พบผลลัพธ์ทั้งหมด 637 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 473/2519
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผู้รับจ้างลากจูงต้องระมัดระวังเป็นพิเศษในสภาพกระแสน้ำเชี่ยว หากเกิดความเสียหายจากการชนเนื่องจากความประมาทเลินเล่อ ต้องรับผิดชอบค่าเสียหาย
จำเลยรับจ้างลากจูงแพไม้ของโจทก์แล้วแพไม้แตกเพราะชนเสาสะพานขณะลากจูงไป มิใช่ถูกกระแสน้ำพัดขาดลอยแตกไปจำเลยทราบดีว่ากระแสน้ำไหลเชี่ยวจึงมีหน้าที่ต้องระมัดระวังอย่างดีในการลากจูง เมื่อแพไม้ชนเสาสะพานแตกจึงเป็นความบกพร่องของฝ่ายจำเลยเอง ไม่ใช่เหตุสุดวิสัยจำเลยต้องชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์โจทก์มิได้ฟ้องเรียกเอาค่าขาดผลกำไรจากจำเลยค่าเสียหายของโจทก์จึงต้องคิดตามราคาไม้ที่โจทก์ซื้อมา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 462/2519
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนจำนองกรณีลูกหนี้จดจำนองโดยรู้ว่าทำให้เจ้าหนี้เสียเปรียบ
ไม่ว่าโจทก์จะเป็นบุคคลผู้อยู่ในฐานะอันจะให้จดทะเบียนสิทธิของโจทก์ได้ก่อนหรือไม่ แต่ด้วยอำนาจแห่งมูลหนี้ซึ่งเกิดขึ้นเนื่องจากสัญญาระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 กระทำให้จำเลยที่ 1 ผู้เป็นลูกหนี้มีหน้าที่ต้องจดทะเบียนโอนขายที่พิพาทให้แก่โจทก์ผู้เป็นเจ้าหนี้ตามสัญญา แต่จำเลยที่ 1 กลับไปจดทะเบียนจำนองที่พิพาทให้จำเลยที่ 2 ย่อมถือว่าจำเลยที่ 1 ผู้เป็นลูกหนี้ได้กระทำโดยรู้อยู่ว่าจะเป็นทางให้โจทก์ผู้เป็นเจ้าหนี้เสียเปรียบ เมื่อโจทก์อ้างว่าจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นผู้รับจำนองที่พิพาทไว้โดยรู้ข้อเท็จจริงอันเป็นทางให้โจทก์ผู้เป็นเจ้าหนี้เสียเปรียบ โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนจำนองเสียได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 452/2519
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจตนาออกเช็คโดยรู้ว่าไม่มีเงิน: องค์ประกอบความผิดฐานออกเช็คโดยเจตนาทุจริต
การจะเป็นความผิดฐานออกเช็คโดยเจตนาที่จะไม่ให้มีการใช้เงินตามเช็คมิใช่ว่าเมื่อธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินแล้วก็เกิดเป็นความผิดเสมอไป กรณีจะต้องประกอบด้วยว่าเช็คที่ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเช่นนั้น จำเลยได้ออกโดยเจตนาที่จะไม่ให้มีการใช้เงินตามเช็คในวันที่สั่งให้ธนาคารจ่ายเงิน เจตนาดังกล่าวเป็นข้อเท็จจริงอันเป็นองค์ประกอบความผิด เมื่อโจทก์นำสืบแต่เพียงว่าเช็คนั้นถูกนำไปขึ้นเงินภายหลังจากวันที่ที่ จำเลยสั่งให้ธนาคารจ่ายเงินตามเช็คแล้วธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงิน จึงจะฟังว่าในวันที่ที่สั่งธนาคารจ่ายเงินจำเลยไม่มี เงินในบัญชีและมีเจตนาจะไม่ให้มีการใช้เงินตามเช็คนั้นยังไม่แน่นอน จำเลยยังไม่มีความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คฯ มาตรา 3(1)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 452/2519 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจตนาออกเช็คที่ไม่มีเงินในบัญชีเป็นองค์ประกอบความผิดฐานออกเช็คโดยเจตนาทุจริต ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินไม่ใช่ความผิดเสมอไป
การเป็นความผิดฐานออกเช็คโดยเจตนาที่จะไม่ให้มีการใช้เงินตามเช็ค มิใช่ว่าเมื่อธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินแล้วเกิดเป็นความผิดเสมอไป กรณีจะต้องประกอบด้วยว่าเช็คที่ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเช่นนั้น จำเลยได้ออกโดยเจตนาที่จะไม่ให้มีการใช้เงินตามเช็คในวันที่สั่งให้ธนาคารจ่ายเงิน เจตนาดังกล่าวเป็นข้อเท็จจริงอันเป็นองค์ประกอบความผิด เมื่อโจทก์นำสืบแต่เพียงว่าเช็คนั้นถูกนำไปขึ้นเงินภายหลังจากวันที่ที่จำเลยสั่งให้ธนาคารจ่ายเงินตามเช็คแล้วธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงิน จึงจะฟังว่าในวันที่ที่สั่งธนาคารจ่ายเงิน จำเลยไม่มีเงินในบัญชีและมีเจตนาจะไม่ให้มีการใช้เงินตามเช็คนั้นยังไม่แน่นอน จำเลยยังไม่มีความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คฯ มาตรา 3 (1)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 448/2519
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขชื่อจำเลยในคดีไม่ทำให้ขาดอายุความ
โจทก์ฟ้องจำเลยภายในกำหนดอายุความ แต่ระบุชื่อบริษัทจำเลยไม่ถูกต้อง ต่อมาโจทก์ยื่นคำร้องขอแก้ชื่อบริษัทจำเลยให้ถูกต้อง ศาลชั้นต้นอนุญาต การแก้ไขเพิ่มเติมชื่อจำเลยให้ถูกต้องเช่นนี้ หาเป็นเหตุทำให้คดีโจทก์ขาดอายุความไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 442/2519 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ปล้นทรัพย์ด้วยอาวุธ: จำเลยไม่มีอาวุธปืน โทษฐานปล้นทรัพย์ไม่เข้า มาตรา 340 ตรี
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยทั้งสองกับพวกที่ยังไม่ได้ตัวมาฟ้องอีก 4 คน ร่วมกันมีปืนเป็นอาวุธทำการปล้นทรัพย์ ได้ความว่าจำเลยที่ 2 มิได้มีอาวุธอะไรเลย และจำเลยที่ 1 มีเพียงมีดปลายแหลมอย่างเดียวเท่านั้น คนร้ายที่มีปืนคือพวกที่ยังจับตัวไม่ได้ ดังนี้ การกระทำของจำเลยทั้งสองไม่ต้องด้วยประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 340 ตรี แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 11 ข้อ 15
ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำเลยที่ 1 ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 340, 340 ตรี, 83 ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 11 ข้อ 14, 15 ส่วนจำเลยที่ 2 ให้ยกฟ้อง ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เป็นว่าให้ลงโทษจำเลยที่ 2 ตามบทมาตราดังกล่าวด้วย จำเลยที่ 2 ฎีกาดังนี้ แม้จำเลยที่ 1 จะมิได้อุทธรณ์ฎีกา ถ้าศาลฎีกาเห็นว่าการกระทำของจำเลยทั้งสองไม่ต้องด้วยประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 340 ตรี ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 11 ข้อ 15 ศาลฎีกาก็มีอำนาจพิพากษาตลอดไปถึงจำเลยที่ 1 ได้ เพราะเป็นเหตุในลักษณะคดี
ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำเลยที่ 1 ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 340, 340 ตรี, 83 ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 11 ข้อ 14, 15 ส่วนจำเลยที่ 2 ให้ยกฟ้อง ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เป็นว่าให้ลงโทษจำเลยที่ 2 ตามบทมาตราดังกล่าวด้วย จำเลยที่ 2 ฎีกาดังนี้ แม้จำเลยที่ 1 จะมิได้อุทธรณ์ฎีกา ถ้าศาลฎีกาเห็นว่าการกระทำของจำเลยทั้งสองไม่ต้องด้วยประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 340 ตรี ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 11 ข้อ 15 ศาลฎีกาก็มีอำนาจพิพากษาตลอดไปถึงจำเลยที่ 1 ได้ เพราะเป็นเหตุในลักษณะคดี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 442/2519
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การปล้นทรัพย์โดยใช้อาวุธปืน จำเลยไม่มีอาวุธ ศาลฎีกาแก้โทษ
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยทั้งสองกับพวกที่ยังไม่ได้ตัวมาฟ้องอีก 4 คนร่วมกันมีปืนเป็นอาวุธทำการปล้นทรัพย์ ได้ความว่าจำเลยที่ 2 มิได้มีอาวุธอะไรเลย และจำเลยที่ 1 มีเพียงมีดปลายแหลมอย่างเดียวเท่านั้น คนร้ายที่มีปืนคือพวกที่ยังจับตัวไม่ได้ ดังนี้ การกระทำของจำเลยทั้งสองไม่ต้องด้วยประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 340 ตรีแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 11 ข้อ 15
ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำเลยที่ 1 ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 340,340 ตรี,83 ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 11 ข้อ 14,15 ส่วนจำเลยที่ 2 ให้ยกฟ้อง ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เป็นว่าให้ลงโทษจำเลยที่ 2 ตามบทมาตราดังกล่าวด้วยจำเลยที่ 2 ฎีกา ดังนี้ แม้จำเลยที่ 1 จะมิได้อุทธรณ์ฎีกา ถ้าศาลฎีกาเห็นว่าการกระทำของจำเลยทั้งสองไม่ต้องด้วยประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 340 ตรี ประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 11 ข้อ 15 ศาลฎีกาก็มีอำนาจพิพากษาตลอดไปถึงจำเลยที่ 1 ได้ เพราะเป็นเหตุในลักษณะคดี.
ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำเลยที่ 1 ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 340,340 ตรี,83 ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 11 ข้อ 14,15 ส่วนจำเลยที่ 2 ให้ยกฟ้อง ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เป็นว่าให้ลงโทษจำเลยที่ 2 ตามบทมาตราดังกล่าวด้วยจำเลยที่ 2 ฎีกา ดังนี้ แม้จำเลยที่ 1 จะมิได้อุทธรณ์ฎีกา ถ้าศาลฎีกาเห็นว่าการกระทำของจำเลยทั้งสองไม่ต้องด้วยประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 340 ตรี ประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 11 ข้อ 15 ศาลฎีกาก็มีอำนาจพิพากษาตลอดไปถึงจำเลยที่ 1 ได้ เพราะเป็นเหตุในลักษณะคดี.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 433/2519
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ที่ดินสาธารณสมบัติ: สิทธิครอบครองของผู้ได้รับอนุญาตจากนิคมฯ เหนือกว่าการครอบครองโดยมิชอบ
ที่พิพาทเป็นที่ดินอยู่ภายในแนวเขตของการจัดสรรนิคมสร้างตนเองของกรมประชาสงเคราะห์ ตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 246 ลงวันที่ 3 พฤศจิกายน 2515 ดังนี้ ที่พิพาทเป็นที่หวงห้ามตามพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตหวงห้ามที่ดินในท้องที่ตำบลพรหมพิราม ตำบลหนองแขม ตำบลมะต้องตำบลวงฆ้องตำบลหอกลอง ตำบลวัดโบสถ์ และตำบลท่างาม อำเภอพรหมพิราม จังหวัดพิษณุโลก พ.ศ.2487 ซึ่งออกตามความในพระราชบัญญัติว่าด้วยการหวงห้ามที่ดินรกร้างว่างเปล่าอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน พ.ศ.2478 ถึงแม้ว่าพระราชบัญญัติดังกล่าวถูกยกเลิกโดยพระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายที่ดิน พ.ศ.2497 ที่พิพาทคงเป็นที่หวงห้ามต่อไปตลอดมาจนบัดนี้ ตามมาตรา 10 แห่งพระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายที่ดิน พ.ศ.2497 นั้นที่พิพาทย่อมเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1304 โจทก์ครอบครองที่พิพาทมาประมาณ 14-15 ปี แต่ก็เป็นระยะเวลาภายหลังที่ที่พิพาทตกเป็นที่หวงห้ามตามกฎหมายแล้ว และไม่ปรากฏว่าโจทก์ได้รับอนุญาตจากเจ้าหน้าที่ การครอบครองที่พิพาทของโจทก์จึงไม่ชอบด้วยกฎหมายจำเลยทั้งสี่ได้รับอนุญาตให้เข้าทำกินในที่พิพาทโดยเจ้าหน้าที่ของนิคมสร้างตนเองของกรมประชาสงเคราะห์เป็นผู้จัดให้เช่นนี้ จำเลยทั้งสี่ย่อมมีสิทธิครอบครองที่พิพาท การกระทำของจำเลยไม่เป็นการละเมิดต่อโจทก์ โจทก์ไม่มีสิทธิครอบครองที่พิพาท และไม่มีอำนาจฟ้องจำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 433/2519 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ที่ดินสาธารณสมบัติ – สิทธิครอบครอง – การจัดสรรนิคม – การครอบครองก่อนกฎหมายหวงห้าม
ที่พิพาทเป็นที่ดินอยู่ภายในแนวเขตของการจัดสรรนิคมสร้างตนเองของกรมประชาสงเคราะห์ ตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 246 ลงวันที่ 3 พฤศจิกายน 2515 ดังนี้ ที่พิพาทเป็นที่หวงห้ามตามพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตหวงห้ามที่ดินในท้องที่ตำบลพรหมพิราม ตำบลหนองแขม ตำบลมะต้อง ตำบลวงฆ้อง ตำบลหอกลอง ตำบลวัดโบสถ์ และตำบลท่างาม อำเภอพรหมพิราม จังหวัดพิษณุโลก พ.ศ. 2487 ซึ่งออกตามความในพระราชบัญญํติว่าด้วยการหวงห้ามที่ดินรกร้างว่างเปล่าอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน พ.ศ. 2478 ถึงแม้ว่าพระราชบัญญัติดังกล่าวถูกยกเลิกโดยพระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายที่ดิน พ.ศ. 2497 ที่พิพาทคงเป็นที่หวงห้ามต่อไปตลอดมาจนบัดนี้ ตามมาตรา 10 แห่งพระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายที่ดิน พ.ศ. 2497 นั้น ที่พิพาทย่อมเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1304 โจทก์ครอบครองที่พิพาทมาประมาณ 14 - 15 ปี แต่ก็เป็นระยะเวลาภายหลังที่ที่พิพาทตกเป็นที่หวงห้ามตามกฎหมายแล้ว และไม่ปรากฏว่าโจทก์ได้รับอนุญาตจากเจ้าหน้าที่ การครอบครองที่พิพาทของโจทก์จึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย จำเลยทั้งสี่ได้รับอนุญาตให้เข้าทำกินในที่พิพาทโดยเจ้าหน้าที่ของนิคมสร้างตนเองของกรมประชาสงเคราะห์เป็นผู้จัดให้เช่นนี้ จำเลยทั้งสี่ย่อมมีสิทธิครอบครองที่พิพาท การกระทำของจำเลยไม่เป็นการละเมิดต่อโจทก์ โจทก์ไม่มีสิทธิครอบครองที่พิพาท และไม่มีอำนาจฟ้องจำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 408/2519 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจสอบสวนคดีอาญาข้ามเขต และข้อจำกัดการฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง
ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำคุกจำเลยแต่ละกระทงไม่เกิน 5 ปี ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน ต้องห้ามฎีกาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218
ฎีกาจำเลยที่ว่าความผิดฐานข่มขืนกระทำชำเราเกิดขึ้นในท้องที่สถานีตำรวจนครบาลห้วยขวาง พนักงานสอบสวนสถานีตำรวจนครบาลลุมพินี 2 จึงไม่มีอำนาจสอบสวนนั้น แม้ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วแต่ในศาลชั้นต้น แต่เป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกาวินิจฉัยให้
จำเลยพรากผู้เยาว์ไปจากบิดามารดาผู้ปกครอง เหตุเกิดในท้องที่สถานีตำรวจนครบาลลุมพินี 2 และได้ข่มขืนกระทำชำเรากับทำให้เสียทรัพย์ในท้องที่สถานีตำรวจนครบาลห้วยขวางดังนี้จำเลยกระทำผิดหลายกรรม กระทำในท้องที่ต่าง ๆ กัน พนักงานสอบสวนในท้องที่หนึ่งท้องที่ใดที่เกี่ยวข้องย่อมมีอำนาจสอบสวนได้ตามมาตรา 19 (4) แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
ฎีกาจำเลยที่ว่าความผิดฐานข่มขืนกระทำชำเราเกิดขึ้นในท้องที่สถานีตำรวจนครบาลห้วยขวาง พนักงานสอบสวนสถานีตำรวจนครบาลลุมพินี 2 จึงไม่มีอำนาจสอบสวนนั้น แม้ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วแต่ในศาลชั้นต้น แต่เป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกาวินิจฉัยให้
จำเลยพรากผู้เยาว์ไปจากบิดามารดาผู้ปกครอง เหตุเกิดในท้องที่สถานีตำรวจนครบาลลุมพินี 2 และได้ข่มขืนกระทำชำเรากับทำให้เสียทรัพย์ในท้องที่สถานีตำรวจนครบาลห้วยขวางดังนี้จำเลยกระทำผิดหลายกรรม กระทำในท้องที่ต่าง ๆ กัน พนักงานสอบสวนในท้องที่หนึ่งท้องที่ใดที่เกี่ยวข้องย่อมมีอำนาจสอบสวนได้ตามมาตรา 19 (4) แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา