คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
สนับ คัมภีรยส

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 637 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2969/2517 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ตัวการร่วมปล้นทรัพย์จนผู้อื่นถึงแก่ความตาย ต้องรับผิดตามมาตรา 340 วรรคท้าย แม้ไม่ได้ร่วมลงมือฆ่า
จำเลยทั้งสี่ปรึกษากันจะปล้นรถที่ผ่านมา แล้วจอดรถรออยู่เมื่อผู้เสียหายขับรถมาถึง จำเลยที่ 1 ยืนส่องไฟฉายให้รถหยุดผู้เสียหายถามว่ารถเป็นอะไร จำเลยที่ 1 แกล้งบอกว่าไฟช้อตแล้วกระโดดขึ้นรถของจำเลยและขับหนีไปก่อน โดยร้องตะโกนบอกจำเลยที่ 2, 3 และ 4 ว่า จัดการให้เรียบร้อย จำเลยที่ 2, 3 และ 4 ก็จับผู้เสียหายกับพวกที่มาด้วยมัดแล้วยิง พวกผู้เสียหายถูกยิงตายหมด แล้วจำเลยที่ 2, 3, 4 ก็เอารถไป การปล้นทรัพย์รายนี้เป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตายจำเลยที่ 1 ได้ร่วมกระทำการปล้นในระยะแรก แม้มิได้อยู่ด้วยในขณะที่จำเลยอื่นฆ่าเจ้าทรัพย์กับพวกจำเลยที่ 1 ก็ต้องมีความผิดตามวรรคท้ายของมาตรา 340 แห่งประมวลกฎหมายอาญาด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2969/2517

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ตัวการร่วมปล้นทรัพย์เป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย ต้องรับผิดตามมาตรา 340 วรรคท้าย แม้ไม่ได้ร่วมลงมือฆ่า
จำเลยทั้งสี่ปรึกษากันจะปล้นรถที่ผ่านมา แล้วจอดรถรออยู่ เมื่อผู้เสียหายขับรถมาถึง จำเลยที่ 1 ยืนส่องไฟฉายให้รถหยุด ผู้เสียหายถามว่ารถเป็นอะไร จำเลยที่ 1 แกล้งบอกว่าไฟช้อต แล้วกระโดดขึ้นรถของจำเลยและขับหนีไปก่อน โดยร้องตะโกนบอกจำเลยที่ 2,3 และ 4ว่า จัดการให้เรียบร้อย จำเลยที่ 2,3 และ 4 ก็จับผู้เสียหายกับพวกที่มาด้วยมัดแล้วยิง พวกผู้เสียหายถูกยิงตายหมด แล้วจำเลยที่ 2,3,4 ก็เอารถไป การปล้นทรัพย์รายนี้เป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตายจำเลยที่ 1 ได้ร่วมกระทำการปล้นในระยะแรก แม้มิได้อยู่ด้วยในขณะที่จำเลยอื่นฆ่าเจ้าทรัพย์กับพวก จำเลยที่ 1 ก็ต้องมีความผิดตามวรรคท้ายของมาตรา 340 แห่งประมวลกฎหมายอาญาด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2654/2517 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดฐานมีฝิ่นและมูลฝิ่นถือเป็นความผิดกระทงเดียว หากมีพร้อมกัน
ความผิดฐานมีฝิ่นและมูลฝิ่นนั้น กฎหมายต้องการให้เป็นความผิดลักษณะเดียวกัน ฉะนั้น การมีฝิ่นและมูลฝิ่นไว้ในขณะเดียวกันจึงเป็นความผิดแต่กระทงเดียว (อ้างฎีกาที่ 895/2502)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2654/2517

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดฐานมีฝิ่นและมูลฝิ่นถือเป็นความผิดกระทงเดียว หากมีในเวลาเดียวกัน
ความผิดฐานมีฝิ่นและมูลฝิ่นนั้น กฎหมายต้องการให้เป็นความผิดลักษณะเดียวกัน ฉะนั้น การมีฝิ่นและมูลฝิ่นไว้ในขณะเดียวกัน จึงเป็นความผิดแต่กระทงเดียว (อ้างฎีกาที่ 895/2502)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2647/2517

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องเรียกเงินคืนจากข้าราชการ กรณีเบิกจ่ายไม่ชอบด้วยระเบียบ เริ่มนับเมื่อมีเหตุให้ชดใช้คืน
จำเลยเป็นข้าราชการในสังกัดของโจทก์ ตำแหน่งผู้ช่วยผู้ดูแลนักเรียนไทยประจำสถานฑูตในต่างประเทศ มีหน้าที่ควบคุมฝ่ายการเงินและการบัญชีเสมือนเป็นหัวหน้ากองคลังเมื่อทางราชการแต่งตั้งเจ้าหน้าที่ให้ตรวจสอบเงิน แล้วแจ้งให้จำเลยทราบว่าจำเลยเบิกจ่ายใช้เงินไม่ชอบด้วยระเบียบของทางราชการ จำเลยได้แสดงหลักฐานการเบิกจ่ายใช้เงินดังกล่าวให้ทางราชการตรวจสอบ โดยอ้างว่าได้เบิกจ่ายใช้ไปโดยสุจริตและชอบด้วยระเบียบแล้ว แม้เงินนั้นจำเลยจะได้ถอนจากธนาคารไปในระหว่าง พ.ศ.2501 ถึง 2505 แต่ใน พ.ศ.2506 จำเลยก็ได้นำเงินเข้าฝากธนาคารบางส่วนจึงยังฟังไม่ได้ว่าจำเลยได้เอาเงินของทางราชการไปเป็นส่วนตัวตั้งแต่วันที่ถอนเงิน เพราะจำเลยมีหน้าที่ดูแลรักษาเงินดังกล่าวแทนทางราชการอยู่ จะถือว่าจำเลยได้กระทำละเมิดนับแต่วันที่จำเลยได้ถอนเงินจากธนาคารหาได้ไม่ และเมื่อทางราชการได้ตรวจสอบใบสำคัญในการใช้จ่ายเงินที่จำเลยเบิกมาจากธนาคารแล้วเห็นว่ามีบางรายการจำเลยใช้จ่ายไปโดยไม่ชอบได้สั่งให้จำเลยใช้เงินคืน จึงต้องถือว่าเงินที่สั่งให้ใช้คืนนั้นเป็นเงินของทางราชการที่ยังอยู่ในความดูแลรักษาของจำเลยตามหน้าที่ จำเลยจะต้องคืนตามที่ทางราชการกำหนดให้ เมื่อนับแต่นั้นถึงวันฟ้องยังไม่พ้น 10 ปี คดีโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ กรณีที่โจทก์ฟ้องเรียกเงินคืนเช่นนี้ไม่ใช่การเรียกร้องค่าเสียหาย จะนำอายุความเรียกร้องค่าเสียหายตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 448 มาใช้บังคับไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2647/2517 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องเรียกเงินคืนจากข้าราชการ กรณีปฏิบัติหน้าที่ไม่ชอบด้วยระเบียบ ไม่ใช่ค่าเสียหาย แต่เป็นหน้าที่คืนเงิน
จำเลยเป็นข้าราชการในสังกัดของโจทก์ ตำแหน่งผู้ช่วยผู้ดูแลนักเรียนไทยประจำสถานฑูตในต่างประเทศ มีหน้าที่ควบคุมฝ่ายการเงินและการบัญชีเสมือนเป็นหัวหน้ากองคลังเมื่อทางราชการแต่งตั้งเจ้าหน้าที่ให้ตรวจสอบเงิน แล้วแจ้งให้จำเลยทราบว่าจำเลยเบิกจ่ายใช้เงินไม่ชอบด้วยระเบียบของทางราชการ จำเลยได้แสดงหลักฐานการเบิกจ่ายใช้เงินดังกล่าวให้ทางราชการตรวจสอบ โดยอ้างว่าได้เบิกจ่ายใช้ไปโดยสุจริตและชอบด้วยระเบียบแล้ว แม้เงินนั้นจำเลยจะได้ถอนจากธนาคารไปในระหว่าง พ.ศ.2501 ถึง 2505แต่ใน พ.ศ.2506 จำเลยก็ได้นำเงินเข้าฝากธนาคารบางส่วนจึงยังฟังไม่ได้ว่าจำเลยได้เอาเงินของทางราชการไปเป็นส่วนตัวตั้งแต่วันที่ถอนเงิน เพราะจำเลยมีหน้าที่ดูแลรักษาเงินดังกล่าวแทนทางราชการอยู่ จะถือว่าจำเลยได้กระทำละเมิดนับแต่วันที่จำเลยได้ถอนเงินจากธนาคารหาได้ไม่ และเมื่อทางราชการได้ตรวจสอบใบสำคัญในการใช้จ่ายเงินที่จำเลยเบิกมาจากธนาคารแล้วเห็นว่ามีบางรายการจำเลยใช้จ่ายไปโดยไม่ชอบได้สั่งให้จำเลยใช้เงินคืน จึงต้องถือว่าเงินที่สั่งให้ใช้คืนนั้นเป็นเงินของทางราชการที่ยังอยู่ในความดูแลรักษาของจำเลยตามหน้าที่ จำเลยจะต้องคืนตามที่ทางราชการกำหนดให้เมื่อนับแต่นั้นถึงวันฟ้องยังไม่พ้น 10 ปี คดีโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ กรณีที่โจทก์ฟ้องเรียกเงินคืนเช่นนี้ไม่ใช่การเรียกร้องค่าเสียหาย จะนำอายุความเรียกร้องค่าเสียหายตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 448 มาใช้บังคับไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2486-2487/2517

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับสภาพหนี้โดยผู้จัดการมรดกทำให้ อายุความเริ่มนับใหม่ ไม่ถือเป็นฟ้องซ้ำ
ผู้จัดการมรดกและเป็นผู้รับมรดกทั้งหมดตามพินัยกรรมได้ชำระดอกเบี้ยให้แก่เจ้าหนี้ ย่อมถือได้ว่าเป็นการรับสภาพหนี้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 172 อายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1754 ที่มิให้เจ้าหนี้ฟ้องเมื่อพ้นกำหนดหนึ่งปีนับแต่เมื่อเจ้ามรดกตายก็สะดุดหยุดลงอายุความสำหรับสิทธิเรียกร้องของเจ้าหนี้จึงต้องตั้งต้นนับใหม่ตามอายุความแห่งมูลหนี้โดยเริ่มนับอายุความขึ้นใหม่แต่เวลานั้นสืบไป
เมื่อศาลได้มีคำพิพากษาไว้ในคดีก่อนว่าไม่ตัดสิทธิโจทก์ที่จะฟ้องคดีนี้ใหม่ในทางที่ถูกต้องได้ โจทก์ย่อมฟ้องคดีนี้ใหม่ได้ไม่เป็นฟ้องซ้ำ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2388/2517 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประนีประนอมยอมความ: การขายทรัพย์สินและการชำระหนี้เป็นงวด ศาลฎีกาวินิจฉัยว่าจำเลยยังมิได้ผิดสัญญา
ตามสัญญาประนีประนอมยอมความในศาล ข้อ 2 มีข้อความดังนี้ "หากจำเลยตกลงขายหรือโอนทรัพย์สินใดๆ ของจำเลยได้ก่อนในรอบระยะชำระหนี้ 6 เดือนแรกหรือในระยะ 6 เดือนต่อๆ ไปก็ตาม จำเลยจะต้องแจ้งให้ศาลและโจทก์ทราบด้วย และให้จำเลยชำระเงินให้โจทก์ก่อน ภายในวงเงินที่จะต้องชำระตามงวดในข้อ 1 หากจำเลยไม่แจ้งศาลหรือไม่แจ้งโจทก์หรือไม่ชำระเงินแก่โจทก์เมื่อขายหรือโอนทรัพย์สินใดๆ ของจำเลยแล้วให้ถือว่าจำเลยผิดนัดและยอมให้โจทก์บังคับคดีทั้งหมดทันที ที่จะถือว่าจำเลยผิดนัดและยอมให้โจทก์บังคับคดีได้ทั้งหมดนั้น มีดังนี้คือเมื่อขายทรัพย์สินใด ๆ ของจำเลยแล้วไม่แจ้งศาล หรือไม่แจ้งโจทก์หรือไม่ชำระเงินให้แก่โจทก์ ข้อความในสัญญาใช้คำว่า หรือ ดังนั้นจำเลยจะเลือกปฏิบัติอย่างหนึ่งอย่างใดก็ได้ ไม่เป็นการผิดสัญญาตามสัญญาข้อนี้มิได้บังคับให้จำเลยนำเงินทั้งหมดที่ขายทรัพย์สินได้มาชำระหนี้ให้แก่โจทก์ทั้งหมด แต่ให้ชำระหนี้แก่โจทก์ก่อนภายในวงเงินที่จะต้องชำระตามงวดเท่านั้น งวดที่ยังไม่ถึงกำหนดชำระจำเลยจึงไม่ต้องชำระให้แก่โจทก์ แม้จะขายทรัพย์สินได้เป็นเงินจำนวนเกินกว่าหนี้ทั้งหมดของโจทก์ก็ตาม และตามสัญญามิได้มีข้อตกลงให้จำเลยผ่อนชำระหนี้ให้แก่โจทก์เป็นจำนวนเงินน้อยกว่าจำนวนเงินที่จะต้องชำระกันเป็นงวดๆ เมื่อขายทรัพย์สินได้ดังนั้นแม้จำเลยจะขายทรัพย์สินไปแล้ว ก็ต้องรวบรวมเงินให้ได้จำนวนพอแก่การชำระหนี้ให้แก่โจทก์เป็นงวดๆ ตามสัญญาตามคำร้องของโจทก์ จำเลยขายแร่ไปเพียง 97 หาบ ไม่ปรากฏว่าราคาเท่าใดพอจะชำระหนี้งวดแรกให้แก่โจทก์หรือไม่ ก็ไม่ทราบวันที่จำเลยขายแร่ก็ยังไม่ถึงกำหนดชำระเงินงวดแรก ดังนั้น จำเลยจึงยังมิได้กระทำผิดสัญญาที่จะทำให้โจทก์มีสิทธิบังคับคดีทั้งหมดได้ในทันที

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2388/2517

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประนีประนอมยอมความ: การขายทรัพย์สินและการชำระหนี้เป็นงวด ศาลฎีกาชี้ว่าจำเลยยังไม่ผิดสัญญา
ตามสัญญาประนีประนอมยอมความในศาล ข้อ 2 มีข้อความดังนี้ "หากจำเลยตกลงขายหรือโอนทรัพย์สินใดๆ ของจำเลยได้ก่อนในรอบระยะชำระหนี้ 6 เดือนแรกหรือในระยะ 6 เดือนต่อๆ ไปก็ตาม จำเลยจะต้องแจ้งให้ศาลและโจทก์ทราบด้วย และให้จำเลยชำระเงินให้โจทก์ก่อน ภายในวงเงินที่จะต้องชำระตามงวดในข้อ 1 หากจำเลยไม่แจ้งศาลหรือไม่แจ้งโจทก์ หรือไม่ชำระเงินแก่โจทก์เมื่อขายหรือโอนทรัพย์สินใดๆ ของจำเลยแล้ว ให้ถือว่าจำเลยผิดนัดและยอมให้โจทก์บังคับคดีทั้งหมดทันที ที่จะถือว่าจำเลยผิดนัดและยอมให้โจทก์บังคับคดีได้ทั้งหมดนั้น มีดังนี้คือเมื่อขายทรัพย์สินใด ๆ ของจำเลยแล้วไม่แจ้งศาล หรือไม่แจ้งโจทก์หรือไม่ชำระเงินให้แก่โจทก์ ข้อความในสัญญาใช้คำว่า หรือ ดังนั้น จำเลยจะเลือกปฏิบัติอย่างหนึ่งอย่างใดก็ได้ ไม่เป็นการผิดสัญญา ตามสัญญาข้อนี้มิได้บังคับให้จำเลยนำเงินทั้งหมดที่ขายทรัพย์สินได้มาชำระหนี้ให้แก่โจทก์ทั้งหมด แต่ให้ชำระหนี้แก่โจทก์ก่อนภายในวงเงินที่จะต้องชำระตามงวดเท่านั้น งวดที่ยังไม่ถึงกำหนดชำระจำเลยจึงไม่ต้องชำระให้แก่โจทก์ แม้จะขายทรัพย์สินได้เป็นเงินจำนวนเกินกว่าหนี้ทั้งหมดของโจทก์ก็ตาม และตามสัญญามิได้มีข้อตกลงให้จำเลยผ่อนชำระหนี้ให้แก่โจทก์เป็นจำนวนเงินน้อยกว่าจำนวนเงินที่จะต้องชำระกันเป็นงวดๆ เมื่อขายทรัพย์สินได้ ดังนั้นแม้จำเลยจะขายทรัพย์สินไปแล้ว ก็ต้องรวบรวมเงินให้ได้จำนวนพอแก่การชำระหนี้ให้แก่โจทก์เป็นงวดๆ ตามสัญญาตามคำร้องของโจทก์ จำเลยขายแร่ไปเพียง 97 หาบ ไม่ปรากฏว่าราคาเท่าใดพอจะชำระหนี้งวดแรกให้แก่โจทก์หรือไม่ ก็ไม่ทราบวันที่จำเลยขายแร่ก็ยังไม่ถึงกำหนดชำระเงินงวดแรก ดังนั้น จำเลยจึงยังมิได้กระทำผิดสัญญาที่จะทำให้โจทก์มีสิทธิบังคับคดีทั้งหมดได้ในทันที

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2335/2517 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบังคับสัญญาจำนำ/ขายฝากก่อนใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ต้องพิจารณากิริยาคู่สัญญาและกฎหมายที่ใช้บังคับก่อน
สัญญาจำนำที่ดินที่ได้ทำกันก่อนประกาศใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 3 ต้องบังคับตามกฎหมายที่มีอยู่ก่อน ได้แก่ พระราชบัญญัติการขายฝากและจำนำที่ดิน ร.ศ.115 และโดยเฉพาะประกาศเรื่องจำนำและขายฝากที่ดิน ร.ศ.118 ซึ่งให้ดูกิริยาที่คู่สัญญาประพฤติต่อกันว่าเป็นจำนำหรือขายฝาก แม้ในสัญญาจะมีข้อความเป็นอย่างอื่นก็ต้องถือตามกิริยาที่ประพฤติต่อกันตามนัยคำพิพากษาฎีกาที่ 1044/2492
บิดาโจทก์ได้ตกลงกับผู้รับจำนำมอบที่พิพาทให้ไว้เอาค่าเช่าหักชำระดอกเบี้ยและค่าภาษีแล้ว บิดาโจทก์ได้อพยพไปอยู่ที่อื่นและเคยมาคิดเงินกับผู้รับจำนำเป็นบางปี บิดาโจทก์ตายไปประมาณ 30 ปีแล้ว ก่อนตายไม่เคยพูดขอไถ่จำนำเลย แสดงว่าบิดาโจทก์ได้มอบที่พิพาทให้ผู้รับจำนำทำกินต่างดอกเบี้ยมาเป็นเวลานานกว่า 10 ปีแล้ว การปฏิบัติของคู่สัญญาเช่นนี้ถือได้ว่าเป็นการขายฝาก ซึ่งประกาศเรื่องจำนำและขายฝากที่ดิน ร.ศ.118 ข้อ 6 มีข้อความว่า ในการขายฝากที่ดิน ถ้ามีข้อสัญญาจะให้ไถ่ได้เกินกว่า 10 ปีไป อย่าให้วินิจฉัยว่าไถ่ได้เมื่อพ้น10 ปีไปเลยเมื่อบิดาโจทก์ได้จำนำที่พิพาทไว้ตั้งแต่ปี 2460 และได้มอบที่พิพาทให้ผู้รับจำนำทำกินต่างดอกเบี้ยตั้งแต่ปี 2473 เป็นเวลาเกินกว่า 10 ปีไปมากแล้ว ที่พิพาทจึงหลุดเป็นสิทธิแก่ผู้รับซื้อฝาก โจทก์ย่อมไม่มีสิทธิไถ่ถอน
of 64