พบผลลัพธ์ทั้งหมด 267 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3119/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อุทธรณ์ข้อเท็จจริงต้องห้ามในคดีอาญาและผลกระทบต่อคำพิพากษาคดีแพ่งที่เกี่ยวข้อง
การที่จะเป็นความผิดฐานทำให้เสียทรัพย์ตามมาตรา 359 (4) นั้น ต้องได้ความว่าเจ้าของทรัพย์นั้นเป็นกสิกร เมื่อโจทก์มิได้บรรยายฟ้องว่า ข้าวนาปรังที่จำเลยทั้งสามร่วมกันทำให้เสียหายเป็นพืชหรือพืชผลของกสิกร จึงไม่อาจลงโทษจำเลยทั้งสามตาม ป.อ. มาตรา 359 ได้ เท่ากับความผิดฐานร่วมกันทำให้เสียทรัพย์ โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยทั้งสามแต่เพียงมาตรา 358 ซึ่งมีอัตราโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี หรือปรับไม่เกิน 6,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ เมื่อศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้อง และโจทก์อุทธรณ์เฉพาะความผิดฐานร่วมกันทำให้เสียทรัพย์ โดยขอให้ศาลอุทธรณ์ภาค 3 ฟังข้อเท็จจริงใหม่ จึงเป็นการอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงต้องห้ามตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ.2499 มาตรา 22 ประกอบ พ.ร.บ.ให้นำวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงมาใช้ในศาลจังหวัด พ.ศ.2520 มาตรา 3 การที่ศาลชั้นต้นรับอุทธรณ์ของโจทก์ และศาลอุทธรณ์ภาค 3 รับวินิจฉัยให้นั้น เป็นการไม่ชอบ ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง, 225 ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ.2499 มาตรา 4 และ พ.ร.บ.ให้นำวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงมาใช้ในศาลจังหวัด พ.ศ.2520 มาตรา 3 สำหรับคดีในส่วนแพ่งนั้น แม้ทุนทรัพย์ที่พิพาทในชั้นอุทธรณ์ของโจทก์จะไม่ต้องห้ามอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง แต่ในการวินิจฉัยคดีส่วนแพ่งที่เป็นการฟ้องคดีแพ่งและคดีอาญาเกี่ยวเนื่องกัน ศาลจำต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคำพิพากษาคดีส่วนอาญา ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 46
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1355/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องของนิติบุคคลอาคารชุด: การฟ้องร้องความเสียหายโดยไม่ต้องได้รับความเห็นชอบจากที่ประชุม
โจทก์เป็นนิติบุคคลอาคารชุด มี ธ. เป็นผู้จัดการ ธ. จึงเป็นผู้แทนของโจทก์ตาม พ.ร.บ.อาคารชุด พ.ศ.2522 มาตรา 35 ประกอบมาตรา 36 (4) มีอำนาจฟ้องร้องดำเนินคดีแทนโจทก์ คำฟ้องโจทก์กล่าวอ้างว่าจำเลยทำให้เอกสารของโจทก์เสียหาย อันเป็นการฟ้องร้องดำเนินคดีแทนโจทก์เกี่ยวกับความเสียหายที่เกิดขึ้นแก่โจทก์ ไม่ใช่เป็นการฟ้องตามข้อบังคับของนิติบุคคลอาคารชุดโจทก์ จึงไม่ต้องได้รับความเห็นชอบของที่ประชุมคณะกรรมการและ/หรือที่ประชุมใหญ่เจ้าของร่วมตามข้อบังคับดังกล่าว โจทก์มีอำนาจฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 811/2558 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดฐานทำให้เสียทรัพย์และบุกรุก, การชดใช้ค่าสินไหมทดแทนในคดีอาญา, ค่าฤชาธรรมเนียมคดีแพ่ง
จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นภริยาของจำเลยที่ 2 ซื้อบ้านเลขที่ 7 ซึ่งมีลักษณะเป็นห้องแถวไม้และใช้ผนังอาคารไม้ทั้งสองด้านร่วมกันกับบ้านเลขที่ 5 และบ้านเลขที่ 9 - 10 ของโจทก์ร่วม จำเลยทั้งสองต้องการปรับปรุงซ่อมแซมอาคารของจำเลยที่ 1 เพื่อขยายกิจการค้าขายเครื่องสำอาง จึงได้ว่าจ้างให้ ช. ดำเนินการปรับปรุงโดยจำเลยทั้งสองได้ว่าจ้างให้ ช. รื้อผนังอาคารไม้ซึ่งเป็นผนังร่วมทั้งสองด้านโดยพลการโดยไม่ได้ขออนุญาตจากโจทก์ร่วมหรือแจ้งการรื้อถอนผนังอาคารไม้ซึ่งเป็นผนังร่วมทั้งสองด้านให้โจทก์ร่วมทราบก่อนแต่อย่างใด การกระทำของจำเลยทั้งสองจึงเป็นการร่วมกันเข้าไปในบ้านเลขที่ 5 และบ้านเลขที่ 9 - 10 ทั้งสองหลังซึ่งเป็นอสังหาริมทรัพย์ของโจทก์ร่วมเพื่อถือการครอบครองอสังหาริมทรัพย์นั้นแต่บางส่วน หรือเข้าไปกระทำการใด ๆ อันเป็นการรบกวนการครอบครองอสังหาริมทรัพย์ของโจทก์ร่วมโดยปกติสุข เป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 362 และเป็นการเข้าไปในอสังหาริมทรัพย์ของโจทก์ร่วมโดยไม่มีเหตุอันสมควร ซึ่งเป็นความผิดตามมาตรา 364 อีกบทหนึ่งด้วย และเมื่อจำเลยทั้งสองร่วมกระทำผิดด้วยกันตั้งแต่สองคนขึ้นไป การกระทำของจำเลยทั้งสองในความผิดฐานบุกรุกจึงเป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 365 (2) ประกอบมาตรา 362 และมาตรา 364
การที่จำเลยทั้งสองว่าจ้างให้ ช. ปรับปรุงอาคารบ้านเลขที่ 7 ของตนด้วยการก่อสร้างเป็นผนังปูนแทนผนังร่วมไม้ทั้งสองด้านโดยต้องรื้อถอนผนังอาคารไม้เดิมซึ่งเป็นผนังร่วมกับอาคารบ้านเลขที่ 5 และบ้านเลขที่ 9 - 10 ของโจทก์ร่วมทั้งสองหลังย่อมเป็นการทำให้เสียหาย ทำลาย ทำให้เสื่อมค่าหรือทำให้ไร้ประโยชน์ซึ่งผนังอาคารไม้ทั้งสองด้านของโจทก์ร่วมซึ่งเป็นเจ้าของรวมอยู่ด้วย จึงเป็นความผิดฐานทำให้เสียทรัพย์ตาม ป.อ. มาตรา 358 อีกบทหนึ่ง
จำเลยทั้งสองร่วมกันว่าจ้างให้ ช. ซ่อมแซมปรับปรุงบ้านเลขที่ 7 ของจำเลยที่ 1 โดยให้รื้อฝาผนังร่วมซึ่งเป็นผนังไม้ทั้งสองด้าน และคอยควบคุมดูแลการก่อสร้างอยู่ตลอด จึงทราบว่าการไม่ฉาบปูนผนังอิฐทางด้านบ้านเลขที่ 5 และเลขที่ 9 - 10 ของโจทก์ร่วมเป็นสาเหตุที่ทำให้มีน้ำรั่วซึมเวลาฝนตก การกระทำของจำเลยทั้งสองจึงเป็นการสมคบร่วมกันกระทำการรื้อถอนผนังอาคารร่วมทั้งสองด้านซึ่งโจทก์ร่วมเป็นเจ้าของร่วมด้วย จึงเป็นตัวการร่วมกันกระทำความผิดตามมาตรา 83 หาใช่เป็นเพียงผู้ใช้ให้ ช. กระทำความผิดตามมาตรา 84 แห่งประมวลกฎหมายอาญาไม่
ค่าใช้จ่ายในการดำเนินคดีไม่ใช่ค่าเสียหายโดยตรงที่เกิดจากการที่จำเลยทั้งสองบุกรุกและทำให้บ้านทั้งสองหลังของโจทก์ร่วมเสียหาย ส่วนค่าเสียหายต่อจิตใจที่โจทก์ร่วมเรียกร้องให้จำเลยทั้งสองร่วมกันชดใช้ ซึ่งก็คือค่าสินไหมทดแทนเพื่อความเสียหายอย่างอื่นอันมิใช่ตัวเงินนั้น ป.พ.พ. มาตรา 446 กำหนดให้เรียกร้องได้เฉพาะในกรณีทำให้เขาเสียหายแก่ร่างกายหรืออนามัยหรือทำให้เขาเสียเสรีภาพเท่านั้น กรณีความเสียหายต่อทรัพย์สิน มาตรา 446 ดังกล่าวไม่เปิดสิทธิให้แก่ผู้ต้องเสียหายจะเรียกร้องเอาค่าสินไหมทดแทนต่อจิตใจได้
กรณีผู้เสียหายยื่นคำร้องขอให้จำเลยชดใช้ค่าสินไหมทดแทนนั้น ป.วิ.อ. มาตรา 44/1 วรรคสอง เป็นบทบัญญัติที่มีนัยสำคัญบ่งชี้ว่าวิธีพิจารณาคดีส่วนแพ่งเช่นว่านี้ต้องเป็นไปตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง เช่นเดียวกับคดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญาทั่วไปดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 40 นั่นเอง ดังนั้น ในการพิพากษาคดีส่วนแพ่ง ศาลจึงอยู่ในบังคับต้องมีคำพิพากษาสั่งในเรื่องความรับผิดในชั้นที่สุดแห่งค่าฤชาธรรมเนียมตาม ป.วิ.พ. มาตรา 161 ประกอบมาตรา 167 ทั้งนี้ เพราะแม้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 253 คำร้องขอตามมาตรา 44/1 ห้ามมิให้เรียกค่าธรรมเนียมก็ตาม แต่ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 158 คำว่า "ผู้ได้รับยกเว้นค่าฤชาธรรมเนียมศาล" เป็นบทบัญญัติต่อเนื่องมาจากหลักเกณฑ์การขอยกเว้นค่าธรรมเนียมศาลในการฟ้องหรือต่อสู้คดีตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 156 มาตรา 156/1 และมาตรา 157 ก็ตาม แต่ก็ต้องนำมาใช้บังคับแก่กรณีที่ผู้เสียหายใช้สิทธิตาม ป.วิ.อ. มาตรา 44/1 ยื่นคำร้องขอให้จำเลยชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่ตนเองอันเป็นคดีส่วนแพ่ง ซึ่งมาตรา 44/1 วรรคสอง บัญญัติให้ถือว่าคำร้องดังกล่าวเป็นคำฟ้องตาม ป.วิ.พ.และผู้เสียหายอยู่ในฐานะโจทก์ในคดีส่วนแพ่งนั้นด้วย ในฐานะที่เป็นกฎหมายใกล้เคียงอย่างยิ่ง ตาม ป.พ.พ. มาตรา 4 วรรคสอง
การที่จำเลยทั้งสองว่าจ้างให้ ช. ปรับปรุงอาคารบ้านเลขที่ 7 ของตนด้วยการก่อสร้างเป็นผนังปูนแทนผนังร่วมไม้ทั้งสองด้านโดยต้องรื้อถอนผนังอาคารไม้เดิมซึ่งเป็นผนังร่วมกับอาคารบ้านเลขที่ 5 และบ้านเลขที่ 9 - 10 ของโจทก์ร่วมทั้งสองหลังย่อมเป็นการทำให้เสียหาย ทำลาย ทำให้เสื่อมค่าหรือทำให้ไร้ประโยชน์ซึ่งผนังอาคารไม้ทั้งสองด้านของโจทก์ร่วมซึ่งเป็นเจ้าของรวมอยู่ด้วย จึงเป็นความผิดฐานทำให้เสียทรัพย์ตาม ป.อ. มาตรา 358 อีกบทหนึ่ง
จำเลยทั้งสองร่วมกันว่าจ้างให้ ช. ซ่อมแซมปรับปรุงบ้านเลขที่ 7 ของจำเลยที่ 1 โดยให้รื้อฝาผนังร่วมซึ่งเป็นผนังไม้ทั้งสองด้าน และคอยควบคุมดูแลการก่อสร้างอยู่ตลอด จึงทราบว่าการไม่ฉาบปูนผนังอิฐทางด้านบ้านเลขที่ 5 และเลขที่ 9 - 10 ของโจทก์ร่วมเป็นสาเหตุที่ทำให้มีน้ำรั่วซึมเวลาฝนตก การกระทำของจำเลยทั้งสองจึงเป็นการสมคบร่วมกันกระทำการรื้อถอนผนังอาคารร่วมทั้งสองด้านซึ่งโจทก์ร่วมเป็นเจ้าของร่วมด้วย จึงเป็นตัวการร่วมกันกระทำความผิดตามมาตรา 83 หาใช่เป็นเพียงผู้ใช้ให้ ช. กระทำความผิดตามมาตรา 84 แห่งประมวลกฎหมายอาญาไม่
ค่าใช้จ่ายในการดำเนินคดีไม่ใช่ค่าเสียหายโดยตรงที่เกิดจากการที่จำเลยทั้งสองบุกรุกและทำให้บ้านทั้งสองหลังของโจทก์ร่วมเสียหาย ส่วนค่าเสียหายต่อจิตใจที่โจทก์ร่วมเรียกร้องให้จำเลยทั้งสองร่วมกันชดใช้ ซึ่งก็คือค่าสินไหมทดแทนเพื่อความเสียหายอย่างอื่นอันมิใช่ตัวเงินนั้น ป.พ.พ. มาตรา 446 กำหนดให้เรียกร้องได้เฉพาะในกรณีทำให้เขาเสียหายแก่ร่างกายหรืออนามัยหรือทำให้เขาเสียเสรีภาพเท่านั้น กรณีความเสียหายต่อทรัพย์สิน มาตรา 446 ดังกล่าวไม่เปิดสิทธิให้แก่ผู้ต้องเสียหายจะเรียกร้องเอาค่าสินไหมทดแทนต่อจิตใจได้
กรณีผู้เสียหายยื่นคำร้องขอให้จำเลยชดใช้ค่าสินไหมทดแทนนั้น ป.วิ.อ. มาตรา 44/1 วรรคสอง เป็นบทบัญญัติที่มีนัยสำคัญบ่งชี้ว่าวิธีพิจารณาคดีส่วนแพ่งเช่นว่านี้ต้องเป็นไปตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง เช่นเดียวกับคดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญาทั่วไปดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 40 นั่นเอง ดังนั้น ในการพิพากษาคดีส่วนแพ่ง ศาลจึงอยู่ในบังคับต้องมีคำพิพากษาสั่งในเรื่องความรับผิดในชั้นที่สุดแห่งค่าฤชาธรรมเนียมตาม ป.วิ.พ. มาตรา 161 ประกอบมาตรา 167 ทั้งนี้ เพราะแม้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 253 คำร้องขอตามมาตรา 44/1 ห้ามมิให้เรียกค่าธรรมเนียมก็ตาม แต่ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 158 คำว่า "ผู้ได้รับยกเว้นค่าฤชาธรรมเนียมศาล" เป็นบทบัญญัติต่อเนื่องมาจากหลักเกณฑ์การขอยกเว้นค่าธรรมเนียมศาลในการฟ้องหรือต่อสู้คดีตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 156 มาตรา 156/1 และมาตรา 157 ก็ตาม แต่ก็ต้องนำมาใช้บังคับแก่กรณีที่ผู้เสียหายใช้สิทธิตาม ป.วิ.อ. มาตรา 44/1 ยื่นคำร้องขอให้จำเลยชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่ตนเองอันเป็นคดีส่วนแพ่ง ซึ่งมาตรา 44/1 วรรคสอง บัญญัติให้ถือว่าคำร้องดังกล่าวเป็นคำฟ้องตาม ป.วิ.พ.และผู้เสียหายอยู่ในฐานะโจทก์ในคดีส่วนแพ่งนั้นด้วย ในฐานะที่เป็นกฎหมายใกล้เคียงอย่างยิ่ง ตาม ป.พ.พ. มาตรา 4 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 16789/2557
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบุกรุกเคหสถาน ทำร้ายร่างกาย และทำให้เสียทรัพย์ ศาลอุทธรณ์แก้ไขโทษจำคุกและยืนตามคำพิพากษาเดิมบางส่วน
จำเลยทั้งสี่นำสืบว่า จำเลยที่ 1 เรียกให้ผู้เสียหายกับพวกออกมาที่หน้าบ้านเกิดเหตุ และจำเลยที่ 1 ชกต่อยกับผู้เสียหายกับพวกที่บริเวณหน้าบ้าน จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 เข้าห้ามปรามโดยจำเลยทั้งสี่ไม่ได้เข้าไปในบ้านเกิดเหตุ ฎีกาของจำเลยทั้งสี่ที่ว่า จำเลยที่ 1 เข้าไปในบ้านเกิดเหตุโดยขาดเจตนาในการกระทำความผิด จึงไม่มีความผิดฐานบุกรุก จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 ก็ไม่มีความผิดฐานบุกรุกด้วยเพราะเป็นเหตุในลักษณะคดี จึงเป็นข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น ต้องห้ามมิให้ฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 15 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
ตามพฤติการณ์เชื่อว่าผู้เสียหายกับพวกครอบครองบ้านเกิดเหตุอยู่โดยอาศัยสิทธิของ จ. และขณะเกิดเหตุบ้านเกิดเหตุยังอยู่ในความครอบครองของผู้เสียหายกับพวก แม้จะรับฟังได้ตามที่จำเลยทั้งสี่นำสืบและฎีกาว่า จ. เคยฟ้องมารดาของจำเลยทั้งสามกับพวกเกี่ยวกับที่ดินที่ปลูกสร้างบ้านที่เกิดเหตุ และศาลมีคำพิพากษาว่าที่ดินดังกล่าวไม่ใช่ของ จ. ก็ตาม แต่ตามสำเนาคำพิพากษาของศาลอุทธรณ์ภาค 9 ปรากฏว่า จ. ซึ่งถูกมารดาของจำเลยทั้งสามฟ้องขับไล่ยังคงโต้แย้งสิทธิในที่ดินที่บ้านเกิดเหตุตั้งอยู่ และศาลอุทธรณ์ภาค 9 เพิ่งมีคำพิพากษาภายหลังเกิดเหตุคดีนี้ให้ยกอุทธรณ์ของ จ. ดังนี้ ขณะเกิดเหตุผู้เสียหายกับพวกจึงยังมีสิทธิอยู่ในบ้านเกิดเหตุ และเมื่อฟังว่าผู้เสียหายเป็นเจ้าของทรัพย์ที่ถูกจำเลยทั้งสี่ร่วมกันทำให้เสียหาย ผู้เสียหายจึงเป็นผู้เสียหายในความผิดฐานร่วมกันบุกรุกและฐานร่วมกันทำให้เสียทรัพย์ ย่อมมีสิทธิร้องทุกข์ในความผิดทั้งสองฐานดังกล่าวได้
ฟ้องโจทก์บรรยายการกระทำความผิดของจำเลยทั้งสี่กับพวกในข้อหาร่วมกันบุกรุกและข้อหาร่วมกันพยายามฆ่าผู้อื่นโดยไตร่ตรองไว้ก่อนมาในข้อเดียวกันคือ ข้อ ค. โดยโจทก์มิได้บรรยายฟ้องแยกแยะการกระทำความผิดของจำเลยทั้งสี่กับพวกให้ปรากฏชัดแจ้งพอที่จะเห็นได้ว่าโจทก์ประสงค์ให้ลงโทษจำเลยทั้งสี่ตามฟ้องข้อ ค. ในแต่ละข้อหาเป็นแต่ละกรรมแยกต่างหากจากกัน เมื่อทางพิจารณาได้ความว่าจำเลยทั้งสี่ร่วมกันบุกรุกและร่วมกันทำร้ายผู้อื่นจนเป็นเหตุให้เกิดอันตรายแก่กาย ศาลจะพิพากษาลงโทษจำเลยทั้งสี่ในความผิดฐานร่วมกันบุกรุกและความผิดฐานร่วมกันทำร้ายผู้อื่นจนเป็นเหตุให้เกิดอันตรายแก่กายเป็นสองกรรมเกินจากที่ได้กล่าวในฟ้องหาได้ไม่ เพราะเป็นการขัดต่อ ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคหนึ่ง
จำเลยทั้งสี่มีเจตนาร่วมกันบุกรุกเข้าไปในบ้านเกิดเหตุเพื่อถามหาน้องชายของผู้เสียหาย แต่เมื่อไม่พบจึงได้ร่วมกันทำลายทรัพย์ของผู้เสียหาย ซึ่งเป็นเจตนาแยกต่างหากจากเจตนาแรกที่บุกรุกเข้าไปถามหาน้องชายของผู้เสียหาย ความผิดฐานร่วมกันบุกรุกจึงเป็นความผิดต่างกรรมกับความผิดฐานร่วมกันทำให้เสียทรัพย์
ตามพฤติการณ์เชื่อว่าผู้เสียหายกับพวกครอบครองบ้านเกิดเหตุอยู่โดยอาศัยสิทธิของ จ. และขณะเกิดเหตุบ้านเกิดเหตุยังอยู่ในความครอบครองของผู้เสียหายกับพวก แม้จะรับฟังได้ตามที่จำเลยทั้งสี่นำสืบและฎีกาว่า จ. เคยฟ้องมารดาของจำเลยทั้งสามกับพวกเกี่ยวกับที่ดินที่ปลูกสร้างบ้านที่เกิดเหตุ และศาลมีคำพิพากษาว่าที่ดินดังกล่าวไม่ใช่ของ จ. ก็ตาม แต่ตามสำเนาคำพิพากษาของศาลอุทธรณ์ภาค 9 ปรากฏว่า จ. ซึ่งถูกมารดาของจำเลยทั้งสามฟ้องขับไล่ยังคงโต้แย้งสิทธิในที่ดินที่บ้านเกิดเหตุตั้งอยู่ และศาลอุทธรณ์ภาค 9 เพิ่งมีคำพิพากษาภายหลังเกิดเหตุคดีนี้ให้ยกอุทธรณ์ของ จ. ดังนี้ ขณะเกิดเหตุผู้เสียหายกับพวกจึงยังมีสิทธิอยู่ในบ้านเกิดเหตุ และเมื่อฟังว่าผู้เสียหายเป็นเจ้าของทรัพย์ที่ถูกจำเลยทั้งสี่ร่วมกันทำให้เสียหาย ผู้เสียหายจึงเป็นผู้เสียหายในความผิดฐานร่วมกันบุกรุกและฐานร่วมกันทำให้เสียทรัพย์ ย่อมมีสิทธิร้องทุกข์ในความผิดทั้งสองฐานดังกล่าวได้
ฟ้องโจทก์บรรยายการกระทำความผิดของจำเลยทั้งสี่กับพวกในข้อหาร่วมกันบุกรุกและข้อหาร่วมกันพยายามฆ่าผู้อื่นโดยไตร่ตรองไว้ก่อนมาในข้อเดียวกันคือ ข้อ ค. โดยโจทก์มิได้บรรยายฟ้องแยกแยะการกระทำความผิดของจำเลยทั้งสี่กับพวกให้ปรากฏชัดแจ้งพอที่จะเห็นได้ว่าโจทก์ประสงค์ให้ลงโทษจำเลยทั้งสี่ตามฟ้องข้อ ค. ในแต่ละข้อหาเป็นแต่ละกรรมแยกต่างหากจากกัน เมื่อทางพิจารณาได้ความว่าจำเลยทั้งสี่ร่วมกันบุกรุกและร่วมกันทำร้ายผู้อื่นจนเป็นเหตุให้เกิดอันตรายแก่กาย ศาลจะพิพากษาลงโทษจำเลยทั้งสี่ในความผิดฐานร่วมกันบุกรุกและความผิดฐานร่วมกันทำร้ายผู้อื่นจนเป็นเหตุให้เกิดอันตรายแก่กายเป็นสองกรรมเกินจากที่ได้กล่าวในฟ้องหาได้ไม่ เพราะเป็นการขัดต่อ ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคหนึ่ง
จำเลยทั้งสี่มีเจตนาร่วมกันบุกรุกเข้าไปในบ้านเกิดเหตุเพื่อถามหาน้องชายของผู้เสียหาย แต่เมื่อไม่พบจึงได้ร่วมกันทำลายทรัพย์ของผู้เสียหาย ซึ่งเป็นเจตนาแยกต่างหากจากเจตนาแรกที่บุกรุกเข้าไปถามหาน้องชายของผู้เสียหาย ความผิดฐานร่วมกันบุกรุกจึงเป็นความผิดต่างกรรมกับความผิดฐานร่วมกันทำให้เสียทรัพย์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 15726/2557
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องอาญาที่ไม่บรรยายองค์ประกอบความผิดครบถ้วน และการขาดอายุความของความผิดทำให้เสียทรัพย์
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยฐานบุกรุกตาม ป.อ. มาตรา 362 โดยบรรยายฟ้องในข้อ 1 และข้อ 5 เพียงว่า จำเลยได้บุกรุกเข้าไปในเคหสถานของโจทก์ ไม่ได้กล่าวบรรยายในฟ้องถึงองค์ประกอบความผิดดังกล่าวว่าเป็นการเข้าไปในอสังหาริมทรัพย์ของโจทก์เพื่อถือการครอบครองอสังหาริมทรัพย์นั้นทั้งหมดหรือแต่บางส่วน หรือเข้าไปกระทำการใด ๆ อันเป็นการรบกวนการครอบครองอสังหาริมทรัพย์ของโจทก์โดยปกติสุขมาด้วย แม้จำเลยให้การรับสารภาพ ศาลอุทธรณ์ภาค 8 ก็พิพากษาลงโทษจำเลยตามมาตรา 362 มิได้ เพราะต้องห้ามตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคหนึ่ง ประกอบมาตรา 215 และ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ.2499 มาตรา 4
สำหรับความผิดฐานทำให้เสียทรัพย์ตาม ป.อ. มาตรา 358 โจทก์บรรยายฟ้องข้อ 1 ว่า เหตุเกิดวันที่ 28 มกราคม 2554 โจทก์มิได้ร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนเพราะประสงค์จะดำเนินคดีเอง เมื่อโจทก์ฟ้องคดีนี้วันที่ 28 ตุลาคม 2554 โดยมิได้ร้องทุกข์ในความผิดฐานทำให้เสียทรัพย์ที่เกิดขึ้นในวันที่ 28 มกราคม 2554 จึงฟ้องเกินกว่าสามเดือนนับแต่วันรู้เรื่องความผิดและรู้ตัวผู้กระทำความผิด คดีโจทก์สำหรับความผิดฐานทำให้เสียทรัพย์ตามฟ้องข้อ 1 จึงขาดอายุความตาม ป.อ. มาตรา 96 และข้อเท็จจริงปรากฏตามรายงานกระบวนพิจารณาฉบับลงวันที่ 28 กันยายน 2555 ว่า ศาลชั้นต้นอนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้องในความผิดฐานทำร้ายร่างกายแล้ว การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 8 วินิจฉัยเกี่ยวกับความผิดฐานดังกล่าวและพิพากษายกฟ้องโจทก์ในความผิดตาม ป.อ. มาตรา 295 จึงเป็นการไม่ชอบ ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225 และ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ.2499 มาตรา 4
สำหรับความผิดฐานทำให้เสียทรัพย์ตาม ป.อ. มาตรา 358 โจทก์บรรยายฟ้องข้อ 1 ว่า เหตุเกิดวันที่ 28 มกราคม 2554 โจทก์มิได้ร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนเพราะประสงค์จะดำเนินคดีเอง เมื่อโจทก์ฟ้องคดีนี้วันที่ 28 ตุลาคม 2554 โดยมิได้ร้องทุกข์ในความผิดฐานทำให้เสียทรัพย์ที่เกิดขึ้นในวันที่ 28 มกราคม 2554 จึงฟ้องเกินกว่าสามเดือนนับแต่วันรู้เรื่องความผิดและรู้ตัวผู้กระทำความผิด คดีโจทก์สำหรับความผิดฐานทำให้เสียทรัพย์ตามฟ้องข้อ 1 จึงขาดอายุความตาม ป.อ. มาตรา 96 และข้อเท็จจริงปรากฏตามรายงานกระบวนพิจารณาฉบับลงวันที่ 28 กันยายน 2555 ว่า ศาลชั้นต้นอนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้องในความผิดฐานทำร้ายร่างกายแล้ว การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 8 วินิจฉัยเกี่ยวกับความผิดฐานดังกล่าวและพิพากษายกฟ้องโจทก์ในความผิดตาม ป.อ. มาตรา 295 จึงเป็นการไม่ชอบ ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225 และ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ.2499 มาตรา 4
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 15718/2557
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อจำกัดการอุทธรณ์คดีอาญา และการแก้ไขฐานความผิดตามกฎหมายอาญาโดยศาลฎีกา
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยทั้งสองตาม ป.อ. มาตรา 352 และมาตรา 358 ซึ่งความผิดทั้งสองฐานมีอัตราโทษจำคุกอย่างสูงไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ คดีจึงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 193 ทวิ การที่โจทก์ร่วมอุทธรณ์ขอให้ไม่รอการลงโทษจำคุกจำเลยทั้งสองเป็นอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงจึงต้องห้ามตามบทบัญญัติดังกล่าว เมื่อจำเลยทั้งสองไม่ได้อุทธรณ์โต้เถียงคำพิพากษาศาลชั้นต้นในส่วนอาญา คงอุทธรณ์เฉพาะส่วนแพ่ง ความผิดทั้งสองฐานดังกล่าวจึงยุติไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น ศาลอุทธรณ์ภาค 6 จึงไม่มีอำนาจพิจารณาและพิพากษาคดีส่วนอาญา อันมีผลทำให้ไม่มีคำพิพากษาของศาลอุทธรณ์ภาค 6 เฉพาะในส่วนอาญาให้จำเลยทั้งสองฎีกา ศาลฎีกาไม่จำต้องวินิจฉัยฎีกาของจำเลยทั้งสองที่ขอให้รอการลงโทษต่อไปอีก
อนึ่ง โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยทั้งสองฐานยักยอก และทำให้เสียทรัพย์ตาม ป.อ. มาตรา 352 และมาตรา 358 จำเลยทั้งสองให้การรับสารภาพ โจทก์และจำเลยทั้งสองไม่ติดใจสืบพยาน ปรากฏว่าศาลชั้นต้นฟังข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการกระทำผิดของจำเลยทั้งสองว่า จำเลยทั้งสองร่วมกันลักทรัพย์ของโจทก์ร่วม ศาลย่อมลงโทษจำเลยทั้งสองในความผิดฐานลักทรัพย์ตาม ป.อ. มาตรา 334 แต่จะลงโทษจำเลยทั้งสองตามมาตรา 335 (7) วรรคแรก ไม่ได้ เพราะโจทก์มิได้อ้างมาตรานี้มาในฟ้อง ทั้งโทษตามมาตรา 335 (7) วรรคแรก ก็หนักกว่าโทษตามมาตรา 352 และมาตรา 358 ที่โจทก์ฟ้อง ปัญหานี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยและแก้ไขให้ถูกต้องได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225
อนึ่ง โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยทั้งสองฐานยักยอก และทำให้เสียทรัพย์ตาม ป.อ. มาตรา 352 และมาตรา 358 จำเลยทั้งสองให้การรับสารภาพ โจทก์และจำเลยทั้งสองไม่ติดใจสืบพยาน ปรากฏว่าศาลชั้นต้นฟังข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการกระทำผิดของจำเลยทั้งสองว่า จำเลยทั้งสองร่วมกันลักทรัพย์ของโจทก์ร่วม ศาลย่อมลงโทษจำเลยทั้งสองในความผิดฐานลักทรัพย์ตาม ป.อ. มาตรา 334 แต่จะลงโทษจำเลยทั้งสองตามมาตรา 335 (7) วรรคแรก ไม่ได้ เพราะโจทก์มิได้อ้างมาตรานี้มาในฟ้อง ทั้งโทษตามมาตรา 335 (7) วรรคแรก ก็หนักกว่าโทษตามมาตรา 352 และมาตรา 358 ที่โจทก์ฟ้อง ปัญหานี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยและแก้ไขให้ถูกต้องได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 12387/2557
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรื้อถอนบ้านของผู้อื่น แม้ไม่เสียหาย แต่ทำให้สิ้นสภาพการอยู่อาศัย ถือเป็นทำให้เสียทรัพย์ได้
แม้จำเลยที่ 1 สั่งให้รื้อถอนบ้านของโจทก์ร่วมด้วยความระมัดระวัง ไม่เป็นเหตุให้วัสดุที่รื้อถอนเสียหาย ทั้งนำไปเก็บรักษาไว้อย่างดีเพื่อให้โจทก์ร่วมนำไปใช้ประโยชน์ได้อีกก็ตาม แต่การกระทำของจำเลยที่ 1 เป็นเหตุให้บ้านของโจทก์ร่วมซึ่งเป็นอสังหาริมทรัพย์สิ้นสภาพไม่เป็นที่อยู่อาศัยอีกต่อไป อันเป็นการทำให้เสียหาย ทำลาย ทำให้เสื่อมค่า หรือทำให้ไร้ประโยชน์ซึ่งทรัพย์สินของผู้อื่น การที่อำเภอบุณฑริกแต่งตั้งจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นกำนันตำบลคอแลนเป็นประธานกรรมการกลางและประธานกรรมการปกครองเพื่อประกวดหมู่บ้านอาสาพัฒนาและป้องกันตนเองนั้นไม่เป็นการเปิดโอกาสให้จำเลยที่ 1 รื้อบ้านของโจทก์ร่วมโดยพลการได้ จำเลยที่ 1 จึงมีความผิดฐานทำให้เสียทรัพย์ตาม ป.อ. มาตรา 358
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยที่ 1 ในความผิดฐานร่วมกันลักทรัพย์วัสดุที่รื้อถอนจากบ้านของโจทก์ร่วม โดยไม่ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยที่ 1 ในความผิดฐานทำให้เสียทรัพย์ด้วยเป็นเรื่องข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในการพิจารณาแตกต่างกับข้อเท็จจริงดังที่กล่าวในฟ้อง ถือว่าเป็นข้อแตกต่างกันในรายละเอียด มิใช่ข้อสาระสำคัญตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคสาม ศาลฎีกามีอำนาจพิพากษาว่าจำเลยที่ 1 มีความผิดฐานทำให้เสียทรัพย์ตามที่พิจารณาได้ความได้
ความผิดฐานทำให้เสียทรัพย์เป็นความผิดอันยอมความได้ การที่โจทก์ร่วมทำหนังสือร้องทุกข์มีใจความสำคัญว่า โจทก์ร่วมขอร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนให้ดำเนินคดีแก่จำเลยที่ 1 กับพวกที่ร่วมกันรื้อถอน ทำลายบ้านเรือน ทรัพย์สินและลักเอาทรัพย์สินของโจทก์ร่วมไปโดยทุจริต แม้ไม่มีข้อความระบุให้ชัดเจนว่าประสงค์ให้พนักงานสอบสวนดำเนินคดีแก่จำเลยที่ 1 ในความผิดฐานใด ก็แปลเจตนาของโจทก์ร่วมได้ว่าประสงค์ให้พนักงานสอบสวนดำเนินคดีแก่จำเลยที่ 1 ในความผิดฐานทำให้เสียทรัพย์และลักทรัพย์ พนักงานสอบสวนจึงมีอำนาจสอบสวนและโจทก์มีอำนาจฟ้องคดีได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 120 และ 121 วรรคสอง ไม่ใช่เรื่องที่โจทก์ร่วมไม่ได้ร้องทุกข์ในความผิดฐานทำให้เสียทรัพย์
จำเลยที่ 1 รื้อบ้านของโจทก์ร่วมซึ่งมีสภาพชำรุดทรุดโทรมและไม่ได้ใช้เป็นที่อยู่อาศัยนานนับสิบปี แล้วสร้างศาลาที่พักสาธารณประโยชน์ขึ้นแทน เพื่อให้ราษฎรใช้ประโยชน์ร่วมกันตามโครงการพัฒนาหมู่บ้าน แม้เป็นความผิดต่อกฎหมายที่ไม่ได้ขออนุญาตโจทก์ร่วมก่อน แต่พฤติการณ์แห่งคดีไม่ร้ายแรงนัก จึงให้รอการกำหนดโทษตาม ป.อ. มาตรา 56
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยที่ 1 ในความผิดฐานร่วมกันลักทรัพย์วัสดุที่รื้อถอนจากบ้านของโจทก์ร่วม โดยไม่ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยที่ 1 ในความผิดฐานทำให้เสียทรัพย์ด้วยเป็นเรื่องข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในการพิจารณาแตกต่างกับข้อเท็จจริงดังที่กล่าวในฟ้อง ถือว่าเป็นข้อแตกต่างกันในรายละเอียด มิใช่ข้อสาระสำคัญตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคสาม ศาลฎีกามีอำนาจพิพากษาว่าจำเลยที่ 1 มีความผิดฐานทำให้เสียทรัพย์ตามที่พิจารณาได้ความได้
ความผิดฐานทำให้เสียทรัพย์เป็นความผิดอันยอมความได้ การที่โจทก์ร่วมทำหนังสือร้องทุกข์มีใจความสำคัญว่า โจทก์ร่วมขอร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนให้ดำเนินคดีแก่จำเลยที่ 1 กับพวกที่ร่วมกันรื้อถอน ทำลายบ้านเรือน ทรัพย์สินและลักเอาทรัพย์สินของโจทก์ร่วมไปโดยทุจริต แม้ไม่มีข้อความระบุให้ชัดเจนว่าประสงค์ให้พนักงานสอบสวนดำเนินคดีแก่จำเลยที่ 1 ในความผิดฐานใด ก็แปลเจตนาของโจทก์ร่วมได้ว่าประสงค์ให้พนักงานสอบสวนดำเนินคดีแก่จำเลยที่ 1 ในความผิดฐานทำให้เสียทรัพย์และลักทรัพย์ พนักงานสอบสวนจึงมีอำนาจสอบสวนและโจทก์มีอำนาจฟ้องคดีได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 120 และ 121 วรรคสอง ไม่ใช่เรื่องที่โจทก์ร่วมไม่ได้ร้องทุกข์ในความผิดฐานทำให้เสียทรัพย์
จำเลยที่ 1 รื้อบ้านของโจทก์ร่วมซึ่งมีสภาพชำรุดทรุดโทรมและไม่ได้ใช้เป็นที่อยู่อาศัยนานนับสิบปี แล้วสร้างศาลาที่พักสาธารณประโยชน์ขึ้นแทน เพื่อให้ราษฎรใช้ประโยชน์ร่วมกันตามโครงการพัฒนาหมู่บ้าน แม้เป็นความผิดต่อกฎหมายที่ไม่ได้ขออนุญาตโจทก์ร่วมก่อน แต่พฤติการณ์แห่งคดีไม่ร้ายแรงนัก จึงให้รอการกำหนดโทษตาม ป.อ. มาตรา 56
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 12082/2557
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกระทำความผิดฐานบุกรุกและทำให้เสียทรัพย์ ศาลฎีกาแก้ไขโทษและยืนตามบทลงโทษที่หนักกว่า
โจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยทั้งสองร่วมกันบุกรุกเข้าไปในที่ดินของผู้เสียหายโดยไม่ได้รับอนุญาตและไม่มีเหตุอันสมควร แล้วร่วมกันตัดต้นแสมของผู้เสียหาย และมีคำขอท้ายฟ้องให้ลงโทษจำเลยทั้งสองตาม ป.อ. มาตรา 83, 358, 362, 365 แม้ในคำฟ้องจะไม่ได้บรรยายมาด้วยว่าเป็นการเข้าไปในอสังหาริมทรัพย์อันเป็นการรบกวนการครอบครองอสังหาริมทรัพย์ของโจทก์ร่วมโดยปกติสุขก็ตาม แต่ในคำฟ้องระบุว่ามีการเข้าไปตัดฟันต้นแสม ย่อมมีความหมายบ่งชี้ชัดอยู่ในตัวแล้วว่าเป็นการเข้าไปรบกวนการครอบครองอสังหาริมทรัพย์ของโจทก์ร่วมโดยปกติสุขอยู่แล้ว ซึ่งจำเลยทั้งสองเข้าใจข้อหาได้ดี ฟ้องโจทก์จึงครบองค์ประกอบความผิดตาม ป.อ. มาตรา 362 ชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 158 (5)
เมื่อตามฟ้องของโจทก์บรรยายถึงการกระทำผิดของจำเลยทั้งสองในความผิดฐานร่วมกันบุกรุกและฐานร่วมกันทำให้เสียทรัพย์รวมกันมาเป็นกรรมเดียว และคำขอท้ายฟ้องก็มิได้ขอให้ลงโทษในความผิดดังกล่าวทุกกรรมตาม ป.อ. มาตรา 91 การที่ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำเลยทั้งสองฐานร่วมกันบุกรุกตาม ป.อ. มาตรา 365 (2) ประกอบมาตรา 83 อันเป็นกฎหมายบทที่มีโทษหนักที่สุด จำคุกคนละ 4 เดือน ส่วนศาลอุทธรณ์ภาค 7 พิพากษาแก้เป็นว่าให้ลงโทษจำเลยทั้งสองตาม ป.อ. มาตรา 358 ประกอบมาตรา 83 จำคุกคนละ 4 เดือน และปรับคนละ 4,000 บาท โทษจำคุกให้รอการลงโทษคนละ 2 ปี ส่วนความผิดฐานบุกรุกให้ยกฟ้องนั้น จึงเป็นกรณีที่ศาลชั้นต้นลงโทษในฐานความผิดตามฟ้องจำคุกจำเลยทั้งสองคนละไม่เกินสองปี หรือปรับไม่เกินสี่หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ เมื่อศาลอุทธรณ์ภาค 7 ยังคงลงโทษจำเลยทั้งสองไม่เกินกำหนดดังกล่าว ทั้งมิใช่กรณีที่เป็นการแก้ไขมากและเพิ่มเติมโทษจำเลยทั้งสอง จึงต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.อ. มาตรา 219 แม้โจทก์ร่วมจะยื่นคำร้องขอให้ผู้พิพากษารับรองให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง แต่คำร้องดังกล่าวระบุขอให้รับรองให้ฎีกาเฉพาะคำขอส่วนแพ่ง และผู้พิพากษามีคำสั่งว่าเป็นปัญหาสำคัญที่ควรสู่ศาลฎีกาจึงอนุญาตให้ฎีกา ดังนี้ จึงเป็นการที่ผู้พิพากษาให้โจทก์ร่วมฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงเฉพาะคดีในส่วนแพ่งเท่านั้น ที่โจทก์ร่วมฎีกาขอให้ลงโทษจำเลยทั้งสองสถานหนัก เป็นฎีกาโต้เถียงดุลพินิจในการลงโทษอันเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงในคดีส่วนอาญา จึงต้องห้ามฎีกาตามบทบัญญัติของกฎหมายดังกล่าว
เมื่อตามฟ้องของโจทก์บรรยายถึงการกระทำผิดของจำเลยทั้งสองในความผิดฐานร่วมกันบุกรุกและฐานร่วมกันทำให้เสียทรัพย์รวมกันมาเป็นกรรมเดียว และคำขอท้ายฟ้องก็มิได้ขอให้ลงโทษในความผิดดังกล่าวทุกกรรมตาม ป.อ. มาตรา 91 การที่ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำเลยทั้งสองฐานร่วมกันบุกรุกตาม ป.อ. มาตรา 365 (2) ประกอบมาตรา 83 อันเป็นกฎหมายบทที่มีโทษหนักที่สุด จำคุกคนละ 4 เดือน ส่วนศาลอุทธรณ์ภาค 7 พิพากษาแก้เป็นว่าให้ลงโทษจำเลยทั้งสองตาม ป.อ. มาตรา 358 ประกอบมาตรา 83 จำคุกคนละ 4 เดือน และปรับคนละ 4,000 บาท โทษจำคุกให้รอการลงโทษคนละ 2 ปี ส่วนความผิดฐานบุกรุกให้ยกฟ้องนั้น จึงเป็นกรณีที่ศาลชั้นต้นลงโทษในฐานความผิดตามฟ้องจำคุกจำเลยทั้งสองคนละไม่เกินสองปี หรือปรับไม่เกินสี่หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ เมื่อศาลอุทธรณ์ภาค 7 ยังคงลงโทษจำเลยทั้งสองไม่เกินกำหนดดังกล่าว ทั้งมิใช่กรณีที่เป็นการแก้ไขมากและเพิ่มเติมโทษจำเลยทั้งสอง จึงต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.อ. มาตรา 219 แม้โจทก์ร่วมจะยื่นคำร้องขอให้ผู้พิพากษารับรองให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง แต่คำร้องดังกล่าวระบุขอให้รับรองให้ฎีกาเฉพาะคำขอส่วนแพ่ง และผู้พิพากษามีคำสั่งว่าเป็นปัญหาสำคัญที่ควรสู่ศาลฎีกาจึงอนุญาตให้ฎีกา ดังนี้ จึงเป็นการที่ผู้พิพากษาให้โจทก์ร่วมฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงเฉพาะคดีในส่วนแพ่งเท่านั้น ที่โจทก์ร่วมฎีกาขอให้ลงโทษจำเลยทั้งสองสถานหนัก เป็นฎีกาโต้เถียงดุลพินิจในการลงโทษอันเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงในคดีส่วนอาญา จึงต้องห้ามฎีกาตามบทบัญญัติของกฎหมายดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7008/2557
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฉีกบัตรเลือกตั้งเป็นความผิดตามกฎหมาย แม้การเลือกตั้งนั้นไม่ชอบด้วยกฎหมาย และการใช้สิทธิโดยสันติวิธีต้องไม่ขัดกฎหมาย
การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในวันที่ 2 เมษายน 2549 เป็นการเลือกตั้งอันมีเหตุจากพระราชกฤษฎีกายุบสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ.2549 และบทบัญญัติในมาตรา 4 แห่งพระราชกฤษฎีกาดังกล่าว กำหนดให้วันที่ 2 เมษายน 2549 เป็นวันเลือกตั้ง เมื่อคณะกรรมการการเลือกตั้งได้จัดให้มีการเลือกตั้งในวันดังกล่าว และจำเลยได้ไปใช้สิทธิเลือกตั้ง แต่เมื่อจำเลยได้รับบัตรเลือกตั้งทั้งสองฉบับแล้วเดินเข้าไปในคูหาและกาเครื่องหมายลงในบัตรเลือกตั้งทั้งสองฉบับแล้ว จากนั้นได้ออกมาชูมือขึ้นพร้อมทั้งฉีกบัตรเลือกตั้งทั้งสองฉบับ การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดสำเร็จขณะที่ฉีกบัตรเลือกตั้งตาม ป.อ. มาตรา 358 และ พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ.2541 มาตรา 108 ที่ใช้บังคับอยู่ในวันดังกล่าว และผลคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญที่ว่าการเลือกตั้งในวันที่ 2 เมษายน 2549 ไม่ชอบด้วยกฎหมาย หามีผลต่อการกระทำความผิดของจำเลยแต่อย่างใดไม่ ส่วนข้อโต้แย้งของจำเลยในส่วนที่ว่า การใช้สิทธิตามกฎหมายรัฐธรรมนูญเป็นการใช้สิทธิต่อต้านโดยสันติวิธีตามมาตรา 65 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2540 นั้น เห็นว่า การใช้สิทธิต่อต้านโดยสันติวิธีดังกล่าวจะต้องเป็นการกระทำที่มิได้ล่วงละเมิดบทบัญญัติแห่งกฎหมายที่ได้บัญญัติไว้ว่าการกระทำดังกล่าวเป็นความผิด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 12265-12266/2556
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิ้นสุดสัญญาเช่า - การใช้สิทธิโดยชอบตามสัญญา - ไม่เป็นความผิดฐานบุกรุก/ลักทรัพย์
สัญญาเช่าระหว่างโจทก์ร่วมที่ 1 กับจำเลยที่ 1 มีข้อความระบุชัดเจนว่ามีกำหนดอายุของสัญญาเช่าเป็นเวลา 15 ปี นับตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2529 ถึงวันที่ 30 กันยายน 2544 ซึ่งเป็นการเช่าอสังหาริมทรัพย์เกิน 3 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 538 บัญญัติให้ต้องทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่าสัญญาเช่าทุกฉบับมีข้อตกลงในข้อ 7.9 ว่า เมื่อสัญญาเช่าสิ้นสุดลงไม่ว่าด้วยสาเหตุประการใดก็ตาม ผู้เช่าจะต้องออกจากสถานที่เช่าทันที ผู้ให้เช่ามีสิทธิเข้าครอบครองสถานที่เช่า ขนย้ายทรัพย์สินของผู้เช่าออกจากสถานที่เช่าได้โดยปราศจากความรับผิดใด ๆ ข้อตกลงดังกล่าวไม่ขัดต่อกฎหมายหรือขัดต่อความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชน ย่อมใช้บังคับได้โดยชอบด้วยกฎหมาย ดังนั้น สัญญาเช่าระหว่างโจทก์ร่วมที่ 1 กับจำเลยที่ 1 จึงสิ้นสุดลงในวันที่ 30 กันยายน 2544 ตามที่ระบุไว้ในสัญญา เมื่อไม่ปรากฏข้อเท็จจริงว่ามีการต่อสัญญาเช่าหรือทำสัญญาเช่ากันใหม่ การที่จำเลยที่ 1 กับพวกกลับเข้าครอบครองพื้นที่เช่าโดยใช้ไม้กระดานปิดกั้นและขนย้ายทรัพย์สินของโจทก์ร่วมที่ 1 ออกจากพื้นที่เช่าไปเก็บไว้ในที่อื่นและพร้อมกับปิดประกาศ ณ บริเวณพื้นที่เช่าชั้นที่ 1 และชั้นที่ 3 ว่า สัญญาเช่าสิ้นสุดลงแล้วให้ผู้ที่อ้างว่าเป็นเจ้าของนำหลักฐานไปรับทรัพย์สินคืน จึงเป็นการใช้สิทธิโดยชอบตามข้อตกลงแห่งสัญญาเช่า การกระทำของจำเลยที่ 1 กับพวกจึงไม่เป็นความผิดฐานบุกรุก และฐานทำให้เสียทรัพย์ สำหรับข้อหาลักทรัพย์ ได้ความจากพยานโจทก์และโจทก์ร่วมที่ 1 ว่ามีการรื้อถอนและขนย้ายทรัพย์สินของโจทก์ร่วมที่ 1 ออกจากพื้นที่เช่าไปเก็บไว้ที่ลานจอดรถชั้นที่ 3 และโกดังชั้นที่ 6 บางส่วนนำไปไว้ที่ทิ้งขยะชั้นล่าง แต่ไม่มีพยานหลักฐานใดยืนยันว่าจำเลยทั้งหกเอาไปซึ่งทรัพย์สินของโจทก์ร่วมที่ 1 ทั้งการที่จำเลยที่ 1 กับพวกรื้อถอนและขนย้ายทรัพย์สินออกจากพื้นที่เช่าก็เพื่อนำไปเก็บรักษาไว้เพื่อให้ผู้ที่อ้างว่าเป็นเจ้าของนำหลักฐานไปรับทรัพย์สินคืน และยังอ้างด้วยว่าทรัพย์สินนั้นตกเป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลยที่ 1 ตามข้อตกลงในสัญญาถือว่าจำเลยทั้งหกขาดเจตนาทุจริต จึงไม่มีความผิดฐานลักทรัพย์
อนึ่ง ตามฟ้องโจทก์ขอคืนของกลางตามบัญชีทรัพย์ที่ตรวจพบแก่โจทก์ร่วมที่ 1 ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ไม่ได้มีคำสั่งเป็นการไม่ชอบ ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขเมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่าทรัพย์ของกลางตามบัญชีทรัพย์เป็นของโจทก์ร่วมที่ 1 จึงให้คืนแก่เจ้าของตาม ป.วิ.อ. มาตรา 49 และ 186 (9) ส่วนการคืนหรือใช้ราคาทรัพย์อื่น ๆ เมื่อจำเลยทั้งหกไม่ได้กระทำผิด จึงไม่มีหน้าที่ต้องคืนหรือใช้ราคาทรัพย์
อนึ่ง ตามฟ้องโจทก์ขอคืนของกลางตามบัญชีทรัพย์ที่ตรวจพบแก่โจทก์ร่วมที่ 1 ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ไม่ได้มีคำสั่งเป็นการไม่ชอบ ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขเมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่าทรัพย์ของกลางตามบัญชีทรัพย์เป็นของโจทก์ร่วมที่ 1 จึงให้คืนแก่เจ้าของตาม ป.วิ.อ. มาตรา 49 และ 186 (9) ส่วนการคืนหรือใช้ราคาทรัพย์อื่น ๆ เมื่อจำเลยทั้งหกไม่ได้กระทำผิด จึงไม่มีหน้าที่ต้องคืนหรือใช้ราคาทรัพย์