พบผลลัพธ์ทั้งหมด 342 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1884/2516 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หน้าที่พิสูจน์สินค้าต้องห้ามนำเข้า: จำเลยต้องพิสูจน์แหล่งกำเนิดสินค้าที่นำเข้า
ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 53 ห้ามมิให้นำสินค้าที่ผลิตหรือมีกำเนิดในประเทศจีนคอมมิวนิสต์หรือซึ่งมาจากประเทศจีนคอมมิวนิสต์เข้ามาในราชอาณาจักร ผู้ใดนำสินค้าดังกล่าวนี้เข้ามาในราชอาณาจักร มีความผิดตามกฎหมายว่าด้วยศุลกากรฐานนำของต้องห้ามเข้ามาในราชอาณาจักร เมื่อจำเลยเป็นผู้นำเขากวางอ่อนของกลางเข้ามาในราชอาณาจักร คงโต้เถียงกันว่าเขากวางอ่อนของกลางเป็นของที่มีกำเนิดในประเทศจีนคอมมิวนิสต์หรือไม่ หน้าที่การพิสูจน์ตกอยู่แก่จำเลย ตามนัยแห่งมาตรา 100 พระราชบัญญัติศุลกากร
(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 19/2516)
(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 19/2516)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1811-1812/2516 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดนายจ้างต่อละเมิดของลูกจ้าง แม้ลูกจ้างไม่มีหน้าที่ขับรถ หากเป็นการใช้ให้ทำกิจการของนายจ้าง
ลูกจ้างของกรมทางหลวงแผ่นดินประจำหน่วยควบคุมและตรวจสอบวัสดุก่อสร้างทาง ซึ่งมีหน้าที่เกี่ยวกับการวิเคราะห์วิจัยดิน หิน กรวดไม่มีหน้าที่ในการขับรถยนต์ ได้ขับรถยนต์ของกรมทางหลวงแผ่นดินไปล้างโดยช่างตรีผู้บังคับบัญชาใช้ให้ไป เมื่อล้างเสร็จได้ขับรถกลับที่พักแต่ระหว่างทางได้ขับรถแวะไปเอาของที่บ้านพี่สาว และเกิดชนกับรถยนต์อื่นโดยประมาท เป็นเหตุให้คนตาย แม้ลูกจ้างนั้นไม่มีหน้าที่เกี่ยวข้องกับการขับรถยนต์ แต่การนำรถไปล้างก็โดยผู้บังคับบัญชาใช้ให้ไป และการล้างรถก็เป็นกิจการของกรมทางหลวงแผ่นดินย่อมถือได้ว่าลูกจ้างนั้นได้กระทำละเมิดในทางการที่จ้างของนายจ้างซึ่งกรมทางหลวงแผ่นดินผู้เป็นนายจ้างจะต้องร่วมรับผิดในผลแห่งละเมิด(วินิจฉัยโดยที่ประชุมใหญ่ครั้งที่ 14/2516)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1811-1812/2516
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของนายจ้างต่อละเมิดของลูกจ้าง แม้ลูกจ้างไม่มีหน้าที่ขับรถ แต่ได้รับคำสั่งให้นำรถไปล้าง
ลูกจ้างของกรมทางหลวงแผ่นดินประจำหน่วยควบคุมและตรวจสอบวัสดุก่อสร้างทางซึ่งมีหน้าที่เกี่ยวกับการวิเคราะห์วิจัยดิน หิน กรวด ไม่มีหน้าที่ในการขับรถยนต์ ได้ขับรถยนต์ของกรมทางหลวงแผ่นดินไปล้างโดยช่างตรีผู้บังคับบัญชาใช้ให้ไป เมื่อล้างเสร็จได้ขับรถกลับที่พักแต่ระหว่างทางได้ขับรถแวะไปเอาของที่บ้านพี่สาว และเกิดชนกับรถยนต์อื่นโดยประมาท เป็นเหตุให้คนตาย แม้ลูกจ้างนั้นไม่มีหน้าที่เกี่ยวข้องกับการขับรถยนต์ แต่การนำรถไปล้างก็โดยผู้บังคับบัญชาใช้ให้ไป และการล้างรถก็เป็นกิจการของกรมทางหลวงแผ่นดินย่อมถือได้ว่าลูกจ้างนั้นได้กระทำละเมิดในทางการที่จ้างของนายจ้างซึ่งกรมทางหลวงแผ่นดินผู้เป็นนายจ้างจะต้องร่วมรับผิดในผลแห่งละเมิด(วินิจฉัยโดยที่ประชุมใหญ่ครั้งที่ 14/2516)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1802/2516
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การค้ำประกันและการยินยอมเปลี่ยนแปลงสัญญา ก่อให้เกิดความผูกพันตามจำนวนหนี้ที่เพิ่มขึ้น
จำเลยที่ 1 ทำสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีกับโจทก์เป็นจำนวนไม่เกิน 150,000 บาท จำเลยที่ 2 ทำหนังสือสัญญาเป็นผู้ค้ำประกันจำเลยที่ 1 ต่อมาจำเลยที่ 1 ขอเพิ่มจำนวนเงินเบิกเกินบัญชีอีก 150,000 บาท และขอต่ออายุสัญญาอีก 2 ครั้ง จำเลยที่ 2 ลงชื่อรับทราบถึงการขอต่ออายุสัญญา และจำนวนหนี้ที่จำเลยที่ 1 เป็นหนี้โจทก์ด้วย ครั้งหลังสุดจำเลยที่ 1 ยอมรับว่ายังคงเป็นหนี้โจทก์อยู่เป็นเงิน 1,163,475.31 บาท จำเลยที่ 2 ลงชื่อรับทราบถึงการขอต่ออายุสัญญานี้ และจำนวนหนี้ที่จำเลยที่ 1 ต่อไปตามข้อกำหนดแห่งสัญญาที่ได้ทำไว้นั้น ดังนี้ จำเลยที่ 2 จะต้องรับผิดร่วมกับจำเลยที่ 1 ในวงเงิน 1,163,475.31 บาท ที่จำเลยที่ 1 เป็นหนี้โจทก์อยู่ครั้งหลังสุด ตามที่จำเลยที่ 2 ยินยอมเข้าค้ำประกันจำเลยที่ 1 ด้วย (ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 16/2516)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1802/2516 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การค้ำประกันและการยินยอมเปลี่ยนแปลงหนี้: ผู้ค้ำประกันต้องรับผิดตามจำนวนหนี้ที่ยินยอมล่าสุด
จำเลยที่ 1 ทำสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีกับโจทก์เป็นจำนวนไม่เกิน 150,000 บาท จำเลยที่ 2 ทำหนังสือสัญญาเป็นผู้ค้ำประกันจำเลยที่ 1 ต่อมาจำเลยที่ 1 ขอเพิ่มจำนวนเงินเบิกเกินบัญชีอีก150,000 บาท และขอต่ออายุสัญญาอีก 2 ครั้ง จำเลยที่ 2ลงชื่อรับทราบถึงการขอต่ออายุสัญญา และจำนวนหนี้ที่จำเลยที่ 1เป็นหนี้โจทก์ด้วย ครั้งหลังสุดจำเลยที่ 1 ยอมรับว่ายังคงเป็นหนี้โจทก์อยู่เป็นเงิน 1,163,475.31 บาท จำเลยที่ 2 ลงชื่อรับทราบถึงการขอต่ออายุสัญญานี้ และจำนวนหนี้ที่จำเลยที่ 1 เป็นหนี้โจทก์และยินยอมเข้าค้ำประกันจำเลยที่ 1 ต่อไปตามข้อกำหนดแห่งสัญญาที่ได้ทำไว้นั้นดังนี้ จำเลยที่ 2 จะต้องรับผิดร่วมกับจำเลยที่ 1 ในวงเงิน 1,163,475.31 บาท ที่จำเลยที่ 1 เป็นหนี้โจทก์อยู่ครั้งหลังสุด ตามที่จำเลยที่ 2 ยินยอมเข้าค้ำประกันจำเลยที่ 1 ด้วย
(ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 16/2516)
(ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 16/2516)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1709/2516
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนสิทธิการเช่าและอำนาจบอกเลิกสัญญาเช่าเมื่อเจ้าของกรรมสิทธิ์เปลี่ยนแปลง
มูลนิธิโจทก์ซึ่งได้รับโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทจากผู้ให้เช่าเดิม ย่อมรับมาทั้งสิทธิและหน้าที่เกี่ยวกับการเช่า เมื่อมูลนิธิโจทก์บอกเลิกการเช่าแล้ว ก็ย่อมมีอำนาจฟ้องขับไล่จำเลยออกจากที่ดินพิพาทได้ จำเลยจะโต้เถียงสิทธิของมูลนิธิโจทก์ว่าเป็นเรื่องนอกเหนือวัตถุประสงค์ของมูลนิธิหาได้ไม่
การที่ประธานกรรมการมูลนิธิโจทก์ลงนามในหนังสือบอกกล่าวเลิกการเช่าเพียงผู้เดียว โดยไม่มีกรรมการอื่นอีก 2 คนลงนามด้วย ให้ครบถ้วนถูกต้องนั้นแม้จะถือไม่ได้ว่าทำในฐานะผู้แทนมูลนิธิโจทก์ แต่ก็เห็นได้ว่าทำในฐานะตัวแทนของมูลนิธิโจทก์ ทั้งมูลนิธิโจทก์ก็ได้รับเอาผลแห่งนิติกรรมนั้น และฟ้องขับไล่จำเลยแล้ว จำเลยจะอ้างเหตุดังกล่าวปฏิเสธการบอกเลิกสัญญาเช่าไม่ได้
จำเลยมิได้ยกข้อที่ว่า การบอกกล่าวเลิกการเช่าของทนายโจทก์มิได้มีการมอบอำนาจโดยชอบ เพราะไม่มีกรรมการอื่นอีก 2 คนร่วมมอบอำนาจกับประธานกรรมการมูลนิธิโจทก์ขึ้นต่อสู้ในศาลชั้นต้น จะยกขึ้นฎีกาไม่ได้ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
การที่ประธานกรรมการมูลนิธิโจทก์ลงนามในหนังสือบอกกล่าวเลิกการเช่าเพียงผู้เดียว โดยไม่มีกรรมการอื่นอีก 2 คนลงนามด้วย ให้ครบถ้วนถูกต้องนั้นแม้จะถือไม่ได้ว่าทำในฐานะผู้แทนมูลนิธิโจทก์ แต่ก็เห็นได้ว่าทำในฐานะตัวแทนของมูลนิธิโจทก์ ทั้งมูลนิธิโจทก์ก็ได้รับเอาผลแห่งนิติกรรมนั้น และฟ้องขับไล่จำเลยแล้ว จำเลยจะอ้างเหตุดังกล่าวปฏิเสธการบอกเลิกสัญญาเช่าไม่ได้
จำเลยมิได้ยกข้อที่ว่า การบอกกล่าวเลิกการเช่าของทนายโจทก์มิได้มีการมอบอำนาจโดยชอบ เพราะไม่มีกรรมการอื่นอีก 2 คนร่วมมอบอำนาจกับประธานกรรมการมูลนิธิโจทก์ขึ้นต่อสู้ในศาลชั้นต้น จะยกขึ้นฎีกาไม่ได้ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1709/2516 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบอกเลิกสัญญาเช่าและการฟ้องขับไล่: สิทธิของเจ้าของที่ดินเมื่อสัญญาเช่าสิ้นสุด
มูลนิธิโจทก์ซึ่งได้รับโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทจากผู้ให้เช่าเดิมย่อมรับมาทั้งสิทธิและหน้าที่เกี่ยวกับการเช่า เมื่อมูลนิธิโจทก์บอกเลิกการเช่าแล้ว ก็ย่อมมีอำนาจฟ้องขับไล่จำเลยออกจากที่ดินพิพาทได้ จำเลยจะโต้เถียงสิทธิของมูลนิธิโจทก์ว่าเป็นเรื่องนอกเหนือวัตถุประสงค์ของมูลนิธิหาได้ไม่
การที่ประธานกรรมการมูลนิธิโจทก์ลงนามในหนังสือบอกกล่าวเลิกการเช่าเพียงผู้เดียว โดยไม่มีกรรมการอื่นอีก 2 คนลงนามด้วย ให้ครบถ้วนถูกต้องนั้นแม้จะถือไม่ได้ว่าทำในฐานะผู้แทนมูลนิธิโจทก์ แต่ก็เห็นได้ว่าทำในฐานะตัวแทนของมูลนิธิโจทก์ ทั้งมูลนิธิโจทก์ก็ได้รับเอาผลแห่งนิติกรรมนั้นและฟ้องขับไล่จำเลยแล้ว จำเลยจะอ้างเหตุดังกล่าวปฏิเสธการบอกเลิกสัญญาเช่าไม่ได้
จำเลยมิได้ยกข้อที่ว่า การบอกกล่าวเลิกการเช่าของทนายโจทก์มิได้มีการมอบอำนาจโดยชอบ เพราะไม่มีกรรมการอื่นอีก 2 คนร่วมมอบอำนาจกับประธานกรรมการมูลนิธิโจทก์ขึ้นต่อสู้ในศาลชั้นต้นจะยกขึ้นฎีกาไม่ได้ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
การที่ประธานกรรมการมูลนิธิโจทก์ลงนามในหนังสือบอกกล่าวเลิกการเช่าเพียงผู้เดียว โดยไม่มีกรรมการอื่นอีก 2 คนลงนามด้วย ให้ครบถ้วนถูกต้องนั้นแม้จะถือไม่ได้ว่าทำในฐานะผู้แทนมูลนิธิโจทก์ แต่ก็เห็นได้ว่าทำในฐานะตัวแทนของมูลนิธิโจทก์ ทั้งมูลนิธิโจทก์ก็ได้รับเอาผลแห่งนิติกรรมนั้นและฟ้องขับไล่จำเลยแล้ว จำเลยจะอ้างเหตุดังกล่าวปฏิเสธการบอกเลิกสัญญาเช่าไม่ได้
จำเลยมิได้ยกข้อที่ว่า การบอกกล่าวเลิกการเช่าของทนายโจทก์มิได้มีการมอบอำนาจโดยชอบ เพราะไม่มีกรรมการอื่นอีก 2 คนร่วมมอบอำนาจกับประธานกรรมการมูลนิธิโจทก์ขึ้นต่อสู้ในศาลชั้นต้นจะยกขึ้นฎีกาไม่ได้ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1631/2516 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเช่าไม่เข้าข่ายสัญญาต่างตอบแทนพิเศษ แม้มีการปรับปรุงอาคาร เพราะเป็นหน้าที่บำรุงรักษาตามสัญญาเช่าเดิม
โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยออกจากอสังหาริมทรัพย์อันมีค่าเช่าในขณะยื่นฟ้องไม่เกินเดือนละสองพันบาท และเรียกค่าเสียหายมาด้วยทุนทรัพย์ไม่เกินสองพันบาท จำเลยมิได้ต่อสู้กรรมสิทธิ์หรือยกข้อโต้เถียงในเรื่องแปลความหมายแห่งข้อความในสัญญาเช่าเป็นคดีต้องห้ามอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง แม้ศาลชั้นต้นจะสั่งรับอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงและศาลอุทธรณ์รับวินิจฉัยมา ก็ถือว่าไม่ใช่ข้อที่ได้ยกขึ้นว่ามาแล้วในศาลอุทธรณ์โดยชอบ ส่วนฟ้องแย้งของจำเลยเป็นคดีมีทุนทรัพย์12,500 บาท ไม่ต้องห้ามอุทธรณ์ฎีกาในข้อเท็จจริง
จำเลยเช่าอาคารพิพาทจากเจ้าของเดิม มีกำหนดเวลาแน่นอนเมื่อโจทก์ได้กรรมสิทธิ์อาคารพิพาทแล้ว จำเลยก็คงเช่าต่อมาตามกำหนดเวลาเดิม ครบกำหนดสัญญาเช่าแล้ว โจทก์มาฟ้องขับไล่จำเลยต่อสู้ว่าโจทก์ได้ตกลงกับจำเลย ยอมให้จำเลยเช่าต่ออีก 5 ปีโดยให้จำเลยทาสีอาคารถมปรับพื้นดินอาคารให้สูงขึ้น ทำห้องน้ำห้องส้วมใหม่ ก่อนครบกำหนดด้วยทุนทรัพย์ของจำเลย จำเลยได้จัดการทำตามที่ตกลงสิ้นเงิน 12,500 บาท จึงเป็นสัญญาต่างตอบแทนโจทก์ขับไล่จำเลยไม่ได้และต้องจดทะเบียนการเช่าให้จำเลยต่อไปอีก 5 ปีข้ออ้างของจำเลยดังกล่าวแล้วไม่มีลักษณะที่จะทำให้การเช่าอาคารพิพาทกลายเป็นสัญญาต่างตอบแทนชนิดพิเศษยิ่งกว่าสัญญาเช่าธรรมดาเพราะอาคารพิพาทมีมาแต่เดิม จำเลยไม่ได้เป็นผู้ก่อสร้างขึ้นใหม่ในฐานะที่จำเลยเป็นผู้เช่า จำเลยยังมีหน้าที่ต้องบำรุงรักษาและซ่อมแซมอาคารพิพาทอยู่แล้วตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 553 แม้จำเลยจะได้ทาสีอาคาร ถมปรับพื้นดินอาคารให้สูงขึ้นทำห้องน้ำห้องส้วมใหม่จริง ก็เพื่อความสวยงามและเพื่อความสะดวกสบายในการอยู่ของจำเลยเอง เมื่อสัญญาเช่าครบกำหนดแล้ว จำเลยก็ไม่มีสิทธิที่จะอยู่ในอาคารพิพาทได้ต่อไป
จำเลยเช่าอาคารพิพาทจากเจ้าของเดิม มีกำหนดเวลาแน่นอนเมื่อโจทก์ได้กรรมสิทธิ์อาคารพิพาทแล้ว จำเลยก็คงเช่าต่อมาตามกำหนดเวลาเดิม ครบกำหนดสัญญาเช่าแล้ว โจทก์มาฟ้องขับไล่จำเลยต่อสู้ว่าโจทก์ได้ตกลงกับจำเลย ยอมให้จำเลยเช่าต่ออีก 5 ปีโดยให้จำเลยทาสีอาคารถมปรับพื้นดินอาคารให้สูงขึ้น ทำห้องน้ำห้องส้วมใหม่ ก่อนครบกำหนดด้วยทุนทรัพย์ของจำเลย จำเลยได้จัดการทำตามที่ตกลงสิ้นเงิน 12,500 บาท จึงเป็นสัญญาต่างตอบแทนโจทก์ขับไล่จำเลยไม่ได้และต้องจดทะเบียนการเช่าให้จำเลยต่อไปอีก 5 ปีข้ออ้างของจำเลยดังกล่าวแล้วไม่มีลักษณะที่จะทำให้การเช่าอาคารพิพาทกลายเป็นสัญญาต่างตอบแทนชนิดพิเศษยิ่งกว่าสัญญาเช่าธรรมดาเพราะอาคารพิพาทมีมาแต่เดิม จำเลยไม่ได้เป็นผู้ก่อสร้างขึ้นใหม่ในฐานะที่จำเลยเป็นผู้เช่า จำเลยยังมีหน้าที่ต้องบำรุงรักษาและซ่อมแซมอาคารพิพาทอยู่แล้วตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 553 แม้จำเลยจะได้ทาสีอาคาร ถมปรับพื้นดินอาคารให้สูงขึ้นทำห้องน้ำห้องส้วมใหม่จริง ก็เพื่อความสวยงามและเพื่อความสะดวกสบายในการอยู่ของจำเลยเอง เมื่อสัญญาเช่าครบกำหนดแล้ว จำเลยก็ไม่มีสิทธิที่จะอยู่ในอาคารพิพาทได้ต่อไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1631/2516
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเช่าครบกำหนด สัญญาต่างตอบแทนไม่อาจเปลี่ยนแปลงสภาพสัญญาเช่าเดิมได้
โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยออกจากอสังหาริมทรัพย์อันมีค่าเช่าในขณะยื่นฟ้องไม่เกินเดือนละสองพันบาท และเรียกค่าเสียหายมาด้วยทุนทรัพย์ไม่เกินสองพันบาท จำเลยมิได้ต่อสู้กรรมสิทธิ์หรือยกข้อโต้เถียงในเรื่องแปลความหมายแห่งข้อความในสัญญาเช่า เป็นคดีต้องห้ามอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง แม้ศาลชั้นต้นจะสั่งรับอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงและศาลอุทธรณ์รับวินิจฉัยมา ก็ถือว่าไม่ใช่ข้อที่ได้ยกขึ้นว่ามาแล้วในศาลอุทธรณ์โดยชอบ ส่วนฟ้องแย้งของจำเลยเป็นคดีมีทุนทรัพย์ 12,500 บาท ไม่ต้องห้ามอุทธรณ์ ฎีกาในข้อเท็จจริง
จำเลยเช่าอาคารพิพาทจากเจ้าของเดิม มีกำหนดเวลาแน่นอนเมื่อโจทก์ได้กรรมสิทธิ์อาคารพิพาทแล้ว จำเลยก็คงเช่าต่อมาตามกำหนดเวลาเดิม ครบกำหนดสัญญาเช่าแล้ว โจทก์มาฟ้องขับไล่ จำเลยต่อสู้ว่าโจทก์ได้ตกลงกับจำเลย ยอมให้จำเลยเช่าต่ออีก 5 ปี โดยให้จำเลยทาสีอาคารถมปรับพื้นดินอาคารให้สูงขึ้น ทำห้องน้ำห้องส้วมใหม่ก่อนครบกำหนดด้วยทุนทรัพย์ของจำเลย จำเลยได้จัดการทำตามที่ตกลงสิ้นเงิน 12,500 บาท จึงเป็นสัญญาต่างตอบแทนโจทก์ขับไล่จำเลยไม่ได้และต้องจดทะเบียนการเช่าให้จำเลยต่อไปอีก 5 ปี ข้ออ้างของจำเลยดังกล่าวแล้วไม่มีลักษณะที่จะทำให้การเช่าอาคารพิพาทกลายเป็นสัญญาต่างตอบแทนชนิดพิเศษยิ่งกว่าสัญญาเช่าธรรมดา เพราะอาคารพิพาทมีมาแต่เดิม จำเลยไม่ได้เป็นผู้ก่อสร้างขึ้นใหม่ในฐานะที่จำเลยเป็นผู้เช่า จำเลยยังมีหน้าที่ต้องบำรุงรักษาและซ่อมแซมอาคารพิพาทอยู่แล้วตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 553 แม้จำเลยจะได้ทาสีอาคาร ถมปรับพื้นดินอาคารให้สูงขึ้นทำห้องน้ำห้องส้วมใหม่จริง ก็เพื่อความสวยงามและเพื่อความสะดวกสบายในการอยู่ของจำเลยเอง เมื่อสัญญาเช่าครบกำหนดแล้ว จำเลยก็ไม่มีสิทธิที่จะอยู่ในอาคารพิพาทได้ต่อไป
จำเลยเช่าอาคารพิพาทจากเจ้าของเดิม มีกำหนดเวลาแน่นอนเมื่อโจทก์ได้กรรมสิทธิ์อาคารพิพาทแล้ว จำเลยก็คงเช่าต่อมาตามกำหนดเวลาเดิม ครบกำหนดสัญญาเช่าแล้ว โจทก์มาฟ้องขับไล่ จำเลยต่อสู้ว่าโจทก์ได้ตกลงกับจำเลย ยอมให้จำเลยเช่าต่ออีก 5 ปี โดยให้จำเลยทาสีอาคารถมปรับพื้นดินอาคารให้สูงขึ้น ทำห้องน้ำห้องส้วมใหม่ก่อนครบกำหนดด้วยทุนทรัพย์ของจำเลย จำเลยได้จัดการทำตามที่ตกลงสิ้นเงิน 12,500 บาท จึงเป็นสัญญาต่างตอบแทนโจทก์ขับไล่จำเลยไม่ได้และต้องจดทะเบียนการเช่าให้จำเลยต่อไปอีก 5 ปี ข้ออ้างของจำเลยดังกล่าวแล้วไม่มีลักษณะที่จะทำให้การเช่าอาคารพิพาทกลายเป็นสัญญาต่างตอบแทนชนิดพิเศษยิ่งกว่าสัญญาเช่าธรรมดา เพราะอาคารพิพาทมีมาแต่เดิม จำเลยไม่ได้เป็นผู้ก่อสร้างขึ้นใหม่ในฐานะที่จำเลยเป็นผู้เช่า จำเลยยังมีหน้าที่ต้องบำรุงรักษาและซ่อมแซมอาคารพิพาทอยู่แล้วตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 553 แม้จำเลยจะได้ทาสีอาคาร ถมปรับพื้นดินอาคารให้สูงขึ้นทำห้องน้ำห้องส้วมใหม่จริง ก็เพื่อความสวยงามและเพื่อความสะดวกสบายในการอยู่ของจำเลยเอง เมื่อสัญญาเช่าครบกำหนดแล้ว จำเลยก็ไม่มีสิทธิที่จะอยู่ในอาคารพิพาทได้ต่อไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1609/2516
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ปล้นทรัพย์โดยใช้กำลังประทุษร้าย แม้ไม่มีอาวุธข่มขู่ ศาลลงโทษฐานปล้นทรัพย์ได้
จ. ผู้เฝ้าบ้านของ น. กำลังถากหญ้าอยู่หน้าบ้าน ได้ยินเสียงแกรกในบ้าน จึงเดินไปเปิดประตู แต่เปิดไม่ออก ขณะเรียกบุตรของ น. อยู่ จำเลยที่ 1 เข้ามาจับมือ จ. และบอกให้เข้าไปในบ้าน และไม่ให้ส่งเสียงดัง ซึ่งขณะนั้นจำเลยที่ 2 และที่ 3 กำลังลักทรัพย์ของเจ้าทรัพย์อยู่ การกระทำของจำเลยที่ 1ดังกล่าวเป็นการใช้กำลังประทุษร้าย จ. ถือได้ว่าจำเลยร่วมกันลักทรัพย์โดยใช้กำลังประทุษร้าย มีความผิดฐานปล้นทรัพย์
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยมีมีดเป็นอาวุธและร่วมกันปล้นทรัพย์ โดยใช้อาวุธขู่เข็ญจะทำร้าย จ. ทางพิจารณาไม่ปรากฏว่าจำเลยมีอาวุธหรือขู่เข็ญจะทำร้าย จ. กลับได้ความว่าจำเลยเพียงแต่ร่วมกันปล้นทรัพย์โดยใช้กำลังประทุษร้าย จ. ดังนี้ ถือได้ว่าเป็นข้อแตกต่างที่มิใช่ข้อสารสำคัญ ทั้งจำเลยมิได้หลงต่อสู้ด้วย ศาลลงโทษจำเลยตามที่โจทก์ฟ้องได้
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยมีมีดเป็นอาวุธและร่วมกันปล้นทรัพย์ โดยใช้อาวุธขู่เข็ญจะทำร้าย จ. ทางพิจารณาไม่ปรากฏว่าจำเลยมีอาวุธหรือขู่เข็ญจะทำร้าย จ. กลับได้ความว่าจำเลยเพียงแต่ร่วมกันปล้นทรัพย์โดยใช้กำลังประทุษร้าย จ. ดังนี้ ถือได้ว่าเป็นข้อแตกต่างที่มิใช่ข้อสารสำคัญ ทั้งจำเลยมิได้หลงต่อสู้ด้วย ศาลลงโทษจำเลยตามที่โจทก์ฟ้องได้