คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
อุทัย ศุภนิตย์

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 251 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 117/2515 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยิงปืนเข้าบ้านโดยประมาท และทำให้ผู้อื่นบาดเจ็บ ถือเป็นความผิดอาญา
จำเลยยิงปืนเข้าไปในบ้านผู้เสียหายโดยจำเลยทราบว่ามีคนอยู่ในบ้านนั้นกระสุนปืนอาจจะถูกผู้เสียหายและพวกซึ่งอาศัยอยู่ในบ้านหลังนั้นได้ และกระสุนปืนที่จำเลยใช้ยิงได้ทะลุบ้านผู้เสียหายไปถูกผู้ที่อาศัยอยู่ในบ้านอีกหลังหนึ่งได้รับบาดเจ็บ เช่นนี้ จำเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 288,80

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 115/2515 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจำนองโดยสุจริตมีผลเหนือสิทธิผู้ซื้อที่ยังมิได้จดทะเบียน แม้ครอบครองเกิน 10 ปี
เมื่อได้ความชัดแจ้งอยู่แล้ว แม้จะให้มีการสืบพยานกันต่อไป ก็ได้ความเช่นเดียวกับคำร้องขอ และคำแถลงรับของผู้ร้อง ศาลก็ชอบที่จะสั่งงดสืบพยานและพิพากษาคดีไปได้
ทำสัญญาซื้อขายอสังหาริมทรัพย์กันเอง โดยมิได้จดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ แม้ผู้ร้องซึ่งเป็นผู้ซื้อจะครอบครองอสังหาริมทรัพย์ดังกล่าวมา โดยความสงบและเปิดเผย ด้วยเจตนาเป็นเจ้าของกว่า 10 ปีแล้วก็ตาม จะยกขึ้นเป็นคู่ต่อสู้โจทก์ผู้จำนองอสังหาริมทรัพย์ดังกล่าวไว้จากจำเลย และจดทะเบียนการจำนองถูกต้องตามกฎหมาย โดยเสียค่าตอบแทนและโดยสุจริตไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 115/2515

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิการจำนองโดยสุจริตมีผลเหนือสิทธิจากการครอบครอง แม้ผู้ซื้อจะครอบครองทรัพย์เกิน 10 ปี
เมื่อได้ความชัดแจ้งอยู่แล้ว แม้จะให้มีการสืบพยานกันต่อไป ก็ได้ความเช่นเดียวกับคำร้องขอและคำแถลงรับของผู้ร้อง ศาลก็ชอบที่จะสั่งงดสืบพยานและพิพากษาคดีไปได้
ทำสัญญาซื้อขายอสังหาริมทรัพย์กันเอง โดยมิได้จดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ แม้ผู้ร้องซึ่งเป็นผู้ซื้อจะครอบครองอสังหาริมทรัพย์ดังกล่าวมา โดยความสงบและเปิดเผยด้วยเจตนาเป็นเจ้าของกว่า 10 ปีแล้วก็ตาม จะยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้โจทก์ผู้จำนองอสังหาริมทรัพย์ดังกล่าวไว้จากจำเลยและจดทะเบียนการจำนองถูกต้องตามกฎหมาย โดยเสียค่าตอบแทนและโดยสุจริตไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 101/2515 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องจำเลยในฐานะเจ้าหน้าที่รัฐ: คำสั่งผ่อนผันการจับกุมละเมิดสิทธิโจทก์
โจทก์ฟ้องจำเลย 18 คน ศาลรับฟ้องเฉพาะจำเลยที่ 1 ถึง 17 สำหรับฟ้องจำเลยที่ 18 ให้ยกเสีย ตามาตรา 172 ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งโจทก์อุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้คำสั่งศาลชั้นต้นเป็นว่า ให้รับคำฟ้องของโจทก์ที่เกี่ยวกับจำเลยที่ 18 ดังนี้ จำเลยที่ 18 ฎีกาได้
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยที่ 18 ซึ่งเป็นอธิบดีกรมตำรวจได้มีคำสั่งไปยังสถานีตำรวจท้องที่ให้ผ่อนผันการจับกุมจำเลยที่ 1 ถึงที่ 17 โดยให้แย่งรับส่งคนโดยสารทับบนเส้นทางซึ่งโจทก์เป็นผู้ได้รับอนุญาตจากทางการ ให้ประกอบการขนส่งประจำทางด้วยรถยนต์แต่ผู้เดียว เพื่อโจทก์แจ้งความขอให้ตำรวจจับจำเลยที่ 1 ถึงที่ 17 มาดำเนินคดีตำรวจไม่ยอมดำเนินการให้เพราะจำเลยที่ 18 มีคำสั่งผ่อนผันการจับกุมจำเลยไว้ โจทก์จะได้ขอให้ศาลเรียกคำสั่งดังกล่าวมาประกอบการพิจารณาต่อไป ดังนี้ เห็นไดว่าคำสั่งของจำเลยที่ 18 เป็นการโต้แย้งสิทธิโจทก์ ประกอบกับมีข้อโต้แย้งเกี่ยวกับคำสั่งของจำเลยที่โจทก์ขอให้เพิกถอนว่าเป็นคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 45
ฟ้องของโจทก์ดังกล่าวยืนยันโดยแจ้งชัดแล้วว่าจำเลยที่ 18 ซึ่งเป็นอธิบดีกรมตำรวจเป็นผู้ออกคำสั่ง สั่งว่าอย่างไร ถึงใคร และมีผู้ใดกระทำตามคำสั่งนั้นโดยแจ้งชัดแล้ว ไม่เคลือบคลุม
โจทก์ฟ้องระบุชื่อจำเลยที่ 18 ว่า พ.ต.อ.ป.กรมตำรวจ และยังได้บรรยายฟ้องอีกว่า จำเลยที่ 18 ซึ่งเป็นอธิบดีกรมตำรวจใช้อำนาจหน้าที่โดยมิชอบด้วยกฎหมาย ดังนี้ ถือได้ว่าโจทก์ฟ้องจำเลยที่ 18 ในฐานะอธิบดีกรมตำรวจ หาใช่ฟ้องในฐานะส่วนตัวไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 101/2515

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องจำเลยในฐานะเจ้าหน้าที่รัฐ: คำสั่งผ่อนผันการจับกุมละเมิดสิทธิโจทก์
โจทก์ฟ้องจำเลย 18 คน ศาลรับฟ้องเฉพาะจำเลยที่ 1ถึง 17 สำหรับฟ้องจำเลยที่ 18 ให้ยกเสีย ตามมาตรา172 ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง โจทก์อุทธรณ์ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้คำสั่งศาลชั้นต้นเป็นว่า ให้รับคำฟ้องของโจทก์ที่เกี่ยวกับจำเลยที่ 18 ดังนี้ จำเลยที่ 18 ฎีกาได้
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยที่ 18 ซึ่งเป็นอธิบดีกรมตำรวจได้มีคำสั่งไปยังสถานีตำรวจท้องที่ให้ผ่อนผันการจับกุมจำเลยที่ 1 ถึงที่ 17 โดยให้แย่งรับส่งคนโดยสารทับบนเส้นทางซึ่งโจทก์เป็นผู้ได้รับอนุญาตจากทางการ ให้ประกอบการขนส่งประจำทางด้วยรถยนต์แต่ผู้เดียว เมื่อโจทก์แจ้งความขอให้ตำรวจจับจำเลยที่ 1 ถึงที่ 17 มาดำเนินคดีตำรวจไม่ยอมดำเนินการให้ เพราะจำเลยที่ 18 มีคำสั่งผ่อนผันการจับกุมจำเลยไว้ โจทก์จะได้ขอให้ศาลเรียกคำสั่งดังกล่าวมาประกอบการพิจารณาต่อไป ดังนี้ เห็นได้ว่าคำสั่งของจำเลยที่ 18 เป็นการโต้แย้งสิทธิโจทก์ประกอบกับมีข้อโต้แย้งเกี่ยวกับคำสั่งของจำเลยที่โจทก์ขอให้เพิกถอนว่าเป็นคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 55
ฟ้องของโจทก์ดังกล่าวยืนยันโดยแจ้งชัดแล้วว่าจำเลยที่18 ซึ่งเป็นอธิบดีกรมตำรวจเป็นผู้ออกคำสั่ง สั่งว่าอย่างไร ถึงใคร และมีผู้ใดกระทำตามคำสั่งนั้นโดยแจ้งชัดแล้ว ไม่เคลือบคลุม
โจทก์ฟ้องระบุชื่อจำเลยที่ 18 ว่า พล.ต.อ. ป. กรมตำรวจ และยังได้บรรยายฟ้องอีกว่า จำเลยที่ 18 ซึ่งเป็นอธิบดีกรมตำรวจใช้อำนาจหน้าที่โดยมิชอบด้วยกฎหมาย ดังนี้ถือได้ว่าโจทก์ฟ้องจำเลยที่ 18 ในฐานะอธิบดีกรมตำรวจหาใช่ฟ้องในฐานะส่วนตัวไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 15/2515 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดฐานปล้นทรัพย์และฆ่าผู้อื่นโดยเจตนา ศาลพิจารณาพฤติการณ์ร่วมกระทำผิดและเจตนาของผู้กระทำ
ในการปล้นทรัพย์และฆ่าคนตายนั้น ปรากฏว่าจำเลยที่ 3 เพียงแต่จับมือบุตรสาวผู้สายซึ่งยื่นอยู่ที่หน้าร้านที่เกิดเหตุไว้ ไม่ได้ร่วมกระทำการฆ่าผู้ตายด้วย ทั้งไม่ได้ความว่ารู้ว่าจำเลยอื่นเจตนาฆ่าผู้ตายมาแต่ต้น จึงมีความผิดฐานปล้นทรัพย์เป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 340 วรรคท้ายเท่านั้น
ส่วนจำเลยที่ 2 ใช้ขวานตีศรีษะผู้ตาย 3 ที จำเลยที่ 1 ใช้ปืนสั้นจ่อยิงหน้าอกผู้ตาย 1 นัด ผู้ตายล้มลงถึงแก่ความตาย แล้วจำเลยที่ 1 และ ที่ 2 พากันไปเก็บเงินในลิ้นชักโต๊ะแล้วหลบหนีไป เป็นพฤติการณ์ที่เห็นได้ชัดว่าจำเลยที่ 2 ร่วมกับจำเลยที่ 1 ฆ่าผู้ตายเพื่อความสะดวกในการกระทำผิดฐานปล้นทรัพย์อันเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 289 นอกเหนือจากความผิดฐานปล้นทรัพย์ตามมาตรา 340 วรรคสุดท้ายด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 15/2515

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดฐานปล้นทรัพย์และฆ่าผู้อื่นโดยเจตนา เพื่อความสะดวกในการปล้นทรัพย์และการหลีกเลี่ยงความผิด
ในการปล้นทรัพย์และฆ่าคนตายนั้น ปรากฏว่าจำเลยที่ 3เพียงแต่จับมือบุตรสาวผู้ตายซึ่งยืนอยู่ที่หน้าร้านที่เกิดเหตุไว้ ไม่ได้ร่วมกระทำการฆ่าผู้ตายด้วย ทั้งไม่ได้ความว่ารู้ว่าจำเลยอื่นเจตนาฆ่าผู้ตายมาแต่ต้น จึงมีความผิดฐานปล้นทรัพย์เป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 340 วรรคท้ายเท่านั้น
ส่วนจำเลยที่ 2 ใช้ขวานตีศีรษะผู้ตาย 3 ที จำเลยที่ 1 ใช้ปืนสั้นจ่อยิงหน้าอกผู้ตาย 1 นัด ผู้ตายล้มลงถึงแก่ความตาย แล้วจำเลยที่ 1 และที่ 2 พากันไปเก็บเงินในลิ้นชักโต๊ะแล้วหลบหนีไปเป็นพฤติการณ์ที่เห็นได้ชัดว่าจำเลยที่ 2 ร่วมกับจำเลยที่ 1 ฆ่าผู้ตายเพื่อความสะดวกในการกระทำผิดฐานปล้นทรัพย์อันเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 289 นอกเหนือจากความผิดฐานปล้นทรัพย์ตามมาตรา 340 วรรคสุดท้าย ด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2122/2514 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การกู้ยืมเงินร่วมกัน แม้ไม่ได้ลงชื่อเป็นผู้กู้โดยตรง ก็มีหน้าที่รับผิดร่วมกันในฐานะตัวการ
จำเลยที่ 1 เป็นสามี จำเลยที่ 2 เป็นภรรยา แต่ไม่ได้ จดทะเบียนสมรสกันจำเลยที่ 1 กู้เงินโจทก์เพื่อซื้อบ้านมาอยู่อาศัยด้วยกันและซื้อทรัพย์สินอื่นมาใช้ร่วมกัน เมื่อจำเลยทั้งสองเลิกร้างกัน จำเลยที่ 2 ได้ฟ้องแบ่งทรัพย์สินดังกล่าวจากจำเลยที่ 1 จึงถือได้ว่าจำเลยที่ 2 ยอมรับเอาประโยชน์จากการที่จำเลยที่ 1 ไปกู้เงินโจทก์และยินยอมให้จำเลยที่ 1 กระทำไปในฐานะตัวแทนอันมีผลให้จำเลยที่ 2 มีส่วนร่วมเป็นเจ้าของบ้านและทรัพย์สินอื่นด้วย ฉะนั้นแม้ในสัญญากู้ยืมเงินจากโจทก์จะมีชื่อจำเลยที่ 1 เป็นผู้กู้คนเดียวก็ตาม จำเลยที่ 2 ก็ต้องรับผิดในฐานะเป็นตัวการของจำเลยที่ 1 ในการกู้เงินโจทก์รายนี้ร่วมกับจำเลยที่ 1
เมื่อจำเลยกู้เงินของสมาคมโจทก์ คือ เอาเงินของสมาคมโจทก์ไปจำเลยก็มีหน้าที่ต้องใช้เงินคืนแก่สมาคมโจทก์ จำเลยจะโต้แย้งว่าสมาคมโจทก์ไม่มีวัตถุประสงค์ในการให้กู้เงิน ไม่มีอำนาจฟ้องนั้นไม่ได้
(อ้างฎีกาที่ 1804/2500)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2122/2514

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การกู้ยืมเงินร่วมกัน แม้ไม่ได้ลงชื่อในสัญญากู้ ผู้รับประโยชน์ย่อมมีหน้าที่รับผิดชอบหนี้ร่วมกัน
จำเลยที่ 1 เป็นสามี จำเลยที่ 2 เป็นภรรยา แต่ไม่ได้จดทะเบียนสมรสกันจำเลยที่ 1 กู้เงินโจทก์เพื่อซื้อบ้านมาอยู่อาศัยด้วยกันและซื้อทรัพย์สินอื่นมาใช้ร่วมกัน เมื่อจำเลยทั้งสองเลิกร้างกัน จำเลยที่ 2 ได้ฟ้องแบ่งทรัพย์สินดังกล่าวจากจำเลยที่ 1 จึงถือได้ว่าจำเลยที่ 2 ยอมรับเอาประโยชน์จากการที่จำเลยที่ 1 ไปกู้เงินโจทก์และยินยอมให้จำเลยที่ 1 กระทำไปในฐานะตัวแทนอันมีผลให้จำเลยที่ 2 มีส่วนร่วมเป็นเจ้าของบ้านและทรัพย์สินอื่นด้วย ฉะนั้นแม้ในสัญญากู้ยืมเงินจากโจทก์จะมีชื่อจำเลยที่ 1 เป็นผู้กู้คนเดียวก็ตาม จำเลยที่ 2 ก็ต้องรับผิดในฐานะเป็นตัวการของจำเลยที่ 1 ในการกู้เงินโจทก์รายนี้ร่วมกับจำเลยที่ 1
เมื่อจำเลยกู้เงินของสมาคมโจทก์ คือ เอาเงินของสมาคมโจทก์ไปจำเลยก็มีหน้าที่ต้องใช้เงินคืนแก่สมาคมโจทก์ จำเลยจะโต้แย้งว่าสมาคมโจทก์ไม่มีวัตถุประสงค์ในการให้กู้เงิน ไม่มีอำนาจฟ้องนั้นไม่ได้
(อ้างฎีกาที่ 1804/2500)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2038/2514 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การกำหนดภูมิลำเนาเพื่อสิทธิในการร้องขอให้บุคคลสาบสูญ แม้มีการไปประกอบอาชีพชั่วคราว
ซ. บุตรผู้ร้องได้อยู่กับผู้ร้องที่ตลาดชุมแสงตั้งแต่เล็ก ๆ และได้เข้าเรียนหนังสือที่โรงเรียนจีนในอำเภอชุมแสง ต่อมา ซ. มาเรียนต่อที่จังหวัดพระนครจนสำเร็จแล้วสมัครเป็นครูโรงเรียนจีนสอนอยู่ประมาณปีเศษ ก็ถูกศาลลงโทษฐานเป็นอั้งยี่และถูกเนรเทศไปประเทศจีนก่อนถูกเนรเทศ ซ. มีภูมิลำเนาอยู่ที่อำเภอชุมแสง จังหวัดนครสวรรค์ ตามทะเบียนบ้านและใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าว ดังนี้ แม้ ซ. จะไปประกอบอาชีพชั่วคราว ณ จังหวัดพระนครก็ตาม ก็ยังถือไม่ได้ว่า ซ. มีเจตนาจะเปลี่ยนภูมิลำเนา
of 26