คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 91

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 10 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3500/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแต่งตั้งกรรมการมูลนิธิ: การดำเนินคดีไม่มีข้อพิพาทและสิทธิในการคัดค้านคำสั่งศาล
การที่ผู้ร้องยื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งตั้งคณะกรรมการมูลนิธิขึ้นใหม่โดยอ้างว่ามูลนิธิไม่มีคณะกรรมการดำเนินงาน และไม่อาจดำเนินการใด ๆ ได้หากปล่อยให้คณะกรรมการว่างเนิ่นนานไปจะเกิดความเสียหายแก่มูลนิธินั้นเป็นการใช้สิทธิทางศาลตาม ป.วิ.พ.มาตรา 55 และเป็นการดำเนินคดีอย่างคดีไม่มีข้อพิพาทตามมาตรา 188ซึ่งมิได้มีบทบัญญัติให้ต้องมีการส่งหมายและสำเนาคำร้องขอให้แก่ผู้ใด การที่ศาลเพียงแต่ประกาศคำร้องขอในหน้าหนังสือพิมพ์และไต่สวนคำร้องหลังจากครบกำหนด 15 วัน จึงเป็นการชอบแล้ว ผู้ร้องยื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งตั้งกรรมการมูลนิธิขึ้นใหม่ผู้คัดค้านสามารถที่จะร้องคัดค้านได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 188(4)แต่เมื่อผู้คัดค้านมิได้คัดค้านจนศาลไต่สวนกับมีคำสั่งตามที่ผู้ร้องขอและคดีถึงที่สุด ผู้คัดค้านไม่มีสิทธิร้องขอเพิกถอนคำสั่งศาลได้ เพราะไม่มีกฎหมายบัญญัติให้สิทธิผู้ร้องเช่นนั้น.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1869/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจพนักงานอัยการร้องขอถอดถอนผู้จัดการมูลนิธิ กรณีจัดการผิดพลาดฝ่าฝืนตราสาร
แม้พนักงานอัยการจะยื่นคำร้องขอถอน พ. ออกจากการเป็นประธานกรรมการ และผู้จัดการมูลนิธิโดยมิได้แนบคำร้องของกรรมการมูลนิธิที่มีไปถึงพนักงานอัยการอันเป็นเหตุให้ยื่นคำร้องขอต่อศาลแต่คำร้องดังกล่าวมิใช่เอกสารตามที่กฎหมายต้องการตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 18 เพราะพนักงานอัยการมีอำนาจร้องขอต่อศาลได้โดยลำพังอยู่แล้ว ส่วนปัญหาว่าคำร้องของกรรมการมูลนิธิดังกล่าวจะเป็นเอกสารที่ทำปลอมขึ้นหรือเป็นเท็จหรือไม่ ก็เป็นรายละเอียดที่จะต้องนำสืบในชั้นพิจารณา เมื่อตามคำร้องบรรยายถึงเหตุต่าง ๆ ที่ผู้คัดค้านในฐานะประธานกรรมการมูลนิธิและเป็นผู้จัดการได้จัดการมูลนิธิผิดพลาดทำให้มูลนิธิเสื่อมเสียและฝ่าฝืนข้อความแห่งตราสาร โดยได้แนบสำเนาตราสารก่อตั้งมูลนิธิมาท้ายคำร้องด้วยแล้ว กับได้ขอให้ถอดถอนผู้คัดค้านออกจากตำแหน่งประธานกรรมการและขอให้แต่งตั้งผู้อื่นเป็นแทนดังนี้ สภาพแห่งคำร้องและข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งคำร้องตลอดจนคำขอบังคับแจ้งชัดดีแล้ว ไม่เป็นคำร้องที่เคลือบคลุม พ. เป็นประธานกรรมการและผู้จัดการมูลนิธิไม่ยอมเรียกประชุมวิสามัญตามที่คณะกรรมการร้องขอ ทั้งที่มีเหตุต้องเลือกตั้งกรรมการอื่นทำหน้าที่เป็นเหรัญญิกแทนคนเดิมซึ่งถึงแก่กรรม กับมิได้เรียกประชุมสามัญประจำปีโดยไม่มีเหตุสมควรจึงเป็นการจัดการผิดพลาดและฝ่าฝืนข้อความแห่งตราสารก่อตั้งมูลนิธิ พนักงานอัยการมีสิทธิร้องขอให้ถอดถอน พ. ออกจากตำแหน่งได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 91.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1869/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจัดการมูลนิธิผิดพลาดและการถอดถอนประธานกรรมการ กรณีไม่เรียกประชุมและละเลยหน้าที่ตามตราสาร
ผู้คัดค้านเป็นประธานกรรมการและผู้จัดการมูลนิธิ เมื่อมีปัญหาเกี่ยวกับการย้ายทรัพย์สินและที่ทำการของมูลนิธิคณะกรรมการมูลนิธิจำนวน 4 คน ได้มีหนังสือขอให้ผู้คัดค้านเรียกประชุมวิสามัญ แต่ผู้คัดค้านไม่ยอมเรียกประชุมและเมื่อคณะกรรมการมูลนิธิมีหนังสือถึงนายทะเบียนมูลนิธิขอให้แจ้งผู้คัดค้านเรียกประชุมผู้คัดค้านก็ตอบ ปฏิเสธ เมื่อกรรมการและเหรัญญิกของมูลนิธิถึงแก่กรรม ผู้คัดค้านก็ไม่เรียกประชุมกรรมการเพื่อแต่งตั้งเหรัญญิกคนใหม่ ทำให้การเบิกจ่ายเงินของมูลนิธิไม่สามารถทำได้ และเมื่อถึงคราวที่จะต้องเรียกประชุมสามัญประจำปีผู้คัดค้านก็ไม่เรียกประชุมตามตราสารของมูลนิธิ ทำให้เกิดข้อขัดข้องในการบริหารงานของมูลนิธิ พฤติการณ์ดังกล่าวถือได้ว่าเป็นการปฏิเสธการเรียกประชุมโดยไม่มีเหตุสมควรเป็นการจัดการผิดพลาด และเป็นการฝ่าฝืนข้อความแห่งตราสารก่อตั้งมูลนิธิ ผู้ร้องจึงมีสิทธิร้องขอให้ถอด ถอนผู้คัดค้านออกจากตำแหน่งได้ตามนัยแห่ง ป.พ.พ. มาตรา 91.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5968/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การลงโทษจำเลยในความผิดต่างกรรมกัน และอำนาจศาลอุทธรณ์ในการสั่งริบของกลาง แม้โจทก์ไม่เคยอุทธรณ์
การที่จำเลยมีอาวุธปืนติดตัวและการที่จำเลยใช้อาวุธปืนดังกล่าวจี้ขู่เข็ญ ป. จนทำให้ตก ใจกลัว เป็นการกระทำที่มีเจตนาแยกจากกันได้ เป็นความผิดต่างกรรม ลงโทษจำเลยทุกกรรมเป็นกระทงความผิดได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 186(9) คำพิพากษาต้องมีคำวินิจฉัยเรื่องของกลางด้วย เมื่อโจทก์บรรยายฟ้องว่า จับจำเลยได้พร้อมอาวุธปืนของกลางที่ใช้กระทำผิด และท้ายฟ้องมีคำขอให้ศาลริบอาวุธปืนของกลางด้วย ดังนี้ การที่ศาลชั้นต้นไม่วินิจฉัยเรื่องอาวุธปืนของกลางและไม่สั่งริบอาวุธปืนอันเป็นทรัพย์สินที่มีไว้เป็นความผิด จึงเป็นการไม่ชอบ แม้ไม่มีคู่ความอุทธรณ์ปัญหานี้ศาลอุทธรณ์มีอำนาจแก้ เสียให้ถูกต้องได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5968/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การกระทำผิดหลายกรรมต่างกันจากอาวุธปืน และอำนาจศาลในการสั่งริบของกลาง
การที่จำเลยมีอาวุธปืนติดตัวและการที่จำเลยใช้อาวุธปืนดังกล่าวจี้ขู่เข็ญ ป. จนทำให้ตก ใจกลัว เป็นการกระทำที่มีเจตนาแยกจากกันได้ เป็นความผิดต่างกรรม ลงโทษจำเลยทุกกรรมเป็นกระทงความผิดได้
ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 186(9) คำพิพากษาต้องมีคำวินิจฉัยเรื่องของกลางด้วย เมื่อโจทก์บรรยายฟ้องว่า จับจำเลยได้พร้อมอาวุธปืนของกลางที่ใช้กระทำผิด และท้ายฟ้องมีคำขอให้ศาลริบอาวุธปืนของกลางด้วย ดังนี้ การที่ศาลชั้นต้นไม่วินิจฉัยเรื่องอาวุธปืนของกลางและไม่สั่งริบอาวุธปืนอันเป็นทรัพย์สินที่มีไว้เป็นความผิด จึงเป็นการไม่ชอบ แม้ไม่มีคู่ความอุทธรณ์ปัญหานี้ศาลอุทธรณ์มีอำนาจแก้ เสียให้ถูกต้องได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3642/2532

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องจำเลยต่างประเทศและบริษัทในเครือ: การพิสูจน์ฐานะสำนักงานสาขาหรือตัวแทน
จำเลยที่ 1 จดทะเบียนเป็นบริษัทจำกัดในประเทศไทย จำเลยที่ 2และที่ 3 จดทะเบียนเป็นบริษัทอยู่ในต่างประเทศ โจทก์ทำสัญญาซื้อขายกับจำเลยที่ 2 แม้จำเลยที่ 2 จะถือหุ้นใหญ่ในบริษัทจำเลยที่ 1 ก็หาทำให้บริษัทจำเลยที่ 1 เป็นสำนักงานสาขาของจำเลยที่ 2 ไม่ จำเลยที่ 1 และที่ 2 มิใช่บุคคลคนเดียวกัน ทั้งจำเลยที่ 2และที่ 3 ก็มิได้จดทะเบียนให้จำเลยที่ 1 เป็นสำนักงานสาขาของของตนในประเทศไทย ดังนี้โจทก์จึงฟ้องจำเลยที่ 2 และที่ 3 ไม่ได้สำหรับจำเลยที่ 1 นั้นเมื่อไม่ได้เป็นสำนักงานสาขาของจำเลยที่ 2และที่ 3 ทั้งมิได้เป็นคู่สัญญากับโจทก์ และไม่ใช่ตัวแทนของจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นตัวการอยู่ต่างประเทศ โจทก์จึงฟ้องจำเลยที่ 1ไม่ได้เช่นกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1269/2524

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างเนื่องจากเกษียณอายุและการสืบสิทธิในค่าชดเชยของทายาท
ระเบียบของจำเลยที่กำหนดให้พนักงานพ้นจากหน้าที่เมื่ออายุ 60 ปี แต่ก็อาจต่ออายุการทำงานให้ได้ มิใช่เป็นการกำหนดระยะเวลาการจ้าง แต่เป็นเรื่องคุณสมบัติของลูกจ้าง เมื่อจำเลยให้พนักงานออกจากงานตามระเบียบนั้น จึงอยู่ในความหมายของการเลิกจ้างตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานฯ ข้อ 46
สิทธิเรียกร้องค่าชดเชยเป็นทรัพย์สิน มิใช่สิทธิเฉพาะตัวหากลูกจ้างมีสิทธิได้รับค่าชดเชยแล้วตาย จึงเป็นมรดกตกทอดแก่ทายาท และทายาททุกคนเป็นเจ้าของรวมในกองมรดกที่ยังมิได้แบ่ง ทายาทแต่ละคนจึงอาจใช้สิทธิอันเกิดแต่กรรมสิทธิ์รวมครอบไปถึงกองมรดกทั้งหมดได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1407/2513 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแต่งตั้งผู้เชี่ยวชาญตรวจพิสูจน์ลายมือชื่อ และการรับฟังรายงานผล
คู่ความตกลงท้ากันให้ส่งเอกสารไปยังกองพิสูจน์หลักฐาน กรมตำรวจ เพื่อพิสูจน์ลายมือชื่อ โดยมิได้ระบุตัวผู้เชี่ยวชาญไว้ ศาลย่อมส่งเอกสารไปให้ผู้เชี่ยวชาญของกองพิสูจน์หลักฐาน กรมตำรวจ คนใดคนหนึ่งตรวจพิสูจน์ก็ได้
ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 130 เมื่อผู้เชี่ยวชาญแสดงความเห็นเป็นหนังสือ และไม่มีความจำเป็น ศาลก็ไม่ต้องเรียกมาให้เบิกความรับรองหรืออธิบายด้วยวาจาอีก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 862/2502

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีอาญาของผู้อุทิศทรัพย์สินให้มูลนิธิ กรณีถูกยักยอกและทำให้มูลนิธิเลิก
ราษฎรเป็นโจทก์ฟ้องหาว่า จำเลยซึ่งเป็นกรรมการมูลนิธิยักยอกทรัพย์ ร้องเรียนเท็จและเบิกความเท็จ โดยกล่าวในฟ้องว่า โจทก์ได้อุทิศที่ดินที่ได้รับมรดกมาให้เป็นทรัพย์กองกลางพร้อมด้วยสิ่งปลูกสร้างและดอกผลสำหรับบำรุงสุสานในตระกูลโจทก์ ต่อมาได้ก่อตั้งเป็นมูลนิธิจนได้รับอำนาจจากรัฐบาลแล้ว ที่ดินสิ่งปลูกสร้างและดอกผลที่โจทก์อุทิศจึงตกเป็นของมูลนิธิตั้งแต่นั้นมา หลังจากนั้น จำเลยซึ่งเป็นกรรมการมูลนิธิได้ยักยอกเอาที่ดินแปลงนั้นเป็นประโยชน์ส่วนตัวเสีย และจำเลยได้ยื่นคำร้องต่อศาลขอให้สั่งเลิกมูลนิธิดังกล่าว โดยเอาความเท็จมาร้องเรียนว่ามูลนิธิไม่มีทรัพย์สินใดจะใช้เป็นทุนดำเนินการตามวัตถุประสงค์ได้ ความจริงทรัพย์ของมูลนิธิยังมีอยู่ และจำเลยได้เบิกความเท็จว่า มูลนิธิไม่มีทรัพย์สินใดจะใช้เป็นทุนดำเนินการตามวัตถุประสงค์ได้ ขอให้ลงโทษ เช่นนี้ในชั้นพิจารณาอำนาจฟ้องของโจทก์ ถือได้ว่า โจทก์เป็นผู้เสียหายตามความใน มาตรา 2(4) และมีอำนาจฟ้องคดีได้ตาม มาตรา 28(2) แห่ง ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา แล้ว เพราะตามที่โจทก์กล่าวในฟ้องว่า ทรัพย์สินย่อมตกเป็นของมูลนิธิแล้วนั้น โจทก์ได้วงเล็บ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 87 มาในฟ้องด้วย แสดงให้เห็นว่า เป็นความเข้าใจของโจทก์ในข้อกฎหมายเกี่ยวกับมาตรา87 แห่ง ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ จึงไม่ใช่ข้อยืนยันของโจทก์ จะถือเป็นยุติตามที่โจทก์เข้าใจในข้อกฎหมายดังที่กล่าวมาในฟ้องเสียทีเดียวหาชอบไม่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเมื่อโจทก์โอนโฉนดให้เป็นในนามของนายประสพกับพวกถือกรรมสิทธิ์ตามหน้าโฉนดก็ยังหาได้มีการโอนโฉนดใส่ชื่อมูลนิธิไม่(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 13/2502)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 862/2502 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีอาญาของผู้อุทิศทรัพย์สินให้มูลนิธิ กรณีถูกยักยอกและทำให้มูลนิธิเลิกกิจการ
ราษฎรเป็นโจทก์ฟ้องหาว่า จำเลยซึ่งเป็นกรรมการมูลนิธิยักยอกทรัพย์ ร้องเรียนเท็จและเบิกความเท็จ โดยกล่าวในฟ้องว่า โจทก์ได้อุทิศที่ดินที่ได้รับมรดกมาให้เป็นทรัพย์กองกลางพร้อมด้วยสิ่งปลูกสร้างและดอกผลสำหรับบำรุงสุสานในตระกูลโจทก์ ต่อมาได้ก่อตั้งเป็นมูลนิธิจนได้รับอำนาจจากรัฐบาลแล้ว ที่ดินสิ่งปลูกสร้างและดอกผลที่โจทก์อุทิศจึงตกเป็นของมูลนิธิตั้งแต่นั้นมา หลังจากนั้น จำเลยซึ่งเป็นกรรมการมูลนิธิได้ยักยอกเอาที่ดินแปลงนั้นเป็นประโยชน์ส่วนตัวเสีย และจำเลยได้ยื่นคำร้องต่อศาลขอให้สั่งเลิกมูลนิธิดังกล่าว โดยเอาความเท็จมาร้องเรียนว่ามูลนิธิไม่มีทรัพย์สินใดจะใช้เป็นทุนดำเนินการตามวัตถุประสงค์ได้ ความจริงทรัพย์ของมูลนิธิยังมีอยู่ และจำเลยได้เบิกความเท็จว่า มูลนิธิไม่มีทรัพย์สินใดจะใช้เป็นทุนดำเนินการตามวัตถุประสงค์ได้ ขอให้ลงโทษ เช่นนี้ ในชั้นพิจารณาอำนาจฟ้องของโจทก์ ถือได้ว่า โจทก์เป็นผู้เสียหายตามความใน มาตรา 2(4) และมีอำนาจฟ้องคดีได้ตามมาตรา 28 (2) แห่ง ป.วิ.อ. แล้ว เพราะตามที่โจทก์กล่าวในฟ้องว่า ทรัพย์สินย่อมตกเป็นของมูลนิธิแล้วนั้น โจทก์ได้วงเล็บ ป.พ.พ. มาตรา 87 มาในฟ้องด้วย แสดงให้เห็นว่า เป็นความเข้าใจของโจทก์ในข้อกฎหมาย เกี่ยวกับมาตรา 87 แพ่ง ป.พ.พ. ไม่ใช่ข้อยืนยันของโจทก์ จะถือเป็นยุติตามที่โจทก์เข้าใจในข้อกฎหมายดังที่กล่าวมาในฟ้องเสียทีเดียวหาชอบไม่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเมื่อโจทก์โอนโฉนด ให้เป็นในนามของนายประสพกับพวกถือกรรมสิทธิ์ตามหน้าโฉนด ก็ยังหาได้มีการโอนโฉนด ใส่ชื่อมูลนิธิไม่
ประชุมใหญ่ครั้งที่ 13/2502