พบผลลัพธ์ทั้งหมด 51 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3606/2564
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การดำเนินกระบวนพิจารณาที่ไม่ชอบ ศาลชั้นต้นมีคำสั่งเองขัดระเบียบ ก่อนศาลอุทธรณ์พิจารณาคดี
การที่จำเลยที่ 1 ไม่ได้แถลงข้อเท็จจริงที่ร้องขอให้เพิกถอนกระบวนพิจารณาผิดระเบียบหรือโต้แย้งคัดค้านการอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 8 ได้ความว่าจำเลยที่ 1 ถูกจำคุกอยู่ที่เรือนจำกลางนครศรีธรรมราช และจำเลยที่ 1 ได้ยื่นคำร้องดังกล่าวก่อนวันนัดอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 8 เพียง 1 วัน อันแสดงว่าจำเลยมิได้ยอมรับว่ากระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้นชอบแต่อย่างใด และมิได้มีบทบัญญัติของกฎหมายใดที่จะต้องให้จำเลยแถลงหรือโต้แย้งคัดค้านอีก ซึ่งในวันที่ศาลชั้นต้นอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 8 จำเลยไม่มีทนายความ ทั้งการที่ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาผิดระเบียบเป็นความผิดพลาดของศาลชั้นต้น จึงไม่สมควรให้จำเลยต้องรับผลร้ายดังกล่าว การที่จำเลยไม่ได้แถลงหรือโต้แย้งคัดค้านในวันนัดอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 8 จึงหาเป็นการให้สัตยาบันยอมรับการผิดระเบียบ เห็นได้จากจำเลยยังฎีกาโต้แย้งในปัญหาดังกล่าว ดังนั้น เมื่อคดีอยู่ระหว่างพิจารณาของศาลอุทธรณ์ภาค 8 แต่ศาลชั้นต้นกลับมีคำสั่งเองให้เพิกถอนคำสั่งที่ไม่อนุญาตให้ขยายระยะเวลาอุทธรณ์และรับอุทธรณ์ของจำเลยที่ 1 กับต่อมารับคำแก้อุทธรณ์ของโจทก์ร่วม ตลอดจนศาลอุทธรณ์ภาค 8 พิจารณาพิพากษาคดีจำเลยที่ 1 ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 245 วรรคสอง โดยไม่ได้วินิจฉัยอุทธรณ์ของจำเลยที่ 1 จึงเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาที่ไม่ชอบ ศาลอุทธรณ์ภาค 8 ต้องพิจารณาพิพากษาใหม่ และผลแห่งการวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์ภาค 8 อาจนำไปสู่การจำกัดสิทธิฎีกาของคู่ความ จึงต้องย้อนสำนวนให้ศาลอุทธรณ์ภาค 8 พิพากษาใหม่ ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 243 (1), 252 ประกอบ ป.วิ.อ.มาตรา 15
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 671/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิฎีกาจำกัดเมื่อศาลอุทธรณ์วินิจฉัยอุทธรณ์ไม่ชอบและพิพากษายืนตามอำนาจมาตรา 245 วรรคสอง
จำเลยที่ 1 ยื่นอุทธรณ์คำพิพากษาศาลชั้นต้นที่ลงโทษประหารชีวิตจำเลยที่ 1 การที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าอุทธรณ์ของจำเลยที่ 1 มิได้โต้แย้งคำพิพากษาศาลชั้นต้นเป็นอุทธรณ์ที่ไม่ชอบ ศาลอุทธรณ์ไม่รับวินิจฉัยให้ แต่ถือว่าคดีขึ้นสู่การพิจารณาของศาลอุทธรณ์ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 245 วรรคสอง แล้ว พิพากษายืนนั้น เป็นกรณีที่ศาลอุทธรณ์ยกคดีขึ้นวินิจฉัยโดยอาศัยอำนาจตามมาตรา 245 วรรคสอง มิได้วินิจฉัยเพราะจำเลยที่ 1 อุทธรณ์คำพิพากษาของศาลชั้นต้น เมื่อศาลอุทธรณ์พิพากษายืนข้อเท็จจริงที่ว่าจำเลยที่ 1 กระทำความผิดตามคำพิพากษาของศาลชั้นต้นหรือไม่ จึงเป็นอันถึงที่สุดตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายดังกล่าว จำเลยที่ 1 จึงไม่มีสิทธิฎีกา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4899/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การชำระค่าปรับทางอาญา: ศาลมีอำนาจบังคับชำระได้แม้คดีไม่ถึงที่สุดตามกฎหมาย
ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษปรับจำเลย จำเลยจะต้องชำระค่าปรับภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ศาลชั้นต้นพิพากษาตาม ป.อ. มาตรา 29 จำเลยจะขอชำระค่าปรับเมื่อคดีถึงที่สุดแล้วตาม ป.วิ.อ. มาตรา 245 วรรคหนึ่ง หาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2931/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การวินิจฉัยความผิดของจำเลยโดยศาลอุทธรณ์ แม้จำเลยมิได้อุทธรณ์ประเด็นความผิด
ศาลชั้นต้นพิพากษาจำคุกจำเลยที่ 2 ตลอดชีวิต แม้จำเลยที่ 2 อุทธรณ์เพียงขอให้ลงโทษสถานเบาโดยมิได้อุทธรณ์ในปัญหาว่า จำเลยที่ 2 กระทำความผิดหรือไม่ ศาลอุทธรณ์ภาค 7 ก็ต้องวินิจฉัยปัญหานี้อีกครั้งหนึ่งตาม ป.วิ.อ. มาตรา 245 วรรคสอง เมื่อศาลอุทธรณ์ภาค 7 ยังมิได้วินิจฉัยปัญหาข้อนี้ จึงถือได้ว่าศาลอุทธรณ์ภาค 7 มิได้ปฏิบัติให้ถูกต้องตามกระบวนพิจารณาดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 245 วรรคสอง ศาลฎีกาย้อนสำนวนให้ศาลอุทธรณ์ภาค 7 วินิจฉัยปัญหานี้ก่อน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1958/2549 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจบังคับคดีตามคำพิพากษาในคดีอาญา: พนักงานอัยการมีอำนาจขอให้บังคับคดีได้ แม้ไม่ใช่เจ้าหนี้ตาม ป.วิ.พ.
คำพิพากษาของศาลชั้นต้นที่ให้จำเลย คนงาน ผู้รับจ้าง ผู้แทนและบริวารของจำเลยออกจากเขตป่าสงวนแห่งชาติ เป็นส่วนหนึ่งแห่งคำพิพากษาในคดีอาญา เมื่อคดีถึงที่สุดแล้วศาลชั้นต้นชอบที่จะบังคับคดีให้จำเลยปฏิบัติตามคำพิพากษาตาม ป.วิ.อ. มาตรา 245 วรรคหนึ่ง แต่เมื่อศาลชั้นต้นยังไม่ได้ออกคำบังคับให้จำเลยปฏิบัติตามคำพิพากษา พนักงานอัยการโจทก์ซึ่งเป็นคู่ความชอบที่จะขอให้ดำเนินการบังคับจำเลยให้ปฏิบัติตามคำพิพากษาได้ โดยการบังคับคดีของพนักงานอัยการโจทก์นอกจากที่บัญญัติไว้ใน ป.วิ.อ. มาตรา 249 (เดิม) แล้ว กรณีที่ ป.วิ.อ. มิได้บัญญัติเกี่ยวกับการบังคับคดีไว้โดยเฉพาะ ก็อาจดำเนินการบังคับคดีตาม ป.วิ.พ. ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 15 ได้ด้วย ทั้งนี้ มิต้องคำนึงว่าพนักงานอัยการโจทก์จะเป็นคู่ความหรือบุคคลซึ่งเป็นฝ่ายชนะตาม ป.วิ.พ. มาตรา 271
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6002/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องผิดฐานนำเข้ายาเสพติดเกินกว่าที่บรรยายฟ้อง และการใช้กฎหมายยาเสพติดที่แก้ไขใหม่
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยกระทำกรรมเดียวผิดกฎหมายหลายบทให้ลงโทษฐานนำยาเสพติดให้โทษในประเภท 1 เข้ามาในราชอาณาจักรเพื่อจำหน่ายซึ่งเป็นบทที่มีโทษหนักที่สุด ให้ลงโทษประหารชีวิต ลดโทษให้หนึ่งในสามตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 78 ประกอบมาตรา 52 แล้วจำคุกตลอดชีวิต โจทก์และจำเลยต่างไม่อุทธรณ์ ศาลชั้นต้นส่งสำนวนให้ศาลอุทธรณ์ภาค 4 พิจารณาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 245 วรรคสอง ศาลอุทธรณ์ภาค 4 พิพากษาแก้เพียงการปรับบทลงโทษตามกฎหมายให้ถูกต้อง และตามกฎหมายที่ได้มีการแก้ไขใหม่ซึ่งเป็นคุณแก่จำเลยเกี่ยวกับบทกำหนดโทษเท่านั้น แต่ศาลอุทธรณ์ภาค 4 ยังคงวินิจฉัยว่า จำเลยมีความผิดและลงโทษตามที่ศาลชั้นต้นพิพากษามาซึ่งมีผลเท่ากับศาลอุทธรณ์ภาค 4 พิพากษายืนในส่วนเนื้อหาของความผิดฐานนำยาเสพติดให้โทษในประเภท 1 เข้ามาในราชอาณาจักรและมียาเสพติดให้โทษในประเภท 1 เข้ามาในราชอาณาจักรและมียาเสพติดให้โทษในประเภท 1 ไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย เป็นอันถึงที่สุดตามมาตรา 245 วรรคสอง จำเลยย่อมฎีกาไม่ได้
คำฟ้องในความผิดฐานนำเข้าซึ่งเมทแอมเฟตามีนเข้ามาในราชอาณาจักร โจทก์มิได้บรรยายว่าจำเลยกระทำความผิดดังกล่าวเพื่อจำหน่าย การที่โจทก์บรรยายฟ้องต่อมาในข้อ 2 ว่า เจ้าพนักงานจับจำเลยได้พร้อมยึดได้เมทแอมเฟตามีนจำนวน 367 เม็ด ที่จำเลยนำเข้าเพื่อจำหน่ายเป็นของกลาง ก็เป็นเพียงขยายความเมทแอมเฟตามีนที่ถูกยึดเท่านั้น ยังไม่ถือว่าโจทก์บรรยายฟ้องถึงการกระทำของจำเลยในความผิดฐานนำเข้าซึ่งเมทแอมเฟตามีน เข้ามาในราชอาณาจักรเพื่อจำหน่าย และแม้โจทก์จะอ้างบทมาตราเกี่ยวกับการกระทำความผิดฐานนำเข้าซึ่งเมทแอมเฟตามีนเข้ามาในราชอาณาจักรเพื่อจำหน่ายในคำขอท้ายฟ้อง ศาลก็ไม่อาจลงโทษจำเลยในความผิดฐานนี้ได้ เพราะเป็นการพิพากษาเกินไปกว่าที่กล่าวมาในฟ้อง ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 192 วรรคหนึ่ง
คำฟ้องในความผิดฐานนำเข้าซึ่งเมทแอมเฟตามีนเข้ามาในราชอาณาจักร โจทก์มิได้บรรยายว่าจำเลยกระทำความผิดดังกล่าวเพื่อจำหน่าย การที่โจทก์บรรยายฟ้องต่อมาในข้อ 2 ว่า เจ้าพนักงานจับจำเลยได้พร้อมยึดได้เมทแอมเฟตามีนจำนวน 367 เม็ด ที่จำเลยนำเข้าเพื่อจำหน่ายเป็นของกลาง ก็เป็นเพียงขยายความเมทแอมเฟตามีนที่ถูกยึดเท่านั้น ยังไม่ถือว่าโจทก์บรรยายฟ้องถึงการกระทำของจำเลยในความผิดฐานนำเข้าซึ่งเมทแอมเฟตามีน เข้ามาในราชอาณาจักรเพื่อจำหน่าย และแม้โจทก์จะอ้างบทมาตราเกี่ยวกับการกระทำความผิดฐานนำเข้าซึ่งเมทแอมเฟตามีนเข้ามาในราชอาณาจักรเพื่อจำหน่ายในคำขอท้ายฟ้อง ศาลก็ไม่อาจลงโทษจำเลยในความผิดฐานนี้ได้ เพราะเป็นการพิพากษาเกินไปกว่าที่กล่าวมาในฟ้อง ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 192 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2896/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิจารณาคดีประหารชีวิต ต้องตรวจสอบความผิดก่อนพิจารณาคำอุทธรณ์เรื่องโทษ
ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษประหารชีวิตจำเลยที่ 1 ซึ่ง ป.วิ.อ. มาตรา 245 วรรคสอง บัญญัติว่า คำพิพากษาเช่นว่านี้จะยังไม่ถึงที่สุด เว้นแต่ศาลอุทธรณ์จะพากษายืน ดังนั้น แม้จำเลยที่ 1 จะอุทธรณ์ขอให้ศาลอุทธรณ์พิจารณาลดโทษและลงโทษสถานเบากว่าที่ศาลชั้นต้นกำหนด แต่ศาลอุทธรณ์ก็จำต้องพิจารณาและวินิจฉัยคดีเสียก่อนว่าจำเลยที่ 1 ได้กระทำความผิดจริงหรือไม่ เมื่อศาลอุทธรณ์เพียงพิจารณาตามปัญหาที่จำเลยที่ 1 อุทธรณ์จึงเป็นการไม่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2896/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิจารณาคดีประหารชีวิต ต้องวินิจฉัยความผิดก่อนพิจารณาลดโทษ ศาลอุทธรณ์ต้องพิจารณาครบถ้วน
ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษประหารชีวิตจำเลยที่ 1 ซึ่ง ป.วิ.อ. มาตรา 245 วรรคสอง บัญญัติว่า คำพิพากษาเช่นว่านี้จะยังไม่ถึงที่สุด เว้นแต่ศาลอุทธรณ์จะพิพากษายืน ดังนั้น แม้จำเลยที่ 1 จะอุทธรณ์ขอให้ศาลอุทธรณ์พิจารณาลดโทษและลงโทษสถานเบากว่าที่ศาลชั้นต้นกำหนด แต่ศาลอุทธรณ์ก็จำต้องพิจารณาและวินิจฉัยคดีเสียก่อนว่าจำเลยที่ 1 ได้กระทำความผิดจริงหรือไม่ เมื่อศาลอุทธรณ์เพียงพิจารณาตามปัญหาที่จำเลยที่ 1 อุทธรณ์จึงเป็นการไม่ชอบตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายดังที่ได้กล่าวแล้วข้างต้น สมควรย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์พิจารณาพิพากษาใหม่ต่อไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8460/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพักใช้ใบอนุญาตขับขี่เกินกำหนด: จำเลยต้องดำเนินการตามลำดับชั้นศาลก่อนฎีกา
ที่จำเลยฎีกาว่า ศาลล่างทั้งสองมีคำพิพากษาให้พักใช้ใบอนุญาตขับขี่ของจำเลยมีกำหนด 6 เดือน นับแต่วันพิพากษา เมื่อนับถึงวันยื่นฎีกาเป็นเวลาเกินกว่า 6 เดือน หากศาลฎีกามีคำพิพากษายืนก็อาจมีผลทำให้จำเลยต้องถูกลงโทษด้วยการพักใช้ใบอนุญาตขับขี่เกินกว่า 6 เดือน ฎีกาของจำเลยเป็นปัญหาในชั้นบังคับคดี มิใช่เป็นการฎีกาโต้แย้งคัดค้านคำพิพากษาของศาลล่างทั้งสองว่าไม่ถูกต้อง จึงเป็นเรื่องที่จำเลยต้องดำเนินการให้เป็นไปตามลำดับชั้นศาลตาม ป.วิ.อ. มาตรา 193 และมาตรา 216 หากจำเลยเห็นว่าศาลชั้นต้นบังคับคดีตามคำพิพากษาให้พักใช้ใบอนุญาตขับขี่ของจำเลยไม่ถูกต้องตาม พ.ร.บ. จราจรทางบก พ.ศ. 2522 มาตรา 157 ทวิ วรรคสอง ก็ชอบที่จะยื่นคำร้องคัดค้านต่อศาลชั้นต้นโดยขอให้แก้ไขให้ถูกต้องเสียก่อน หากศาลชั้นต้นมีคำสั่งเป็นประการใดแล้วจำเลยจึงจะใช้สิทธิอุทธรณ์ฎีกาต่อมาได้เป็นลำดับ การที่จำเลยยกปัญหาดังกล่าวขึ้นฎีกาและศาลชั้นต้นสั่งรับฎีกามานั้นเป็นการไม่ชอบ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6366/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดทางอาญาจากการก่อสร้างอาคารผิดกฎหมาย แม้จะโอนกรรมสิทธิ์ไปแล้วก็ยังต้องรับผิดชอบ
พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 มีทั้งบทบัญญัติที่เป็นส่วนแพ่งและส่วนอาญา สำหรับบทบัญญัติในส่วนแพ่ง เช่น ขอให้เจ้าของหรือผู้ครอบครองอาคารระงับการก่อสร้างหรือสั่งให้รื้อถอนอาคารที่ก่อสร้างฝ่าฝืนต่อ พ.ร.บ.ควบคุมอาคารโดยไม่ได้ขอให้ลงโทษจำเลยในทางอาญา
สำหรับกรณีคดีนี้โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยทางอาญาตามพ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 โดยไม่ได้ฟ้องให้จำเลยรื้อถอนอาคารพิพาทซึ่งเป็นบทบัญญัติในส่วนแพ่ง ดังนั้น เมื่อจำเลยก่อสร้างอาคารพิพาทโดยไม่ได้รับใบอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น และเมื่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นมีคำสั่งเป็นหนังสือแจ้งให้จำเลยระงับการก่อสร้างและรื้อถอนอาคารพิพาท แต่จำเลยฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่น เป็นความผิดตาม พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 มาตรา 21, 65และมาตรา 42, 66 ทวิ และเป็นความผิดทางอาญาตามมาตรา 66 ทวิ วรรคสองซึ่งนอกจากต้องระวางโทษตามมาตรา 66 ทวิ วรรคหนึ่งแล้ว ผู้ฝ่าฝืนยังต้องระวางโทษปรับอีกวันละไม่เกินสามหมื่นบาท จนกว่าจะได้ปฏิบัติตามคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่น ดังนี้ การกระทำความผิดของจำเลยตามบทกฎหมายดังกล่าวจึงแยกได้เป็นสองส่วน ได้แก่ความรับผิดในทางแพ่ง คือ การรื้อถอนอาคารพิพาทซึ่งก่อสร้างฝ่าฝืนมาตรา 21 ซึ่งเจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งให้รื้อถอนหรือร้องขอต่อศาลให้บังคับให้เจ้าของหรือผู้ครอบครองอาคารรื้อถอนอาคารที่ก่อสร้างโดยฝ่าฝืนต่อ พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 ตามมาตรา 42
สำหรับกรณีของจำเลยนั้นเป็นเรื่องที่โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยในทางอาญา โดยไม่ได้ขอให้จำเลยรื้อถอนอาคารพิพาทซึ่งเป็นความรับผิดในทางแพ่ง ดังนั้น เมื่อจำเลยก่อสร้างอาคารพิพาทโดยผิดกฎหมาย และเจ้าพนักงานท้องถิ่นมีคำสั่งเป็นหนังสือให้จำเลยรื้อถอนอาคารพิพาท จำเลยได้ทราบคำสั่งแล้วไม่ปฏิบัติตามจำเลยจึงมีความผิดตามที่โจทก์ฟ้อง แม้จำเลยจะได้โอนกรรมสิทธิ์อาคารพิพาทไปให้บุคคลภายนอกก็ตาม ก็ไม่ทำให้ความรับผิดในทางอาญาของจำเลยเปลี่ยนแปลงไป จำเลยยังคงต้องผูกพันตามคำพิพากษาไปจนกว่าอาคารพิพาทจะได้มีการรื้อถอน เพราะหากยอมให้จำเลยไม่ต้องรับผิดเมื่อโอนอาคารพิพาทให้แก่บุคคลภายนอก คำพิพากษาก็จะไร้ผลบังคับ การที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาให้จำเลยชำระค่าปรับรายวันจนกว่าจำเลยจะได้ปฏิบัติตามคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นจึงชอบแล้ว
สำหรับกรณีคดีนี้โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยทางอาญาตามพ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 โดยไม่ได้ฟ้องให้จำเลยรื้อถอนอาคารพิพาทซึ่งเป็นบทบัญญัติในส่วนแพ่ง ดังนั้น เมื่อจำเลยก่อสร้างอาคารพิพาทโดยไม่ได้รับใบอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น และเมื่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นมีคำสั่งเป็นหนังสือแจ้งให้จำเลยระงับการก่อสร้างและรื้อถอนอาคารพิพาท แต่จำเลยฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่น เป็นความผิดตาม พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 มาตรา 21, 65และมาตรา 42, 66 ทวิ และเป็นความผิดทางอาญาตามมาตรา 66 ทวิ วรรคสองซึ่งนอกจากต้องระวางโทษตามมาตรา 66 ทวิ วรรคหนึ่งแล้ว ผู้ฝ่าฝืนยังต้องระวางโทษปรับอีกวันละไม่เกินสามหมื่นบาท จนกว่าจะได้ปฏิบัติตามคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่น ดังนี้ การกระทำความผิดของจำเลยตามบทกฎหมายดังกล่าวจึงแยกได้เป็นสองส่วน ได้แก่ความรับผิดในทางแพ่ง คือ การรื้อถอนอาคารพิพาทซึ่งก่อสร้างฝ่าฝืนมาตรา 21 ซึ่งเจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งให้รื้อถอนหรือร้องขอต่อศาลให้บังคับให้เจ้าของหรือผู้ครอบครองอาคารรื้อถอนอาคารที่ก่อสร้างโดยฝ่าฝืนต่อ พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 ตามมาตรา 42
สำหรับกรณีของจำเลยนั้นเป็นเรื่องที่โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยในทางอาญา โดยไม่ได้ขอให้จำเลยรื้อถอนอาคารพิพาทซึ่งเป็นความรับผิดในทางแพ่ง ดังนั้น เมื่อจำเลยก่อสร้างอาคารพิพาทโดยผิดกฎหมาย และเจ้าพนักงานท้องถิ่นมีคำสั่งเป็นหนังสือให้จำเลยรื้อถอนอาคารพิพาท จำเลยได้ทราบคำสั่งแล้วไม่ปฏิบัติตามจำเลยจึงมีความผิดตามที่โจทก์ฟ้อง แม้จำเลยจะได้โอนกรรมสิทธิ์อาคารพิพาทไปให้บุคคลภายนอกก็ตาม ก็ไม่ทำให้ความรับผิดในทางอาญาของจำเลยเปลี่ยนแปลงไป จำเลยยังคงต้องผูกพันตามคำพิพากษาไปจนกว่าอาคารพิพาทจะได้มีการรื้อถอน เพราะหากยอมให้จำเลยไม่ต้องรับผิดเมื่อโอนอาคารพิพาทให้แก่บุคคลภายนอก คำพิพากษาก็จะไร้ผลบังคับ การที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาให้จำเลยชำระค่าปรับรายวันจนกว่าจำเลยจะได้ปฏิบัติตามคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นจึงชอบแล้ว