พบผลลัพธ์ทั้งหมด 37 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6111/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลในการพิจารณาฟ้องคดีเกี่ยวเนื่องกับการบังคับคดีตามคำพิพากษาตามยอม จำเป็นต้องพิจารณาเงื่อนไขในสัญญาประนีประนอมร่วมด้วย
ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 7 คำฟ้องหรือคำร้องขอที่เสนอเกี่ยวเนื่องกับการบังคับคดีตามคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาล ซึ่งคำฟ้องหรือคำร้องขอนั้นจำต้องมีคำวินิจฉัยของศาลก่อนที่การบังคับคดีจะได้ดำเนินไปได้โดยครบถ้วนและถูกต้องนั้นให้เสนอต่อศาลที่มีอำนาจในการบังคับคดีตามมาตรา 302 (3)...(4)..." และมาตรา 302 วรรคหนึ่ง บัญญัติให้ศาลที่มีอำนาจออกหมายบังคับคดีหรือหมายจับลูกหนี้ตามคำพิพากษาหรือมีอำนาจทำคำวินิจฉัยชี้ขาดในเรื่องใด ๆ อันเกี่ยวด้วยการบังคับคดีตามคำพิพากษาหรือคำสั่ง ซึ่งได้เสนอต่อศาลตามบทบัญญัติแห่งลักษณะนี้คือศาลที่ได้พิจารณาและชี้ขาดตัดสินคดีในชั้นต้น เมื่อคำฟ้องของโจทก์กล่าวถึงข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาว่าจำเลยผิดสัญญาประนีประนอมยอมความและผิดสัญญาที่จำเลยตกลงหรือสัญญาว่าจะเป็นผู้ออกค่าธรรมเนียมในการโอนสิทธิการเช่าตึก 7 ชั้นคืนให้แก่โจทก์นั้น มิได้แยกต่างหากจากสัญญาประนีประนอมยอมความและศาลแพ่งได้พิพากษาตามยอมแล้ว หากแต่เป็นการยอมรับภาระในหนี้ค่าธรรมเนียมการโอนสิทธิการเช่าโดยมีเงื่อนไขว่าโจทก์จะต้องผ่อนชำระหนี้ให้ครบจำนวนหนี้ตามข้อ 1 แห่งสัญญาประนีประนอมยอมความจึงจำเป็นต้องพิจารณาสัญญาประนีประนอมยอมความและคำพิพากษาตามยอมด้วยว่าโจทก์ได้ปฏิบัติตามเงื่อนไขดังกล่าวแล้วหรือไม่ กรณีเช่นนี้ คำฟ้องของโจทก์คดีนี้จึงเกี่ยวเนื่องกับการบังคับคดีตามคำพิพากษาตามยอมของศาลแพ่ง และคำฟ้องนี้จำต้องให้ศาลแพ่งวินิจฉัยเสียก่อนที่การบังคับคดีจะได้ดำเนินไปได้โดยครบถ้วนและถูกต้อง ดังนั้น โจทก์จึงต้องเสนอคำฟ้องคดีนี้ต่อศาลที่มีอำนาจในการบังคับคดีหรือศาลที่ได้พิจารณาและชี้ขาดตัดสินคดีในชั้นต้นคือศาลแพ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5078/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญากู้-ค้ำประกัน: การคิดดอกเบี้ย, ขอบเขตความรับผิดของผู้ค้ำประกัน, และการดำเนินการของกลุ่มสวัสดิการ
จำเลยที่ 1 ได้กู้ยืมเงินไปจากโจทก์ โดยมีจำเลยที่ 2 เป็นผู้ค้ำประกัน โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งสองให้รับผิดตามสัญญากู้และสัญญาค้ำประกันดังกล่าวได้ในฐานะส่วนตัวของโจทก์เอง ส่วนปัญหาที่ว่าเงินดังกล่าวเป็นเงินของสมาชิกกลุ่มสวัสดิการซึ่งสมาชิกของกลุ่มต่างเป็นเจ้าของร่วมกันนั้นแม้จะรับฟังว่าเป็นความจริงก็เป็นกรณีที่สมาชิกของกลุ่มดังกล่าวจะว่ากล่าวเอาแก่โจทก์เป็นอีกส่วนหนึ่งเมื่อเกิดกรณีพิพาทกันเกี่ยวกับปัญหาดังกล่าว
ปัญหาที่จำเลยทั้งสองฎีกาว่า การดำเนินการของกลุ่มสวัสดิการเป็นการฝ่าฝืนต่อ พ.ร.บ.ธนาคารพาณิชย์ พ.ศ.2505 นั้น จำเลยทั้งสองไม่ได้ให้การต่อสู้ไว้และไม่มีประเด็นที่จะต้องนำมาพิจารณาในชั้นนี้เพราะโจทก์ไม่ได้ฟ้องคดีในฐานะเป็นตัวแทนของกลุ่มสวัสดิการ แต่โจทก์ฟ้องเรียกเงินกู้ตามสัญญากู้ที่จำเลยที่ 1 กู้ยืมไปจากโจทก์ โดยมีจำเลยที่ 2 ค้ำประกันไม่เกี่ยวกับการดำเนินการของกลุ่มแต่อย่างใด ศาลฎีกาจึงไม่วินิจฉัยให้
สำหรับจำเลยที่ 1 นั้นปรากฏตามสัญญากู้เอกสารหมาย จ.1จ.2 และ จ.3 ว่า จำเลยที่ 1 กู้ยืมเงินไปจากโจทก์ ได้ระบุอัตราดอกเบี้ยไว้จำนวนแน่นอนเฉพาะสัญญากู้เอกสารหมาย จ.1 เท่านั้น คืออัตราชั่งละ 1 บาทต่อเดือน หรือร้อยละ 15 ต่อปี ส่วนสัญญากู้ตามเอกสารหมาย จ.2 และ จ.3ระบุเพียงว่ายอมให้ดอกเบี้ยทุกเดือนจนกว่าจะชำระต้นเงินเสร็จไม่ชัดแจ้งแน่นอนว่าเป็นดอกเบี้ยอัตราเท่าใด ต้องตีความในทางที่เป็นคุณแก่ผู้กู้ ผู้ให้กู้จึงมีสิทธิเรียกเอาดอกเบี้ยได้เพียงอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี สำหรับเงินกู้ตามเอกสารหมายจ.2 และ จ.3 ตาม ป.พ.พ.มาตรา 7 เท่านั้น
ส่วนจำเลยที่ 2 ได้ทำสัญญาค้ำประกันเงินกู้ของจำเลยที่ 1เฉพาะตามสัญญากู้เอกสารหมาย จ.1 และ จ.2 เท่านั้น ส่วนสัญญากู้ตามเอกสารหมาย จ.3 จำเลยที่ 2 ไม่ได้ทำสัญญาค้ำประกันแต่อย่างใด การที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้จำเลยที่ 2 รับผิดต่อโจทก์ตามสัญญากู้เอกสารหมาย จ.3 ด้วย จึงไม่ถูกต้อง ทั้งปรากฏด้วยว่าสัญญาค้ำประกันตามเอกสารหมาย จ.4 และ จ.5มีข้อความเพียงว่า ถ้าจำเลยที่ 1 ไม่ชำระหนี้ จำเลยที่ 2 จะเป็นผู้ชำระแทนจำเลยที่ 2 ไม่ได้ยอมรับผิดต่อโจทก์อย่างลูกหนี้ร่วม ที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้จำเลยที่ 2 ร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ด้วย จึงไม่ถูกต้องเช่นเดียวกัน
ปัญหาที่จำเลยทั้งสองฎีกาว่า การดำเนินการของกลุ่มสวัสดิการเป็นการฝ่าฝืนต่อ พ.ร.บ.ธนาคารพาณิชย์ พ.ศ.2505 นั้น จำเลยทั้งสองไม่ได้ให้การต่อสู้ไว้และไม่มีประเด็นที่จะต้องนำมาพิจารณาในชั้นนี้เพราะโจทก์ไม่ได้ฟ้องคดีในฐานะเป็นตัวแทนของกลุ่มสวัสดิการ แต่โจทก์ฟ้องเรียกเงินกู้ตามสัญญากู้ที่จำเลยที่ 1 กู้ยืมไปจากโจทก์ โดยมีจำเลยที่ 2 ค้ำประกันไม่เกี่ยวกับการดำเนินการของกลุ่มแต่อย่างใด ศาลฎีกาจึงไม่วินิจฉัยให้
สำหรับจำเลยที่ 1 นั้นปรากฏตามสัญญากู้เอกสารหมาย จ.1จ.2 และ จ.3 ว่า จำเลยที่ 1 กู้ยืมเงินไปจากโจทก์ ได้ระบุอัตราดอกเบี้ยไว้จำนวนแน่นอนเฉพาะสัญญากู้เอกสารหมาย จ.1 เท่านั้น คืออัตราชั่งละ 1 บาทต่อเดือน หรือร้อยละ 15 ต่อปี ส่วนสัญญากู้ตามเอกสารหมาย จ.2 และ จ.3ระบุเพียงว่ายอมให้ดอกเบี้ยทุกเดือนจนกว่าจะชำระต้นเงินเสร็จไม่ชัดแจ้งแน่นอนว่าเป็นดอกเบี้ยอัตราเท่าใด ต้องตีความในทางที่เป็นคุณแก่ผู้กู้ ผู้ให้กู้จึงมีสิทธิเรียกเอาดอกเบี้ยได้เพียงอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี สำหรับเงินกู้ตามเอกสารหมายจ.2 และ จ.3 ตาม ป.พ.พ.มาตรา 7 เท่านั้น
ส่วนจำเลยที่ 2 ได้ทำสัญญาค้ำประกันเงินกู้ของจำเลยที่ 1เฉพาะตามสัญญากู้เอกสารหมาย จ.1 และ จ.2 เท่านั้น ส่วนสัญญากู้ตามเอกสารหมาย จ.3 จำเลยที่ 2 ไม่ได้ทำสัญญาค้ำประกันแต่อย่างใด การที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้จำเลยที่ 2 รับผิดต่อโจทก์ตามสัญญากู้เอกสารหมาย จ.3 ด้วย จึงไม่ถูกต้อง ทั้งปรากฏด้วยว่าสัญญาค้ำประกันตามเอกสารหมาย จ.4 และ จ.5มีข้อความเพียงว่า ถ้าจำเลยที่ 1 ไม่ชำระหนี้ จำเลยที่ 2 จะเป็นผู้ชำระแทนจำเลยที่ 2 ไม่ได้ยอมรับผิดต่อโจทก์อย่างลูกหนี้ร่วม ที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้จำเลยที่ 2 ร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ด้วย จึงไม่ถูกต้องเช่นเดียวกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3716/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับคดีตามสัญญาประนีประนอมยอมความ ต้องดำเนินการในคดีเดิม
ข้อโต้แย้งเกี่ยวกับการบังคับคดีตามสัญญาประนีประนอมยอมความในคดีเดิม ต้องขอให้ดำเนินกระบวนพิจารณาในคดีเดิมตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 7(2),302 วรรคแรก จะนำมาฟ้องเป็นคดีใหม่ไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3716/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อพิพาทสัญญาประนีประนอมต้องดำเนินการในคดีเดิม ห้ามฟ้องเป็นคดีใหม่
ข้อโต้แย้งเกี่ยวกับการบังคับคดีตามสัญญาประนีประนอมยอมความในคดีเดิมต้องขอให้ดำเนินกระบวนพิจารณาในคดีเดิมตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา7(2),302วรรคแรกจะนำมาฟ้องเป็นคดีใหม่ไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2302/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในการพิสูจน์กรรมสิทธิ์ในบ้านพิพาท แม้มีคำพิพากษาถึงกรรมสิทธิ์แล้ว โจทก์ยังสามารถฟ้องพิสูจน์สิทธิของตนเองได้
คดีก่อนจำเลยในคดีนี้เป็นโจทก์ฟ้อง ท.ซึ่งเป็นลูกจ้างของจำเลยต่อศาลแรงงานกลางขอให้ขับไล่ ท. กับพวกให้ออกไปจากบ้านพิพาทศาลแรงงานกลางวินิจฉัยว่า บ้านพิพาทเป็นของจำเลย ให้ ท.กับบริวารออกไปท. กับพวกไม่ยอมปฏิบัติตามคำพิพากษา จำเลยจึงนำเจ้าพนักงานบังคับคดีไปยึดทรัพย์ในบ้านพิพาทและให้ศาลแรงงานกลาง ออกหมายจับ ท.โจทก์มาฟ้องจำเลยในคดีนี้โดยบรรยายฟ้องว่าบ้านพิพาทเป็นของโจทก์ ที่จำเลยอ้างในคำฟ้องในคดีเดิมว่า บ้านพิพาทเป็นของจำเลยและนำเจ้าพนักงานบังคับคดี ไปยึดทรัพย์ในบ้านและออกหมายจับ ท.นั้นทำให้โจทก์เสียหาย คำฟ้องดังกล่าวเป็นกรณีที่โจทก์ กล่าวอ้างว่าโจทก์ถูกโต้แย้งสิทธิ แม้คำพิพากษา ของศาลแรงงานกลางจะวินิจฉัยถึงกรรมสิทธิ์ของบ้านพิพาท ว่าเป็นของจำเลยซึ่งจำเลยใช้ยันบุคคลภายนอกได้ก็ตามแต่โจทก์ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกก็ยังมีสิทธิที่จะพิสูจน์ว่าโจทก์มีสิทธิดีกว่าได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 145(2) ทั้งการที่โจทก์มิได้ยื่นคำร้องแสดงอำนาจพิเศษต่อศาลภายในกำหนดเวลา 8 วัน นับแต่วันปิดประกาศกำหนดเวลาให้โจทก์ผู้ที่อ้างว่าไม่ใช่บริวารของ ท. ลูกหนี้ตาม คำพิพากษายื่นคำร้องดังกล่าว มาตรา 296 จัตวา(3) ก็เพียงให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าโจทก์เป็นบริวารของ ท. เท่านั้น ซึ่งมิใช่ข้อสันนิษฐานเด็ดขาด โจทก์จึงยังสามารถ โต้แย้งเป็นอย่างอื่นได้ว่าตนมีสิทธิดีกว่าโดยเป็น เจ้าของบ้านพิพาทหรือไม่การที่โจทก์ไม่ดำเนินการตาม มาตรา 296 จัตวา(3) จึงไม่ตัดสิทธิของโจทก์ ที่ จะ ฟ้องเป็นคดีนี้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5743/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของผู้ขนส่งทอดสุดท้ายในความเสียหายของสินค้า และอำนาจศาลในการพิจารณาคดี
จำเลยมีวัตถุประสงค์ประกอบการขนส่งสินค้าทางน้ำทั้งภายในประเทศและระหว่างประเทศ ทำหน้าที่แจ้งให้โจทก์ซึ่งเป็นผู้ซื้อสินค้าทราบว่า เรือบรรทุกสินค้ามาถึงประเทศไทย มอบสำเนาใบตราส่งให้โจทก์ ทำหนังสือขออนุญาตนำเรือเข้าเทียบท่า ติดต่อหน่วยราชการที่เกี่ยวข้อง เป็นผู้ขนตู้สินค้าขึ้นจากเรือ ขนสินค้าออกจากตู้สินค้าและเรียกค่าบริการจากโจทก์ การดำเนินการดังกล่าวของจำเลยเป็นขั้นตอนสำคัญของการขนส่ง เพราะหากปราศจากการดำเนินการดังกล่าว สินค้าที่ขนส่งมาย่อมไม่อาจถึงมือผู้ซื้อได้พฤติการณ์ของจำเลยมีลักษณะเป็นการร่วมกันขนส่งสินค้าพิพาทกับบริษัทฮ. ผู้ขนส่งทอดแรก อันเป็นการขนส่งหลายทอดตามวิธีการรับขนทางทะเล โดยจำเลยเป็นผู้ขนส่งทอดสุดท้าย จำเลยจึงต้องร่วมรับผิดในความบุบสลายของสินค้าที่ขนส่งด้วย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 618 ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใกล้เคียงอย่างยิ่งกับกฎหมายว่าด้วยการรับขนของทางทะเล เมื่อโจทก์ชำระค่าสินค้าไปโดยคิดอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราในวันใดโจทก์ย่อมเรียกค่าเสียหายจากจำเลยโดยคิดอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราในวันดังกล่าว จำเลยจะขอให้คิดจากอัตราในวันที่เกิดความเสียหายแก่สินค้าซึ่งมีอัตราต่ำกว่าไม่ได้ คดีหนี้เหนือบุคคล จำเลยมีภูมิลำเนาอยู่ที่กรุงเทพมหานครโจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยต่อศาลแพ่ง จำเลยจะอ้างว่ามีข้อตกลงให้ฟ้องที่ศาลในต่างประเทศโดยไม่ปรากฏข้อตกลงดังกล่าวในคำแปลภาษาต่างประเทศเป็นภาษาไทยหาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4542-4544/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิกรมสรรพากรขอเฉลี่ยทรัพย์ในชั้นบังคับคดี ไม่ใช่คดีพิพาทภาษีอากร ต้องดำเนินการตามวิธิพิจารณาความแพ่ง
ศาลแรงงานยึดทรัพย์สินของจำเลยไว้เพื่อบังคับคดีตามคำพิพากษาเมื่อจำเลยค้างชำระค่าภาษีอากรอันเป็นภาษีอากรค้าง กรมสรรพากรจึงมีสิทธิยื่นคำร้องขอเฉลี่ยทรัพย์ต่อศาลแรงงานได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 290 ซึ่งเป็นบทบัญญัติบังคับไว้โดยเฉพาะในชั้นบังคับคดี กรณีไม่อาจถือว่าเป็นคดีพิพาทอันเกี่ยวกับสิทธิเรียกร้องของรัฐในหนี้ค่าภาษีอากรตามมาตรา 7 (2) แห่งพระราชบัญญัติจักตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ.2528 ที่จะต้องให้กรมสรรพากรไปดำเนินคดีที่ศาลภาษีอากรก่อน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4542-4544/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิกรมสรรพากรขอเฉลี่ยทรัพย์ในชั้นบังคับคดีภาษีอากรค้าง ไม่ต้องฟ้องคดีภาษีอากรแยก
ศาลแรงงานยึดทรัพย์สินของจำเลยไว้เพื่อบังคับคดีตามคำพิพากษาเมื่อจำเลยค้างชำระค่าภาษีอากรอันเป็นภาษีอากรค้าง กรมสรรพากรจึงมีสิทธิยื่นคำร้องขอเฉลี่ยทรัพย์ต่อศาลแรงงานได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 290ซึ่งเป็นบทบัญญัติบังคับไว้โดยเฉพาะในชั้นบังคับคดี กรณีไม่อาจถือว่าเป็นคดีพิพาทอันเกี่ยวกับสิทธิเรียกร้องของรัฐในหนี้ค่าภาษีอากรตามมาตรา 7(2) แห่งพระราชบัญญัติจักตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ.2528 ที่จะต้องให้กรมสรรพากรไปดำเนินคดีที่ศาลภาษีอากรก่อน.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4212/2530 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิการยื่นคำร้องในคดีแรงงานของผู้ที่อ้างกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินที่เกี่ยวข้องกับคดี
ห้องพิพาทเป็นของโจทก์ให้จำเลยซึ่งเป็นลูกจ้างอยู่อาศัยเป็นการให้สวัสดิการแก่ลูกจ้าง ต่อมาโจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยออกจากห้องพิพาทศาลแรงงานกลางพิพากษาให้ขับไล่จำเลย และออกคำบังคับให้จำเลยปฏิบัติตามคำพิพากษาภายใน 30 วัน ในระหว่างการปิดคำบังคับ ผู้ร้องยื่นคำร้องอ้างว่าเป็นเจ้าของบ้านพิพาทโดยเป็นผู้ก่อสร้างและออกค่าใช้จ่ายปลูกสร้างในที่ดินริมคูสาธารณะ จึงมีสิทธิดีกว่าโจทก์ เป็นการกล่าวอ้างว่าผู้ร้องเป็นเจ้าของบ้านพิพาทซึ่งเป็นการโต้แย้งกรรมสิทธิ์ในบ้านพิพาทกับโจทก์โดยตรง เมื่อผู้ร้องกับโจทก์ไม่ใช่ลูกจ้างนายจ้างกันจึงไม่ต้องด้วยมาตรา 8 แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 อันจะทำให้ผู้ร้องมีสิทธิยื่นคำร้องต่อศาลแรงงานกลางได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4212/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมสิทธิ์ในบ้านพิพาท: สิทธิของผู้ก่อสร้าง vs. สิทธิของลูกจ้างที่ได้รับสวัสดิการ
ห้องพิพาทเป็นของโจทก์ให้จำเลยซึ่งเป็นลูกจ้างอยู่อาศัยเป็นการให้สวัสดิการแก่ลูกจ้าง ต่อมาโจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยออกจากห้องพิพาทศาลแรงงานกลางพิพากษาให้ขับไล่จำเลย และออกคำบังคับให้จำเลยปฏิบัติตามคำพิพากษาภายใน 30 วัน ในระหว่างการปิดคำบังคับ ผู้ร้องยื่นคำร้องอ้างว่าเป็นเจ้าของบ้านพิพาทโดยเป็นผู้ก่อสร้างและออกค่าใช้จ่ายปลูกสร้างในที่ดินริมคูสาธารณะ จึงมีสิทธิดีกว่าโจทก์ เป็นการกล่าวอ้างว่าผู้ร้องเป็นเจ้าของบ้านพิพาทซึ่งเป็นการโต้แย้งกรรมสิทธิ์ในบ้านพิพาทกับโจทก์โดยตรง เมื่อผู้ร้องกับโจทก์ไม่ใช่ลูกจ้างนายจ้างกันจึงไม่ต้องด้วยมาตรา 8 แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 อันจะทำให้ผู้ร้องมีสิทธิยื่นคำร้องต่อศาลแรงงานกลางได้.