พบผลลัพธ์ทั้งหมด 251 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2151-2152/2516 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกระทำตามคำสั่งเจ้าพนักงานโดยสุจริตและผลกระทบต่อความรับผิดในความเสียหาย
จำเลยกับพวกได้ทำทำนบปิดกั้นน้ำเพื่อให้ราษฎรมีน้ำใช้ในการทำนา โดยได้รับคำสั่งจากนายอำเภอให้ทำ ซึ่งจำเลยกับพวกได้กระทำไปโดยสุจริต เชื่อว่าเป็นคำสั่งอันชอบด้วยกฎหมาย โดยไม่ปรากฏว่าจำเลยกับพวกได้กระทำไปเป็นการกลั่นแกล้งโจทก์เมื่อทำทำนบแล้ว น้ำได้ท่วมข้าวในนาของโจทก์เสียหาย ดังนี้จำเลยหาต้องรับผิดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่โจทก์ไม่ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 449 แต่โจทก์อาจเรียกค่าสินไหมทดแทนจากบุคคลผู้ให้คำสั่งโดยละเมิดนั้นได้ตามบทบัญญัติในมาตราดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2129/2516
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
แจ้งความเท็จ – การแจ้งข้อมูลที่ไม่เป็นความจริงต่อเจ้าพนักงาน – ไม่มีเจตนา – ผลของการแจ้งความชั้นอำเภอ
กระทรวงเศรษฐการรับซื้อข้าวจากชาวนาเพื่อพยุงราคาได้ขอความร่วมมือมายังจังหวัด จังหวัดแจ้งมายังอำเภอเพื่อให้ตรวจสอบรับรองว่าผู้ที่จะขายข้าวเป็นชาวนาทำนาและขายข้าวที่ทำได้เอง จำเลยเป็นประธานกลุ่มชาวนา ได้รวบรวมรายชื่อสมาชิกที่จะขายข้าวและจำนวนข้าวที่จะขายกรอกแบบพิมพ์ยื่นต่อเจ้าหน้าที่เกษตรกรรมอำเภอ อันเป็นการแจ้งความต่อเจ้าพนักงานเมื่อจำเลยมิได้ปลอมลายมือชื่อของสมาชิกคนใดและไม่อาจรู้ว่าลายมือชื่อปลอมหรือไม่ ย่อมไม่เป็นความผิดฐานแจ้งความเท็จเจ้าหน้าที่ตรวจสอบแบบพิมพ์แล้วเสนอนายอำเภอ นายอำเภอตรวจแล้วเห็นว่าถูกต้อง จึงออกหนังสือรับรองให้มีสมาชิก 3 คนไม่ยอมเฉลี่ยออกค่าใช้จ่ายในการนำข้าวไปขาย จำเลยเอาข้าวของ 3 คนนั้นไปขายไม่ได้ จึงเอาข้าวของสมาชิกอื่นที่ไม่ได้ลงชื่อไปขายเพื่อให้ครบแต่การนำข้าวไปขายต่อคณะกรรมการสำรองข้าวนี้เป็นเพียงผลแห่งการแจ้งข้อความชั้นอำเภอมิได้มีการแจ้งข้อความอย่างใดต่อเจ้าพนักงานชั้นคณะกรรมการสำรองข้าวอีก จำเลยย่อมไม่มีความผิดฐานแจ้งความเท็จเช่นเดียวกัน
เรื่องเจตนาทุจริตไม่ใช่องค์ประกอบในความผิดฐานแจ้งความเท็จตามมาตรา 137
เรื่องเจตนาทุจริตไม่ใช่องค์ประกอบในความผิดฐานแจ้งความเท็จตามมาตรา 137
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2129/2516 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
แจ้งความเท็จ - การแจ้งข้อมูลที่ไม่เป็นความจริงต่อเจ้าพนักงาน และการนำข้าวของผู้อื่นไปขาย
กระทรวงเศรษฐการรับซื้อข้าวจากชาวนาเพื่อพยุงราคาได้ขอความร่วมมือมายังจังหวัด จังหวัดแจ้งมายังอำเภอเพื่อให้ตรวจสอบรับรองว่าผู้ที่จะขายข้าวเป็นชาวนาทำนาและขายข้าวที่ทำได้เอง จำเลยเป็นประธานกลุ่มชาวนา ได้รวบรวมรายชื่อสมาชิกที่จะขายข้าวและจำนวนข้าวที่จะขายกรอกแบบพิมพ์ยื่นต่อเจ้าหน้าที่เกษตรกรรมอำเภอ อันเป็นการแจ้งความต่อเจ้าพนักงานเมื่อจำเลยมิได้ปลอมลายมือชื่อของสมาชิกคนใดและไม่อาจรู้ว่าลายมือชื่อปลอมหรือไม่ ย่อมไม่เป็นความผิดฐานแจ้งความเท็จเจ้าหน้าที่ตรวจสอบแบบพิมพ์แล้วเสนอนายอำเภอ นายอำเภอตรวจแล้วเห็นว่าถูกต้อง จึงออกหนังสือรับรองให้ มีสมาชิก 3 คนไม่ยอมเฉลี่ยออกค่าใช้จ่ายในการนำข้าวไปขาย จำเลยเอาข้าวของ 3 คนนั้นไปขายไม่ได้ จึงเอาข้าวของสมาชิกอื่นที่ไม่ได้ลงชื่อไปขายเพื่อให้ครบแต่การนำข้าวไปขายต่อคณะกรรมการสำรองข้าวนี้เป็นเพียงผลแห่งการแจ้งข้อความชั้นอำเภอ มิได้มีการแจ้งข้อความอย่างใดต่อเจ้าพนักงานชั้นคณะกรรมการสำรองข้าวอีก จำเลยย่อมไม่มีความผิดฐานแจ้งความเท็จเช่นเดียวกัน
เรื่องเจตนาทุจริตไม่ใช่องค์ประกอบในความผิดฐานแจ้งความเท็จตามมาตรา 137
เรื่องเจตนาทุจริตไม่ใช่องค์ประกอบในความผิดฐานแจ้งความเท็จตามมาตรา 137
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1913/2516 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การป้องกันตัวเกินกว่าเหตุ และเจตนาฆ่า การจำคุกในข้อหาฆ่าผู้อื่น
จำเลยมาทวงปืนของจำเลยจากผู้ตายซึ่งจำเลยแน่ใจว่าผู้ตายเป็นคนเอามา ผู้ตายใช้มีดพกปลายแหลมแทงจำเลยแต่ไม่ถูกจำเลยใช้มีดเหลียนฟันผู้ตาย 1 ที ผู้ตายวิ่งหนี จำเลยวิ่งไล่ฟันผู้ตายซ้ำแล้วซ้ำอีก โดยไม่ปรากฏว่าผู้ตายหันกลับมาจะทำร้ายจำเลยจนผู้ตายแขนขาดทั้งสองข้าง และมีบาดแผลที่อื่นอีกหลายแห่งถึงแก่ความตายทันที การกระทำของจำเลยเป็นการป้องกันตัว แต่เป็นการกระทำเกินกว่ากรณีแห่งการจำต้องกระทำเพื่อป้องกันและการที่จำเลยฟันผู้ตายหลายครั้งซ้ำแล้วซ้ำอีก ก็ด้วยเจตนาจะฟันผู้ตายให้ถึงแก่ความตายเท่านั้น ไม่เป็นการฆ่าโดยกระทำทารุณโหดร้าย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1913/2516
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การป้องกันตัวเกินกว่าเหตุและการเจตนาฆ่า การฟันซ้ำโดยมีเจตนาทำให้ถึงแก่ความตาย
จำเลยมาทวงปืนของจำเลยจากผู้ตายซึ่งจำเลยแน่ใจว่าผู้ตายเป็นคนเอามา ผู้ตายใช้มีดพกปลายแหลมแทงจำเลยแต่ไม่ถูกจำเลยใช้มีดเหลียนฟันผู้ตาย 1 ที ผู้ตายวิ่งหนี จำเลยวิ่งไล่ฟันผู้ตายซ้ำแล้วซ้ำอีก โดยไม่ปรากฏว่าผู้ตายหันกลับมาจะทำร้ายจำเลยจนผู้ตายแขนขาดทั้งสองข้าง และมีบาดแผลที่อื่นอีกหลายแห่งถึงแก่ความตายทันที การกระทำของจำเลยเป็นการป้องกันตัว แต่เป็นการกระทำเกินกว่ากรณีแห่งการจำต้องกระทำเพื่อป้องกันและการที่จำเลยฟันผู้ตายหลายครั้งซ้ำแล้วซ้ำอีก ก็ด้วยเจตนาจะฟันผู้ตายให้ถึงแก่ความตายเท่านั้น ไม่เป็นการฆ่าโดยกระทำทารุณโหดร้าย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1868-1869/2516
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนสิทธิประทานบัตรทำเหมืองแร่ไม่เป็นการฉ้อฉล หากลูกหนี้ยังมีทรัพย์สินเพียงพอชำระหนี้
นิติกรรมที่ลูกหนี้ได้กระทำลงที่จะเป็นทางให้เจ้าหนี้เสียเปรียบตามมาตรา 237 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ นั้น ย่อมมีความหมายว่าลูกหนี้ได้กระทำให้กองทรัพย์สินของตนลดน้อยลงไม่พอที่จะใช้หนี้แก่เจ้าหนี้ได้ การที่จำเลยนำทรัพย์สินและสิทธิตามประทานบัตรไปร่วมลงทุนเป็นหุ้นในบริษัทผู้ร้องโดยตีราคาเป็นค่าหุ้นของจำเลยเป็นจำนวนเงินซึ่งมีราคามากกว่าจำนวนหนี้ที่มีอยู่ต่อโจทก์ หาทำให้โจทก์ผู้เป็นเจ้าหนี้เสียเปรียบแต่อย่างใดไม่ เพราะจำเลยซึ่งเป็นลูกหนี้ยังมีทรัพย์สินพอที่จะใช้หนี้แก่โจทก์อยู่ การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นการฉ้อฉล
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1814/2516
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิของเจ้าของที่ดินในการเข้าเป็นคู่ความเพื่อคุ้มครองสิทธิในคดีทางแพ่งที่เกี่ยวข้องกับที่ดินของตน
โจทก์ฟ้องจำเลยขอให้ทำหรือเปิดทางเดินตามสัญญาซื้อขายที่ดินจำเลยให้การว่าไม่มีข้อตกลงว่าจะเปิดทางเดินก่อนถึงวันนัดฟังคำพิพากษา 1 วัน ผู้ร้องยื่นคำร้องว่าผู้ร้องเป็นเจ้าของที่ดินพิพาทที่โจทก์ฟ้องให้จำเลยทำหรือเปิดทางเดินในที่พิพาทเป็นการโต้แย้งสิทธิของผู้ร้องเพื่อยังให้ได้รับความรับรองคุ้มครองหรือบังคับตามสิทธิที่ผู้ร้องเป็นเจ้าของที่ดิน จึงขอให้ผู้ร้องเข้าเป็นคู่ความตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 57(1) ดังนี้ คดียังอยู่ในระหว่างการพิจารณา ชอบที่ศาลจะอนุญาตให้ผู้ร้องเข้ามาเป็นคู่ความตามขอ จะยกคำร้องโดยอ้างว่าผู้ร้องอาจพิสูจน์สิทธิในที่พิพาทได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 145(1)(2) หาชอบไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1813/2516
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยื่นบัญชีระบุพยาน: วันเริ่มต้นสืบพยานสำคัญกว่าวันนัด
ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 88 บัญญัติให้ยื่นบัญชีระบุพยานต่อศาลก่อนวันสืบพยานไม่น้อยกว่า 3 วันนั้นหมายถึงก่อนวันที่ศาลเริ่มต้นทำการสืบพยานจริง ๆ ไม่ใช่หมายถึงวันนัดสืบพยานครั้งแรก
ศาลชั้นต้นนัดสืบพยานจำเลยตามที่จำเลยแถลงรับนำสืบก่อนในวันที่ 6 สิงหาคม 2513 ครั้นถึงวันนัด จำเลยยื่นคำร้องขอระบุพยานเพิ่มเติม และในวันเดียวกันนั้นศาลชั้นต้นเห็นควรให้เลื่อนคดีไปจึงให้เลื่อนคดีไปสืบพยานจำเลยในวันที่ 20 สิงหาคม 2513 โดยยังมิได้สั่งว่ารับหรือไม่รับบัญชีระบุพยานฉบับลงวันที่ 6 สิงหาคม 2513 ของจำเลย ครั้นวันที่ 17 สิงหาคม 2513 จำเลยยื่นคำร้องระบุพยานโดยอ้างว่าพลั้งเผลอไม่ได้ยื่นบัญชีระบุพยานก่อนวันสืบพยาน 3 วันขอให้รับบัญชีระบุพยานจำเลยไว้ ดังนี้ การที่จำเลยยื่นบัญชีระบุพยานต่อศาลในวันที่ 6 สิงหาคม 2513 นั้น แม้จำเลยจะยื่นคำร้องว่าเป็นบัญชีระบุพยานเพิ่มเติมก็ตาม แท้จริงเป็นการระบุพยานครั้งแรกตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 88 วรรคแรก นั่นเองซึ่งจำเลยมีสิทธิยื่นบัญชีระบุพยานต่อศาลโดยไม่ต้องทำเป็นคำร้องเพราะวันนั้นศาลไม่ได้เริ่มต้นทำการสืบพยานจริง ๆ ส่วนการที่จำเลยยื่นบัญชีระบุพยานฉบับลงวันที่17 สิงหาคม 2513 โดยทำเป็นคำร้องนั้น แท้จริงก็เป็นการยื่นบัญชีระบุพยานเพิ่มเติมตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 88 วรรคสองนั่นเองซึ่งจำเลยมีสิทธิยื่นได้โดยไม่ต้องทำเป็นคำร้อง ฉะนั้น บัญชีระบุพยานจำเลยฉบับลงวันที่ 17 สิงหาคม 2513 จึงเป็นบัญชีระบุพยานที่ได้ยื่นต่อศาลไว้โดยชอบแล้ว
ศาลชั้นต้นนัดสืบพยานจำเลยตามที่จำเลยแถลงรับนำสืบก่อนในวันที่ 6 สิงหาคม 2513 ครั้นถึงวันนัด จำเลยยื่นคำร้องขอระบุพยานเพิ่มเติม และในวันเดียวกันนั้นศาลชั้นต้นเห็นควรให้เลื่อนคดีไปจึงให้เลื่อนคดีไปสืบพยานจำเลยในวันที่ 20 สิงหาคม 2513 โดยยังมิได้สั่งว่ารับหรือไม่รับบัญชีระบุพยานฉบับลงวันที่ 6 สิงหาคม 2513 ของจำเลย ครั้นวันที่ 17 สิงหาคม 2513 จำเลยยื่นคำร้องระบุพยานโดยอ้างว่าพลั้งเผลอไม่ได้ยื่นบัญชีระบุพยานก่อนวันสืบพยาน 3 วันขอให้รับบัญชีระบุพยานจำเลยไว้ ดังนี้ การที่จำเลยยื่นบัญชีระบุพยานต่อศาลในวันที่ 6 สิงหาคม 2513 นั้น แม้จำเลยจะยื่นคำร้องว่าเป็นบัญชีระบุพยานเพิ่มเติมก็ตาม แท้จริงเป็นการระบุพยานครั้งแรกตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 88 วรรคแรก นั่นเองซึ่งจำเลยมีสิทธิยื่นบัญชีระบุพยานต่อศาลโดยไม่ต้องทำเป็นคำร้องเพราะวันนั้นศาลไม่ได้เริ่มต้นทำการสืบพยานจริง ๆ ส่วนการที่จำเลยยื่นบัญชีระบุพยานฉบับลงวันที่17 สิงหาคม 2513 โดยทำเป็นคำร้องนั้น แท้จริงก็เป็นการยื่นบัญชีระบุพยานเพิ่มเติมตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 88 วรรคสองนั่นเองซึ่งจำเลยมีสิทธิยื่นได้โดยไม่ต้องทำเป็นคำร้อง ฉะนั้น บัญชีระบุพยานจำเลยฉบับลงวันที่ 17 สิงหาคม 2513 จึงเป็นบัญชีระบุพยานที่ได้ยื่นต่อศาลไว้โดยชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1813/2516 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยื่นบัญชีระบุพยาน: วันเริ่มต้นสืบพยานสำคัญกว่าวันนัด
ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 88 บัญญัติให้ยื่นบัญชีระบุพยานต่อศาลก่อนวันสืบพยานไม่น้อยกว่า 3 วัน นั้นหมายถึงก่อนวันที่ศาลเริ่มต้นทำการสืบพยานจริง ๆ ไม่ใช่หมายถึงวันนัดสืบพยานครั้งแรก
ศาลชั้นต้นนัดสืบพยานจำเลยตามที่จำเลยแถลงรับนำสืบก่อนในวันที่ 6 สิงหาคม 2513 ครั้นถึงวันนัด จำเลยยื่นคำร้องขอระบุพยานเพิ่มเติม และในวันเดียวกันนั้น ศาลชั้นต้นเห็นควรให้เลื่อนคดีไปจึงให้เลื่อนคดีไปสืบพยานจำเลยในวันที่ 20 สิงหาคม 2513 โดยยังมิได้สั่งว่ารับหรือไม่รับบัญชีระบุพยานฉบับลงวันที่ 6 สิงหาคม 2513ของจำเลย ครั้นวันที่ 17 สิงหาคม 2513 จำเลยยื่นคำร้องระบุพยานโดยอ้างว่าพลั้งเผลอไม่ได้ยื่นบัญชีระบุพยานก่อนวันสืบพยาน 3 วันขอให้รับบัญชีระบุพยานจำเลยไว้ ดังนี้ การที่จำเลยยื่นบัญชีระบุพยานต่อศาลในวันที่ 6 สิงหาคม 2513 นั้น แม้จำเลยจะยื่นคำร้องว่าเป็นบัญชีระบุพยานเพิ่มเติมก็ตาม แท้จริงเป็นการระบุพยานครั้งแรกตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 88 วรรคแรก นั่นเองซึ่งจำเลยมีสิทธิยื่นบัญชีระบุพยานต่อศาลโดยไม่ต้องทำเป็นคำร้องเพราะวันนั้นศาลไม่ได้เริ่มต้นทำการสืบพยานจริง ๆ ส่วนการที่จำเลยยื่นบัญชีระบุพยานฉบับลงวันที่17 สิงหาคม 2513 โดยทำเป็นคำร้องนั้น แท้จริงก็เป็นการยื่นบัญชีระบุพยานเพิ่มเติมตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 88 วรรค2 นั่นเองซึ่งจำเลยมีสิทธิยื่นได้โดยไม่ต้องทำเป็นคำร้อง ฉะนั้น บัญชีระบุพยานจำเลยฉบับลงวันที่ 17 สิงหาคม 2513 จึงเป็นบัญชีระบุพยานที่ได้ยื่นต่อศาลไว้โดยชอบแล้ว
ศาลชั้นต้นนัดสืบพยานจำเลยตามที่จำเลยแถลงรับนำสืบก่อนในวันที่ 6 สิงหาคม 2513 ครั้นถึงวันนัด จำเลยยื่นคำร้องขอระบุพยานเพิ่มเติม และในวันเดียวกันนั้น ศาลชั้นต้นเห็นควรให้เลื่อนคดีไปจึงให้เลื่อนคดีไปสืบพยานจำเลยในวันที่ 20 สิงหาคม 2513 โดยยังมิได้สั่งว่ารับหรือไม่รับบัญชีระบุพยานฉบับลงวันที่ 6 สิงหาคม 2513ของจำเลย ครั้นวันที่ 17 สิงหาคม 2513 จำเลยยื่นคำร้องระบุพยานโดยอ้างว่าพลั้งเผลอไม่ได้ยื่นบัญชีระบุพยานก่อนวันสืบพยาน 3 วันขอให้รับบัญชีระบุพยานจำเลยไว้ ดังนี้ การที่จำเลยยื่นบัญชีระบุพยานต่อศาลในวันที่ 6 สิงหาคม 2513 นั้น แม้จำเลยจะยื่นคำร้องว่าเป็นบัญชีระบุพยานเพิ่มเติมก็ตาม แท้จริงเป็นการระบุพยานครั้งแรกตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 88 วรรคแรก นั่นเองซึ่งจำเลยมีสิทธิยื่นบัญชีระบุพยานต่อศาลโดยไม่ต้องทำเป็นคำร้องเพราะวันนั้นศาลไม่ได้เริ่มต้นทำการสืบพยานจริง ๆ ส่วนการที่จำเลยยื่นบัญชีระบุพยานฉบับลงวันที่17 สิงหาคม 2513 โดยทำเป็นคำร้องนั้น แท้จริงก็เป็นการยื่นบัญชีระบุพยานเพิ่มเติมตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 88 วรรค2 นั่นเองซึ่งจำเลยมีสิทธิยื่นได้โดยไม่ต้องทำเป็นคำร้อง ฉะนั้น บัญชีระบุพยานจำเลยฉบับลงวันที่ 17 สิงหาคม 2513 จึงเป็นบัญชีระบุพยานที่ได้ยื่นต่อศาลไว้โดยชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1811-1812/2516
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของนายจ้างต่อละเมิดของลูกจ้าง แม้ลูกจ้างไม่มีหน้าที่ขับรถ แต่ได้รับคำสั่งให้นำรถไปล้าง
ลูกจ้างของกรมทางหลวงแผ่นดินประจำหน่วยควบคุมและตรวจสอบวัสดุก่อสร้างทางซึ่งมีหน้าที่เกี่ยวกับการวิเคราะห์วิจัยดิน หิน กรวด ไม่มีหน้าที่ในการขับรถยนต์ ได้ขับรถยนต์ของกรมทางหลวงแผ่นดินไปล้างโดยช่างตรีผู้บังคับบัญชาใช้ให้ไป เมื่อล้างเสร็จได้ขับรถกลับที่พักแต่ระหว่างทางได้ขับรถแวะไปเอาของที่บ้านพี่สาว และเกิดชนกับรถยนต์อื่นโดยประมาท เป็นเหตุให้คนตาย แม้ลูกจ้างนั้นไม่มีหน้าที่เกี่ยวข้องกับการขับรถยนต์ แต่การนำรถไปล้างก็โดยผู้บังคับบัญชาใช้ให้ไป และการล้างรถก็เป็นกิจการของกรมทางหลวงแผ่นดินย่อมถือได้ว่าลูกจ้างนั้นได้กระทำละเมิดในทางการที่จ้างของนายจ้างซึ่งกรมทางหลวงแผ่นดินผู้เป็นนายจ้างจะต้องร่วมรับผิดในผลแห่งละเมิด(วินิจฉัยโดยที่ประชุมใหญ่ครั้งที่ 14/2516)