คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.ที่ดิน ม. 108 ทวิ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 71 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2672/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิครอบครองที่ดินโบราณสถาน: การอนุญาตใช้ประโยชน์และการประกาศหวงห้าม
กรมศิลปากรอนุญาตให้สำนักหุบผาสวรรค์ใช้ประโยชน์เนื้อที่ภูเขาและรัศมีเขาถ้ำพระอันเป็นโบราณสถานได้ จำเลยในฐานะเจ้าสำนักหุบผาสวรรค์ย่อมได้รับประโยชน์จากการอนุญาตนั้นด้วย จำเลยจึงเป็นผู้หนึ่งที่มีสิทธิครอบครองที่ดินดังกล่าว แม้ต่อมารัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยประกาศในราชกิจจานุเบกษาให้ที่เขาหรือภูเขาและปริมณฑลรอบที่เขาหรือภูเขา 40 เมตรทุกแห่ง ทุกจังหวัดเป็นที่หวงห้ามซึ่งกินความถึงบริเวณที่กรมศิลปากรอนุญาตเช่นว่านั้นด้วย ก็หามีผลเป็นการห้ามมิให้จำเลยเข้าไปปลูกสร้างในที่ดินบริเวณนั้นไม่การปลูกสร้างของจำเลยจึงไม่เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 9,108, 108 ทวิ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3458-3461/2532 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยึดครองที่ดินสาธารณะก่อนมีประกาศคณะปฏิวัติ ทำให้ไม่มีความผิดตามประมวลกฎหมายที่ดิน
แม้ที่ดินที่จำเลยเข้าไปยึดถือครอบครองเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินที่ประชาชนใช้ร่วมกัน และจำเลยมิได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่ แต่เมื่อจำเลยเข้าไปยึดถือครอบครองก่อนวันที่ 4 มีนาคม 2515 ซึ่งเป็นวันที่ประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 96 ใช้บังคับ จำเลยจึงไม่มีความผิดตามประมวลกฎหมายที่ดินมาตรา 9, 108 ทวิ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3458-3461/2532

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การครอบครองที่ดินสาธารณะก่อนประกาศ คปท. 96 ไม่ผิดตามประมวลกฎหมายที่ดิน
แม้ที่ดินที่จำเลยเข้าไปยึดถือครอบครองเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินที่ประชาชนใช้ร่วมกัน และจำเลยมิได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่ แต่เมื่อจำเลยเข้าไปยึดถือครอบครองก่อนวันที่ 4 มีนาคม 2515 ซึ่งเป็นวันที่ประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 96 ใช้บังคับ จำเลยจึงไม่มีความผิดตามประมวลกฎหมายที่ดินมาตรา 9,108 ทวิ.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3990/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิพากษาคดีบุกรุกที่ดินสาธารณะ โดยศาลฎีกาตัดสินว่าการที่จำเลยอ้างสิทธิร้องทุกข์ยังไม่กระทบอำนาจฟ้องของโจทก์
ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 96 ลงวันที่ 29 กุมภาพันธ์ 2515 มิได้บัญญัติเกี่ยวกับสิทธิของบุคคลที่จะเสนอเรื่องราวร้องทุกข์จึงไม่ขัดต่อรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา 42 ซึ่งบัญญัติว่า "บุคคลย่อมมีสิทธิเสนอเรื่องราวร้องทุกข์ ภายในเงื่อนไขและวิธีการที่กฎหมายบัญญัติ"
โจทก์บรรยายฟ้องว่า เมื่อปี พ.ศ. 2525 ถึงวันที่ 25 กันยายน 2527เวลากลางวันและกลางคืนติดต่อกัน จำเลยกระทำการอันเป็นความผิดถือว่าฟ้องโจทก์มีรายละเอียดเกี่ยวกับเวลาเกิดเหตุ พอสมควรเท่าที่จะให้จำเลยเข้าใจข้อหาได้ดีแล้วจำเลยจึงให้การรับสารภาพ ฟ้องโจทก์หาเคลือบคลุมไม่
ไม่มีบทกฎหมายใดที่บัญญัติว่าพนักงานสอบสวนและพนักงานอัยการไม่มีอำนาจสอบสวนและฟ้องคดีด้วยเหตุที่จำเลยยังทูลเกล้าฯ ถวายฎีกาอยู่ ทั้งจำเลยก็ได้ให้การรับสารภาพตามฟ้องซึ่งรวมตลอดถึงว่าคดีมีการสอบสวนโดยชอบแล้ว โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องคดี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3990/2529

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิพากษาคดีบุกรุกที่ดินสาธารณประโยชน์ โดยศาลยืนตามคำพิพากษาเดิม แม้จำเลยอ้างสิทธิร้องทุกข์
ประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่96ลงวันที่29กุมภาพันธ์2515มิได้บัญญัติเกี่ยวกับสิทธิของบุคคลที่จะเสนอเรื่องราวร้องทุกข์จึงไม่ขัดต่อรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยมาตรา42ซึ่งบัญญัติว่า'บุคคลย่อมมีสิทธิเสนอเรื่องราวร้องทุกข์ภายในเงื่อนไขและวิธีการที่กฎหมายบัญญัติ' โจทก์บรรยายฟ้องว่าเมือปีพ.ศ.2525ถึงวันที่25กันยายน2527เวลากลางวันและกลางคืนติดต่อกันจำเลยกระทำการอันเป็นความผิดถือว่าฟ้องโจทก์มีรายละเอียดเกี่ยวกับเวลาเกิดเหตุพอสมควรเท่าที่จะให้จำเลยเข้าใจข้อหาได้ดีแล้วจำเลยจึงให้การรับสารภาพฟ้องโจทก์หาเคลือบคลุมไม่ ไม่มีบทกฎหมายใดที่บัญญัติว่าพนักงานสอบสวนและพนักงานอัยการไม่มีอำนาจสอบสวนและฟ้องคดีด้วยเหตุที่จำเลยยังทูลเกล้าฯถวายฎีกาอยู่ทั้งจำเลยก็ได้ให้การรับสารภาพตามฟ้องซึ่งรวมตลอดถึงว่าคดีมีการสอบสวนโดยชอบแล้วโจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องคดี.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3990/2529 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิเสนอเรื่องราวร้องทุกข์, ความชัดเจนของฟ้อง, และอำนาจฟ้องคดีควบคู่กับการใช้สิทธิร้องทุกข์
ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 96 ลงวันที่ 29 กุมภาพันธ์ 2515 มิได้บัญญัติเกี่ยวกับสิทธิของบุคคลที่จะเสนอเรื่องราวร้องทุกข์ จึงไม่ขัดต่อรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา 42 ซึ่งบัญญัติว่า "บุคคลย่อมมีสิทธิเสนอเรื่องราวร้องทุกข์ ภายในเงื่อนไขและวิธีการที่กฎหมายบัญญัติ"
โจทก์บรรยายฟ้องว่า เมื่อปี พ.ศ. 2525 ถึงวันที่ 25 กันยายน 2527 เวลากลางวันและกลางคืนติดต่อกัน จำเลยกระทำการอันเป็นความผิด ถือว่าฟ้องโจทก์มีรายละเอียดเกี่ยวกับเวลาเกิดเหตุ พอสมควรเท่าที่จะให้จำเลยเข้าใจข้อหาได้ดีแล้วจำเลยจึงให้การรับสารภาพ ฟ้องโจทก์หาเคลือบคลุมไม่
ไม่มีบทกฎหมายใดที่บัญญัติว่าพนักงานสอบสวนและพนักงานอัยการไม่มีอำนาจสอบสวนและฟ้องคดีด้วยเหตุที่จำเลยยังทูลเกล้า ฯ ถวายฎีกาอยู่ ทั้งจำเลยก็ได้ให้การรับสารภาพตามฟ้องซึ่งรวมตลอดถึงว่าคดีมีการสอบสวนโดยชอบแล้ว โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องคดี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3943/2529

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สำคัญผิดในข้อเท็จจริง: เข้าใจว่าสัญญาขุดดินลูกรังถือเป็นการอนุญาตแล้ว ไม่ต้องขออนุญาตซ้ำ
มีระเบียบขององค์การบริหารส่วนจังหวัดว่าการขุดดินลูกรังจะต้องขออนุญาตต่อนายอำเภอและต้องชำระค่าตอบแทนการอนุญาตจำเลยทำสัญญารับจ้างขุดขนดินลูกรังให้แก่องค์การบริหารส่วนจังหวัดโดยผู้ว่าราชการจังหวัดลงนามเป็นผู้ว่าจ้างและจำเลยกรอกข้อความยินยอมชำระค่าตอบแทนการอนุญาตตามมาตรา9แห่งประมวลกฎหมายที่ดินไว้ท้ายประกวดราคาทั้งผู้ที่ทำสัญญารับจ้างเช่นนี้ในครั้งก่อนๆไม่เคยขออนุญาตการที่จำเลยสั่งให้คนงานไปขุดและขนลูกรังไปกองไว้ตามสัญญาโดยมิได้ขออนุญาตต่อนายอำเภอท้องที่ตามระเบียบโดยเข้าใจว่าการที่จำเลยเข้าทำสัญญารับจ้างขุดและขนลูกรังให้แก่องค์การบริหารส่วนจังหวัดเป็นการได้รับอนุญาตให้ขุดลูกรังได้โดยไม่จำต้องขออนุญาตอีกกรณีเป็นเรื่องจำเลยสำคัญผิดในข้อเท็จจริงจำเลยจึงไม่มีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา62วรรคแรก.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3943/2529 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สำคัญผิดในข้อเท็จจริง: การขุดดินลูกรังโดยเข้าใจผิดว่าได้รับอนุญาตแล้ว ทำให้ไม่มีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา
มีระเบียบขององค์การบริหารส่วนจังหวัดว่าการขุดดินลูกรังจะต้องขออนุญาตต่อนายอำเภอและต้องชำระค่าตอบแทนการอนุญาต จำเลยทำสัญญารับจ้างขุดขนดินลูกรังให้แก่องค์การบริหารส่วนจังหวัด โดยผู้ว่าราชการจังหวัดลงนามเป็นผู้ว่าจ้างและจำเลยกรอกข้อความยินยอมชำระค่าตอบแทนการอนุญาตตามมาตรา 9 แห่งประมวลกฎหมายที่ดินไว้ท้ายประกวดราคา ทั้งผู้ที่ทำสัญญารับจ้างเช่นนี้ในครั้งก่อน ๆ ไม่เคยขออนุญาต การที่จำเลยสั่งให้คนงานไปขุดและขนลูกรังไปกองไว้ตามสัญญาโดยมิได้ขออนุญาตต่อนายอำเภอท้องที่ตามระเบียบ โดยเข้าใจว่าการที่จำเลยเข้าทำสัญญารับจ้างขุดและขนลูกรั ให้แก่องค์การบริหารส่วนจังหวัดเป็นการได้รับอนุญาตให้ขุดลูกรังได้โดยไม่จำต้องขออนุญาตอีก กรณีเป็นเรื่องจำเลยสำคัญผิดในข้อเท็จจริงจำเลยจึงไม่มีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 62 วรรคแรก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3943/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สำคัญผิดในข้อเท็จจริง: การเข้าใจว่าสัญญาจ้างขุดดินลูกรังเป็นการอนุญาตให้ขุดได้โดยไม่ต้องขออนุญาตเพิ่มเติม
มีระเบียบขององค์การบริหารส่วนจังหวัดว่าการขุดดินลูกรังจะต้องขออนุญาตต่อนายอำเภอและต้องชำระค่าตอบแทนการอนุญาตจำเลยทำสัญญารับจ้างขุดขนดินลูกรังให้แก่องค์การบริหารส่วนจังหวัด โดยผู้ว่าราชการจังหวัดลงนามเป็นผู้ว่าจ้างและจำเลยกรอกข้อความ ยินยอมชำระค่าตอบแทนการอนุญาตตามมาตรา 9 แห่ง ประมวลกฎหมายที่ดินไว้ท้ายประกวดราคาทั้งผู้ที่ทำสัญญารับจ้างเช่นนี้ ในครั้งก่อนๆไม่เคยขออนุญาต การที่จำเลยสั่งให้คนงานไปขุด และขนลูกรังไปกองไว้ตามสัญญาโดยมิได้ขออนุญาตต่อนายอำเภอท้องที่ ตามระเบียบ โดยเข้าใจว่าการที่จำเลยเข้าทำสัญญารับจ้างขุดและ ขนลูกรัง ให้แก่องค์การบริหารส่วนจังหวัดเป็นการได้รับอนุญาตให้ขุดลูกรังได้โดยไม่จำต้องขออนุญาตอีก กรณีเป็นเรื่องจำเลยสำคัญผิดในข้อเท็จจริงจำเลยจึงไม่มีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 62 วรรคแรก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3918/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิสูจน์สถานะที่ดินสาธารณะและการฟ้องคดีบุกรุก
ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น ให้จำคุกจำเลย 1 ปีปรับ 5,000 บาท ให้รอการลงโทษจำคุกไว้ คดีจึงต้องห้ามฎีกา ในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218
ฟ้องของโจทก์ในข้อหาบุกรุกยึดถือครอบครองทางสาธารณะ อันเป็น ที่ดินของรัฐตามประมวลกฎหมายที่ดินนั้นโจทก์ไม่จำต้อง บรรยายฟ้องว่า ที่ดินพิพาทนั้นเป็นที่ดินของรัฐได้อย่างไรและเป็น ที่ดินของรัฐตั้งแต่เมื่อใด เพราะเป็นรายละเอียดที่โจทก์จะต้อง นำสืบในชั้นพิจารณาคดีเป็นฟ้องที่ชอบ ด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา158(5) แล้ว
ที่พิพาทแม้ทางราชการจะเคยให้เอกชนเช่าอยู่ 3 ปีก็เลิกเช่า แต่ประชาชนสัญจรไปมาในที่พิพาทตลอดมาถือได้ว่า ที่พิพาทยังคง เป็นที่ดินของรัฐเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินที่ประชาชนใช้ ร่วมกัน โจทก์มีอำนาจฟ้องให้ลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 108 ทวิ ได้
of 8