คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 118 วรรคสอง

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 14 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1457/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ นิติกรรมอำพราง: สัญญาเช่ารถยนต์ที่แท้จริงคือสัญญาเงินกู้
ก่อนรถยนต์และสัมปทานทางวิ่งรถยนต์พิพาทจะโอนมาเป็นกรรมสิทธิ์โจทก์ในปี 2527 จำเลยเป็นผู้เช่าซื้อรถยนต์และเจ้าของสัมปทานทางวิ่งรถยนต์พิพาทมาก่อน แต่ต่อมาจำเลยใส่ชื่อโจทก์ในทะเบียนรถแทนด้วยการทำสัญญาเช่าจากโจทก์แทนสัญญากู้ยืมเงินกันจริง กรณีจึงต้องบังคับกันตามสัญญากู้ยืมที่อำพรางกันไว้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 118วรรคสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 391/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาขายฝากไม่เป็นนิติกรรมอำพราง การครอบครองที่ดินหลังครบกำหนดไถ่ถือเป็นการละเมิด เจ้าของสิทธิไม่สละสิทธิจากการเสียภาษี
โจทก์และจำเลยไปทำสัญญากันที่สำนักงานที่ดินอำเภอเมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่ทำสัญญาแล้วได้อ่านข้อความให้ฟังจำเลยบอกแก่พนักงานเจ้าหน้าที่ว่า ต้องการทำสัญญาจำนองไม่ต้องการทำสัญญาขายฝาก โจทก์บอกจำเลยว่าทำสัญญาขายฝากก็เหมือนสัญญาจำนอง เมื่อจำเลยได้ปรึกษากับสามีแล้วจึงได้ตกลงทำสัญญาขายฝาก ดังนี้ การทำสัญญาขายฝากดังกล่าวจึงเป็นไปตามความประสงค์ของโจทก์และด้วยความสมัครใจของจำเลยเอง สัญญาขายฝากนี้หาใช่เป็นนิติกรรมอำพรางไม่ การที่จำเลยเสียภาษีบำรุงท้องที่ที่ดินพิพาทโดยไม่ปรากฏว่าโจทก์ได้รู้เห็นการกระทำดังกล่าวมิใช่เป็นเรื่องการแย่งการครอบครองที่ดินพิพาทและไม่ถือว่าโจทก์สละสิทธิครอบครองที่ดินพิพาท เมื่อจำเลยครอบครอง ที่ดินพิพาทในฐานะอาศัยโจทก์มาแต่แรก และจำเลยไม่เคยบอกกล่าวไปยังโจทก์ว่าจะเปลี่ยนลักษณะแห่งการครอบครอง ดังนี้แม้จำเลยจะครอบครองที่พิพาทต่อมาอีกนานเท่าใดก็ตามโจทก์ก็ไม่ต้องฟ้องเอาคืนซึ่งการครอบครองที่ดินพิพาทภายใน 1 ปี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3946/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ นิติกรรมอำพราง: สัญญาขายฝากเพื่อบังหน้าการกู้ยืมเงิน ดอกเบี้ยเกินกฎหมายระงับหนี้
การที่จำเลยรับชำระหนี้เงินกู้ส่วนที่ค้างชำระภายหลังพ้นกำหนดเวลาไถ่ทรัพย์ที่ขายฝากแล้ว แสดงให้เห็นถึงเจตนาของโจทก์และจำเลยว่าต้องการจะผูกพันกันในเรื่องกู้ยืมเงินเท่านั้นสัญญาขายฝากจึงเป็นนิติกรรมอำพรางการกู้ยืมเงินตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 114 วรรคสอง และจะต้องถือว่าสัญญาขายฝากเป็นหลักฐานที่จำเลยได้กู้ยืมเงินโจทก์และมอบที่ดินตามฟ้องให้โจทก์ยึดถือไว้เป็นประกันเท่านั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1160/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาอำพราง: เช็คไม่มีมูลหนี้ ไม่เป็นความผิดตาม พ.ร.บ. เช็ค แม้ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงิน
โจทก์จำเลยตกลงจะซื้อขายที่ดินกันในราคา 22,000,000 บาทจำเลยวางเงินมัดจำให้โจทก์ 1,000,000 บาท โดยจ่ายเป็นเช็ค ทั้งยังตกลงกันว่าโจทก์จะเป็นผู้เสนอขายที่ดินตามสัญญาให้แก่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ในนามของโจทก์แทนจำเลย และหากจำเลยปฏิบัติครบถ้วนตามสัญญา โจทก์จะจ่ายค่านายหน้าให้แก่จำเลย 1,100,000บาททันที ตามสัญญาระหว่างโจทก์จำเลยแสดงให้เห็นว่า เจตนาของคู่กรณีไม่ใช่เรื่องซื้อขายที่ดินกันจริง ๆ แต่เป็นเรื่องที่คู่กรณีตกลงที่จะนำที่ดินของโจทก์ไปขายให้แก่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดยจำเลยมีภาระผูกพันที่จะต้องดำเนินการวิ่งเต้นขายที่ดินดังกล่าว การที่สัญญาระบุไว้ว่า ถ้า ผู้จะซื้อไม่ชำระราคาที่ดินให้ครบถ้วนภายในกำหนดให้ถือว่าผิดสัญญาและผู้จะขายริบเงินมัดจำได้นั้น ต้องถือว่าเป็นข้อความอำพรางหาใช่เจตนาอันแท้จริงของคู่สัญญาไม่ การที่จำเลยจ่ายเงินมัดจำเป็นเช็คลงวันที่วันเดียวกับวันครบกำหนดในสัญญาก็เพื่อให้สมกับเรื่องที่อำพรางว่ามีการวางเงินมัดจำตามที่ระบุไว้ในสัญญาจะซื้อจะขายเพื่อผูกมัดจำเลยไม่ให้ดำเนินการขายที่ดินของบุคคลอื่นให้แก่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ดังนั้น การที่จำเลยออกเช็คพิพาทมอบให้โจทก์ไว้ ต้องถือว่าเช็คฉบับนั้นหามีมูลหนี้ต่อกันไม่ การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นความผิดตาม พ.ร.บ. ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2497 มาตรา 3.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3765/2532

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีขับไล่และการสิ้นสุดสัญญาเช่าช่วง การฟ้องคดีโดยอาศัยมูลเหตุจากสัญญาระหว่างจำเลยกับโจทก์
เมื่อจำเลยประพฤติหรือปฏิบัติผิดสัญญาอันเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ โจทก์ย่อมฟ้องจำเลยโดยอาศัยมูลเหตุตามสัญญาที่จำเลยทำไว้กับโจทก์ได้ โดยไม่ต้องคำนึงว่าสัญญาเช่าอาคารพิพาทที่โจทก์ทำไว้กับกระทรวงการคลังซึ่งเป็นเจ้าของอาคารพิพาทจะสิ้นสุดแล้วหรือไม่โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 55 และเมื่อสัญญาเช่าช่วงครบกำหนด โจทก์ได้บอกเลิกการเช่าช่วงโดยชอบแล้วจำเลยจึงไม่มีเหตุตามกฎหมายที่จะอยู่ในอาคารพิพาทได้ต่อไป.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3765/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีขับไล่และการสิ้นสุดสัญญาเช่าช่วง การฟ้องโดยอาศัยมูลเหตุจากสัญญาระหว่างจำเลยกับโจทก์ยังคงมีอำนาจแม้สัญญาหลักสิ้นสุด
เมื่อจำเลยประพฤติหรือปฏิบัติผิดสัญญาอันเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ โจทก์ย่อมฟ้องจำเลยโดยอาศัยมูลเหตุตามสัญญาที่จำเลยทำไว้กับโจทก์ได้ โดยไม่ต้องคำนึงว่าสัญญาเช่าอาคารพิพาทที่โจทก์ทำไว้กับกระทรวงการคลังซึ่งเป็นเจ้าของอาคารพิพาทจะสิ้นสุดแล้วหรือไม่ โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 55 และเมื่อสัญญาเช่าช่วงครบกำหนด โจทก์ได้บอกเลิกการเช่าช่วงโดยชอบแล้ว จำเลยจึงไม่มีเหตุตามกฎหมายที่จะอยู่ในอาคารพิพาทได้ต่อไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3765/2532 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีขับไล่หลังสัญญาเช่าสิ้นสุด: ฟ้องได้โดยอาศัยสัญญากับจำเลย แม้สัญญาหลักจะสิ้นสุดแล้ว
เมื่อจำเลยประพฤติหรือปฏิบัติผิดสัญญาอันเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ โจทก์ย่อมฟ้องจำเลยโดยอาศัยมูลเหตุตามสัญญาที่จำเลยทำไว้กับโจทก์ได้ โดยไม่ต้องคำนึงว่าสัญญาเช่าอาคารพิพาทที่โจทก์ทำไว้กับกระทรวงการคลังซึ่งเป็นเจ้าของอาคารพิพาทจะสิ้นสุดแล้วหรือไม่โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 55 และเมื่อสัญญาเช่าช่วงครบกำหนด โจทก์ได้บอกเลิกการเช่าช่วงโดยชอบแล้วจำเลยจึงไม่มีเหตุตามกฎหมายที่จะอยู่ในอาคารพิพาทได้ต่อไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3718/2525

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่าซื้อไม่เป็นนิติกรรมอำพราง ผู้เช่าซื้อผิดสัญญา เจ้าของทรัพย์มีสิทธิเรียกค่าเสียหาย
การให้เช่าซื้อเป็นธุรกิจหนึ่งซึ่งรวมอยู่ในธุรกิจการค้าอื่น ๆ ตามวัตถุประสงค์ของโจทก์ซึ่งเป็นบริษัทจำกัดแม้โจทก์จะไม่มีสินค้าของตนเอง ก็อาจนำเอาสินค้ามาให้ลูกค้าทำการเช่าซื้อได้.โดยทำสัญญาเช่าซื้อกันไว้ล่วงหน้าให้มีผลบังคับกันได้ในเมื่อโจทก์เป็นเจ้าของทรัพย์แล้วมิใช่ว่าเมื่อไม่มีสินค้าของตนเองแล้วจะประกอบธุรกิจการค้าประเภทนี้ไม่ได้
จำเลยยอมสนองรับข้อเสนอของโจทก์ในอันที่จะผูกพันตนตามสัญญาเช่าซื้อซึ่งตนรู้ถึงวัตถุประสงค์ของการทำสัญญาดังกล่าวเป็นอย่างดี ทั้งยังได้ยอมรับเงื่อนไขต่าง ๆรวมทั้งการชำระหนี้อันเป็นผลโดยตรงที่คู่กรณียอมรับนับถือและให้พึงใช้บังคับต่อกันตามข้อสัญญา ดังนี้สัญญาเช่าซื้อดังกล่าวจึงเป็นนิติกรรมที่ใช้บังคับแก่คู่กรณีได้หาใช่นิติกรรมอำพรางการกู้เงินไม่
ในเรื่องการเช่าซื้อ กรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินที่เช่าซื้อยังคงเป็นของผู้ให้เช่าซื้อเมื่อผู้เช่าซื้อประพฤติผิดสัญญาเจ้าของทรัพย์สินจะบอกเลิกสัญญาเสียก็ได้ บรรดาเงินที่ได้ใช้มาแล้วเจ้าของทรัพย์สินชอบที่จะริบและกลับเข้าครอบครองทรัพย์สินนั้นได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 574และเมื่อได้ใช้สิทธิเลิกสัญญาแล้ว ย่อมมีผลทำให้คู่สัญญาแต่ละฝ่ายได้กลับคืนสู่ฐานะเดิมของตนที่เป็นอยู่แต่ไม่มีผลกระทบกระทั่งสิทธิในอันที่จะเรียกร้องค่าเสียหายแก่กันดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 391
สัญญาเช่าซื้อกำหนดผ่อนชำระค่าเช่าซื้อเป็นงวดรายเดือนเริ่มงวดแรกภายในวันที่ 22 ตุลาคม 2521 งวดต่อไปภายในวันที่ 22 ของทุก ๆ เดือน จำเลยผิดนัดไม่ชำระค่าเช่าซื้อตามสัญญานับแต่งวดที่ 5 ซึ่งครบกำหนดชำระในวันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2522 เป็นการผิดนัดไม่ใช้เงินสองคราวติด ๆ กัน ถือว่าจำเลยผิดสัญญา โจทก์ชอบที่จะใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาและกลับเข้าครอบครองทรัพย์สินที่เช่าซื้อได้ตั้งแต่วันที่มีการผิดนัดเป็นต้นมา เมื่อจำเลยยังคงครอบครองและใช้ประโยชน์ในตัวทรัพย์นั้นมาโดยตลอด ย่อมทำให้โจทก์เสียหาย โจทก์ชอบที่จะเรียกค่าที่จำเลยได้ใช้ทรัพย์ของโจทก์มาตลอดระยะเวลาที่จำเลยครอบครองทรัพย์ ถือตั้งแต่วันที่ 22 มกราคม 2522 เป็นต้นมาตามมาตรา 391 วรรคสาม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3718/2525 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่าซื้อไม่เป็นนิติกรรมอำพราง ผู้เช่าซื้อผิดสัญญา เจ้าของทรัพย์มีสิทธิบอกเลิกสัญญาและเรียกค่าเสียหาย
การให้เช่าซื้อเป็นธุรกิจหนึ่งซึ่งรวมอยู่ในธุรกิจการค้าอื่น ๆ ตามวัตถุประสงค์ของโจทก์ซึ่งเป็นบริษัทจำกัดแม้โจทก์จะไม่มีสินค้าของตนเอง ก็อาจนำเอาสินค้ามาให้ลูกค้าทำการเช่าซื้อได้.โดยทำสัญญาเช่าซื้อกันไว้ล่วงหน้าให้มีผลบังคับกันได้ในเมื่อโจทก์เป็นเจ้าของทรัพย์แล้วมิใช่ว่าเมื่อไม่มีสินค้าของตนเองแล้วจะประกอบธุรกิจการค้าประเภทนี้ไม่ได้
จำเลยยอมสนองรับข้อเสนอของโจทก์ในอันที่จะผูกพันตนตามสัญญาเช่าซื้อซึ่งตนรู้ถึงวัตถุประสงค์ของการทำสัญญาดังกล่าวเป็นอย่างดี ทั้งยังได้ยอมรับเงื่อนไขต่าง ๆ รวมทั้งการชำระหนี้อันเป็นผลโดยตรงที่คู่กรณียอมรับนับถือและให้พึงใช้บังคับต่อกันตามข้อสัญญา ดังนี้สัญญาเช่าซื้อดังกล่าวจึงเป็นนิติกรรมที่ใช้บังคับแก่คู่กรณีได้หาใช่นิติกรรมอำพรางการกู้เงินไม่
ในเรื่องการเช่าซื้อ กรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินที่เช่าซื้อยังคงเป็นของผู้ให้เช่าซื้อเมื่อผู้เช่าซื้อประพฤติผิดสัญญาเจ้าของทรัพย์สินจะบอกเลิกสัญญาเสียก็ได้ บรรดาเงินที่ได้ใช้มาแล้วเจ้าของทรัพย์สินชอบที่จะริบและกลับเข้าครอบครองทรัพย์สินนั้นได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 574 และเมื่อได้ใช้สิทธิเลิกสัญญาแล้ว ย่อมมีผลทำให้คู่สัญญาแต่ละฝ่ายได้กลับคืนสู่ฐานะเดิมของตนที่เป็นอยู่แต่ไม่มีผลกระทบกระทั่งสิทธิในอันที่จะเรียกร้องค่าเสียหายแก่กันดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 391
สัญญาเช่าซื้อกำหนดผ่อนชำระค่าเช่าซื้อเป็นงวดรายเดือนเริ่มงวดแรกภายในวันที่ 22 ตุลาคม 2521 งวดต่อไปภายในวันที่ 22 ของทุก ๆ เดือน จำเลยผิดนัดไม่ชำระค่าเช่าซื้อตามสัญญานับแต่งวดที่ 5 ซึ่งครบกำหนดชำระในวันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2522 เป็นการผิดนัดไม่ใช้เงินสองคราวติด ๆ กัน ถือว่าจำเลยผิดสัญญา โจทก์ชอบที่จะใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาและกลับเข้าครอบครองทรัพย์สินที่เช่าซื้อได้ตั้งแต่วันที่มีการผิดนัดเป็นต้นมา เมื่อจำเลยยังคงครอบครองและใช้ประโยชน์ในตัวทรัพย์นั้นมาโดยตลอด ย่อมทำให้โจทก์เสียหาย โจทก์ชอบที่จะเรียกค่าที่จำเลยได้ใช้ทรัพย์ของโจทก์มาตลอดระยะเวลาที่จำเลยครอบครองทรัพย์ ถือตั้งแต่วันที่ 22 มกราคม 2522 เป็นต้นมาตามมาตรา 391 วรรคสาม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1366-1367/2514

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ นิติกรรมขายฝากไม่เป็นนิติกรรมอำพราง แม้มีข้อตกลงเพิ่มเติมภายหลัง และสิทธิไถ่ทรัพย์สินมีเฉพาะผู้ขายฝาก
หลังจากทำหนังสือสัญญาขายฝากและจดทะเบียนไว้ต่อพนักงานเจ้าหน้าที่แล้ว 6 เดือนเต็ม โจทก์ทำเอกสารขึ้นอีกฉบับหนึ่งว่า โจทก์จะไม่เอาที่ดินหลุดเป็นสิทธิโดยอนุญาตให้ ส. ผู้ขายฝากทำการก่อสร้างในที่ดินที่ขายฝากได้ ส่วนดอกเบี้ยต้องมาตกลงกันอีกในภายหลังพฤติการณ์เช่นนี้ถือว่าคู่กรณีมีเจตนาจะทำสัญญากู้ยืมกันมาแต่แรกหาได้ไม่ สัญญาขายฝากจึงมิใช่นิติกรรมอำพราง
จำเลยไม่ใช่ผู้ขายฝากเป็นเพียงภรรยาที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายของ ส. ผู้ขายฝากเท่านั้น ตามกฎหมายจำเลยจะใช้สิทธิไถ่ทรัพย์สินที่ขายฝากไม่ได้
of 2