พบผลลัพธ์ทั้งหมด 5 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 394/2517
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสิ้นสุดอำนาจฟ้องเนื่องจากกฎหมายใหม่ยกเลิกความผิดเดิม และจำเลยปฏิบัติตามคำตักเตือน
จำเลยจอดรถกีดขวางการจราจร เป็นผิดต่อพระราชบัญญัติจราจรทางบกฯ มาตรา 64 ต่อมามีประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 59 ยกเลิกและใช้ความใหม่แทน ให้อำนาจเจ้าพนักงานจราจรหรือพนักงานเจ้าหน้าที่จะว่ากล่าวตักเตือนก็ได้ ดังนี้ เมื่อจำเลยได้ปฏิบัติตามคำว่ากล่าวตักเตือนของเจ้าพนักงานจราจรแล้วเห็นได้ว่ากฎหมายไม่ประสงค์เอาโทษแก่จำเลย การกระทำของจำเลยซึ่งเดิมเป็นความผิดก็ไม่เป็นความผิดอีกต่อไป จำเลยพ้นจากการเป็นผู้กระทำผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 2 วรรค 2 อำนาจฟ้องของโจทก์ซึ่งฟ้องภายหลังที่ประกาศของคณะปฏิวัติฉบับดังกล่าวใช้บังคับ ย่อมหมดสิ้นไปในตัว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3176/2516
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจจับกุมและการกล่าวถ้อยคำที่ไม่สมควรของเจ้าพนักงาน: การกระทำไม่ถึงขั้นหมิ่นประมาท
มาตรา 64 แห่งพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ.2477 มีจุดมุ่งหมายเป็นเรื่องให้ผู้กระทำผิดไปรายงานตนภายในยี่สิบสี่ชั่วโมงนับแต่เวลาที่พนักงานเจ้าหน้าที่ได้เขียนไว้ในคำสั่งเท่านั้น มิได้บัญญัติว่าในกรณีเช่นนี้จะจับผู้กระทำผิดนั้นไม่ได้
การกล่าวถ้อยคำว่า "ขับรถยียวน ขอจับกุม เอาใบขับขี่มา เป็นเพียงคำพูดที่ไม่สมควร จะต้องกล่าวในเวลาจับกุมเท่านั้น ไม่เป็นความผิดฐานหมิ่นประมาทหรือดูหมิ่น
การกล่าวถ้อยคำว่า "ขับรถยียวน ขอจับกุม เอาใบขับขี่มา เป็นเพียงคำพูดที่ไม่สมควร จะต้องกล่าวในเวลาจับกุมเท่านั้น ไม่เป็นความผิดฐานหมิ่นประมาทหรือดูหมิ่น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3176/2516 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจจับกุมและความผิดฐานหมิ่นประมาทจากการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าพนักงานตำรวจ
มาตรา 64 แห่งพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ.2477มีจุดมุ่งหมายเป็นเรื่องให้ผู้กระทำผิดไปรายงานตนภายในยี่สิบสี่ชั่วโมงนับแต่เวลาที่พนักงานเจ้าหน้าที่ได้เขียนไว้ในคำสั่งเท่านั้น มิได้บัญญัติว่าในกรณีเช่นนี้จะจับผู้กระทำผิดนั้นไม่ได้
การกล่าวถ้อยคำว่า "ขับรถยียวน ขอจับกุม เอาใบขับขี่มาเป็นเพียงคำพูดที่ไม่สมควรจะต้องกล่าวในเวลาจับกุมเท่านั้นไม่เป็นความผิดฐานหมิ่นประมาทหรือดูหมิ่น
การกล่าวถ้อยคำว่า "ขับรถยียวน ขอจับกุม เอาใบขับขี่มาเป็นเพียงคำพูดที่ไม่สมควรจะต้องกล่าวในเวลาจับกุมเท่านั้นไม่เป็นความผิดฐานหมิ่นประมาทหรือดูหมิ่น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 185/2503
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขัดคำสั่งเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 368 ในคดีจราจร: เจตนาของกฎหมายคืออะไร?
ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 368 เป็นบทลงโทษผู้ที่ขัดคำสั่งของเจ้าพนักงานซึ่งสั่งการตามอำนาจที่มีกฎหมายให้ไว้ในกรณีทั่วๆ ไปส่วนการที่จำเลยไม่ไปรายงานตนภายใน 24 ชั่วโมง ตามคำสั่งของตำรวจจราจรในกรณีจำเลยทำผิดกฎหมายจราจรจะเป็นผิดฐานขัดคำสั่งเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 368 อีกด้วยหรือไม่นั้นต้องระลึกถึงหลักการใช้กฎหมายอาญาว่ากฎหมายจราจรมีความประสงค์จะลงโทษบุคคลผู้ขัดคำสั่งของเจ้าพนักงานหรือไม่ ซึ่งจะเห็นได้จากบทบัญญัติของกฎหมายนั้นๆเองเรื่องนี้ ถึงแม้จะมี พระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ.2477 มาตรา 64 ให้อำนาจเจ้าพนักงานสั่งเป็นหนังสือให้ผู้ละเมิด พระราชบัญญัติจราจรทางบกไปรายงานตนภายใน 24 ชั่วโมง ก็จริง แต่ พระราชบัญญัตินี้ก็ไม่ประสงค์จะให้ลงโทษแก่ผู้ที่ไม่ปฏิบัติตามคำสั่งนั้น เพราะข้อความในมาตรา 67 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดย พระราชบัญญัตจราจรทางบก พ.ศ.2478 มาตรา 5 แสดงให้เห็นว่า การที่ให้ไปรายงานตนนั้น กฎหมายมีความประสงค์เพื่อความสดวกของทั้งสองฝ่ายเท่านั้น คือ ผู้ไปรายงานยอมให้เปรียบเทียบ ก็ไม่ต้องถูกฟ้องเป็นจำเลย ฝ่ายเจ้าพนักงานก็ไม่ต้องเสียเวลาสอบสวนพยานเพื่อดำเนินคดีต่อศาล แต่ถ้าผู้ได้รับคำสั่งไม่ไปรายงาน ก็เท่ากับผู้นั้นปฏิเสธความผิดไม่ยอมให้เปรียบเทียบ ซึ่งก็มีทางแก้อยู่แล้ว คือเจ้าพนักงานดำเนินคดีฟ้องต่อศาลดุจคดีอื่นๆผู้ไม่ไปรายงานตนหามีความผิดฐานขัดคำสั่งเจ้าพนักงานซ้ำอีกกระทงหนึ่งไม่
(ควรเทียบดูกับฎีกาที่ 728/2502 ซึ่งวินิจฉัยโดยที่ประชุมใหญ่เกี่ยวกับปัญหาเช่นเดียวกันนี้ แต่ข้อวินิจฉัยมีต่างกันบ้าง)
(ควรเทียบดูกับฎีกาที่ 728/2502 ซึ่งวินิจฉัยโดยที่ประชุมใหญ่เกี่ยวกับปัญหาเช่นเดียวกันนี้ แต่ข้อวินิจฉัยมีต่างกันบ้าง)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 728/2502
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขัดคำสั่งเจ้าพนักงานจราจร: บทลงโทษตาม พ.ร.บ.จราจรทางบกเฉพาะเจาะจงกว่าบททั่วไปในประมวลกฎหมายอาญา
การที่จำเลยไม่ไปรายงานตนตามคำสั่งของเจ้าพนักงานจราจรนั้นไม่เป็นความผิดฐานขัดคำสั่งเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 368 อันเป็นบทกฎหมายทั่วไป เพราะ พระราชบัญญัติจราจรทางบกได้บัญญัติไว้เป็นพิเศษใน มาตรา 64 และ 67 ซึ่งอยู่ในส่วนที่ว่าด้วยบทกำหนดโทษ ว่า ถ้าจำเลยไม่ไปตามคำสั่งของเจ้าพนักงานจราจรดังกล่าว ห้ามมิให้เปรียบเทียบ ให้จัดการฟ้องจำเลยไปทีเดียว อันเป็นบทลงโทษจำเลยอยู่แล้ว (ประชุมใหญ่ครั้งที่ 10/2502)