คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.อ. ม. 358

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 267 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4323/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ วิ่งราวทรัพย์: การแย่งทรัพย์ขณะทำร้ายร่างกายและการขว้างทิ้งภายหลังไม่ทำให้ความผิดเปลี่ยนฐาน
การที่จำเลยที่ 1 กระชากสร้อยคอทองคำพร้อมพระเลี่ยมทองของโจทก์ร่วมไปในขณะที่จำเลยที่ 1 กำลังทำร้ายโจทก์ร่วม แล้วจำเลยที่ 1 วิ่งอ้อมไปทางด้านหลังและขว้างสร้อยคอและพระดังกล่าวทิ้งที่พงหญ้ามีน้ำขังห่างจากที่เกิดเหตุประมาณ 20 เมตร ลักษณะการกระทำของจำเลยที่ 1 เช่นนี้ เป็นการแย่งการครอบครองทรัพย์ไปจากโจทก์ร่วมแล้ว และมีลักษณะเป็นการฉกฉวยซึ่งหน้าโดยทุจริต ซึ่งเป็นความผิดฐานวิ่งราวทรัพย์ การที่จำเลยที่ 1 ขว้างทรัพย์ทิ้งหลังจากวิ่งไปแล้ว 20 เมตร เป็นเจตนาที่เกิดขึ้นภายหลัง ไม่ทำให้การกระทำของจำเลยที่ 1 เป็นความผิดฐานทำให้เสียทรัพย์ไปได้
ป.อ. มาตรา 91 ไม่ใช่มาตราในกฎหมายซึ่งบัญญัติว่าการกระทำเช่นนั้นเป็นความผิดและ ป.วิ.อ. มาตรา 158 ก็มิได้ระบุให้โจทก์ต้องอ้างด้วย ประกอบกับคำฟ้องของโจทก์ได้บรรยายการกระทำของจำเลยที่ 1 ต่างเวลากัน แสดงว่าจำเลยที่ 1 มีเจตนากระทำความผิดแต่ละส่วนแยกจากกัน การกระทำของจำเลยที่ 1 จึงเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน ดังนั้น แม้โจทก์จะไม่ได้ระบุ ป.อ. มาตรา 91 มาในคำขอท้ายฟ้อง ศาลก็ลงโทษจำเลยที่ 1 ทุกกรรมเป็นกระทงความผิดได้ ไม่เป็นการพิพากษาเกินคำขอ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3877/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การครอบครองที่ดินพิพาท: จำเลยเชื่อโดยชอบว่าตนมีสิทธิครอบครอง จึงไม่มีเจตนาบุกรุก
โจทก์ร่วมมีข้อพิพาทกับจำเลยเกี่ยวกับที่ดินพิพาทตั้งแต่ปี 2526 นอกจากนี้โจทก์ร่วมได้ยื่นฟ้องจำเลยเป็นคดีแพ่งตามคดีหมายเลขดำที่ 149/2542 ของศาลชั้นต้น แม้คดีดังกล่าวจะมีประเด็นว่า จำเลยครอบครองที่ดินพิพาทโดยมิชอบอันเป็นการใช้สิทธิตาม ป.พ.พ. มาตรา 1375 มิได้มีประเด็นว่า โจทก์ร่วมถูกแย่งการครอบครองดังที่โจทก์ร่วมฎีกาก็ตาม แต่กรณีดังกล่าวก็ถือได้ว่าเป็นการโต้แย้งเกี่ยวกับสิทธิครอบครองที่ดินพิพาทว่าผู้ใดเป็นผู้ครอบครองในที่ดินพิพาท ดังนั้น ในขณะเกิดเหตุคดีนี้ จำเลยเชื่อโดยชอบว่า จำเลยเป็นผู้มีสิทธิครอบครองหรือเป็นเจ้าของที่ดินพิพาท จำเลยจึงไม่มีเจตนาบุกรุกที่ดินพิพาทหรือทำให้เสียทรัพย์ ส่วนที่ดินพิพาทจะเป็นของผู้ใดหรือผู้ใดเป็นผู้มีสิทธิครอบครองนั้นเป็นเรื่องทางแพ่ง จำเลยจึงไม่มีความผิดตามฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3412/2550

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยอมความทำให้สิทธิฟ้องอาญาคดีทำให้เสียทรัพย์ระงับ และการยกฟ้องข้อหาลักทรัพย์จากการเข้าใจผิด
โจทก์ร่วมกับจำเลยทำบันทึกกันไว้ตามรายงานประจำวันรับแจ้งเป็นหลักฐานซึ่งมีข้อความว่า คู่กรณีตกลงกันแล้วต่างฝ่ายต่างไม่ติดใจเรียกร้องฟ้องกันทั้งทางแพ่งและอาญาต่อกัน โดยจำเลยได้ช่วยเหลือค่าเสียหายของกระบือที่ถูกยิงตายให้โจทก์ร่วมเป็นเงิน 7,000 บาท จะนำเงินมาจ่ายให้หมดในวันที่ 1 ตุลาคม 2544 แล้วลงชื่อโจทก์ร่วมและจำเลย เช่นนี้ จึงเป็นการทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันโดยชอบด้วยกฎหมาย เมื่อความผิดฐานทำให้เสียทรัพย์ตาม ป.อ. มาตรา 358, 359 เป็นความผิดอันยอมความได้ จึงมีผลทำให้สิทธินำคดีอาญามาฟ้องระงับไปตาม ป.วิ.อ. มาตรา 39 (2) แม้ต่อมาจำเลยจะไม่ชำระค่าเสียหายตามสัญญาประนีประนอมยอมความ โจทก์ร่วมก็ไม่มีสิทธิร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนให้ดำเนินคดีแก่จำเลยในข้อหาทำให้เสียทรัพย์ หลังจากมีการยอมความกันโดยชอบด้วยกฎหมายแล้วอีกได้ คงมีสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายตามสัญญาประนีประนอมยอมความเท่านั้น ปัญหานี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยแม้ไม่มีฝ่ายใดฎีกา ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6550/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดฐานบุกรุกและทำให้เสียทรัพย์ แม้ผู้เสียหายถอนฟ้องความผิดฐานทำให้เสียทรัพย์ แต่ความผิดฐานบุกรุกยังคงมีผลบังคับใช้
แม้ความผิดฐานทำให้เสียทรัพย์จะเป็นความผิดต่อส่วนตัว เมื่อผู้เสียหายถอนคำร้องทุกข์ทำให้สิทธินำคดีอาญามาฟ้องระงับไปตาม ป.วิ.อ. มาตรา 39 (2) แต่การกระทำของจำเลยเป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 365 (1) (2) (3) ประกอบมาตรา 364 ด้วย อันเป็นการกระทำผิดกรรมเดียวแต่ผิดต่อกฎหมายหลายบท ศาลล่างลงโทษจำเลยในความผิดฐานนี้ซึ่งเป็นกฎหมายที่มีโทษหนักที่สุดและความผิดฐานดังกล่าวไม่ใช่ความผิดต่อส่วนตัว แม้ผู้เสียหายจะถอนคำร้องทุกข์ก็ไม่ทำให้สิทธินำคดีอาญามาฟ้องในความผิดตาม ป.อ. มาตรา 365 (1) (2) (3) ประกอบมาตรา 364 ระงับไป คงระงับไปเฉพาะความผิดฐานทำให้เสียทรัพย์ตามมาตรา 358 เท่านั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1541/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ยอมความหลังเกิดเหตุทำให้สิทธิฟ้องอาญาฐานทำให้เสียทรัพย์ระงับ
กระจกบานเกล็ดหน้าต่างที่จำเลยทำแตกเสียหายเป็นทรัพย์สินของ อ. เจ้าของหอพัก ซึ่งหลังเกิดเหตุจำเลยได้นำกระจกบานเกล็ดมาเปลี่ยนแทนบานเกล็ดที่แตก โดยความรับรู้ของ ส. สามีของ อ. ซึ่งเป็นผู้ดูแลหอพัก และจำเลยชดใช้ค่าเสียหายให้แก่ ส. เป็นเงิน 500 บาท แล้ว แสดงว่า จำเลยกับเจ้าของหอพักซึ่งเป็นเจ้าของทรัพย์ที่เสียหายได้ยอมความกันโดยชอบมาแต่แรกหลังเกิดเหตุ สิทธินำคดีอาญามาฟ้องในความผิดฐานทำให้เสียทรัพย์จึงระงับไปตามนัยแห่ง ป.วิ.อ. มาตรา 39 (2) ซึ่งบัญญัติไว้เป็นสาระสำคัญว่าสิทธินำคดีอาญามาฟ้องย่อมระงับไปเมื่อยอมความกันโดยถูกต้องตามกฎหมาย ผู้เสียหายย่อมไม่มีสิทธิร้องทุกข์ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยในความผิดฐานนี้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7037/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดพยายามทำให้เสียทรัพย์: การกระทำใกล้ชิดต่อผลแห่งความเสียหายแม้ไม่มีเข็มฉีดยา
คำว่า "ฉีด" ตามพจนานุกรม ให้ความหมายไว้ว่า "ใช้กำลังอัดหรือดันของเหลวพุ่งออกจากช่องเล็ก ๆ" ดังนั้น กระบอกฉีดยาที่ไม่มีเข็มฉีดยาก็สามารถฉีดของเหลวเข้าสู่ร่างกายกระบือโดยทางปากหรือทางทวารได้ และเมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าจำเลยมีกระบอกฉีดยาบรรจุสารพิษไว้แล้ว และจำเลยกำลังจับเชือกที่ผูกกระบือของผู้เสียหายซึ่งพร้อมที่จะลงมือฉีดสารพิษใส่เข้าไปในตัวกระบือ การกระทำของจำเลยดังนี้ใกล้ชิดต่อผลแห่งการกระทำให้เสียทรัพย์ถือว่าเป็นการลงมือกระทำความผิดแล้วแต่กระทำไปไม่ตลอดเพราะผู้เสียหายมาพบและเข้าขัดขวางเสียก่อน จำเลยจึงมีความผิดฐานพยายามทำให้เสียทรัพย์ และเมื่อศาลฎีกาฟังว่าข้อเท็จจริงที่ปรากฏในการพิจารณาดังกล่าวถือว่าจำเลยได้ลงมือกระทำความผิดพ้นขั้นตระเตรียมการแล้ว จึงถือไม่ได้ว่าแตกต่างกับข้อเท็จจริงดังที่กล่าวในฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2893/2547 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การกระทำที่ไม่เป็นความผิดฐานโกงเจ้าหนี้และทำให้เสียทรัพย์ เนื่องจากไม่มีความสัมพันธ์เจ้าหนี้-ลูกหนี้ และการปรับปรุงทรัพย์สินหลังบังคับคดี
คำพิพากษาศาลอุทธรณ์มิได้แสดงให้เห็นว่าโจทก์เป็นเจ้าหนี้ของจำเลยที่ 1 แต่อย่างใด ศาลอุทธรณ์พิพากษายกฟ้องเพราะโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง มิได้พิพากษาว่จำเลยที่ 1 จะต้องรับผิดชำระหนี้แก่โจทก์ จำเลยที่ 1 จึงมิได้เป็นลูกหนี้ของโจทก์ตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ดังกล่าว แม้จำเลยที่ 1 จะทราบคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ดังกล่าวแล้วได้โอนที่ดินและตึกแถวนั้นให้จำเลยที่ 2 ไปในราคาต่ำและจำเลยที่ 1 นำไปจำนองไว้แก่ธนาคารก็เป็นเรื่องในทางแพ่งที่โจทก์จะฟ้องขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมหรือเพิกถอนการฉ้อฉลเท่านั้น การกระทำของจำเลยที่ 1 จึงไม่ใช่การกระทำเพื่อมิให้เจ้าหนี้ของตนได้รับชำระหนี้อันเป็นความผิดอาญาฐานโกงเจ้าหนี้ตาม ป.อ. มาตรา 350 จำเลยที่ 2 ผู้รับโอนที่ดินและตึกแถวดังกล่าวจากจำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 3 ผู้โอนที่ดินและตึกแถวนั้นให้จำเลยที่ 1 ย่อมไม่มีความผิดตามมาตรา 350 ดังกล่าวด้วย
เมื่อศาลชั้นต้นพิพากษาให้ขับไล่โจทก์กับพวกแล้ว จำเลยที่ 1 ได้บังคับคดี แม้โจทก์จะอุทธรณ์คำพิพากษา แต่ก็ไม่ปรากฏว่าได้มีคำสั่งศาลให้ทุเลาการบังคับตาม ป.วิ.พ. มาตรา 231 หรืองดการบังคับคดีตาม ป.วิ.พ. มาตรา 292 ไว้แต่อย่างใด การที่เจ้าพนักงานบังคับคดีได้ดำเนินการบังคับคดีตามขั้นตอนของกฎหมายจนโจทก์และบริวารได้ย้ายออกไปจากตึกแถวแล้ว หลังจากนั้นจำเลยที่ 1 ได้โอนขายที่ดินและตึกแถวดังกล่าวแก่จำเลยที่ 2 ต่อมาจำเลยที่ 2 และที่ 3 ทุบทำลายปรับปรุงดัดแปลงตึกแถวดังกล่าวเป็นการใช้สิทธิตามปรกติเพราะเชื่อว่าเจ้าพนักงานบังคับคดีได้ดำเนินการบังคับคดีถูกต้องแล้ว มิได้มีเจตนาทำลายตึกแถวนั้นให้เสียหายแต่อย่างใด การกระทำของจำเลยที่ 2 และที่ 3 จึงไม่เป็นความผิดฐานทำให้เสียทรัพย์ตาม ป.อ. มาตรา 358

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2893/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ โกงเจ้าหนี้ต้องมีหนี้สินก่อน การทำลายทรัพย์สินหลังบังคับคดีชอบแล้ว ไม่เป็นความผิด
ความผิดฐานโกงเจ้าหนี้ตาม ป.อ. มาตรา 350 ในเบื้องต้นต้องมีหนี้ระหว่างเจ้าหนี้กับลูกหนี้อยู่ก่อน โดยโจทก์อยู่ในฐานะเป็นเจ้าหนี้และผู้เสียหาย คดีนี้โจทก์อ้างสิทธิว่าโจทก์เป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ แต่ปรากฏว่าจำเลยที่ 1 ที่ได้รับโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินและตึกแถวจากจำเลยที่ 3 ได้ฟ้องขับไล่โจทก์และ ด. กับพวก แม้ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่า ด. มีส่วนเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในที่ดินและตึกแถวซึ่งเป็นส่วนของทรัพย์มรดกของ ด. ตกได้แก่โจทก์ในฐานะภริยาโดยชอบด้วยกฎหมายของ ด. โจทก์จึงมีสิทธิที่จะอาศัยหรือใช้ประโยชน์ในที่ดินและตึกแถวนั้นได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1336 จำเลยที่ 1 ไม่มีอำนาจฟ้องขับไล่โจทก์ก็ตาม แต่คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ก็ยังมิได้แสดงให้เห็นว่าโจทก์เป็นเจ้าหนี้ของจำเลยที่ 1 ศาลอุทธรณ์พิพากษายกฟ้องเพราะโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง มิได้พิพากษาว่าจำเลยที่ 1 จะต้องรับผิดชำระหนี้แก่โจทก์ การที่โจทก์มีสิทธิได้รับมรดกในที่ดินและตึกแถวที่เป็นที่ดินกรรมสิทธิ์ร่วมกันระหว่างพี่น้องในส่วนของ ด. เป็นสิทธิในทรัพยสิทธิ มิใช่สิทธิในฐานะเป็นเจ้าหนี้อันเป็นบุคคลสิทธิ สิทธิของโจทก์ดังกล่าวมีอยู่อย่างไรย่อมไม่หมดไป เมื่อจำเลยที่ 1 มิได้เป็นลูกหนี้ของโจทก์ตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์แม้จำเลยที่ 1 ทราบคำพิพากษาศาลอุทธรณ์แล้วได้โอนที่ดินและตึกแถวให้แก่จำเลยที่ 2 ไป ในราคาต่ำก็ตาม การกระทำของจำเลยที่ 1 ก็ไม่ใช่เป็นการกระทำเพื่อมิให้เจ้าหนี้ของตนได้รับชำระหนี้อันเป็นความผิดอาญาฐานโกงเจ้าหนี้ตาม ป.อ. มาตรา 350
หลังจากจำเลยที่ 2 ได้รับโอนที่ดินจากจำเลยที่ 1 มาแล้ว จำเลยที่ 2 และที่ 3 ได้ทำลายตึกแถวตามคำฟ้องและทรัพย์สินส่วนตัวของโจทก์จนเปลี่ยนสภาพไปจากเดิม เจ้าพนักงานบังคับคดีได้ส่งมอบตึกแถวแก่จำเลยที่ 1 เมื่อวันที่ 2 ธันวาคม 2537 หลังจากนั้นจำเลยที่ 1 ได้โอนขายที่ดินและตึกแถวแก่จำเลยที่ 2 เมื่อวันที่ 17 มีนาคม 2538 จำเลยที่ 2 นำตึกแถวไปให้จำเลยที่ 3 เช่าทำประโยชน์ จำเลยที่ 2 และที่ 3 ทุบทำลายปรับปรุงดัดแปลงตึกแถวเป็นร้านค้าและหอพักมิใช่เป็นการกลั่นแกล้งโจทก์ แต่เป็นการใช้สิทธิตามปรกติโดยเชื่อว่าเจ้าพนักงานบังคับคดีได้ดำเนินการบังคับคดีถูกต้องแล้วซึ่งมีอำนาจทำได้ มิได้มีเจตนาทำลายตึกแถวให้เสียหายแต่อย่างใด การกระทำของจำเลยที่ 2 และที่ 3 จึงไม่เป็นความผิดฐานทำให้เสียทรัพย์ตาม ป.อ. มาตรา 358

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1281/2546 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การกระทำความผิดฐานทำให้เสียทรัพย์และลักทรัพย์ต่อรถยนต์หลายคันถือเป็นกรรมต่างกัน แม้จะเกิดจากเหตุเดียวกัน
จำเลยใช้เหล็กทุบทำลายกระจกรถยนต์ถึง 9 คัน ทั้งยังได้ลักทรัพย์และพยายามลักทรัพย์ในรถยนต์ทั้ง 9 คันดังกล่าวด้วย แม้จำเลยอาจจะเมาสุราขาดสติเพียงครั้งเดียวและได้กระทำความผิดในคราวเดียวกัน แต่จำเลยได้กระทำต่อรถยนต์ถึง 9 คัน ซึ่งเป็นของผู้เสียหายคนละคนกัน โดยจำเลยกระทำความผิดทีละคันและคนละเวลา แม้จะเป็นเวลาที่ต่อเนื่องใกล้ชิดกัน แต่การกระทำความผิดในรถยนต์แต่ละคันก็เป็นความผิดสำเร็จเด็ดขาดไปแล้ว และเป็นความผิดหลายกรรมต่างกันตามที่ได้กระทำต่อรถยนต์ทุกคัน มิใช่ความผิดกรรมเดียว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 486/2546

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การตั้งโรงงานโดยไม่ได้รับอนุญาต และอำนาจหน้าที่เจ้าพนักงานในการตรวจสอบและยึดเครื่องจักร
พระราชบัญญัติโรงงาน พ.ศ. 2535 มาตรา 12 และมาตรา 13 กำหนดไว้ชัดเจนว่าไม่ว่าจะเป็นการตั้งโรงงานหรือประกอบกิจการโรงงานจำพวกที่ 3 ผู้ประกอบกิจการโรงงานจะต้องยื่นคำขอรับใบอนุญาตและต้องได้รับใบอนุญาตจากผู้อนุญาตเสียก่อนและเมื่อได้รับใบอนุญาตดังกล่าวแล้ว หากประสงค์จะเริ่มประกอบกิจการต้องแจ้งให้พนักงานเจ้าหน้าที่ทราบอีกครั้งหนึ่ง จะถือวันที่การออกใบอนุญาตประกอบกิจการเป็นวันเริ่มประกอบกิจการโรงงานโดยชอบด้วยกฎหมายไม่ได้
การที่มีคำสั่งกระทรวงอุตสาหกรรมแต่งตั้งจำเลยที่ 1 ซึ่งดำรงตำแหน่งนายอำเภอให้มีอำนาจหน้าที่ปฏิบัติการตามพระราชบัญญัติโรงงาน พ.ศ. 2535 ก็เป็นอำนาจหน้าที่ในการตรวจสอบโรงงานหรือเครื่องจักรเพื่อปฏิบัติตามพระราชบัญญัติโรงงาน พ.ศ.2535เท่านั้น มิใช่ว่าเป็นหน้าที่ของจำเลยที่ 1 ที่จะต้องเป็นผู้สอบถามไปยังสำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดว่าโรงงานที่ตั้งในเขตท้องที่ซึ่งอยู่ในอำนาจหน้าที่ของตนนั้น ได้รับใบอนุญาตประกอบกิจการโรงงานแล้วหรือไม่ แต่เป็นหน้าที่ของโจทก์ในฐานะผู้ประกอบกิจการโรงงานที่จะต้องแสดงหลักฐานต่อจำเลยที่ 1 ให้ปรากฏชัดว่าได้รับใบอนุญาตประกอบกิจการโรงงานแล้ว
โจทก์ยังไม่ได้รับใบอนุญาตประกอบกิจการโรงงาน การตั้งโรงงานตลอดจนการประกอบกิจการโรงงานทำนาเกลือสินเธาว์ของโจทก์จึงฝ่าฝืนต่อพระราชบัญญัติโรงงานพ.ศ. 2535 มาตรา 12 จำเลยที่ 1 รวมทั้งจำเลยที่ 2 และที่ 3 ซึ่งเป็นผู้อยู่ใต้บังคับบัญชาของจำเลยที่ 1 และปฏิบัติตามคำสั่งของจำเลยที่ 1 ย่อมมีอำนาจเข้าไปตรวจสภาพโรงงาน สถานที่ สภาพเครื่องจักร ตลอดจนตรวจยึดสิ่งใด ๆ ที่เกี่ยวข้องได้ การที่จำเลยทั้งสามเข้าไปในที่ดินของโจทก์และยึดเครื่องจักรและอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่ใช้ในการประกอบกิจการนาเกลือสินเธาว์ของโจทก์ จึงไม่เป็นความผิดฐานเป็นเจ้าพนักงานร่วมกันปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบและความผิดฐานบุกรุก
การที่จำเลยทั้งสามเข้าไปตรวจสภาพโรงงานและยึดเครื่องจักรและอุปกรณ์ต่าง ๆที่เกี่ยวข้องกับการประกอบกิจการโรงงานเนื่องจากได้รับแจ้งว่ามีราษฎรประมาณ 100 คนมาชุมนุมแสดงความไม่เห็นด้วยในการทำนาเกลือสินเธาว์ของโจทก์จำเลยทั้งสามจึงมีเจตนาเพียงระงับเหตุร้ายและความวุ่นวายมิให้ลุกลามไปแม้การที่จะระงับการประกอบกิจการนาเกลือสินเธาว์นั้น จำเลยทั้งสามได้สั่งให้อุดท่อพีวีซี ตลอดจนสั่งให้รื้อถอนเครื่องจักรและอุปกรณ์ในที่เกิดเหตุ ก็ด้วยประสงค์จะยึดเครื่องจักรและอุปกรณ์ซึ่งติดตั้งที่พื้นดินโดยต้องรื้อถอนไปตามอำนาจหน้าที่ การรื้อสิ่งของที่ติดอยู่กับพื้นดินย่อมทำให้เกิดความชำรุดเสียหายบ้าง ซึ่งเป็นผลธรรมดาของการรื้อถอนที่ต้องเกิดขึ้น มิใช่เกิดขึ้นเพราะกระทำโดยเจตนาให้เสียทรัพย์
of 27