คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
สนับ คัมภีรยส

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 637 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1832-1833/2519

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หน้าที่ตัวการชำระหนี้ตัวแทนเมื่อสิ้นสุดสัญญา
ตัวแทนไม่แถลงบัญชีเมื่อการเป็นตัวแทนสิ้นสุดลง แต่ปรากฏว่าตัวการเป็นหนี้ตัวแทนอยู่ในจำนวนที่ตัวแทนจ่ายเงินทดรองไป ตัวการต้องใช้หนี้นั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1829/2519 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิเรียกร้องจากการซื้อขายที่ดินที่มีภาระจำนอง: สัญญาประนีประนอมยอมความขัดแย้งกับสิทธิการไถ่ถอน
จำเลยที่ 1 จำนองที่พิพาทต่อจำเลยที่ 2 ภายในวงเงิน 400,000 บาท ต่อมาจำเลยที่ 2 ฟ้องให้จำเลยที่ 1 ชำระหนี้ แล้วคู่ความตกลงทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันให้จำเลยที่ 1 ชำระหนี้หนึ่งล้านบาทเศษ และต้องเอาที่พิพาทขายทอดตลาด ชำระหนี้ด้วย หลังจากนั้นจำเลยที่ 1 ทำสัญญาจะขายที่พิพาทให้โจทก์ โจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสองให้จำเลยที่ 1 ไปไถ่ถอนจำนองที่พิพาทแล้วโอนกรรมสิทธิ์ให้โจทก์ ให้จำเลยที่ 2 รับไถ่ถอนจำนองจากจำเลยที่ 1 ในวงเงิน 400,000 บาท ตามสัญญาจำนอง ดังนี้ การที่โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 2 รับไถ่ถอนการจำนองก็โดยโจทก์ใช้สิทธิของจำเลยที่ 1 ผู้เป็นลูกหนี้แต่ปรากฏว่าตามสัญญาประนีประนอมยอมความดังกล่าว จำเลยที่ 1 เองก็ไม่มีสิทธิจะไถ่ถอนจำนองจากจำเลยที่ 2 ในวงเงิน 400,000 บาทแล้ว ฉะนั้นการที่จำเลยที่ 1 ทำสัญญาจะขายที่พิพาทให้โจทก์ จึงไม่ก่อให้เกิดสิทธิแก่โจทก์ที่จะต้องฟ้องบังคับจำเลยที่ 2 ให้รับไถ่ถอนจำนองที่พิพาทในวงเงิน 400,000 บาทได้
ศาลมีอำนาจหยิบยกปัญหาข้อกฎหมายขึ้นวินิจฉัยชี้ขาดเบื้องต้นตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 24 ได้เองโดยไม่จำเป็นต้องให้คู่ความร้องขอ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1829/2519

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจะซื้อจะขายที่ดินภายหลังสัญญาประนีประนอมฯ สิทธิเรียกร้องจำกัดเฉพาะคู่สัญญา
จำเลยที่ 1 จำนองที่พิพาทต่อจำเลยที่ 2 ภายในวงเงิน 400,000 บาท ต่อมาจำเลยที่ 2 ฟ้องให้จำเลยที่ 1 ชำระหนี้ แล้วคู่ความตกลงทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันให้จำเลยที่ 1 ชำระหนี้หนึ่งล้านบาทเศษ และต้องเอาที่พิพาทขายทอดตลาดชำระหนี้ด้วย หลังจากนั้นจำเลยที่ 1 ทำสัญญาจะขายที่พิพาทให้โจทก์ โจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสองให้จำเลยที่ 1 ไปไถ่ถอนการจำนองที่พิพาทแล้วโอนกรรมสิทธิ์ให้โจทก์ ให้จำเลยที่ 2 รับไถ่ถอนจำนองจากจำเลยที่ 1 ในวงเงิน 400,000 บาท ตามสัญญาจำนอง ดังนี้ การที่โจทก์ฟ้องให้จำเลยที่ 2 รับไถ่ถอนการจำนองก็โดยโจทก์ใช้สิทธิของจำเลยที่ 1 ผู้เป็นลูกหนี้ แต่ปรากฏว่าตามสัญญาประนีประนอมยอมความดังกล่าว จำเลยที่ 1 เองก็ไม่มีสิทธิจะไถ่ถอนจำนองจากจำเลยที่ 2 ในวงเงิน 400,000 บาทแล้ว ฉะนั้นการที่จำเลยที่ 1 ทำสัญญาจะขายที่พิพาทให้โจทก์ จึงไม่ก่อให้เกิดสิทธิแก่โจทก์ที่จะฟ้องบังคับจำเลยที่ 2 ให้รับไถ่ถอนจำนองที่พิพาทในวงเงิน 400,000 บาทได้
ศาลมีอำนาจหยิบยกปัญหาข้อกฎหมายขึ้นวินิจฉัยชี้ขาดเบื้องต้นตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 24 ได้เองโดยไม่จำเป็นต้องให้คู่ความร้องขอ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1816/2519

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดฐานมีและจำหน่ายยาเสพติดเป็นคนละกรรมกัน ต้องลงโทษทุกกรรม
โจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยบังอาจมีเฮโรอีนไฮโดรคลอไรด์ ซึ่งเป็นเกลือของเฮโรอีนฯไว้ในความครอบครองเพื่อจำหน่ายจำนวน 1 ห่อและ 3 หลอด และจำเลยบังอาจจำหน่าย ขายเฮโรอีนจำนวน 3 หลอดดังกล่าวให้แก่ผู้อื่นโดยในวันเกิดเหตุเจ้าพนักงานจับจำเลยได้พร้อมด้วยเฮโรอีนไฮโดรคลอไรด์จำนวน 1 ห่อและ 3 หลอดซึ่งจำเลยจำหน่ายและมีไว้เพื่อจำหน่ายทั้งในชั้นพิจารณาจำเลยก็ให้การรับสารภาพตามฟ้องเช่นนี้เห็นได้ว่าการกระทำของจำเลยเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน คือ มีความผิดฐานมีเฮโรอีนไว้เพื่อจำหน่ายกระทงหนึ่ง และฐานฐานจำหน่ายเฮโรอีนอีกกระทงหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1816/2519 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดฐานมีและจำหน่ายยาเสพติดเป็นคนละกรรมกัน แม้กฎหมายบัญญัติรวมกัน ศาลต้องลงโทษทุกกรรม
โจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยบังอาจมีเฮโรอีนไฮโดรคลอไรด์ ซึ่งเป็นเกลือของเฮโรอีนฯ ไว้ในความครอบครองเพื่อจำหน่ายจำนวน 1 ห่อและ 3 หลอด และจำเลยบังอาจจำหน่าย ขายเฮโรอีนจำนวน 3 หลอด ดังกล่าวให้แก่ผู้อื่นโดยวันเกิดเหตุเจ้าพนักงานจับจำเลยได้พร้อมด้วยเฮโรอีนไฮโดรคลอไรด์จำนวน 1 ห่อ และ 3 หลอดซึ่งจำเลยจำหน่ายและมีไว้เพื่อจำหน่าย ทั้งในชั้นพิจารณาจำเลยก็ให้การรับสารภาพตามฟ้องเช่นนี้ เห็นได้ว่าการกระทำของจำเลยเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน คือ มีความผิดฐานมีเฮโรอีนไว้เพื่อจำหน่ายกระทงหนึ่ง และฐานจำหน่ายเฮโรอีนอีกกระทงหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1627/2519 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เอกสารรับเงินที่มิได้มีแบบพิมพ์และไม่มีลายมือชื่อกรรมการ ถือเป็นใบรับตามประมวลรัษฎากร ต้องปิดอากรแสตมป์
ในการลงบัญชีของบริษัทโจทก์ได้ลงตามใบสำคัญ รายการใดไม่มีใบสำคัญแต่มีบันทึกของผู้จัดการเป็นภาษาจีน ผู้ช่วยสมุห์บัญชีก็จะคัดลอกเป็นภาษาไทยไว้เป็นเอกสารลงบัญชี เอกสารดังกล่าวนี้จึงเป็นเอกสารของบริษัทโจทก์ ทำขึ้นเพื่อประกอบการลงบัญชีของโจทก์ ไม่ใช่ทำขึ้นเป็นการส่วนตัวของผู้ช่วยสมุห์บัญชี เมื่อเอกสารดังกล่าวมีข้อความโจทก์ได้รับเงินตามรายการในเอกสารนั้น และโจทก์เป็นผู้ทำขึ้นแล้วจะมีลายมือชื่อของบุคคลใด ๆ หรือไม่ไม่สำคัญ ถือได้ว่าเป็นใบรับตามประมวลรัษฎากร มาตรา 103 แล้ว และเมื่อเป็นใบรับแล้วแม้จะไม่ใช่แบบพิมพ์ของบริษัทโจทก์ ไม่มีกรรมการบริษัทเซ็นชื่อ หรือไม่ใช่กรณีที่กฎหมายบังคับให้ต้องทำใบรับก็ตาม ใบรับนั้นก็ต้องปิดอากรแสตมป์ตามบัญชีอัตราอากรแสตมป์ข้อ 28 ท้ายหมวด 6 แห่งประมวลรัษฎากร เว้นแต่จะได้รับยกเว้นตามกฎหมาย
เมื่อบริษัทโจทก์เริ่มก่อตั้งเงินของบริษัทไม่พอใช้ บรรดาผู้ถือหุ้นได้ออกเงินทดรองให้บริษัทโจกท์ เงินนี้บริษัทโจทก์ไม่ให้ดอกเบี้ยเพราะถือเป็นกันเองระหว่างญาติ ดังนี้เมื่อบริษัทโจทก์เป็นนิติบุคคลต่างหากจากผู้ถือหุ้น ผู้ถือหุ้นให้บริษัทโจทก์ยืมเงินในฐานะส่วนตัวของผู้ถือหุ้นแต่ละคน การที่บริษัทโจทก์ออกใบรับในกรณีรับเงินนี้ มิใช่ใบรับที่บุคคลในคณะบุคคลซึ่งกระทำกิจการร่วมกันออกให้ซึ่งกันและกันตามหน้าที่เพื่อดำเนินกิจการของคณะบุคคลนั้น โจทก์จึงจำต้องปิดอากรแสตมป์ในใบรับรองดังกล่าว เพราะไม่เข้าข้อยกเว้นตามบัญชีอัตราอากรแสตมป์ข้อ 25 ฒ.
ผู้จัดการบริษัทโจทก์ได้ยืมเงินบริษัทโจทก์ไปใช้สอยส่วนตัวแล้วชำระคืนให้โจทก์ในการรับชำระเงินคืน บริษัทโจทก์ได้ออกใบรับให้ผู้จัดการไปด้วย แต่ฟังไม่ได้ว่าใบรับนั้นได้ปิดอากรแสตมป์แล้ว ฉะนั้น ใบรับเงินชำระหนี้ที่ค้างดังกล่าวซึ่งโจทก์ทำขึ้นและโจทก์เป็นผู้ทรงอยู่ โจทก์จึงต้องเป็นผู้ปิดแสตมป์ตามบัญชีอัตราอากรแสตมป์ข้อ 28
เมื่อโจทก์ต้องเสียอากรสำหรับใบรับเงินทดรองและใบรับชำระหนี้ค้าง แต่โจทก์ไม่ได้ปิดแสตมป์ให้ถูกต้องจนพนักงานเจ้าหน้าที่ตรวจพบ พนักงานเจ้าหน้าที่ย่อมมีอำนาจที่จะเรียกเงินอากรจนครบ และเงินเพิ่มอากรจากโจทก์ได้
บริษัทโจทก์กู้เงินจากบุคคลภายนอกและได้ทำใบรับเงินกู้ไว้ เมื่อการกู้นั้นมีสัญญากู้ซึ่งปิดอากรแสตมป์มีจำนวนไม่น้อยกว่าอากรที่ต้องเสียและขีดฆ่าแสตมป์นั้นแล้ว โจทก์ก็ไม่จำต้องปิดอากรแสตมป์ซ้ำในใบรับอีก แม้ปรากฏว่าแสตมป์ปิดในสัญญากู้ไม่ได้ลงวัน เดือน ปี ก็ตาม แต่เมื่อสัญญากู้ได้ปิดอากรแสตมป์เป็นราคาไม่น้อยกว่า อากรที่ต้องเสียและได้ขีดฆ่าที่ปิดทับกระดาษเพื่อมิให้แสตมป์ใช้ได้อีก ก็ย่อมเป็นการปิดแสตมป์บริบูรณ์ตามมาตรา 103 แห่งประมวลรัษฎากรแล้ว
(อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 561/2487 และ 461/2488)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1627/2519

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ใบรับเงินทดรองและชำระหนี้ รวมถึงเงินกู้ ต้องปิดอากรแสตมป์ตามกฎหมาย แม้ไม่มีแบบพิมพ์หรือกรรมการเซ็น
ในการลงบัญชีของบริษัทโจทก์ได้ลงตามใบสำคัญ รายการใดไม่มีใบสำคัญแต่มีบันทึกของผู้จัดการเป็นภาษาจีน ผู้ช่วยสมุห์บัญชีก็จะคัดลอกเป็นภาษาไทยไว้เป็นเอกสารลงบัญชี เอกสารดังกล่าวนี้จึงเป็นเอกสารของบริษัทโจทก์ ทำขึ้นเพื่อประกอบการลงบัญชีของโจทก์ ไม่ใช่ทำขึ้นเป็นการส่วนตัวของผู้ช่วยสมุห์บัญชี เมื่อเอกสารดังกล่าวมีข้อความว่าโจทก์ได้รับเงินตามรายการในเอกสารนั้น และโจทก์เป็นผู้ทำขึ้นแล้วจะมีลายมือชื่อของบุคคลใดๆ หรือไม่ไม่สำคัญ ถือได้ว่าเป็นใบรับตามประมวลรัษฎากร มาตรา 103 แล้ว และเมื่อเป็นใบรับแล้ว แม้จะไม่ใช่แบบพิมพ์ของบริษัทโจทก์ ไม่มีกรรมการบริษัทเซ็นชื่อ หรือไม่ใช่กรณีที่กฎหมายบังคับให้ต้องทำใบรับก็ตาม ใบรับนั้นก็ต้องปิดอากรแสตมป์ตามบัญชีอัตราอากรแสตมป์ข้อ 28 ท้ายหมวด 6 แห่งประมวลรัษฎากร เว้นแต่จะได้รับยกเว้นตามกฎหมาย
เมื่อบริษัทโจทก์เริ่มก่อตั้ง เงินของบริษัทไม่พอใช้ บรรดาผู้ถือหุ้นได้ออกเงินทดรองให้บริษัทโจทก์ เงินนี้บริษัทโจทก์ไม่ให้ดอกเบี้ยเพราะถือเป็นกันเองระหว่างญาติ ดังนี้ เมื่อบริษัทโจทก์เป็นนิติบุคคลต่างหากจากผู้ถือหุ้น ผู้ถือหุ้นให้บริษัทโจทก์ยืมเงินในฐานะส่วนตัวของผู้ถือหุ้นแต่ละคน การที่บริษัทโจทก์ออกใบรับในกรณีรับเงินนี้ มิใช่ใบรับที่บุคคลในคณะบุคคลซึ่งกระทำกิจการร่วมกันออกให้ซึ่งกันและกันตามหน้าที่เพื่อดำเนินกิจการของคณะบุคคลนั้นโจทก์จึงจำต้องปิดอากรแสตมป์ในใบรับดังกล่าว เพราะไม่เข้าข้อยกเว้นตามบัญชีอัตราอากรแสตมป์ข้อ 28
ผู้จัดการบริษัทโจทก์ได้ยืมเงินบริษัทโจทก์ไปใช้สอยส่วนตัวแล้วชำระคืนให้โจทก์ ในการรับชำระเงินคืนบริษัทโจทก์ได้ออกใบรับให้ผู้จัดการไปด้วย แต่ฟังไม่ได้ว่าใบรับนั้นได้ปิดอากรแสตมป์แล้ว ฉะนั้น ใบรับเงินชำระหนี้ที่ค้างดังกล่าวซึ่งโจทก์ทำขึ้นและโจทก์เป็นผู้ทรงอยู่ โจทก์จึงต้องเป็นผู้ปิดแสตมป์ตามบัญชีอัตราอากรแสตมป์ข้อ 28
เมื่อโจทก์ต้องเสียอากรสำหรับใบรับเงินทดรองและใบรับชำระหนี้ที่ค้าง แต่โจทก์ไม่ได้ปิดแสตมป์ให้ถูกต้องจนพนักงานเจ้าหน้าที่ตรวจพบ พนักงานเจ้าหน้าที่ย่อมมีอำนาจที่จะเรียกเงินอากรจนครบ และเงินเพิ่มอากรจากโจทก์ได้
บริษัทโจทก์กู้เงินจากบุคคลภายนอกและได้ทำใบรับเงินกู้ไว้ เมื่อการกู้นั้นมีสัญญากู้ซึ่งปิดอากรแสตมป์มีจำนวนไม่น้อยกว่าอากรที่ต้องเสียและ ขีดฆ่าแสตมป์นั้นแล้ว โจทก์ก็ไม่จำต้องปิดอากรแสตมป์ซ้ำในใบรับอีก แม้ปรากฏว่าแสตมป์ปิดในสัญญากู้ไม่ได้ลงวัน เดือน ปี ก็ตาม แต่เมื่อสัญญากู้ได้ปิดอากรแสตมป์เป็นราคาไม่น้อยกว่าอากรที่ต้องเสีย และได้ขีดฆ่าแสตมป์ที่ปิดทับกระดาษเพื่อมิให้แสตมป์ใช้ได้อีก ก็ย่อมเป็นการปิดแสตมป์บริบูรณ์ตามมาตรา 103 แห่งประมวลรัษฎากรแล้ว (อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 561/2487 และ 461/2488)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1613/2519

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ดอกเบี้ยเช็คเริ่มนับจากวันที่ปฏิเสธการจ่ายเงิน ไม่ใช่จากวันที่ระบุในเช็ค
ธนาคารปฏิเสธไม่จ่ายเงินตามเช็ควันใด ผู้ทรงเรียกดอกเบี้ยได้ร้อยละ 7.5 ต่อปีตั้งแต่วันนั้น ไม่ใช่เรียกได้ตั้งแต่วันที่ลงในเช็ค

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1583-1584/2519 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าเช่าโรงแรม: แม้ใบอนุญาตไม่ต่อ แต่การเช่ายังมีผล โจทก์ต้องชำระค่าเช่าตามสัญญา
โจทก์และจำเลยต่างฟ้องกันเกี่ยวกับการเช่าโรงแรม ก่อนสืบพยานคู่ความแถลงตกลงกันเพื่อเลิกคดี เรื่องค่าเช่าที่ค้างนั้นตกลงกันว่า โจทก์ย่อมชำระค่าเช่าที่ค้างมาทั้งหมดโดยไม่มีข้อยกเว้น ซึ่งจะได้คิดตัวเลขกันต่อไปว่าค้างค่าเช่ามาเท่าใด ต่อมาจำเลยแถลงว่าโจทก์ยังค้างค่าเช่ารวม 10 เดือน โจทก์แถลงโต้แย้งว่าค้าง 4 เดือนเท่านั้น อีก 6 เดือนต่อจากนั้นโจทก์ถือว่าไม่ใช่ค่าเช่า เพราะการเช่าต้องมีใบอนุญาตให้ดำเนินการโรงแรมได้ แต่ทางการไม่ต่อใบอนุญาตให้เพราะจำเลยไปร้องไม่ให้ต่อใบอนุญาต ดังนี้เมื่อโจทก์มิได้เถียงว่าโจทก์ไม่ต้องรับผิดชำระค่าเช่าสำหรับระยะเวลา 6 เดือนหลังนี้ เพราะว่าได้เลิกสัญญาเช่ากันแล้ว เมื่อการเช่ายังมีอยู่โจทก์ก็ต้องรับผิดในเรื่องค่าเช่า และที่โจทก์อ้างว่าจำเลยไปร้องขอให้ทางการไม่อนุญาตให้ดำเนินกิจการโรงแรมในที่ที่เช่านั้น เมื่อปรากฏแก่ศาลว่าโรงแรมยังดำเนินการอยู่ในระหว่างนั้น โจทก์ยังคงได้รับประโยชน์จากการที่ใช้ทรัพย์สินที่เช่า โจทก์จึงต้องชำระค่าเช่าตอบแทน ศาลย่อมพิพากษาให้โจทก์ชำระค่าเช่าที่ค้างอยู่ทั้ง 10 เดือน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1583-1584/2519

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่าโรงแรม: การรับผิดค่าเช่าแม้ใบอนุญาตจะถูกระงับ หากยังได้รับประโยชน์จากการใช้ทรัพย์สิน
โจทก์และจำเลยต่างฟ้องกันเกี่ยวกับการเช่าโรงแรม ก่อนสืบพยานคู่ความแถลงตกลงกันเพื่อเลิกคดี เรื่องค่าเช่าที่ค้างนั้นตกลงกันว่า โจทก์ยอมชำระค่าเช่าที่ค้างมาทั้งหมดโดยไม่มีข้อยกเว้น ซึ่งจะได้คิดตัวเลขกันต่อไปว่าค้างค่าเช่ามาเท่าใด ต่อมาจำเลยแถลงว่าโจทก์ยังค้างค่าเช่ารวม 10 เดือน โจทก์แถลงโต้แย้งว่าค้าง 4 เดือนเท่านั้น อีก 6 เดือนต่อจากนั้นโจทก์ถือว่าไม่ใช่ค่าเช่า เพราะการเช่าต้องมีใบอนุญาตให้ดำเนินกิจการโรงแรมได้ แต่ทางการไม่ต่อใบอนุญาตให้ เพราะจำเลยไปร้องไม่ให้ต่อใบอนุญาต ดังนี้เมื่อโจทก์มิได้เถียงว่าโจทก์ไม่ต้องรับผิดชำระค่าเช่าสำหรับระยะเวลา 6 เดือน หลังนี้ เพราะว่าได้เลิกสัญญาเช่ากันแล้ว เมื่อการเช่ายังมีอยู่โจทก์ก็ต้องรับผิดในเรื่องค่าเช่า และที่โจทก์อ้างว่าจำเลยไปร้องขอให้ทางการไม่อนุญาตให้ดำเนินกิจการโรงแรมในที่ที่เช่านั้น เมื่อปรากฏแก่ศาลว่าโรงแรมยังดำเนินกิจการอยู่ในระหว่างนั้น โจทก์ยังคงได้รับประโยชน์จากการใช้ทรัพย์สินที่เช่า โจทก์จึงต้องชำระค่าเช่าตอบแทน ศาลย่อมพิพากษาให้โจทก์ชำระค่าเช่าที่ค้างอยู่ทั้ง 10 เดือน
of 64