คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.วิ.อ. ม. 245

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 51 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5343/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาต้องห้าม: ความผิดอาวุธปืนและฆ่าผู้อื่น ศาลไม่รับวินิจฉัยข้อเท็จจริงบางส่วน
ความผิดฐานมีอาวุธปืนและเครื่องกระสุนปืนของผู้อื่นโดยไม่ได้รับใบอนุญาตนั้นศาลอุทธรณ์ภาค 2 พิพากษาแก้เฉพาะโทษเป็นให้จำคุกจำเลยที่ 1 มีกำหนด 2 ปี ส่วนความผิดฐานพาอาวุธปืนไปในเมืองหมู่บ้านหรือทางสาธารณะโดยไม่ได้รับอนุญาตนั้น ศาลอุทธรณ์ภาค 2 พิพากษายืนตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นที่ให้จำคุกจำเลยที่ 1 มีกำหนด 2 ปี ดังนั้น ความผิดตามพระราชบัญญัติอาวุธปืนฯ ทั้งสองข้อหาดังกล่าวจึงต้องห้ามมิให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218 วรรคหนึ่ง ส่วนความผิดฐานร่วมกับพวกฆ่าผู้อื่นโดยไตร่ตรองไว้ก่อนที่ศาลอุทธรณ์ภาค 2 วินิจฉัยว่า จำเลยที่ 1 กระทำความผิดหรือไม่นั้น เป็นการวินิจฉัยโดยอาศัยอำนาจตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 245 วรรคสอง มิได้วินิจฉัยเพราะจำเลยที่ 1 อุทธรณ์ เมื่อศาลอุทธรณ์ภาค 2 พิพากษายืนข้อเท็จจริงที่ว่าจำเลยที่ 1 กระทำความผิดหรือไม่จึงเป็นอันถึงที่สุดตามบทกฎหมายดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2355/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การนับโทษซ้ำซ้อนในคดีอาญาที่เกี่ยวพันกัน และอำนาจแก้ไขคำสั่งบังคับคดี
คดีนี้กับคดีอาญาหมายเลขแดงที่ 5750/2529 ของศาลชั้นต้นมีลักษณะแห่งคดีและความผิดเป็นอย่างเดียวกับที่จำเลยถูกฟ้องเป็นจำเลยในคดีดังกล่าว คดีทั้งสองสำนวนมีความเกี่ยวพันโดยอาจฟ้องเป็นคดีเดียวกันได้ เมื่อโจทก์แยกฟ้องคดีนี้กับคดีที่ขอให้นับโทษต่อโดยศาลมิได้สั่งรวมการพิจารณาคดีทั้งสองสำนวนเข้าด้วยกัน หากศาลลงโทษจำคุกจำเลยทุกกรรมเต็มตามที่กำหนดไว้ใน ป.อ.มาตรา 91 (2) ในสำนวนใดสำนวนหนึ่งแล้ว ก็ไม่อาจนับโทษต่อในอีกสำนวนหนึ่งได้เพราะจะทำให้จำเลยต้องรับโทษเกินกว่าที่ ป.อ.มาตรา 91 (2) กำหนดไว้
ศาลชั้นต้นออกหมายจำคุกคดีถึงที่สุดแก่จำเลยแล้ว หากปรากฏว่าการนับโทษขัดต่อกฎหมาย ศาลชั้นต้นย่อมมีคำสั่งแก้ไขได้ เพราะไม่เป็นการแก้ไขหรือเปลี่ยนแปลงคำพิพากษา แต่เป็นเรื่องการบังคับคดีซึ่งศาลชั้นต้นต้องออกหมายจำคุกคดีถึงที่สุดให้ถูกต้องตามกฎหมาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5248/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การปรับบทลงโทษฆ่าโดยไตร่ตรองไว้ก่อน ศาลอุทธรณ์แก้โทษเฉพาะมาตรา 289(4) ถือเป็นอันสิ้นสุดจำเลยไม่มีสิทธิฎีกา
ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่า จำเลยเป็นคนร้ายฆ่าผู้ตายโดยไตร่ตรองไว้ก่อนเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 288,289(4) พิพากษาลงโทษประหารชีวิต ของกลางริบ โจทก์และจำเลย ต่างไม่อุทธรณ์ ศาลชั้นต้นส่งสำนวนไปยังศาลอุทธรณ์ภาค 3 ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 245 วรรคสองศาลอุทธรณ์ภาค 3 วินิจฉัยว่า จำเลยเป็นคนร้ายฆ่าผู้ตายโดย ไตร่ตรองไว้ก่อนเช่นเดียวกัน แต่เมื่อปรับบทลงโทษตามมาตรา 289(4) แล้ว ก็ไม่จำเป็นต้องปรับบทลงโทษตามมาตรา 288อีก พิพากษาแก้เป็นว่า จำเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 289(4) นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นซึ่งมีผลเท่ากับศาลอุทธรณ์ภาค 3 พิพากษายืนในความผิดฐานฆ่าผู้อื่นโดยไตร่ตรองไว้ก่อน คดีเป็นอันถึงที่สุดตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 245 วรรคสองแล้วจำเลยย่อมฎีกาไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1846/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การวินิจฉัยความผิดของศาลอุทธรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 245 วรรคสอง จำเลยต้องได้รับความยุติธรรมในการพิจารณาความผิด
ชั้นอุทธรณ์จำเลยที่ 4 อุทธรณ์ขอให้ศาลอุทธรณ์ลดโทษแก่จำเลยที่ 4 เพียงประการเดียว ที่จำเลยที่ 4 ฎีกาว่า พยานหลักฐานของโจทก์ไม่มีน้ำหนักให้รับฟังและจำเลยที่ 4 ไม่ได้กระทำผิดตามฟ้องจึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลอุทธรณ์ แต่คดีนี้ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำคุกจำเลยที่ 4 ตลอดชีวิต แม้จำเลยที่ 4จะมิได้อุทธรณ์ในปัญหาว่าจำเลยที่ 4 กระทำผิดตามฟ้องหรือไม่ศาลอุทธรณ์ก็ต้องวินิจฉัยปัญหานี้อีกครั้งหนึ่งตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 245 วรรคสอง หากศาลอุทธรณ์วินิจฉัยแล้วพิพากษายืน ปัญหานี้จึงจะถึงที่สุด แต่ถ้าศาลอุทธรณ์พิพากษาเป็นอย่างอื่นคดีก็ไม่ถึงที่สุด จำเลยที่ 4 อาจยกปัญหานี้ขึ้นฎีกาได้แม้จะมิได้ยกขึ้นอุทธรณ์ เมื่อศาลอุทธรณ์ยังมิได้วินิจฉัยปัญหานี้ จึงเป็นการไม่ชอบ เพราะมิได้ปฏิบัติให้ถูกต้องตามกระบวนพิจารณาดังที่ได้บัญญัติไว้ใน มาตรา 245 วรรคสองสมควรย้อนสำนวนให้ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยปัญหานี้ก่อน อนึ่ง ปัญหาข้อนี้เป็นเหตุลักษณะคดี จึงให้มีผลไปถึงจำเลยที่ 3 ที่ถูกศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำคุกตลอดชีวิตอีกคนหนึ่งด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1846/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การวินิจฉัยประเด็นที่มิได้ยกขึ้นในศาลอุทธรณ์: ป.วิ.อ. มาตรา 245 วรรคสอง และผลกระทบต่อการพิจารณาคดี
ชั้นอุทธรณ์จำเลยที่ 4 อุทธรณ์ขอให้ศาลอุทธรณ์ลดโทษแก่จำเลยที่ 4เพียงประการเดียว ที่จำเลยที่ 4 ฎีกาว่า พยานหลักฐานของโจทก์ไม่มีน้ำหนักให้รับฟังและจำเลยที่ 4 ไม่ได้กระทำผิดตามฟ้อง จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลอุทธรณ์ แต่คดีนี้ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำคุกจำเลยที่ 4 ตลอดชีวิต แม้จำเลยที่ 4 จะมิได้อุทธรณ์ในปัญหาว่าจำเลยที่ 4 กระทำผิดตามฟ้องหรือไม่ ศาลอุทธรณ์ก็ต้องวินิจฉัยปัญหานี้อีกครั้งหนึ่งตาม ป.วิ.อ. มาตรา 245 วรรคสอง หากศาลอุทธรณ์วินิจฉัยแล้วพิพากษายืน ปัญหานี้จึงจะถึงที่สุด แต่ถ้าศาลอุทธรณ์พิพากษาเป็นอย่างอื่นคดีก็ไม่ถึงที่สุด จำเลยที่ 4 อาจยกปัญหานี้ขึ้นฎีกาได้แม้จะมิได้ยกขึ้นอุทธรณ์ เมื่อศาลอุทธรณ์ยังมิได้วินิจฉัยปัญหานี้ จึงเป็นการไม่ชอบ เพราะมิได้ปฏิบัติให้ถูกต้องตามกระบวนพิจารณาดังที่ได้บัญญัติไว้ใน มาตรา 245 วรรคสอง สมควรย้อนสำนวนให้ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยปัญหานี้ก่อน อนึ่ง ปัญหาข้อนี้เป็นเหตุลักษณะคดี จึงให้มีผลไปถึงจำเลยที่ 3 ที่ถูกศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำคุกตลอดชีวิตอีกคนหนึ่งด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 934/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอุทธรณ์คดีอาญา: ผลของการไม่โต้แย้งการกระทำผิดในชั้นอุทธรณ์
ศาลชั้นต้นลงโทษจำคุกจำเลยตลอดชีวิต จำเลยมิได้อุทธรณ์ว่าไม่ได้กระทำผิด แต่อุทธรณ์ขอให้ลดโทษ ข้อเท็จจริงที่ว่าจำเลยได้กระทำผิดหรือไม่ศาลอุทธรณ์ภาค 2 ได้วินิจฉัยให้เนื่องจากเป็นคดีที่ลงโทษจำคุกตลอดชีวิต ศาลชั้นต้นมีหน้าที่ส่งสำนวนไปยังศาลอุทธรณ์ภาค 2 พิจารณา เมื่อศาลอุทธรณ์ภาค 2 พิพากษายืน ข้อที่ว่าจำเลยกระทำผิดหรือไม่ จึงเป็นอันถึงที่สุดตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 245 วรรคสอง เมื่อจำเลยฎีกาว่าไม่ได้กระทำผิดจึงต้องห้ามตามกฎหมาย ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2338/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาต้องห้าม: การถอนอุทธรณ์และการโต้แย้งหมายจำคุกหลังคดีถึงที่สุด
ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษประหารชีวิตจำเลย จำเลยยื่นอุทธรณ์ระหว่างพิจารณาของศาลอุทธรณ์ จำเลยยื่นคำร้องขอถอนอุทธรณ์ศาลอุทธรณ์อนุญาตให้จำเลยถอนอุทธรณ์แล้วพิจารณาคดีต่อไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 245 ดังนี้ การดำเนินกระบวนพิจารณาของศาลอุทธรณ์จึงชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา และเมื่อศาลอุทธรณ์พิพากษายืนคดีย่อมถึงที่สุด จำเลยจะฎีกาคัดค้านว่าจำเลยไม่ได้กระทำผิดไม่ได้ หมายจำคุกเมื่อคดีถึงที่สุดเป็นหมายอาญา มิใช่คำพิพากษาหรือคำสั่งที่จะอุทธรณ์ฎีกาได้ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 193 และ 216 หากจำเลยเห็นว่าการออกหมายไม่ถูกต้องก็ต้องร้องขอให้ศาลชั้นต้นแก้ไขหมายนั้น เพื่อให้ศาลชั้นต้นพิจารณามีคำสั่งเสียก่อน ฎีกาของจำเลยที่คัดค้านว่าศาลชั้นต้นออกหมายจำคุกเมื่อคดีถึงที่สุดไม่ถูกต้องจึงเป็นฎีกาที่ต้องห้าม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2338/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การถอนอุทธรณ์คดีอาญาและการพิจารณาถึงที่สุดของคดี รวมถึงการแก้ไขหมายจำคุก
ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษประหารชีวิตจำเลย จำเลยอุทธรณ์ระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์ จำเลยยื่นคำร้องขอถอนอุทธรณ์การที่ศาลอุทธรณ์อนุญาตแล้วพิจารณาพิพากษาคดีต่อไปตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 245 จึงชอบแล้ว และเมื่อศาลอุทธรณ์พิพากษายืน คดีย่อมถึงที่สุด จำเลยจะฎีกาคัดค้านคำพิพากษาดังกล่าวไม่ได้ เมื่อจำเลยเห็นว่า ศาลชั้นต้นออกหมายจำคุกคดีถึงที่สุดไม่ถูกต้อง ก็ชอบที่จะไปร้องขอต่อศาลชั้นต้นให้มีคำสั่งแก้ไขหมายนั้นเสียก่อน เพราะหมายจำคุกเมื่อคดีถึงที่สุดเป็นหมายอาญามิใช่คำพิพากษาหรือคำสั่งที่จะอุทธรณ์ฎีกาได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 193 และ 216

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1365/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การนับโทษจำคุกต่อจากคดีอื่นต้องเป็นคดีที่เกี่ยวพันกันและรวมโทษแล้วไม่เกิน 20 ปี ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91(2)
การที่ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาลงโทษจำคุกจำเลยและออกหมายจำคุกคดีถึงที่สุด โดยให้นับโทษต่อจากโทษของจำเลยในคดีอื่นอีกรวมแล้วเกิน 20 ปีเมื่อปรากฏว่าการนับโทษต่อดังกล่าวขัดต่อประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91(2) ศาลชั้นต้นย่อมจะมีคำสั่งแก้ไขหมายจำคุกคดีถึงที่สุดใหม่ เป็นให้นับโทษคดีนี้ต่อจากโทษของจำเลยคดีอื่นดังกล่าวโดยรวมโทษจำคุกทั้งสิ้นไม่เกิน 20 ปี ได้ไม่เป็นการแก้ไขหรือเปลี่ยนแปลงคำพิพากษาแต่อย่างใด เพราะเป็นเรื่องการบังคับคดีที่ศาลชั้นต้นจะต้องออกหมายจำคุกคดีถึงที่สุดให้ถูกต้องตามกฎหมาย การนับโทษต่อจากโทษในคดีอื่นได้ไม่เกิน 20 ปี ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91(2) นั้น ต้องปรากฏว่าคดีอื่นดังกล่าวเป็นการกระทำผิดในลักษณะที่เกี่ยวพันกันกับคดีนี้จนอาจฟ้องเป็นคดีเดียวกันหรือรวมพิจารณาพิพากษาเข้าด้วยกันได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1341/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดพยายามฆ่า, ฆ่าผู้อื่น, และมีอาวุธปืนโดยไม่ได้รับอนุญาต ศาลฎีกายืนตามคำพิพากษาชั้นต้นและอุทธรณ์
คดีสำหรับจำเลยที่ 2 ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษฐานพยายามฆ่าผู้อื่น พยายามฆ่าเจ้าพนักงาน มีอาวุธปืนและพาอาวุธปืนโดยไม่ได้รับอนุญาต จำคุกตลอดชีวิต โจทก์ โจทก์ร่วมทั้งสองและจำเลยที่ 2ไม่อุทธรณ์ ศาลชั้นต้นจึงส่งสำนวนให้ศาลอุทธรณ์ภาค 2 พิจารณาและศาลอุทธรณ์ภาค 2 พิพากษายืน คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 2 ย่อมถึงที่สุดตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 245 วรรคสอง คดีสำหรับจำเลยที่ 1 ฐานมีอาวุธปืนและพาอาวุธปืนโดยไม่ได้รับอนุญาต ศาลอุทธรณ์ภาค 2 พิพากษายืนตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นให้ลงโทษจำคุกกระทงละไม่เกินห้าปี ต้องห้ามมิให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218 วรรคหนึ่งที่จำเลยที่ 1 ฎีกาว่าไม่ได้กระทำผิดในข้อหาดังกล่าวนั้นเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
of 6