คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
สนับ คัมภีรยส

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 637 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 888/2519

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความภาษีอากร: การประเมินภาษีเพิ่มเติมและการอุทธรณ์ไม่ทำให้สิทธิเรียกร้องขาดอายุความ
ห้างโจทก์เป็นนิติบุคคลมีหน้าที่ต้องยื่นรายการที่จำเป็นต้องใช้ในการคำนวณภาษีพร้อมด้วยบัญชีต่าง ๆ ตามที่กฎหมายระบุไว้ต่อเจ้าพนักงานประเมินภายใน 150 วัน นับแต่วันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชี และถ้ามีกำไรสุทธิก็ต้องชำระเงินภาษีที่ต้องเสียต่ออำเภอพร้อมกับรายการที่ยื่นนั้นด้วย ดังบัญญัติไว้ในประมวลรัษฎากร มาตรา 65,68,69 ดังนั้น หนี้ภาษีอากรของโจทก์ได้ถึงกำหนดชำระแล้วตั้งแต่วันที่โจทก์มีหน้าที่ต้องปฏิบัติตามที่บัญญัติไว้ในประมวลรัษฎากร เมื่อนับจากวันที่โจทก์มีหน้าที่ต้องปฏิบัติตามกฎหมายดังกล่าวจนถึงวันที่เจ้าพนักงานประเมินสั่งให้โจทก์ชำระภาษีที่ขาดเพิ่มเติมให้ครบถ้วนยังไม่ครบ 10 ปี สิทธิเรียกร้องเก็บภาษีของกรมสรรพากรจำเลยจึงยังไม่ขาดอายุความส่วนที่ห้าง โจทก์อุทธรณ์คำสั่งการประเมินต่อเจ้าพนักงานอุทธรณ์ และคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์แจ้งคำวินิจฉัยอุทธรณ์ให้ห้างโจทก์ทราบเมื่อพ้น 10 ปีแล้วนั้นคำวินิจฉัยอุทธรณ์เป็นเพียงข้อวินิจฉัยอุทธรณ์คำสั่งของเจ้าพนักงานประเมินว่าถูกต้องหรือไม่ ควรลดหย่อนภาษีให้ห้างโจทก์หรือไม่เท่านั้น ไม่ใช่คำสั่งเรียกเก็บภาษี ไม่ทำให้สิทธิเรียกร้องค่าภาษีขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 850/2519

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบอกเลิกสัญญาเช่าหลังหมดอายุสัญญาและมีสัญญาใหม่โดยปริยาย การบอกกล่าวล่วงหน้าและการอนุญาตสืบพยาน
จำเลยเช่าที่ดินของโจทก์มีกำหนด 1 ปี โดยทำสัญญากันไว้เป็นหลักฐาน เมื่อสิ้นกำหนดตามสัญญา จำเลยยังคงครอบครองที่ดินที่เช่าอยู่ และโจทก์รู้ความนั้นแล้วไม่ทักท้วง. การเช่าระหว่างโจทก์จำเลยในภายหลังต่อมาจึงถือว่าคู่สัญญาเป็นอันได้ทำสัญญาใหม่ต่อไปไม่มีกำหนดเวลาตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 570 ซึ่งโจทก์ผู้ให้เช่าอาจบอกเลิกสัญญาเช่าตามมาตรา 566 ก็ได้ ดังนี้เมื่อปรากฏว่ากำหนดระยะเวลาชำระค่าเช่ากันเป็นรายเดือนและโจทก์มีหนังสือบอกเลิกสัญญาเช่ากับจำเลย เมื่อวันที่ 8 มกราคม 2516ให้จำเลยออกจากที่เช่าภายในวันที่ 31 มกราคม 2516จำเลยรับหนังสือดังกล่าวเมื่อวันที่ 13 มกราคม 2516 และโจทก์ฟ้องจำเลยในวันที่ 8 มีนาคม 2516 จึงถือได้ว่าโจทก์บอกกล่าวล่วงหน้าก่อนชั่วกำหนดเวลาชำระค่าเช่าระยะหนึ่งแล้วตามมาตรา 566 การบอกกล่าวของโจทก์จึงชอบด้วยกฎหมาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 850/2519 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบอกเลิกสัญญาเช่าที่ดินหลังสัญญาหมดอายุและมีสัญญาใหม่ไม่มีกำหนดเวลา การบอกกล่าวล่วงหน้า และการสืบพยานนอกบัญชี
จำเลยเช่าที่ดินของโจทก์มีกำหนด 1 ปี โดยทำสัญญากันไว้เป็นหลักฐาน เมื่อสิ้นกำหนดตามสัญญา จำเลยยังคงครอบครองที่ดินที่เช่าอยู่ และโจทก์รู้ความนั้นแล้วไม่ทักท้วง การเช่าระหว่างโจทก์จำเลยในภายหลังต่อมาจึงถือว่าคู่สัญญาเป็นอันได้ทำสัญญาใหม่ต่อไปไม่มีกำหนดเวลา ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 570 ซึ่งโจทก์ผู้ให้เช่าอาจบอกเลิกสัญญาเช่าตามมาตรา 566 ก็ได้ ดังนี้ เมื่อปรากฏว่ากำหนดระยะเวลาชำระค่าเช่ากันเป็นรายเดือน และโจทก์มีหนังสือบอกเลิกสัญญาเช่ากับจำเลยเมื่อวันที่ 8 มกราคม 2516 ให้จำเลยออกจากที่เช่าภายในวันที่ 31 มกราคม 2516 จำเลยรับหนังสือดังกล่าวเมื่อวันที่ 13 มกราคม 2516 และโจทก์ฟ้องจำเลยในวันที่ 8 มีนาคม 2516 จึงถือได้ว่าโจทก์บอกกล่าวล่วงหน้าก่อนชั่วกำหนดเวลาชำระค่าเช่าระยะหนึ่งแล้วตามมาตรา 566 การบอกกล่าวของโจทก์จึงชอบด้วยกฎหมาย (อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 845/2490)
แม้ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 87 (2) จะห้ามมิให้ศาลรับฟังพยานหลักฐานฝ่าฝืนมาตรา 88 และมาตรา 90 ก็ตาม แต่ในมาตรา 87 (2) นั้นเอง ก็ได้บัญญัติต่อไปว่า " ฯลฯ แต่ถ้าศาลเห็นว่าเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมจำเป็นจะต้องสืบพยานหลักฐานอันสำคัญซึ่งเกี่ยวกับประเด็นข้อสำคัญในคดี โดยฝ่าฝืนบทบัญญัติของอนุมาตรานี้ ให้ศาลมีอำนาจรับฟังพยานหลักฐานเช่นว่านั้นได้" ดังนั้นการที่โจทก์มิได้ยื่นบัญชีระบุพยาน และศาลชั้นต้นอนุญาตให้โจทก์สืบตัวโจทก์ซึ่งเป็นพยานสำคัญในคดีเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม จึงเป็นการชอบด้วยกฎหมายแล้ว (อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 623/2500)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 804/2519

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องซ้ำในประเด็นการเป็นทายาทและสิทธิในที่ดินหลังศาลตัดสินถึงที่สุดแล้ว
คดีก่อน โจทก์ฟ้องอ้างว่า โจทก์เป็นบุตรและทายาทโดยธรรมของ ฟ. ขอให้ศาลแสดงว่าโจทก์เป็นเจ้าของที่ดินโดยทางรับมรดก ศาลพิพากษาคดีถึงที่สุดแล้ว ว่าโจทก์มิใช่บุตรของ ฟ. ไม่มีสิทธิรับมรดก โจทก์ฟ้องคดีนี้โดยอ้างเหตุว่าโจทก์เป็นบุตรและทายาทโดยธรรมของ ฟ. และเป็นเจ้าของที่ดินแปลงนี้โดยทางรับมรดกอีก เป็นประเด็นเดียวกับคดีก่อน จึงเป็นฟ้องซ้ำ
(วินิจฉัยโดยที่ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 7-8 /2519)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 786/2519 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การตั้งโรงงานแปรรูปไม้โดยฝ่าฝืนเงื่อนไขอนุญาต และความผิดเกี่ยวกับการแปรรูปไม้โดยไม่ได้รับอนุญาต
จำเลยที่ 1 ได้รับอนุญาตให้ตั้งโรงงานแปรรูปไม้โดยใช้แรงงานคน แล้วฝ่าฝืนข้อกำหนดในใบอนุญาตกลับใช้เครื่องเลื่อยวงเดือนและเครื่องไสกลไฟฟ้าซึ่งเป็นเครื่องจักรกล แปรรูปไม้เช่นนี้ ย่อมเป็นความผิดฐานตั้งโรงงานแปรรูปไม้ตามมาตรา 48 แห่งพระราชบัญญัติป่าไม้ ฯ เมื่อโจทก์ไม่ได้ฟ้องและขอให้ลงโทษจำเลยที่ 2 ฐานนี้ จึงลงโทษจำเลยที่ 2 ฐานร่วมกันตั้งโรงงานแปรรูปไม้ไม่ได้
เมื่อจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นผู้จัดการโรงงานแปรรูปไม้ของจำเลยที่ 1 มีไม้สักแปรรูปไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาต อันเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติป่าไม้ฯ มาตรา 48 ประกอบด้วยมาตรา 73 ส่วนจำเลยที่ 1 ผู้ได้รับอนุญาตให้ตั้งโรงงานแปรรูปไม้และมีไม้ดังกล่าวไว้ในโรงงาน ย่อมเป็นความผิดตามมาตรา 51 ประกอบด้วยมาตรา 72 ทวิ หามีความผิดตามมาตรา 48 อีกไม่ (อ้างฎีกาที่ 1483/2503) แม้โจทก์จะอ้างบทมาตราผิด ศาลฎีกาก็มีอำนาจลงโทษจำเลยที่ 1 ตามฐานความผิดที่ถูกต้องได้
จำเลยที่ 4 และที่ 6 รับจ้างแปรรูปไม้โดยไม่มีใบคู่มือแสดงฐานเป็นคนงานหรือผู้รับจ้างซึ่งเป็นใบอนุญาตที่ออกให้โดยเจ้าพนักงานป่าไม้ ย่อมรู้ดีว่าการทำการแปรรูปไม้โดยไม่ได้รับอนุญาต มีความผิดฐานแปรรูปไม้โดยไม่ได้รับอนุญาต จำเลยที่ 1 ย่อมต้องรับผิดในการดำเนินกิจการเกี่ยวกับการแปรรูปไม้ตามที่ตนได้รับอนุญาตตามมาตรา 49 ทวิ การกระทำของจำเลยที่ 1 และที่ 2 ซึ่งเป็นผู้จัดการ จึงฟังได้ว่าเป็นผู้ว่าจ้าง มีความผิดฐานเป็นผู้ใช้ให้จำเลยที่ 4 ที่ 6 แปรรูปไม้โดยไม่ได้รับอนุญาตด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 786/2519

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดพ.ร.บ.ป่าไม้: ตั้งโรงงานแปรรูปไม้โดยใช้เครื่องจักรกลโดยไม่ได้รับอนุญาต, ครอบครองไม้แปรรูปโดยไม่ได้รับอนุญาต, และใช้จ้างผู้อื่นแปรรูปไม้โดยไม่ได้รับอนุญาต
พระราชบัญญัติป่าไม้ฯ มาตรา 48 แก้ไขโดยประกาศคณะปฏิวัติฉบับที่116 ข้อ 4 วันที่ 10 เมษายน 2515 ผู้ได้รับอนุญาตแปรรูปไม้โดยใช้แรงงาน ทำผิดใบอนุญาตโดยใช้เลื่อยวงเดือนและเครื่องไสกบไฟฟ้าอันเป็นเครื่องจักรกล เป็นความผิดมีโทษตาม มาตรา32
จำเลยที่ 2 มีไม้สักแปรรูปไว้ในครอบครองโดยไม่รับอนุญาตเป็นความผิดตาม มาตรา 48,72 จำเลยที่ 1 ผู้ได้รับอนุญาตตั้งโรงงานแปรรูปไม้โดยใช้แรงงาน มีไม้นั้นไว้ในโรงงานมีความผิดตาม มาตรา 51, 72 ทวิ ไม่ใช่ มาตรา48 โจทก์อ้าง มาตรา 48,72 ศาลลงโทษตามบทมาตราที่ถูกต้องได้
จำเลยที่ 4, ที่ 6 แปรรูปไม้โดยไม่มีคู่มือแสดงฐานะคนงานรับจ้างจำเลยที่ 1 เป็นผู้รับอนุญาตตั้งโรงงานแปรรูปไม้ต้องรับผิดชอบเกี่ยวกับแปรรูปไม้ตามที่ได้รับอนุญาต. จำเลยที่ 2 เป็นผู้จัดการ จำเลยที่ 4, ที่ 6 มีความผิดฐานทำการแปรรูปไม้โดยไม่ได้รับอนุญาต จำเลยที่ 1,2 เป็นผู้ว่าจ้างใช้ให้จำเลยที่ 4, ที่ 6 กระทำผิดแปรรูปไม้โดยไม่ได้รับอนุญาตด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 717/2519

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรุกล้ำทางภารจำยอม: จำเลยต้องรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างที่กีดขวางการใช้ทาง แม้จะสูงจากพื้นดิน
ศาลพิพากษาให้จำเลยเปิดทางภารจำยอมให้มีความกว้าง 3 เมตรตลอดแนวทาง และให้จำเลยรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างที่กีดขวางรุกล้ำทางภารจำยอมดังกล่าว และปรับที่ดินให้มีสภาพเป็นทางสัญจรไปมาตามปกติ จำเลยรื้อถอนตึกแถวที่ปลูกติดกับทางภารจำยอมโดยรื้อถอนส่วนล่างทั้งหมด แต่มีกันสาดคานรับกันสาด กับส่วนบนของอาคารชั้นสองยังรุกล้ำเข้าไปเหนือพื้นดินทางภารจำยอม โดยส่วนของกันสาดรุกล้ำเข้าไป 1.38 เมตร สูงจากพื้นดิน3.30 เมตร และคานรับกันสาดซึ่งอยู่ติดกับกันสาดรุกล้ำเข้าไปครึ่งหนึ่งของกันสาด ส่วนที่ต่ำที่สุดของคานรับกันสาดอยู่ติดกับตัวอาคารสูง 2.67เมตร ดังนี้เมื่อทางภารจำยอมที่พิพาทได้ใช้เป็นทางคนเดินและเป็นทางที่รถยนต์บรรทุกใช้ผ่านเข้าออกได้ สำหรับรถยนต์บรรทุกไม่ได้ความว่าใช้บรรทุกของมีความสูงจากพื้นดินทางภารจำยอมเพียงใด จึงต้องอยู่ในบังคับของกฎหมายโดยบรรทุกของได้ส่วนสูงวัดจากพื้นดินไม่เกิน 3 เมตร ฉะนั้น จำเลยจึงยังมิได้ปฏิบัติตามคำพิพากษาของศาลให้ครบถ้วน และจำเลยต้องรื้อถอนตึกแถวส่วนบนที่ยังกีดขวางรุกล้ำทางภารจำยอมเฉพาะที่มีส่วนสูงจากพื้นดินทางภารจำยอมไม่เกิน 3 เมตรออกไปให้หมด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 717/2519 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ภารจำยอม: การรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างรุกล้ำทางเดิน รถยนต์บรรทุกสูงไม่เกิน 3 เมตร
ศาลพิพากษาให้จำเลยเปิดทางภารจำยอมให้มีความกว้าง 3 เมตร ตลอดแนวทาง และให้จำเลยรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างที่กีดขวางรุกล้ำทางภารจำยอมดังกล่าว และปรับที่ดินให้มีสภาพเป็นทางสัญจรไปมาตามปกติ จำเลยรื้อถอนตึกแถวที่ปลูกติดกับทางภารจำยอมโดยรื้อถอนส่วนล่างทั้งหมด แต่มีกัดสาด คานรับกันสาด กับส่วนบนของอาคารชั้นสองยังรุกล้ำเข้าไปเหนือพื้นดินทางภารจำยอม โดยส่วนของกันสาดรุกล้ำเข้าไป 1.38 เมตร สูงจากพื้นดิน 3.30 เมตร และคานรับกันสาดซึ่งอยู่ติดกับกันสาดรุกล้ำเข้าไปครึ่งหนึ่งของกันสาด ส่วนที่ต่ำที่สุดของคานรับกันสาดอยู่ติดกับตัวอาคารสูง 2.67 เมตร ดังนี้ เมื่อทางภารจำยอมที่พิพาทได้ใช้เป็นทางคนเดินและเป็นทางที่รถยนต์บรรทุกใช้ผ่านเข้าออกได้ สำหรับรถยนต์บรรทุกไม่ได้ความว่าใช้บรรทุกของมีความสูงจากพื้นดินทางภารจำยอมเพียงใด จึงต้องอยู่ในบังคับของกฎหมายโดยบรรทุกของได้ส่วนสูงวัดจากพื้นดินไม่เกิน 3 เมตร ฉะนั้น จำเลยจึงยังมิได้ปฏิบัติตามคำพิพากษาของศาลให้ครบถ้วน และจำเลยต้องรื้อถอนตึกแถวส่วนบนที่ยังกีดขวางรุกล้ำทางภารจำยอมเฉพาะที่มีส่วนสูงจากพื้นดินทางภารจำยอมไม่เกิน 3 เมตรออกไปให้หมด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 698/2519

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ พฤติการณ์การกระทำชำเราเด็กหญิง แม้ไม่สำเร็จก็เป็นความผิดฐานพยายามกระทำชำเรา
จำเลยจับผู้เสียหายซึ่งเป็นเด็กหญิงอายุเพียง 7 ขวบให้ขึ้นไปนอนบนที่นอนพร้อมทั้งแก้ผ้านุ่งผู้เสียหายออกแล้วจำเลยแก้กางเกงแล้วนอนทับ เอาของลับใส่ในของลับผู้เสียหายขยับตัวขึ้นลงอันเป็นลักษณะการลงมือกระทำชำเราและผู้เสียหายรู้สึกเจ็บที่ของลับ ดังนี้ เป็นการเห็นได้แน่ชัดว่าจำเลยมีเจตนากระทำชำเราผู้เสียหาย และได้ลงมือกระทำความผิดแล้ว จำเลยจึงต้องมีความผิดฐานพยายามกระทำชำเรา ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 277 ประกอบด้วยมาตรา 80

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 698/2519 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจตนาและพฤติการณ์การกระทำชำเราเด็ก: การพิจารณาความผิดฐานพยายามกระทำชำเรา
จำเลยขับผู้เสียหายซึ่งเป็นเด็กหญิงอายุเพียง 7 ขวบ ให้ขึ้นไปนอนบนที่นอนพร้อมทั้งแก้ผ้านุ่งผู้เสียหายออก แล้วจำเลยแก้กางเกงแล้วนอนทับ เอาของลับใส่ในของลับผู้เสียหายขยับตัวขึ้นลงอันเป็นลักษณะการลงมือกระทำชำเราและผู้เสียหายรู้สึกเจ็บที่ของลับ ดังนี้ เป็นการเห็นได้แน่ชัดว่าจำเลยมีเจตนากระทำชำเราผู้เสียหาย และได้ลงมือกระทำความผิดแล้ว จำเลยจึงต้องมีความผิดฐานพยายามกระทำชำเรา ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 277 ประกอบด้วยมาตรา 80
of 64