คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
สนับ คัมภีรยส

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 637 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2663/2519

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างลูกจ้างประจำเนื่องจากทุจริตและฝ่าฝืนระเบียบอย่างร้ายแรง นายจ้างไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย
พนักงานของธนาคารจำเลย สาขานนทบุรีผู้อยู่ใต้บังคับบัญชาของโจทก์ซึ่งเป็นผู้จัดการ ทำหนังสือร้องเรียนว่าโจทก์ปฏิบัติหน้าที่มิชอบ ทำให้ธนาคารจำเลยเสียหายกรรมการผู้จัดการธนาคารจำเลยสั่งให้เจ้าหน้าที่ชั้นผู้ใหญ่ของธนาคารไปสอบสวนแล้ว ได้ความว่าโจทก์ฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับของธนาคาร มีพฤติการณ์ส่อไปในทางทุจริตปล่อยเงินให้กู้ยืมไปโดยไม่มีหลักประกันทำให้ธนาคารเสียหาย เจ้าหน้าที่ผู้สอบสวนรายงานว่า โจทก์ปฏิบัติงานส่อไปในทางทุจริต ฝ่าฝืนระเบียบวินัยข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของธนาคารจำเลย ไม่มาทำงานและเลิกงานตามเวลาที่กำหนด รายงานการมาทำงานและเลิกงานเท็จ เสพสุรายาเมาเป็นอาจิณและไม่ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความซื่อสัตย์สุจริต ควรให้โจทก์พ้นจากตำแหน่งผู้จัดการสาขานนทบุรี จำเลยจึงมีคำสั่งให้โจทก์พ้นจากตำแหน่งและให้เป็นที่ปรึกษาแทนโจทก์ลาออกตามพฤติการณ์ดังกล่าวมีเหตุทำให้จำเลยเชื่อโดยสุจริตว่า นอกจากโจทก์จะฝ่าฝืนระเบียบวินัยของจำเลยในกรณีที่ร้ายแรงแล้ว โจทก์ยังทุจริตต่อหน้าที่และจงใจทำให้จำเลยเสียหาย อันจำเลยซึ่งเป็นนายจ้างไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยให้แก่โจทก์ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงาน ข้อ 47(1)(2) และ (3) จำเลยจึงไม่มีความผิดตามประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 103 เรื่องการคุ้มครองแรงงาน ข้อ 2(5) ข้อ 8 ลงวันที่ 16 มีนาคม 2515 และประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงาน ลงวันที่ 16 เมษายน 2515 ข้อ 26 ซึ่งแก้ไขโดยประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงาน(ฉบับที่ 2) ลงวันที่ 13 มิถุนายน 2517

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2663/2519 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างลูกจ้างกรณีทุจริตต่อหน้าที่และฝ่าฝืนระเบียบอย่างร้ายแรง นายจ้างไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย
พนักงานของธนาคารจำเลย สาขานนทบุรีผู้อยู่ใต้บังคับบัญชาของโจทก์ ซึ่งเป็นผู้จัดการ ทำหนังสือร้องเรียนว่าโจทก์ปฏิบัติหน้าที่มิชอบ ทำให้ธนาคารจำเลยเสียหาย กรรมการผู้จัดการธนาคารจำเลยสั่งให้เจ้าหน้าที่ชั้นผู้ใหญ่ของธนาคารไปสอบสวนแล้ว ได้ความว่าโจทก์ฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับของธนาคาร มีพฤติการณ์ส่อไปในทางทุจริต ปล่อยเงินให้กู้ยืมไปโดยไม่มีหลักประกันทำให้ธนาคารเสียหาย เจ้าหน้าที่ผู้สอบสวนรายงานว่า โจทก์ปฏิบัติงานส่อไปในทางทุจริต ฝ่าฝืนระเบียบวินัยข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของธนาคารจำเลย ไม่มาทำงานและเลิกงานตามเวลาที่กำหนด รายงานการมาทำงานและเลิกงานเท็จ เสพสุรายาเมาเป็นอาจิณ และไม่ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความซื้อสัตย์สุจริต ควรให้โจทก์พ้นจากตำแหน่งผู้จัดการสาขานนทบุรี จำเลยมีคำสั่งให้โจทก์พ้นจากตำแหน่งและให้เป็นที่ปรึกษาแทน โจทก์ลาออก ตามพฤติการณ์ดังกล่าวมีเหตุทำให้จำเลยเชื่อโดยสุจริตว่า นอกจากโจทก์จะฝ่าฝืนระเบียบวินัยของจำเลยในกรณีที่ร้ายแรงแล้ว โจทก์ยังทุจริตต่อหน้าที่และจงใจทำให้จำเลยเสียหาย อันจำเลยซึ่งเป็นนายจ้างไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยให้แก่โจทก์ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงานข้อ 47(1) (2) และ (3) จำเลยจึงไม่มีความผิดตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 103 เรื่องการคุ้มครองแรงงาน ข้อ 2(5) ข้อ 8 ลงวันที่ 16 มีนาคม 2515 และประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงาน ลงวันที่ 16 เมษายน 2515 ข้อ 11 ซึ่งแก้ไขโดยประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงาน (ฉบับที่ 2) ลงวันที่ 13 มิถุนายน 2517

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2491-2493/2519

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การมีส่วนได้เสียในการฟ้องคดี, การเข้าเป็นคู่ความแทนผู้ถึงแก่กรรม, และการพิจารณาคดีใหม่
ก่อนโจทก์ที่ 1 ที่ 2 จดทะเบียนซื้อที่ดินมีโฉนดจากโจทก์ที่ 3 จำเลยทำการรังวัดสอบเขตที่ดินรุกล้ำเข้าไปในที่ดินดังกล่าว ดังนี้ ทำให้โจทก์ที่ 3 ได้รับความเสียหายและอาจถูกโจทก์ที่ 1 ที่ 2 ฟ้องไล่เบี้ยหรือเพื่อใช้ค่าทดแทนได้ โจทก์ที่ 3 มีส่วนได้เสียตามกฎหมายในผลแห่งคดีแล้วโจทก์ที่ 3 จึงเข้าเป็นโจทก์ในคดีที่โจทก์ที่ 1 ที่ 2 ฟ้องจำเลยด้วยได้
ก่อนวันนัดสืบพยาน โจทก์ที่ 3 ตาย ศาลชั้นต้นสั่งงดการดำเนินคดี เพื่อรอผู้เข้ารับมรดกความแทนโจทก์ที่ 3 ก่อนพ้นเวลา 1 ปี ตามกฎหมายกำหนด ศาลชั้นต้นกลับสั่งว่าโจทก์ที่ 3 ไม่มีส่วนได้เสียในคดี ให้เพิกถอนคำสั่งที่รับฟ้องโจทก์ที่ 3 และได้นัดสืบพยานโจทก์ไป เมื่อศาลฎีกาเห็นว่าเมื่อโจทก์ที่ 3 มีส่วนได้เสียตามกฎหมายในผลแห่งคดี คำสั่งของศาลชั้นต้นเป็นการตัดสิทธิทายาทของโจทก์ที่ 3 หรือผู้จัดการทรัพย์มรดก แต่เมื่อนับแต่โจทก์ที่ 3 ได้ถึงแก่กรรมไปจนถึงวันที่ศาลฎีกาพิพากษาเกินกว่า 1 ปีแล้ว ศาลฎีกาจึงพิพากษาเพิกถอนคำสั่งของศาลชั้นต้นที่ไม่รับฟ้องโจทก์ที่ 3 ให้ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาและพิพากษาใหม่ตามรูปคดี โดยให้อยู่ในดุลยพินิจของศาลชั้นต้นในการที่กำหนดเวลาปฏิบัติตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 42 ว่าด้วยการเข้าเป็นคู่ความแทนที่โจทก์ที่ 3 ผู้มรณะ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2491-2493/2519 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้อง, การเข้าเป็นคู่ความแทน, การรังวัดที่ดินผิดพลาด, และผลกระทบต่อทายาทผู้มีส่วนได้เสีย
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยร่วมกันรังวัดสอบเขตผิดไปจากแนวเขตที่ดินและทางเกวียนเดิมรุกล้ำเข้าไปในที่ดินที่โจทก์ที่ 1, 2 ซื้อจากโจทก์ที่ 3 และการรังวัดนั้นได้กระทำมาก่อนตั้งแต่ที่ดินยังเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์ที่ 3 ตามคำฟ้องและคำเบิกความพยานโจทก์ชั้นไต่สวนมูลฟ้องพอที่จะเห็นได้ว่าการกระทำดังกล่าวทำให้โจทก์ที่ 3 ได้รับความเสียหายและอาจถูกโจทก์ที่ 1, 2 ฟ้องตนได้เพื่อการใช้สิทธิ์ไล่เบี้ยหรือเพื่อใช้ค่าทดแทน ถ้าหากศาลพิพากษาให้โจทก์ที่ 1, 2 แพ้คดี ประกอบกับรูปคดีกรณีโจทก์ที่ 3 นี้ ถึงแม้จะไม่เป็นโจทก์ร่วมฟ้องด้วย โจทก์ที่ 1, 2 ก็ยังขอให้ศาลหมายเรียกเข้ามาเป็นโจทก์ร่วมได้ โจทก์ที่ 3 จึงมีส่วนได้เสียตามกฎหมายในผลแห่งคดีแล้ว ควรรับฟ้องของโจทก์ที่ 3 ไว้พิจารณาต่อไป ฉะนั้น การที่ก่อนพ้นเวลา 1 ปีนับแต่วันที่โจทก์ที่ 3 ถึงแก่กรรม ศาลชั้นต้นกลับสั่งว่าโจทก์ที่ 3 ไม่มีส่วนได้เสียในคดี จึงมีคำสั่งให้เพิกถอนคำสั่งที่รับฟ้องโจทก์ที่ 3 และให้นัดสืบพยานโจทก์ไป ดังนี้ เป็นการตัดสิทธิ์บุคคลที่จะเข้ามาเป็นคู่ความแทนที่โจทก์ที่ 3 สมควรให้ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาใหม่ทั้งคดีส่วนแพ่งและอาญา แต่เนื่องจากโจทก์ที่ 3 ได้ถึงแก่กรรมจนถึงวันที่ศาลฎีกาพิพากษาเกินกว่า 1 ปีแล้ว จึงให้อยู่ในดุลพินิจของศาลชั้นต้น ในการที่จะกำหนดเวลาปฏิบัติตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 42 ว่าด้วยการเข้าเป็นคู่ความแทนที่โจทก์ที่ 3 ผู้มรณะ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2488/2519

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจพนักงานตรวจแรงงานจำกัดเฉพาะการเตือน มิได้ชี้ขาดข้อพิพาทค่าแรง
ประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 103 และประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องการคุ้มครองแรงงาน มิได้ให้อำนาจแก่พนักงานตรวจแรงงานที่จะชี้ขาดข้อพิพาทเรื่องเงินค่าล่วงเวลาและค่าทำงานในวันหยุดระหว่างนายจ้างกับลูกจ้าง พนักงานตรวจแรงงานไม่มีอำนาจออกคำสั่งบังคับนายจ้างให้จ่ายเงินดังกล่าวได้ ในกรณีที่นายจ้างฝ่าฝืนประกาศกระทรวงมหาดไทยไม่จ่ายเงินดังกล่าวให้ลูกจ้าง นายจ้างย่อมมีความผิดทางอาญา ตามประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 103 ข้อ 6 และข้อ 8 การที่พนักงานตรวจแรงงานออกคำเตือนให้โจทก์ในฐานะนายจ้างจ่ายเงินให้แก่ลูกจ้างภายในกำหนดเวลา เป็นอำนาจตามประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องการคุ้มครองแรงงานข้อ 77 ซึ่งมิใช่คำวินิจฉัยชี้ขาดหรือคำสั่งที่มีผลบังคับทางกฎหมาย จึงไม่เป็นการโต้แย้งสิทธิหรือหน้าที่ของโจทก์ ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 55 โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องให้เพิกถอนคำเตือนดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2341/2519

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หักกลบลบหนี้ระหว่างโจทก์จำเลย: เช็คค่ายางรถยนต์คืนสินค้า
โจทก์ฟ้องเรียกเงินตามจำนวนในเช็ค ซึ่งจำเลยออกชำระหนี้ค่ายางรถยนต์ที่จำเลยซื้อไปจากโจทก์ จำเลยให้การว่าจำเลยได้ซื้อยางรถยนต์และออกเช็คจริง แต่จำเลยคืนยางรถยนต์ให้โจทก์ 18 เส้น โจทก์ออกเครดิตโน้ตให้ไว้แล้วไม่คิดหักให้ โจทก์จึงไม่อาจจะฟ้องเรียกเอาเงินตามเช็คได้ ดังนี้ เมื่อข้อเท็จจริงเป็นดังข้อต่อสู้ของจำเลย โจทก์และจำเลยที่ 1 จึงต่างมีความผูกพันซึ่งกันและกัน โดยมูลหนี้อันมีวัตถุเป็นอย่างเดียวกัน และหนี้ระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 ดังกล่าวถึงกำหนดชำระจึงชอบที่จะหักกลบลบหนี้กันได้ และศาลชอบที่จะวินิจฉัยในประเด็นข้อนี้ได้โดยจำเลยไม่ต้องฟ้องแย้ง
ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยที่ 1,2 รับผิด ยกฟ้องจำเลยที่ 3 โจทก์อุทธรณ์ฎีกาขอให้พิพากษายืนตามศาลชั้นต้น ศาลฎีกาจะพิพากษาให้จำเลยที่ 3 ต้องรับผิดตามข้ออ้างในฎีกาไม่ได้ ต้องห้ามตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2115/2519 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิผู้เช่านาเดิมตาม พ.ร.บ.ควบคุมการเช่านา พ.ศ. 2517 แม้ไม่มีสัญญาเช่าเป็นลายลักษณ์อักษร
ผู้เสียหายได้เช่านาจำเลยก่อนพระราชบัญญัติควบคุมการเช่านา พ.ศ. 2517 ใช้บังคับ ไม่ได้ทำหนังสือสัญญาเช่าต่อกัน และไม่ได้กำหนดเวลาเช่า เมื่อพระราชบัญญัติควบคุมการเช่านา พ.ศ. 2517 ใช้บังคับแล้ว ผู้เสียหายจึงมีสิทธิ์ในการเช่านามีกำหนด 6 ปีนับแต่วันที่ 18 ธันวาคม 2517 (วันถัดจากวันประกาศใช้พระราชกิจจานุเบกษา) และเมื่อผู้เสียหายมีฐานะเป็นผู้เช่านา ย่อมมีสิทธิ์ครอบครองนาที่เช่าโดยผลแห่งกฎหมายนั้น การเช่าจะยุติหรือสิ้นผลก็ต่อเมื่อผู้เช่า (ผู้เสียหาย) ไม่ประสงค์จะเช่าต่อไป หรือผู้ให้เช่าใช้สิทธิ์บอกเลิกเมื่อมีเหตุตามมาตรา 32 เท่านั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2115/2519

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิเช่านาตามพ.ร.บ.ควบคุมการเช่านา: การเช่าก่อนมีกฎหมาย และสิทธิการครอบครอง
ผู้เสียหายได้เช่านาจำเลยก่อนพระราชบัญญัติควบคุมการเช่านาพ.ศ.2517 ใช้บังคับ ไม่ได้ทำหนังสือสัญญาเช่าต่อกันและไม่ได้กำหนดเวลาเช่า เมื่อพระราชบัญญัติควบคุมการเช่านาพ.ศ.2517 ใช้บังคับแล้ว ผู้เสียหายจึงมีสิทธิในการเช่านามีกำหนด 6 ปีนับตั้งแต่วันที่ 18 ธันวาคม2517(วันถัดจากวันประกาศใช้พระราชกิจจานุเบกษา) และเมื่อผู้เสียหายมีฐานะเป็นผู้เช่านา ย่อมมีสิทธิครอบครองนาที่เช่าโดยผลแห่งกฎหมายนั้น การเช่าจะยุติหรือสิ้นผลก็ต่อเมื่อผู้เช่า (ผู้เสียหาย) ไม่ประสงค์จะเช่าต่อไปหรือผู้ให้เช่าใช้สิทธิบอกเลิกเมื่อมีเหตุตามมาตรา 32 เท่านั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2071/2519

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอายัดสิทธิเรียกร้องที่โอนไปแล้ว ศาลตัดสินว่าโจทก์ไม่มีสิทธิอายัดทรัพย์สินที่จำเลยโอนสิทธิไปแล้ว แม้เงินยังอยู่ที่ผู้รับคำสั่งอายัด
ศาลสั่งอายัดสิทธิเรียกร้องของจำเลยก่อนมีคำพิพากษาตามคำร้องในกรณีฉุกเฉินของโจทก์ แต่ปรากฏว่าจำเลยได้โอนสิทธิเรียกร้องให้บุคคลอื่นไปก่อนแล้ว แม้ว่าเงินที่โจทก์ขอให้อายัดจะยังคงมีอยู่ที่บุคคลภายนอกผู้ได้รับคำสั่งอายัดก็ตามคำสั่งอายัดนั้นไม่มีผลบังคับ เพราะโจทก์ไม่มีสิทธิขอให้ศาลสั่งอายัดเงินดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2071/2519 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอายัดสิทธิเรียกร้องที่จำเลยโอนให้ผู้อื่นก่อนมีคำสั่ง ศาลไม่มีอำนาจบังคับให้กรมอาชีวศึกษาจ่ายเงิน
ศาลสั่งอายัดสิทธิ์เรียกร้องของจำเลยก่อนมีคำพิพากษาตามคำร้องในกรณีฉุกเฉินของโจทก์ แต่ปรากฏว่าจำเลยได้โอนสิทธิ์เรียกร้องให้บุคคลอื่นไปก่อนแล้ว แม้ว่าเงินที่โจทก์ขอให้อายัดจะยังคงมีอยู่ที่บุคคลภายนอกผู้ได้รับคำสั่งอายัดก็ตาม คำสั่งอายัดนั้นไม่มีผลบังคับ เพราะโจทก์ไม่มีสิทธิ์ขอให้ศาลสั่งอายัดเงินดังกล่าว
of 64