คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.ที่ดิน ม. 108 ทวิ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 71 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6432-6436/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบุกรุกที่ดินสาธารณสมบัติของแผ่นดินโดยสุจริต ขาดเจตนาในความผิด
ที่ดินที่ทางราชการกำหนดเป็นเขตหวงห้ามไว้ใช้ในราชการทหารตามประกาศมณฑลนครราชสีมานั้น แม้จะกำหนดแนวอาณาเขตไว้ทั้งสี่ทิศแต่ก็มีเนื้อที่มากถึงประมาณ 11,011 ไร่เศษ หลักไม้แก่นที่อ้างว่าปักไว้ในระหว่างหลักมุมหักทุกระยะนั้นก็ไม่ปรากฏว่ามีผู้ใดยังเห็นปักอยู่ในบริเวณที่ดินพิพาท การกำหนดบริเวณเขตปลอดภัยในราชการทหารก็ไม่ปรากฏว่ามีหลักแนวเขตปักไว้ ทั้งการนำที่ดินดังกล่าวบางส่วนไปจดทะเบียนเป็นที่ราชพัสดุก็ระบุอาณาเขตคร่าว ๆ การที่จะทราบว่าที่ดินส่วนใดเป็นพื้นที่ของมณฑลทหารบกที่ 21 ต้องมาจากการตรวจสอบรังวัดของเจ้าพนักงานที่ดินทางราชการเองก็ไม่ทราบว่าที่ดินพิพาทเป็นส่วนหนึ่งของที่ดินของรัฐซึ่งเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินที่ใช้เพื่อประโยชน์ของแผ่นดินโดยเฉพาะหรือไม่ ดังนี้ แม้จะฟังว่าที่ดินพิพาทเป็นที่สาธารณสมบัติของแผ่นดินอยู่ในความครอบครองดูแลของมณฑลทหารบกที่ 21เมื่อจำเลยทั้งห้าเข้าครอบครองทำกินในที่พิพาทโดยสุจริตด้วยเข้าใจว่าตนเองมีสิทธิจำเลยทั้งห้าจึงขาดเจตนาในความผิดฐานบุกรุก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3750/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประกาศให้ที่ดินเป็นสาธารณะต้องพิสูจน์สิทธิให้ชัดเจน การคัดค้านต่อเนื่องย่อมไม่ถือเป็นความผิด
ที่ดินพิพาทไม่ได้เป็นที่สาธารณประโยชน์มาแต่เดิม แต่กรณีเป็นเรื่องที่ ท.ผู้ใหญ่บ้านกับคณะกรรมการหมู่บ้านต้องการจะให้เป็นที่สาธารณะเมื่อปี 2525 และทางราชการยังไม่ได้มีการสอบเขตที่แน่นอน หลังจาก ท.ได้ประกาศให้เป็นที่ดินสาธารณะแล้ว ก็ถูก ส.คัดค้าน แม้จะมีการไกล่เกลี่ยกัน ส.ก็ไม่ยินยอมและไม่ปรากฏว่า ส.ออกจากที่ดินพิพาทตามคำสั่งของอำเภอแต่อย่างใด ต่อมาเมื่อมีการสร้างวัดในที่ดินพิพาทอีก ภริยาจำเลยซึ่งเป็นบุตร ส.ทำการคัดค้านจนไม่สามารถสร้างวัดได้ ดังนี้เห็นได้ว่านับแต่ ท.ได้ประกาศจะให้ที่ดินพิพาทเป็นที่สาธารณะฝ่ายจำเลยก็ได้ทำการคัดค้านมาโดยตลอด และยังไม่ได้มีการดำเนินคดีทางแพ่งพิสูจน์สิทธิในที่ดินพิพาทกันให้เสร็จเด็ดขาดแต่อย่างใด เมื่อข้อเท็จจริงเกี่ยวกับที่ดินพิพาทฟังไม่ได้ว่าเป็นที่สาธารณะ การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นความผิดตาม ป.ที่ดิน มาตรา 9, 108 ทวิ วรรคสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3750/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การครอบครองที่ดินพิพาท: การพิสูจน์สถานะ 'ที่สาธารณะ' เป็นสำคัญ หากพิสูจน์ไม่ได้ การครอบครองไม่เป็นความผิด
ที่ดินพิพาทไม่ได้เป็นที่สาธารณประโยชน์มาแต่เดิมแต่กรณีเป็นเรื่องที่ท. ผู้ใหญ่บ้านกับคณะกรรมการหมู่บ้านต้องการจะให้เป็นที่สาธารณะเมื่อปี2525และทางราชการยังไม่ได้มีการสอบเขตที่แน่นอนหลังจากท. ได้ประกาศให้เป็นที่ดินสาธารณะแล้วก็ถูกส. คัดค้านแม้จะมีการไกล่เกลี่ยกันส. ก็ไม่ยินยอมและไม่ปรากฏว่าส. ออกจากที่ดินพิพาทตามคำสั่งของอำเภอแต่อย่างใดต่อมาเมื่อมีการสร้างวัดในที่ดินพิพาทอีกภริยาจำเลยซึ่งเป็นบุตรส.ทำการคัดค้านจนไม่สามารถสร้างวัดได้ดังนี้เห็นได้ว่านับแต่ท.ได้ประกาศจะให้ที่ดินพิพาทเป็นที่สาธารณะฝ่ายจำเลยก็ได้ทำการคัดค้านมาโดยตลอดและยังไม่ได้มีการดำเนินคดีทางแพ่งพิสูจน์สิทธิในที่ดินพิพาทกันให้เสร็จเด็ดขาดแต่อย่างใดเมื่อข้อเท็จจริงเกี่ยวกับที่ดินพิพาทฟังไม่ได้ว่าเป็นที่สาธารณะการกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายที่ดินมาตรา9,108ทวิวรรคสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5616/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบุกรุกที่สาธารณะ, ความผิดหลายกรรมต่างกัน, การปรับบทกฎหมาย, และการบังคับคดีค่าปรับ
ความผิดฐานบุกรุกตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา362,365กฎหมายมุ่งประสงค์ลงโทษผู้บุกรุกอสังหาริมทรัพย์ของผู้อื่นเท่านั้นไม่ใช่บทบัญญัติที่จะลงโทษผู้บุกรุกที่สาธารณสมบัติของแผ่นดินซึ่งมีบัญญัติไว้โดยเฉพาะตามประมวลกฎหมายที่ดินมาตรา9,108ทวิวรรคสองและแม้ไม่มีฝ่ายใดฎีกาศาลฎีกาก็มีอำนาจปรับบทกฎหมายให้ถูกต้องได้ ความผิดฐานก่อสร้างอาคารโดยไม่ได้รับอนุญาตเป็นความผิดต่างกรรมกับความผิดฐานบุกรุกเข้าไปยึดถือครอบครองที่ดินของรัฐเพราะต่างมีสภาพและลักษณะของการกระทำที่แตกต่างกันสามารถแยกเป็นคนละส่วนต่างหากจากกันได้ การยึดทรัพย์สินใช้ค่าปรับและการกักขังแทนค่าปรับตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา29,30เป็นวิธีที่จะกระทำเพื่อเป็นการชดใช้ค่าปรับเป็นการบังคับคดีไม่จำที่ศาลจะต้องกล่าวไว้ในคำพิพากษา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5509/2539 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจ้าพนักงานป่าสงวนมีอำนาจสั่งรื้อถอนและดำเนินคดีอาญาได้ โจทก์ไม่มีสิทธิห้าม
การที่จำเลยซึ่งเป็นเจ้าพนักงานผู้มีหน้าที่ควบคุมและรักษาป่าสงวนแห่งชาติ อาศัยอำนาจตาม พ.ร.บ.ป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ.2507 ออกคำสั่งจังหวัด โดยอ้างว่าโจทก์ครอบครองที่ดินอยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติ และสั่งให้โจทก์ทำการรื้อถอน แก้ไขหรือกระทำประการอื่นใดแก่สิ่งที่เป็นอันตรายหรือสิ่งที่ทำให้เสื่อมเสียแก่สภาพป่าสงวนแห่งชาติภายใน 30 วัน แม้ต่อมาโจทก์จะฟ้องจำเลยขอให้ศาลเพิกถอนคำสั่งดังกล่าวและห้ามมิให้จำเลยเข้ามาเกี่ยวข้องหรือกระทำให้โจทก์ได้รับความเสียหายหรือขาดประโยชน์จากที่ดินของโจทก์อีกต่อไปโดยโต้แย้งว่าเป็นคำสั่งที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายเพราะโจทก์ครอบครองที่ดินอยู่คนละตำบลและคนละอำเภอก็ตาม แต่การที่จำเลยมีหนังสือแจ้งให้อำเภอแจ้งความร้องทุกข์ดำเนินคดีอาญาแก่โจทก์ในความผิดตาม ป.อ. มาตรา 368 ป.ที่ดินมาตรา 9, 108, 108 ทวิ ฐานไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของเจ้าพนักงานนั้น เป็นการดำเนินการตามอำนาจหน้าที่ตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายและเป็นการใช้สิทธิในขั้นตอนหนึ่งของกระบวนการยุติธรรมทางอาญา โจทก์ย่อมไม่มีสิทธิที่จะฟ้องร้องหรือขอให้ศาลสั่งห้ามมิให้จำเลยใช้สิทธิดังกล่าว ดังนั้น โจทก์จึงไม่มีสิทธิที่ร้องขอให้ศาลมีคำสั่งคุ้มครองชั่วคราวโดยห้ามมิให้จำเลยใช้สิทธิดำเนินคดีอาญาแก่โจทก์ต่อไปอีกเช่นกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5509/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจ้าพนักงานออกคำสั่งรื้อถอนที่ดินบุกรุกป่าสงวน การแจ้งความดำเนินคดีอาญาไม่ใช่ละเมิดที่ศาลคุ้มครองชั่วคราวได้
การที่จำเลยซึ่งเป็นเจ้าพนักงานผู้มีหน้าที่ควบคุมและรักษาป่าสงวนแห่งชาติอาศัยอำนาจตามพระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติพ.ศ.2507ออกคำสั่งจังหวัดโดยอ้างว่าโจทก์ครอบครองที่ดินอยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติและสั่งให้โจทก์ทำการรื้อถอนแก้ไขหรือกระทำประการอื่นใดแก่สิ่งที่เป็นอันตรายหรือสิ่งที่ทำให้เสื่อมเสียแก่สภาพป่าสงวนแห่งชาติภายใน30วันแม้ต่อมาโจทก์จะฟ้องจำเลยขอให้ศาลเพิกถอนคำสั่งดังกล่าวและห้ามมิให้จำเลยเข้ามาเกี่ยวข้องหรือกระทำให้โจทก์ได้รับความเสียหายหรือขาดประโยชน์จากที่ดินของโจทก์อีกต่อไปโดยโต้แย้งว่าเป็นคำสั่งที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายเพราะโจทก์ครอบครองที่ดินอยู่คนละตำบลและคนละอำเภอก็ตามแต่การที่จำเลยมีหนังสือแจ้งให้อำเภอแจ้งความร้องทุกข์ดำเนินคดีอาญาแก่โจทก์ในความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา368ประมวลกฎหมายที่ดินมาตรา9,108,108ทวิฐานไม่ปฎิบัติตามคำสั่งของเจ้าพนักงานนั้นเป็นการดำเนินการตามอำนาจหน้าที่ตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายและเป็นการใช้สิทธิในขั้นตอนหนึ่งของกระบวนการยุติธรรมทางอาญาโจทก์ย่อมไม่มีสิทธิที่จะฟ้องร้องหรือขอให้ศาลสั่งห้ามมิให้จำเลยใช้สิทธิดังกล่าวดังนั้นโจทก์จึงไม่มีสิทธิที่ร้องขอให้ศาลมีคำสั่งคุ้มครองชั่วคราวโดยห้ามมิให้จำเลยใช้สิทธิดำเนินคดีอาญาแก่โจทก์ต่อไปอีกเช่นกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2741/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การครอบครองที่ดินหลังประกาศคณะปฏิวัติฉบับที่ 96 ถือเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายที่ดิน
การครอบครองที่ดินที่เกิดเหตุของจำเลยทั้งสามเกิดขึ้นหลังวันที่ประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่96พ.ศ.2515ใช้บังคับตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายที่ดินมาตรา9(1)ประกอบมาตรา108วรรคแรกการกระทำของจำเลยทั้งสามย่อมเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายที่ดินมาตรา9(1),108ทวิในทันทีที่จำเลยเข้าไปยึดถือครอบครองที่ดินในที่เกิดเหตุซึ่งเป็น ที่ดินของรัฐหาจำต้องให้พนักงานเจ้าหน้าที่หรือผู้ซื้อได้รับมอบหมายจากพนักงานเจ้าหน้าที่แจ้งเป็นหนังสือให้จำเลยทั้งสามปฏิบัติตามระเบียบที่คณะกรรมการกำหนดเสียก่อนไม่ ความผิดที่โจทก์ฟ้องเกิดขึ้นตั้งแต่ขณะจำเลยทั้งสามเข้าไปยึดถือครอบครองที่ดินในที่เกิดเหตุซึ่งเป็นที่ดินของรัฐและจะคงเป็น ความผิดเช่นนั้นตลอดไปจนกว่าจำเลยทั้งสามจะออกไปจากที่ดินเกิดเหตุแม้ศาลอุทธรณ์ภาค3จะฟังข้อเท็จจริงด้วยว่าก่อนหน้าวันเกิดเหตุตามฟ้องจำเลยทั้งสามได้เข้าไปยึดถือครอบครองที่ดินเกิดเหตุตั้งแต่ปลายปี2532ต่อเนื่องกันมาจนถึงวันเวลาเกิดเหตุตามฟ้องก็เป็นการฟังข้อเท็จจริงประกอบกันว่าจำเลยทั้งสามกระทำผิดตามวันเวลาที่โจทก์ฟ้องจริงหาใช่เป็นการฟังข้อเท็จจริงแตกต่างกันในฟ้องไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2741/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การครอบครองที่ดินของรัฐหลังประกาศ คปค.96 มิใช่ความผิดตามประมวลกฎหมายที่ดินมาตรา 9(1) หากไม่ได้รับแจ้งเวนคืนหรือคำสั่งออกจากที่ดินก่อน
ฎีกาของจำเลยทั้งสามมีใจความกล่าวถึงคำฟ้องคำให้การและศาลล่างทั้งสองพิพากษาว่าอย่างไรหาได้มีข้อความคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ไม่จึงเป็นฎีกาที่ไม่ชอบศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย กรณีที่พนักงานเจ้าหน้าที่ต้องแจ้งเป็นหนังสือให้จำเลยทั้งสามที่เข้าไปยึดถือครอบครองที่ดินของรัฐให้ปฏิบัติตามระเบียบที่คณะกรรมการกำหนดถ้าจำเลยทั้งสามเพิกเฉยหรือไม่ปฏิบัติให้ถูกต้องตามระเบียบพนักงานเจ้าหน้าที่ต้องมีคำสั่งเป็นหนังสือให้จำเลยทั้งสามออกจากที่ดินนั้นภายในระยะเวลาที่กำหนดก็ต่อเมื่อเป็นการเข้าไปยึดถือครอบครองที่ดินของรัฐก่อนวันที่ประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่96ใช้บังคับตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายที่ดินมาตรา9(1)ประกอบมาตรา108วรรคแรกแต่การครอบครองที่ดินของรัฐจำเลยทั้งสามเกิดขึ้นหลังจากวันที่ประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่96ใช้บังคับการกระทำของจำเลยทั้งสามย่อมเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายที่ดินมาตรา9(1),108ทวิในทันทีที่เข้าไปยึดถือครอบครองที่ดินของรัฐหาจำต้องให้พนักงานเจ้าหน้าที่กระทำการต่างๆดังกล่าวเสียก่อนไม่ ความผิดฐานเข้าไปยึดถือครอบครองที่ดินของรัฐเกิดขึ้นตั้งแต่ขณะจำเลยทั้งสามเข้าไปยึดถือครอบครองและจะคงเป็นความผิดเช่นนั้นตลอดไปจนกว่าจำเลยทั้งสามจะออกไปเมื่อข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในการพิจารณาฟังได้ว่าตามวันเวลาเกิดเหตุในฟ้องจำเลยทั้งสามยึดถือครอบครองที่ดินเกิดเหตุย่อมเป็นข้อเท็จจริงที่ตรงกับในฟ้องแม้ศาลอุทธรณ์จะฟังข้อเท็จจริงด้วยว่าก่อนหน้าวันเกิดเหตุตามฟ้องจำเลยทั้งสามได้เข้าไปยึดถือครอบครองที่ดินเกิดเหตุต่อเนื่องกันมาจนถึงวันเวลาเกิดเหตุตามฟ้องก็เป็นการฟังข้อเท็จจริงประกอบกันว่าจำเลยทั้งสามกระทำผิดตามวันเวลาที่โจทก์ฟ้องจริงหาใช่เป็นการฟ้องข้อเท็จจริงแตกต่างกับฟ้องไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2741/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยึดครองที่ดินของรัฐ: ความผิดเกิดขึ้นทันทีหลังการกระทำ ไม่ต้องรอการแจ้งเตือน
ฎีกาของจำเลยทั้งสามมีใจความกล่าวถึงคำฟ้องคำให้การและศาลล่างทั้งสองพิพากษาว่าอย่างไร หาได้มีข้อความคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ไม่ จึงเป็นฎีกาที่ไม่ชอบ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
กรณีที่พนักงานเจ้าหน้าที่ต้องแจ้งเป็นหนังสือให้จำเลยทั้งสามที่เข้าไปยึดถือ ครอบครองที่ดินของรัฐให้ปฏิบัติตามระเบียบที่คณะกรรมการกำหนดถ้าจำเลยทั้งสามเพิกเฉยหรือไม่ปฏิบัติให้ถูกต้องตามระเบียบ พนักงานเจ้าหน้าที่ต้องมีคำสั่งเป็นหนังสือให้จำเลยทั้งสามออกจากที่ดินนั้นภายในระยะเวลาที่กำหนดก็ต่อเมื่อเป็นการเข้าไปยึดถือ ครอบครองที่ดินของรัฐก่อนวันที่ประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 96 ใช้บังคับ ตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 9 (1)ประกอบมาตรา 108 วรรคแรก แต่การครอบครองที่ดินของรัฐของจำเลยทั้งสามเกิดขึ้นหลังจากวันที่ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 96 ใช้บังคับ การกระทำของจำเลยทั้งสามย่อมเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 9 (1), 108 ทวิในทันทีที่เข้าไปยึดถือ ครอบครองที่ดินของรัฐ หาจำต้องให้พนักงานเจ้าหน้าที่กระทำการต่าง ๆ ดังกล่าวเสียก่อนไม่
ความผิดฐานเข้าไปยึดถือ ครอบครองที่ดินของรัฐเกิดขึ้นตั้งแต่ขณะจำเลยทั้งสามเข้าไปยึดถือครอบครองและจะคงเป็นความผิดเช่นนั้นตลอดไปจนกว่าจำเลยทั้งสามจะออกไป เมื่อข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในการพิจารณาฟังได้ว่า ตามวันเวลาเกิดเหตุในฟ้อง จำเลยทั้งสามยึดถือ ครอบครองที่ดินเกิดเหตุย่อมเป็นข้อเท็จจริงที่ตรงกับในฟ้อง แม้ศาลอุทธรณ์จะฟังข้อเท็จจริงด้วยว่า ก่อนหน้าวันเกิดเหตุตามฟ้องจำเลยทั้งสามได้เข้าไปยึดถือ ครอบครองที่ดินเกิดเหตุต่อเนื่องกันมาจนถึงวันเวลาเกิดเหตุตามฟ้อง ก็เป็นการฟังข้อเท็จจริงประกอบกันว่าจำเลยทั้งสามกระทำผิดตามวันเวลาที่โจทก์ฟ้องจริง หาใช่เป็นการฟังข้อเท็จจริงแตกต่างกับในฟ้องไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2366/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบุกรุกที่ดินสาธารณสมบัติที่เปลี่ยนแปลงสภาพกฎหมาย การใช้กฎหมายที่เป็นคุณต่อจำเลย
คดีความผิดในข้อหาที่ต้องห้ามอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงพ.ศ. 2499 มาตรา 22 แต่คู่ความอุทธรณ์รวมมากับความผิดฐานอื่นที่ไม่ต้องห้ามอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง ศาลอุทธรณ์มีอำนาจวินิจฉัยข้อหานั้นได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 185เมื่อศาลอุทธรณ์พิพากษากลับให้ยกฟ้องโจทก์ในข้อหานี้ โจทก์จึงมีสิทธิฎีกาในความผิดฐานนี้ต่อมาได้ เดิมที่ดินพิพาทเป็นที่สาธารณสมบัติของแผ่นดินสำหรับพลเมืองใช้ร่วมกันต่อมาระหว่างการพิจารณาคดีของศาลชั้นต้น ได้มีพระราชกฤษฎีกา ถอนสภาพที่ดินอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินสำหรับพลเมืองใช้ร่วมกันในท้องที่ที่ดินพิพาท ทำให้ที่ดินพิพาทไม่เป็นที่สาธารณสมบัติของแผ่นดินสำหรับพลเมืองใช้ร่วมกันอีกต่อไปแต่ที่ดินพิพาทก็ยังคงมีสภาพเป็นที่ดินอันเป็นทรัพย์สินของแผ่นดินอยู่จำเลยซึ่งเข้าบุกรุกเข้ายึดถือครอบครองที่ดินพิพาทจึงยังคงมีความผิดตามประมวลที่ดิน มาตรา 108 ทวิ วรรคหนึ่ง เพราะพระราชกฤษฎีกา ดังกล่าวหาได้บัญญัติให้การกระทำเช่นนั้นไม่เป็นความผิดต่อไปไม่ จำเลยจึงไม่พ้นจากการเป็นผู้กระทำผิด แต่เป็นกรณีที่กฎหมายที่ใช้ขณะกระทำผิดแตกต่างกับกฎหมายที่ใช้ภายหลังกระทำความผิด ต้องใช้กฎหมายในส่วนที่เป็นคุณแก่ผู้กระทำผิดไม่ว่าในทางใด จำเลยจึงไม่ต้องรับโทษตามมาตรา 108 ทวิ วรรคสองแต่รับโทษตามมาตรา 108 ทวิ วรรคหนึ่ง ซึ่งมีอัตราโทษเบากว่า
of 8