ในสำนวนว่า ถ้าเป็นจริงตามหลักฐานนั้น จะไม่อาจลงโทษจำเลยได้แล้ว ศาลก็ชอบที่จะพิจารณาหลักฐานข้อนั้นให้ได้ความแน่ชัดเสียก่อน เช่นสอบถามโจทก์หรือสืบพยานหลักฐานที่อาจมีต่อไปให้เสร็จสิ้น แล้วจึงพิพากษาคดีไปตามที่ได้ความนั้น ไม่ใช่ด่วนพิพากษาไปตามคำรับสารภาพนั้นเลยทีเดียว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 65/2505 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตการคุ้มครองตาม พ.ร.บ.อาวุธปืนฯ ไม่รวมถึงการค้าอาวุธปืน การมีไว้เพื่อค้าต้องได้รับอนุญาตแยกต่างหาก
พระราชบัญญัติอาวุธปืนฯ ที่ให้โอกาสนำปืนไปจดทะเบียนภายใน 90 วันนั้น ไม่คุ้มครองถึงการค้าหรือมีไว้เพื่อจำหน่าย (ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 1/2505)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 111/2504 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การป้องกันตัวและการริบอาวุธปืน: การยิงเพื่อป้องกันชีวิตจากมีด และการครอบครองอาวุธปืนเถื่อน
จำเลยยิงขณะผู้เสียหายยกมีดจะฟังจำเลยมีดนั้นขนาดใหญ่ ถ้าฟันได้อาจเป็นอันตรายถึงแก่ชีวิติจำเลยยิงนัดเดียว ดังนี้ เป็นการป้องกันชีวิตจำเลยพอสมควรแก่เหตุ ไม่มีความผิด
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยพยายามฆ่าตนโดยใช้ปืนยิง ขอให้ลงโทษเฉพาะฐานพยายามฆ่าและขอให้สั่งริบปืน ทางพิจารณาได้ความว่าจำเลยป้องกันตัวพอสมควรแก่เหตุ ไม่มีความผิด แต่ปืนที่ไม่มีเครื่องหมายของเจ้าพนักงานอนุญาตให้มีได้นั้น เป็นของร้ายอยู่ในตัว ผู้ใดมีไว้เป็นความผิด จึงเป็นของที่ต้องริบตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 32
ประชุมใหญ่ ครั้ง 1/2504

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 889/2503 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กฎหมายยกเว้นโทษอาวุธปืนฯ มีผลแม้คดีอยู่ระหว่างพิจารณา ศาลอุทธรณ์มีอำนาจพิพากษาถึงจำเลยอื่น
คดีอยู่ในระหว่างพิจารณาของศาลอุทธรณ์ได้มีพระราชบัญญัติอาวุธปืนฯ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2501 มาตรา 9 บัญญัติให้ผู้มีอาวุธปืน โดยไม่ได้รับอนุญาต นำปืนไปขอรับอนุญาตภายใน 90 วันโดยผู้นั้นไม่ต้องรับโทษ ดังนี้ จึงต้องถือว่า ในระหว่างนั้นกฎหมายยกเว้นโทษแก่ผู้มีอาวุธปืนโดยไม่ได้รับอนุญาต แม้คดีอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์ในระหว่างใช้พระราชบัญญัติอาวุธปืน ฯ ดังกล่าว ศาลอุทธรณ์ย่อมยกฟ้องได้ และแม้จะอ่านคำพิพากษาศาล อุทธรณ์ภายหลังระยะเวลา 90 วัน ได้ผ่านพ้นไปแล้ว ก็หาทำให้คำพิพากษาศาลอุทธรณ์เสียไปไม่ (อ้างฎีกาที่ 766/2490) (ประชุมใหญ่ครั้งที่ 10/2503)
จำเลยที่ต้องโทษไม่ได้อุทธรณ์ เมื่อศาลอุทธรณ์เห็นว่ามีพระราชบัญญัติอาวุธปืนฯ ออกใหม่บัญญัติว่า การกระทำของจำเลยไม่ต้องรับโทษ นับว่าเป็นเหตุอยู่ในส่วนลักษณะคดีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 213 ศาลอุทธรณ์ย่อมมีอำนาจพิพากษาตลอดไปถึงจำเลยอื่นที่ไม่ได้อุทธรณ์ด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 707/2502 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดต่างกรรมต่างกระทง ศาลอุทธรณ์ไม่มีอำนาจยกฟ้องความผิดที่ไม่ได้อุทธรณ์
เมื่อโจทก์จำเลยไม่ได้อุทธรณ์คัดค้านคำพิพากษาศาลชั้นต้นในความผิดฐานมีอาวุธปืนและกระสุนปืนโดยไม่ได้รับอนุญาต จำเลยคงอุทธรณ์คัดค้านเฉพาะในความผิดฐานพยายามฆ่าเจ้าพนักงานเท่านั้น ถือว่า ความผิดตาม พ.ร.บ. อาวุธปืน ฯลฯ เป็นอันยุติแล้ว ศาลอุทธรณ์ย่อมไม่มีอำนาจที่จะยกฟ้องโจทก์ในข้อหาตาม พ.ร.บ. อาวุธปืน ฯลฯ เพราะเป็นความผิดต่างกรรมคนละกระทง คนละพระราชบัญญัติกับความผิดที่มีอุทธรณ์ขึ้นมา โจทก์อาจแยกฟ้องกระทงความผิดละสำนวนก็ได้
(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 11/2502)