พบผลลัพธ์ทั้งหมด 342 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1381/2514
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจตนายิงเพื่อประทับความผิด ชี้เจตนาพยายามฆ่า แม้ถูกเพียงขา
จำเลยปักใจเชื่อว่าผู้เสียหายฆ่าหลายชายจำเลย จึงวางแผนฆ่าผู้เสียหาย โดยให้น้องชายไปแจ้งตำรวจให้จับผู้เสียหายที่บ้านผู้มีชื่อและจำเลยไปรออยู่ใกล้บ้านนั้น เมื่อตำรวจมาถึงจำเลยรับอาสานำตำรวจไปจับผู้เสียหาย แล้วจำเลยเดินลุยน้ำไปยิงผู้เสียหายทันทีขณะผู้เสียหายนั่งอยู่บนบ้านนั้น กระสุนปืนถูกขาผู้เสียหาย จำเลยยิงแล้วหลบหนีไป เมื่อตำรวจจับได้ก็แก้ตัวว่ายิงเพื่อป้องกันตำรวจเช่นนี้จำเลยย่อมมีความผิดฐานพยายามฆ่าผู้เสียหายโดยไตร่ตรองไว้ก่อน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1355/2514
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิ่มเติมชื่อจำเลยในฟ้องคดีอาญา ศาลอนุญาตได้หากไม่ทำให้จำเลยเสียเปรียบ
ในระหว่างสืบพยานโจทก์ โจทก์ยื่นคำร้องว่าฟ้องโจทก์หน้าแรกตรงข้อความว่า "ข้าพเจ้าพนักงานอัยการจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ โจทก์ขอยื่นฟ้อง (1)... จำเลย" นั้น ยังมิได้เติมชื่อจำเลยลงไป ด้วยความพลั้งเผลอ จึงขอเติมชื่อจำเลยในช่องว่างเป็นว่า "นายดวง จิตชุ่ม"จำเลยนั้น เห็นว่าฟ้องของโจทก์ในช่อง คดีระหว่างใครโจทก์ ใครจำเลยนั้น โจทก์ได้ระบุชื่อ นายดวง จิตชุ่ม เป็นจำเลยไว้แล้ว เพียงแต่โจทก์พิมพ์ตกชื่อจำเลยในฟ้องหน้าแรก บรรทัดที่ 10 เท่านั้น ส่วนที่อยู่ ชาติและบังคับของจำเลยในบรรทัดต่อไปโจทก์ก็พิมพ์ไว้ครบถ้วน ทั้งในฟ้องหน้า 2 ตอนท้าย โจทก์ก็ได้ระบุว่าจำเลยต้องขังตามหมายขังของศาล ฟ้องของโจทก์จึงไม่มีทางที่จะให้เข้าใจผิดไปว่า โจทก์มิได้ฟ้องจำเลย จำเลยเองก็ดำเนินการต่อสู้คดีตลอดมาโดยมิได้หลงข้อต่อสู้แต่ประการใด การที่โจทก์ขอเพิ่มเติมฟ้องเช่นนี้ จึงเป็นการเพิ่มเติมรายละเอียดซึ่งมิได้กล่าวในฟ้องด้วยความพลั้งเผลอ และไม่ได้ทำให้จำเลยเสียเปรียบในการต่อสู้คดี สมควรอนุญาตให้โจทก์เพิ่มเติมฟ้องได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 163, 164
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1355/2514 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิ่มเติมชื่อจำเลยในฟ้อง: ศาลอนุญาตได้หากไม่ทำให้จำเลยเสียเปรียบ
ในระหว่างสืบพยานโจทก์ โจทก์ยื่นคำร้องว่าฟ้องโจทก์หน้าแรกตรงข้อความว่า "ข้าพเจ้าพนักงานอัยการจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ โจทก์ขอยื่นฟ้อง (1)... จำเลย" นั้น ยังมิได้เติมชื่อจำเลยลงไป ด้วยความพลั้งเผลอ จึงขอเติมชื่อจำเลยในช่องว่างเป็นว่า "นายดวง จิตชุ่ม" จำเลยนั้นเห็นว่าฟ้องของโจทก์ในช่องคดีระหว่างใครโจทก์ ใครจำเลยนั้น โจทก์ได้ระบุชื่อนายดวง จิตชุ่ม เป็นจำเลยไว้แล้ว เพียงแต่โจทก์พิมพ์ตกชื่อจำเลยในฟ้องหน้าแรก บรรทัดที่ 10 เท่านั้น ส่วนที่อยู่ ชาติและบังคับของจำเลยในบรรทัดต่อไปโจทก์ก็พิมพ์ไว้ครบถ้วน ทั้งในฟ้องหน้า 2 ตอนท้าย โจทก์ก็ได้ระบุว่าจำเลยต้องขังตามหมายขังของศาล ฟ้องของโจทก์จึงไม่มีทางที่จะให้เข้าใจผิดไปว่า โจทก์มิได้ฟ้องจำเลย จำเลยเองก็ดำเนินการต่อสู้คดีตลอดมาโดยมิได้หลงข้อต่อสู้แต่ประการใด การที่โจทก์ขอเพิ่มเติมฟ้องเช่นนี้ จึงเป็นการเพิ่มเติมรายละเอียดซึ่งมิได้กล่าวในฟ้องด้วยความพลั้งเผลอ และไม่ได้ทำให้จำเลยเสียเปรียบในการต่อสู้คดี สมควรอนุญาตให้โจทก์เพิ่มเติมฟ้องได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 163, 164
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1304/2514
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ดอกเบี้ยหนี้มูลละเมิด: คำนวณดอกเบี้ยจากวันละเมิด/วันฟ้อง และคิดดอกเบี้ยรายเดือนเมื่อผิดนัด
หนี้อันเกิดแต่มูลละเมิดนั้น ลูกหนี้ได้ชื่อว่าผิดนัดมาแต่เวลาที่ทำละเมิดเป็นต้นไป ฉะนั้น ค่าเสียหายคำนวณเป็นเงินก้อนจากวันละเมิดจนถึงวันฟ้อง จึงต้องคิดดอกเบี้ยระหว่างผิดนัดให้ตั้งแต่วันละเมิดแต่ถ้าคำขอท้ายฟ้องโจทก์ระบุมาไม่ชัดแจ้งว่า ให้จำเลยชำระตั้งแต่วันใดศาลอาจให้ดอกเบี้ยนับแต่วันฟ้องก็ได้
ส่วนค่าเสียหายที่โจทก์ขอให้ชำระเป็นรายเดือนนับแต่วันฟ้องจนกว่าจะหยุดทำละเมิดนั้น หลักการคิดดอกเบี้ยไม่เหมือนกับการคำนวณค่าเสียหายเป็นเงินก้อนเดียวดังกรณีข้างต้น ในกรณีเช่นนี้ถ้าจำเลยผิดนัด ไม่ชำระในเดือนใด ก็ให้คิดดอกเบี้ยแต่เดือนที่ผิดนัดนั้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จ
ส่วนค่าเสียหายที่โจทก์ขอให้ชำระเป็นรายเดือนนับแต่วันฟ้องจนกว่าจะหยุดทำละเมิดนั้น หลักการคิดดอกเบี้ยไม่เหมือนกับการคำนวณค่าเสียหายเป็นเงินก้อนเดียวดังกรณีข้างต้น ในกรณีเช่นนี้ถ้าจำเลยผิดนัด ไม่ชำระในเดือนใด ก็ให้คิดดอกเบี้ยแต่เดือนที่ผิดนัดนั้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1304/2514 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ดอกเบี้ยผิดนัดชำระหนี้มูลละเมิด: การคำนวณดอกเบี้ยจากวันละเมิด/วันฟ้อง และการคิดดอกเบี้ยรายเดือน
หนี้อันเกิดแต่มูลละเมิดนั้น ลูกหนี้ได้ชื่อว่าผิดนัดมาแต่เวลาที่ทำละเมิดเป็นต้นไป ฉะนั้น ค่าเสียหายคำนวณเป็นเงินก้อนจากวันละเมิดจนถึงวันฟ้อง จึงต้องคิดดอกเบี้ยระหว่างผิดนัดให้ตั้งแต่วันละเมิดแต่ถ้าคำขอท้ายฟ้องโจทก์ระบุมาไม่ชัดแจ้งว่า ให้จำเลยชำระตั้งแต่วันใดศาลอาจให้ดอกเบี้ยนับแต่วันฟ้องก็ได้
ส่วนค่าเสียหายที่โจทก์ขอให้ชำระเป็นรายเดือนนับแต่วันฟ้องจนกว่าจะหยุดทำละเมิดนั้น หลักการคิดดอกเบี้ยไม่เหมือนกับการคำนวณค่าเสียหายเป็นเงินก้อนเดียวดังกรณีข้างต้น ในกรณีเช่นนี้ถ้าจำเลยผิดนัด ไม่ชำระในเดือนใด ก็ให้คิดดอกเบี้ยแต่เดือนที่ผิดนัดนั้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จ
ส่วนค่าเสียหายที่โจทก์ขอให้ชำระเป็นรายเดือนนับแต่วันฟ้องจนกว่าจะหยุดทำละเมิดนั้น หลักการคิดดอกเบี้ยไม่เหมือนกับการคำนวณค่าเสียหายเป็นเงินก้อนเดียวดังกรณีข้างต้น ในกรณีเช่นนี้ถ้าจำเลยผิดนัด ไม่ชำระในเดือนใด ก็ให้คิดดอกเบี้ยแต่เดือนที่ผิดนัดนั้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1289/2514 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาประนีประนอมยอมความหลังศาลพิพากษาตามยอม ถือเป็นสิทธิและหน้าที่ตามคำพิพากษา เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ล้มละลายไม่อาจปฏิเสธได้
จำเลยถูกผู้ร้องฟ้องคดีแพ่งเรื่องผิดสัญญาซื้อขายที่ดินคดีนั้นจำเลยกับผู้ร้องได้ทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันไว้ว่า จำเลยจะออกโฉนดที่พิพาทแล้วโอนให้ผู้ร้อง โดยผู้ร้องจะต้องชำระราคาที่ดินอีก 10,000 บาทให้จำเลย ต่อมาจำเลยถูกสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด และที่ดินมีราคาสูงขึ้นเป็น 100,000 บาท เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ก็ไม่อาจอ้างอำนาจตามมาตรา 122 วรรคแรก แห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย พุทธศักราช 2485 มาบอกปัดความผูกพันตามข้อตกลงในสัญญาประนีประนอมยอมความดังกล่าวเพราะสิทธิที่จะเรียกร้องให้ผู้ร้องชำระราคาที่ดินอีก 10,000 บาทนั้น มิใช่สิทธิตามสัญญาโดยแท้ แต่เป็นสิทธิตามสัญญาประนีประนอมยอมความซึ่งศาลได้พิพากษาตามยอมแล้ว ถือได้ว่าเป็นสิทธิตามคำพิพากษานั่นเอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1289/2514
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาประนีประนอมยอมความที่ศาลพิพากษาตามยอมมีสถานะเป็นคำพิพากษา เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ไม่อาจยกเว้นการปฏิบัติตามได้
จำเลยถูกผู้ร้องฟ้องคดีแพ่งเรื่องผิดสัญญาซื้อขายที่ดินคดีนั้นจำเลยกับผู้ร้องได้ทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันไว้ว่า จำเลยจะออกโฉนดที่พิพาทแล้วโอนให้ผู้ร้อง โดยผู้ร้องจะต้องชำระราคาที่ดินอีก 10,000 บาทให้จำเลย ต่อมาจำเลยถูกสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด และที่ดินมีราคาสูงขึ้นเป็น 100,000 บาทเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ก็ไม่อาจอ้างอำนาจตามมาตรา 122 วรรคแรกแห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย พุทธศักราช 2485 มาบอกปัดความผูกพันตามข้อตกลงในสัญญาประนีประนอมยอมความดังกล่าวเพราะสิทธิที่จะเรียกร้องให้ผู้ร้องชำระราคาที่ดินอีก 10,000 บาท นั้นมิใช่สิทธิตามสัญญาโดยแท้ แต่เป็นสิทธิตามสัญญาประนีประนอมยอมความซึ่งศาลได้พิพากษาตามยอมแล้ว ถือได้ว่าเป็นสิทธิตามคำพิพากษานั่นเอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1257/2514
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การไม่มาศาลในวันนัดชี้สองสถาน ไม่ถือเป็นเหตุทิ้งฟ้อง หากศาลยังสามารถดำเนินกระบวนการต่อไปได้
ศาลกำหนดวันชี้สองสถานให้คู่ความทราบวันนัดแล้ว ครั้นถึงกำหนดวันนัด โจทก์ไม่มาศาล เช่นนี้ กรณียังถือไม่ได้ว่าโจทก์ทิ้งฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1257/2514 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การไม่มาศาลในวันนัดชี้สองสถาน ไม่ถือเป็นการทิ้งฟ้อง หากศาลยังไม่ได้สั่งให้ชี้สองสถาน
ศาลกำหนดวันชี้สองสถานให้คู่ความทราบวันนัดแล้ว ครั้นถึงกำหนดวันนัด โจทก์ไม่มาศาล เช่นนี้ กรณียังถือไม่ได้ว่าโจทก์ทิ้งฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1255/2514 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายัดเงินสงเคราะห์จากการรถไฟฯ ชำระหนี้ได้ แม้ยังมิได้เลือกวิธีรับเงิน
การรถไฟแห่งประเทศไทยมีข้อบังคับว่าด้วยกองทุนสำหรับจ่ายสงเคราะห์ผู้ปฏิบัติงานในการรถไฟฯ กรณีออกจากงานอยู่ 2 ฉบับ ซึ่งผู้ออกจากงานไม่ว่าเพราะเหตุใด (นอกจากถูกไล่ออก) อาจเลือกรับเงินสงเคราะห์ครั้งเดียวหรือเป็นรายเดือนตามข้อบังคับฉบับหนึ่งฉบับใดก็ได้ ลูกหนี้ตามคำพิพากษาเป็นพนักงานของการรถไฟฯ และลาออกจากงานย่อมมีสิทธิเรียกร้องเงินสงเคราะห์จากการรถไฟฯ สุดแต่จะเลือก แม้ยังไม่เลือกเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาก็มีสิทธิขอให้ศาลมีคำสั่งอายัดเงินสงเคราะห์ครั้งเดียวตามสิทธิเรียกร้องของลูกหนี้วิธีหนึ่งให้การรถไฟฯส่งเงินนั้นมายังศาลได้
ความในมาตรา 13 แห่งพระราชบัญญัติการรถไฟแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2494 ที่ว่าทรัพย์สินของการรถไฟฯ ย่อมไม่อยู่ในความรับผิดแห่งการบังคับคดีนั้น มุ่งหมายถึงการบังคับคดีเอาแก่ทรัพย์สินของการรถไฟฯโดยตรง กรณีที่ศาลมีคำสั่งอายัดสิทธิเรียกร้องของลูกหนี้ตามคำพิพากษาซึ่งมีสิทธิจะได้รับเงินสงเคราะห์จากการรถไฟฯ หาใช่เป็นการบังคับคดีแก่ทรัพย์สินของการรถไฟโดยตรงไม่
ความในมาตรา 13 แห่งพระราชบัญญัติการรถไฟแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2494 ที่ว่าทรัพย์สินของการรถไฟฯ ย่อมไม่อยู่ในความรับผิดแห่งการบังคับคดีนั้น มุ่งหมายถึงการบังคับคดีเอาแก่ทรัพย์สินของการรถไฟฯโดยตรง กรณีที่ศาลมีคำสั่งอายัดสิทธิเรียกร้องของลูกหนี้ตามคำพิพากษาซึ่งมีสิทธิจะได้รับเงินสงเคราะห์จากการรถไฟฯ หาใช่เป็นการบังคับคดีแก่ทรัพย์สินของการรถไฟโดยตรงไม่