พบผลลัพธ์ทั้งหมด 637 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1396/2518
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในทรัพย์สินของภริยาในกรณีมีภริยาหลายคน และรูปแบบพินัยกรรมลับ
ภริยา 2 คนก่อนบรรพ 5 ซึ่งสามียกย่องเป็นภรรยาเสมอเท่าเทียมกัน ไม่ยกใครเป็นภรรยาหลวง ทั้ง 2 คนมีส่วนได้ทรัพย์สินบริคณห์และมรดกในฐานะภริยาเท่ากัน คือคนละครึ่งในหนึ่งในสามของสินสมรสซึ่งเป็นส่วนของภริยา
พินัยกรรมที่ผู้ทำพินัยกรรมลงลายมือชื่อบรรจุซอง ผู้ทำพินัยกรรมลงชื่อตามรอยผนึก กรมการอำเภอจดข้อความที่ซองยืนยันและลงลายมือชื่อรับรองประทับตราประจำตำแหน่งมีพยานลงลายมือชื่อรับรอง 2 คน ทั้งระบุชื่อและที่อยู่ผู้พิมพ์พินัยกรรม ดังนี้เป็นพินัยกรรมลับ ตามมาตรา 1660
ข้อต่อสู้ว่าฟ้องเคลือบคลุม ซึ่งไม่กล่าวว่าเคลือบคลุมตรงไหนอย่างไร ไม่แสดงเหตุผลโดยชัดแจ้ง คำให้การนี้ไม่ชอบด้วย ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 177 วรรค 2 ศาลไม่รับวินิจฉัย
พินัยกรรมที่ผู้ทำพินัยกรรมลงลายมือชื่อบรรจุซอง ผู้ทำพินัยกรรมลงชื่อตามรอยผนึก กรมการอำเภอจดข้อความที่ซองยืนยันและลงลายมือชื่อรับรองประทับตราประจำตำแหน่งมีพยานลงลายมือชื่อรับรอง 2 คน ทั้งระบุชื่อและที่อยู่ผู้พิมพ์พินัยกรรม ดังนี้เป็นพินัยกรรมลับ ตามมาตรา 1660
ข้อต่อสู้ว่าฟ้องเคลือบคลุม ซึ่งไม่กล่าวว่าเคลือบคลุมตรงไหนอย่างไร ไม่แสดงเหตุผลโดยชัดแจ้ง คำให้การนี้ไม่ชอบด้วย ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 177 วรรค 2 ศาลไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1173/2518
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เขตอำนาจศาล: คดีบุกรุกทำลายทรัพย์สินบนที่ดิน
คำฟ้องว่าจำเลยนำคนงานลูกจ้างบุกรุกเข้ามาโค่นตัดฟันต้นผลอาสิน ขอให้บังคับจำเลยใช้ค่าเสียหาย และห้ามจำเลยกับบริวารมิให้เกี่ยวข้องรบกวนสิทธิครอบครองทำความเสียหายแก่โจทก์ต่อไปเช่นนี้เป็นคำฟ้องเกี่ยวด้วยอสังหาริมทรัพย์โจทก์มีสิทธิเสนอคำฟ้องต่อศาลที่ทรัพย์เหล่านั้นต้องอยู่ในเขตศาลได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 4(1)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1055/2518
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยกข้อต่อสู้ทางอายุความและฟ้องซ้อน ศาลฎีกาไม่วินิจฉัยหากไม่ยกขึ้นในคำให้การ
จำเลยให้โจทก์เข้าอยู่ในตึกโดยรับเงินไว้จำนวนหนึ่งแต่จำเลยไม่ทำหนังสือสัญญาให้โจทก์เช่า กลับฟ้องและศาลพิพากษาขับไล่โจทก์ จำเลยต้องคืนเงินที่รับไว้แก่โจทก์
จำเลยไม่ยกอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา419 ขึ้นต่อสู้ในคำให้การ จำเลยยกขึ้นเป็นข้อฎีกาไม่ได้
ข้ออ้างว่าฟ้องซ้อนตาม มาตรา173(1) ถ้าไม่ยกขึ้นต่อสู้ในคำให้การ ศาลฎีกาไม่เห็นควรยกขึ้นวินิจฉัย
จำเลยไม่ยกอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา419 ขึ้นต่อสู้ในคำให้การ จำเลยยกขึ้นเป็นข้อฎีกาไม่ได้
ข้ออ้างว่าฟ้องซ้อนตาม มาตรา173(1) ถ้าไม่ยกขึ้นต่อสู้ในคำให้การ ศาลฎีกาไม่เห็นควรยกขึ้นวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1051/2518
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องผู้ค้ำประกันความเสียหายจากลูกจ้างละเมิด: 1 ปี ตาม ป.พ.พ.มาตรา 448
ค้ำประกันการทำงานของลูกจ้าง ลูกจ้างทำละเมิด อายุความฟ้องผู้ค้ำประกันมีกำหนด 1 ปี ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 448
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 996/2518 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลงโทษกระทงความผิดหลายกรรมต่างกันในคดียาเสพติด แม้โจทก์มิได้อ้างมาตรา 91 โดยตรง
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยบังอาจกระทำความผิดต่อกฎหมายหลายกรรมต่างกัน โดยมีเฮโรอีนไฮโดรคลอไรด์ ซึ่งเป็นเกลือของเฮโรอีนอันเป็นยาเสพติดให้โทษไว้ในความครอบครองเพื่อจำหน่าย และได้บังอาจจำหน่ายยาเสพติดให้โทษดังกล่าวแล้วอีกจำนวนหนึ่งให้แก่ผู้มีชื่อด้วย จำเลยให้การรับสารภาพ โจทก์สืบพยานประกอบคำรับสารภาพได้ความว่า จำเลยมีเฮโรอีนไว้เพื่อจำหน่ายจำนวนหนึ่งและจำหน่ายเฮโรอีนอีกจำนวนหนึ่ง ดังนี้การกระทำของจำเลยแยกได้เป็น 2 กระทง แต่ละกระทงเป็นความผิดตามกฎหมายถึงแม้ว่ากฎหมายจะบัญญัติความผิดดังกล่าวไว้ในมาตราเดียวกัน แต่การกระทำความผิดอาจแยกเป็นกระทง ๆ ได้ ซึ่งแล้วแต่ข้อเท็จจริงแห่งคดีและการบรรยายฟ้องของโจทก์ประกอบกัน
จำเลยกระทำความผิดหลังจากที่ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 11 มีผลใช้บังคับแล้ว ตามประกาศดังกล่าวข้อ 2 ได้แก้ไขยกเลิกประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91 โดยให้ลงโทษผู้กระทำการอันเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน ทุกกรรมเป็นกระทงความผิดไป แม้โจทก์จะมิได้อ้างประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91 มาในคำขอท้ายฟ้อง แต่โจทก์ก็ได้บรรยายฟ้องว่าจำเลยทั้งสองกระทำความผิดต่อกฎหมายหลายกรรม ดังนั้น ศาลมีอำนาจเรียงกระทงลงโทษจำเลยฐานมีเฮโรอีนไว้ในความครอบครองเพื่อจำหน่ายและจำหน่ายเฮโรอีนได้
จำเลยกระทำความผิดหลังจากที่ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 11 มีผลใช้บังคับแล้ว ตามประกาศดังกล่าวข้อ 2 ได้แก้ไขยกเลิกประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91 โดยให้ลงโทษผู้กระทำการอันเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน ทุกกรรมเป็นกระทงความผิดไป แม้โจทก์จะมิได้อ้างประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91 มาในคำขอท้ายฟ้อง แต่โจทก์ก็ได้บรรยายฟ้องว่าจำเลยทั้งสองกระทำความผิดต่อกฎหมายหลายกรรม ดังนั้น ศาลมีอำนาจเรียงกระทงลงโทษจำเลยฐานมีเฮโรอีนไว้ในความครอบครองเพื่อจำหน่ายและจำหน่ายเฮโรอีนได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 996/2518
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเรียงกระทงความผิดในคดียาเสพติด: การจำหน่ายและครอบครองเพื่อจำหน่ายเป็นกระทงความผิดต่างกัน แม้กฎหมายบัญญัติไว้ในมาตราเดียวกัน
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยบังอาจกระทำความผิดต่อกฎหมายหลายกรรมต่างกัน โดยมีเฮโรอีนไฮโดรคลอไรด์ซึ่งเป็นเกลือของเฮโรอีนอันเป็นยาเสพติดให้โทษไว้ในความครอบครองเพื่อจำหน่าย และได้บังอาจจำหน่ายยาเสพติดให้โทษดังกล่าวแล้วอีกจำนวนหนึ่งให้แก่ผู้มีชื่อด้วย จำเลยให้การรับสารภาพ โจทก์สืบพยานประกอบคำรับสารภาพได้ความว่าจำเลยมีเฮโรอีนไว้เพื่อจำหน่ายจำนวนหนึ่งและจำหน่ายเฮโรอีนอีกจำนวนหนึ่ง ดังนี้การกระทำของจำเลยแยกได้เป็น 2 กระทง แต่ละกระทงเป็นความผิดตามกฎหมายถึงแม้ว่ากฎหมายจะบัญญัติความผิดดังกล่าวไว้ในมาตราเดียวกัน แต่การกระทำความผิดอาจแยกเป็นกระทงๆได้ ซึ่งแล้วแต่ข้อเท็จจริงแห่งคดีและการบรรยายฟ้องของโจทก์ประกอบกัน
จำเลยกระทำความผิดหลังจากที่ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 11 มีผลใช้บังคับแล้วตามประกาศดังกล่าวข้อ 2 ได้แก้ไขยกเลิกประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91 โดยให้ลงโทษผู้กระทำการอันเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน ทุกกรรมเป็นกระทงความผิดไปแม้โจทก์จะมิได้อ้างประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91 มาในคำขอท้ายฟ้อง แต่โจทก์ก็ได้บรรยายฟ้องว่าจำเลยทั้งสองกระทำความผิดต่อกฎหมายหลายกรรม ดังนั้น ศาลมีอำนาจเรียงกระทงลงโทษจำเลยฐานมีเฮโรอีนไว้ในความครอบครองเพื่อจำหน่ายและจำหน่ายเฮโรอีนได้
จำเลยกระทำความผิดหลังจากที่ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 11 มีผลใช้บังคับแล้วตามประกาศดังกล่าวข้อ 2 ได้แก้ไขยกเลิกประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91 โดยให้ลงโทษผู้กระทำการอันเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน ทุกกรรมเป็นกระทงความผิดไปแม้โจทก์จะมิได้อ้างประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91 มาในคำขอท้ายฟ้อง แต่โจทก์ก็ได้บรรยายฟ้องว่าจำเลยทั้งสองกระทำความผิดต่อกฎหมายหลายกรรม ดังนั้น ศาลมีอำนาจเรียงกระทงลงโทษจำเลยฐานมีเฮโรอีนไว้ในความครอบครองเพื่อจำหน่ายและจำหน่ายเฮโรอีนได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 968/2518
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแบ่งทรัพย์สินหลังหย่า: หลักการสันนิษฐานเรื่องส่วนแบ่งสินเดิม
เมื่อไม่ปรากฏว่าสามีภริยาได้ออกเงินสร้างบ้านอันเป็นสินเดิมเป็นส่วนสัดคนละเท่าใด จึงต้องด้วยข้อสันนิษฐานของกฎหมายว่ามีส่วนเป็นเจ้าของบ้านเท่าๆ กัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 968/2518 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแบ่งทรัพย์สินหลังหย่า: ข้อสันนิษฐานเรื่องส่วนแบ่งทรัพย์สินเดิมเมื่อไม่มีหลักฐานการลงทุน
เมื่อไม่ปรากฏว่าสามีภริยาได้ออกเงินสร้างบ้านอันเป็นสินเดิมเป็นส่วนสัดคนละเท่าใด จึงต้องด้วยข้อสันนิษฐานของกฎหมายว่ามีส่วนเป็นเจ้าของบ้านเท่า ๆ กัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 965/2518
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สรรพากรจังหวัดประมาทเลินเล่อไม่ตรวจตัดปีภาษี ทำให้เกิดการทุจริตและเสียหายต่อภาษีอากร
โจทก์บรรยายฟ้องไว้แล้วว่า จำเลยที่ 3 ได้ละเลยไม่ควบคุมตรวจตราในการปฏิบัติหน้าที่ของจำเลยที่ 1 จำเลยที่2 และของ ส.เป็นเหตุให้จำเลยที่ 1 จำเลยที่ 2 ปฏิบัติหน้าที่บกพร่องและทำให้ ส. ทุจริตยักยอกเงินไปตามจำนวนในฟ้องการกระทำของจำเลยที่ 3 เป็นการปฏิบัติหน้าที่โดยประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง เป็นการทำละเมิดต่อโจทก์ โจทก์ได้รับความเสียหายแม้ฟ้องโจทก์จะไม่บรรยายว่าจำเลยที่ 3 ไม่ตรวจแบบรายการเสียภาษีบัญชีงบเดือนเงินผลประโยชน์ของแผ่นดินฉบับใด เดือนใด ปีใด จำนวนเท่าใด ไม่ตรวจตัดปีที่ไหน ก็เป็นแต่เพียงรายละเอียดที่โจทก์จะนำสืบทั้งจำเลยที่ 3 ก็ให้การต่อสู้คดีได้โดยไม่ผิดหลง ฟ้องโจทก์เกี่ยวกับจำเลยที่ 3 จึงไม่เคลือบคลุม
เงินที่ ส. เสมียนพนักงานแผนกสรรพากรอำเภอยักยอกไป เป็นเงินภาษีอากรซึ่งกรมสรรพากรมีอำนาจหน้าที่จัดเก็บตามกฎหมายกรมสรรพากรเป็นหน่วยราชการขึ้นต่อกระทรวงการคลังโจทก์ เมื่อ ส. ซึ่งเป็นเจ้าพนักงานในบังคับบัญชาของโจทก์จัดเก็บเงินภาษีอากรดังกล่าวมาได้ ย่อมเป็นเงินผลประโยชน์ของแผ่นดินอยู่ในความรับผิดชอบของโจทก์แล้ว โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องเกี่ยวกับเงินนี้
การมอบอำนาจให้ดำเนินการฟ้องร้องนั้น ย่อมรวมถึงมอบอำนาจให้ดำเนินคดีต่อไปหลังจากฟ้องคดีแล้วด้วย
กรณีข้าราชการกระทำละเมิดต่อทางราชการนั้น จะถือว่ากรมหรือกระทรวงเจ้าสังกัดรู้การละเมิดและตัวผู้ต้องรับผิดตั้งแต่วันที่เจ้าหน้าที่เบื้องต้นในกรมหรือกระทรวงเสนอความเห็นหาได้ไม่ ต้องนับตั้งแต่วันที่อธิบดีหรือรัฐมนตรีพิจารณาเรื่องราวและความเห็นนั้นแล้วส. เป็นข้าราชการสังกัดกรมสรรพากรยักยอกทรัพย์ที่อยู่ในอำนาจหน้าที่ของกรมสรรพากร กรมสรรพากรเป็นนิติบุคคล มีอำนาจที่จะนำคดีขึ้นสู่ศาลได้ ฉะนั้นถ้ากรมสรรพากรรู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้จะพึงใช้ค่าสินไหมทดแทนมาเกินหนึ่งปีแล้วไม่มีการฟ้องร้องคดีย่อมขาดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 448 กรมสรรพากรเป็นส่วนราชการสังกัดกระทรวงการคลัง ถ้ากระทรวงการคลังมาเป็นโจทก์ฟ้องภายหลังหนึ่งปีนับแต่กรมสรรพากรรู้ดังกล่าว ก็ต้องถือว่าขาดอายุความเช่นเดียวกัน (อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 226,227/2505) อธิบดีกรมสรรพากรกับ อ.ก.พ.กรม ได้ประชุมกัน 3 ครั้ง เพื่อพิจารณาหาตัวผู้จะต้องรับผิดในทางแพ่ง กรณี ส. ยักยอกทรัพย์ ในการประชุมครั้งที่ 3 ที่ประชุมเห็นว่าจำเลยที่ 3 ไม่ต้องรับผิด แสดงว่าอธิบดีกรมสรรพากรได้รู้ตัวผู้ต้องรับผิดใช้เงินรายนี้ในวันเสร็จสิ้นการประชุมครั้งสุดท้ายนั่นเองเมื่อกรมสรรพากรรายงานมติการประชุมไปยังกระทรวงการคลังกระทรวงการคลังพิจารณาแล้วสั่งให้จำเลยที่ 3 รับผิดด้วยและได้ฟ้องจำเลยที่ 3 เป็นคดีนี้ภายในหนึ่งปีนับแต่กรมสรรพากรรู้ดังกล่าวฟ้องโจทก์สำหรับจำเลยที่ 3 ยังไม่ขาดอายุความ
กรมสรรพากรได้กำหนดวิธีการตรวจตัดปีไว้ให้ตรวจเป็นรายเดือนมีรายละเอียดวิธีตรวจเป็นข้อๆ และระบุให้สรรพากรจังหวัดเป็นผู้ตรวจสอบส. เสมียนพนักงานแผนกสรรพากรอำเภอได้เริ่มทำการทุจริตยักยอกเงินภาษีอากรที่ ส. รับชำระไว้ไปตั้งแต่ปีพ.ศ.2503 จนถึงปลายปีพ.ศ.2505ถ้าจำเลยที่ 3 ซึ่งดำรงตำแหน่งสรรพากรจังหวัดปฏิบัติการตรวจตัดปีตามวิธีการที่กำหนดทุกเดือน ก็จะทราบว่ายอดเงินในแบบรายการเสียภาษีกับยอดเงินที่เก็บได้ในเดือนหนึ่งๆ ไม่ตรงกันและเหตุที่ไม่ตรงกันก็เพราะ ส. ได้กระทำการทุจริต แต่จำเลยที่ 3 มิได้ทำการตรวจตัดปีเป็นรายเดือนตามระเบียบ จึงเพิ่งตรวจพบยอดเงินไม่ตรงกันในปลายปี พ.ศ.2505 แม้จำเลยที่ 3 ได้มอบให้จำเลยที่ 2 ร่วมกับเจ้าหน้าที่อื่นทำการตรวจสอบแทนก็ตาม จำเลยที่ 3 ผู้เป็นสรรพากรจังหวัดมีอำนาจหน้าที่ตามกฎหมาย เป็นผู้บังคับบัญชาของจำเลยที่ 1จำเลยที่ 2 และของ ส. ก็ยังคงต้องรับผิดชอบอยู่นั่นเอง เพราะจำเลยที่ 3 เป็นผู้ควบคุมงาน มีหน้าที่ควบคุมการเก็บหรือรับเงินผลประโยชน์ จะต้องไม่ละเลยการตรวจตราในหน้าที่ตามระเบียบการที่ได้วางไว้การกระทำของจำเลยที่3 จึงเป็นการกระทำโดยประมาทเลินเล่อกระทำต่อโจทก์โดยผิดกฎหมายให้โจทก์ได้รับความเสียหายแก่ทรัพย์สินภาษีอากรที่โจทก์จะพึงได้รับ ถือได้ว่าเป็นการกระทำละเมิดต่อโจทก์
เงินที่ ส. เสมียนพนักงานแผนกสรรพากรอำเภอยักยอกไป เป็นเงินภาษีอากรซึ่งกรมสรรพากรมีอำนาจหน้าที่จัดเก็บตามกฎหมายกรมสรรพากรเป็นหน่วยราชการขึ้นต่อกระทรวงการคลังโจทก์ เมื่อ ส. ซึ่งเป็นเจ้าพนักงานในบังคับบัญชาของโจทก์จัดเก็บเงินภาษีอากรดังกล่าวมาได้ ย่อมเป็นเงินผลประโยชน์ของแผ่นดินอยู่ในความรับผิดชอบของโจทก์แล้ว โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องเกี่ยวกับเงินนี้
การมอบอำนาจให้ดำเนินการฟ้องร้องนั้น ย่อมรวมถึงมอบอำนาจให้ดำเนินคดีต่อไปหลังจากฟ้องคดีแล้วด้วย
กรณีข้าราชการกระทำละเมิดต่อทางราชการนั้น จะถือว่ากรมหรือกระทรวงเจ้าสังกัดรู้การละเมิดและตัวผู้ต้องรับผิดตั้งแต่วันที่เจ้าหน้าที่เบื้องต้นในกรมหรือกระทรวงเสนอความเห็นหาได้ไม่ ต้องนับตั้งแต่วันที่อธิบดีหรือรัฐมนตรีพิจารณาเรื่องราวและความเห็นนั้นแล้วส. เป็นข้าราชการสังกัดกรมสรรพากรยักยอกทรัพย์ที่อยู่ในอำนาจหน้าที่ของกรมสรรพากร กรมสรรพากรเป็นนิติบุคคล มีอำนาจที่จะนำคดีขึ้นสู่ศาลได้ ฉะนั้นถ้ากรมสรรพากรรู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้จะพึงใช้ค่าสินไหมทดแทนมาเกินหนึ่งปีแล้วไม่มีการฟ้องร้องคดีย่อมขาดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 448 กรมสรรพากรเป็นส่วนราชการสังกัดกระทรวงการคลัง ถ้ากระทรวงการคลังมาเป็นโจทก์ฟ้องภายหลังหนึ่งปีนับแต่กรมสรรพากรรู้ดังกล่าว ก็ต้องถือว่าขาดอายุความเช่นเดียวกัน (อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 226,227/2505) อธิบดีกรมสรรพากรกับ อ.ก.พ.กรม ได้ประชุมกัน 3 ครั้ง เพื่อพิจารณาหาตัวผู้จะต้องรับผิดในทางแพ่ง กรณี ส. ยักยอกทรัพย์ ในการประชุมครั้งที่ 3 ที่ประชุมเห็นว่าจำเลยที่ 3 ไม่ต้องรับผิด แสดงว่าอธิบดีกรมสรรพากรได้รู้ตัวผู้ต้องรับผิดใช้เงินรายนี้ในวันเสร็จสิ้นการประชุมครั้งสุดท้ายนั่นเองเมื่อกรมสรรพากรรายงานมติการประชุมไปยังกระทรวงการคลังกระทรวงการคลังพิจารณาแล้วสั่งให้จำเลยที่ 3 รับผิดด้วยและได้ฟ้องจำเลยที่ 3 เป็นคดีนี้ภายในหนึ่งปีนับแต่กรมสรรพากรรู้ดังกล่าวฟ้องโจทก์สำหรับจำเลยที่ 3 ยังไม่ขาดอายุความ
กรมสรรพากรได้กำหนดวิธีการตรวจตัดปีไว้ให้ตรวจเป็นรายเดือนมีรายละเอียดวิธีตรวจเป็นข้อๆ และระบุให้สรรพากรจังหวัดเป็นผู้ตรวจสอบส. เสมียนพนักงานแผนกสรรพากรอำเภอได้เริ่มทำการทุจริตยักยอกเงินภาษีอากรที่ ส. รับชำระไว้ไปตั้งแต่ปีพ.ศ.2503 จนถึงปลายปีพ.ศ.2505ถ้าจำเลยที่ 3 ซึ่งดำรงตำแหน่งสรรพากรจังหวัดปฏิบัติการตรวจตัดปีตามวิธีการที่กำหนดทุกเดือน ก็จะทราบว่ายอดเงินในแบบรายการเสียภาษีกับยอดเงินที่เก็บได้ในเดือนหนึ่งๆ ไม่ตรงกันและเหตุที่ไม่ตรงกันก็เพราะ ส. ได้กระทำการทุจริต แต่จำเลยที่ 3 มิได้ทำการตรวจตัดปีเป็นรายเดือนตามระเบียบ จึงเพิ่งตรวจพบยอดเงินไม่ตรงกันในปลายปี พ.ศ.2505 แม้จำเลยที่ 3 ได้มอบให้จำเลยที่ 2 ร่วมกับเจ้าหน้าที่อื่นทำการตรวจสอบแทนก็ตาม จำเลยที่ 3 ผู้เป็นสรรพากรจังหวัดมีอำนาจหน้าที่ตามกฎหมาย เป็นผู้บังคับบัญชาของจำเลยที่ 1จำเลยที่ 2 และของ ส. ก็ยังคงต้องรับผิดชอบอยู่นั่นเอง เพราะจำเลยที่ 3 เป็นผู้ควบคุมงาน มีหน้าที่ควบคุมการเก็บหรือรับเงินผลประโยชน์ จะต้องไม่ละเลยการตรวจตราในหน้าที่ตามระเบียบการที่ได้วางไว้การกระทำของจำเลยที่3 จึงเป็นการกระทำโดยประมาทเลินเล่อกระทำต่อโจทก์โดยผิดกฎหมายให้โจทก์ได้รับความเสียหายแก่ทรัพย์สินภาษีอากรที่โจทก์จะพึงได้รับ ถือได้ว่าเป็นการกระทำละเมิดต่อโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 965/2518 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สรรพากรจังหวัดละเลยการตรวจตัดปีภาษี ทำให้เกิดการทุจริตและเสียหายต่อรัฐ
โจทก์บรรยายฟ้องไว้แล้วว่า จำเลยที่ 3 ได้ละเลยไม่ควบคุมตรวจตราในการปฏิบัติหน้าที่ของจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 2 และของ ส.เป็นเหตุให้จำเลยที่ 1 จำเลยที่ 2 ปฏิบัติหน้าที่บกพร่องและทำให้ ส.ทุจริตยักยอกเงินไปตามจำนวนในฟ้อง การกระทำของจำเลยที่ 3 เป็นการปฏิบัติหน้าที่โดยประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง เป็นการทำละเมิดต่อโจทก์ โจทก์ได้รับความเสียหาย แม้ฟ้องโจทก์จะไม่บรรยายว่าจำเลยที่ 3 ไม่ตรวจแบบรายการเสียภาษีบัญชีงบเดือน เงินผลประโยชน์ของแผ่นดินฉบับใด เดือนใด ปีใด จำนวนเท่าใด ไม่ตรวจตัดปีที่ไหน ก็เป็นเพียงรายละเอียดที่โจทก์จะนำสืบ ทั้งจำเลยที่ 3 ก็ให้การต่อสู้คีดได้โดยไม่ผิดหลง ฟ้องโจทก์เกี่ยวกับจำเลยที่ 3 จึงไม่เคลือบคลุม
เงินที่ ส.เสมียนพนักงานแผนกสรรพากรอำเภอยักยอกไป เป็นเงินภาษีอากรซึ่งกรมสรรพากรมีอำนาจหน้าที่จัดเก็บตามกฎหมาย กรมสรรพากรเป็นหน่วยราชการขึ้นต่อกระทรวงการคลังโจทก์ เมื่อ ส. ซึ่งเป็นเจ้าพนักงานในบังคับบัญชาของโจทก์จัดเก็บเงินภาษีอากรดังกล่าวมาได้ ย่อมเป็นเงินผลประโยชน์ของแผ่นดินอยู่ในความรับผิดชอบของโจทก์แล้ว โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องเกี่ยวกับเงินนี้
การมอบอำนาจให้ดำเนินการฟ้องร้องนั้น ย่อมรวมถึงมอบอำนาจให้ดำเนินคดีต่อไปหลังจากฟ้องคดีแล้วด้วย
กรณีข้าราชการกระทำละเมิดต่อทางราชการนั้น จะถือว่ากรมหรือกระทรวงเจ้าสังกัดรู้การละเมิดและตัวผู้ต้องรับผิดตั้งแต่วันที่เจ้าหน้าที่เบื้องต้นในกรมหรือกระทรวงเสนอความเห็นหาได้ไม่ ต้องนับตั้งแต่วันที่อธิบดีหรือรัฐมนตรีพิจารณาเรื่องราวและความเห็นนั้นแล้ว ส. เป็นข้าราชการสังกัดกรมสรรพากรยักยอกทรัพย์ที่อยู่ในอำนาจหน้าที่ของกรมสรรพากร กรมสรรพากรเป็นนิติบุคคล มีอำนาจที่จะนำคดีขึ้นสู่ศาลได้ ฉะนั้นถ้ากรมสรรพากรรู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้จะพึงใช้ค่าสินไหมทดแทนมาเกินหนึ่งปีแล้วไม่มีการฟ้องร้อง คดีย่อมขาดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 448 กรมสรรพากรเป็นส่วนราชการสังกัดกระทรวงการคลัง ถ้ากระทรวงการคลังมาเป็นโจทก์ฟ้องภายหลังหนึ่งปีนับแต่กรมสรรพากรรู้ดังกล่าว ก็ต้องถือว่าขาดอายุความเช่นเดียวกัน (อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 226,227/2505) อธิบดีกรมสรรพากรกับ อ.ก.พ.กรมได้ประชุมกัน 3 ครั้ง เพื่อพิจารณาหาตัวผู้จะต้องรับผิดในทางแพ่ง กรณี ส.ยักยอกทรัพย์ ในการประชุมครั้งที่ 3 ที่ประชุมเห็นว่าจำเลยที่ 3 ไม่ต้องรับผิด แสดงว่าอธิบดีกรมสรรพากรได้รู้ตัวผู้ต้องรับผิดใช้เงินรายนี้ในวันเสร็จสิ้นการประชุมครั้งสุดท้ายนั่นเอง เมื่อกรมสรรพากรรายงานมติการประชุมไปยังกระทรวงการคลัง กระทรวงการคลังพิจารณาแล้วสั่งให้จำเลยที่ 3 รับผิดด้วย และได้ฟ้องจำเลยที่ 3 เป็นคดีนี้ภายในหนึ่งปีนับแต่กรมสรรพากรรู้ดังกล่าว ฟ้องโจทก์สำหรับจำเลยที่ 3 ยังไม่ขาดอายุความ
กรมสรรพากรได้กำหนดวิธีการตรวจตัดปีไว้ให้ตรวจเป็นรายเดือน มีรายละเอียดวิธีตรวจเป็นข้อ ๆ และระบุให้สรรพากรจังหวัดเป็นผู้ตรวจสอบ ส.เสมียนพนักงานแผนกสรรพากรอำเภอได้เริ่มทำการทุจริตยักยอกเงินภาษีอากรที่ ส.รับชำระไว้ไปตั้งแต่ปี พ.ศ. 2503 จนถึงปลายปี พ.ศ. 2505 ถ้าจำเลยที่ 3 ซึ่งดำรงตำแหน่งสรรพากรจังหวัดปฏิบัติการตรวจตัดปีตามวิธีการที่กำหนดทุกเดือน ก็จะทราบว่ายอดเงินในแบบรายการเสียภาษีกับยอดเงินที่เก็บได้ในเดือนหนึ่ง ๆ ไม่ตรงกัน และเหตุที่ไม่ตรงกันก็เพราะ ส.ได้กระทำการทุจริต แต่จำเลยที่ 3 มิได้ทำการตรวจตัดปีเป็นรายเดือนตามระเบียบ จึงเพิ่งตรวจพบยอดเงินไม่ตรงกันในปลายปี พ.ศ. 2505 แม้จำเลยที่ 3 ได้มอบให้จำเลยที่ 2 ร่วมกับเจ้าหน้าที่อื่นทำการตรวจสอบแทนก็ตาม จำเลยที่ 3 ผู้เป็นสรรพากรจังหวัดมีอำนาจหน้าที่ตามกฎหมาย เป็นผู้บังคับบัญชาของจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 2 และของ ส. ก็ยังคงต้องรับผิดชอบอยู่นั่นเอง เพราะจำเลยที่ 3 เป็นผู้ควบคุมงาน มีหน้าที่ควบคุมการเก็บหรือรับเงินผลประโยชน์ จะต้องไม่ละเลยการตรวจตราในหน้าที่ตามระเบียบการที่ได้วางไว้ การกระทำของจำเลยที่ 3 จึงเป็นการกระทำโดยประมาทเลินเล่อกระทำต่อโจทก์โดยผิดกฎหมายให้โจทก์ได้รับความเสียหายแก่ทรัพย์สินภาษีอากรที่โจทก์จะพึงได้รับ ถือได้ว่าเป็นการกระทำละเมิดต่อโจทก์
เงินที่ ส.เสมียนพนักงานแผนกสรรพากรอำเภอยักยอกไป เป็นเงินภาษีอากรซึ่งกรมสรรพากรมีอำนาจหน้าที่จัดเก็บตามกฎหมาย กรมสรรพากรเป็นหน่วยราชการขึ้นต่อกระทรวงการคลังโจทก์ เมื่อ ส. ซึ่งเป็นเจ้าพนักงานในบังคับบัญชาของโจทก์จัดเก็บเงินภาษีอากรดังกล่าวมาได้ ย่อมเป็นเงินผลประโยชน์ของแผ่นดินอยู่ในความรับผิดชอบของโจทก์แล้ว โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องเกี่ยวกับเงินนี้
การมอบอำนาจให้ดำเนินการฟ้องร้องนั้น ย่อมรวมถึงมอบอำนาจให้ดำเนินคดีต่อไปหลังจากฟ้องคดีแล้วด้วย
กรณีข้าราชการกระทำละเมิดต่อทางราชการนั้น จะถือว่ากรมหรือกระทรวงเจ้าสังกัดรู้การละเมิดและตัวผู้ต้องรับผิดตั้งแต่วันที่เจ้าหน้าที่เบื้องต้นในกรมหรือกระทรวงเสนอความเห็นหาได้ไม่ ต้องนับตั้งแต่วันที่อธิบดีหรือรัฐมนตรีพิจารณาเรื่องราวและความเห็นนั้นแล้ว ส. เป็นข้าราชการสังกัดกรมสรรพากรยักยอกทรัพย์ที่อยู่ในอำนาจหน้าที่ของกรมสรรพากร กรมสรรพากรเป็นนิติบุคคล มีอำนาจที่จะนำคดีขึ้นสู่ศาลได้ ฉะนั้นถ้ากรมสรรพากรรู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้จะพึงใช้ค่าสินไหมทดแทนมาเกินหนึ่งปีแล้วไม่มีการฟ้องร้อง คดีย่อมขาดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 448 กรมสรรพากรเป็นส่วนราชการสังกัดกระทรวงการคลัง ถ้ากระทรวงการคลังมาเป็นโจทก์ฟ้องภายหลังหนึ่งปีนับแต่กรมสรรพากรรู้ดังกล่าว ก็ต้องถือว่าขาดอายุความเช่นเดียวกัน (อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 226,227/2505) อธิบดีกรมสรรพากรกับ อ.ก.พ.กรมได้ประชุมกัน 3 ครั้ง เพื่อพิจารณาหาตัวผู้จะต้องรับผิดในทางแพ่ง กรณี ส.ยักยอกทรัพย์ ในการประชุมครั้งที่ 3 ที่ประชุมเห็นว่าจำเลยที่ 3 ไม่ต้องรับผิด แสดงว่าอธิบดีกรมสรรพากรได้รู้ตัวผู้ต้องรับผิดใช้เงินรายนี้ในวันเสร็จสิ้นการประชุมครั้งสุดท้ายนั่นเอง เมื่อกรมสรรพากรรายงานมติการประชุมไปยังกระทรวงการคลัง กระทรวงการคลังพิจารณาแล้วสั่งให้จำเลยที่ 3 รับผิดด้วย และได้ฟ้องจำเลยที่ 3 เป็นคดีนี้ภายในหนึ่งปีนับแต่กรมสรรพากรรู้ดังกล่าว ฟ้องโจทก์สำหรับจำเลยที่ 3 ยังไม่ขาดอายุความ
กรมสรรพากรได้กำหนดวิธีการตรวจตัดปีไว้ให้ตรวจเป็นรายเดือน มีรายละเอียดวิธีตรวจเป็นข้อ ๆ และระบุให้สรรพากรจังหวัดเป็นผู้ตรวจสอบ ส.เสมียนพนักงานแผนกสรรพากรอำเภอได้เริ่มทำการทุจริตยักยอกเงินภาษีอากรที่ ส.รับชำระไว้ไปตั้งแต่ปี พ.ศ. 2503 จนถึงปลายปี พ.ศ. 2505 ถ้าจำเลยที่ 3 ซึ่งดำรงตำแหน่งสรรพากรจังหวัดปฏิบัติการตรวจตัดปีตามวิธีการที่กำหนดทุกเดือน ก็จะทราบว่ายอดเงินในแบบรายการเสียภาษีกับยอดเงินที่เก็บได้ในเดือนหนึ่ง ๆ ไม่ตรงกัน และเหตุที่ไม่ตรงกันก็เพราะ ส.ได้กระทำการทุจริต แต่จำเลยที่ 3 มิได้ทำการตรวจตัดปีเป็นรายเดือนตามระเบียบ จึงเพิ่งตรวจพบยอดเงินไม่ตรงกันในปลายปี พ.ศ. 2505 แม้จำเลยที่ 3 ได้มอบให้จำเลยที่ 2 ร่วมกับเจ้าหน้าที่อื่นทำการตรวจสอบแทนก็ตาม จำเลยที่ 3 ผู้เป็นสรรพากรจังหวัดมีอำนาจหน้าที่ตามกฎหมาย เป็นผู้บังคับบัญชาของจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 2 และของ ส. ก็ยังคงต้องรับผิดชอบอยู่นั่นเอง เพราะจำเลยที่ 3 เป็นผู้ควบคุมงาน มีหน้าที่ควบคุมการเก็บหรือรับเงินผลประโยชน์ จะต้องไม่ละเลยการตรวจตราในหน้าที่ตามระเบียบการที่ได้วางไว้ การกระทำของจำเลยที่ 3 จึงเป็นการกระทำโดยประมาทเลินเล่อกระทำต่อโจทก์โดยผิดกฎหมายให้โจทก์ได้รับความเสียหายแก่ทรัพย์สินภาษีอากรที่โจทก์จะพึงได้รับ ถือได้ว่าเป็นการกระทำละเมิดต่อโจทก์