คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
สวัสดิ์ ภู่งาม

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 342 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2142/2517 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขอพิทักษ์ทรัพย์ชั่วคราวระหว่างฎีกา: ศาลชั้นต้นมีอำนาจพิจารณาเฉพาะก่อนมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด
มาตรา 17 แห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ.2483 บัญญัติว่า" ก่อนศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้เด็ดขาด เจ้าหนี้ผู้เป็นโจทก์จะยื่นคำขอฝ่ายเดียวโดยทำเป็นคำร้องขอให้พิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้ชั่วคราวก็ได้ เมื่อศาลได้รับคำร้องนี้แล้วให้ดำเนินการไต่สวนต่อไปโดยทันทีถ้าศาลเห็นว่าคดีมีมูลก็ให้สั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้ชั่วคราว..." คำว่าศาลตามมาตรานี้ต้องหมายความถึงศาลชั้นต้น โดยกฎหมายบัญญัติให้ศาลทำการไต่สวนฟังว่าคดีของโจทก์มีมูลหรือไม่เสียก่อนที่จะสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้ชั่วคราว เพราะถ้าได้ผ่านการพิจารณาของศาลชั้นต้นไปจนศาลชั้นต้นมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดหรือมีคำพิพากษาแล้วกรณีก็ไม่จำเป็นต้องทำการไต่สวนฟังว่าคดีมีมูลหรือไม่อีก ฉะนั้นที่กฎหมายบัญญัติไว้เช่นนี้จึงเป็นเรื่องที่ประสงค์จะให้เจ้าหนี้ผู้เป็นโจทก์ร้องขอให้พิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้ไว้ชั่วคราว ได้ก็แต่ในกรณีก่อนที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้เด็ดขาดเท่านั้นพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ.2483 ไม่มีบทบัญญัติให้เจ้าหนี้ผู้เป็นโจทก์ร้องขอให้มีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ชั่วคราวในระหว่างฎีกาได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2142/2517

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขอพิทักษ์ทรัพย์ชั่วคราวระหว่างฎีกา: ไม่อนุญาตตาม พ.ร.บ.ล้มละลายฯ มาตรา 17
มาตรา 17 แห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ.2483 บัญญัติว่า"ก่อนศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้เด็ดขาด เจ้าหนี้ผู้เป็นโจทก์จะยื่นคำขอฝ่ายเดียวโดยทำเป็นคำร้องขอให้พิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้ชั่วคราวก็ได้ เมื่อศาลได้รับคำร้องนี้แล้วให้ดำเนินการไต่สวนต่อไปโดยทันที ถ้าศาลเห็นว่าคดีมีมูลก็ให้สั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้ชั่วคราว" คำว่าศาลตามมาตรานี้ต้องหมายความถึงศาลชั้นต้น โดยกฎหมายบัญญัติให้ศาลทำการไต่สวนฟังว่าคดีของโจทก์มีมูลหรือไม่เสียก่อนที่จะสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้ชั่วคราว เพราะถ้าได้ผ่านการพิจารณาของศาลชั้นต้นไปจนศาลชั้นต้นมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดหรือมีคำพิพากษาแล้วกรณีก็ไม่จำเป็นต้องทำการไต่สวนฟังว่าคดีมีมูลหรือไม่อีก ฉะนั้น ที่กฎหมายบัญญัติไว้เช่นนี้จึงเป็นเรื่องที่ประสงค์จะให้เจ้าหนี้ผู้เป็นโจทก์ร้องขอให้พิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้ไว้ชั่วคราว ได้ก็แต่ในกรณีก่อนที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้เด็ดขาดเท่านั้นพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ.2483 ไม่มีบทบัญญัติให้เจ้าหนี้ผู้เป็นโจทก์ร้องขอให้มีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ชั่วคราวในระหว่างฎีกาได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1794/2517

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของนายจ้างต่อการละเมิดของลูกจ้าง, ค่าเสียหายจากการรักษาพยาบาล, และค่าเสียหายจากการสูญเสียความสามารถในการประกอบอาชีพ
จำเลยที่ 1 เป็นลูกจ้างบริษัทจำเลยที่ 2 บริษัทจำเลยที่ 2 ใช้ให้จำเลยที่ 1 ขับรถคันเกิดเหตุไปในธุรกิจของบริษัทจำเลยที่ 2 แล้วไปเกิดเหตุขึ้น โดยชนรถจักรยานยนต์ของโจทก์เสียหาย และโจทก์ได้รับบาดเจ็บสาหัส ขณะจำเลยที่ 1 ขับรถเลี้ยวเพื่อเดินทางกลับบริษัทจำเลยที่ 2 ดังนี้ ถือว่าการกระทำของจำเลยที่ 1ยังอยู่ในทางการที่จ้างของจำเลยที่ 2 จำเลยที่ 2 ต้องร่วมกับจำเลยที่ 1 รับผิดต่อโจทก์
ในกรณีเสียหายแก่ร่างกายนั้น การรักษาพยาบาลในเวลาอนาคต นับว่าเป็นค่าเสียหายโดยตรง ศาลคิดค่าเสียหายดังกล่าวให้ได้ ตามควรแก่พฤติการณ์และความร้ายแรงแห่งละเมิด
เมื่อผลของการละเมิดทำให้โจทก์เสียหายถึงทุพพลภาพโจทก์ย่อมเรียกค่าเสียหายเพื่อการที่เสียความสามารถประกอบอาชีพได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 444 และ ความทุพพลภาพที่เกิดขึ้นยังเข้ากรณีเป็นความเสียหายแก่ร่างกายของโจทก์ตามมาตรา 446 ด้วย โจทก์จึงเรียกได้ทั้งสองประการ
การที่โจทก์ฎีกาแต่เพียงว่า โจทก์ขอถือเอาอุทธรณ์ของโจทก์ในคดีนี้เป็นคำฟ้องฎีกาของโจทก์ด้วยนั้น เป็นฎีกาที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา249 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1794/2517 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของนายจ้างต่อการละเมิดของลูกจ้าง และการประเมินค่าเสียหายจากการบาดเจ็บทางร่างกาย
จำเลยที่ 1 เป็นลูกจ้างบริษัทจำเลยที่ 2 บริษัทจำเลยที่ 2 ใช้ให้จำเลยที่ 1 ขับรถคันเกิดเหตุไปในธุรกิจของบริษัทจำเลยที่ 2แล้วไปเกิดเหตุขึ้น โดยชนรถจักรยานยนต์ของโจทก์เสียหายและโจทก์ได้รับบาดเจ็บสาหัส ขณะจำเลยที่ 1 ขับรถเลี้ยวเพื่อเดินทางกลับบริษัทจำเลยที่ 2 ดังนี้ ถือว่าการกระทำของจำเลยที่ 1 ยังอยู่ในทางการที่จ้างของจำเลยที่ 2 จำเลยที่ 2 ต้องร่วมกับจำเลยที่ 1 รับผิดต่อโจทก์
ในกรณีเสียหายแก่ร่างกายนั้น การรักษาพยาบาลในเวลาอนาคต นับว่าเป็นค่าเสียหายโดยตรง ศาลคิดค่าเสียหายดังกล่าวให้ได้ตามควรแก่พฤติการณ์และความร้ายแรงแห่งละเมิด
เมื่อผลของการละเมิดทำให้โจทก์เสียหายถึงทุพพลภาพโจทก์ย่อมเรียกค่าเสียหายเพื่อการที่เสียความสามารถประกอบอาชีพได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 444 และ ความทุพพลภาพที่เกิดขึ้นยังเข้ากรณีเป็นความเสียหายแก่ร่างกายของโจทก์ตามมาตรา 446 ด้วย โจทก์จึงเรียกได้ทั้งสองประการ
การที่โจทก์ฎีกาแต่เพียงว่า โจทก์ขอถือเอาอุทธรณ์ของโจทก์ในคดีนี้เป็นคำฟ้องฎีกาของโจทก์ด้วยนั้น เป็นฎีกาที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1729/2517

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในที่ดินพิพาทที่อยู่ในเขตป่าคุ้มครอง การดำเนินการตามกฎหมายคุ้มครองป่าไม้ และการหักล้างกฎหมายด้วยการอ้างสิทธิครอบครอง
ที่พิพาทอยู่ในเขตป่าคุ้มครองตามพระราชกฤษฎีกากำหนดป่าปากคลองบางพระฯ ให้เป็นป่าคุ้มครอง พ.ศ.2492 ซึ่งต่อมาได้กลายสภาพมาเป็นป่าสงวนแห่งชาติ ตามพระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ.2507 มาตรา 36 ก่อนที่จะออกพระราชกฤษฎีกาดังกล่าว รัฐบาลได้ดำเนินการถูกต้องครบถ้วนตามมาตรา 5,6 แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองและสงวนป่าพ.ศ.2481ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้อยู่ขณะนั้น กล่าวคือได้ตั้งคณะกรรมการขึ้นทำการสำรวจสอบสวนเขตป่าที่จะจัดให้เป็นป่าคุ้มครองและปิดประกาศโฆษณาระบุท้องที่ซึ่งจะทำการสำรวจไว้ ณ ท้องที่ตามที่กฎหมายกำหนด ได้มีการประชุมชี้แจงต่อราษฎร มีราษฎรยื่นคำร้องคัดค้านหลายรายรวมทั้งบิดาโจทก์ด้วย ครั้นคณะกรรมการประกาศกำหนดวันที่จะดำเนินการสำรวจสอบสวนเขตป่า มีผู้ร้องมาให้การตามนัดบ้างไม่มาบ้าง ผู้ที่ไม่มานั้นปรากฏว่าหลายรายได้ตายไปแล้วและละเลยทอดทิ้ง ไม่ติดใจในสิทธิ แต่คณะกรรมการก็ได้แจ้งให้ผู้ร้องหรือทายาททราบอีก แต่บิดาโจทก์หรือตัวโจทก์ซึ่งอ้างว่าได้รับมรดกที่พิพาทมาครอบครองอยู่ขณะนั้น ไม่ไปให้คณะกรรมการทำการสอบสวน คณะกรรมการทำการสอบสวนเห็นสมควรให้คงอาศัยทำกินในเขตป่าคุ้มครองต่อไปตามเดิมก็มีและกันที่ดินของผู้ร้องออกจากป่าคุ้มครองก็มีส่วนรายใดที่ไม่ได้ให้คณะกรรมการทำการสอบสวนนั้นคณะกรรมการได้จัดที่ดินของบุคคลเหล่านั้นเข้าเป็นป่าคุ้มครอง แล้วรายงานเสนอเรื่องราวไปยังกระทรวงเกษตร จนรัฐบาลได้ออกพระราชกฤษฎีกากำหนดป่าคุ้มครองประกาศใช้เป็นกฎหมายเมื่อ พ.ศ.2492 แล้ว ดังนี้ โจทก์จะอ้างว่าที่พิพาทซึ่งอยู่ในเขตป่าคุ้มครองดังกล่าวเป็นของบิดาโจทก์ซึ่งโจทก์ได้รับมรดกครอบครองมาเพื่อหักล้างกฎหมายหาได้ ไม่ แม้โจทก์จะได้แจ้งการครอบครองที่พิพาทไว้ก็เป็นเวลาภายหลังพระราชกฤษฎีกากำหนดให้ที่พิพาทเป็นป่าคุ้มครองแล้ว. จึงไม่ก่อให้สิทธิอย่างใดแก่โจทก์ โจทก์ไม่มีสิทธิครอบครองที่พิพาท ย่อมไม่มีสิทธิฟ้องขับไล่กระทรวงเกษตรหรือบุคคลซึ่งได้รับอนุมัติจากกระทรวงเกษตรให้เข้าทำประโยชน์ในที่พิพาท

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1729/2517 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประกาศเขตป่าคุ้มครองชอบด้วยกฎหมาย การครอบครองก่อนประกาศไม่กระทบสิทธิของรัฐ
ที่พิพาทอยู่ในเขตป่าคุ้มครองตามพระราชกฤษฎีกากำหนดป่าปากคลองบางพระฯ ให้เป็นป่าคุ้มครอง พ.ศ.2492 ซึ่งต่อมาได้กลายสภาพมาเป็นป่าสงวนแห่งชาติ ตามพระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ. 2507 มาตรา 36 ก่อนที่จะออกพระราชกฤษฎีกาดังกล่าว รัฐบาลได้ดำเนินการถูกต้องครบถ้วนตามมาตรา 5, 6 แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองและสงวนป่า พ.ศ.2481 ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้อยู่ขณะนั้น กล่าวคือได้ตั้งคณะกรรมการขึ้นทำการสำรวจสอบสวนเขตป่าที่จะจัดให้เป็นป่าคุ้มครองและปิดประกาศโฆษณาระบุท้องที่ซึ่งจะทำการสำรวจไว้ ณ ท้องที่ตามที่กฎหมายกำหนด ได้มีการประชุมชี้แจงต่อราษฎร มีราษฎรยื่นคำร้องคัดค้านหลายรายรวมทั้งบิดาโจทก์ด้วย ครั้นคณะกรรมการประกาศกำหนดวันที่จะดำเนินการสำรวจสอบสวนเขตป่า มีผู้ร้องมาให้การตามนัดบ้างไม่มาบ้าง ผู้ที่ไม่มานั้นปรากฏว่าหลายรายได้ตายไปแล้วและละเลยทอดทิ้ง ไม่ติดใจในสิทธิ แต่คณะกรรมการก็ได้แจ้งให้ผู้ร้องหรือทายาททราบอีก แต่บิดาโจทก์หรือตัวโจทก์ซึ่งอ้างว่าได้รับมรดกที่พิพาทมาครอบครองอยู่ขณะนั้น ไม่ไปให้คณะกรรมการทำการสอบสวน คณะกรรมการทำการสอบสวนเห็นสมควรให้คงอาศัยทำกินในเขตป่าคุ้มครองต่อไปตามเดิมก็มีและกันที่ดินของผู้ร้องออกจากป่าคุ้มครองก็มีส่วนรายใดที่ไม่ได้ให้คณะกรรมการทำการสอบสวนนั้น คณะกรรมการได้จัดที่ดินของบุคคลเหล่านั้นเข้าเป็นป่าคุ้มครองแล้วรายงานเสนอเรื่องราวไปยังกระทรวงเกษตร จนรัฐบาลได้ออกพระราชกฤษฎีกากำหนดป่าคุ้มครองประกาศใช้เป็นกฎหมายเมื่อ พ.ศ. 2492 แล้ว ดังนี้ โจทก์จะอ้างว่าที่พิพาทซึ่งอยู่ในเขตป่าคุ้มครองดังกล่าวเป็นของบิดาโจทก์ซึ่งโจทก์ได้รับมรดกครอบครองมาเพื่อหักล้างกฎหมายหาได้ไม่ แม้โจทก์จะได้แจ้งการครอบครองที่พิพาทไว้ก็เป็นเวลาภายหลังพระราชกฤษฎีกากำหนดให้ที่พิพาทเป็นป่าคุ้มครองแล้ว จึงไม่ก่อให้สิทธิอย่างใดแก่โจทก์ โจทก์ไม่มีสิทธิครอบครองที่พิพาท ย่อมไม่มีสิทธิฟ้องขับไล่กระทรวงเกษตรหรือบุคคลซึ่งได้รับอนุมัติจากกระทรวงเกษตรให้เข้าทำประโยชน์ในที่พิพาท

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1544/2517

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาห้ามฟ้องซ้ำคดีเดิมที่ถึงที่สุดแล้ว แม้มีการเปลี่ยนแปลงข้อเท็จจริงบางส่วน ศาลไม่รับพิจารณา
โจทก์จำเลยเป็นความกันเกี่ยวกับการรังวัดแบ่งที่พิพาทตามคำพิพากษา จนศาลฎีกาได้พิพากษาให้โจทก์จัดการแบ่งแยกโฉนดที่ดินที่พิพาทให้แก่จำเลยแล้ว โจทก์จะมาฟ้องคดีคัดค้านคำวินิจฉัยชี้ขาดของศาลฎีกาซึ่งได้เคยพิพากษาเสร็จเด็ดขาดไปแล้วอีกไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1460/2517

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกถอนใบอนุญาตขับรถ: ศาลอุทธรณ์แก้ไขคำพิพากษาศาลชั้นต้น, โจทก์ฎีกาแต่ถูกจำกัดสิทธิเนื่องจากเป็นปัญหาข้อเท็จจริง
ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 390 กระทงหนึ่งจำคุก 15 วัน และตามพระราชบัญญัติจราจรทางบกอีกกระทงหนึ่ง จำคุก 2 เดือน กับให้ถอนใบอนุญาตขับรถของจำเลยศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เฉพาะให้ยกคำขอให้ถอนใบอนุญาตขับรถของจำเลยเสีย โจทก์ฎีกาคัดค้านดุลพินิจของศาลอุทธรณ์ที่ไม่ถอนใบอนุญาตขับรถ อันเป็นปัญหาข้อเท็จจริงซึ่งศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้ไขเล็กน้อย จึงต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1460/2517 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกถอนใบอนุญาตขับรถ: ศาลอุทธรณ์แก้ไขคำพิพากษาศาลชั้นต้นเรื่องการเพิกถอนใบอนุญาต โจทก์ฎีกา แต่ฎีกาต้องห้ามตามกฎหมาย
ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 390 กระทงหนึ่งจำคุก 15 วัน และตามพระราชบัญญัติจราจรทางบกอีกกระทงหนึ่ง จำคุก 2 เดือน กับให้ถอนใบอนุญาตขับรถของจำเลยศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เฉพาะให้ยกคำขอให้ถอนใบอนุญาตขับรถของจำเลยเสีย โจทก์ฎีกาคัดค้านดุลพินิจของศาลอุทธรณ์ที่ไม่ถอนใบอนุญาตขับรถ อันเป็นปัญหาข้อเท็จจริงซึ่งศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้ไขเล็กน้อย จึงต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1291/2517 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การใช้สิทธิในที่ดินที่เป็นการละเมิดต่อผู้อื่นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 421
ลำเหมืองพิพาทผ่านที่นาของจำเลยไปสู่ที่นาของโจทก์ โจทก์ใช้น้ำจากลำเหมืองพิพาทในการทำนามาเป็นเวลา 10 ปีเศษแล้วจำเลยก็ยอมรับว่าโจทก์ได้ใช้น้ำในลำเหมืองที่ผ่านที่นาของจำเลย เพราะตามปกติน้ำฝนมีไม่พอในการทำนา แสดงว่าจำเลยรู้อยู่แล้วว่าถ้าจำเลยกลบลำเหมืองในที่นาของจำเลยเสีย ผลเสียหายย่อมเกิดขึ้นแก่การทำนาของโจทก์อย่างแน่นอน ฉะนั้น การที่จำเลยกลบลำเหมืองพิพาทตอนที่ผ่านที่นาจำเลย เพื่อมิให้โจทก์ได้ใช้น้ำในลำเหมืองนั้นในการทำนาต่อไป จึงเป็นการใช้สิทธิซึ่งมีแต่จะให้เกิดเสียหายแก่บุคคลอื่นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 421 โจทก์ย่อมมีสิทธิฟ้องขอให้จำเลยเปิดลำเหมืองพิพาทเพื่อโจทก์จะได้ใช้น้ำจากลำเหมืองในการทำนาตามสภาพเดิมต่อไปได้
of 35