คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.ที่ดิน ม. 108 ทวิ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 71 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6986/2546 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดฐานบุกรุกที่สาธารณประโยชน์: การกระทำต่างกรรมต่างวาระไม่ถือเป็นฟ้องซ้ำ
คดีก่อนโจทก์เคยฟ้องจำเลยข้อหาบุกรุก ยึดถือครอบครองที่ดินสาธารณประโยชน์เนื้อที่ 9 ไร่เศษ โดยปลูกบ้านอยู่อาศัยและปลูกต้นไม้ยืนต้น ก่อนวันที่ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 96 ลงวันที่ 29 กุมภาพันธ์ 2515 ใช้บังคับ คดีถึงที่สุดโดยศาลฎีกาฟังข้อเท็จจริงว่า จำเลยยึดถือครอบครองที่ดินสาธารณประโยชน์หลังจากประมวลกฎหมายที่ดินใช้บังคับแล้วเป็นการครอบครองสืบเนื่องมาก่อนวันที่ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 96 ลงวันที่ 29 กุมภาพันธ์ 2515 ใช้บังคับ โดยจำเลยมิได้มีสิทธิครอบครองและมิได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่ การกระทำของจำเลยเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 9, 108 แต่ยกคำขอให้จำเลยออกจากที่ดินพิพาท ต่อมาโจทก์ยื่นฟ้องเป็นคดีนี้ว่า จำเลยเข้าไปยึดถือ ครอบครองก่นสร้างที่ดินสาธารณประโยชน์ โดยใช้รถไถเข้าไปไถปรับที่ดินเนื้อที่ประมาณ 2 ไร่ ภายหลังวันที่ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 96 ลงวันที่ 29 กุมภาพันธ์ 2515 ใช้บังคับแล้ว อันเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 9 (1), 108 ทวิ วรรคสอง การกระทำในคดีนี้จึงต่างกรรมต่างวาระแยกต่างหากจากการกระทำในคดีก่อน และความผิดตามประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 108 กับมาตรา 108 ทวิ มีองค์ประกอบแตกต่างกัน การกระทำความผิดของจำเลยในคดีนี้กับคดีก่อนจึงไม่ใช่ความผิดกรรมเดียวกัน ฟ้องของโจทก์คดีนี้จึงไม่เป็นฟ้องซ้ำกับคดีก่อน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 548/2546

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนสิทธิอนุญาตใช้ที่ดินของรัฐตาม ป.ก.ที่ดิน มาตรา 9 มิได้ สัญญาซื้อขายเพื่อหลีกเลี่ยงข้อห้ามเป็นโมฆะ
การได้รับอนุญาตให้ใช้ที่ดินของรัฐตามประมวลกฎหมายที่ดินฯ มาตรา 9 ไม่ได้บัญญัติให้โอนกันได้ และไม่มีบทกฎหมายหรือกฎกระทรวงฉบับใดกำหนดให้ผู้ได้รับอนุญาตโอนสิทธิหรืออำนาจตลอดจนวิธีดำเนินการต่าง ๆ เพื่อเป็นการหาประโยชน์ในที่ดินของรัฐให้แก่บุคคลอื่นได้ การอนุญาตให้ใช้ที่ดินของรัฐในกรณีดังกล่าวกำหนดขึ้นเพื่ออนุญาตให้ผู้ที่ได้รับใบอนุญาตเป็นการเฉพาะตัวเท่านั้น การที่ผู้ได้รับอนุญาตโอนสิทธิดังกล่าวย่อมเป็นการฝ่าฝืนประมวลกฎหมายที่ดินฯ มาตรา 9 อาจถูกเพิกถอนใบอนุญาตได้เนื่องจากตามเงื่อนไขการอนุญาตให้ระเบิดและย่อยหินระบุให้ผู้ได้รับอนุญาตต้องดำเนินการด้วยตนเอง จะให้ผู้อื่นดำเนินการหรือโอนสิทธิให้ผู้อื่นไม่ได้ หากผู้รับโอนเข้าไปทำประโยชน์หรือใช้ที่ดินของรัฐโดยระเบิดและย่อยหินเองโดยไม่ได้รับอนุญาตตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 9 อาจมีความผิดตามมาตรา 108 ทวิ ดังนั้น การที่จำเลยทั้งสองทำสัญญาซื้อขายหินกับโจทก์ในสภาพสังหาริมทรัพย์ แต่ให้โจทก์เป็นผู้ระเบิดและย่อยหินเองได้นั้น เป็นการทำสัญญาเพื่อหลีกเลี่ยงกฎหมายและข้อกำหนดห้ามโอนสิทธิตามใบอนุญาตระเบิดหินและย่อยหิน ในเมื่อโจทก์กับจำเลยทั้งสองมีเจตนาที่แท้จริงจะโอนสิทธิตามใบอนุญาตระเบิดและย่อยหินแก่กัน สัญญาดังกล่าวจึงมีวัตถุประสงค์เป็นการต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมาย ย่อมตกเป็นโมฆะ ทั้งกรณีหาใช่การให้สัมปทานตามประมวลกฎหมายที่ดินฯ มาตรา 12 ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3314/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยึดครองที่ดินสาธารณะและทำให้เสียทรัพย์ ศาลฎีกาวินิจฉัยว่าลงโทษฐานทำให้เสียทรัพย์แล้วไม่อาจบังคับให้จำเลยออกจากที่ดินได้
จำเลยกระทำความผิดฐานยึดถือครอบครองที่ดินของรัฐ ซึ่งเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินที่ประชาชนใช้ร่วมกัน และฐานทำให้เสียทรัพย์ที่ใช้และมีไว้เพื่อสาธารณประโยชน์ ซึ่งเป็นการกระทำกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท เมื่อลงโทษฐานทำให้เสียทรัพย์ที่ใช้และมีไว้เพื่อสาธารณประโยชน์ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 360 ซึ่งเป็นบทที่มีโทษหนักที่สุดแล้วจึงไม่อาจอาศัยบทเบาตามประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 108 ทวิ วรรคสอง มาบังคับให้จำเลยและบริวารออกจากที่ดินซึ่งจำเลยเข้าไปยึดถือครอบครองตามที่โจทก์ขอได้ เพราะประมวลกฎหมายอาญามาตรา 360 ไม่ได้บัญญัติข้อบังคับดังกล่าวไว้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3314/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยึดครองคลองสาธารณะโดยการกีดขวางทางน้ำถือเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท ต้องลงโทษตามบทที่มีโทษหนักที่สุด
การที่จำเลยเข้าไปยึดถือครอบครองคลองควายซึ่งเป็นคลองสาธารณะโดยใช้เสาคอนกรีตปักปิดขวางช่วงปากคลอง ทำให้ประชาชนทั่วไปไม่สามารถใช้ประโยชน์สัญจรผ่านไปมาในคลองเพื่อออกสู่แม่น้ำได้นั้น การกระทำของจำเลยเป็นความผิดฐานยึดถือครอบครองที่ดินของรัฐ ซึ่งเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินที่ประชาชนใช้ร่วมกัน และฐานทำให้เสียทรัพย์ที่ใช้หรือมีไว้เพื่อสาธารณประโยชน์ เป็นการกระทำกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท ต้องลงโทษฐานทำให้เสียทรัพย์ที่ใช้หรือมีไว้เพื่อสาธารณประโยชน์ ตาม ป.อ. มาตรา 360 ซึ่งเป็นบทที่มีโทษหนักที่สุด จึงไม่อาจอาศัยบทเบาตาม ป. ที่ดิน มาตรา 108 ทวิ วรรคสอง มาบังคับให้จำเลยและบริวารออกจากที่ดินซึ่งจำเลยเข้าไปยึดถือครอบครองตามที่โจทก์ขอได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 392/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบุกรุกที่สาธารณะและแม่น้ำเจ้าพระยาเพื่อสร้างอาคารและท่าจอดเรือโดยไม่ได้รับอนุญาต กรรมการบริษัทต้องรับผิดร่วมด้วย
ที่ดินที่ราชการได้รับการให้ แม้ทางราชการมิได้ใช้ทำการก่อสร้างสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาตามความประสงค์ของผู้ให้ก็ไม่ได้ทำให้จำเลยทั้งสองเกิดสิทธิที่จะบุกรุกเข้าไปก่อสร้างอาคารหรือปลูกสร้างท่าจอดเรือลงในแม่น้ำเจ้าพระยาโดยไม่ได้รับอนุญาตและแม้อาคารที่ก่อสร้างจะถูกรื้อไปแล้วก็ไม่ทำให้ความผิดที่เกิดขึ้นสำเร็จแล้วกลายเป็นไม่ผิด การกระทำของบริษัทจำเลยที่ 2 ที่กระทำลงไปนั้นจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นกรรมการต้องร่วมรับผิดในฐานะส่วนตัวด้วยจำเลยทั้งสองจึงมีความผิดตามประมวลกฎหมายที่ดินมาตรา 108 ทวิ วรรคสอง และประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 360

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2565/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยึดครองที่ดินสาธารณะโดยเจตนา ศาลพิพากษาลงโทษปรับและให้รอการลงโทษ
ที่ดินที่จำเลยซื้อจาก พ. เป็นที่ดินมีหนังสือรับรองการทำประโยชน์ ซึ่งมีรูปแผนที่แสดงอาณาเขตและเขต ติดต่อไว้อย่างชัดแจ้ง การซื้อขายได้มีการจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ จำเลยย่อมทราบเป็นอย่างดีว่าที่ดินที่ซื้อ ด้านทิศตะวันตกติดทางสาธารณประโยชน์ มิใช่ที่รกร้างว่างเปล่า เมื่อจำเลยปลูกสร้างบ้านและอาคารโรงงานล้ำเข้าไปในทางสาธารณประโยชน์ จึงเป็นการกระทำโดยเจตนาเพื่อจะยึดถือครอบครองทางสาธารณประโยชน์เป็นของตนเอง จึงมีความผิดตาม ป.ที่ดินฯ มาตรา 9 (1), 108 ทวิ
ข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในทางพิจารณารับฟังได้ว่า ตามวันเวลาเกิดเหตุในฟ้องจำเลยยังยึดถือครอบครอง ที่พิพาทอันเป็นความผิดอยู่ ย่อมเป็นข้อเท็จจริงที่ตรงกับข้อเท็จจริงที่กล่าวในฟ้อง ศาลย่อมมีอำนาจพิพากษาลงโทษจำเลยได้ หาใช่ข้อเท็จจริงในทางพิจารณาแตกต่างจากข้อเท็จจริงดังที่กล่าวในฟ้องอันเป็นสาระสำคัญที่จะต้องพิพากษายกฟ้องไม่
จำเลยเข้าไปยึดถือครอบครองที่ดินของรัฐหลังจากประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 96 มีผลใช้บังคับแล้ว ซึ่ง ป.ที่ดินฯ มาตรา 9 (1) ประกอบมาตรา 108 ทวิ บัญญัติให้การเข้าไปยึดถือครอบครองที่ดินของรัฐ เป็นความผิดในทันทีที่เข้าไปยึดถือครอบครอง โดยไม่จำต้องให้พนักงานเจ้าหน้าที่แจ้งและมีคำสั่งให้จำเลยปฏิบัติตามเสียก่อน การที่โจทก์ไม่ได้บรรยายข้อความดังกล่าว ก็ไม่ทำให้ฟ้องโจทก์ขาดองค์ประกอบความผิด
จำเลยเริ่มเข้ายึดถือครอบครองที่พิพาทตั้งแต่ปี 2523 เป็นต้นมา อันถือเป็นวันเริ่มต้นกระทำความผิด เมื่อปรากฏว่าหลังจากนั้นจำเลยยังคงยึดถือครอบครองที่พิพาทตลอดมาจนถึงวันฟ้อง จึงเป็นความผิดต่อเนื่องอยู่ทุกขณะตราบเท่าที่จำเลยยังคงยึดถือครอบครองที่พิพาทอยู่ คดีจึงไม่ขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2565/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยึดถือครอบครองที่ดินสาธารณะโดยเจตนา และอายุความความผิดต่อเนื่อง
ที่ดินที่จำเลยซื้อจาก พ. เป็นที่ดินมีหนังสือรับรองการทำประโยชน์ซึ่งมีรูปแผนที่แสดงอาณาเขตและเขตติดต่อไว้อย่างชัดแจ้ง การซื้อขายได้มีการจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ จำเลยย่อมทราบเป็นอย่างดีว่าที่ดินที่ซื้อด้านทิศตะวันตกติดทางสาธารณประโยชน์มิใช่ที่รกร้างว่างเปล่าเมื่อจำเลยปลูกสร้างบ้านและอาคารโรงงานล้ำเข้าไปในทางสาธารณประโยชน์จึงเป็นการกระทำโดยเจตนาเพื่อจะยึดถือครอบครองทางสาธารณประโยชน์เป็นของตนเอง จึงมีความผิดตามประมวลกฎหมายที่ดินฯ
ข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในทางพิจารณารับฟังได้ว่าตามวันเวลาเกิดเหตุในฟ้องจำเลยยังยึดถือครอบครองที่พิพาทอันเป็นความผิดอยู่ ย่อมเป็นข้อเท็จจริงที่ตรงกับข้อเท็จจริงที่กล่าวในฟ้อง ศาลย่อมมีอำนาจพิพากษาลงโทษจำเลยได้หาใช่ข้อเท็จจริงในทางพิจารณาแตกต่างจากข้อเท็จจริงดังที่กล่าวในฟ้องอันเป็นสาระสำคัญที่จะต้องพิพากษายกฟ้อง
จำเลยเข้าไปยึดถือครอบครองที่ดินของรัฐหลังจากประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 96 มีผลใช้บังคับแล้ว ซึ่งตามประมวลกฎหมายที่ดินฯ มาตรา 9(1)ประกอบมาตรา 108 ทวิ บัญญัติให้การเข้าไปยึดถือครอบครองที่ดินของรัฐเป็นความผิดในทันทีที่เข้าไปยึดถือครอบครองโดยไม่จำต้องให้พนักงานเจ้าหน้าที่แจ้งและมีคำสั่งให้จำเลยปฏิบัติตามเสียก่อน โจทก์ไม่ได้บรรยายข้อความดังกล่าวไว้ก็ไม่ทำให้ฟ้องโจทก์ขาดองค์ประกอบความผิด
จำเลยเริ่มเข้ายึดถือครอบครองที่พิพาทตั้งแต่ปี 2523 เป็นต้นมาอันถือเป็นวันเริ่มต้นกระทำความผิดก็ตาม แต่เมื่อปรากฏว่าหลังจากนั้นจำเลยยังคงยึดถือครอบครองที่พิพาทตลอดมา จึงเป็นความผิดต่อเนื่องอยู่ทุกขณะ ตราบเท่าที่จำเลยยังคงยึดถือครอบครองที่พิพาทอยู่ เมื่อโจทก์ฟ้องยังไม่เกิน 10 ปีนับแต่วันกระทำความผิด คดีจึงไม่ขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3541/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาซื้อขายหินหลีกเลี่ยงกฎหมายโอนสิทธิอนุญาตระเบิดและย่อยหินเป็นโมฆะ
โจทก์เป็นผู้ได้รับอนุญาตจากทางราชการให้ประกอบกิจการระเบิดและย่อยหินในที่ดินของรัฐ และมาตรา 9 แห่ง ป.ที่ดินไม่มีข้อความที่อนุญาตให้ผู้รับใบอนุญาตโอนสิทธิแก่ผู้อื่นได้ โจทก์ผู้รับใบอนุญาตจึงต้องทำเองโดยเฉพาะตัวและผู้ที่ฝ่าฝืนบทบัญญัติในมาตรา 9 คือผู้ที่เข้าไปประกอบกิจการระเบิดและย่อยหินโดยไม่ได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่จะมีโทษทางอาญาตามมาตรา 108 ทวิเมื่อตามสัญญาซื้อขายหินระหว่างโจทก์จำเลยมีข้อตกลงให้จำเลยระเบิดและย่อยหินเองโดยจำเลยมิได้เป็นผู้ได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่ให้ดำเนินการ ดังนี้ หากจำเลยเข้าไปดำเนินการก็ย่อมเข้าข่ายเป็นความผิดตามบทกฎหมายดังกล่าว ทั้งกรณีนี้อธิบดีกรมที่ดินมีอำนาจสั่งเพิกถอนในอนุญาตของโจทก์เสียได้ เนื่องจากตามเงื่อนไขการอนุญาตให้ระเบิดและย่อยหินระบุว่า ผู้ได้รับอนุญาตต้องดำเนินการด้วยตนเองจะให้ผู้อื่นดำเนินการหรือโอนสิทธิให้ผู้อื่นไม่ได้ นอกจากนี้สัญญาซื้อขายหินได้กำหนดให้ผู้ซื้อจะต้องเข้าไปทำการระเบิดและย่อยหินเองภายในระยะเวลาตามใบอนุญาตภาระภาษีต่าง ๆ ผู้ซื้อต้องรับผิดชอบ รวมทั้งค่าใช้จ่ายและค่าธรรมเนียมที่ต้องเสียแก่หน่วยราชการที่เกี่ยวข้อง และหน้าที่ต่าง ๆ ของโจทก์ที่ทางราชการระบุไว้ในใบอนุญาตที่สำคัญ ๆ ทุกข้อก็นำมาระบุไว้ในสัญญาให้เป็นหน้าที่ของผู้ซื้อ สัญญาซื้อขายหินดังกล่าวเป็นเรื่องที่ทำขึ้นเพื่อหลีกเลี่ยงกฎหมายและข้อกำหนดห้ามโอนสิทธิตามใบอนุญาตระเบิดและย่อยหิน โดยโจทก์จำเลยมีเจตนาแท้จริงที่จะโอนสิทธิตามใบอนุญาตระเบิดและย่อยหินแก่กัน จึงเป็นสัญญาที่มีวัตถุประสงค์เป็นการต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมาย ขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน ย่อมตกเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ.มาตรา 150 การออกเช็คพิพาทเพื่อชำระหนี้ตามสัญญาดังกล่าว จึงมิใช่เป็นการออกเช็คเพื่อชำระหนี้ที่มีอยู่จริงและบังคับได้ตามกฎหมาย การกระทำของจำเลยไม่อาจเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คพ.ศ. 2534 มาตรา 4

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 31/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การกระทำผิด พ.ร.บ.ที่ดิน: ช่วงเวลาสำคัญและขั้นตอนการบังคับใช้ตามมาตรา 9, 108, 108 ทวิ
ป.ที่ดิน มาตรา 108 และมาตรา 108 ทวิ บัญญัติถึงผู้กระทำการฝ่าฝืนมาตรา 9 ออกเป็น 2 ช่วงระยะเวลา คือ หากผู้ฝ่าฝืนมาตรา 9 อยู่ก่อนวันที่ 4 มีนาคม 2515 แล้ว พนักงานเจ้าหน้าที่หรือผู้ซึ่งได้รับมอบหมายจะต้องปฏิบัติตามขั้นตอนตามที่มาตรา 108 บัญญัติไว้ก่อน ผู้ฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามระเบียบจึงมีความผิดตามมาตรา 108 แต่ถ้ากระทำการฝ่าฝืนมาตรา 9 ตั้งแต่วันที่ 4 มีนาคม2515 เป็นต้นไปแล้ว ผู้ฝ่าฝืนตามมาตรา 108 ทวิ มีความผิดทันทีโดยพนักงานเจ้าหน้าที่ไม่ต้องปฏิบัติตามขั้นตอนใด ๆ ทั้งสิ้น บทบัญญัติทั้งสองมาตรานี้จึงบัญญัติเกี่ยวกับการกระทำผิด มาตรา 9 ไว้ต่างกัน
โจทก์ฟ้องว่าเมื่อวันที่ 1 มีนาคม 2533 เวลากลางวันและกลางคืนติดต่อกัน จำเลยปลูกบ้านในที่ดินสาธารณประโยชน์อันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินซึ่งประชาชนใช้ร่วมกันและเป็นที่ดินของรัฐ ขอให้ลงโทษตาม ป.ที่ดิน มาตรา9, 108, 108 ทวิ ข้อเท็จจริงได้ความว่า จำเลยปลูกบ้านตามฟ้องก่อนวันที่ 4มีนาคม 2515 แม้ข้อเท็จจริงจะฟังว่าที่ดินที่จำเลยปลูกบ้านบางส่วนเป็นทางสาธารณประโยชน์อันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินที่ประชาชนใช้ร่วมกัน โดยจำเลยไม่มีสิทธิครอบครองและไม่ได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่ จำเลยก็ไม่มีความผิดตามป.ที่ดิน มาตรา 9, 108 ทวิ หากเป็นความผิดก็อาจเป็นความผิดตาม ป.ที่ดินมาตรา 9, 108 และตามข้อเท็จจริงที่โจทก์กล่าวในฟ้อง โจทก์ไม่ได้บรรยายถึงข้อเท็จจริงดังเช่นที่ปรากฏในทางพิจารณาจึงไม่ใช่เรื่องที่โจทก์ประสงค์ให้ลงโทษตาม ป.วิ.อ.มาตรา 192 วรรคสี่ จึงไม่อาจลงโทษจำเลยตามมาตรา 108 ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5552/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบุกรุกสาธารณสมบัติของแผ่นดิน แม้จำเลยอ้างเป็นเจ้าของ ก็ไม่เป็นเหตุแก้ตัวได้
การที่จำเลยยื่นคำร้องขอถอนคำให้การเดิมและขอให้การรับสารภาพในชั้นฎีกามีผลเป็นการแก้ไขเพิ่มเติมคำให้การในชั้นฎีกา เป็นการต้องห้ามตาม ป.วิ.อ.มาตรา 163 วรรคสอง ที่บัญญัติให้กระทำได้ก่อนศาลชั้นต้นพิพากษาส่วนที่จำเลยขอให้รอการลงโทษก็เป็นดุลพินิจที่ศาลจะสั่งในคำพิพากษาต่อไป ศาลฎีกาจึงให้ยกคำร้องนี้
ที่ดินที่เกิดเหตุเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินที่ประชาชนใช้ร่วมกัน จำเลยทราบดีว่าที่ดินของจำเลยตามโฉนดที่ดินมีเพียง 2 ไร่ โดยด้านทิศตะวันออกจดภูเขา ด้านทิศเหนือจดถนนสาธารณประโยชน์และภูเขาตามที่ระบุไว้ในโฉนดที่ดินดังกล่าว ขณะเจ้าหน้าที่บริหารที่ดินอำเภอไปตรวจสอบที่ดินที่เกิดเหตุตามคำสั่งของนายอำเภอพบมีการบุกรุกไถภูเขาซึ่งอยู่ด้านทิศเหนือและด้านทิศตะวันออกและตามบันทึกที่โจทก์และจำเลยนำรังวัดที่ดินตามคำสั่งศาลชั้นต้น ปรากฏว่าจำเลยนำชี้ที่ดินของจำเลยเพียง 3 ด้าน โดยจำเลยทราบดีว่าหากจำเลยนำชี้ที่ดินของจำเลยทั้งสี่ด้าน ที่ดินของจำเลยจะมีเนื้อที่มากกว่าที่ระบุไว้ในโฉนดที่ดินของจำเลยนอกจากนี้หลังจากเจ้าหน้าที่ตรวจสอบพบว่า จำเลยบุกรุกที่ดินอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินแล้ว ทางอำเภอแจ้งให้จำเลยรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างออกไปจากที่ดินที่เกิดเหตุจำเลยทราบแล้วไม่ยอมรื้อถอนและไม่ยอมออกไป พฤติการณ์ของจำเลยแสดงว่าจำเลยมีเจตนาบุกรุกที่ดินอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน
เมื่อจำเลยรู้อยู่แล้วว่าที่ดินที่พิพาทเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินการที่จำเลยไม่ยอมรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างและออกไปจากที่ดินที่พิพาทตามคำสั่งของนายอำเภอซึ่งสั่งการตามอำนาจที่มีกฏหมายให้ไว้ แม้จำเลยจะอ้างว่าที่ดินดังกล่าวเป็นของจำเลยก็ไม่ใช่เหตุหรือข้อแก้ตัวอันสมควรที่จะทำให้จำเลยพ้นจากความผิดฐานบุกรุกที่ดินอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินตาม ป.อ.มาตรา 368
of 8